Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของภาคกลาง

ประวัติของภาคกลาง


ภาคกลาง เป็นดินแดนแห่งอารยธรรมเก่าแก่      สืบเนื่องมาตั้งแต่
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติ
โบราณสถาน วัดวาอารามที่งดงาม นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมการ
คมนาคมของประเทศ มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้าเจ้าพระยา อันเป็น
สายเลือดใหญ่ของการดำรงชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่ดึกดำบรรณ์

ภาคกลางประกอบด้วยจังหวัดทั้งสิ้น 22 จังหวัด กรุงเทพมหานคร

1.              กาญจนบุรี

2.              นครนายก

3.              นครปฐม

4.              นนทบุรี

5.              ปทุมธานี

6.              ประจวบคีรีขันธ์

7.              เพชรบุรี

8.              ราชบุรี

9.              ลพบุรี

10.              สระบุรี

11.              สุพรรณบุรี

12.              อยุธยา (พระนครศรีอยุธยา)

13.              อ่างทอง

14.              CHACHOENGSAO

15.              CHAI NAT

16.              PRACHIN BURI

17.              SA KAEO

18.              SAMUT PRAKAN

19.              SAMUT SAKHON

20.              SAMUT SONGKHRAM         22.   SING BURIการละเล่นพื้นเมืองภาคกลาง

        ภาคกลางมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาล และตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง
ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง  และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียง และยักตัว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่  รำวง  รำเหย่ย  เต้นกำรำเคียว  เพลงเกี่ยวข้าว  รำชาวนา  เพลงเรือ  เถิดเทิง  เพลงฉ่อย  รำต้นวรเชษฐ์  เพลงพวงมาลัย  
เพลงอีแซว  เพลงปรบไก่  รำแม่ศรี

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ วงปี่พาทย์

เพลงพื้นเมืองภาคกลาง  เช่น เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงพิษฐาน เพลงเต้นกำ เพลงรำเคียว เพลงพวงมาลัย เพลงชาวไร่ เพลงระบำ เพลงบ้านนา เพลงปรบไก่ เพลงสวรรค์ เพลงแอ่วซอ

        เพลงพื้นเมืองบางอย่างได้วิวัฒนาการมาเป็นการแสดงที่มีศิลปะ มีระเบียบแบบแผน เช่น เพลงทรงเครื่อง คือ เพลงฉ่อย ที่แสดงเป็นเรื่อง ได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน หรือเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่
ลักษณะการแสดง เริ่มด้วยการไหว้ครู แล้ว่าประ แก้กันอย่างเพลงฉ่อยตามประเพณี แล้วก็แสดงเป็นเรื่องอย่างละคร ร้องดำเนินเรื่องด้วยเพลงฉ่อย และเพลงอื่นแทรกบ้าง ใฃ้วงปี่พาทย์รับการร้องส่งบ้างหรือบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาของตัวละครบ้าง

        ตัวอย่างเพลงพื้นเมืองภาคกลาง

เพลงเกี่ยวข้าว

        เพลงเกี่ยวข้าว เป็นเพลงที่สำหรับร้องกันในขณะลงแขกเกี่ยวข้าว อันเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนชาวไทยอย่างหนึ่ง 
เพื่อให้ความสนุกสนานกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการงาน และเชื่อมความสามัคคีในระหว่างพื้นบ้านอาชีพเดียวกัน 
เนื้อความของเพลงมักจะเกี่ยวกับ การไต่ถามถึงการทำนาผสมผสานการเกี้ยวพาราสีกัน  
        เพลงเกี่ยวข้าว บางแห่งเรียก "เพลงกำ" เวลาแสดงมือหนี่งถือเคียว อีกมือหนึ่งกำข้าวไว้  ย่ำเท้าใช้ลีลาไปตามจังหวะเพลง ใช้ตบมือให้จังหวะพร้อมๆ กัน บางครั้งใช้กลองและฉิ่งเข้าร่วมด้วย

        ตัวอย่างเพลง (ของเดิม)

 

ต้นเสียง

ชะเอิง เงิงเงย ชะ เอิง เงิง เง้ย

 

ลูกคู่

เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้

 

ต้นเสียง

แขกอาสาที่มาก็สาย ทั้งวัวทั้งควายพะรุงพะรัง (เฮ้ เอ้า เฮ้ เฮ้)

 

 

พี่ขี่ไอ้เผือกออกหน้า อีสร้อยระย้าตามหลัง

 

ลง

พี่ขี่ไอ้ทุยลุยซังไปกระทั่งนาเอย (เวลาลง ร้องซ้ำสองครั้ง)

 

 

(ลูกคู่รับย้อนต้น พร้อมๆ กัน)

 

ต้นเสียง

เกี่ยวข้าวอยู่ข้างทาง เห็นสายระยางเป็นเชือกชัก

 

 

พี่ขอถามน้องสาว ว่าทำข้าวเบาหรือว่าทำข้าวหนัก

 

ลง

ขอยืมเคียวเกี่ยวสักพัก แม่คนที่รักกันเอย

 

เพลงเหย่อย

(ชาย)

มาเถิดหนาแม่มา

มาเล่นพาดผ้ากันเอย

 

พี่ตั้งวงไว้ท่า

อย่านิ่งรอช้าเลยเอย

 

พี่ตั้งวงไว้คอย

อย่าให้วงกร่อยเลยเอย

(หญิง)

ให้พี่ยื่นแขนขวา

เข้ามาพาดผ้าเถิดเอย

(ชาย)

พาดเอยพาดลง

พาดที่องค์น้องเอย

(หญิง)

มาเถิดพวกเรา

ไปรำกับเขาหน่อยเอย

(ชาย)

สวยแม่คุณอย่าช้า

ก็รำมาเถิดเอย

(หญิง)

รำร่ายกรายวง

สวยดังหงส์ทองเอย

(ชาย)

รำเอยรำร่อน

สวยดังกินนรนางเอย

(หญิง)

รำเอยรำคู่

น่าเอ็นดูจริงเอย

(ชาย)

เจ้าเขียวใบข้าว

พี่รักเจ้าสาวจริงเอย

(หญิง)

เจ้าเขียวใบพวง

อย่ามาเป็นห่วงเลยเอย

(ชาย)

รักน้องจริงจริง

รักแล้วไม่ทิ้งไปเอย

(หญิง)

รักน้องไม่จริง

รักแล้วก็ทิ้งไปเอย

(ชาย)

พี่แบกรักมาเต็มอก

รักจะตกเสียแล้วเอย

(หญิง)

ผู้ชายหลายใจ

เชื่อไม่ได้เลยเอย

(ชาย)

พี่แบกรักมาเต็มลำ

ช่างไม่เมตตาเลยเอย

(หญิง)

เมียมีอยู่เต็มตัก

จะให้น้องรักอย่างไรเอย

(ชาย)

สวยเอยคนดี

เมียพี่มีเมื่อไรเอย

(หญิง)

เมียมีอยู่ที่บ้าน

จะทิ้งทอดทานให้ใครเอย

(ชาย)

ถ้าฉีกได้เหมือนปู

จะฉีกให้ดูใจเอย

(หญิง)

รักจริงแล้วหนอ

รีบไปสู่ขอน้องเอย

(ชาย)

ขอก็ได้

สินสอดเท่าไรน้องเอย

(หญิง)

หมากลูกพลูจีบ

ให้พี่รีบไปขอเอย

(ชาย)

ข้าวยากหมากแพง

เห็นสุดแรงน้องเอย

(หญิง)

หมากลูกพลูครึ่ง

รีบไปให้ถึงเถิดเอย

(ชาย)

รักกันหนาพากันหนี

เห็นจะดีกว่าเอย

(หญิง)

แม่สอนไว้

ไม่เชื่อคำชายเลยเอย

(ชาย)

แม่สอนไว้

หนีตามกันไปเถิดเอย

(หญิง)

พ่อสอนว่า

ให้กลับพาราแล้วเอย

(ชาย)

พ่อสอนว่า

ให้กลับพาราพี่เอย

(หญิง)

กำเกวียนกำกง

ต้องจากวงแล้วเอย

(ชาย)

กรรมวิบาก

วันนี้ต้องจากเสียแล้วเอย

(หญิง)

เวลาก็จวน

น้องจะรีบด่วนไปก่อนเอย

(ชาย)

เราร่วมอวยพร

ก่อนจะลาจรไปก่อนเอย

(พร้อม)

ให้หมดทุกข์โศกโรคภัย

สวัสดีมีชัยทุกคนเอย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประเพณีภาคกลาง

 

 

      ประเพณีภาคกลาง เรารวบรวมประเพณีภาคกลาง สำคัญๆไว้ให้คุณได้ศึกษา และซึมซับ ถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของภาคกลาง ซึ่งมีความสำคัญ สำหรับ ท้องถิ่น และ รูปแบบการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกัน มีมากมายหลากหลายประเพณี เข้าชมกันได้เลยค่ะ

 

 

ชื่อ

ประเพณีสงกรานต์..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

กรุงเทพมหานคร

 

 

ชื่อ

ประเพณีทอดกฐิน..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

กรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

ชื่อ

งานแห่พระบรมสารีริกธาต..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

กรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

ชื่อ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพร..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

กรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีถือศีลกินเจ..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

กาญจนบุรี

 

 

 

 

ชื่อ

การทอดผ้าป่าโจร บ้านสา..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

จันทบุรี

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีถวายพระเพลิงพระ..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ฉะเชิงเทรา

 

 

 

 

ชื่อ

งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ฉะเชิงเทรา

 

 

 

 

ชื่อ

การแข่งเรือ..

ภาค

ภาคกลาง

 

 

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีทอดผ้าป่าน้ำเพ็..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ฉะเชิงเทรา

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรา..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ฉะเชิงเทรา

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีแห่ธงตะขาบ..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ฉะเชิงเทรา

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ฉะเชิงเทรา

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีบุญข้าวหลาม..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ฉะเชิงเทรา

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีวิ่งควาย..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ชลบุรี

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หร..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ชัยนาท

 

 

 

 

ชื่อ

ตราดรำลึก..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ตราด

 

 

 

 

ชื่อ

การทำบุญโคนไม้..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

ตราด

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีสู่ขวัญข้าว..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

นครนายก

 

 

 

 

ชื่อ

ประเพณีแห่ธงสงกรานต์..

ภาค

ภาคกลาง

จังหวัด

นครปฐม