| |||||||||
ประเพณีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ ประวัติย่อ ประเพณีการสร้างเมือง
|
การสืบชะตา
ความเชื่อแต่โบราณว่า การเกิดเมืองหรือการสร้างเมืองนั้น สร้างตามฤกษ์ยามที่เป็นมหามงคลตบะ เดชะ เหมือนกับการเกิดของประชาชนที่มีความสุข ความเจริญ ความสุขสมหวัง และบางครั้งก็เสื่อมโทรมอับเฉาเศร้าหมอง นานัปการ เมื่อประสบกับปัญหาเหล่านี้ ชาวล้านนาไทยมีความเชื่อว่า หากได้ทำบุญสืบชะตาจะช่วยให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น เหมือนเดิมปรือยิ่งกว่า จึงปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน สืบชะตา ได้แก่ การสืบชะตาการเกิด, สืบอายุ, สืบชีวิต ให้ยืนยาวออกไปนานเท่านาน ผู้ใดปรารถนาจะมีอายุยืนต้องประกอบพิธีสืบชะตาเสมอ จึงจะมีความสุข
วัตถุประสงค์การสืบชะตา
1. เพื่อต่ออายุให้ยืนยาว
2. เพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย
3. เพื่อบำรุงขวัญ
4. เพื่อให้เกิดความสามัคคี
5. เพื่อสร้างความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชน
6. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของบ้านเมือง
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประเพณีสำคัญที่เข้ามาในล้านนาไทยสมัยนี้ (2500-2529) คือ ประเพณีตักบาตรเทโว เป็นคำย่อมาจาก "เทโวโรหณะ" หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าว่าเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นทั่วชมพูทวีป คือ ประเทศอินเดียเวลานี้ เริ่มตั้งแต่เมืองราชคฤท์, พาราณสี, เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธบิดา, พระนางมหาปชาบดีโคตมี, พระนางยโสธราพิมพา และราหุลราชกุมาร ตลอดถึงพระประยูรญาติทั้งหลาย ให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์หลังจากพระองค์ประสูติได้ 7 วัน พระองค์ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา ซึ่งทรงพิจารณาว่ามีพระคุณมากมายยิ่งนัก จะหาอะไรเปรียบปานมิได้ ทรงวินิจฉัยโดยรอบคอบแล้ว ทรงเห็นว่ามีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา เป็นการใช้หนี้ค่าน้ำนมให้คู่ควรกันได้ นั่นคือ พระอภิธรรม ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้ววันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าจึงเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับที่เมืองสังกัสสะ มีประชาชนไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงถือว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า "ตักบาตรเทโว"
การตักบาตรเทโวนี้ เป็นประเพณีใหม่ที่เข้ามาในล้านนาไทย เริ่มแต่พุทธศักราช 2500 เป็นต้นมา พระสงฆ์และประชาชนได้ลัทธิประเพณีมาจากไทยภาคกลาง นำมาจัดทำกันในล้านนา ที่จัดประเพณี อย่างใหญ่หลวง มีผู้คนมาร่วมงานกันมาก นิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนถึง 500 รูป มารับบิณฑบาต คือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดขึ้นที่วัดฝายหินทุกปีในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ใต้ คือ เดือนเกี๋ยง แรม 1 ค่ำ ของล้านนาไทย
การจัดงานตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการ เป็นประเพณีร่วมกับวัดฝายหิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ติดต่อกันมาเป็นเวลาถึงปีที่ 17 นี้ มีประวัติที่น่าสนใจและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คุณธรรมและวัฒนธรรมหลายด้าน ดังต่อไปนี้
1. เป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์หลักฐานในพระไตรปิฎก และทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
กล่าวคือ สถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลง จากดาวดึงส์ในแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือ วันออกพรรษาและวันตักบาตรเทโวโรหณะ หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงความกตัญญูกตเวที เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลกนั้น ยังมีหลักฐานปรากฎที่สังกัสสะนคร ประเทศอินเดีย และสถานที่ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ก่อนเสด็จ ขึ้นไปยังดาวดึงส์ ก็มีหลักฐานชัดเจนที่เขตกรุงสาวัตถี อินเดีย การจัดประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะจึงเป็นการฟื้นฟู และอนุรักษ์วันที่พระพุทธองค์ เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก
2. เป็นการส่งเสริมสามัคคีธรรม คือ การทำบุญร่วมกันระหว่างคณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับประชาชนทั่วไป และข้าราชการของจังหวัด ประเพณีการจัดงานตักบาตรเทโวโรหณะเกิดจากการริเริ่มของ โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมประเพณี และจิตใจของ สภาอาจารย์ พ.ศ. 2518 สมัย ดร.สุมิตรา สุวรรณาภา ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการฝ่ายพัฒนา กล่าวคือมารดาของประธานธรรมาธิการฝ่ายพัฒนาในสมัยนั้น นึกมองเห็นภาพพระพุทธรูปนำขบวนพระภิกษุ สามเณร จีวรเหลืองอร่ามลงมาตามบันไดยาวของวัด เป็นภาพที่งดงามยิ่งนักน้อมนำให้ระลึกถึง ครั้งพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ อีกประการหนึ่งการฟื้นฟูประเพณีดังกล่าวย่อมเป็นการส่งเสริมสามัคคีธรรม และเป็นแบบอย่างให้สถาบันอื่น ๆ อีกด้วย ประธานกรรมาธิการฝ่ายพัฒนาของสภาอาจารย์ จึงได้น้อมรับข้อคิดเห็น พร้อมทั้งโครงการในทางสร้างสรรค์ดั
ประเพณีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่
ประวัติย่อ
นครเชียงใหม่นี้ สร้างขึ้นโดยพญามังรายมหาราช พร้อมกับ เสนา อามาตย์ ทวยราษฎร์ทั้งหลาย ซึ่งมีพญารามคำแหงมหาราชแห่งนครสุโขทัย และพญางำเมือง แห่งนครพะเยา ผู้เป็นพระปิยสหาย ให้คำปรึกษา นครนี้สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1838 - 1839 ขนานนามว่า " นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ " เป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนาไทยในอดีต และเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรม และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญในภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน
ประเพณีการสร้างเมือง
นครเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยลักษณะการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับชัยภูมิ และความเชื่อทางโหราศาสตร์ คือ คัมภีร์มหาทักษา ประกอบตามทิศของแผนภูมินครฯ ดังนี้ คือ บริวารเมือง อายุเมือง เดชเมือง ศรีเมือง มูลเมือง อุตสาหะเมือง มนตรีเมือง และกาลกิณีเมือง
งกล่าว นำเสนอในที่ประชุมกรรมาธิการฝ่ายพัฒนาเพื่อ เสนอในที่ประชุมสภาอาจารย์ และที่ประชุมคณบดีต่อไป ซึ่งที่ประชมทุกฝ่ายเห็นชอบด้วยตามลำดับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้มีประกาศลงวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการตักบาตร เทโวโรหณะเป็นครั้งแรก
ประเพณีสงกรานต์
สงกรานต์ หมายถึง การก้าวไปหรือการย้ายไปของพระอาทิตย์จากกลุ่มดาวมีน สู่กลุ่มดาวเมษ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นแห่งฤดูร้อนของประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์ในลักษณะนี้ เรียกว่า สงกรานต์ เนื่องจากเป็นฤดูร้อน ประชาชนในเอเซียตะวันออก เฉียงใต้จึงนิยมรดน้ำกันเพื่อให้คลายร้อน และถือเป็นเกมส์ การเล่น สนุกสนานจนกลายเป็น ประเพณีสืบมา
นิทานเกี่ยวกับสงกรานต์ เป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลทางศาสนาที่ได้รับจากอินเดียผ่านทางมอญ และพม่า เข้าสู่ไทยหลายร้อยปีมาแล้ว มีคติว่า ท้าวมหาพรหม ซึ่งมีธิดา 7 นาง ประทับในชั้นพรหม มีความประสงค์จะถาม กับมานพคนหนึ่ง ชื่อ ธรรมบาล เกี่ยวกับศรี คือ ความเป็นมิ่งขวัญของคนว่า อยู่ที่ไหนในตอนเช้า ตอนกลางวัน และตอนเย็น โดยให้ธรรมบาลมานพตอบภายใน 7 วัน โดยเอาศีรษะเป็นเดิมพันหากธรรมบาลตอบได้ ท้าวมหาพรหม ยอมเสียศีรษะให้ หากธรรมบาล มานพแพ้ต้องเสียศีรษะเช่นกัน
ธรรมบาลมานพ ได้รับปัญหาแล้วพิจารณาอยู่ร่วม 7 วัน ไม่สามารถตอบได้ จึงทอดอาลัยในชีวิต ว่าจะต้องถูก ตัดหัวแน่แล้ว ด้วยความกลัดกลุ้มจึงไปนอนรอ เพื่อให้ท้าวมหาพรหมตัดศีรษะตามสัญญา ขณะที่นอนอยู่ใต้ต้นไม้ ก็ได้ยินเสียงนกอินทรีผัวเมียพูดกัน นกตัวเมียบ่นว่าอยากกินเนื้อ นกตัวผู้บอกว่าทนเอาพรุ่งนี้ธรรมบาล มานพตาย จะได้กินอาหารอันโอชะ นางนกถามว่าทำไมจะต้องตาย นกตัวผู้บอกว่าเพราะตอบปัญหาเรื่องศรีไม่ได้ จึงต้องตาย นกตัวเมียอ้อนวอนถามนกตัวผู้ว่า ที่แท้ศรีอยู่ที่ไหน นกตัวผู้ทนคำอ้อนวอนไม่ได้จึงตอบว่า ตอนเช้า ศรีอยู่ที่หน้า คนทั้งหลายจึงนิยม ล้างหน้า ตอนกลางวัน ศรีอยู่ที่อก คนจึงนิยมล้างอก หรืออาบน้ำ ตอนเย็น ศรีอยู่ที่เท้า คนจึงนิยม ล้างเท้าก่อนเข้านอนทุกวัน
ธรรมบาลได้ยินดังนี้ จึงตอบปัญหาของท้าวมหาพรหมถูกต้องทุกประการ ท้าวมหาพรหมตัดศีรษะให้ แต่ศีรษะของพระองค์มีฤทธิ์เดชมาก หากนำไปทิ้งน้ำ น้ำจะแห้ง หากนำไปทิ้งกลางอากาศจะเกิดฝนแล้ง จะเอาวางบนแผ่นดิน ก็จะลุกเป็นไฟ จึงได้ธิดาสาวทั้ง 7 นาง ผลัดกันถือแห่รอบจักรวาลใน 12 ราศี เป็นครบรอบปีหนึ่ง เชื่อกันว่าระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน เป็นระยะที่นางทั้ง 7 แห่ เศียรบิดาของตน รอบจักรวาลมาบรรจบรอบระยะเวลา 13 - 14 - 15 เมษายน ของทุกปี จึงเรียกว่า วันสงกรานต์ ตลอดมาจนทุกวันนี้