Custom Search

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

(Strategic Information Systems: SIS)

ความสำคัญของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

  • บทบาทที่สำคัญประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ คือ บทบาทในด้านกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะสินค้าหรือบริการ กระบวนการทำงาน องค์การ โครงสร้างอุตสาหกรรมและการแข่งขันได้ จึงมีหลายองค์กรที่ได้นำเอาระบบสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือ และสร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน

ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ SIS ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน เช่น

  • ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (SIS) คือ ระบบคอมพิวเตอร์ในระดับใดก็ตามขององค์การซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ การดำเนินงาน ผลผลิต การบริการหรือความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ขององค์การ เพื่อที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์การ (Laudon & Laudon, 1995)
  • ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (SIS) คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนหรือสร้างตัวแปรและกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขัน SIS อาจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบใดก็ได้ TPS, MRS, DSS, ฯลฯ ที่ช่วยทำให้ความได้เปรียบในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ลดความเสียเปรียบในการแข่งขัน หรือช่วยในการบรรลุผลด้านกลยุทธ์อื่น ๆ  (Normann, 1994)

สรุป SIS คือ ระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสนับสนุน   กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กร

กรอบแนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจว่า IT ไม่ใช่แค่เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ข้อมูล หรือ สารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์, ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, และเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยต้องพิจารณาประกอบกับสิ่งแวดล้อม, ความสามารถ, กระบวนการในการทำงาน, และระดับของการใช้กลยุทธ์ในองค์กรด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ด้านต่างๆ


กลยุทธ์ของธุรกิจ

กลยุทธ์ขององค์กร

กลยุทธ์ด้านสารสนเทศ

กรอบแนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

1.กลยุทธ์ของธุรกิจ: เป็นกรอบสำหรับกลยุทธ์ขององค์กรและกลยุทธ์สารสนเทศ, เป็นตัวกำหนดทิศทางของธุรกิจ, เป็นตัวกำหนดแผนเพื่อตอบสนองต่อพลังของตลาด ความต้องการของลูกค้าและความสามารถขององค์กร

2.กลยุทธ์ขององค์การ : เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบองค์กร ควบคุมการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกลยุทธ์ของธุรกิจได้

3.กลยุทธ์ด้านสารสนเทศ : ใช้ในการสนับสนุนกลยุทธ์ของธุรกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

กระบวนการวางแผนกลยุทธ์สำหรับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

 



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนประกอบต่าง ๆ ในการวางแผนสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

  • แผนกลยุทธ์ของบริษัท: คือ แผนซึงระบุวัตถุประสงค์ในระยะยาวของธุรกิจ, ข้อเสนอในการบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (Vision), ภารกิจ (Mission), เป้าหมาย (Goal), และวัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์การ
  • ภารกิจและขอบเขตของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ: กำหนด ภารกิจเฉพาะของระบบ MIS เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุแผนกลยุทธ์ของบริษัท
  • สิ่งแวดล้อมภายนอก: พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น ลูกค้า, คู่แข่งขัน, ผู้เสนอขายวัตถุดิบ, นโยบายรัฐบาล, และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นต้น
  • การวิเคราะห์ MIS และการเลือกกลยุทธ์ MIS : คือการพิจารณาเลือกกลยุทธ์หลาย ๆ กลยุทธ์ จากหลาย ๆ สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น และตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ณ สถานการณ์นั้น ๆ
  • การปฏิบัติการ MIS : คือการดำเนินการตามแผนงาน และนโยบายต่าง ๆ ที่ได้วางไว้ ซึ่งแผนงานอาจจะมีการกำหนดไว้ ทั้งแผนระยะสั้น และแผนระยะยาว เพื่อให้บรรลุ กลยุทธ์ที่ได้วางไว้

กรอบแนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

กลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

  1. กลยุทธ์การใช้ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership Strategy) เช่น Air Asia ใช้ ระบบการจองตั๋ว ผ่านระบบ Internet ช่วยลดต้นทุนการจ้างพนักงานตัวแทนจำหน่าย
  1. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)

              เช่น โทรศัพท์มือถือ Hutch นำระบบ GIS เข้ามาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการเลือกเส้นทางเดินทาง หรือตรวจสอบที่อยู่ของอีกฝ่าย

  1. กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)

       เช่น บริษัท บัตรกรุงไทย (KTC) เสนอทางเลือกการใช้บัตรให้แก่สมาชิก โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายพฤติกรรมการใช้ของลูกค้า

4)    กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม (Innovation Strategy)

              เช่น ร้านหนังสือ online ชื่อ amazon.com ได้นำระบบ E-commerce มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยที่ร้านไม่มีสถานที่ที่ตั้งให้ลูกค้าได้ไปเยี่ยมชมเลือกซื้อหนังสือ แต่สามารถทำกำไรได้หลายร้อยล้านดอลล่าต่อปี

5.กลยุทธ์ด้านพันธมิตร (Alliance Strategy)

              เช่น บริษัท ชิน คอร์ป ร่วมมือกับ แอร์ เอเชีย ดำเนินธุรกิจสายการบินแบบประหยัด (low cost) และพัฒนาระบบเกี่ยวกับระบบการให้บริการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน

ผลกระทบของสารสนเทศต่อการแข่งขัน

สารสนเทศมีผลกระทบต่อการแข่งขัน 3 ประการ คือ

  1. สารสนเทศเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรม และเปลี่ยนแปลงกติกาในการแข่งขัน
  2. สารสนเทศทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน
  3. สารสนเทศสร้างธุรกิจใหม่

 

 

 

ผลกระทบของสารสนเทศต่อการแข่งขัน

  1. สารสนเทศเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรม:

เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมหรือรูปแบบการดำเนินงานอุตสาหกรรมได้ เช่น นำระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาแทนระบบ Manual System, หรือการนำสารสนเทศเข้ามาใช้ทำให้ขนาดองค์กรเล็กลง (Downsizing), นำระบบ Network มาใช้บริหารจัดการงานมากขึ้น ทำให้สายบังคับบัญชาการทำงานไม่ชัดเจน เป็นต้น

2.  สารสนเทศทำให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน

สารสนเทศช่วยสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุน, การทำให้เกิดความแตกต่างในสินค้า/บริการ, การสร้างนวัตกรรมใหม่, และการสร้างความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการประสานงานระดับต่าง ๆ ขององค์กร 

  1. สารสนเทศสร้างธุรกิจใหม่

              สารสนเทศทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นในอุตสาหกรรม 3 ทางคือ

      • ทำให้การสร้างธุรกิจใหม่มีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
      • เทคโนโลยีทำให้มีความต้องการธุรกิจใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจ Hardware, Software หรือรูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ
      • เทคโนโลยีสร้างธุรกิจใหม่จากพื้นฐานธุรกิจเดิม

ข้อแนะนำในการใช้ IT เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ข้อแนะนำสำหรับผู้บริหารในการนำ IT มาใช้ให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันดังนี้ (Senn, 1992)

    • ควรพิจารณากระบวนการทำงานก่อนนำระบบสารสนเทศมาติดตั้ง
    • ควรให้เจ้าหน้าที่แผนกสารสนเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่แผนกอื่น รวมทั้งลูกค้า, ซัพพลายเออร์, และพนักงานขาย
    • ควรเริ่มพัฒนาผลงานชิ้นต่อไปก่อนที่จะนำผลงานในปัจจุบันออกสู่ตลาด
    • การใช้ระบบสารสนเทศจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของหน่วยงาน