Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ดนตรีสากล

 

ดนตรีสากล

                                                 ประวัติดนตรีสากล

 

       ดนตรีก่อเกิดเพราะการได้ยินเสียงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์ มีการรับรู้ เลียนแบบ ศึกษาจังหวะ ระดับเสียง ความดัง-เบา ความกลมกลืนและแตกต่างของเสียงแต่ละประเภท จากใกล้ตัวที่สุดคือชีพจรการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย ไปถึงเสียงจากธรรมชาติและสัตว์นานาดนตรีสากลหรือดนตรีตะวันตกมีพื้นฐานจากความมุ่งหวังไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า จากหลักปรัชญากรีกโบราณในราวช่วงปี 800 ก่อนคริสตกาล ที่เน้นความสำคัญของการสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬา และงดงามของจิตใจด้วยศิลปะ บทกวี ดนตรี การละคร และระบำรำฟ้อน เพื่อสร้างสรรค์ให้มนุษย์สมบูรณ์ ปี 585-479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกชื่อ ปิธากอรัส คิดค้นทฤษฎีการเกิดเสียงขึ้นจากการคำนวณรอบการสั่นสะเทือนของสายเสียง ได้ข้อสรุปว่า "ถ้าสายสั้นกว่าจะได้เสียงที่สูงกว่า ถ้าสายยาวกว่าจะได้เสียงที่ต่กว่า" วิชาความรู้และแนวคิดนี้กระจายแพร่หลาย ชื่อเสียงปิธากอรัสเลื่องลือทั่วยุโรป

                       มีการจำแนกเครื่องดนตรีเป็น 4 ประเภท และที่ถามประวัติเครื่องดนตรีมาจะยกตัวอย่างประเภทละหนึ่ง ไม่งั้นต้องตอบกันไปอีกหลายชั่วยาม...

                1. เครื่องสาย-String ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน บาลาไลกา      สืบประวัติเครื่องตระกูลไวโอลินได้ว่ากำเนิดมาจากต้นตอคือ ซอรีเบ็คและซอวิแอล ซึ่งเป็นซอโบราณในสมัยกลาง และซอลิราดาบรัชโช สมัยเรอเนซองซ์ ค.ศ.1600-1750 นับเป็นยุคทองของการประดิษฐ์ไวโอลินที่ได้รับการดัดแปลงปรับปรุงจนมีคุณภาพสูงถึงขีดสุดยอด

                 2. เครื่องเป่าลมไม้ - Woodwind ได้แก่ ฟลุ้ต พิโคโล คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน อิงลิชฮอร์น แซ็กโซโฟน รีคอร์เดอร์ แพนไปพ์ ปี่สกอต ออร์แกน(แบบดั้งเดิม) หีบเพลงปาก ยกตัวอย่างฟลุ้ต เครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด พัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ แรกเริ่มทีเดียวมนุษย์ในยุคหินคงหากระดูกสัตว์หรือเขากวางเป็นท่อนกลวงหรือไม่ก็ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่าให้เกิดเสียงต่างๆ วัตถุเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้

               3. เครื่องเป่าทองเหลือง - Brass ได้แก่ ทรัมเป็ต คอร์เนท เฟรนช์ฮอร์น ทรอมโบน ทูบา ซูซาโฟน ยูโฟเนียม ยกตัวอย่าง ทรัมเป็ต ประวัติมาไกลถึงแถบเอเชียซึ่งปรากฏหลักฐานว่าชาวจีนเคยใช้แตรที่มีลักษณะคล้ายทรัมเป็ตมานานกว่า 4,000 ปี ขณะชาวยุโรปใช้แตรที่มีลำโพงงอเป็นขอในกองทัพ สมัยโบราณยุโรปถือว่าทรัมเป็ตเป็นของสูง ผู้ที่จะมีได้หากไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ก็เป็นนักรบชั้นแม่ทัพ

              4. เครื่องกระทบ - Percussion ได้แก่ กลองเล็ก กลองใหญ่ กลองเทเนอร์ กลองบองโก กลองทิมปานี ไชนีส บ็อกซ์ กรับสเปน ฉาบ ไซไลโฟน ยกตัวอย่างกลองทิมปานี มีต้นกำเนิดแถวอาระเบีย ชาวอาหรับสมัยก่อนจะผูกกลอง 2 ลูกบนหลังอูฐ สำหรับตีประโคมเวลายกทัพออกศึกหรือยามเคลื่อนคาราวาน แขกมัวร์เป็นผู้นำกลองชนิดนี้เข้ายุโรป กลายพันธุ์เป็นเครื่องดนตรีสากลด้วยประการฉะนั้น

 

 ดนตรีสากล

        ดนตรีสากล เป็นมารดกทางวัฒนธรรมของชาวตะวันตก เริ่มจากการที่ชาวยุโรปมีการบันทึกทำนองเพลงที่เป็นแบบแผนเดียวกันโดยใช้สัญลักษณะที่เรียกว่า   โน้ตสากล และใช้กับเครื่องดนตรีสากลที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางโน้ตสากลใช้เพื่อบันทึกทำนองเพลงเพื่อกันลืมและเป็นการกำนดทำนองเพลงว่าจะใช้เสียงสั้นยาวเพียงใด  หรือเน้นเสียงหนักเบาตรงช่วงใดนอกจากนี้โน้ตสากลยังมีความหมายอื่น ๆ อีกมากมายรูปแบบของดนตรีสากลในแต่ละยุคแต่ละสมัยก็จะแตกต่างกันออกไป  ดนตรีสากลได้พัฒนาทั้งรูปแบบของเพลงและเครื่องดนตรีมาสู่ยุคปัจจุบันเป็นที่นิยมทั่วโลก

 

กลองชุดหมือนกัน

 

 

1.  การกำเนิดดนตรีสากล

 

ในสมัยโบราณ  มนุษย์รู้จัก เคาะ  ตี  และนำสิ่งต่าง ๆ  มาเป่าทำให้เกิดเสียง  เช่น เป่าเขาสัตว์  ตีเกราะเคาะไม้  ต่อมามี การนำเครื่องเคาะจังหวะหรือเครื่งอดนตรีมาบรรเลงประกอบพิธีกรรมที่มนุษย์จัดขึ้น  ตามหลักฐานพบว่า  ศาสนาคริสต์เป็นจุดเริ่มแรกของ การกำเนิดดนตรีสากล  และเป็นที่นิยมทั่วโลกในเวลาต่อมา


กำลังตีกลองแต็ก

 

 

 

 

 

 

 

2.  วิวัฒนาการของดนตรีสากล

 

ดนตรีสากล  เริ่มใช้ครั้งแรกในพิธีทางศาสนาโดยเริ่มจากการใช้คำพูดธรรมดาในการประกอบพิธี  ต่อมาได้ประดิษฐ์คำพูดให้มีระดับเสียงต่าง ๆ  ทำให้ชวนฟังยิ่งขึ้นจนกลายเป็นทำนองเพลงขึ้น จากนั้นเริ่มมีการนำดนตรีลักษณะดังกล่าวไปเล่นในที่สาธารณะ    โดยมีเนื้อร้องกล่าวถึงความรัก  ความกล้าหาญ  การรบ  และนิทาน  นอกจากนี้บรรดาราชวงศ์  ขุนนาง  หรือผู้มีฐานะดี  มักมีวงดนตรีเอาไว้ประดับบารมี  ต่อมาดนตรีสากลได้รับความนิยมแพร่หลาย  มีการจัดการแสดงดนตรีและมีการนำดนตรีมาใช้ในธุรกิจการค้ามากขึ้น

 

                             

                                                               วงดนตรีสากล

            วงซิมโฟนี (Symphony  Orchestra)  เป็นวงดนตรีสากลขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีสากล 4  กลุ่ม ประเภทของเครื่องดนตรีสากล ได้แก่  กลุ่มเครื่องสาย  กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องเป่าลมไม้  และเครื่องตีประกอบจังหวะ  วงดนตรีลักษณะนี้จะมีผู้อำนวยเพลงซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการบรรเลง  จะนั่งหรือยืนบรรเลงตามลักษณะของเครื่องดนตรี

 
การตีมาริมบา

 

วงสติรงคอมโบ (String  Combo)

 

 

 

วงสตรงคอมโบ (String  Combo)

               เป็นวงดนตรีขนาดเล็กประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประมาณ 4 – 5  ชิ้น  กล่าวคือ  มีกีตาร์ลีด  กีตาร์เบส  ออร์แกนหรือคีย์บอร์ด  และกลองชุด เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ของวัยรุ่นที่นิยมเล่นเพลงป๊อปทั่ว ๆ ไป



 

 

 

 

 

 

 

                                                  

 

                        วงโยธวาทิต  (Military  Band)

                       เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรี  3  ประเภทใหญ่  ๆ  คือ  เครื่องเป่าลมไม้  เครื่องเป่าทองเหลือง  และเครื่องประกอบจังหวะ   นิยมใช้เดินขบวนสวนสนาม และบรรเลงประกอบพิธีการต่าง ๆ  ตามโอกาส


วงโยธวาทิต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล

 



        เครื่องดนตรีสากลมีหลายประเภท  เราควรดูแลรักษาให้ถูกต้องตามประเภทของเครื่องดนตรี  ซึ่งจะทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน  การดูแลรักษามีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

 

 

 

 

 

 

                                                                  1.      เครื่องสาย

              ก่อนหรือหลังการเล่น  ให้ใช้ผ้าแห้งลูบเบาๆ บนสายและตัวเครื่อง  เพ่อขจัดฝุ่นคราบไคลต่างๆ ถ้าเป็นเครื่องสายที่ใช้คันชักสี  เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องปรับคันชักไม่ให้สายตึงเกินไป     ก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องเพราะหากปล่อยให้สายตึงเป็นเวลานาน อาจชำรุดได้


ไวโอลิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                             2.      เครื่องเป่าลมไม้

1)      ประเภทเป่าลมผ่านช่องลม  ให้ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องก่อนและหลังการเป่า  ส่วนเครื่องเป่าที่เป็นโลหะ  ให้ใช้ผ้านุ่มและแตะน้ำมันที่สำหรับทำความสะอาดเครื่องดนตรี แล้วลูบไปตามกระเดื่องกลไกและตัวเคลื่อนให้ทั่ว  เพื่อทำให้กระเดื่องกลไกเกิดความคล่องตัวในการใช้งาน  และช่วยไม่ให้เกิดสนิม

เครื่องดนตรีตระกูลแซกโซโฟน

2)      และเพิ่มการทำความสะอาดปากเป่าและลิ้นด้วยการถอดออกมาล้างทำความสะอาด จากนั้นผึ่งลมและเช็ดให้แห้งก่อนใช้ฝาครอบสวมส่วนบน  แล้วจึงเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อ

3.เครื่องเป่าลมทองเหลือง

ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องให้สะอาดก่อนและหลังการใช้ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้กดกระเดื่องสำหรับไล่

น้ำลายแล้วเป่าลมแรงๆ เข้าไปตรงปากเป่าเพื่อไล่หยดน้ำลายที่ค้างอยู่ในท่อ เสร็จแล้วถอดปากเป่าออกมาทำความสะอาด  โดยใช้ผ้าเช็ดและใช้เศษผ้าแตะครีมขัดโลหะลูบเก็บใส่กล่องให้เรียบร้อย

ทรัมเปท

                                              4.  เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว

        ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าแห้ง เช็ดถูที่ตัวเครื่องและบริเวณลิ่มนิ้วให้สะอาด  ปิดฝาครอบแล้วใช้ผ้าคลุมให้เรียบร้อย

 

                                          5.  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี

 

        ใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องและส่วนที่ใช้ตีให้สะอาดก่อนและหลังการเล่นทุกครั้ง และเก็บเครื่องดรตรีใส่กล่องหรือใช้ผ้าคลุมทุกครั้งที่เล่นเสร็จแล้ว

 



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                        องค์ประกอบของ ดนตรีสากล

        ดนตรีเป็นศิลปะของเสียงที่เกิดจากความพากเพียรของมนุษย์ในการสร้างเสียงให้อยู่ในระเบียบของจังหวะ ทำนอง สีสันของเสียงและคีตลักษณ์ ดนตรีไม่ว่าจะเป็นของชาติใด ภาษาใด ล้วนมีพื้นฐานมาจากส่วนต่างๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ความแตกต่างในรายละเอียดของแต่ละส่วนแต่ละวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่การที่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้น กรอบวัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะเป็นปัจจัยที่กำหนดในตรงตามรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรมจนเป็นผลให้สามารถแยกแยะดนตรีของชาติหนึ่งแตกต่างจากดนตรีของอีกชาติหนึ่งอย่างไร

                                      องค์ประกอบของดนตรีสากล ประกอบด้วย

                           1. เสียง (Tone)

         คีตกวีผู้สร้างสรรค์ดนตรี เป็นผู้ใช้เสียงในการสร้างสรรค์ผลิตงานศิลปะเพื่อรับใช้สังคม ผู้สร้างสรรค์ดนตรีสามารถสร้างเสียงที่หลากหลายโดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นปัจจัยกำหนด เช่น การดีด การสี การตี การเป่า เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง

         1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ

        1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ

            1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์

          1.4 คุณภาพของเสียง (Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน

                                   2. พื้นฐานจังหวะ (Element of Time)

                   จังหวะเป็นศิลปะของการจัดระเบียบเสียง ที่เกี่ยวข้องกับความช้าเร็ว ความหนักเบาและความสั้น-ยาว องค์ประกอบเหล่านี้ หากนำมาร้อยเรียง ปะติดปะต่อเข้าด้วยกันตามหลักวิชาการเชิงดนตรีแล้ว สามารถที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดลีลาจังหวะอันหลากหลาย ในเชิงจิตวิทยา อิทธิพลของจังหวะที่มีผลต่อผู้ฟังจะปรากฏพบในลักษณะของการตอบสนองเชิงกายภาพ เช่น ฟังเพลงแล้วแสดงอาการกระดิกนิ้ว ปรบมือร่วมไปด้วย

                                    3. ทำนอง (Melody)

                ทำนองเป็นการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความสูง-ต่ำ ความสั้น-ยาว และความดัง-เบา คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความช้า-เร็ว จะเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่ผู้ฟังสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด ในเชิงจิตวิทยา ทำนองจะกระตุ้นผู้ฟังในส่วนของสติปัญญา ทำนองจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจ จดจำ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงหนึ่งกับอีกเพลงหนึ่ง

                                    4. พื้นผิวของเสียง (Texture)

                พื้นผิวเป็นคำที่ใช้อยู่ทั่วไปในวิชาการด้านวิจิตรศิลป์ หมายถึง ลักษณะพื้นผิวของสิ่งต่างๆ เช่น พื้นผิวของวัสดุที่มีลักษณะขรุขระ หรือเกลี้ยงเกลา ซึ่งอาจจะทำจากวัสดุที่ต่างกัน ในเชิงดนตรีนั้น พื้นผิวหมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบของเสียงทั้งที่ประสานสัมพันธ์และไม่ประสานสัมพันธ์ โดยอาจจะเป็นการนำเสียงมาบรรเลงซ้อนกันหรือพร้อมกัน ซึ่งอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตามกระบวนการประพันธ์เพลง ผลรวมของเสียงหรือแนวทั้งหมดเหล่านั้น จัดเป็นพื้นผิวตามนัยของดนตรีทั้งสิ้น ลักษณะรูปแบบพื้นผิวของเสียงมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้

                                    4.1 Monophonic Texture 
              เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่มีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสาน พื้นผิวเสียงในลักษณะนี้ถือเป็นรูปแบบการใช้แนวเสียงของดนตรีในยุคแรกๆ ของดนตรีในทุกวัฒนธรรม

                                     4.2 Polyphonic Texture 
               เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่ประกอบด้วยแนวทำนองตั้งแต่สองแนวทำนองขึ้นไป โดยแต่ละแนวมีความเด่นและเป็นอิสระจากกัน ในขณะที่ทุกแนวสามารถประสานกลมกลืนไปด้วยกัน

               ลักษณะแนวเสียงประสานในรูปของ Polyphonic Texture มีวิวัฒนาการมาจากเพลงชานท์ (Chant) ซึ่งมีพื้นผิวเสียงในลักษณะของเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ภายหลังได้มีการเพิ่มแนวขับร้องเข้าไปอีกหนึ่งแนว แนวที่เพิ่มเข้าไปใหม่นี้จะใช้ระยะขั้นคู่ 4 และคู่ 5 และดำเนินไปในทางเดียวกับเพลงชานท์เดิม การดำเนินทำนองในลักษณะนี้เรียกว่าออร์กานุ่ม” (Orgonum) นับได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการประสานเสียงแบบ Polyphonic Texture หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา แนวทำนองประเภทนี้ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การสอดทำนอง (Counterpoint) ได้เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการตกแต่งพื้นผิวของแนวทำนองแบบ Polyphonic Texture

                             4.3 Homophonic Texture 
              เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียง ที่ประสานด้วยแนวทำนองแนวเดียว โดยมี กลุ่มเสียง (Chords) ทำหน้าที่สนับสนุนในคีตนิพนธ์ประเภทนี้ แนวทำนองมักจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงสูงที่สุดในบรรดากลุ่มเสียงด้วยกัน ในบางโอกาสแนวทำนองอาจจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงต่ำได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าคีตนิพนธ์ประเภทนี้จะมีแนวทำนองที่เด่นเพียงทำนองเดียวก็ตาม แต่กลุ่มเสียง (Chords) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนนั้น มีความสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าแนวทำนอง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองจะเคลื่อนไปในแนวนอน ในขณะที่กลุ่มเสียงสนับสนุนจะเคลื่อนไปในแนวตั้ง

                             4.4 Heterophonic Texture 
                เป็นรูปแบบของแนวเสียงที่มีทำนองหลายทำนอง แต่ละแนวมีความสำคัญเท่ากันทุกแนว คำว่า Heteros เป็นภาษากรีก หมายถึงแตกต่างหลากหลาย ลักษณะการผสมผสานของแนวทำนองในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการประสานเสียง

                                   5. สีสันของเสียง (Tone Color)

             สีสันของเสียงหมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น

              ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีนั้น ความหลากหลายด้านสีสันของเสียง ประกอบด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการ เช่น วิธีการบรรเลง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี รวมทั้งรูปทรง และขนาด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อสีสันของเสียงเครื่องดนตรี ทำให้เกิดคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันออกไป

                                           5.1 วิธีการบรรเลง 
        อาศัยวิธีดีด สี ตี และเป่า วิธีการผลิตเสียงดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยให้เครื่องดนตรีมีคุณลักษณะของเสียงที่ต่างกัน

                                        5.2 วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี 
        วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีของแต่ละวัฒนธรรมจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของสังคมและยุคสมัย วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน นับเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในด้านสีสันของเสียง

                                         5.3 ขนาดและรูปทรง 
        ลักษณะของเครื่องดนตรีที่มีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันในด้านสีสันของเสียงในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กัน

                                             6. คีตลักษณ์ (Forms) 
        คีตลักษณ์หรือรูปแบบของเพลง เปรียบเสมือนกรอบที่หลอมรวมเอาจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันของเสียงให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพลงที่มีขนาดสั้น-ยาว วนกลับไปมา ล้วนเป็นสาระสำคัญของคีตลักษณ์ทั้งสิ้น

ลักษณะของวงดนตรี

 

เราจะแบ่งลักษณะของวงดนตรีสากลออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันดังนี้
1. วง Orchestra
2. วง Band

Orchestra หรือ ดุริยางค์ เป็นลักษณะของวงดนตรีประเภทหนึ่งที่ใช้ เครื่องดนตรีประเภท เครื่องสาย (String) เป็นหลัก หรือเป็นเครื่องที่มีบทบาทมากที่สุด สำคัญที่สุดมากกว่าเครื่องดนตรีกลุ่มอื่น ๆ

วง Band เป็นลักษณะของวงดนตรีประเภทที่ใช้เครื่องดนตรีประเภท เครื่องเป่า เป็นหลัก เป็นเอกหรือเป็นเครื่องที่มีบทบาทมากที่สุด

ชนิดของวง orchestra

            1.Symphony Orchestra เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่มากประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่ม คือ
เครื่องสายเครื่องลมไม้เครื่องเป่าทองเหลืองและ เครื่องเคาะ
                                                                 ขนาดของวง

วงเล็ก Small Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 60 - 80 คน
วงกลาง Medium Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 80 - 100 คน
วงใหญFull Orchestra ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 100 คนขึ้นไป ของวง




 

 

 


ensemble
                   2. Orchestra for accompaniments for opera วงดุริยางค์ประเภทนี้ใช้บรรเลง ประกอบการแสดง โอเปรา คล้ายกับละครหรือลิเกของไทย ที่ต้องมีดนตรีบรรแลงประกอบด้วย ใช้นักดนตรี ประมาณ 60 คนหรือมากกว่า
 

 

 

 

 

 

 

 

 

            3. Chamber Orchestra   วงดุริยางค์ประเภทนี้เป็นวงเล็ก ๆ มีผู้เล่นไม่เกิน 20 คน บางครั้งเราเรียกวงดนตรีประเภทนี้ว่า Chamber Music เพราะวงประเภทนี้ตั้งขึ้นเพื่อร่วมกันเล่นหรือบรรเลง เพื่อการผ่อนคลายอารมณ์และพบปะสังสรรค์ยามว่าง เพลงที่เล่นก็เป็นเพลงง่าย ๆ และผู้เล่นอาจจมีตั้งแต่ 2 คนถึง 9 

                                                           ถ้ามีผู้เล่น 2 คน เรียกว่า "วงดูเอ็ท"     Duet

 "      3       "          "วงทริโอ"      Trio
           "      4       "          "วงควอดเต็ด"  Quartet
       "      5       "          "วงควิเต็ด"    Quintet
       "      6       "          "วงเซ็กเต็ด"    sextet
       "      7       "          "วงเซ็บเต็ท"    Septet
       "      8       "          "วงอ๊อกเต็ด"    Octet
       "      9       "          "วงโนเน็ท"    Nonet

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชนิดของวงBand

1Symphonic Band เป็นวงที่มีเครื่องเป่าเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญ ประกอบด้วย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องเคาะ และ ดับเบิ้ลเบส กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้จะมี คลาริเนท บีแฟล๊ต เป็นจำนวนมากเปรียบเสมือนกับ ไวโอลิน ขอ


Symphonic

 

 

วง Orchestra ตัวอย่างเพลง Kentucky Sunrise

 

 

 

 

 

 

2. Military Band (วงโยธวาทิต) ตามมาตรฐานวงชนิดนี้จะมีผู้เล่นอยู่ราว 54 คน ประกอบด้วย
เครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลือง เครื่องเคาะ แต่จะไม่ใช้ ดับเบิ้ลเบส วงประเภทนี้จะใช้ในพิธีสวนสนามของทหาร
หรือขบวนแห่ต่าง ๆ         ตัวอย่างเพลง Battle Hyme of the republic  , Stars & Stripes Forever "


Military band

John Philip Sousa

 

 

 

 

 

 

 

3. Brass Band วงชนิดนี้คล้ายกับวงโยธวาทิตต่างกันก็ตรงที่ ไม่มี เครื่องลมไม้ และ เครื่องสาย ใด ๆเลย

 

4. Jazz Band วงแจ๊ส วงดนตรีแบบนี้เกิดขึ้นในกลุ่มนิโกรเป็นครั้งแรกและในปัจจุบันนี้วงแจ๊สส่วนใหญ๋ก็ยังเจริญอยู่กับพวกนิโกร วงดนตรีประเภทนี้ประกอบด้วย กลุ่มแซ๊กโซโฟน ซึ่งมีโซปราโนแซ๊กโซโฟน อัลโตแซ๊กโซโฟน เทนเนอร์แซ๊กโซโฟน บาริโทนแซ๊กโซโฟน คลาริเนท ทรัมเป็ท ทรอมโบน ดับเบิ้ลเบส เปียนโน และเครื่อง Percussion ตามความเหมาะสม เช่น กลองชุด ทอมบา บองโก มารากัส เป็นต้น ตัวอย่างเพลง WASHINGTON POST-SWING
,Autumn Leaves


King Oliver

New Orleans

 

 

 

 

5. Combo Band (วงคอมโบ) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก มุ่งประกอบการขับร้องเป็นส่วนใหญ่ นิยมนำไปบรรเลงตามร้านอาการ ไนท์คลับ หรือตามสถานที่เริงรมย์ต่าง ๆ วงดนตรีประเภทนี้มีจำนวนนักดนตรีและเครื่องดนตรีไม่แน่นอน ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกในการจัดวง แต่ส่วนมากมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ trumpet , Tenor Saxophone , Alto Saxophone , Trombone , Piano กีตาร์คอร์ด กีต้ารเบส กลองชุด เครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังมีวงดนตรีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อีกหลายชนิด ซึ่งวงที่เกิดขึ้นใหม่นี้ก็อาศัย ดัดแปลง ปรับปรุง แก้ไข จากของเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ปัจจุบันที่ต้องการความง่าย ๆ สะดวก สบาย รวดเร็ว

6. Shadow (วงชาโดว์) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก สะดวกในการขนย้ายไปแสดงในที่ต่าง ๆ ใช้บรรเลงประกอบการขับร้อง และบางครั้งบรรเลงเฉพาะดนตรีอย่างเดียว เครื่องดนตรีที่ใช้มี กีต้าร์ลีด (เมโลดี้) กีต้าร์คอร์ด กีต้าร์เบส กลองชุด เครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ

7. String combo วงดนตรีประเภทนี้ดัดแปลงมาจากวงคอมโบ และวงชาโดว์ คือ นำเอาเครื่องดนตรีในวงชาโดว์ผสมกับวงคอมโบ แต่ยังคงให้เครื่องดนตรีประเภทกีต้าร์ เป็นเครื่อง ที่มีความสำคัญกว่าเครื่องดนตรีอื่น ๆ

8. Folk Song วงโฟล์คซอง เป็นวงดนตรีขนาดเล็กที่สุด มีผู้เล่นไม่เกินวงละ 3 คน แต่ที่นิยมมากที่สุด นิยมเพียงคนเดียว เครื่องดนตรีที่ใช้ กีต้าร์โปร่งเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้เล่นกีต้าร์จะร้องและดีดกีต้าร์ไปด้วย

9. String Band เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงจากวง คอมโบ โดยเพิ่ม ไวโอลิน มาร่วมบรรเลงด้วยประมาณ 6 - 10 คัน เพื่อให้ ไวโอลิน เหล่านี้เล่น เป็นทำนอง และ back ground ทำให้เพลงที่บรรเลงมีความไพเราะยิ่งขึ้นหนักแน่นขึ้น วงประเภทนี้ได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น วงดารากร วงเจมส์ลาส


Glenn Miller