การปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในบริเตนใหญ่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด
เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์จุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นวลีที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมากในยุโรป สืบเนื่องมาจากการค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินราคาถูกที่มีเหลือเฟือกับนวัตกรรมทางเครื่องกล คือเครื่องจักรไอน้ำที่เริ่มด้วยการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ ฯลฯ ที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมายมหาศาลและการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล รวมทั้งระบบโรงงานและขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่ ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวทำให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เริ่มแออัด
ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวตกอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2293-2393 โดยเริ่มขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่วยุโรป การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์ในแลงแคชเชียร์ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของสก็อตแลนด์และที่บริเวณภาคตะวันตกของยอร์กเชอร์ (Yorkshire) โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเหล่านี้ เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงานจากชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า แต่ก็ได้กลายเป็นตัวสำคัญในการขับเศรษฐกิจแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2373 เป็นต้นมา แต่นักประวัติศาสตร์กลับเห็นว่าบทบาทของการตลาด ความมั่นคงทางการเมืองและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการจัดการที่เริ่มขึ้นในสมัยนั้นเป็นหัวใจของการขยายตัวอย่างรุนแรงที่แท้จริงของอุตสาหกรรม และในกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน ฮาร์กรีฟส์ เคย์ และวัตต์ นอกจากนี้ กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง รวมทั้งการจัดสร้างสวนสาธารณะก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน
ผู้ใช้วลี “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” เป็นคนแรกคือทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเบอร์ลินชื่อหลุยส์ Guillaume เมื่อปี พ.ศ. 2342 แต่ผู้ที่นำมาใช้จนเริ่มแพร่หลายเป็นนักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์ชื่อ Auguste Blanqui เมื่อปี พ.ศ. 2380 รวมทั้ง ฟรีดริช เองเงิลส์ ในหนังสือเรื่อง “สภาพของชนชั้นกรรมกรในประเทศอังกฤษ” (พ.ศ. 2388) จากนั้นมาก็ได้มีผู้นำวลีนี้มาใช้แพร่หลายเป็นการถาวร
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิธีการและระบบการผลิตจากการใช้แรงงานคนและสัตว์รวมทั้งพลังงานตามธรรมชาติ มาเป็นการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรกลแบบง่ายๆ จนถึงแบบสลับซับซ้อน ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพรวดเร็วขึ้น
สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
- ความก้าวหน้าของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์
- การสำรวจค้นพบทางทะเลทำให้พบดินแดนใหม่ๆ
- จำนวนประชากรเพิ่มมาขึ้น ความต้องการสินค้ามีมากขึ้น
- ระบบเงินทุนและการธนาคารที่ก้าวหน้ามั่นคงขึ้น
พัฒนาการของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ โดยเริ่มต้นจากการปฏิวัติเกษตรกรรม แล้วได้ขยายตัวออกไปสู่วงการต่างๆ และประเทศในยุโรปอย่างกว้าขวาง
ผลงานการค้นคว้าที่สำคัญของนักประดิษฐ์เครื่องจักรกลที่สำคัญ
- จอห์น เคย์ ประดิษฐ์กี่กระตุกช่วยให้การทอผ้าเร็วขึ้นเป็นสองเท่า
- เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายให้ชื่อว่า "Spinning Jenny"
- ริชาร์ด อาร์คไรท์ ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายโดยใช้พลังน้ำมีชื่อว่า "Water Frame"
- แซมมวล ครอมป์ตัน ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายมีชื่อว่า "Mule"
- เอไล วิทนี ประดิษฐ์เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายออกจากใย
- เจมส์ วัตต์ สามารภนำพลังงานไอน้ำมาใช้กับเครื่องจักรกล และได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างแพร่หลาย
- เฮนรี คอร์ท ค้นพบวิธีทำถ่านหินให้บริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงในการหลอมเหล็ก
- ยอร์ช สตีเฟนสัน ประดิษฐ์หัวรถจักรไอน้ำ "Rocket"
- โรเบิร์ต ฟุลตัน นำพลังงานไอน้ำมาใช้กับเรือ
- แซมมวล คูนาร์ต สามารถเดินเรือกลไฟข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคได้
การปฏิวัติอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
สมัยแรก ได้ชื่อว่า สมัยแห่งพลังงานไอน้ำ มีลักษณะสำคัญคือ
- ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน
- เน้นวงการอุตสาหกรรมทอผ้า
- เริ่มนำเหล็กเข้ามาเป็นพื้นฐานการผลิต
สมัยที่สอง ได้ชื่อว่า สมัยแห่งอุตสาหกรรมเหล็กกล้า มีผลงานที่สำคัญคือ
- การผลิตเหล็กกล้าแทนเหล็กธรรมดา
- การใช้ก๊าซ ไฟฟ้า และน้ำมันเป้นพลังงานแทนถ่านหิน ได้แก่ ผลงานของไมเคิล ฟาราเดย์ ผู้ประดิษฐ์ไดนาโม โธมัส เอดิสัน ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
- การนำเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต
- ความก้าวหน้ทางอุตสาหกรรมเคมี
- การผลิตโลหะเบาและโลหะผสมเหล็ก
- ความก้าวหน้าในวงการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร โดยมีการประดิษฐ์ยานพาหนะใหม่ๆ เช่นรถยนต์ เครื่องบิน โยวิลเบอร์และออร์วิลล์ ไรท์ การขยายตัวในวงการสื่อสารโดย อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ ประดิษฐ์เครื่องโทรศัพท์ และ กูกิลโม มาร์โคนี ประดิษฐ์วิทยุโทรเลข
- การขยายตัวขององค์การเงินทุนซึ่งสืบเนื่องมาจากการดำเนินงานธุรกิจที่ออกมาในรูปบริษัท จึงทำให้เกิดการระดมทุนซึ่งจำเป็นกู้ยืมจากธนาคารและองค์การเงินทุนต่างๆ
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ
ในด้านเศรษฐกิจ
- เกิดระบบโรงงาน
- เกิดระบบนายทุน
- เกิดการขยายตัวทางอุตสาหกรรมและเพิ่มรายได้ของประชากร
- ก่อให้เกิดความเจริญทางด้านการคำระกว่างประเทศ และมีการแข่งขันกันเพื่อความยิ่งใหญ่
- ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันทางเศรษฐกิจ
- เกิดความเหลื่อมล้ำกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและทำให้มีประเทศด้อยพัฒนาและประเทศพัฒนาเกิดขึ้น
ในด้านสังคม
- จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น
- เกิดเมืองใหญ่และแหล่งอุตสาหกรรม
- สภาพความเป็นอยู่และการทำงานของกรรมกรไม่ดี เกิดปัญกาแหล่งเสื่อมโทรม
- เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคม มีชนชั้นกลางและชนชั้นกรรมาชีพในสังคม
- มีการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องมือในการทำสงคราม
ในด้านการเมือง
- ชนชั้นกลางได้อำนาจทางการเมือง
- กรรมกรได้รับการเลื่อนฐานะเป็นกำลังสำคัญทางการเมืองภายหลังการก่อตั้งสหบาลกรรมกร (Trade Union หรือ Labour Union) แล้วซึ่งต่อมาได้ก้าวไปสู่การก่อตั้งพรรคกรรมกรขึ้น
- รัฐบาลได้ช่วยเหลือในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของกรรมกรให้ดีขึ้น
- เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม อันสืบเนื่องมาจากความต้องการตลาดการค้าเพิ่มขึ้น
ในด้านสติปัญญา ได้เกิดแนวความคิดที่แตกต่างกัน 2 ลัทธิ คือ
- ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ผู้ก่อตั้งลัทธินี้คือ อดัม สมิธ เขาเน้นในเรื่องการดำเนินงานธุรกิจการค้าแบบเสรี (Laissez Faire) โดยรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
- ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ผู้ก่อตั้งลัทธินี้คือ คาร์ลมาร์กซ์ ซึ่งเขาเน้นในการที่ให้รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการสำคัญ เช่น เหมืองแร่ รถไฟ ส่วนกิจการเล็กๆ ให้เอกชนเนินการเอง นักสังคมนิยมที่สำคัญนอกจากมาร์กซ์ ได้แก่ โรเบิร์ต โอเวน, ฟรีดิช เองเกลส์
การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม
การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงในวิธีการและระบบการผลิต จากการใช้แรงงานคนและสัตว์รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติ มาเป็นการใช้เครื่องมือ และเครื่องจักรแบบง่ายๆจนถึงแบบซับซ้อนที่มีประสิทธิภาพรวดเร็ว และมีกำลังสูง จนเกิดเป็นระบบโรงงาน แทนการผลิตในครัวเรือน
การนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้ในการผลิต เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และประกฎผลอย่างเต็มที่ในศตวรรษที่ 19 ต่อจากนั้นได้ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก อเมริกา รุสเซีย และทั่วโลกในเวลาต่อมา
ส่วนใหญ่ประเทศในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา เพิ่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศของตนอย่างจริงจัง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การพัฒนาอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเ็ป็นประเทศแรกเพราะมีปัจจัยประกอบคือ
1. มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงทำให้มีเสถียรภาพทางการเมือง
2. มีทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่องานอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์ คือ เหล็กและถ่านหิน
3. มีเงินทุนและระบบการเงินที่มั่นคง
4. มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งและเป็นมหาอำนาจทางทะเล
5. มีอาณานิคมมาก ซึ่งกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดการค้าด้วย
6. ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
จากความก้าวหน้าของมนุษย์ในการนำเหล็กและถ่านหินมาใช้ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาอันดับแรกคือ อุตสาหกรรมทอผ้า โดยมีนักประดิษฐ์และผลงานคือ
1. จอห์น เคย์ ประดิษฐ์กระสวยใช้ในการทอผ้าเรียกว่า กี่กระตุก
2. เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย ที่เรียกชื่อว่า สปินนิ่ง เจนนี่ ปั่นด้ายทีละ 8 เส้น
3. ริชาร์ด อาร์กไรท์ ประดิษฐ์ วอเตอร์เฟรม เป็นเครื่องปั่นด้ายที่ใช้พลังน้ำ
เมื่อสามารถปั่นเส้นด้ายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เครื่องทอผ้าแบบเก่าที่ใช้อยู่เดิมทอไม่ทัน จึงทำให้มีการพัฒนาเครื่องทอผ้าขึ้น โดยนักประดิษฐ์คือ
1. เอดมันต์ คาร์ตไรท์ ประดิษฐ์ เพาเวอร์ ลูม เป็นเครื่องทอผ้าที่ใช้พลังงานจากม้า สามารถทอผ้าได้มากเท่ากับใช้แรงงานคนถึง 200 คนในเวลาเดียวกัน
2. เฮไล วิทนี ประดิษฐ์เครื่องแยกเมล็ดฝ้าย ชื่อว่า คอททอนกิน ที่ทำงานได้เร็วกว่าเดิมหลายร้อยเท่า
นอกเหนือจากการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาในการทอผ้าแล้ว การพัฒนา เครื่องจักรไอน้ำ ก็นับว่ามีบทบาทสำคัญ โดยนักประดิษฐ์คือ
1. มาร์ควิส เป็นผู้ประดิษฐ์ในระยะแรก แ่ต่ึคุณภาพไม่ดี
2. โทมัส นิวโคเมน ได้นำของมาร์ควิสมาดัดแปลงจนมีประสิืทธิภาพสูงขึ้น จนนำไปใ้ช้สูบน้ำออกจากบ่อถ่านหินได้ แต่เปลืองเชื้อเพลิงมาก
3. เจมส์ วัตต์ นำเครื่องจักรของ โทมัส นิวโคเมน มาดัดแปลงจนมีประสิทธิภาพกว่าเดิมถึง 4 เท่า จนสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้ในเวลาต่อมา
การใช้พลังงานจากธรรมชาติในระยะแรกๆ จนพัฒนามาเป็นเครื่องจักรไอน้ำได้นั้น มนุษย์มีความพยายามเป็นอย่างมาก
เหล็กและถ่านหิน เ้ป็นทรัพยากรพื้นฐานสำคัญที่ถูกพัฒนานำมาใช้ มีนักประดิษฐ์คือ
1. อับราฮัม ดาร์บี เป็นคนแรกที่นำเอาถ่านหิน ที่เรียกว่าถ่านโค้ก มาใช้ถลุงเหล็ก
2. เฮนรี คอร์ต พบวิธีถลุงเหล็กให้ได้เหล็กที่มีคุณภาพขึ้น และพบวิธีรีดให้เป็นแผ่นบางๆหรือเป็นเส้น ทำให้สะดวกในการนำไปใช้
3. จอห์น สมีัตัน พบวิธีแยกอากาศออกจากถ่านโค้ก ทำให้การใช้ถ่านโค้กเป็นเชื้อเพลิงมีควันน้อยลง
ความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความจำเป็นในการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่ง โดยมีนักประดิษฐ์ที่สำคัญคือ
1. จอห์น แมคอาดัม พบวิธีการสร้างถนนให้มีคุณภาพ โดยการยกพื้นถนนให้สูงขึ้นมีคูระบายน้ำใช้หินขนาดต่างๆปูพื้นบดทับให้เรียบ
2. ริชาร์ด เทรวิทิค นำเครื่องจักรไอน้ำของ เจมส์ วัตต์ มาพัฒนาเป็นหัวรถจักร ลากขบวนรถพ่วงที่บรรทุกถ่านหิน
3. ยอร์จ สตีเฟนสัน พัฒนาหัวรถจักรไอน้ำมีความเร็วมากขึ้น
4. โรเบิร์ต ฟุลตัน นำเครื่องจักรไอน้ำมาใ้ช้กับเรือกลไฟ จนทำให้การขนส่งทางน้ำรวดเร็วยิ่งขึ้น
หลังจากที่มนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยี โดยการนำเอาเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาด้านการขนส่งทางบก ทางน้ำ สำหรับางอากาศมนุษย์มีความพยายามที่จะบินได้เหมือนนกในระยะแรก จึงมีการพัฒนามาเป็นระยะจนมาเป็น เครื่องบิน โดยมีบุคคลสำคัญคือ
1. จอห์น สตริงเฟลโล ชาวอังกฤษ สร้างเครื่องบินสำเร็จในปี ค.ศ.1848 แต่บินได้เพียง 40 หลาเท่านั้น
2. คลีเมนต์ เอเดอร์ ชาวฝรั่งเศส สร้างเครื่องบินปีกชั้นเดียว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ แต่บินได้สั้นมาก
3. วิลเบอร์และออร์วิลส์ ไรท์ ชาวอเมริกัน สร้างเครื่องบินโดยใช้เครื่องจักรไอน้ำหมุนใบพัด จนเป็นต้นแบบของเครื่องบินในเวลาต่อมา
นอกจากพัฒนาการด้านการขนส่งแล้ว พัฒนาการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมก็มีความจำเป็น จึงมีนักประดิษฐ์คือ
อังเดร แอมแปร์ พบวิธีการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ส่งข่าวสารทางเส้นลวด
แซมมวล มอร์ส สร้างเครื่องโทรเลขไฟฟ้า และรหัสในการสื่อสารทางโทรเลข เรียกว่ารหัสมอร์ส
อเล็กซานเดอร์ เกรเฺฮมเบลล์ พบวิธีการสร้างเครื่องโทรศัพท์
กูกลิเอลโม มาร์โคนี ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุได้สำเร็จ
นอกจากความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมแล้ว พัฒนาการด้านเทคโนโลยีต่างๆก็ได้รับการคิดค้นเช่นกัน คือ
อเลสซานโดร โวลตา พบวิธีการทำแบตเตอร์รี่ไฟฟ้า
ไมเคิล ฟาราเดย์ ประดิษฐ์ไดนาโมหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้สำเร็จ ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าขยายตัวในเวลาต่อมา
โธมัส อัลวา เอดิสัน ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า กล้องถ่ายภาพ เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องฉายภาพยนตร์
วัลเดมาร์ โพลสัน ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงด้วยแม่เหล็ก
แม้มนุษย์จะคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ได้มากน้อยก็ตาม มนุษย์ก็ยังถูกเบียดเบียนด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมาย ดังนั้นการแพทย์ จึงได้รับความสนใจและคิดหาวิธีการป้องกันและรักษาด้วย
เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ พบวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ
หลุยส์ ปาสเตอร์ พบว่าแบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นตัวเหตุทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ และพบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
เซอร์ เจมส์ ซิมป์สัน พบสารโคลโรฟอร์ม ซึ่งนำมาใช้เป็นยาสลบที่ช่วยในการผ่าตัด
โจเซฟ ลิสเตอร์ พบวิธีการฆ่าเชื้อในการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยมากขึ้น
จะพัฒนาเทคโนโลยีใดๆให้ดีเลิศสักขนาดไหนก็ตาม มนุษย์ก็ยังไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้นั่นเอง ถ้าหากไม่มีอาหารพอสำหรับการบริโภค ดังนั้นเทคโนโลยีจึงถูกนำมาพัฒนาทางด้านการเกษตรด้วย
การปฏิวัติทางการเกษตรเกิดขึ้นที่อังกฤษเป็นประเทศแรกเช่นกัน ในระยะแรกๆนิยมทำกันในระบบเปิดโล่ง ชาวนาจะมีนาผืนเล็กๆ กระจายทั่วไป มีการปลูกพืชซ้ำชนิดกัน
มาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 การเพาะปลูกถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบการปิดล้อม มีการรวมที่นาผืนเล็กๆให้เป็นผืนเดียวกัน นำเครื่องจักรมาใช้ ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนจึงเกิดขึ้น ผลผลิตจึงเพิ่มขึ้น การเกษตรจึงกลายเป็นอาชีพที่ทำรายได้มากขึ้น
ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มนุษย์ได้รับความสำเร็จ ความสะดวกสบาย ที่สามารถนำมาตอบสนองความต้องการในปัจจัยสี่ของมนุษย์ได้อย่างมากมาย จนทำให้มีความรู้สึกว่าโลกเรานี้แคบลง ทำให้บางท่านกล่าวว่าเป็นยุค "โลกานุวัตร" ซึ่งหมายถึงโลกแห่งข้อมูลข่าวสารต่างๆนั่นเอง
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
นับตั้งแต่มนุษย์ก้าวเข้าสู่สมัยใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 15-18 ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่เท่ากับการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 16-17 จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์คือ การค้นพบทฤษฎีสุริยจักรวาล ของ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (ค.ศ.1473-1543) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ ผู้แสดงความคิดว่าดวงอาทิตย์และคำสอนของพระในศาสนาคริสต์ที่เชื่อว่า พระเจ้าสร้างโลก สร้างดวงอาทิตย์ โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
แนวคิดทางปรัชญาทั้ง 2 แนวได้นำไปใช้ในสังคมมนุษย์ ทั้งในด้านการเมือง ศาสนา และเศรษฐกิจ ในยุคการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ จึงได้ชื่อว่า ยุคแห่งเหตุผล (Age of Reason) หรือ ยุคแห่งภูมิธรรม (The Enlightenment) ทำให้เกิดความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมทั้งการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผมมายังสังคมมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 มีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่มีการค้นคว้าทดลองพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในยุคนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ - นิโคลัส โคเพอร์นิคัส (Nicholaus Copernicus ค.ศ. 1473-1543) เป็นนักวิทยาศาสตร์เชื้อสายโปแลนด์ ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ โลกไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล นับเป็นการปฏิวัติทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ เพราะเป็นการอ้างทฤษฎีที่ค้านกับความเชื่อเดิมเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว ซึ่งเสนอโดย โทเลอมี
- แอนเดรียส วีเซเลียส (Andreas Vesalius ค.ศ. 1514-1563) นักกายวิภาคศาสตร์ผู้ศึกษาจากศพคนจริง ๆ และคัดค้านคำสอนของเกเลน ทำให้คำสั่งสอนของเกเลนซึ่งเชื่อกันมานานถึง 1,500 ปี ถูกล้มล้างไป การศึกษากายวิภาคของคนจากร่างกายของคนจึงทำให้การพัฒนาด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้าเข้าสู่ยุคปัจจุบันมากขึ้น
- กาลิเลโอ (Galileo Galilei ค.ศ. 1564-1642) เป็นนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีความคิดเห็นก้าวหน้าล้ำยุคมาก และไม่เห็นด้วยกับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์โบราณของอริสโตเติล โทเลอมี และเกเลน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ยาวนานกว่าพันปีทั้งสิ้น ดังนั้น กาลิเลโอจึงประสบปัญหาในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก เพราะขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนาอีกด้วยเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า บิดาแห่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์เขาค้นพบของแรงดึงดูดของวัตถุของโลกในชั้นแรก และเป็นผู้ปรพดิษฐ์กล้องดูดาว ที่สามารถส่องดูการเคลื่อนไหวของดาวได้เป็นคนแรก
- โยฮัน เคปเลอร์ (Johannes Kcpler ค.ศ. 11571-1630) เป็นคนแรกที่วางรากฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของจักรวาล และอธิบายวิถีการโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ปัจจุบันยังใช้กันอยู่เรียกว่ากฎของเคปเลอร์ เขาสรุปว่า ดวงดาวต่าง ๆ โคจรเป็นวงรีไม่ใช่วงกลม
- โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle ค.ศ. 1627-1692) บิดาแห่งวิชาเคมีและเป็นคนแรกที่ผลักดันให้เกิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีการศึกษาทดลองประกอบกับการตั้งทฤษฎีโดยโจมตีแนวคิดของอริสโตเติลที่กล่าวว่าสสารประกอบด้วยธาตุ 4 ชนิด แต่บอยล์กลับกล่าวว่าสสารประดอบด้วยธาตุมากกว่านั้นมากมาย
- จอห์น เรย์ (John Ray ค.ศ. 1627 - 1705) เป็นผู้เริ่มงานด้านชีววิทยา จำแนกพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่และตั้งชื่อไว้ด้วย เขาจำแนกพืชต่าง ๆ กว่า 1,186,000 ชนิด ไว้เป็นหมวดหมู่ จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งวิชาพฤษศาสตร์
- เอนตัน แวน เลเวนฮุก (Anton Van Leuwenhoek ค.ศ. 1632 - 1723) ได้พบวิธีฝนเนส์ และได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ นำไปส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ แล้วสามารถได้รายละเอียดของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นั้นได้ ข้อมูลของเขาทำให้ความรู้เรื่องจุลชีวันกระจ่างขึ้นมาก กล้องจุลทรรศน์ของเขาสามารถขยายได้ถึง 270 เท่า จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งโลกจุลชีวัน
- เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton ค.ศ. 1642-1727) พบกฎแห่งความโน้มถ่วงซึ่งเป็นกฎสากลอันดับแรก จึงได้รับสมญานามว่า บิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และเป็นผู้ศึกษาเรื่องแสง โดยเจาะช่องเล็ก ๆ ให้แสงส่องเข้าไปในห้องมืด เมื่อเอาแท่งแก้วปริซึมวางไว้ให้แสงแดดส่งผ่าน แสงสีขาวจะกระจายเป็น 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดรุ้งกินน้ำ และ สรุปแรงดึงดูดของโลก จากการสังเกตลูกแอปเปิ้ลตกลงพื้นดิน ไม่ลอยไปในอากาศ โดยเรียกกฎนี้ว่า " กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน "
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
จากการสำรวจทางทะเลและการปฏิวัติทางการค้า ในระหว่างศตวรรษที่ 12-16 ทำให้เกิดการเรียนรู้ รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้น การค้นคว้าทดลองและผลการประยุกต์สิ่งต่างๆถูกนำมาใช้ จนทำให้สังคมมีความก้าวหน้า โดยเฉพาะด้านวัตถุและเทคนิคต่างๆ ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ดังกล่าวเรียกว่า "การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์" ซึ่งเกิดจากการค้นคว้าทดลองของชาวตะวันตก
ภายหลังจากที่ได้มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์แล้ว ทำให้วิทยาศาสตร์มีความสำคัญขึ้นมา
ความสำคัญของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
1. ทำให้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆไ้ด้มากขึ้น
2. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
3. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในการใช้ปัญญาและความสามารถ
4. ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
5. ทำให้มนุษย์มีความเชื่ออย่างมีเหตุผล ไม่งมงาย และชอบค้นคว้า
การที่มนุษย์ชอบสังเกตุค้นคว้าทดลอง ไม่งมงายอีกต่อไปทำให้ประสบความสำเร็จ ในการคิดเครื่องพิมพ์ดีด ค.ศ.1447 ของโยฮันน์ กูเตเบอร์ก ชาวเยอรมัน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น ข่าวสารต่างๆถูกนำมาเผยแพร่มากขึ้น แม้กระทั่งพระำคำภีร์ไบเบิล ทำให้ประชาชนรู้หลักคำสอนที่แท้จริงของศาสนาคริสต์
ข่าวสารความสำเร็จในการเดินเรือรอบโลก และการค้นพบดินแดนโพ้นทะเลทำให้คนเชื่อมั่นในสติปัญญา
โคลัมบัส เป็นนักเดินเรือคนแรกที่กล้าเดินทางรอบโลก
วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานสำคัญ ที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในคริสตศตวรรษที่ 7
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เิกิดขึ้นหลายศตวรรษติดต่อกัน
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาตั้งแต่สมัยกลาง การติดต่อกับอาณาจักรไบแซนไทน์และอาหรับ ทำให้วิทยาศาสตร์ของกรีกและอาหรับเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วิชาการหลายแขนง เช่น ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญาได้เปิดสอนในมหาวิทยาลัยตะวันตก
การศึกษาวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือการย้อนกลับ ไปศึกษาศิลปของกรีกและโรมันใหม่ภายหลังยุคมืด
ศิลปินชาวตะวันตกได้แก่ ลีโอนาร์โด ดาวินซี และไมเคิล แอนเจโล ได้ฟื้นฟูศิลปของกรีกและโรมันใหม่ โดยนำหลักการของวิทยาศาสตร์กายภาพ มาศึกษากล้ามเนื้อและโครงสร้างของมนุษย์ นำไปสร้างงานศิลปกรรมทางจิตรกรรม และปฏิมากรรม ที่แสดงถึงสัดส่วนอย่างแท้จริง
นอกจากมีการพัฒนาด้านศิลปกรรมแล้ว ความสนใจทางวิทยาศาสตร์ทำให้มีการค้นพบคุณสมบัติของ "เลนส์" จนนำมาประยุกต์ใช้กับกล้องส่องทางไกลและกล้องดูดาวในเวลาต่อมา
การศึกษาคณิตศาสตร์อย่างลึกซึ้ง จนสามารถพัฒนาเครื่องมือในการวัดการคำนวณอย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเดินเรือในเวลาต่อมา
นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังทำให้เกิด "กบฎทางความคิด" การปฏิปักษ์ต่อกรอบความคิดของคริสต์ศาสนาได้ขยายมากขึ้นเมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ บาทหลวงชาวเยอรมันทำการปฏิรูปศาสนา ค.ศ.1517 โดยทำการประท้วงการปฏิบัติบางประการของฝ่ายคาทอลิก จัดตั้งนิกายลูเธอร์แรนขึ้นมา (ส่วนหนึ่งของโปรเตสแตนท์) ทำให้การศึกษาวิชาเทววิทยาลดบทบาทลง เปิดโอกาสให้ทำการศึกษาวิืทยาศาสตร์มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกลงโทษอีกต่อไป
พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ยุคโบราณ
อียิปต์
-ทำปฏิทินมาประกอบการเพาะปลูก
-ประดิษฐ์ตัวอักษรเฺฮียโรกลิฟิค เขียนบนแผ่นกระดาษ
-ปีระิมิด
-การแพทย์ (การทำมัมมี่)
-นาฬิกาน้ำ นาฬิกาแดด
-ฯลฯ
ดินแดนเมโสโปเตเมีย เป็นที่อาศัยของชนเผ่าต่างๆ เช่น
-สุเมเรียน
-บาบิโลเนีย
-อัสซิเรียน
-บาบิโลเนียนใหม่
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
-จุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ตัวอักษรลิ่ม (คุนิฟอร์ม)
-รู้จักใช้ล้อเลื่อน
-เพาะปลูก
-ทดน้ำ
-แบ่งกลุ่มดาวออกเป็น 12 กลุ่ม
-ทำนายการเกิดจันทรุปราคา และสุริยุปราคา
จีน
-ภาชนะดินเผา
-นำสัมฤทธิ์มาพัฒนาเป็นเครื่องใช้ อาวุธ
-เลี้ยงไหม
-ทอผ้า
-ทำปฏิทินปีหนึ่งมี 365 กับ 1/4 วัน
-แบ่งฤดูออกเป็น 4 ฤดู
-เข็มทิศ
-มาตราชั่งวัด (ราชวงศ์จิ๋น)
-นำถ่านหินมาใช้ (ก่อนชาวตะวันตก)
-ฯลฯ
นอกจากอารยธรรมโบราณอย่างอียิปต์และเมโสโปเตเมีย และอารยธรรมจีนแล้ว ในเอเชียก็ัยังมีแหล่งอารยธรรมอีกแห่งคืออารยธรรมลุ่มน้ำสินธุของอินเดีย ซึ่งได้สร้างสมไว้แก่โลกมากมาย เช่น การรู้จักสำรวจภูมิประเทศ การสร้างเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่างดี มีถนน ท่อระบายน้ำสร้างด้วยอิฐ
กรีก เป็นอารยธรรมโบราณอีกแห่งหนึ่งที่สร้างสมไว้ให้แก่โลกมากมาย มีความเจริญหลายแขนง เนื่องจากมีนักปราชญ์หลายท่าน เช่น
เทลีส
-พบอำนาจไฟฟ้า
-พบการเกิดสุริยุปราคาที่ถูกต้อง
-นำทฤษฎีเรขาคณิตมาใช้
พิธากอรัส
-โลกประกอบด้วยธาตุ 4
-โน๊ตเพลงจากเชือก
เพลโต
-ตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก
-สร้างการศึกษาให้เป็นระบบ
อริสโตเติล เ็ป็นนักปรัชญาที่ได้สร้างสมวิทยาการแก่โลกมากมายและเขียนตำราหลายแขนง
-คณิตศาสตร์
-ฟิสิกส์
-ชีววิทยา
-ดาราศาสตร์
-ชีวิตพืชและสัตว์
อาร์คีมีดีส นำวิชาเรขาคณิตมาปรับปรุงใช้กับเครื่องทุ่นแรง
-คานดีด
-คานงัด
-รอก
-การหาพื้นที่วงกลม
-การหาพื้นที่กรวย
-สว่าน
-การลอยการจมของวัตถุ
-ฯลฯ
นอกจากนักวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีนักภูมิศาสตร์ด้วยคือ พโตเลมี ผลงานคือ
-นำเส้นรุ้ง เส้นแวง มาใช้ในการเขียนแผนที่
-โลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล
-เริ่มเขียนแผนที่อินเดีย จีน ยุโรปตอนเหนือ
-การโคจรของดาวเคราะห์รอบโลกเป็นวงรี
นอกจากชาวกรีกแล้ว ชาวโรมันก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่มีการพัฒนาต่อ จนมีการกล่าวว่า "โรมัน" คือ "ทายาททางวัฒนธรรมของกรีก" ได้แก่
-พลินี พิสูจน์ว่าโลกกลม
-ผลิตคอนกรีต
-สร้างถนนที่แข็งแรง
-ด้านการแพทย์ รู้จักการผ่าตัด (นำทารกออกทางหน้าท้องได้)
-ตั้งโรงพยาบาล
-ตั้งโรงเีรียนแพทย์
(ซีซ่า เป็นทารกคนแรกที่ออกทางหน้าท้อง)
วิทยาศาสตร์ยุคมืด
ยุคนี้ไม่สนับสนุนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และต่อต้านวิทยาศาสตร์ของกรีกโดยถือว่าเป็นความรู้ผิดๆ เป็นยุคเสื่อมของโรมัน
ช่วงนี้อิสลามมักให้ความสนใจกับวิทยาศา่สตร์มากขึ้น โดยศึกษาจากอียิปต์และกรีกโดยพ่อค้าอาหรับนำติดตัวมา
ชาวอาหรับสนใจในการเล่นแร่แปรธาตุ เพราะเืชื่อว่าโลหะทุกประเภทแปลสภาพเป็นโลหะประเภทอื่นได้ มีความรู้เกี่ยวกับกรดดินประสิว กรดกำมะถัน กรดเกลือ ซึ่งใช้ในงานอุตสาหกรรม
นักคณิตศาสตร์มุสลิม นำเลข 0 มาใช้ประกอบในการคิดคำนวณเดิม
วิทยาศาสตร์สมัยฟื้นฟูวิทยาการ
นิโคลัส คอร์เปอร์นิคัส
-สุริยจักรวาลมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
-โลกเป็นศูนย์กลาง
โจน์ฺฮันเนส เคปเลอร์
-นำคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการศึกษาเรขาคณิต
-พบวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี
กาลิเลโอ
-พิสูจน์แรงโน้มถ่วง
-สร้างกล้องโทรทรรศน์ช่วยสนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส
โยฮัน กูเตเบอร์ก
-เครื่องพิมพ์ดีด
วิทยาศาสตร์ก่อนเข้าสู่ยุคปัจจุบัน
ทอร์เชลลี
-สร้างบารอมิเตอร์ วัดความกดอากาศ
เซอร์ ไอแซค นิวตัน
-รุ้งเจ็ดสี เกิดจากการหักเหของแสง
-กฎแห่งแรงโน้มถ่วง
พาราเซลวัส
-ค้นคว้าเกี่ยวกับแร่แปรธาตุ นำไปใช้รักษาโรค
เจมส์ วัตต์
-ดัดแปลงเครื่องสูบน้ำของ โธมัส นิวโคเมน จนให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีพลังงานออกมาเป็นพลังงานน้ำ หลักของวิืทยาศาสตร์อันนี้นำมาพัฒนาการขนส่งด้านต่างๆจนก้าวหน้าถึงปัจจุบัน