Custom Search

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้าวแตน

. คั้นเนื้อแตงโม และกรองเอาแต่น้ำ ผสมงาดำใส่ลงในน้ำแตงโม คนให้เข้ากัน
2. นำข้าวสารแช่ไว้ 1 คืน มานึ่ง สุกแล้วใส่ชามเตรียม เทน้ำแตงโมผสมงาดำลงในชามข้าวเหนียว แล้วคลุกเคล้า ให้เข้ากัน
3. เมื่อคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว ใส่ข้าวในถุงพลาสติกเพื่อเก็บความร้อน
4. นำข้าวมากดลงพิมพ์วงกลม จะได้ข้าวเป็นทรงกลม
5. นำข้าวแต๋นไปตากแดดเป็นเวลา 2 วัน
6. ข้าวแต๋นที่ตากแดดได้ที่แล้ว นำมาทอดในน้ำมันร้อนจัด
7. ข้าวแต๋นที่ทอดแล้ว นำมาหยอดด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว

 

เคล็ดลับในการปรุง
การทำน้ำอ้อยสำหรับหยอดหน้าข้าวแต๋น ให้เคี่ยวน้ำอ้อยจนข้นเหนียว ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนแล้วค่อยหยอดหน้า เพราะจำทำให้ข้าวแต๋นกรอบไว้ได้นาน

เคล็ดลับในการเลือกเครื่องปรุง
การทอดข้าวแต๋น หรือ จืนข้าวแต๋น ต้องทอดในน้ำมันที่ร้อนจัด แล้วพลิกกลับไปมาจะทำให้ข้าวแต๋นพองตัว และกรอบอร่อ

http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=104

"ขนมนางเล็ด" และ "ข้าวแตน" เป็นขนมไทยโบราณที่ยังมีการผลิตออกมาจำหน่ายอยู่บ้าง โดยเฉพาะชุมชนในต่างจังหวัด ยังเป็นขนมที่ขายดี ทั้งแง่เป็นของฝากให้คนที่เคารพนับถือ เป็นการอนุรักษ์ขนมไทย ที่สำคัญอร่อยและราคาถูก

สมปอง บอกถึงความแตกต่างของขนมทั้งสองนี้ว่าถ้าเป็นนางเล็ดจะมีน้ำตาลปี๊บที่เคี่ยวจนเหนียวทาไว้ที่หน้าขนม ส่วนข้าวแตนนั้นไม่มีน้ำตาลทา แต่วิธีผลิตจะเหมือนกัน เช่นเดียวกับส่วนผสมหลักจะประกอบด้วย ข้าวเหนียว น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย เกลือ น้ำมันพืช และน้ำสะอาด

"วันหนึ่งจะนึ่งข้าวเหนียวประมาณ 40-50 กิโลกรัมแต่จะนึ่งครั้งละ 1-2 กิโลกรัม เริ่มจากนำข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ก่อนนำไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีระหว่างรอข้าวเหนียวสุกให้เตรียมน้ำตาลทรายและเกลือ คนให้เข้ากัน พักไว้ พอข้าวเหนียวสุกยกลงเทใส่ชามกะละมัง แล้วผสมคลุกเคล้า หรือมูนให้เข้ากัน" นางสมปองเล่าให้ฟัง

พร้อมอธิบายถึงวิธีการทำต่อไปว่าพอมูนเสร็จก็หาฝาปิด พักไว้ราว 5 นาที แล้วนำข้าวเหนียวมูนไปใส่ในพิมพ์ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร พยายามทำให้บาง นำไปตากแดดให้แห้งสนิท ก่อนทอดด้วยน้ำมันพืชให้พอเหลือง ตักใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน และบรรจุใส่ผลิตภัณฑ์จำหน่าย เป็นขนม "ข้าวแตน" ที่กรอบ อร่อย มัน และเค็มเล็กน้อย

อีกส่วนทำเป็นขนมนางเล็ด นางสมปอง บอกว่า แบ่งข้าวเหนียวมูนที่ตากแห้งเรียงใส่ถาดไว้ก่อน จากนั้นเคี่ยวน้ำตาลให้เหนียว ปล่อยไว้ให้เย็นก่อนนำมาโรยที่หน้าขนม ทิ้งไว้สักพัก พอน้ำตาลแห้งแข็งตัวดีก็นำไปใส่ถุงพลาสติกเพื่อส่งขายต่อไป โดยบรรจุถุงละ 5 ชิ้นส่งขายราคาถุงละ 3.50 บาทผู้ที่มารับไปขายจะขายถุงละ 5 บาทและแต่ละวันจะผลิตทั้งนางเล็ด-ข้าวแตน 1,400-1,500 ชิ้นขณะที่รายได้อยู่ในขั้นน่าพอใจ เพราะเมื่อหักค่าแรงงานที่มาช่วยบรรจุถุงแล้ว ในแต่ละวันจะเหลือ 2,000-3,000 บาทแต่เวลาไปซื้ออุปกรณ์ซื้อครั้งละเป็นหมื่นบาทเพราะทุกอย่างแพงขึ้นมาก

http://news.sanook.com/scoop/scoop_268463.php

ข้าวแตนแบบดั้งเดิมนั้น เขาจะผสมน้ำแตงโมลงไปในส่วนผสมข้าว เพื่อช่วยเพิ่มความหอมและสี ให้กับขนม (สังเกตได้ว่า ขนมข้าวแตน จะมีสีเข้มกว่า ขนมนางเล็ด) ความอร่อยของข้าวแตนนั้น นอกเหนือจากการใส่น้ำแตงโมแล้ว ส่วนผสมสำคัญที่เป็นเคล็ดลับแห่งความอร่อยอีกอย่างหนึ่ง คือ การใส่สิ่งที่ชาวเหนือเรียกกันว่า "น้ำอ้อย" ลงไปในส่วนผสมด้วย

ต้องขออธิบายไว้ตรงนี้ก่อนว่า "น้ำอ้อย" ที่ว่านี้ ไม่ใช่ "น้ำอ้อย" ที่เป็นของเหลว แบบที่เราใช้ดื่มกันหรอกนะคะคุณ แต่เป็นน้ำตาลสีเข้มที่ทำมาจากอ้อย มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยม คล้ายลูกเต๋า ขนาดโตประมาณหัวแม่มือของผู้ชายตัวโต ๆ ในกรุงเทพสามารถหาซื้อได้ที่แมคโคร หรือ ตามตลาดใหญ่ ๆ คะ ราคากิโลกรัมละประมาณ 30 - 50 บาท

ขั้นตอนและส่วนผสมในการทำขนมข้าวแตน ที่อยู่ด้านบน เป็นสูตรของสหกรณ์นิคมสันทราย จำกัด คะ

 

ข้าวเหนียว 3 กิโลกรัม
น้ำอ้อย 500 กรัม
น้ำตาลทรายแดง 500 กรัม
เกลือป่น 1 ช้อนชา
น้ำ 2 ลิตร
กะทิผง 500 กรัม
เนื้อแตงโม
งาดำ 500 กรัม

 

นำข้าวเหนียว มาแช่น้ำสะอาดนานประมาณ 4 ชั่วโมง (หรือมากกว่านี้ก็ได้) แล้วสงขึ้น นำไปซาวให้สะอาดอีกสัก 2 ครั้ง ก่อนนำไปนึ่งจนสุก

ในระหว่างที่นึ่งข้าว ก็จัดแจงผสม น้ำอ้อย น้ำตาลทรายแดง เกลือป่น และน้ำ ผสมเข้าด้วยกันในหม้อ ยกขึ้นตั้งไฟให้เดือด (ใช้เวลาประมาณ 15 - 20 นาที) จึงยกลงจากเตา แล้วเติมกะทิผง ลงไป คนให้ละลายเข้ากัน

นำเนื้อแตงโม (ไม่เอาเมล็ดนะคะ)เข้าเครื่องบด บดให้ละเอียดจนเป็น "น้ำแตงโม" ใช้ 2 ถ้วย

พอข้าวเหนียวที่เรานึ่งสุกแล้ว ก็ให้ยกลง แล้วเปิดฝา เทน้ำแตงโมราดลงไป ตามด้วยน้ำอ้อยและน้ำตาลที่เคี่ยวไว้แล้ว

เทข้าวเหนียวที่ราดน้ำแตงโมและน้ำตาลใส่กะละมัง ใส่งาดำลงไปจากนั้นใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน แล้วนำไปใส่พิมพ์ไม้ไผ่ที่ทำเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 นิ้ว

นำข้าวเหนียวแผ่นกลมที่ได้ ไปตากบนตะแกรงลวด ประมาณ 2 แดด ให้แห้งสนิท แล้วจึงนำมาทอด ให้ข้าวพอมีสีเหลืองออกน้ำตาล และสุกดีทั่วแผ่น ก็ตักขึ้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน


 

 

ส่วนผสมสำหรับหน้าน้ำตาล
น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม (หรือน้ำตาลทราย 500 กรัม + น้ำอ้อย 500 กรัม)
น้ำสะอาดเล็กน้อย

 

ทำน้ำตาลที่ใช้โรยหน้า โดยใช้น้ำตาลทราย (หรือน้ำตาลทราย + น้ำอ้อย ) ใส่น้ำเล็กน้อย ตั้งไฟเคี่ยวให้เป็นยาง แต่อย่าเคี่ยวนานเกินไป เพราะจะทำให้น้ำตาลแข็งจนใช้โรยหน้าไม่ได้ หรือถ้าน้ำตาลเหลวเกินไป น้ำตาลก็จะเยิ้มและแห้งช้า

นำข้าวแตนที่ทอดเสร็จแล้ว มาโรยหน้าด้วยน้ำตาลที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเก็บใส่ภาชนะมีฝาปิดสนิท