Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของกิจกรรมเข้าจังหวะ

ประวัติของกิจกรรมเข้าจังหวะ

กิจกรรมเข้าจังหวะ หมายถึง กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกริยาตอบสนองต่อดนตรีและจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบใดก็ตาม ถ้ากระทำให้เข้ากับจังหวะ ก็จะเป็นกิจกรรมเข้าจังหวะทั้งสิ้น

การดนตรีและเพลง

การดนตรีถือเป็นศิลปะชิ้นแรกของมนุษย์ ทั้งนี้เพราะดนตรีเป็นเรื่องของจังหวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ โดยอาจเริ่มต้นโดยการตบมือ กระทืบเท้า เคาะไม้ จนกระทั่งผลิตเครื่องดนตรีขึ้นมา
การดนตรีและเพลงเริ่มขึ้นในยุคกลาง(ค.ศ. 500-1500) ในยุคฟื้นฟู(ศตวรรษที่ 18) ในยุคคลาสสิค(กลางศตวรรษที่ 18 - ต้นศตวรรษที่ 19) และในยุคโรแมนติค

การละคร

เป็นการแสดงภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่หรือเป็นการแสดงสัญชาตญาณของการเลียนแบบ จุดเริ่มต้นของการละครเริ่มในกลุ่มชนแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์ ส่วนการละครของไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้พัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการแสดงโชนซึ่งต้องใช้ดนตรีและการเต้นรำประกอบท่าทางด้วย

การเต้นรำ

เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายให้เข้ากับจังหวะดนตรี การเต้นรำเริ่มขึ้นในยุคโบราณ เกิดขึ้นตามความเชื่อของมนุษย์ที่เคารพนับถือเทพเจ้า ยุคอียิปต์โบราณ ยุคกรีกโบราณ ยุคโรมัน ในยุคกลาง ยุคฟื้นฟู (ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14-16)

การเต้นรำพื้นเมือง

มีมานานแล้วโดยชาวกรีกโบราณรู้จักการเต้นรำแบบลูกโซ่ โดยจับมือกันเป็นวงกลม การเต้นรำพื้นเมืองมีอยู่ในหลายประเทศ คือ
1.อเมริกา 2.อังกฤษ 3.อิตาลี 4.กรีซ 5.สเปน 6.สวิตเซอร์แลนด์ 7.สแกนดิเนเวีย 8.รัสเซีย 9.อิสราเอล 10.อินเดีย 11.จีน 12.ญี่ปุ่น

การลีลาศ

คือการเต้นรำคู่ชั้นสูงซึ่งมีแบบการเต้นโดยเฉพาะ โดยดัดแปลงมาจากการเต้นรำพื้นเมือง การเต้นรำจึงเป็นสื้อในการพบปะสังสรรค์หรือใช้รับแขกผู้มาเยือน ในสมัยฟื้นฟูวิทยาการมีการเต้นรำ 2 ประเภท คือการเต้นรำชั้นสูงกับการเต้นำชั้นต่ำ ต่อมาในศตวรรษที่ 17 การเต้นรำแบบใหม่ๆได้ถูกนำเข้ามาในสมัยพระเจ้าหลุยห์ที่ 14 จากนั้นผรั่งเศสและอังกฤษได้แลกเปลี่ยนการเต้นรำกัน อังกฤษรับบอลรูมจากฝรั่งเศสและฝรั่งเศศรับการเต้นรำแบบชนบทของอังกฤษโดยดัดแปลงให้เหมาะสมขึ้น ซึ่งคล้ายกับการเต้นสแควร์ดานซ์ของอังกฤษ
ใน ค.ศ. 1789 สมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส ได้เกิดการเต้นวอลซ์ขึ้นและแพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในตะวันตก
ต้นศตวรรษที่ 19 จังหวะที่รู้จักกันล่าสุด คือ American Jazz
ต่อมา จังหวะแทงโก้ เริ่มแพร่หลายที่ปารีส(ค.ศ. 1910) การเต้นรำแบบคิวบันรุมบ้า ใน ค.ศ.1930(มีชื่อเสียงมาก)
ในประเทศไทย มีการเต้นรำลีลาศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ตามบันทึกของแหม่มแอนนา ลีโอโนเวล นักเต้นรำคนแรกของไทยคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวะที่เต้นกันในสมัยแรก คือ จังหวะวอลซ์

ความสำคัญของกิจกรรมเข้าจังหวะ

กิจกรรมเข้าจังหวะเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ มนุษย์จึงต้องเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจังหวะในรูปแบบหรือจังหวะนอกรูปแบบ
จังหวะในรูปแบบ หมายถึง จังหวะที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้นมาโดยตรง เช่น ตีกลอง ตีฉิ่ง เคาะไม้ ฯลฯ และพยายามเคลื่อนไหว ส่วนต่างๆของร่างกายให้เข้ากับจังหวะ เช่น การเดินพาเหรด การฝึกกายบริหาร
จังหวะนอกรูปแบบ หมายถึง จังหวะที่เกิดขึ้นเองโดยมนุษย์ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวโดยตรง เช่น จังหวะในธรรมชาติทั่วๆไป จังหวะในการประกอบกิจวัตรประจำวัน จังหวะภายในร่างกายของมนุษย์

ประโยชน์ของกิจกรรมเข้าจังหวะ

1.สนุกสนานเพลิดเพลินใจ กล้าแสดงออกในทางที่ดีงาม
2.มีบุคลิกภาพในด้านการเคลื่อนไหวที่สง่างาม และมีสัมพันธ์มิตรกว้างขวางมากขึ้น
3.ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ
4.จรรโลงวัฒนธรรมในทางที่ดีงาม
5.รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการออกกำลังกายกิจกรรมเข้าจังหวะ

เรดออคเทน ผู้จัดจำหน่ายเกมกิจกรรมเข้าจังหวะที่อาศัยการแม่นปุ่มบวกกับท่วงทำนองดนตรีร็อคที่สร้างอารมณ์การเล่นเกมให้เมามันยิ่งขึ้น ล่าสุดพวกเขาออกเปิดเผยรายชื่อเพลงที่ได้ลิขสิทธิ์มาชุดสุดท้าย 40 เพลงสำหรับเกมภาคใหม่ กีตาร์ ฮีโร่ 2 (Guitar Hero II)