การปกครองระบอบประชาธิปไตย
แนวความคิดที่จะนำเอารูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศไทย ได้เริ่มต้นขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำเนิน รัฐประศาสโนบาย เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไปดังเช่น โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ เพื่อถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการปกครอง
ในปีพุทธศักราช 2417 หรือการปฏิรูประบบราชการ ปีพุทธศักราช 2435 และที่สำคัญคือการเลิกทาส ซึ่งนับเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว กระแสความต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครองทวีความรุนแรงขึ้น พระองค์ทรงจัดตั้งเมืองสมมุติขึ้นมีชื่อว่า" ดุสิตธานี " ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณพระราชวังดุสิต เพื่อทดลองการปกครองบ้านเมืองในระบบอบประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติในปีพุทธศักราช 2468 พระองค์ทรงตั้งพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะวางรากฐานการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังปรากฏหลักฐานและเอกสารการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนหลายครั้ง แต่ถูกยับยั้งจากที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาว่า ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร
ช่วงเวลานั้นกระแสการเรียกร้องการปกครองมีความรุนแรงมากขึ้นจนในที่สุดก็มีกลุ่มที่เรียกตนเองว่า"คณะราษฎร์"ได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475
หลังจากนั้น ประเทศไทยได้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจนถึงปัจจุบัน
การปกครองระบอบเผด็จการ
การปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง การปกครองที่ให้ความสำคัญแก่อำนาจรัฐและผู้ปกครอง อำนาจรัฐจะอยู่เหนือเสรีภาพของบุคคล ผู้ปกครองอาจเป็นคนเดียว คณะบุคคลเดียว หรือพรรคการเมืองเดียว ซึ่งจะถือประโยชน์ของรัฐมากกว่าของประชาชน ซึ่งลักษณะการปกครองแบบเผด็จการ คือ ไม่สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประเทศ /จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง / ยึดหลักความมั่นคง ปลอดภัยของรัฐเป็นสำคัญ ยกย่องอำนาจและความสำคัญขอรัฐเหนือเสรีภาพของประชาชน / ยึดหลักรวมอำนาจการปกครองไว้ที่ส่วนกลางของประเทศ ให้อำนาจอยู่ในมือผู้นำเต็มที่ / ยึดหลักการใช้กำลัง การบังคับ และความรุนแรง เพื่อควบคุมประชาชนให้ปฏิบัติตามความต้องการของผู้นำ / ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำอย่างเคร่งครัด ไม่มีสิทธิโต้แย้งในนโยบายหรือหลักการของรัฐได้ และสร้างความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิตให้แก่ประชาชน จนประชาชนเกิดความหวั่นวิตกเกรงกลัวอันทำให้อำนาจรัฐเข้มแข็ง
โดยรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ เผด็จการอำนาจนิยม มีลักษณะ คือ อำนาจทางการเมืองเป็นของผู้ปกครอง ประชาชนไม่มีสิทธิ / ควบคุมสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย /ยอมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในครอบครัว การนับถือศาสนา การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ โดยที่รัฐมีสิทธิแทรกแซง และเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ มีลักษณะ ควบคุมอำนาจประชาชนทั้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ / ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมในการปกครองใด ๆ ทั้งสิ้น / รับเข้าดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจทั้งหมด โดยประชาชนเป็นเพียงผู้ให้แรงงาน /มีการลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืนหรือต่อต้าน ประชาชนต้องเชื่อฟังรัฐบาลผู้นำผู้ปกครองอย่างเคร่งครัด และการปกครองแบบนี้ ได้แก่ การปกครองของรัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน
ประชาธิปไตยทางตรง คือ ให้ประชาชนของประเทศใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรง ในทางปฏิบัติจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีจำนวนประชากรไม่มากนักสามารถร่วมประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยตรงไม่ตองมีตัวแทน
ประชาธิปไตยทางอ้อม คือ ประชาชนจะเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ปกครองประเทศแทนตน โดยให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในด้านต่าง ๆ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ก็ใช้หลักการของระบอบประชาธิปไตยทางอ้อมทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆ กัน คือ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา / ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี และการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา
ข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิ
การใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะต้องมีข้อจำกัด หรืออยู่ภายใต้ของเขตของกฎหมาย รัฐจำเป็นต้องจำกัดการใช้สิทธิของประชาชน เพราะสาเหตุดังนี้
1. การรักษาความมั่นคงของชาติ ป้องกันมิให้การใช้สิทธิของประชาชนกระทบกระเทือนต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์
2. การรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ป้องกันมิให้มีการปลุกปั่นยุยงให้ประชาชนเกิดความตื่นกลัว หรือก่อความไม่สงบ หรือเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์อนาจาร เป็นต้น
3. การป้องกันมิให้ประชาชนละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน เช่นการรุกล้ำอาคารสถานที่ การใช้เสียงดังเกินควร และการปล่อยเขม่าควันฝุ่นละอองของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
4. การสนับสนุนให้รัฐสามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและความเป็นธรรมในสังคม เช่น เมื่อเกิดสงคราม รัฐจะจำกัดสิทธิของประชาชน โดยห้ามออกนอกบ้านเป็นบางเวลาหรือการเวนคืนที่ดินของประชาชนมาสร้างถนนหรือทางด่วน เป็นต้น