Custom Search

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ( male  genital  organ ) 

ภาพ:Male penis ana.png

แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ

1.        อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอก ( external  male  genital  organ ) เป็นอวัยวะส่วนที่สามารถมอง

เห็นได้จากภายนอก  ประกอบด้วย

                            1.1 ลึงค์ ( penis )  เป็นอวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศ  เป็นทางผ่านของสเปิร์มและน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอก  ภายในลึงค์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ ( erectile  tissue ) ปลายสุดของลึงค์จะพองออกเรียกว่า หัวลึงค์ ( gland  penis ) 

                            1.2 ถุงอัณฑะ ( scrotum  or  scrotal  sac )  เป็นส่วนของผิวหนังที่ยื่นออกมาจากช่องท้อง  เนื่องจากอัณฑะที่อยู่ในช่องท้องเลื่อนลงมา  ถุงอัณฑะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้แก่อัณฑะ  โดยอุณหภูมิของถุงอัณฑะจะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส  ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการสร้างอสุจิ

              2. อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ( internal  male  genital  organ )  เป็นส่วนที่อยู่ภายใน  ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก  ประกอบด้วย

                            2.1 อัณฑะ ( testis )  เป็นอวัยวะคู่ซึ่งจะเคลื่อนจากช่องท้องลงสู่ถุงอัณฑะ  ถ้าหากไม่เคลื่อนที่ลงมาในถุงอัณฑะจะทำให้เป็นหมัน  เพราะอุณหภูมิของอัณฑะสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างสเปิร์ม  ประกอบด้วย

              - หลอดสร้างตัวอสุจิ ( seminiferous  tubule ) เป็นท่อที่ขดไปขดมา  การสร้างสเปิร์มจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมน  FSH ( Follicle  stimulating hormone )จากต่อมใต้สมอง และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจากอัณฑะ

              - เนื้อเยื่ออินเตอร์สติเชียล ( Interstitial  cell )  เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิ ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนฮอร์โมน  LH  ( Lutinizing  hormone ) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า     ทำหน้าที่หลักในการสร้างฮอร์โมน

                 เพศชาย คือเทสโทสเตอโรน ( Testosterone )  เพื่อควบคุมลักษณะทางเพศขั้นที่สองของเพศชาย ( male  secondary  characteristic )  เช่น เสียงแตก  มีหนวด  การขยายขนาดของอวัยวะเพศ  การมีขนที่อวัยวะเพศ  การมีความต้องการทางเพศ  เป็นต้น

1.2     ท่อต่าง ๆ ( ducts )  ประกอบด้วย

- เรตีเทสทีส ( rete  testis )  เป็นท่อรวมของหลอดสร้างสเปิร์ม    ทำหน้าที่หลักเป็นทางผ่านของตัวอสุจิไปยังหลอดเก็บตัวอสุจิต่อไป

- เอพิดิไดมิสหรือหลอดเก็บตัวอสุจิ ( epididymis )  ทำหน้าที่ในการเก็บสเปิร์มและสร้างอาหารเลี้ยงสเปิร์ม  โดยสเปิร์มจะถูกพักไว้ที่นี้นานถึง   6  สัปดาห์ จนกระทั่งสเปิร์มแข็งแรงและพร้อมที่จะผสมกับไข่ได้ต่อไป

              - ท่อนำสเปิร์ม ( vas  deferens ) เป็นท่อที่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิลงมา  มีความยาวประมาณ 18 นิ้ว  ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสเปิร์ม  การทำหมันถาวรในเพศชายที่เรียกว่า วาเซกโทมี ( vasectomy ) ก็เป็นการผูกหรือตัด ท่อนำสเปิร์มนี้เอง

              - ท่ออีเจกคูลาทอรีหรือท่อฉีดตัวอสุจิ ( ejaculatory  duct ) ทำหน้าที่ในการบีบตัวปล่อยสเปิร์มสู่ภายนอก

                            2.3 ต่อมต่างๆ ( accessory  male  genital  gland )

- ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ ( Seminal  vesicle ) เป็นท่อ 2 ท่อขดไปมาทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ  ซึ่งได้แก่น้ำตาลฟรักโทส  วิตามินซี  

- ต่อมลูกหมาก ( prostate  gland )  ทำหน้าที่สร้างสารสีขาวคล้ายน้ำนม  มีกลิ่นเฉพาะตัว   สารจากต่อม  ลูกหมากมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ ช่วยในการลดความเป็นกรดในท่อปัสสาวะและป้องกันอันตรายจากความเป็นกรดในช่องคลอดของฝ่ายหญิง  ต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นเมื่อชายมีอายุมากขึ้น

              - ต่อมคาวเปอร์ ( Cowper’s  gland ) อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก มี 2 ต่อมขนาดเท่าเมล็ดถั่ว  ทำหน้าที่ในการหลั่งสารเหลวใสและเหนียว  เพื่อหล่อลื่นในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ

              น้ำกาม ( semen )  หรือน้ำอสุจิ  ในการร่วมเพศแต่ละครั้งมีประมาณ  3 ลูกบาศก์เซนติเมตรประกอบด้วย ของเหลวจากต่อมต่างๆ คือหลอดสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ  ต่อมคาวเปอร์  ต่อมลูกหมาก  และสเปิร์มอีกประมาณ 300-500 ล้านตัว  น้ำกามจะมีสีขาว  ทึบแสง  มีกลิ่นเฉพาะตัว  คนปกติจะมีอสุจิ  70 ล้านตัวต่อซีเมน1 ลบ.ซม.  หากต่ำกว่า  30  ล้านตัว / 1ลบ.ซม.  มักจะเป็นหมัน  วงชีวิตสามารถอยู่ในหลอดเก็บตัวอสุจิได้นาน  40 วัน  และจะมีชีวิตอยู่ในปีกมดลูกเพื่อรอการผสมได้นาน  2 วัน

ภาพ:Penis reduced.jpg

              อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ( female  genital  organ )

ภาพ:MonsPabis.gif

                                                                      ภาพ:Female anatomy frontal.png

แบ่งออกเป็น

1.        อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงภายนอก ( external  female  genital  organ )  ประกอบด้วย

                            1.1 คลิทอริส ( clitoris )  เป็นส่วนที่ปรากฎอยู่ทางส่วนบนของแคมเล็ก  มีลักษณะการเจริญเช่นเดียวกับลึงค์ของผู้ชาย  คือมีเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้  มีปลายประสาทมาสิ้นสุดมากจึงรับความรู้สึกต่างๆ ได้เร็ว

                            1.2 แคมใหญ่ ( labia  majora )  เป็นส่วนของผิวหนังที่มีก้อนไขมัน  ด้านหน้าของแคมใหญ่ทั้งสองข้างจะติดกับเนินหัวเหน่า  แคมใหญ่จะมีการเจริญมาเช่นเดียวกับถุงอัณฑะของเพศชาย

                            1.3 แคมเล็ก ( labia  minora ) เป็นส่วนของผิวหนังที่อยู่ด้านในของแคมใหญ่และถูกแคมใหญ่ปิดทับอยู่  แคมเล็กมีต่อมไขมันมาก  เพื่อช่วยให้เกิดการหล่อลื่นและป้องกันการเสียดสีขณะเกิดการร่วมเพศ

              2. อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงภายใน ( internal  female  genital  organ )  เป็นอวัยวะส่วนที่มองไม่เห็นจากภายนอก  ประกอบด้วย

                            2.1 รังไข่ ( ovary )  มีอยู่  1  คู่  ทำหน้าที่ในการสร้างไข่และฮอร์โมนเพศหญิง  รังไข่อยู่ลึกเข้าไปในอุ้งเชิงกราน  2  ข้างของมดลูก  รังไข่มีขนาดประมาณเท่ากับนิ้วหัวแม่มือและหนักประมาณ   2-3 กรัมเท่านั้น  รังไข่ของเด็กหญิงแรกเกิดจะมีไข่ซึ่งเรียกว่า โอโอไซต์ ( Oocyte ) ประมาณ  500,000 เซลล์  แต่จะมีโอโอไซต์ที่จะสุกและตกไข่ได้ประมาณ  400  เซลล์เท่านั้น

 

              โอโอไซต์เป็นไข่ที่ยังเจริญไม่เต็มที่  จะถูกเซลล์ที่เรียกว่าฟอลลิคูลาร์เซลล์ ( follicular  cell ) หุ้มอยู่และเรียกว่าฟอลลิเคิล ( follicle )  ในวัยที่สามารถมีบุตรได้จะมีไข่สุกและปล่อยออกมาจากรังไข่เดือนละ  1 เซลล์  ในเพศหญิงมีระยะเวลาในการตกไข่ประมาณ 30-35  ปี  จึงมีไข่ตกประมาณ 360-400 เซลล์  ส่วนที่เหลือจะฝ่อไป

              FSH  เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า  ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงคือเอสโตรเจน ( Estrogen )  ซึ่งเป็นตัวคอยควบคุมการเจริญเติบโตขั้นที่สองของเพศหญิง เช่น การเจริญของอวัยวะเพศหญิง   การเจริญของเต้านม

                            2.2 มดลูก ( uterus )  มีขนาดประมาณ  3  นิ้ว  ทำหน้าที่สำคัญคือเป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นแหล่งที่เกิดการมีประจำเดือน   เป็นชั้นที่มีการสร้างรก  เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนก๊าซและส่งอาหารให้กับเอมบริโอ

                            2.3 ช่องคลอด ( vagina )เป็นท่อกลวงต่อจากปากมดลูกออกมา  เป็นทางผ่านของสเปิร์มเข้าสู่มดลูก    มีโปรโตซัวที่สำคัญคือ Trichomonas  vaginalis  ซึ่งจะทำให้ผนังช่องคลอดเกิดการอักเสบและตกขาวได้

                            2.4 ท่อนำไข่หรือปีกมดลูก ( oviduct )  เป็นท่อที่เกิดการผสมกันระหว่างสเปิร์มและโอโอไซต์  ภายในท่อนำไข่จะมีเซลล์ที่มีขนซีเลียคอยโบกพัดให้ไข่เคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่  การทำหมันแห้งหรือการทำหมันถาวรในผู้หญิงก็คือการตัดและผูกท่อนำไข่นี้เอง

 

                รอบประจำเดือนของเพศหญิง

              ผู้หญิงอายุ 12-45 ปี จะมีการตกไข่ ( Ovulation) และมีประจำเดือน  28 วัน / 1  ครั้ง  ยกเว้นในเวลามีครรภ์จะไม่มีประจำเดือน ( Menstruation )  ในรอบเดือนจะมีการตกไข่  1  ฟอง  สลับกันซ้ายขวา  การมีประจำเดือนเป็นการลอกหลุดของเนื้อเยื่อที่สร้างรอรับตัวอ่อนในเนื้อเนื่อชั้นในของมดลูก ( Endometrium )และเลือดจะไหลออกทางช่องคลอด ( Vagina )

              รอบประจำเดือนของเพศหญิง  แบ่งออกเป็นระยะได้ดังนี้

1.        ระยะก่อนตกไข่ ( Follicle  stage ) เป็นระยะที่นับจากการเริ่มมีประจำเดือนไปจนถึงมีการตกไข่  ใช้เวลานานประมาณ  13-15  วัน

2.        ระยะตกไข่ ( Ovulation  stage )  เป็นระยะสั้นๆ ที่ไข่หลุดออกจากรังไข่  อยู่ประมาณวันที่  13-15  ของรอบเดือน (บางคนอาจช้าหรือเร็วกว่าปกติ)

3.        ระยะหลังตกไข่ ( Corpus  luteum  stage )  นับจากการตกไข่  เป็นระยะที่มีการฝังตัวที่โพรงมดลูก  ไปจนถึงเริ่มมีประจำเดือน  ใช้เวลานานประมาณ 13-15 วัน

4.        ระยะมีประจำเดือน ( Menstruation  flow  stage )  ใช้เวลานานประมาณ 3-4  วัน

              หลังจากสิ้นสุดระยะเอมบริโอแล้ว  การเจริญเติบโตในระยะต่อมาของสัตว์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง

ลักษณะมากนักแต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม  จากการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผนการเจริญเติบโตของสัตว์พบว่ามี

แบบแผนแตกต่างกัน  4  แบบ คือ

              1.  Without  metamorphosis  เป็นการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะไปจากเดิมเลย คือตัวอ่อนที่เกิดมามีลักษณะเหมือนตัวโตเต็มวัยเกือบทุกอย่าง  เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า  พบในสัตว์ปีก  สัตว์เลื้อยคลาย  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม  แมลงบางชนิด เช่น แมลงสามง่าม  แมลงหางดีด

              2. Gradual  metamorphosis  เป็นการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คือตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายกับพ่อแม่  เพียงแต่ตัวเล็กกว่าและมีอวัยวะบางอย่างไม่ครบ  เช่น ยังไม่มีปีก  อวัยวะสืบพันธุ์  จากนั้นจะมีการลอกคราบหลายครั้งจนกระทั่งมีอวัยวะครบ  ตัวอ่อนของแมลงในระยะนี้เรียกว่า  Nymph   อาศัยบนบก  เช่น ตั๊กแตน  แมลงสาบ  จิ้งหรีด  เหา  ปลวก  จักจั่น  เพลี้ย

              3. Incomplete  metamorphosis  เป็นการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแบบไม่สมบูรณ์  มีลักษณะคล้ายกับ  Gradual  metamorphosis  ต่างกันที่ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยบ้างแล้ว  แต่อาศัยอยู่ในน้ำและหายใจด้วยเหงือก  เรียกตัวอ่อนนี้ว่า  Naiad  ต่อมาตัวอ่อนจะขึ้นจากน้ำและลอกคราบกลายเป็นตัวโตเต็มวัยซึ่งอาศัยอยู่บนบก และหายใจโดยใช้ระบบท่อลม  เช่น แมลงปอ  ชีปะขาว

              4. Complete  metamorphosis  เป็นการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างครบ  4  ขั้นตอน คือเริ่มจากไข่ ( Egg ) แล้วฟักเป็นตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนอน  ( larva ) ซึ่งกินอาหารเก่งและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  ต่อมาจะมีการสร้างสารมาหุ้มตัวเอาไว้กลายเป็นดักแด้ ( pupa ) จากการศึกษาพบว่าตัวอ่อนในระยะนี้จะหยุดการเคลื่อนไหวและหยุดกินอาหาร  แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตลอดเวลาจนกระทั่งกลายเป็นตัวโตเต็มวัย ( Adult  or  Imago ) เช่น ผีเสื้อ  ด้วง  ยุง  แมลงวัน  ผึ้ง  ต่อ  แตน  มด  ไหม

       การตั้งครรภ์และการคลอด

              เมื่อเกิดการตกไข่ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน  ถ้ามีการร่วมเพศตัวออสุจิที่เข้าไปในช่องคลอดจะเข้าไปผสมกับไข่ในบริเวณท่อนำไข่  ภายใน 10-12  ชั่วโมงจะเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นไซโกต (zygote)   และไซโกตจะเจริญเติบโตเป็นเอมบริโอ (Embryo)  เคลื่อนไปตามผนังมดลูกชั้นในและฝังตัวหลังจากเกิดการปฏิสนธิแล้วประมาณ 7 วัน  จนมีอายุ 8 สัปดาห์จะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนคนเรียกว่า ฟีตัส (Fetus)  ซึ่งจะอยู่ในท้องแม่จนครบ 9 เดือนเศษจึงคลอดออกมา

อายุครรภ์ (สัปดาห์)

สิ่งที่ปรากฎขึ้น

3

หัวใจ  สมองและไขสันหลัง

4-5

ปุ่มตา  ปุ่มแขน-ขา

6

หู

7

เพดานปาก

8

มีอวัยวะเพศภายนอก  มีกระดูกแข็งขึ้นแทนกระดูกอ่อน  มีอวัยวะทุกอย่างเหมือนคนแต่บางอวัยวะยังปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้

9-36

มีทุกอย่างสมบูรณ์พร้อมที่จะทำงานได้

          การคลอด  ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน  oxytocin  มากระตุ้นมดลูกชั้นกลางให้บีบตัวอย่างแรง  เกิดการ  หดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องทำให้ปากมดลูกเปิดดันทารกออกมาทางช่องคลอด

                ความผิดปกติของการตั้งครรภ์

              1. การเกิดลูกฝาแฝด (twins)  มี 2 แบบ คือ

                            1.1 แฝดร่วมไข่ (identical  twins)  เกิดจากไข่ 1 ใบผสมกับอสุจิ 1 ตัว  เป็นไซโกตแล้วไซโกตแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วนหรือมากกว่า 2  จะมีเพศเดียวกัน  รูปร่างลักษณะเหมือนกัน  อุปนิสัยสติปัญญาใกล้เคียงกัน และความสามารถต่างๆ จะใกล้เคียงกันมาก

                            1.2 แฝดต่างไข่ (fraternal  twins)  เกิดจากไข่มากกว่า 1 ใบ  ผสมกับอสุจิมากกว่า 1 ตัว  ทำให้เกิดไซโกตและเอมบริโอมากกว่า 1  แฝดแบบนี้อาจเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ได้ 

              2. การแท้ง  หมายถึง การที่ทารกคลอดก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 28 สัปดาห์  หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม

              3. การคลอดก่อนกำหนด  หมายถึง การที่ทารกคลอดในช่วงอายุครรภ์ 28-37 สัปดาห์

              4. การท้องนอกมดลูก  คือ การที่ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว  ไปฝังตัวในบริเวณอื่นที่ไม่ใช่มดลูก เช่น ช่องท้อง  ปีกทดลูก  ทำให้ผู้เป็นแม่มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงต้องพบแพทย์ด่วนและอาจมีอันตรายได้

              5. การพิการแต่กำเนิด  เกิดจาก ยา  สารเคมี  การติดเชื้อ  แอลกอฮอล์  ความผิดปกติของหน่วยพันธุกรรม

 

ประชากรกับการคุมกำเนิด

1.        การคุมกำเนิดแบบถาวร  โดยการทำหมันชาย-หญิง

2.        การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว  เช่น

- การกินยาคุมกำเนิด                                           - การกินยาเม็ดคุมกำเนิดหลังการร่วมเพศ

- การฉีดยาคุมกำเนิด                                           - การใส่ห่วงอนามัย

- ยาเม็ดสอดช่องคลอด                                          - ฝังยาคุมกำเนิด

- การใช้ยาพ่นจมูก                                          - ยาเม็ดฟองฟู่

-แสตมป์ยาคุมกำเนิด                                          - การใช้ถุงยางอนามัย

-การนับระยะปลอดภัย