Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงงานสีผงธรรมชาติ

 

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ในปัจจุบันผงสีที่ใช้ผสมเป็นสีน้ำหรือสีอื่นๆ สำหรับเขียนรูปภาพ มักจะทำมาจากสารเคมี  ที่อาจทำให้เกิดพิษแก่ผู้ใช้ได้  ผู้จัดทำโครงงานจึงเล็งเห็นว่าน่าจะมีวัสดุอื่นที่สามารถนำมาใช้แทนสารเคมีดังกล่าวได้ โดยใช้สารสีที่ได้มาจากพืชชนิดต่างๆแทน  แต่สารสีที่ได้มาจากพืชจะมีลักษณะเป็นน้ำสี ซึ่งมักจะเก็บไว้ใช้ได้ไม่นานก็เสีย  และบางฤดูก็อาจไม่มีพืชที่ให้สีดังกล่าว  ผู้จัดทำจึงคิดค้นหาวัสดุอื่นที่จะนำน้ำสีมาชุบกับวัสดุที่เป็นผง  เพื่อที่จะทำเป็นในลักษณะผงสี  เพื่อจะสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานๆได้

 

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

1. นำวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์

2. ทดลองหาวัสดุที่จะมาใช้ทำผงสีที่มีคุณภาพที่สุด

3. ทดลองดูว่าผงสีที่ได้ เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน ผงสียังมีคุณภาพดีหรือไม่

4. ทดลองดูว่าเมื่อนำผงสีไปใช้(นำไปผสมกับน้ำแล้วระบายสี)แล้ว  สีที่ระบายไปแล้วจะยังมีคุณภาพดีหรือไม่

5. ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

6. เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

7. สามารถผลิตผงสีดังกล่าวไว้ใช้เองได้ด้วยตัวเอง

ขอบเขตการศึกษา

ดอกอัญชัน  ขมิ้น  ใบเตย  มะนาว  แครอท  เป็นพืชที่มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน

 

ระยะเวลาการดำเนินงาน

 

การดำเนินการ/วันที่

              เดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การวางแผนการำเนินงาน             

 

                                                                                                                                                                       

เริ่มดำเนินการ                                                       

                                                                                                                             

สรุปผลดำเนินงาน                                                                                                               

                                                                     

 

นิยามเชิงปฏิบัติการ

1. คุณภาพของสี หมายถึง สีที่มีความสดใส คงทน สีไม่เพี้ยนไปแม้เก็บไว้เป็นเวลานาน

2. สารสี  หมายถึง  ชิ้นส่วนของพืชที่จำนำมาใช้สกัดสี ( ดูได้จากบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

3. น้ำสี  หมายถึง  น้ำที่ได้จากการสกัดสารสี  ในรูปขอของเหลวมีสี

 

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

ความรู้เกี่ยวกับ ใบเตย”:pandanus

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pandanus odorus Ridl.

 

 

พืชจำพวกหญ้า แตกเป็นกอใหญ่ มีเหง้าและลำต้นอยู่ใต้ดิน มีก้านและใบที่โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบออกจากลำต้น เรียงเวียนรอบลำต้นอย่างหนาแน่น ใบสีเขียวรูปเรียวยาวประมาณ 8-10 นิ้ว

ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เมื่อขยี้ใบสดจะมีกลิ่นหอมเย็น นิยมคั้นจากใบเพื่อแต่งกลิ่นและสีเขียวสวยงามในขนมต่างๆ มี

 

 

 

อัญชัน

 

 

 

ชื่อวิทยาศาสร์         ฺClitoria ternatea Linn.

 

ตระกูล                PAPILIONACEAE

 

ชื่อสามัญ             Butterfly Pea.

 

ลักษณะทั่วไป

ต้น       อัญชันเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยล้มลุกขนาดเล็ก มีเถาขนาดเล็กและอ่อน แต่ก้สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง

             20 ฟุต ลักษณะเถาจะค่อนข้างกลม สีเขียวแต่หากเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล ตามลำต้นจะมีขนนุ่ม ๆ

             ปกคลุมโดยทั่วไป

ใบ        ใบของอัญชัน มีลักษณะเป็นช่อ มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบ ใบเล็กและค่อนข้างบาง รูปใบเกือบจะเป็น

             ทรงกลม ออกใบวามเป็นแผงสลับกันไปตามข้อต้น

 

ดอก      ดอกอัญชันจะเป็นดอกเดี่ยว และจะออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดช่อหนึ่งจะมีดอก 2.4 ดอกอัญชัน

             จะมีทั้งชนิดดอกราและดอกซ้อน ดอกมีหลายสี เช่น สีน้ำเงินอมม่วง สีม่วง สีฟ้า สีขาว ลักษณะของ

             ดอกคล้ายดอกถั่วมี 2 กลีบ เมื่อกลีบดอกบานอ้าออกเต็มที่จะมองเห็นลักษณะของดอกคล้ายดอกถั่ว

             มี 2 กลีบ เมื่อกลีบดอกบานอ้าออกเต็มที่ จะมองเห็นลักษณะคล้ายกาบหอย หรือปีกผีเสื้อ เมื่อดอก

             โรยก็จะติดฝัก

 

ฤดูกาลออกดอก

     อัญชันเป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกตลอดปี

 

การปลูก

     อัญชันมีวิธีการปลูกง่ายและขึ้นง่ายไม่ต้องการดูแลรักษามากนักวิธีการปลูกโดยการนำต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดมาปลูกลงแปลงปลูก และบริเวณใกล้แปลงปลูกควรมีรั้ว หรือไม้ระแนงเพื่อให้เถาอัญชันเลื้อยพาด หรือยึดเกาะเพื่อการทรงตัวได้

 

การดูแลรักษา

แสง         อัญชันเป็นไม้กลางแจ้งที่มีความต้องการแสงพอสมควร แต่ก็ไม่ถึงกับต้องการแสงจัดมาก

น้ำ           ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำจะต้องไม่ถึงกับแฉะ รดน้ำแต่พอชุ่มก็พอ และควรรดน้ำวัน

                 ละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและช่วงเย็น

ดิน           อัญชันจะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย           ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกผสมกับดินปลูก

 

โรคและแมลง

     ไม่มีโรคและแมลงที่สำคัญ

 

การขยายพันธ์

     ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

 

แครอท

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า    Daucus carota Linn.

อยู่ในวงศ์     UMBELLIFERAE

มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า     ผักกาดหัวเหลือง ผักชีหัว

แครอทเป็นผักที่มีสีสดใส เมื่อนำมาประกอบอาหารจึงช่วยเพิ่มสีสันของอาหารให้น่ารับประทาน แครอทสามารถทางได้ทั้งสุกและดิบ โดยนิยมนำไปทำอาหารหลายอย่าง อาทิเช่น ส้มตำแครอท สลัดผัก ยำต่างๆ ผัดผัก แครอทมีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง และต่อมาได้มีการนำไปเผยแพร่ในทวีปยุโรป

แครอทจัดเป็นพืชล้มลุกอายุ 1-2 ปี สูงประมาณ 1-1.50 เมตร รากมีลักษณะยาวเรียว ใช้เป็นที่สะสมอาหาร เรียกว่าหัว รากมีสีส้มทั้งเนื้อและผิว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีลักษณะเป็นฝอยรูปสามเหลี่ยม รูปใบหอกโผล่ขึ้นมาเหนือดินเป็นกระจุก ดอกออกรูปเป็นช่อรูปร่างคล้ายร่มสีขาว-เหลือง ผลเป็นรูปยาวรี แข็ง มีสันกว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 4 มิลลิเมตร ทั้งต้นจะมีกลิ่นเฉพาะ การขยายพันธุ์ทำโดยใช้เมล็ดเพาะและขุดหลุมปลูก โดยแครอทชอบดินร่วนและอากาศเย็น ดังนั้นจึงสามารถปลูกได้ดีในภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารและยาคือหัว(ราก) โดยหัวแครอทจะประกอบไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ที่ชื่อ เบต้าแคโรทีน ในปริมาณสูง ซึ่งสารนี้เป็นตัวที่ทำให้ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสายตา ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ และใช้รักษาโรคตาฟางได้ นอกจากนี้วิตามินเอยังช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้ดี จึงทำให้ร่างกายแข็งแรง และเบต้าแคโรทีนยังมีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิเดนท์ ซึ่งช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดจากควันบุหรี่และแสงแดด ก่อนที่อนุมูลอิสระจะไปจับกับเซลล์ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เซลล์นั้นมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นเบต้าแคโรทีนจึงช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งปอดได้

 

 

มะนาว

 

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร   Plantae

ส่วน    Magnoliophyta

ชั้น    Magnoliopsida

วงศ์     Rutaceae

สกุล     Citrus

สปีชีส์C    aurantifolia

ชื่อวิทยาศาสตร์    Citrus aurantifolia' Swing.

มะนาว (อังกฤษ: lime) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุล ส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะของต้นมะนาว

ผลมะนาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 4.5 เซนติเมตร ต้นมะนาวเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย มักมีใบดก ใบยาวเรียวเล็กน้อย คล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าแล้ง จะออกผลน้อย และมีน้ำน้อย   มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส  ในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึง 7% แต่กลิ่นไม่ฉุนอย่างมะกรูด น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม และการบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ทว่าเพิ่งได้ทราบเมื่อไม่ช้านานมานี้ (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19) ก็คือ การป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเคยเป็นปัญหาของนักเดินเรือมาช้านาน ภายหลังได้มีการค้นพบว่าสาเหตุที่มะนาวสามารถช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด เพราะในมะนาวมีไวตามินซีเป็นปริมาณมาก

 

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

1.              มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง

2.              มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ

3.              มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน

4.              มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน

มะนาวพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ มะนาวฮิตาชิ, มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี, มะนาวพม่า, มะนาวเตี้ย และมะนาวหนัง เป็นต้น (มะนาวบางพันธุ์อาจเรียกได้หลายชื่อ แต่ในที่นี้ไม่ได้สืบค้นเพื่อจำแนกเอาไว้)

สรรพคุณทางยา

มะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค ไวตามินซี จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาว มีไวตามินเอ และซี ทั้งยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาวอีกด้วย

มะนาวมีประโยชน์ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตา บำรุงผิว เป็นต้น

สำนวนเกี่ยวกับมะนาว

              มะนาวไม่มีน้ำ : หมายถึง พูดไม่น่าฟัง ไม่ไพเราะ ไม่รื่นหู ห้วนๆ ขาดความนุ่มนวล

              องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน : (จากนิทานอีสป แต่ใช้กันมานาน จนรู้สึกราวกับเป็นสำนวนไทยแท้) หมายถึง เลี่ยงที่จะยอมรับในสิ่งที่ตนต้องการ เนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จ หรือเป็นไปไม่ได้ และยอมรับสิ่งที่ไม่ต้องการแทน

นอกจากนี้ยังมีการเล่นของเด็ก เรียกว่า "ซักส้าว" ที่มีเนื้อร้องกล่าวถึง "มะนาว" ดังนี้

ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง

ขุนนางมาเอง จะเล่นซักส้าว

มือใครยาวสาวได้สาวเอา มือใครสั้นเอาเถาวัลย์ต่อเข้า

บ้างก็ว่า

ซักส้าวเอย มะนาวโตงเตง ขุนนางมาเอง ว่าจะเล่นซักส้าว

 

 

 

 

ขมิ้น

 

ชื่อวิทยาศาสตร์   Curcuma longa Linn

วงศ์    Zingiberaceae

ชื่อท้องถิ่น     ขมิ้น (ทั่วไป) หมิ้น (ภาคใต้)

ลักษณะของพืช

  ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบรูปเรียวยาว ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงออกมาจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา

เหง้าสดหรือแห้ง

 

การปลูก   

ขมิ้นชอบอากาศค่อนข้างร้อนและมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ที่

อายุได้11 - 12 เดือน ทำพันธุตัดออกเป็นท่อนละ 1-2 ตา ปลูกลงแปลงหลังจาก7 วันรากก็จะเริ่ม

งอกควรลดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือนจึงจะขุดเอามาใช้ได้

 

 

รสและสรรพคุณยาไทย

 

รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง

 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา  

เก็บในช่วงอายุ 9-10 เดือน

 

วิธีใช้   

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อยทำโดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้

คุณค่าทางอาหาร   »

เหง้าขมิ้นพบว่ามี วิตามิน เอ วิตามิน ซี

นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆอีกพอสมควร เป็นเครื่องปรุงรส แต่งสีได้ดีมาก

 

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »

เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย "เอสเซนเซียล" และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่ทำให้ขมิ้นได้ชื่อว่า Curcumin จากการทดลองพบว่าขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัย

 

สีที่ได้จากธรรมชาติ

1. สีเขียว  ได้จาก

- ใบเตยหอม  ให้ทั้งสีและกลิ่นใช้ใบค่อนข้างแก่หั่นฝอยแล้วโขลกละเอียดเติมน้ำ  คั้นเอาแต่น้ำ

 

2. สีเหลือง  ได้จาก

- ขมิ้น ล้างปอกเปลือกโขลกให้ละเอียดเติมน้ำแล้วกรองเอาแต่น้ำ

 

3.    สีส้ม   ได้จาก

- แครอท ทำแบบขมิ้น

 

4. สีน้ำเงิน  ได้จาก

- ได้จากดอกอัญชัน ใช้เฉพาะที่เป็นกลีบสีน้ำเงิน ขยี้ให้ซ้ำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง

 

5. สีม่วง  ได้จาก

- ได้จากน้ำดอกอัญชันบีบมะนาวลงไปจะได้สีม่วง

 

 

 

บทที่ 3

วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน

 

ตอนที่ 1

จุดประสงค์ ทำการทดลองหาอัตราส่วนที่พอเหมาะสมระหว่างสารสีธรรมชาติกับน้ำ  เพื่อให้ได้น้ำสีที่มีคุณภาพ

ตัวแปร ต้น           อัตราส่วนระหว่างสารสีธรรมชาติกับน้ำ

ตัวแปร ตาม        น้ำสีที่มีคุณภาพ

ตัวแปรควบคุม    ปริมาณน้ำ  ภาชนะ  เวลาที่ใช้แช่สาร

 

วัสดุและอุปกรณ์

1. สารสี  ได้แก่  ขมิ้น  อัญชัน  

2. น้ำสะอาด

3. หลอดทดลองขนาดกลาง

4. บีกเกอร์

5. เครื่องชั่ง

6. ผ้าขาวบาง

7. ครกบดยา

8. พู่กัน

9. หลอดทดลองขนาดกลาง

10. กระดาษวาดเขียน 100 ปอนด์

 

วิธีการทดลอง

1. นำสารสีแต่งละชนิดมาแยกตำในครกบดยาให้ละเอียด

2. ชั่งสารสีเพื่อนำไปผสมน้ำในปริมาตร 1 , 2 , 3 กรัม  ต่อน้ำ 10 มิลลิลิตร  ในหลอดทดลองทิ้งไว้  เป็นเวลา 1 ชั่วโมง

    จนให้น้ำเปลี่ยนสี

3. แล้วกรองเอาเศษสารสีออกจากน้ำด้วยผ้าขาวบาง

4. นำตัวอย่างน้ำสีที่ได้จากการผสมสูตรต่างๆ มาทดสอบโดยการใช้พู่กันระบายน้ำสีลงบนกระดาษ

แล้วนำไปตากแดดเป็นเวลา 1 วัน  แล้วนำมาเปรียบเทียบดูว่า  สูตรใดจะให้ได้สีเข้มมากกว่ากัน

 

ตอนที่ 2

จุดประสงค์ ทำการทดลองเพื่อหาวัสดุที่จะใช้ทำผง

ตัวแปร ต้น        ชนิดของวัตถุผง

        ตาม           ผงสีที่มีคุณภาพ

        ควบคุม      อัตราส่วนการผสมระหว่างผงกับน้ำสี  ภาชนะ

 

 

วัสดุและอุปกรณ์

1. ผงสีขาว  เช่น  แป้งมัน  ผงดินสอพอง  ผงช๊อก

2. น้ำสีเหลืองจากขมิ้น

3. บีกเกอร์

4. เครื่องชั่ง

5. ตะเกียงแอลกอฮอล์

6. ที่กันลม

7. แท่งแก้วคน

 

วิธีทำการทดลอง

1. ชั่งตัวอย่างผงใส่ลงในบีกเกอร์ 20 กรัม แล้วใส่น้ำสีลงไป 50 มิลลิลิตร

2. นำบีกเกอร์ดังกล่าวไปตั้งไฟ  แล้วใช้แท่งแก้วคนจนน้ำสีแห้ง  เหลือแต่ผงสี

3. สังเกตคุณสมบัติของผงสีที่ได้แต่ละชนิด

 

ตอนที่ 3

จุดประสงค์     ทำการทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างน้ำสีกับผงดินสอพองที่ทำให้ผงสีมีคุณภาพ

ตัวแปร ต้น      อัตราส่วนระหว่างผงดินสอพองกับน้ำสี

            ตาม         ผงสีที่มีคุณภาพ

        ควบคุม    ปริมาณน้ำ  ภาชนะ

 

วัสดุและอุปกรณ์

1. ผงดินสอพอง

2. น้ำสีเหลืองจากขมิ้น

3. บีกเกอร์

4. เครื่องชั่ง

5. ตะเกียงแอลกอร์ฮอร์

6. ที่กันลม

7. เครื่องชั่ง

8. แท่งแก้วคน

9. ครกบดยา

10. กระดาษวาดเขียน 100 ปอนด์

11. น้ำสะอาด

12. พู่กัน

13. จานสี

 

 

วิธีการทดลอง

1. นำตัวอย่างผงใส่ลงในบิกเกอร์ 10 , 20 , 30 กรัม    แล้วใส่น้ำสีลงไป 50 มิลลิลิตร

2. นำบิกเกอร์ดังกล่าวไปตั้งไฟ  แล้วใช้แท่งแก้วคนจนน้ำสีแห้ง  เหลือแต่ผงสี

3. นำก้อนสีที่ผ่านการเคี่ยวแล้วมาตำในครกจะได้ผงสีละเอียด

4. แล้วสังเกตคุณสมบัติโดยการนำผงสีไปละลายน้ำ  แล้วใช้พู่กันละบายบนกระดาษ  แล้วมาเปรียบเทียบกัน

 

ตอนที่ 4

จุดประสงค์ ทดลองว่าเมื่อเก็บผงสีไว้เป็นระยะเวลานานแล้ว  เมื่อนำมาใช้ผงสียังมีคุณภาพอยู่หรือไม่

 

อุปกรณ์

1.ผงสี

2 กระดาษ 100 ปอนด์

3 พู่กัน

4 จานสี

5 น้ำสะอาด

6  เข็มฉีดยา

7 กล่องลูกบาศก์สำหรับใช้ตวง

8 เครื่องชั่ง

 

วิธีการทอลอง

1 เก็บผงสีที่ได้ไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์

2 นำผงสีที่เก็บไว้มาผสมกับน้ำในอัตราส่วนระหว่าง ผงสีกับน้ำเป็น  คือน้ำ 1 มิลลิลิตรต่อผงสี 1 กรัมผสมกันในจานสี

โดยใช้เข็มฉีดยาตวงน้ำ  และและใช้เครื่องชั่งชั่งผงสี

3 ใช้พู่กันจุ่มสีที่ผสมได้จากข้อ 2 มาระบายบนกระดาษ .และทำแบบนี้ กับทุกๆสี  โดยป้ายทุกสีเรียงกันไปบนกระดาษเดียวกัน

4 ทำสีเปรียบเทียบสีทุกสี  โดยนำผงสีที่เพิ่งทำเสร็จไม่นาน  มาทำตามแบบข้อ 1 - 3  โดยแยกไว้กับกระดาษอีกแผ่นหนึ่ง

5 ได้ระบายจากผงสีที่ได้จากผงสีที่เก็บไว้นาน( จากข้อ 3 )กับที่เพิ่งทำเสร็จไม่นาน( จากข้อ 4 )มาเปรียบเทียบกัน  และบันทึกผล

 

ตอนที่ 5

จุดประสงค์ ทดลองว่าเมื่อนำผงสีที่เพิ่งทำเสร็จไม่นานานมาระบายสีบนกระดาษ  และเก็บไว้แล้วสีที่ระบายไปนั้นเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน  จะยังมีคุณภาพอยู่หรือไม่

 

 

 

 

 

 

อุปกรณ์

1.ผงสี

2 กระดาษ 100 ปอนด์

3 พู่กัน

4 จานสี

5 น้ำสะอาด

6 เข็มฉีดยา

7 กล่องลูกบาศก์สำหรับใช้ตวง

 

วิธีการทดลอง

1 นำผงสีที่เพิ่งทำเสร็จไม่นานมาผสมกับน้ำในอัตราส่วนระหว่างผงสีกับน้ำเป็น 1 : 1 ในจานสี  แล้วใช้พู่กันป้ายสีที่ผสม 

มาระบายบนกระดาษ  และระบายทุกสีเรียงกันไปบนกระดาษเดียวกัน

2  นำกระดาษที่ได้ระบายสีแล้ว  มาเก็บไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์

3 เมื่อครบ 1 สัปดาห์แล้ว  นำสีเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง 2.2 ข้อที่ 4 มาเปรียบเทียบสีที่ได้เก็บไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์

  และบันทึกผลการสังเกต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

 

ตอนที่ 1

น้ำสีที่ได้จากอัตราส่วนระหว่างน้ำ 10 มิลลิลิตร  ต่อสารสี 3 กรัม  จะให้สีที่เข้มที่สุด

 

ตอนที่ 2

สีผงที่ได้จากผงช็อกจะมีเนื้อสีที่ดีที่สุด

 

ตอนที่ 3

อัตราส่วนผสมระหว่างน้ำสี 50 มิลลิลิตรต่อผงดินสอพอง 10 กรัม จะให้สีที่ดีที่สุด

 

ตอนที่ 4

สียังสดใสเหมือนเดิม

 

ตอนที่ 5

สียังสดใสเหมือนเดิม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 5

สรุปและอภิปลายผลการดำเนินงาน

 

ตอนที่1

น้ำสีที่ได้จากสูตร น้ำ 10 กรัม  ต่อสารสี 3 กรัม  เป็นสูตรของน้ำสีที่มีคุณภาพที่สุด

 

ตอนที่ 2

ผงที่เหมาะสำหรับการใช้ทำผงคือผงดินสอพอง

 

ตอนที่ 3

อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทำผงสีคือ น้ำสี 50 มิลลิลิตร  ต่อผงดินสอพอง 10 กรัม

 

ตอนที่ 4

เมื่อเก็บผงสีไว้เป็นเวลา 1 เดือนแล้วนำมาใช้ปรากฏว่าสียังสดใสเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อนำมาเทียบกับสีที่เพิ่งทำ

ใหม่แล้วนำมาละบายใหม่

 

ตอนที่ 5

เมื่อนำผงสีที่ได้ละบายไว้บนกระดาษเป็นเวลา 1 เดือนจะพบว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผงสีที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ แล้วละบายใหม่  สียังคงสดใสอยู่เหมือนเดิม

 

อภิปรายผล

          จากการทดลองจะได้ว่าน้ำสีที่มีคุณภาพดี  ให้สีที่เข้มและเมื่อนำไปตากแดดแล้วสีไม่ซีดไปคือน้ำสีที่ได้จากสูตรน้ำเปล่า 10 มิลลิลิตรต่อสารสี 3 กรัม  ส่วนสูตรอื่นนั้นจะให้สีที่จางและซีดกว่าเมื่อนำไปตากแดด  ส่วนวัสดุที่นำมาใช้ทำผงนั้นเหมาะสมที่สุดคือผงดินสอพองเพราะมีเนื้อสีที่ละเอียดและมีความปลอดภัยมีคุณภาพดีกว่าแป้งมันและผงช๊อก  เมื่อได้สูตรของน้ำสีและชนิดของวัสดุที่จะใช้ทำผงสีได้ดีคือดินสอพองแล้วจึงนำมาหาสูตรที่เหมาะสมระหว่างผงดินสอพองกับน้ำสี  ซึ่งผลก็คือสูตรผงดินสอพอง 10 กรัม  ต่อน้ำสี 50 มิลลิลิตรเหมาะสมที่สุดเพราะให้สีที่สดใสกว่าสูตรอื่นๆ เมื่อได้ผงสีแล้วจึงได้ทดสอบคุณภาพของผงสีคือขั้นแรกนำผงสีเก็บไว้ 1 เดือน  และนำมาระบายบนกระดาษแล้วนำมาเปรียบเทียบกับผงสีที่เพิ่งทำเสร็จและระบายใหม่ๆ และขั้นที่ 2 นำผงสีมาระบายบนกระดาษและเก็บไว้ 1 เดือนแล้วนำมาเปรียบเทียบกับผงสีที่เพิ่งทำเสร็จและระบายใหม่ๆ เช่นเดียวกัน  ผลปรากฏว่าการทดสอบทั้งสองเมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่แตกต่างกันกับของใหม่มากนัก  เพราะฉะนั้นสีผงนี้จึงมีคุณภาพสามารถเก็บไว้ใช้ได้เป็นเวลานาน

 

 

 

 

 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน

1. สามารถนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

2. สามารถเก็บสีที่มีอยู่ในธรรมชาติไว้ใช้เป็นเวลานานได้

3. สามารถหาวัสดุอื่นที่นอกจากสารเคมี มาใช้ทำผงสีได้

4. สามารถทำสีน้ำไว้ใช้เองได้

5. ได้สีที่มีความปลอดภัยสูง

6. ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะอย่างเป็นระบบ

7. สามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

ข้อเสนอแนะ

1.    น่าจะลองนำผงสีมาปั้นเป็นแท่ง ทำเป็นสีชอกล์ได้

2.    ควรทดลองผงสีให้มากสีกว่านี้

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

E-mail: webmaster@maipradab.com

http://web.ku.ac.th/agri/lemon/menu.htm

http://th.wikipedia.

http://www.bbznet.com

http://www.maipradabonline.com/maileay/unchun.htm

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

 

   เรื่อง                                                                                                                                                          หน้า

บทคัดย่อ                                                                                                                                                         

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                           

สารบัญ                                                                                                                                                         

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                                            1

-              ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

-              จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

-              ขอบเขตการศึกษา

-              ระยะเวลาการดำเนินงาน

-              นิยามเชิงปฏิบัติการ

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                              2-7

           -       ความรู้เกี่ยวกับ ใบเตย

           -       ความรู้เกี่ยวกับ อัญชัน

           -       ความรู้เกี่ยวกับ แครอท

           -       ความรู้เกี่ยวกับ มะนาว

-       ความรู้เกี่ยวกับ ขมิ้น

บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน                                                                                                  8-11

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน                                                                                                                              12

บทที่ 5 สรุปและอภิปลายผลการดำเนินงาน                                                                                                  13-14

-              อภิปลายผล

-              ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน

-              ข้อเสนอแนะ

หนังสืออ้างอิง                                                                                                                                                          15

    ภาคผนวก

    รวบรวมภาพกิจกรรม