ต้นกำเนิดผ้าไหม
เรื่องกำเนิดผ้าไหม(จีน)นี้เป็นนิทานแห่ง มณฑล หังโจว ซึ่งเรื่องก็มีอยู่ว่า … ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสตรีผู้หนึ่ง อาศัยอยู่ในหุบเขาเร้นลับแห่งหนึ่งในหังโจว ไม่มีใครเคยเห็นเธอผู้นี้มาก่อนเลยนอกจากเด็กหญิงน้อย ๆ คนหนึ่งนามว่า อาเจียว เมื่ออาเจียวอายุ 9 ขวบ มารดาก็ทิ้งเธอไว้กับน้องชายวัย 4 ขวบคนหนึ่ง อย่างเดียวดาย เพราะบิดาของเธอนั้น เมื่อภรรยาตายได้ไม่ทันไร ก็แต่งงานใหม่กับผู้หญิงที่มีจิตใจเดียวกับแม่เลี้ยงของ แม่เอื้อยในนิทาน เรื่องปลาบู่ทองของไทย
ดังนั้นในวันที่หนาวจัดวันหนึ่ง แม่เลี้ยงก็ใช้อาเจียวให้ออกไปหาหญ้าแห้งใส่ตะกร้ามาให้เต็ม สั่งว่าถ้าไม่ได้หญ้าเต็ม ตะกร้า ก็อย่าได้กลับบ้านเป็นอันขาด ถึงกลับมาก็จะไม่มีอะไรให้กิน อาเจียวก็ออกจากบ้านไปพร้อมกับตะกร้า ซึ่งว่างเปล่าพอๆกับความว่างเปล่าในกระเพาะน้อยๆของเธอ เธอเที่ยวเดินหาเปะปะไปตามท้องทุ่ง ริมฝั่งแม่น้ำ ตลอดจนถึงยอดเขา ตั้งแต่เช้าจนเย็นก็หาหญ้าแห้งไม่ได้ เพราะว่าเป็นหน้าหนาวซึ่งหิมะจับจนแม้แต่ต้นไม้ก็แข็งทิ้งใบหมด
อาเจียวนั่งลงบนหินก้อนหนึ่งอย่างหมดเรี่ยวหมดแรง น้ำตาไหลอาบหน้า แล้วความคิดอย่างหนึ่งก็แว่บเข้ามาสู่สมองของเด็กน้อย.....ถ้าเธอตายเสียได้เธอก็คงจะหนีพ้นไปจากความทุกข์ระทมเช่นที่เป็นอยู่.....เธอคิด แต่แล้วจู่ๆอาเจียวก็กลับนึกไปถึงแม่ นึกถึงแสงแดดอบอุ่นที่สาดส่องใบไม้ ดอกไม้ในเดือน มิถุนายน เสียงนกร้อง เธอกำลังเล่นกับน้องชายสนุกอยู่ตามริมน้ำโดยมีแม่ถือตะกร้าที่เต็มไปด้วยหญ้าตัดใหม่ เดินตรงมาที่เธอกับน้องชายพร้อมด้วยใบหน้ายิ้มละไม เมื่อเข้ามาใกล้ แม่บอกอาเจียวว่า “อย่าเพิ่งไปนอน เราไปเลี้ยงแกะกันก่อน” นึกมาถึงตอนนี้ พลันอาเจียวก็ได้ยินเสียงอะไรบางอย่าง “มีหญ้ามากมายอยู่ในถ้ำ มีหญ้ามากมายอยู่ในถ้ำ”
อาเจียวเงยหน้ามองฟ้า ระหว่างก้อนเมฆสีเทา ที่มองเห็นในขณะนั้น มีนกที่มีขนเหมือนสร้อยสีขาวรอบคอตัวหนึ่ง บินวนอยู่ เสียงที่เธอได้ยินนี้ดูเหมือนกับจะดังมาจากนกน้อยตัวนี้ และนกน้อยก็ทำท่าเหมือนจะบอกทางอะไรบางอย่างแก่เธอ อาเจียวลุกจากก้อนหินเดินตามนกน้อยที่บินนำไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้ตัว และแล้วนกน้อยก็หายวับไป หลังจากที่พาเธอผ่านทางเลี้ยวมาได้สองสามขยัก
เมื่อไม่มีนกนำทางอีกแล้ว อาเจียวเริ่มหวาดกลัว นกนั้นพูดได้หรือ? เธอเพียงแต่ฝันไปกระมัง? เธอครุ่นคิดและทั้งๆที่กำลังสับสนงุนงงอยู่นั้น เธอก็พบต้นสนยักษ์ใหญ่ต้นหนึ่งขวางหน้า ใบสนยักษ์ต้นนี้ ดกหนาจนแสงแดดส่องลอดลงมาไม่ได้ อาเจียวมองต้นสนแล้วเริ่มออกเดินวนไปรอบๆลำต้นของมัน และแล้ว.......เธอก็สังเกตเห็นรูใหญ่ตรงซอกผานั้นต้นสนนั้น อาเจียวยืนมองอย่างงงๆ มีเสียงน้ำไหลวนไปมาจากในถ้ำนั้นดังออกมาด้วย
เสียงน้ำนั้นนำสติกลับมาสู่อาเจียวอีกครั้งหนึ่ง เธอรู้สึกกระหายน้ำจึงเดินไปที่นั่น อากาศที่อบอุ่นและชุ่มชื้นลอยออกมาจากในถ้ำ อาเจียวทำมือเป็นถ้วยตักน้ำเข้าปาก น้ำในลำธารจากถ้ำนี้หวานน่ากิน แล้วอาเจียวก็มองเห็นหญ้าอ่อนๆขึ้นอยู่เต็มสองข้างลำธาร เธอก้มลงตัดหญ้าลึกเข้าไปเรื่อยๆ ยิ่งลึกเข้าไปก็ยิ่งมีทั้งดอกไม้สวยๆและหญ้างามๆ
เมื่อตัดหญ้าได้เต็มตะกร้า อาเจียวก็รู้สึกว่าตนได้ฝ่าทะลุถ้ำออกมาสู่ลานโล่งแห่งหนึ่ง ผู้หญิงสวยคนหนึ่งในชุดสีขาว กำลังเดินตรงมายังเธอ เธอผู้นั้นยิ้มกับอาเจียว และเมื่อใกล้เข้ามา เธอกล่าวกับอาเจียวว่า “ไม่ต้องกลัว เพื่อนเล็กๆของฉัน หนูดูเหน็ดเหนื่อยมากนะ อยากจะอยู่พักคุยอะไรกับฉัน สองสามวันไหม ?” อาเจียวเหลียวมองรอบตัว ที่ปลายเนินเบื้องหน้ามีบ้านสวยหลังคาสีขาว น่าอยู่หลังหนึ่ง หน้าบ้านมีต้นแคระใบสีเขียวแก่แถวหนึ่ง เด็กหญิงเล็กๆหลายคนในชุดสีขาว กำลังร้องเพลงพลางเก็บใบไม้อยู่ที่นั่น
ภาพที่เห็นทำให้อาเจียว ปิติเป็นอันมาก เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่แม่ตาย ที่อาเจียวได้รู้สึกเช่นนี้ อาเจียวจึงตัดสินใจที่จะอยู่กับ สตรีชุดขาวผู้ใจดีนี้สักสอง สามวัน ตามที่ได้รับคำเชิญ ในระหว่างที่พักอยู่ที่นี่ อาเจียวได้ร่วมกับเด็กหญิงเหล่านั้น เก็บใบไม้ในตอนกลางวัน เอาใบไม้นี้ไปเลี้ยงตัวหนอนสีขาว ราวกับหิมะ ที่เธอเพิ่งรู้จักในตอนกลางคืน อาเจียวได้เรียนรู้ว่าตัวหนอนเหล่านี้คือตัวไหม ใบไม้ที่เก็บมาเลี้ยงมันก็คือใบหม่อน สุภาพสตรีที่น่ารักบอกเธอว่า เมื่อตัวหนอนชักใยเป็นตัวดักแด้แล้ว เราก็ สามารถจะสาวใยของมันเป็นเส้นยาวๆออกมาใช้ทอผ้าได้ เรียกว่า ผ้าไหม และยังสามารถจะย้อมผ้าไหมนี้ให้เป็นสีสวยงามอะไรก็ได้ ตามที่เธอชอบด้วย
อาเจียวจดจำเรื่อยเร้นลับนี้ไว้ในใจ เวลาอันผาสุกในบ้านน้อยสีขาว ผ่านไปราวกับติดปีก วันหนึ่งอาเจียวก็นึกได้ว่าเธอได้จากบ้านมานานราวกว่าสามเดือนแล้ว แล้วความคิดอย่างหนึ่งก็แล่นเข้ามาในสมอง อาเจียวคิดว่าทำไมเราไม่กลับบ้านไปรับน้องเรามาอยู่ด้วยกันเสียที่นี่ล่ะ ?”แล้ววันรุ่งขึ้น อาเจียว ก็ออกเดินทางกลับบ้าน ก่อนตะวันตกดินโดยไม่บอกใครทั้งสิ้น เธอไม่ได้กลับไปตัวเปล่า แต่ได้นำไข่ตัวไหมกับเมล็ดใบหม่อน โรยเป็นระยะไปตามทางเดินด้วย โดยตั้งใจจะให้มันเป็นที่สังเกต ซึ่งเธอจะพาน้องชายเดินทางกลับมายังบ้านสีขาวนี้ได้ถูกต้อง
เมื่ออาเจียวกลับมาถึงบ้าน สิ่งที่เธอพบคือพ่อที่กลายเป็นคนแก่และน้องชายที่โตเป็นหนุ่มแล้ว “แกไปอยู่ที่ไหนมา ตั้งสิบห้าปี ?เกิดอะไรขึ้นกับแก หรือ” พ่อถาม เช็ดน้ำตาที่ไหลอย่างยินดี อาเจียวเล่าให้พวกเขาฟังถึงเรื่องที่เธอได้พบเห็น หุบเขาลึกลับ สุภาพสตรีชุดขาว ตัวหนอนสีขาวที่เรียกกันว่า “แมลงสวรรค์” และยังไข่หนอนออกมาอวดพ่ออีกด้วย หลังจากนั้น ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่า อาเจียวได้พบกับพระเจ้า ผู้ต้องการสอนคนหังโจวให้รู้จักการเลี้ยงไหมโดยผ่านตัวเธอ
วันรุ่งขึ้น อาเจียวอยากจะกลับไปยังหุบเขาลึกลับนั้นอีก แต่ปรากฏว่าเมล็ดหม่อนที่เธอเหวี่ยงมาตามทางนั้นได้กลายเป็นต้นหม่อนไปหมดแล้ว เธอเดินตามเส้นทางเดิมไปจนถึงปากถ้ำก็หาได้พบปากถ้ำที่เคยพบไม่ มีแต่เจ้านกสร้อยคอสีขาวตัวเดิมที่ยังคงบินวนอยู่เหนือหัวร้องว่า “อาเจียวขโมยสมบัติ อาเจียวขโมยสมบัติ”
แล้วเจ้านกนั้นก็หายลับไปหลังเขาอาเจียวสำนึกผิดว่าเธอได้ ขโมยไข่ตัวไหมกับเมล็ดหม่อนจากหุบเขาเร้นลับ แต่เธอก็ไม่รู้จะทำอย่างไรนอกจากกลับบ้าน อย่างไรก็ตามการสูญเสียสวรรค์บนดินของอาเจียวกลับกลายมาเป็นโชคมหาศาล ของชาวหังโจว
เดี๋ยวนี้ เมืองหังโจวได้เป็นศูนย์กลางของการผลิตผ้าไหมในจีน อาเจียวได้ชื่อว่าเป็นผู้นำ “แมลงสวรรค์”มาสู่ หังโจว และสตรีชุดขาวในหุบเขาเร้นลับ ซึ่งไม่มีใครรู้จักชื่อได้รับขนานนามว่าเป็น “มารดาแห่งผ้าไหม”
วิวัฒนาการทอผ้าไหมไทย
แม้ว่าเราจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมาใชอธิบายเรื่องจุดกำเนิดของการทอผ้าในประเทไทยก็ตาม แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่า การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้รู้จัก ทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเช่นที่ เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี อายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว มีรูปมนุษย์โบราณกับสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย และสุนัข แสดงว่ามนุษย์ยุคนั้นรู้จักเลี้ยงสัตว์แล้ว ลักษณะการแต่งกายของมนุษย์ยุคนั้นดูคล้ายกับจะเปลือยท่อนบน ส่วนท่อนล่างสันนิษฐานว่าจะ ใช้หนังสัตว์ หรือผ้าหยาบๆ ร้อยเชือกผูกไว้รอบๆ สะโพก บนศีรษะประดับด้วยขนนก
จากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบ บริเวณถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุประมาณ 7,000 - 8,000 ปีมาแล้ว พบว่ามีการตกแต่งด้วยรอยเชือก และรอยตาข่ายทาบ ทำให้เราสันนิษฐาว่า มนุษย์น่าจะรู้จักทำเชือกและตาข่ายก่อน โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือก แล้วนำเชือกมาผูก หรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอด้วยเทคนิคง่ายๆ แบบการจักสานคือนำเชือกมาผูกกับไม้หรือยึดไว้ให้ด้ายเส้นยืนแล้วนำเลือกอีกเส้นหนึ่งมาพุ่งขัดกับด้ายเส้นยืน เกิดเป็นผืนผ้าหยาบๆ ขึ้น เหมือนการขัดกระดาษหรือการจักสาน เกิดเป็นผ้ากระสอบแบบหยาบๆ
เราพบหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีที่บริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เช่น พบกำไล สำริด ซึ่งมีสนิม และมีเศษผ้าติดอยู่กับคราบสนิมนั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สนิมเป็นตัวกัด
กร่อนโลหะซึ่งเป็นอนินทรียวัตถุ แต่กลับเป็นตัวอนุรักษ์ผ้าซึ่งเป็นอินทรียวัตถุไว้ไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ที่แหล่งบ้านเชียงนี้ เรายังพบ แวดินเผาซึ่งเป็นอุปกรณ์การปั่นด้ายแบบง่าย ๆ และพบลูกกลิ้งแกะลายสำหรับใช้ทำลวดลายบน ผ้าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พอจะสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเชียงเมื่อ 2,000-4,000 ปีมาแล้ว รู้จักการปั่นด้าย ทอผ้า ย้อมสี และพิมพ์ลวดลายลงบนผ้าอีกด้วย
ผ้าในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน
ผ้าในงานหัตถกรรมพื้นบ้านโดยทั่วไปมีอยู่สองลักษณะคือ ผ้าพื้นและผ้าลาย ผ้าพื้นได้แก่ ผ้าที่ทอเป็นสีพื้นธรรมดาไม่มีลวดลาย ใช้สีตามความนิยม ในสมัยโบราณสีที่นิยมทอกันคือ สีน้ำเงิน สีกรมท่าและสีเทา ส่วนผ้าลายนั้นเป็นผ้าที่มีการประดิษฐ์ลวดลายหรือดอกดวงเพิ่มขึ้นเพื่อความงดงาม มีชื่อเรียกเฉพาะตามวิธี เช่น ถ้าใช้ทอ (เป็นลายหรือดอก) ก็เรียกว่าผ้ายก ถ้าทอด้วยเส้นด้ายคนละสีกับสีพื้น เป็นลายขวาง และตาหมากรุกเรียกว่า ลายตาโถง ถ้าใช้เขียน หรือพิมพ์จากแท่งแม่พิมพ์โดยใช้มือกด ก็เรียกว่า ผ้าพิมพ์ หรือผ้าลายอย่าง ซึ่งเป็นผ้าพิมพ์ลาย ที่คนไทยเขียนลวดลายเป็นตัวอย่างส่งไปพิมพ์ที่ต่างประเทศ เช่น อินเดีย
ผ้าเขียนลายส่วนมากเขียนลายทอง แต่เดิมชาวบ้านรู้จักทอแต่ผ้าพื้น (คือผ้าทอพื้นเรียบไม่ยกดอกและมีลวดลาย) ส่วนผ้าลาย (หรือผ้ายก) นั้น เพิ่งมารู้จักทำขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างการทอมาจากแขกเมืองไทรบุรีซึ่ง ถูกเจ้า-เมืองนครกวาดต้อนมา เมื่อครั้งที่เมืองไทรบุรีคิด ขบถประมาณ พ.ศ. 2354 อย่างไรก็ตาม ผ้าทั้งสองประเภทนี้ใช้วิธีการทอด้วยกันทั้งสิ้นวัสดุที นิยมนำมาใช้ทอคือ ฝ้าย ไหมและขนสัตว์ (แต่ส่วนมากจะใช้ฝ้ายและไหม) ชาวบ้านจะปลูกฝ้ายเป็นพืชไร่และเลี้ยงไหมกัน ฤดูที่ปลูกฝ้ายกันคือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกินเวลาถึง 6 เดือน ต้นฝ้ายจึงจะแก่ เมื่อ เก็บฝ้ายมาแล้วจึงนำมาปั่นและกรอให้เป็นเส้น ม้วนเป็นหลอด เพื่อที่จะนำไปเข้าหูกสำหรับ ทอต่อไป ชาวบ้านรู้จักทอผ้าขึ้นใช้เอง หรือสำหรับแลกเปลี่ยนกับเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นจะต้องใช้ภายในครอบครัว การทอนี้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว ไม่มีใครทราบว่ามีมาแต่เมื่อไร และได้แบบอย่างมาจากใคร ถ้าจะพิจารณาดูตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ในสมัยศรีวิชัย(ราวพุทธศตวรรษที่ 13) ชาวบ้านคงรู้จักการทอผ้าแล้วเพราะว่าในสมัยนั้นเป็นสมัย ที่ได้มีการติดต่อการค้าและรับเอาศิลปะและวัฒนธรรมมาจากชนชาติที่เจริญกว่า เช่น จีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เซีย ชนต่างชาติดังกล่าวคงได้มาถ่ายทอดไป
การทอผ้านี้มีอยู่ในทุกภาคของประเทศหลักการและวิธีการนั้นคล้ายคลึงกันทั้งหมด แต่อาจมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันบ้าง การทอนี้ทำด้วย มือโดยตลอดใช้เครื่องมือเครื่องใช้แบบง่ายๆซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและความประณีต นับตั้งแต่การเตรียมเส้น การย้อมสี และการทอเป็นผืนเครื่องมือทอผ้าเรียกว่า "กี่" มี 2 ชนิด คือ กี่ยก กับกี่ฝัง กี่ยกเป็นเครื่องมือที่ยกเคลื่อนที่ได้ ใช้ตั้งบนพื้น ถอดและประกอบได้ง่าย ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีขนาดเท่ากับกี่ฝัง แต่ทำตั้งสูง กว่า เพื่อให้เท้าถีบกระตุกด้ายในเวลาทอผ้า สะดวกไม่ติดพื้น ส่วนกี่ฝังคือเครื่องทอผ้าที่ใช้เสาปักฝังลงดินยึดอยู่กับที่ เคลื่อนย้ายไม่ได้สร้างกันไว้ตามใต้ถุนบ้าน เป็นเครื่องทอผ้าชนิด ที่นิยมใช้กันมาก
การทอผ้าที่ชาวบ้านทำกันนั้นต้องอาศัยความจำและความชำนาญเป็นหลัก เพราะไม่มีเขียนบอกไว้เป็นตำรา นอกจากนี้แล้วยังพยายามรักษารูปแบบและวิธีการเอาไว้อย่างเคร่งครัด จึงนับว่าเป็นการอนุรักษ์ศิลปกรรมแขนงนี้ไว้อีกด้วย
ประเภทของผ้าไหม
ผ้าพื้นบ้านที่นิยมใช้กันมี 2 ประเภท คือ
[แก้ไข] ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งเรียกกันว่าผ้าพื้นนั้นไม่มีความประณีตและสวยงามเท่าใดนัก แต่มีความทนทาน ทอขึ้นอย่างง่ายๆ มีสีและ ลวดลายบ้าง เช่น ผ้าพื้น ผ้าตาโถง ผ้าโสร่ง ผ้าแถบ ผ้าซิ่น และผ้าขาวม้า ซึ่งชาวบ้านนิยมใช้ติดตัวมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกหลักที่ 44 แห่งแผ่นดินสมเด็จพระบรม ราชาธิราชที่ 1 (พ.ศ. 1916)
ผ้าที่ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ
ในสังคมไทยสมัยก่อนถือว่าการทอผ้าเป็นงานของผู้หญิง เพราะต้องใช้ความประณีตและละเอียดอ่อน ใช้เวลานานกว่าจะทอผ้าชนิดนี้เสร็จแต่ละผืน ผู้หญิง ซึ่งในสมัยนั้นต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนอยู่แล้ว จึงมีโอกาสทอผ้ามากกว่าผู้ชาย อีกประการ หนึ่ง ค่านิยมของสมัยนั้นยกย่องผู้หญิงที่ทอผ้า เก่ง เพราะเมื่อโตเป็นสาวแล้วจะต้องแต่งงานมีครอบครัวไปนั้น ผู้หญิงจะต้องเตรียมผ้าผ่อนสำหรับออกเรือน ถ้าผู้หญิงคนใดทอผ้าไม่เป็นหรือไม่เก่งก็จะถูกตำหนิ ชายหนุ่มจะไม่สนใจ เพราะถือว่าไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะเป็น แม่บ้าน เมื่อมีงานเทศกาลสำคัญต่างๆ ชาวบ้านจะพากันแต่งตัวด้วยผ้าทอเป็นพิเศษไปอวดประชันกัน ผ้าชนิดนี้จะทอขึ้นด้วยฝีมือประณีตเช่นเดียวกัน มีสีสัน และลวดลาย ดอกดวงงดงามเป็นพิเศษ ผ้าบางผืนจะทอกันเป็นเวลาแรมปีด้วยใจรักและศรัทธา เช่น ผ้าลายจก ผ้าตีนจก ผ้าตาด ผ้ายก และผ้าปูม เป็นต้น
ดังกล่าวแล้วว่าการทอผ้านั้นมีอยู่ทุกภาคของ ประเทศ แต่ละภาคจะมีจังหวัดที่มีความเด่นเป็นพิเศษในการทอผ้า คือ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดขอนแก่น
- ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา
การทอผ้าพื้น
เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
[แก้ไข] การขิด
ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
[แก้ไข] การจก
เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสีเดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ซิ่นตีนจก”
[แก้ไข] การทอมัดหมี่
ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
- มัดหมี่เส้นพุ่ง
- มัดหมี่เส้นยืน
- มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน
[แก้ไข] วิธีการทอผ้า
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง
หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามีลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา
[แก้ไข] ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ
[แก้ไข] การทอผ้ายก
เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต
[แก้ไข] การย้อมไหม
การย้อมไหม ผ้าไหมสมัยก่อนไม่ค่อยมีคุณภาพ เพราะสีตก จากเทคนิคการย้อมที่ล้าสมัยที่ล้าสมัย และใช้สีย้อมที่ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ต่างๆ แต่ในปัจจุบันมีสีวิทยาศาสตร์ ทำให้สีไม่ตกและมีคุณ ภาพดีขึ้น การทอผ้าไหมปัจจุบันใช้ "กี่กระตุก" ช่วยให้ทอง่ายและรวดเร็ว ซึ่งลายต่างๆ จะเกิดจากการ มัดย้อมเส้นไหม เรียกว่า "มัดหมี่" ให้เป็นลายก่อนนำมาทอ การเรียกชือผ้าไหมเรียกตามลายผ้า เช่น ซิ่น หมี่ ซิ่นปูม ซิ่นเชิง ซิ่นยก ลายดอกพิกุลฯ
[แก้ไข] ผ้าทอกับโอกาสที่ใช้
- ผ้าพื้น ทอโดยการใช้ไหมเส้นพุ่ง และไหมยืนสีเดียวเท่านั้น เช่น ไหมพุ่งเป็นสีเขียว ไหมเส้นยืนเป็นสีทอง ใช้เป็นผ้านุ่ง หรือในโอกาสอื่นๆ
- ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน หรือใส่ไปในงานพิธีต่างๆ และเป็นผ้าไหว้พ่อ – แม่ ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว
- ผ้านุ่ง ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน ใช้ในงานพิธี ใช้เป็นผ้าไหว้ในงานแต่งงาน ได้แก่ผ้าพื้น
- ผ้าเก็บ ใช้สำหรับพาดบ่า ไปวัด หรืองานพิธีต่างๆ
[แก้ไข] ลวดลายและโทนสี
1. ผ้าขาวม้า นิยมทอเป็นลายตาหมากรุก สีที่นิยมคือ สีแดง เขียว ขาว ดำ
2. ผ้าสไบ นิยมทอเป็นสีพื้น และลายเหมือนผ้าขาวม้า
3. ผ้าโสร่ง นิยมทอเป็นลายตาหมากรุกขนาดใหญ่ สีที่นิยม คือ สีแดง และ สีเขียว
4. ผ้านุ่ง มีหลายชนิด ได้แก่
4.1 ผ้าพื้น ไม่มีลวดลายบนผืนผ้า นิยมทอเป็นสีน้ำตาลทอง สีม่วง ขาว น้ำเงินและเขียว
4.2 ผ้าโฮล มีลักษณะเป็นลายเส้น ลายจะเป็นนูน มีหลายสีในหนึ่งผืน นิยม สีเขียว ดำ เหลือง แดง ฯลฯ
4.3 ผ้าโคน ลวดลายมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม อาจปรากฏร่วมกับลายอื่นๆ สีที่นิยมคือ สีน้ำตาลทอง ม่วง เขียว น้ำเงิน แดง ฯลฯ
4.4 ผ้ากระเนียว หรือหางกระรอก เป็นผ้าลายเส้นละเอียด สีที่นิยม คือ สีเขียว แดง เหลือง
4.5 ผ้าอันปรม มีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าโฮล แต่จะมีเส้นคั่นในแนวตั้งชัดเจนกว่าผ้าโฮล ลายของผ้าเป็นลายเรียบไม่ใช่ลายนูนเหมือนผ้าโฮล
4.6 ผ้าสมอ เป็นผ้าที่มีลักษณะของลวดลายเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ สีที่นิยม คือ สีเขียว เหลือง และ แดง
4.7 ผ้าคั่น มีลักษณะคล้ายๆผ้าโฮล แต่จะมีเส้นคั่นในแนวตั้งชัดเจนกว่าผ้าโฮล สีที่นิยมคือ สีเขียว ดำ เหลือง และแดง
4.8 ผ้ามัดหมี่ คือผ้าที่มีลักษณะของลายผ้าที่เกิดจากการนำเส้นไหมไปมัดด้วยเชือกฟาง หรือปอกล้วย แล้วนำไปย้อมสีเพื่อให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ เช่น ลายต้นสน ลายไก่ ลายนกยูง ลายแมงมุม ฯลฯ สีที่นิยม คือ สีตองอ่อน สีแดง น้ำเงิน เหลือง ม่วง
การทอผ้าจะมีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง โดยเฉพาะผ้าไหมเป็นผ้าพื้นเมืองประเภทหนึ่งที่นิยมกันมาก เนื่องจากเป็นผ้าที่มีความคงทนอายุการใช้งานนาน รวมทั้งมีความสวยงาม ความแวววาวของเนื้อผ้าไหม ผ้าไหมนอกจากจะเป็นสินค้าสำคัญแล้ว ยังมีบทบาททางสังคมทางสังคมอีกด้วย เช่น การใช้ผ้าไหมที่ต่างชนิด และมีลวดลายต่างกันจะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสถานะและสถานภาพทางสังคมได้อีกด้วย ผ้าไหมที่มีชื่อของไทยได้มาจากภาคเหนือ และภาคอีสาน เช่น ผ้าไหมจากหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ภาคอีสาน จากจังหวัดอุดรธานี สุรินทร์ เนื่องจากคุณภาพดี และสีสันลวดลายแปลกตา
ปัจจุบันนี้ผ้าไหมได้พัฒนาจากการผลิตในครัวเรือนไปเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม ที่มีแหล่งผลิตทั่วประเทศ ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหมที่มีคุณภาพดีมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง มีมูลค่าการส่งออกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ตลาดที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น
ในยุคที่ผ้าไทยก้าวสู่ความเป็นสากลโลก ทำให้ไม่มีการจำกัดขอบเขตของการใช้ผ้าไทยอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นแนวแฟชั่นแบบไหนก็สามารถนำผ้าไทยมาดัดแปลงและปรับวิธีการใช้ได้หมด แม้ว่าจะนำเอาผ้าไหม ผ้าเปลือกไหม และผ้าจก มาออกแบบตัดเย็บให้ออกมาในรูปแบบใด ก็สามารถประดิษฐ์ออกมาได้อย่างสวยงาม
งานหัตถกรรมผ้าทอเกือบจะสูญหายไป แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้การสนับสนุนและฟื้นชีวิตผ้าทอให้กลับคืนมาอีกครั้ง โดยพระองค์ทรงสนับสนุนการใช้ผ้าไทยของแต่ละภาคในชุดฉลองพระองค์ในโอกาสต่างๆ
กว่าจะได้มาเป็นผ้าไหม
ท่านต้องเห็นใจเกษตรกรด้วยว่ากระดูกสันหลังของชาตินั้น กว่าจะปลูกหม่อนเพื่อใช้เลี้ยงไหมได้ต้องใช้เวลาถึง 1 ปี เมื่อมีใบหม่อนแล้วก็ต้องทำการเลี้ยงไหมอีกประมาณ 20 - 25 วัน จึงจะได้รังไหม ในระยะเวลาดังกล่าวก็จะต้องเก็บใบหม่อนมาเลี้ยงไหม โดยให้ใบหม่อนวันละ 3 - 5 ครั้ง ต้องคอยดูแลรักษาความสะอาด ป้องกันโรคแมลงไม่ให้กล้ำกรายตัวไหม เมื่อครบกำหนดแล้วไหมก็ทำรัง โดยพ่นเส้นใยไหมให้เสร็จแล้วก็ต้องมานั่งดึงเอาเส้นใย (สาวไหม) ให้เป็นเส้นไหมตามที่ต้องการ เสร็จแล้วก็นำไปฟอก ไปมัดลาย ไปย้อม ไปขึ้นกี่ทอผ้า
ดังนั้นขบวนการผลิตผ้าไหม หรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้นต้องใช้เวลา แรงงาน และความตั้งใจ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงาม
ถ้าท่านใช้ผ้าไหมแล้วมีการปฏิบัติรักษาที่ดี ก็จะทำให้ผ้าไหมมีอายุการใช้งานได้นาน เป็นที่นิยมกันแพร่หลายต่อไป เกษตรกรก็คงจะยึดเป็นอาชีพที่มั่นคง ตลอดจนชื่อเสียงของผ้าไหมไทยนั้นก็จะยืนยง คู่ชาติสืบไป
[แก้ไข] คุณสมบัติอันมีค่าของผ้าไหมไทย
คุณสมบัติอันมีค่าของผ้าไหมไทย ที่มีชื่อขจรขจายไปสู่ทุกภูมิภาคของโลก (จากการมอง) มีสองลักษณะคือ
1. การมองในลักษณะภายนอก คือผ้าไหมไทยนั้น เมื่อมองแล้วจะมีความงามเป็นประกาย มีความตรึงใจ และทำให้หลงใหลในสีสันอันงดงาม และดูภูมิฐานเมื่อใครได้สวมใส่ผ้าไหมไทย จะแสดงถึงความมีรสนิยมสูง
2. การมองในลักษณะของการได้สวมใส่หรือสัมผัส เมื่อได้สวมใส่ผ้าไหมแล้วทำให้เกิดความสุขและความภูมิใจ คุณสมบัติที่เบาตัวของผ้าไหม ทำให้มีความรู้สึกสบาย
ผ้าไหมไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชินีของเส้นใยทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน ผ้าไหมหรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้นบอบบาง จึงต้องปฏิบัติรักษาอย่างพิถีพิถันอย่างน้อยทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติรักษา เคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง ความสุข ความเบาสบาย ความภูมิใจ จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเราจะไม่ทำการรักษาคุณภาพอันดีเลิศของผลิตภัณฑ์ จากไหมทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่น่าหยิบ น่าเป็นเจ้าของและน่าสวมใส่
[แก้ไข] วิธีการเลือกซื้อผ้าไหม
1. ควรพิจารณาดูว่า ผ้าไหมที่จะซื้อนั้นเป็นผ้าไหมแท้หรือไม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดย การตัดริมผ้าไหม มาเผาไฟ ถ้าเป็นผ้าไหมแท้ ขี้เถ้าจะมีสีดำ มีกลิ่นเหมือนเส้นผมไหม้ ถ้าหากเอามือขยี้ขี้เถ้าจะแตกเป็นผง ไม่เป็นก้อน หากเป็นเส้นใยสังเคราะห์เมื่อนำไปเผา ถ้าสังเกตที่เปลวไฟจะมีสีเขียว สีฟ้า และกลิ่น เหมือนพลาสติกไหม้ ขี้เถ้าจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง (ที่แนะนำให้ตัดริมผ้าไหมไปทำการตรวจสอบเพราะว่า การปลอมปนผ้าไหมในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้เส้นยืนที่เป็นพวกเส้นใยสังเคราะห์ หากเราดึงเส้นทางพุ่งมาทำการตรวจสอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นส้นไหมแท้ ผลการตรวจสอบ จะคลาดเคลื่อนได้)
2. เมื่อเราแน่ใจแล้วว่าเป็นผ้าไหมแท้ ขั้นตอนต่อมา ให้ดูที่เนื้อผ้าว่า มีเนื้อแน่น สม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้โดยการสัมผัส และสังเกตจาก เส้นไหมยืน ถ้าทอไม่แน่น เราจะเห็น เส้นไหมยืนค่อนข้างชัดเจน ซึ่งการใช้มือสัมผัสบางครั้งอาจไม่แน่นอนเพราะผู้ผลิตบางรายอาจนำผ้าไหมไป อาบน้ำยาแบบแข็ง ก็จะทำให้ผ้าไหมดูหนาขึ้น แต่เมื่อนำไปใช้ อาจทำให้เสื้อผ้าไม่คงทน
3. ความสม่ำเสมอ ของสีผ้าไหม ต้องสม่ำเสมอทั้งผืน แต่บางครั้งผลจากการฟอกย้อมที่ไม่ได้ มาตรฐาน อาจส่งผลให้ผ้าไหม มีสีที่ไม่สม่ำเสมอหรือด่าง ได้ และความไม่สม่ำเสมอของสีผ้าอาจเกิดได้จาก การใช้เส้นไหมพันธุ์ต่างประเทศ ที่ด้อยคุณภาพ เมื่อนำมาทอจะทำให้ผ้าเป็นล็อก หรือเป็นขั้น และตรวจดูว่าผ้าไหมสีตกหรือไม่ เพราะถ้าหากใช้สีราคาถูก คุณภาพต่ำก็จะทำให้ผ้าไหมสีตกได้ (การตรวจสอบอาจใช้ เศษริมผ้าไหมไปจุ่มน้ำและสังเกตการเปลี่ยนแปลง)
4. ควรเลือกซื้อผ้าไหมจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งขอดูจากการได้ใบรับรอง มาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
[แก้ไข] การปฏิบัติรักษาผ้าไหมไทย
เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพง การตัดเย็บ การซักรีด และเก็บรักษา ก็ยุ่งยาก และยังต้องระมัดระวัง ดังนั้น เมื่อมีผ้าไหมแล้ว จึงต้องรู้จักวิธีปฏิบัติรักษา และทนุถนอมให้มาก เพื่อจะได้ใช้สอยนาน ๆ ซึ่งผู้เขียนก็อยากจะอธิบายถึงการปฏิบัติรักษาผ้าไหมไทยดังต่อไปนี้คือ
[แก้ไข] การตัดเย็บ
ขั้นแรกให้จุ่มผ้าไหมลงในน้ำร้อน เพื่อไล่สีที่หลงเหลือหรือสีที่ไม่สามารถจับติดในเนื้อผ้าไหมให้ออกไป นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีความงามเป็นประกายดีขึ้น หลังจากนั้นรีดผ้าไหมทางด้านหลังด้วยไฟอ่อน ๆ โดยพ่นน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรีด พึงระลึกเสมอว่า ให้พ่นฉีดน้ำบาง ๆ เท่านั้น อย่าถึงกับให้เปียกเพราะ ถ้าเปียกเวลารีดแล้วอาจทำให้ผ้าเกิดเป็นจุดที่ไม่สวยงาม หลังจากนั้นแล้วจึงจัดเส้นลายผ้าให้ตรง แล้วจึงทำการตัดและเย็บด้วยเข็มและด้ายที่เหมาะสมกับคุณภาพของผ้า
[แก้ไข] การรีด
การรีดโดยทั่วไปหรือการรีดลบรอยย่นหลังจากตัดเย็บแล้วหรือหลังจากการสวมใส่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการรีดผ้าไหมโดยทั่วไป ควรรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระหว่าง 120 - 140 องศาเซลเซียส และการรีด ควรมีผ้าฝ้ายหนา ๆ ทับบนผ้าไหม เพื่อป้องกันการสัมผัสผ้าไหมกับเตารีดโดยตรง ถ้าสัมผัสโดยตรงจะทำให้คุณสมบัติต่าง ๆ ของผ้าไหมสูญเสียไปได้
[แก้ไข] การซัก
ซักแห้งนับว่าเหมาะสมที่สุด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะซักแบบธรรมดาควรใช้สารที่มีคุณภาพเป็นกลางในน้ำอุ่นให้ทั่ว อย่าให้ผ้าไหมกองหรือพับติดกัน หลังจากซักแล้วให้บิดเบา ๆ นำไปผึ่งในที่ร่ม ห้ามผึ่งแดดโดยเด็ดขาด
[แก้ไข] การระมัดระวังและเก็บรักษา
หลังจากสวมใส่ทุกครั้งให้ตรวจสอบสิ่งสกปรกที่ติดอยู่อย่างระมัดระวัง ผึ่งให้เสื้อผ้าคงรูปเดิมในที่ ๆ มีการถ่ายเทอากาศที่ดีปราศจากฝุ่นละออง ถ้าเสียรูปร่างหรือรอยยับให้ใช้เตารีด รีดให้เรียบ การเตรียมการเก็บรักษา ก่อนเก็บเสื้อผ้าต้องอยู่ในสภาพเรียบไม่มีรอยยับแห้งและสะอาดอยู่เสมอ
สารป้องกันแมลงเช่น ลูกเหม็น ควรวางไว้โดยไม่ให้สัมผัสกับผ้าไหมโดยตรง อย่าเก็บในที่มีความชื้นและต้องปราศจากแมลงหรือราที่จะทำอันตรายกับผ้าไหมควรเก็บใส่ถุงที่มีอุณหภูมิต่ำ และสะอาด อาจเก็บในถุงผ้า หรือถุงพลาสติกก็ได้ การตากหรือผึ่งควรผึ่งในที่มีการถ่ายเทอากาสที่ดี ความชื้นต่ำในระหว่างเวลา 10.00 - 14.00 น. เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามในฤดูฝนความชื้นสูงควรทำการป้องกันแมลง และเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจทำอันตรายกับผ้าไหมได้ ในบ้านเรามีข้อจำกัดเพียงในฤดูฝนเท่านั้น
ส่วนหน้าหนาวและหน้าร้อนเราสามารถผึงในร่มได้ดี โดยไม่มีปัญหา นอกจากลูกเหม็นแล้วสารอื่นเช่น สารฆ่าแมลงชนิดระเหย ประกอบด้วย DDVP 16% ใช้ในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์มีความเป็นพิษต่อคนน้อย และสารอื่น ๆ เช่น คลอโรพิคริน (Chloropicrin), เมธทิลโบรไมด็ (Methylbromide), ไฮโดรฟอสเฟท (Hydrophosphate) อย่างไรก็ตามสารฆ่าแมลงเหล่านี้ก่อนใช้ทุกครั้งขอให้อ่านคำแนะนำ หรือทำการศึกษาจากผู้รู้จะทำให้ปลอดภัย
[แก้ไข] ผ้าไหมภูมิปัญญาไทย ก้าวไกลสู่ตลาดโลก
ในอดีตไหมไทยไม่ที่รู้จักแพร่หลายในตลาดโลกมากนัก แม้กระทั่งคนไทยยังไม่นิยมนำผ้าไหมมาตัด เย็บเสื้อผ้า เพราะผ้าไหมถูกตีกรอบให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้น จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจิม ทอมสัน ชาวอเมริกันฟื้นฟูอุตสาหกรรมไหมไทย ขึ้นมาใหม่ทำให้ผ้าไหมขึ้นมาใหม่ทำให้ผ้าไหมไทยเป็น ที่รู้จักของโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น
ประกอบกับที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ ในการก่อตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เพื่อส่งเสริมงานฝีมือภูมิปัญญาไทย ผ้าไหม "มัดหมี่" จึงเป็นศิลปะอีกแขนง หนึ่งที่ทรงให้ความสำคัญ และได้รับส่งเสริมพัฒนาในทุกขั้นตอนการผลิต ทรงส่งเสริมให้มีผลิตออก มาหลายๆ รูปแบบทั้งแบบผืนยาวเรียบลายแถบ ยกดอก ภาพพิมพ์สมเด็จฯท่านทรงเป็นแบบอย่างในการ เผยแพร่ชื่อเสียงของผ้าไหมไทยโดยการที่ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมไทย ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรือ เสด็จต่างประเทศก็ตาม
ผ้าไหมมัดหมี่นอกจากจะมีลวดลายที่สวยงาม แล้วยังมีความทนทานสามารถสวมใส่ได้หลายปี หาก รู้จักวิธีการรักษาที่ถูกต้อง ปัจจุบันดีไซเนอร์ชั้นนำทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมนำผ้าไหมทั้งผ้าพื้น และผ้ามัดหมี่ไปตัดเย็บ จัดแสดงแฟชั่นโชว์คอลเลคชั่นผ้าไหมให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งผ้าไหม 2 เส้น นิยมตัดชุดสำหรับสุภาพสตรี ส่วนของผ้าไหม 4 เส้น นำมาตัดเป็นเสื้อพระราชทาน สำหรับสุภาพบุรุษหรือตัด ชุดสูทเป็นการออกแบบผสมผสานความงามของผ้าไหมไทยกับการตัดเย็บอย่างประณีตในรูปแบบสากล เพื่อช่วยเสริมให้บุคลิกของผู้สวมใส่ดูสวยงามไม่ล้าสมัย เหมาะสมกับคนทุกวัยและทุกโอกาส จากการเริ่ม ต้นแค่ภูมิปัญญาของชาวชนบทในภาคอีสานของไทย เดี๋ยวนี้ผ้าไหมไทยกลายเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกไปแล้ว...
เริ่มด้วยการตรวจดูความสะอาดเรียบร้อยของห้องอาหาร พื้น โต๊ะ เก้าอี้ ปูผ้าปูโต๊ะให้ชายผ้ายาวเท่ากันทุกด้าน และให้มุมของผ้าคลุมขาโต๊ะพอดี จัดวางขวดเกลือ พริกไทย โถน้ำตาล และที่เขี่ยบุหรี่บนโต๊ะ โดยมีสูตรทั่วไปว่า เครื่องปรุง 1 ชุด จะใช้สำหรับแขก 6 ที่นั่ง
จัดวางเครื่องมือในการรับประทานอาหาร เช่น มีด ส้อม แก้ว ผ้าเช็ดมือ โดยเครื่องมือทุกชิ้น วางตั้งแยกห่างจากขอบโต๊ะ 1 นิ้ว เรียงตามลำดับจากด้านนอกไปด้านใน
ช้อนซุปวางหงายถัดจากมีดไปทางขวามือ ส้อมวางด้านซ้ายมือโดยหงายขึ้น แต่ส้อมค็อกเทล หรือส้อมจิ้มหอยนางรมให้วางอยู่ขวาสุด ถัดจากช้อนซุปออกไป มีดเนยวางบนจานขนมปังอาจวางอยู่ขวาสุดโดยหันด้านมีคมไปทางซ้ายหรือวางไว้ด้านบนสุดของจานขนมปัง หันด้านมีคมเข้าหาจาน
หลังจากนี้ไม่ควรจัดเครื่องมือทานอาหารเกินกว่าแถวละ 5 ชิ้น ถ้าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือมากกว่านี้ ต้องเก็บเครื่องมือชุดก่อนๆที่ใช้แล้วออกก่อน แล้วค่อยเพิ่มเครื่องมือชุดใหม่เข้ามาและไม่ควรจัดเครื่องมือในการทานอาหารเกินกว่าแถวละ 6 ชิ้น
ขั้นตอนสุดท้าย คือ เพิ่มชีวิตชีวาให้กับโต๊ะอาหารโดยการตกแต่งด้วย ผ้าเช็ดมือ แจกันดอกไม้ เชิงเทียน ให้เลือกตามความเหมาะสม
แต่ก้ออย่าลืมนะว่าการต้อนรับอย่างมีมิตรไมตรี และมารยาทที่ดีนั่นล่ะจะทำให้ผู้มาเยี่ยมเยียนประทับใจพอๆกับรสชาติของอาหารและการจัดโต๊ะที่ถูกต้องและงดงาม ยังไงถ้ามีโอกาส ก้อลองนำไปปฏิบัติดูแล้วกันนะคะ