Custom Search

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กติกาแฮนด์บอล2

 

กติกาแฮนด์บอล

สนามเล่น

1. ขนาดของสนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาว 40 เมตร กว้าง 20 เมตร ด้านยาวเป็นสองเท่าของด้านข้าง (เส้นประตูด้านนอกรวมอยู่ในเส้นประตูด้วย) สนามเล่นแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยมีเส้นกึ่งกลาง (เส้นแบ่งแดน) ลากขนานกับเส้นประตูและมีเขตประตูทั้งสองด้าน

ข้อกำหนดเกี่ยวกับขนาดและผิวของสนามแข่งขัน จะต้องไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบกับทีมใดทีมหนึ่ง

หมายเหตุ เพื่อความปลอดภัยควรมีพื้นที่นอกสนามห่างจากเส้นข้าง 1 เมตร และห่างจากประตู 2 เมตร

2. ประตูแต่ละด้านต้องวางที่จุดกึ่งกลางด้านนอกของเส้นประตู แต่ละประตูมีขนาดสูง 2 เมตร และกว้าง 3 เมตร (โดยวัดจากขอบด้านใน)

เสาประตูจะต้องตั้งอยู่กับพื้นอย่างมั่นคง และเชื่อมต่อด้วยคานประตูขอบหลังของเสาประตูจะต้องตั้งอยู่ที่ขอบนอกของเส้นประตู เสาประตู และคานประตู จะต้องมีขนาด 8 x 8 เซนติเมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน (ไม้โลหะชนิดเบา หรือวัสดุสังเคราะห์อื่น ๆ ) และต้องทาสีทุกขนาดจำนวน 2 สี ที่ตัดกับสีของผนังด้านหลังประตู บริเวณที่เชื่อมต่อกันระหว่างเสาประตูกับคานประตูจะต้องทาเป็นสีเดียวกันตลอด โดยมีความยาว 28 เซนติเมตร และที่บริเวณอื่น ๆ ยาว 20 เซนติเมตร ประตูจะต้องมีตาข่ายขึงติดไว้ และเมื่อลูกบอลถูกขว้างไปแล้วจะไม่กระดอนออกมาอย่างทันทีทันใด

3. เขตประตูให้ลากเส้นยาว 3 เมตร ขนานกับเส้นประตู ใช้ด้านในของเสาประตูแต่ละเสาทำเป็นจุดศูนย์กลางรัศมี 6 เมตร ลากจากเส้นประตูไปบรรจบกับเส้น 3 เมตร เป็น 1/4 ของวงกลมทั้งสองด้าน เส้นนี้เรียกว่าเส้นเขตประตู

4. เส้นส่งลูกกินเปล่า (9 เมตร) เป็นเส้นไขปลาลากขนาดกับเส้นเขตประตู โดยห่างจากเส้นเขตประตู 3 เมตร

5. เส้น 7 เมตร ลากเส้นยาว 1 เมตร ห่างจากเส้นประตู 7 เมตร ให้ขนานกับเส้นประตู และห่างจากเส้นข้างทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน

6. เส้นเขตผู้รักษาประตู ลากเส้นข้าง 15 เซนติเมตร ให้ขนานกับเส้นประตู และห่างจากเส้นประตู 4 เมตร เส้นนี้ให้อยู่ระหว่างกลางของเส้นข้างทั้งสองเส้น

7. เส้นกลางสนาม ลากต่อจากจุดกึ่งกลางของเส้นข้างทั้งสองด้าน

8. เส้นเปลี่ยนตัว ลากเส้นยาว 15 เซนติเมตร ที่เส้นข้างแต่ละด้านที่แบ่งโดยเส้นกลางสนาม แต่ละเส้นทำเป็นมุมฉากกับเส้นข้าง และอยู่ห่างจากเส้นกลางสนาม 4.50 เมตร

9. เส้นทุกเส้นเป็นส่วนหนึ่งของเขตนั้น ๆ และกว้าง 5 เซนติเมตร และสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

10. เสาประตูต้องกว้าง 8 เซนติเมตร

ขนาดของสนาม

ประตู

เวลาการเล่น

1. เวลาการเล่นทั้งประเภทชายและหญิงที่มีอายุ 8 ปี หรือมากกว่า แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พักระหว่างครึ่ง 10 นาที

2. เวลาการเล่นจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ตัดสินประจำสนาม ให้สัญญาณนกหวีดหมดเวลา จะต้องทำโทษความผิดนั้นก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยให้สัญญาณหมดเวลา ผู้ตัดสินประจำสนามเพียงคนเดียวที่สามารถหยุดเวลาการเล่นภายหลังจากมีการส่งลูกกินเปล่า หรือยิงลูกโทษ และประตูด้านข้าง

3. ทั้งสองด้านทีมจะต้องเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลัง

4. ผู้ตัดสินทั้งสองจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดว่าจะให้มีการหยุเล่นชั่วขณะหนึ่ง และจะให้เริ่มเล่นต่อเมื่อใด โดยจะต้องให้สัญญาณกับผู้จับเวลาว่าเมื่อไรจะให้หยุดนาฬิกา (ขอเวลานอก) และจะเริ่มเมื่อไร

การหยุดเวลาการเล่น และการขอเวลานอก จะต้องแสดงให้ผู้จับเวลาทราบ โดยการเป่านกหวัดสั้น ๆ 3 ครั้ง และให้สัญญาณมือรูปตัว T สัญญาณนกหวัดจะต้องเป่าเพื่อแสดงให้เริ่มการเล่นใหม่ภายหลังจากการขอเวลานอก

หมายเหตุ ถ้าจะให้ดีควรใช้นาฬิกาที่แสดงให้ทุกคนเห็นได้ แต่จะต้องควบคุมได้จากโต๊ะผู้จับเวลาเท่านั้น แต่ถ้า

ไม่สามารถทำได้ ผู้จับเวลาควรใช้นาฬิกาตั้งโต๊ะหรือนาฬิกาจับเวลา ผู้จับเวลาจะต้องหยุดเวลาเมื่อผู้

ตัดสินขอเวลานอกและจะต้องเริ่มเวลาใหม่เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด

5. ถ้าเวลาการเล่นได้หมดลง ผู้จับเวลาจะต้องคอยจนกว่าการส่งลูกกินเปล่าหรือยิงลูกโทษได้เสร็จสิ้นลง จึงจะให้สัญญาณครั้งสุดท้าย

6. ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าผู้จับเวลาได้ให้สัญญาณหมดเวลาก่อนกำหนด เขาต้องให้ผู้เล่นทั้งหมดอยู่ในสนามและเล่นต่อไป ทีมที่เสียเปรียบจากการให้สัญญาณหมดเวลาจะได้เป็นผู้ครอบครองลูกบอล ถ้าเวลาในครึ่งแรกจบช้าเกินไป เวลาในครึ่งหลังต้องตัดลงให้น้อยกว่าเดิมตามที่เป็นไปนั้น

7. เมื่อหมดเวลาในช่วงปกติแล้วผลยังเสมอกัน กติกาการแข่งขันได้กำหนดการหาผู้ชนะ โดยให้ทำการเสี่ยงหลังจากพัก 5 นาที เพื่อเลือกส่งหรือเลือกแดน สำหรับเล่นในเวลาเพิ่มพิเศษ โดยช่วงเวลาที่เพิ่มพิเศษจะแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที (เปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลา โดยไม่มีเวลาพัก) ถ้าผลยังเสมอกันอีก ก็ให้ต่อเวลาเพิ่มพิเศษในช่วงที่ 2 โดยให้ทำการเสี่ยงเพื่อเลือกแดน และการแข่งขันจะไม่มีเวลาพักในช่วงเวลาเพิ่มพิเศษ

ถ้าผลจากการต่อเวลาเพิ่มพิเศษในช่วงที่ 2 ยังคงเสมอกันอีก ให้ประยุกต์กติกานี้เพื่อหาผู้ชนะ

ลูกบอล

1. ลูกบอลจะต้องทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียม และเป็นรูปทรงกลม ผิวของลูกบอลต้องไม่สะท้อนแสงหรือลื่น

2. ลูกบอลเมื่อวัดโดยรอบก่อนการแข่งขัน ในประเภทชายมีเส้นรอบวงระหว่าง 58-60 เซนติเมตร หนัก 425-475 กรัม สำหรับประเภทหญิงจะมีเส้นรอบวงระหว่าง 54-56 เซนติเมตร หนัก 325-400 กรัม

3. การแข่งขันแต่ละครั้งต้องมีลูกบอลที่ถูกต้องตามกติกาไว้ 2 ลูก

4. เมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้น จะสามารถเปลี่ยนลูกบอลได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควรเท่านั้น

5. ลูกบอลที่มีเครื่องหมายรับรองของสหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ (IHF) เท่านั้น จึงจะสามารถใช้สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติได้

ผู้เล่น

1. ทีมหนึ่งประกอบด้วยผู้เล่น 12 คน (ผู้เล่นในสนาม 10 คน ผู้รักษาประตู 2 คน) ซึ่งต้องมีชื่ออยู่ในใบบันทึก ตลอดเวลาการแข่งขันจะต้องมีผู้รักษาประตูการแข่งขันตะต้องมีผู้เล่นฝ่ายละไม่เกิน 7 คน (เป็นผู้เล่นในสนาม 6 คน และผู้รักษาประตู 1 คน) ทุกคนสามารถร่วมเล่นในสนามได้ตลอดเวลา ส่วนที่เหลือคือผู้เล่นสำรองเฉพาะผู้เล่นสำรองและผู้เล่นที่ถูกสั่งพักรวมทั้งเจ้าหน้าที่อีก 4 คน เท่านั้นที่อนุญาตให้นั่งอยู่ในบริเวณเขตผู้เล่นสำรอง ซึ่งเจ้าหน้าที่นี้ต้องมีชื่ออยู่ในใบบันทึก และมีคนหนึ่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผุ้รับผิดชอบต่อทีม โดยเจ้าหน้าที่คนนี้เท่านั้นที่สามรถแสดงตนกับผู้บันทึก ผู้จับเวลา และผู้ตัดสินได้ (ถ้าจำเป็น)

2. ในการเริ่มต้นแข่งขัน ทั้งสองฝ่ายต้องมีผู้เล่นอย่างน้อยฝ่ายละ 5 คน โดยมี 1 คน ที่มีชื่อในใบบันทึกว่าเป็นผู้รักษาประตูตลอดเวลาการแข่งขัน รวมทั้งเวลาเพิ่มพิเศษ จำนวนผู้เล่นจะสามารถเพิ่มขึ้นจนถึง 12 คนได้ และการแข่งขันจะดำเนินต่อไป ผู้เล่นที่มีสิทธิ์เข้าเล่นสามารถเข้าเล่นในสนามได้ทุกเวลา บริเวณเส้นการเปลี่ยนตัวของทีมตนเองผู้เล่นที่มาถึงสนามหลังจากการเข่งขันได้เริ่มไปแล้วจะต้องได้รับการอนุญาตให้เข้าเล่นได้จากผู้บันทึกหรือผู้จับเวลาก่อน ถ้าผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าเล่นได้ลงในสนาม ฝ่ายตรงกันข้าม จะได้ส่งลูกกินเปล่า และผู้เล่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน

4. ผู้เล่นสำรองสามารถเข้าเล่นได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องแจ้งต่อผู้บันทึกผู้จับเวลา โดยผู้เล่นในสนามได้ออกจากสนามเรียบร้อยแล้ว ในกรณีนี้จะใช้รวมถึงการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูด้วย ผู้เล่นทุกคนจะสามารถเข้าหรือออกจากสนามได้เฉพาะในส่วนบริเวณเส้นเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น

ในระหว่างการขอเวลานอก การเข้าสนามจะสามารถเข้าได้เฉพาะในช่วงเขตการเปลี่ยนตัว โดยการอนุญาตจากผู้ตัดสิน

หมายเหตุ ผู้เล่นที่ออกหรือเข้าสนามโดยไม่ถูกต้องจะถูกทำโทษตามกติกาการผิดระเบียบการเปลี่ยนตัว นอกจากการออกนอกสนามโดยไม่ตั้งใจ

5. การเปลี่ยนตัวที่ไม่ถูกต้องจะถูกลงโทษโดยการส่งลูกกินเปล่า ณ จุดที่ผู้เล่นสำรองได้เข้าสนาม และลงโทษผู้เล่นที่เข้าไปในสนาม โดยการให้พัก 2 นาที ถ้าการเปลี่ยนตัวที่ไม่ถูกต้องได้ทำในขณะหยุดการแข่งขัน ผู้เล่นนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และเริ่มเล่นใหม่โดยการส่ง จุดที่การเล่นได้หยุดลงตามความเหมาะสมถ้ามีการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา หรือการก้าวร้าวอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ หรืออื่น ๆ ผู้เล่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ หรือให้ออกจากการแข่งขันตามความเหมาะสม

6. ถ้าผู้เล่นเข้าไปในสนามเกินจำนวนซึ่งเป็นการผิดกติกานั้น ผู้เล่นนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นอื่นอีก 1 คน จะต้องออกจากสนามไป 2 นาทีด้วย เช่นกัน

ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพักเข้าไปในสนามขณะช่วงเวลาสั่งพัก เขาจะต้องออกจากสนามและถูกสั่งพักเพิ่มอีก 2 นาที และผู้เล่นอื่นอีก 1 คน จะต้องออกจากสนามเพื่อไปพักในช่วงเวลาการสั่งพักด้วย โดยเจ้าหน้าที่ของทีมจะต้องเป็นผู้กำหนดว่าจะให้ใครออกจากสนาม

7. ผู้เล่นแต่ละทีมที่อยู่ใสนามทุกคนจะต้องใส่เสื้อที่มีสีเดียวกัน แต่ต้องแตกต่างจากสีเสื้อของผู้รักษาประตูทั้งสองทีม ผู้เล่นจะต้องใส่เสื้อที่มีหมายเลขตั้งแต่ 1-20 โดยให้หมายเลข 1, 12 และ 16 เป็นหมายเลขของผู้รักษาประตู ซึ่งที่ด้านหลังเสื้อมีขนาดสูงอย่างน้อย 20 เซนติเมตร และที่ด้านหน้ามีขนาดสูงอย่างน้อย 10 เซนติเมตร หมายเลขเสื้อนี้จะต้องมีสีที่แตกต่างจากสีเสื้อผู้เล่นควรสวมรองเท้ากีฬา และห้ามผู้เล่นสวมกำไล นาฬิกา แหวน สร้อยคอ ต่างหู แว่นตาที่ไม่มีกรอบนอกหรือเชือกที่จะทำให้แน่น และอุปกรณ์ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้เล่นอื่น ๆ ผู้เล่นที่ไม่สามารถถอดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว จะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงเล่นจนกว่าจะถอดออกให้เรียบร้อยหัวหน้าทีมของแต่ละทีม จะต้องสวมปลอกแขนที่มีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร ที่แขนท่อนบน และสีของปลอกแขนจะต้องแตกต่างจากสีเสื้อด้วย

ผู้รักษาประตู

1. ผู้รักษาประตูจะต้องไม่เปลี่ยนเป็นผู้เล่นในสนาม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นในสนามอาจเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ ซึ่งผู้บันทึก/ผู้จับเวลา จะต้องได้รับแจ้งเสียก่อน ถ้าผู้เล่นในสนามจะเข้าแทนผู้รักษาประตู โดยผู้เล่นในสนามที่จะเปลี่ยนเข้าแทนผู้รักษาประตู จะต้องเปลี่ยนเสื้อก่อนที่จะเข้าไป ณ บริเวณเขตการเปลี่ยนตัว

หมายเหตุ ผู้เล่นในสนามที่เข้าแทนผู้รักษาประตู สามารถกลับเข้ามาเป็นผู้เล่นในสนามได้ทุกเวลา

ผู้รักษาประตูสามารถกระทำดังต่อไปนี้

2. ถูกลูกบอลด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในขณะที่อยู่ในลักษณะการป้องกันภายในเขตประตู

3. เคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกบอลภายในเขตประตู โดยปราศจากข้อจำกัดผู้รักษาประตู

4. ออกจากเขตประตูโดยมิได้นำลูกบอลออกมา และสามารถเข้าร่วมเล่นในสนามบริเวณเขตสนามเล่นได้ โดยต้องปฏิบัติตามกติกาเช่นเดียวกับผู้เล่นในสนามคนอื่น ๆการจะพิจารณาว่าผู้รักษาประตูได้ออกจากเขตประตูเมื่อทันทีที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ถูกพื้นสนามนอกเส้นเขตประตู

5. ในลักษณะที่ทำการป้องกัน และไม่สามารถครอบครองลูกบอลได้อย่างสมบูรณ์ เขาสามารถออกจากเขตประตูและเล่นลูกนอกนั้นได้อีก

ห้ามผู้รักษาประตูกระทำการดังต่อไปนี้

6. ทำการป้องกันในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อคู่ต่อสู้

7. เจตนาทำให้ลูกบอลข้ามออกนอกเส้นประตู ในลักษณะที่สามารถครอบครองลูกบอลนั้นได้

8. ออกจากเขตประตูพร้อมกับลูกบอล

9. ถูกลูกบอลนอกเขตประตูภายหลังจากได้ส่งลูกบอลจากประตูไปแล้วนอกจากลูกบอลจะได้ถูกผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน

10. ถูกลูกบอลที่วางหรือกลิ้งอยู่นอกเส้นเขตประตูในขณะที่ตัวอยู่ในเขตประตู

11. นำลูกบอลที่วางหรือกลิ้งอยู่นอกเส้นเขตประตูเข้าไปในเขตประตู

12. กลับเข้าไปในเขตประตูพร้อมกับลูกบอล

13. ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขา ในขณะที่ลูกบอลกำลังเคลื่อนไปในสนามเล่น หรือในขณะที่ลูกบอลวางอยู่ในเขตประตู

14. สัมผัสหรือข้ามเส้นเขตรักษาประตู (เส้น 4 เมตร) ก่อนที่ลูกบอลจะออกจากมือผู้ยิงลูกโทษในขณะที่มีการยิงลูกโทษ

หมายเหตุ ในขณะที่ผู้รักษาประตูยืนที่พื้นด้วยเท้าหนึ่งหลังเส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) เขาสามารถที่จะเคลื่อนเท้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายล้ำเหนือเส้นได้

เขตประตู

1. ผู้รักษาประตูเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปในเขตประตูได้ ซึ่งเขตประตูนั้นให้รวมถึงเส้นเขตประตูด้วย การพิจารณาการเข้าเขตประตูนั้นให้ดูจากผู้เล่นในสนามถูกเส้นหรือพื้นสนามในเขตประตูด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

2. ผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตประตู จะถูกพิจารณาตัดสินดังนี้

2.1 ส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตประตูขณะที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่

2.2 ส่งลูกกินเปล่า ถ้าผู้เล่นในสนามที่ไม่ได้ครอบครองลูกบอลเข้าไปในเขตประตู และทำให้เกิดการได้เปรียบ

2.3 ยิงลูกโทษ ถ้าผู้เล่นในสนามของฝ่ายป้องกันเข้าไปในเขตประตู และได้เปรียบฝ่ายรุกที่ครอบครองลูกบอล

3. ผู้เล่นในสนามที่เข้าไปในเขตประตูจะยังไม่ถูกทำโทษ

3.1 ถ้าเข้าไปในเขตประตูภายหลังจากการเล่นลูกบอล และไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบ

3.2 ถ้าเข้าไปในเขตประตูระหว่างหรือภายหลังจากการพยายามป้องกันและไม่เกิดการได้เปรียบคู่ต่อสู้

4. ลูกบอลที่อยู่ในเขตประตูเป็นของผู้รักษาประตู ห้ามผู้เล่นในสนามคนอื่น ๆ ถูกลูกบอลขณะที่ลูกบอลวางหรือกลิ้งอยู่บนพื้นสนามในเขตประตู หรือในขณะที่ผู้รักษาประตูครอบครองลูกบอลอยู่ แต่จะอนุญาตให้เล่นลูกบอลในขณะที่ลูกบอลลอยอยู่ในอากาศเหนือเขตประตูได้

5. ลูกบอลที่อยู่ในเขตประตู ผู้รักษาประตูจะต้องส่งกลับออกมาเข้าสู่การเล่น

6. การเล่นจะคงดำเนินต่อไป ถ้าเป็นลักษณะการป้องกันของฝ่ายรับโดยลูกบอลได้ถูกผู้เล่นฝ่ายป้องกัน และผู้รักษาประตูได้รับลูกนั้นหรือลูกหยุด อยู่ในเขตประตู

7. ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งลูกบอลกลับเข้าไปในเขตประตูของตนเอง ผู้ตัดสินจะพิจารณาตัดสินดังนี้

7.1 ได้ประตู ถ้าลูกบอลเข้าประตู

7.2 ยิงลูกโทษ ถ้าผู้รักษาประตูถูกลูกบอลและลูกบอลไม่เข้าประตู

7.3 ส่งลูกกินเปล่า ถ้าลูกบอลเข้าไปอยู่ในเขตประตูหรือออกนอกเส้นประตู

7.4 การเล่นจะดำเนินต่อไป ถ้าลูกบอลได้กระดอนกลับออกมาในสนามอีกโดยไม่ได้ถูกผู้รักษาประตู

8. ลูกบอลที่กลับออกมาจากเขตประตูเข้าเขตสู่การเล่น จะถือว่าอยู่ในการเล่นต่อไป

การเล่นลูกบอล

อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้

1. ขว้าง จับ หยุด ผลัก ตี หรือฟาดลูบอลด้วยมือทั้งสอง (แบมือหรือกำมือ) โดยการใช้มือ แขน ศีรษะ ลำตัว ต้นขา และเข่า

2. จับลูกบอลไว้ได้ไม่เกิน 3 วินาที แม้ในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้น

3. ถือลูกบอลและก้าวได้ไม่เกิน 3 ก้าว ถ้าก้าว 1 ก้าวให้พิจารณาการกระทำดังนี้

3.1 ผู้เล่นยืนด้วยเท้าทั้งสองบนพื้นยกเท้าหนึ่งและวางลงอีกครั้งหรือเคลื่อนเท้าหนึ่งจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น

3.2 ถ้าผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงข้างเดียว และจับลูกบอล โดยใช้เท้าอีกข้างหนึ่งสัมผัสพื้น

3.3 หลังจากที่ผู้เล่นได้กระโดดและสัมผัสพื้นด้วยเท้าข้างเดียวแล้วกระโจนด้วยเท้าเดิม หรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอื่น ๆ

3.4 หลังจากที่ผู้เล่นกระโดดและสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้งสองพร้อมกันแล้วยกเท้าข้างหนึ่ง และวางเท้านั้นลงอีก หรือเคลื่อนเท่าหนึ่งจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ

หมายเหตุ ถ้าเท้าหนึ่งเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังที่อื่น อนุญาตให้ลากเท้าอีกเท้าหนึ่งไปยังที่ของเท้าแรกได้

4. ในขณะยืนหรือวิ่ง

4.1 กระดอนลูกบอลครั้งหนึ่งและจับด้วยมือด้วยหรือสองมือ

4.2 กระดอนลูกบอลซ้ำด้วยมือเดียว (การเลี้ยงลูกบอล) หรือกลิ้งลูกบอลไปบนพื้นสนามซ้ำ ๆ ด้วยมือเดียว หลังจากนั้นจึงจับลูกบอลหรือเก็บลูกบอลขึ้นมาอีกด้วยมือเดียวหรือสองมือในขณะที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือนั้น จะทำได้ภายใน 3 วินาที หรือหลังจากก้าวไม่เกิน 3 ก้าว การกระดอนหรือเลี้ยงลูกบอลไปบนพื้น ผู้เล่นสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูผู้เล่นสามารถที่จะปัด กระดอน และจับลูกบอลได้อีก

5. ส่งลูกบอลจากมือหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่ง

6. เล่นลูกบอลในขณะที่กำลังคุกเข่า นั่ง หรือนอนอยู่บนพื้นไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้

7. ถูกลูกบอลมากกว่า 1 ครั้ง นอกจากลูกบอลได้ไปถูกผู้เล่นอื่น หรือเสาประตูการพยายามครอบครองลูกบอลพลาด (Fumbling) จะไม่ถูกลงโทษ

หมายเหตุ ลูกบอลพลาด หมายถึงการที่ผู้เล่นพยายามที่จะจับหรือหยุดลูกบอล แต่พลาดจากการครอบครอง

8. ถูกลูกบอลด้วยเท้าหรือขาซึ่งอยู่ต่ำกว่าเข่าลงไป ยกเว้นในกรณีที่คู่ต่อสู้ได้ขว้างลูกบอลมาถูกผู้เล่น แต่อย่างไรก็ตาม การทำผิดอย่างนี้จะไม่ถูกลงโทษถ้าไม่เป็นการทำให้เกิดการได้เปรียบกับผู้เล่นหรือทีมของเขา

9. ทิ้งตัวลงเล่นลูกบอลในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้นหรือกำลังกลิ้งอยู่ แต่กติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่อยู่ในเขตประตูของตนเอง

10. เจตนาทำให้ลูกบอลออกนอกเส้นข้างหรือเส้นประตูกติกาข้อนี้จะต้องไม่นำไปใช้กับผู้รักษาประตูในขณะที่พยายามที่จะครอบครอง

ลูกบอลพลาดภายในเขตประตู และลูกบอลได้ออกไปทางเส้นประตูโดยตรง(ส่งจากประตู)

11. ครอบครองลูกบอลอยู่ภายในทีม โดยไม่พยายามที่จะรุกหรือทำประตู การเล่นในลักษณะนี้จะถูกลงโทษโดยให้ส่งลูกกินเปล่าจากจุดที่ลูกได้หยุดลง

12. การเล่นจะดำเนินต่อไปถ้าลูกบอลถูกตัดสินในสนาม

การเข้าเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม

อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้

1. ใช้มือหรือแขนเพื่อประโยชน์ในการครอบครองลูกบอล

2. แบมือเล่นลูกบอลจากคู่ต่อสู้ได้ทุกทิศทาง

3. ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้เป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล

ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำดังนี้

4. กีดกันคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขน หรือ ขา

5. ผลักคู่ต่อสู้ให้เข้าไปในเขตประตู

6. ดึงหรือตีลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือให้ออกจากมือคู่ต่อสู้ที่ครอบครองลูกบอลอยู่

7. ใช้กำปั้นทุบลูกบอลจากคู่ต่อสู้

8. ใช้ลูกบอลทำให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย

9. ทำให้ผู้รักษาประตูเกิดอันตราย

10. ดึงคู่ต่อสู้ด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือผลักคู่ต่อสู้

11. วิ่งเข้าหา กระโดดเข้าหา ทำให้ล้ม ตีหรือขู่คู่ต่อสู้ในทุก ๆ ทาง

12. ทำให้ฟาวล์เกี่ยวกับการเล่นกับฝ่ายตรงข้าม จะถูกลงโทษโดยการส่งลูกกินเปล่า หรือให้ยิงลูกโทษ

13. การทำฟาวล์เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม การกระทำฟาวล์ในลักษณะดังกล่าว เว้นแต่การเข้าหาคู่ต่อสู้โดยที่มิได้ครอบครองลูกบอลจะถูกลงโทษซ้ำ การถูกลงโทษซ้ำให้พิจารณาถึงการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาด้วย

14. การทำฟาวล์ที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม หรือลักษณะการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาจะต้องถูกลงโทษโดยการตัดสิทธิ์ผู้เล่นคนนั้น

15. ผู้เล่นที่ทำร้ายผู้อื่นในสนามจะถูกไล่ออก

การได้ประตู

1. จะนับได้ว่าประตูเมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเข้าไปในเส้นประตู โดยผู้ทำประตูหรือเพื่อนร่วมทีม และไม่ได้ทำผิดกติกาทั้งก่อนหรือหลังการยิงประตู ถ้าผู้เล่นฝ่ายป้องกันพยายามป้องกันอย่างผิดกติกา และลูกบอลยังคงผ่านเข้าไปในเขตประตูให้ถือว่าได้ประตู แต่ถ้าผู้ตัดสินหรือผู้จับเวลาได้เป่านกหวีดก่อนที่ลูกบอลทั้งลูกจะผ่านเข้าไปในประตู ให้ถือว่าไม่ได้ประตู

ถ้าผู้เล่นฝ่ายป้องกันขว้างลูกบอลเข้าประตูตนเอง ให้นับเป็นประตูของฝ่ายตรงข้าม นอกจากลูกบอลได้ออกนอกเส้นประตูไปก่อน

หมายเหตุ ถ้าลูกบอลถูกป้องกันการเข้าประตูโดยบุคคลอื่น ๆ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในสนาม (เจ้าหน้าที่ ผู้ชม ฯลฯ) ผู้ตัดสินจะต้องให้ได้ประตู ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น ลูกบอลต้องผ่านเข้าไปในเส้นประตูอย่างแน่นอน

2. ถ้าผู้ตัดสินได้ตัดสินให้ได้ประตู และได้เป่านกหวีดส่งเริ่มเล่นต่อไปใหม่แล้ว ประตูนั้นจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้

หมายเหตุ ถ้าสัญญาณนกหวีดครั้งสุดท้ายได้เป่าหลังจากการได้ประตู แต่ก่อนการส่งเริ่มเล่นจะเริ่มขึ้น ผู้ตัดสินจะต้องแสดงให้ชัดเจนว่าได้ให้ประตูโดยไม่ต้องส่งเริ่มเล่น

3. ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าอีกทีมหนึ่งคือ ผู้ชนะการแข่งขัน

4. ถ้าทั้งสองทีมทำประตูได้เท่ากันหรือไม่ได้ประตูเหมือนกัน ให้ถือว่าเสมอกัน

การส่งเริ่มเล่น

1. การส่งเริ่มเล่นเมื่อเริ่มการแข่งขันจะทำโดยทีมที่ชนะการเสี่ยงและเลือกเริ่มเล่น โดยเป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล หรือทีมที่คู่ต่อสู้ชนะการเสี่ยงและเลือกแดน การส่งเริ่มเล่นในครึ่งเวลาหลังจะทำโดยทีมอีกทีมหนึ่ง เมื่อมีการเพิ่มเวลาพิเศษให้ทำการเสี่ยงใหม่

2. หลังจากมีการได้ประตู การเล่นจะเริ่มใหม่โดยการส่งเริ่มเล่นจากทีมที่เสียประตู

3. การส่งเริ่มเล่น จะทำที่จุดกึ่งกลางสนามในทิศทางใด ๆ ก็ได้หลังจากที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีด โดยการส่งเริ่มเล่นจะต้องทำภายในเวลา 3 วินาที

4. ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนครึ่งสนามของตนเองในขณะที่มีการส่งเริ่มเล่น และผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งลูกเริ่มเล่นอย่างน้อย 3 เมตร

การส่งลูกเข้าเล่น

1. จะตัดสินให้ส่งลูกเข้าเล่น ถ้าลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นข้าง หรือลูกบอลได้ถูกผู้เล่นในสนามของฝ่ายรับเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่ลูกนั้นจะออกข้ามเส้นประตูไป

2. การส่งลูกเข้าเล่น จะส่งโดยผู้เล่นฝ่ายที่มิได้ถูกลูกบอลเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ลูกบอลจะข้ามเส้นข้างหรือเส้นประตู โดยผู้ตัดสินไม่ต้องใช้สัญญาณนกหวีด

3. การส่งลูกเข้าเล่น ให้ส่ง ณ บริเวณที่ลูกบอลได้ข้ามเส้นข้าง หรือที่บริเวณปลายเส้นข้างด้านที่ลูกบอลได้ออกนอกเส้นประตู

4. ผู้เล่นที่ส่งลูกเข้าเล่นจะต้องมีเท้าข้างหนึ่งอยู่บนเส้นข้าง จนกระทั่งลูกบอลได้หลุดออกจากมือไปแล้ว โดยผู้เล่นคนนี้จะทุ่มลูกลงบนพื้นและเก็บขึ้นมาอีกครั้ง หรือเลี้ยงลูกบอลแล้วจับอีกครั้งไม่ได้

5. ขณะที่มีการส่งลูกเข้าเล่น ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องยืนอยู่ห่างจากผู้ส่งลูกเข้าเล่นอย่างน้อย 3 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีสถานการณ์อื่น ๆ ที่อนุญาตให้ผู้เล่นยืนอยู่ใกล้นอกเส้นเขตประตูได้ ถ้าระยะทางนั้นมีน้อยกว่า 3 เมตร

การส่งจากประตู

1. การส่งจากประตูจะทำเมื่อลูกบอลได้ข้ามออกนอกเส้นประตู

2. การส่งจากประตู จะส่งจากเขตประตูเหนือเส้นเขตประตู โดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน การพิจารณาว่าเป็นการส่งจากประตูคือ เมื่อลูกบอลได้ถูกส่งโดยผู้รักษาประตู และข้ามเส้นเขตประตูโดยสมบูรณ์

3. ถ้าลูกบอลอยู่ในเขตประตู ผู้รักษาประตูจะต้องนำลูกบอลนั้นกลับเข้าสู่การเล่น

4. ผู้รักษาประตูจะต้องไม่ถูกลูกบอลนั้นอีกหลังจากการส่งจากประตู จนกระทั่งลูกบอลได้ถูกผู้เล่นคนอื่น ๆ แล้ว

 

การส่งลูกกินเปล่า

1. การส่งลูกกินเปล่าจะกระทำในกรณีดังนี้

1.1 การเปลี่ยนตัวไม่ถูกต้อง หรือเข้าสู่สนามผิดกติกา

1.2 ผู้รักษาประตูทำผิดกติกา

1.3 ผู้เล่นในสนามทำผิดกติกาในเขตประตู

1.4 เล่นลูกบอลโดยไม่ถูกต้อง

1.5 เจตนาทำให้ลูกบอลออกนอกเส้นประตูหรือเส้นข้าง

1.6 ถ่วงเวลาการเล่น

1.7 การฟาวล์เนื่องจากการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้

1.8 การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเริ่มเล่น

1.9 การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งเข้าเล่น

1.10 การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งจากประตู

1.11 การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการส่งลูกกินเปล่า

1.12 การหยุดเล่นโดยไม่มีการทำผิดกติกา

1.13 การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการยิงประตูโทษ

1.14 การทำผิดกติกาเกี่ยวกับการโยนลูกของผู้ตัดสิน

1.15 ทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการส่ง

1.16 การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา

1.17 การรุกราน

2. การส่งลูกกินเปล่า จะส่ง ณ จุดที่ทำผิดกติกา โดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน

ถ้าฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่า และจุดที่ทำผิดกติกาอยู่ระหว่างเส้นเขตประตูกับเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายรับ การส่งนี้ให้ส่ง ณ จุดที่ใกล้ที่สุดกับจุดที่ผิดกติกานอกเส้นส่งลูกกินเปล่า

3. ในขณะที่ผู้เล่นฝ่ายรุกอยู่ในตำแหน่งพร้อมกับลูกบอลแล้ว เขาจะเลี้ยงลูกบอลหรือวางลูกบอลลงแล้วเก็บขึ้นมาอีกไม่ได้

4. ผู้เล่นฝ่ายรุกจะต้องไม่ถูกหรือข้ามเส้นส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายตรงข้ามในขณะที่ทำการส่งลูกกินเปล่า ผู้ตัดสินจะต้องจัดตำแหน่งผู้เล่นฝ่ายรุกที่เข้าไปอยู่ในเส้นส่งลูกกินเปล่าให้ถูกต้อง จากนั้นผู้ตัดสินจึงให้สัญญาณนกหวีดเพื่อส่งลูกกินเปล่า

5. ในขณะส่งลูกกินเปล่า ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามจะต้องอยู่ห่างจากจุดส่งลูกกินเปล่าอย่างน้อย 3 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นฝ่ายรับอาจจะยืนใกล้จุดนอกเส้นเขตประตูได้ ถ้าการส่งลูกกินเปล่าได้ทำการส่งบนเส้นส่งลูกกินเปล่า

6. ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่าในขณะที่ฝ่ายป้องกันทำผิดกติกา ซึ่งจะทำให้ฝ่ายรุกเกิดการเสียเปรียบ ถ้าการทำผิดกติกานั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายรุกเสียการครอบครองลูกบอล จะต้องให้ฝ่ายรุกได้ส่งลูกกินเปล่าเป็นอย่างน้อย

ถ้ามีการทำผิดกติกา แล้วฝ่ายรุกยังคงครอบครองลูกบอลได้อีกครั้ง จะต้องไม่ให้มีการส่งลูกกินเปล่า

7. ในกรณีที่การเล่นได้หยุดลงโดยไม่มีฝ่ายใดทำผิดกติกา และมีทีมหนึ่งครอบครองลูกบอลอยู่ การเล่นจะเริ่มใหม่โดยทีมที่ครอบครองลูกบอล ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง โดยการส่งลูกกินเปล่าหรือการส่งตามข้อกำหนด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณนกหวีด

8. ในขณะที่มีการตัดสิน ฝ่ายที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่จะต้องวางลูกบอลใกล้ ๆ กับผู้เล่นนั้นทันที

การยิงประตูโทษ

1. การยิงประตูโทษจะทำเมื่อ

1.1 เมื่อมีการทำผิดกติกาในทุกส่วนของสนาม และเป็นการทำให้เสียโอกาสอย่างชัดแจ้งในการทำประตู

1.2 เมื่อผู้รักษาประตูนำลูกบอลเข้าไปในเขตประตู หรือเข้าไปในเขตประตูตนเองพร้อมลูกบอล

1.3 เมื่อผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตประตูของตนเอง และเกิดการได้เปรียบคู่ต่อสู้ซึ่งกำลังครอบครองลูกบอลอยู่

1.4 เมื่อผู้เล่นในสนามเจตนาส่งลูกบอลให้ผู้รักษาประตูของตนเองในขณะที่อยู่ในเขตประตู

2. การยิงประตูโทษจะต้องยิงไปทางด้านหน้าที่ประตูภายในเวลา 3 วินาที หลังจากที่ผู้ตัดสินประจำสนามได้เป่านกหวีด

3. ผู้ยิงประตูโทษจะต้องไม่แตะหรือข้ามเส้นยิงโทษก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือ

4. ในขณะที่มีการยิงประตูโทษ ลูกบอลจะต้องไม่ถูกเล่นจนกว่าจะได้ถูกตัวผู้รักษาประตูหรือประตูแล้ว

5. ในขณะที่มีการยิงประตูโทษ ผู้เล่นคนอื่น ๆ ยกเว้นผู้ยิงประตูโทษจะต้องยืนอยู่นอกเส้นเขตประตู และเส้นส่งลูกกินเปล่า

6. ถ้าผู้เล่นของฝ่ายรุกแตะหรือข้าเส้นส่งกินเปล่าก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือผู้ยิงประตูโทษ ฝ่ายรับจะได้เป็นผู้ส่งลูกกินเปล่า

7. ขณะยิงประตูโทษ ผู้เล่นฝ่ายรับทุกคนต้องยืนห่างจากผู้ยิงประตูโทษอย่างน้อย 3 เมตร ถ้าฝ่ายรับแตะหรือข้ามเส้นส่งลูกกินเปล่าก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือผู้ยิงประตูโทษ ผู้ตัดสินจะต้อง

7.1 ให้ได้ประตูถ้าลูกบอลได้เข้าไปในประตู

7.2 ให้ยิงประตูโทษใหม่เมื่อมีเหตุอื่น ๆ

8. ถ้าในขณะที่มีการยิงประตูโทษ ผู้รักษาประตูแตะหรือข้ามเส้นเขตผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร) ก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือผู้ยิงโทษ ให้ทำการยิงประตูโทษใหม่ (ถ้าลูกนั้นไม่ได้ประตู)

9. ผู้ตัดสินจะต้องไม่ให้ยิงประตูโทษเนื่องจากฝ่ายรับทำผิดกติกา และการยิงประตูโทษนั้นจะทำให้ฝ่ายรุกเสียเปรียบ แต่ถ้าโอกาสของฝ่ายรุกเสียไปในขณะที่จะได้ประตู ผู้ตัดสินจะต้องให้ยิงประตูโทษเป็นอย่างน้อย แต่ถ้าการกระทำผิดนั้นผู้เล่นฝ่ายรุกยังได้ครองลูกบอลอย่างสมบูรณ์ ผู้ตัดสินจะต้องไม่พิจารณาให้ยิงประตูโทษ

การโยนลูกของผู้ตัดสิน

1. การเล่นจะเริ่มขึ้นใหม่โดยการโยนลูกของผู้ตัดสิน ถ้า

1.1 การเล่นต้องหยุดลงเนื่องจากทั้งสองทีมทำผิดกติกาพร้อม ๆ กัน

1.2 ลูกบอลถูกเพดานหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่เหนือสนาม

1.3 การเล่นได้หยุดลงโดยไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดกติกา และไม่มีฝ่ายใดได้ครอบครองลูกบอล

2. ผู้ตัดสินในสนามจะโยนลูกบอลขึ้นตรงในแนวดิ่ง โดยไม่ต้องให้สัญญาณนกหวีด ณ จุดที่ลูกบอลได้หยุดการเล่นลง

ถ้าจุดนั้นอยู่ระหว่างเส้นเขตประตูกับเส้นเขตส่งลูกกินเปล่า หรือในเขตประตูให้ผู้ตัดสินโยนลูกบอล ณ จุดที่ใกล้กับจุดนั้นที่สุดนอกเส้นส่งกินเปล่า การโยนลูกจากผู้ตัดสินภายหลังจากการขอเวลานอก ให้โยนภายหลังสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน

3. ในขณะที่ผู้ตัดสินทำการโยนลูกบอล ผู้เล่นทุกคน (ยกเว้นผู้กระโดด) จะต้องอยู่ห่างจากจุดที่ผู้ตัดสินโยนลูกบอลอย่างน้อย 3 เมตร ผู้เล่นที่จะเป็นผู้กระโดดต้องยืนต่อจากผู้ตัดสินทางด้านที่ใกล้กับประตูของตนเอง และจะเล่นลูกบอลได้เมื่อลูกบอลได้ถูกส่งขึ้นในจุดสูงสุด

วิธีการส่ง

1. ก่อนจะทำการส่ง ผู้ส่งจะต้องถือลูกบอลไว้ในมือ ผู้เล่นทุกคนจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามกติกาที่เกี่ยวกับการส่ง

2. ในขณะที่มีการส่งเริ่มเล่น ส่งเข้าเล่น ส่งลูกกินเปล่า หรือยิงประตูโทษ ผู้ส่งจะต้องมีเท้าใดเท้าหนึ่งติดยึดกับพื้นสนาม แต่อย่างไรก็ตาม เขาอาจจะยกและวางอีกเท่าหนึ่งซ้ำ ๆ ได้

3. ผู้ตัดสินจะต้องให้สัญญาณนกหวีด

3.1 เมื่อการเล่นได้เริ่มขึ้นใหม่

3.2 เมื่อมีการถ่วงเวลาการส่งลูกเข้าเล่น การส่งลูกประตู หรือการส่งลูกกินเปล่า

3.3 ภายหลังจากได้แก้ไขตำแหน่งหรือมีการเตือน

3.4 ภายหลังการทำโทษโดยการเตือน

3.5 ภายหลังการหยุดเวลาการเล่น

3.6 ภายหลักจากการตัดสิทธิ์ผู้เล่น

3.7 ภายหลังจากการไล่ออก

3.8 เมื่อผู้ตัดสินทั้งสองตกลงกันไม่ได้ว่าทีมใดจะถูกลงโทษ

ผู้ส่งจะต้องส่งลูกบอลภายในเวลา 3 นาที หลังจากผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณนกหวีดแล้ว

4. การส่งทุกชนิดสามารถส่งโดยตรงเข้าประตู และถือว่าได้ประตู

5. ในขณะที่มีการส่งลูกเข้าเล่น หรือส่งลูกกินเปล่า ผู้ตัดสินจะต้องไ ม่ทำการแก้ไขตำแหน่งผู้เล่นของฝ่ายรับที่ยืนผิดตำแหน่ง ถ้าได้พิจารณาแล้วเห็นว่าฝ่ายรุกกำลังได้เปรียบเมื่อทำการส่งลูกเร็ว แต่ถ้าได้พิจารณาเห็นว่าฝ่ายรุกไม่ได้เปรียบ ให้แก้ไขตำแหน่งของฝ่ายรับให้ถูกต้อง

ถ้าผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้ทำการส่งแม้ว่าฝ่ายรับจะมีตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ในกรณีเช่นนี้ ผู้เล่นฝ่ายรับจะไม่ถูกลงโทษ และมีสิทธิ์เต็มที่ที่จะเข้าเล่นลูกนั้นได้

ถ้าเล่นฝ่ายตรงกันข้ามทำการถ่วงเวลาการเล่น หรือกีดขวางการส่งลูก โดยการยืนใกล้ผู้ส่งหรือทำผิดกติกาโดยทางอื่น ๆ ผู้เล่นนัจะต้องถูกเตือน และหากยังทำซ้ำอีก เขาจะต้องถูกให้หยุดพักการเล่น

การลงโทษ

1. การเตือน

1.1 การทำผิดเกี่ยวกับการเข้าเล่น (เข้าหา) กับคู่ต่อสู้ การเตือนจะทำเมื่อ

1.2 การทำผิดเกี่ยวกับการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้ ซึ่งถูกพิจารณาลงโทษซ้ำ

1.3 ทำผิดกตากาในขณะที่คู่ต่อสู้กำลังจะส่งลูกบอล

1.4 การกระทำในลักษณะที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาต่อผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่

2. ในขณะที่มีการเตือน ผู้ตัดสินจะต้องแสดงการทำผิดนั้น ๆ ของผู้เล่น หรือเจ้าหน้าที่ของทีม และแสดงให้ผู้จับเวลาและผู้บันทึกทราบ โดยการใช้บัตรสีเหลือง

หมายเหตุ บัตรสีเหลืองควรมีขนาดประมาณ 12 x 9 เซนติเมตร ผู้ตัดสินควรจะทำการเตือนรายบุคคลเพียงครั้งเดียว

และรวมการเตือนทั้งทีมแล้วไม่ควรเกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นคนอื่น ๆ ที่ทำผิดจะต้องไม่มีการเตือนอีก แต่จะเป็น

การสั่งพักเท่านั้น การเตือนสำหรับเจ้าหน้าที่ของทีมหนึ่งควรทำเพียงครั้งเดียว

3. การสั่งพักจะทำเมื่อ

3.1 มีการเปลี่ยนตัวที่ไม่ถูกต้อง หรือการเข้าสนามที่ผิดกติกา

3.2 มีการทำผิดกติกาซ้ำ เนื่องจากการเข้าหาคู่ต่อสู้ ซึ่งจะถูกลงโทษในลักษณะการเล่นที่รุนแรง

3.3 การทำผิดซ้ำเกี่ยวกับการไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาต่อผู้เล่นในสนาม

3.4 ถ้าไม่วางลูกบอลลงทันทีในขณะที่ผู้เล่นกำลังครอบครองลูกบอลอยู่ และทีมของตนเองถูกทำโทษจากการทำผิดกติกา

3.5 ทำผิดกติกาซ้ำ ๆ ในขณะที่คู่ต่อสู้กำลังจะส่งลูกบอล

กรณียกเว้น จะสามารถสั่งพักได้โดยไม่ต้องมีการเตือนมาก่อน

4. การสั่งพัก จะต้องแสดงสัญญาณมือให้ผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้บันทึก ผู้จับเวลา ได้เห็นอย่างชัดเจน (ชุมือข้างหนึ่งขึ้นและเหยียดนิ้วขึ้นสองนิ้ว)

การสั่งพักโดยปกติจะให้หยุดพัก 2 นาที แต่ถ้าเป็นผู้เล่นคนเดิมถูกสั่งพักเป็นครั้งที่ 3 ผู้เล่นคนนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

ในขณะที่เวลาสั่งพัก ผู้เล่นที่ถูกสั่งพักจะต้องออกจากการแข่งขันและทีมนั้นจะต้องมีผู้เล่นเท่าจำนวนที่เหลือ เวลาการสั่งพักจะเริ่มขึ้นเมื่อสัญญาณนกหวีดให้เริ่มเล่นใหม่ ถ้าเวลาการสั่งพักของผู้เล่นนั้นยังไม่หมดในครึ่งเวลาแรก จะต้องนำเวลาที่เหลือไปรวมเข้าในครึ่งเวลาหลัง (และในทำนองเดียวกัน ให้นำไปใช้ในเวลาเพิ่มพิเศษด้วย)

5. การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน

5.1 ถ้าผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันเข้าไปในสนาม

5.2 การทำผิดอย่างร้ายแรงที่เกี่ยวกับการเข้าเล่นกับคู่ต่อสู้

5.3 ทำลักษณะการไม่มีน้ำใจนักกีฬาซ้ำต่อเจ้าหน้าที่หรือผู้เล่นนอกสนาม

5.4 แสดงการไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา โดยเฉพาะกระทำต่อเจ้าหน้าที่

5.5 ถูกสั่งพักครั้งที่ 3

5.6 ก้าวร้าวเจ้าหน้าที่หรือผู้เล่นนอกสนามแข่งขัน

การตัดสิทธิ์จากการแข่งขันผู้เล่นในสนาม จะต้องทำคู่ไปกับการสั่งพักด้วย

6. การตัดสิทธิ์การแข่งขันหลังจากการขอเวลานอก จะต้องแสดงถึงการทำผิดให้ผู้เล่น และผู้บันทึก/ผู้จับเวลาได้ทราบ โดยการชูบัตรสีแดงขึ้น

การตัดสิทธิ์การแข่งขันผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ของทีม จะทำในเวลาเล่น โดยเจ้าหน้าที่หรือผู้เล่นนั้นจะต้องออกจากสนามแข่งขันและนอกบริเวณที่นั่งผู้เล่นสำรองทันที

ในขณะที่มีการตัดสิทธิ์การแข่งขัน จำนวนผู้เล่นของทีมนั้นจะต้องลดลงตามจำนวน แต่อย่างไรก็ตาม ทีมนั้นสามารถเล่นเต็มจำนวนได้ภายหลังจากหมดเวลาสั่งพักแล้ว

7. การไล่ออกจากการแข่งขัน

เมื่อมีการทำร้ายกันในสนามแข่งขัน

หมายเหตุ การทำร้าย คือการรุกราน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำต่อร่างกายผู้อื่น เช่น ผู้เล่น ผู้ตัดสิน ผู้บันทึก ผู้จับเวลา

เจ้าหน้าที่ หรือผู้ชม

8. การไล่ออกจากการแข่งขันภายหลังการขอเวลานอก จะต้องแสดงต่อผู้เล่นที่ทำผิด และผู้รับผิดชอบของทีมโดยตรงและแจ้งต่อผู้บันทึก/ผู้จับเวลา ซึ่งผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณการไล่ออก โดยการยกมือไขว้เหนือศีรษะ

การไล่ออกจะต้องทำในช่วงเวลาการเล่น ผู้เล่นที่ถูกไล่ออกจะไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอื่นเข้าแทน ผู้เล่นที่ถูกไล่ออกจะต้องออกจากสนามแข่งขัน และนอกบริเวณที่นั่งผู้เล่นสำรองทันที

9. ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพักกระทำในลักษณะการก้าวร้าวในสนาม ผู้เล่นนั้นจะต้องถูกไล่ออก และถ้าเขายังแสดงในลักษณะการไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา หรือทำร้ายในบริเวณเขตผู้เล่นสำรอง เขาจะต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน

10. ถ้าผู้รักษาประตูถูกสั่งพัก ตัดสิทธิ์ หรือไล่ออก จะอนุญาตให้เปลี่ยนผู้รักษาประตูสำรองเข้าแทนได้ ในกรณีนี้ผู้เล่นในสนามจะต้องออกจากสนามแทน

11. ผู้เล่นที่กระทำการไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาจะถูกเตือนโดยผู้ตัดสินทั้งที่อยู่ในสนามหรือนอกสนามแข่งขัน แต่ถ้าทำซ้ำอีกในขณะที่อยู่ในสนามเขาจะถูกสั่งพักแต่ถ้าอยู่นอกสนามแข่งขัน เขาจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน (ผู้เล่นสำรองจะเป็นผู้ถูกสั่งพัก) เจ้าหน้าที่ที่กระทำการไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาจะถูกเตือน แต่ถ้ายังทำซ้ำอีกจะถูกตัดสิทธิ์

การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา หรือมีการทำร้ายร่างกายในระหว่างเวลาพัก หรือเวลานอก การแข่งขันจะเริ่มใหม่จากการส่งลูกบอลตามเหตุที่หยุดพัก

หมายเหตุ การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาคือ การแสดงด้วยท่าทางหรือวาจาในลักษณะที่ไม่ใช่วิสัยของนักกีฬาที่ดี

ถ้าเจ้าหน้าที่ทีมเข้าไปในสนามโดยไม่ได้รับอนุญาตในลักษณะเช่นนี้ จะต้องถูกทำโทษในลักษณะการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

ถ้ามีการกระทำลาย ๆ อย่าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง โดยนักกีฬาหรือเจ้าหน้าที่ทีมในเวลาเดียวกัน (ฟาวล์คือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา การก้าวร้าว) ในลักษณะที่แตกต่างกัน จะพิจารณาการลงโทษที่หนักที่สุดเท่านั้น

12. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา หรือการก้าวร้าว จะพิจารณาโทษดังนี้

ก่อนการแข่งขัน

1. จะทำการเตือนสำหรับการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

2. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาหรือการก้าวร้าว จะถูกพิจารณาตัดสิทธิ์การแข่งขัน แต่จะอนุญาตให้ทีมนั้นเริ่มเล่นด้วยผู้เล่นเต็ม 12 คน

ระหว่างการแข่งขัน

3. จะทำการเตือนสำหรับการกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา

4. การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาหรือการก้าวร้าวซ้ำ จะถูกพิจารณาลงโทษตัดสิทธิ์การแข่งขันภายหลังการแข่งขัน

5. เขียนรายงานให้ทราบ

ผู้ตัดสิน

1. ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น โดยมีผู้ช่วยคือ ผู้บันทึก และผู้จับเวลา

2. ผู้ตัดสินมีอำนาจว่ากล่าวการกระทำของผู้เล่น ตั้งแต่เริ่มเข้าสนามจนถึงออกจากสนามแข่งขัน

3. ผู้ตัดสินมีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจสนามแข่งขัน ประตู และลูกบอลก่อนการแข่งขัน และจะเป็นผู้พิจารณาว่าลูกบอลลูกใดที่จะใช้ในการแข่งขันได้ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จะพิจารณาใช้ข้อเสนอของผู้ตัดสินที่มีชื่อแรก

ผู้ตัดสินทั้งสองจะเป็นผู้พิจารณาถึงชุดแข่งขันของทั้งสองทีม สำรวจใบบันทึกและอุปกรณ์ของผู้เล่น สำรวจการเปลี่ยนตัวในเขตการเปลี่ยนตัว และรวมถึงการพิจารณาให้เจ้าหน้าที่ประจำทีมนั้นเป็นผู้รับผิดชอบทีมตนเอง

4. ผู้ตัดสินที่มีชื่อแรกจะเป็นผู้เสี่ยงก่อนการแข่งขันต่อหน้าผู้ตัดสินอีกคนหนึ่ง และหัวหน้าทีมทั้งสอง

5. การเริ่มการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่มีชื่อเป็นลำดับที่สอง จะทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินประจำสนาม และอยู่ด้านหลังของทีมที่จะส่งลูกเริ่มเล่น

ผู้ตัดสินประจำสนามจะเป็นผู้ให้สัญญาณนกหวัดให้ส่งลูกเริ่มเล่น และเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองลูกบอล ผู้ตัดสินที่มีชื่อเป็นลำดับที่สองจะไปทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินประจำเส้นประตูทางด้านที่เขาอยู่ ส่วนผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้ตัดสินประจำเส้นประตู เมื่อส่งลูกเริ่มเล่น ก็จะกลับมาเป็นผู้ตัดสินประจำสนามเมื่อทีมที่อยู่ทางด้านของเขาเป็นฝ่ายครอบครองลูกบอล ผู้ตัดสินต้องเปลี่ยนแดนกันเมื่อหมดเวลาแต่ละช่วงการแข่งขัน

6. การแข่งขันจะต้องควบคุมโดยผู้ตัดสินสองคนที่มีความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้การเล่นมีความถูกต้องเป็นไปตามกติกา และจะต้องทำโทษผู้ทำผิดกติกา ถ้ามีผู้ตัดสินคนใดคนหนึ่งไม่สามารถทำหน้าที่จนจบการแข่งขันได้ ผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปโดยลำพัง

7. ผู้ตัดสินประจำสนามจะเป่านกหวีดเมื่อ

7.1 ให้ส่งเริ่มเล่น

7.2 ลงโทษ

7.3 ให้มีการส่งทุกอย่างตามกติกา และภายหลังจากมีเวลานอก

ผู้ตัดสินประจำเส้นประตูจะเป่านกหวีดเมื่อ

7.4 มีการได้ประตู

8. ถ้าผู้ตัดสินทั้งสองคนตัดสินเกี่ยวกับการลงโทษทีมเดียวกันในเวลาเดียวกัน แต่มีความเห็นเกี่ยวกับการลงโทษที่แตกต่างกัน ให้พิจารณาโทษที่รุนแรงกว่าเป็นเกณฑ์บังคับ

9. ถ้าผู้ตัดสินทั้งสองคนหยุดเกมการเล่นพร้อมกัน แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่าทีมใดควรจะถูกลงโทษ ให้พิจารณาการตัดสินของผู้ตัดสินประจำสนามเป็นหลัก โดยผู้ตัดสินประจำสนามจะให้สัญญาณมืออย่างชัดแจ้ง และให้เริ่มเล่นใหม่โดยสัญญาณนกหวีด

10. ผู้ตัดสินทั้งสองมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมคะแนน รวมทั้งต้องบันทึกเกี่ยวกับการเตือน การสั่งพัก การตัดสิทธิ์การแข่งขัน และการไล่ออกจากการแข่งขัน

11. ผู้ตัดสินทั้งสองมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมเวลาการแข่งขัน ถ้ามีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับการควบคุมเวลาการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่มีชื่อเป็นอันดับแรกจะเป็นผู้ตัดสินเวลาที่ถูกต้อง

12. ภายหลังจากการแข่งขัน ผู้ตัดสินทั้งสองมีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมใบบันทึกที่สมบูรณ์ถูกต้อง

13. การตัดสินของผู้ตัดสินทั้งสองจะพิจารณาจากการกระทำ และถือเป็นเด็ดขาด

การอุทธรณ์การตัดสินจะทำได้เฉพาะที่ไม่เป็นไปตามกติกาเท่านั้น ในขณะแข่งขัน หัวหน้าทีมเท่านั้นที่มีสิทธิ์ติดต่อกับผู้ตัดสินได้

14. ผู้ตัดสินทั้งสองคนมีอำนาจที่จะหยุดการแข่งขันชั่วขณะหนึ่ง หรือสามารถยุติการแข่งขันได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องพยายามดำเนินการแข่งขันต่อไปก่อนที่จะมีการตัดสินให้ยุติการแข่งขัน

15. ผู้ตัดสินจะต้องใช้ชุดสีดำล้วน เป็นชุดแต่งกายของผู้ตัดสิน

ผู้บันทึกและผู้จับเวลา

1. ผู้บันทึกจะต้องตรวจสอบรายชื่อทีม (เฉพาะผู้เล่นที่มีชื่อเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันได้) และในทำนองเดียวกัน ผู้จับเวลาจะต้องจับเวลาการสั่งพักผู้เล่น และการเข้าเล่นใหม่ ผู้บันทึกมีหน้าที่บันทึกสิ่ง ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม (การได้ประตู การเตือน การสั่งพัก การตัดสิทธิ์ และการไล่ออกจากการแข่งขัน)

2. ผู้จับเวลามีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับ

2.1 เวลาการเล่น (ตามที่ผู้ตัดสินสั่งให้หยุดและเริ่มเวลาเล่นใหม่)

2.2 จำนวนผู้เล่นและเจ้าหน้าที่บนม้านั่งผู้เล่นสำรอง

2.3 ผู้เล่นร่วมทีมที่มาสาย โดยร่วมมือกับผู้บันทึก

2.4 ผู้เล่นสำรองเข้าและออก

2.5 ผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในสนาม

2.6 เวลาการสั่งพักผู้เล่น

ผู้จับเวลาจะต้องแสดงสัญญาณการให้หยุดเวลาการแข่งขันในครึ่งเวลาแรก และสิ้นสุดเวลาการแข่งขันอย่างชัดเจน

3. ในขณะที่มีการหยุดเวลาการแข่งขัน (เวลานอก) ผู้จับเวลาจะต้องแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ประจำที่รับผิดว่าใช้เวลาเล่นไปแล้วเท่าไร และยังเหลือเวลาอีกเท่าไหร่ (ยกเว้นในกรณีที่มีนาฬิกาที่แจ้งให้สาธารณชนได้เห็น)

4. ผู้จับเวลาจะต้องแจ้งให้ผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก หรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่รับผิดชอบได้ทราบว่าเมื่อไรจะหมดเวลาสั่งพัก

5. ในกรณีที่ต้องมีการรอผลจากการส่งตามกติกาผู้จับเวลาจะต้องให้สัญญาณหมดเวลา

5.1 ถ้าลูกบอลได้ถูกส่งเข้าประตูโดยไม่มีการฟาวล์ ถึงแม้ว่าลูกบอลจะถูกเสาประตู คานประตู ผู้รักษาประตู หรือผู้เล่นในสนามของฝ่ายรับ

 

5.2 ถ้าลูกบอลไม่เข้าประตู หรือผ่านเส้นเขตประตูออกไป

การกระทำฟาวล์ก่อนหรือขณะที่มีการส่งลูกกินเปล่า หรือยิงประตูโทษจะต้องให้การลงโทษนั้นเสร็จก่อน จึงค่อยให้สัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน

 

 

 

 

 

จัดทำโดย

นางสาว  อังคนาง     เหง่าศรี    ม.4/1    เลขที่   33