Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล1

 

         ประวัติความเป็นมาของดนตรีสากล

 

การกำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มี

รูปทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่นำมาเล่นกันแพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณที่สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

 

222

  
         การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

          การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกินและมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันนี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อนหลังไปในอดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพสังคมที่แวดล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสมัยนั้นแตกต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตามแนวคิดของผู้ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกันจนถึงปัจจุบันนี้

       การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจากเป็นไปเพื่อความสุขใจในการได้ศึกษาเรียนรู้และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดยตรงแล้วยังเป็นการศึกษา เป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดนตรีในปัจจุบันและเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีในอนาคตด้วย กล่าวถึงประวัติดนตรีตะวันตกซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 9 สมัย ดังนี้ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2534 : 133)

1. สมัยกรีก (Ancient Greek music)

2. สมัยโรมัน (Roman)

3. สมัยกลาง (The Middle Ages)

4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance)

5. สมัยบาโรก (The Baroque Age)

6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period)

7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period)

8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic)

9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century)

         การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle   age    คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ    ( Pitch  and   time )    ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง  ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย   บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน   หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

         โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย  ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ  กลายเป็นเครื่องดนตรี   ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน   เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า  ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา   และเพลงร้องโดยทั่วๆไป
         ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody    ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ  เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา
 

 


ยุคต่างๆของดนตรีสากล
         นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้

         1. Polyphonic  Perio (ค.ศ. 1200-1650)  ยุคนี้เป็นยุคแรก  วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ  จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น  วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี

         2. Baroque  Period  (ค.ศ. 1650-1750)  ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น  มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์    มีมากขึ้น  มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร  (โอเปร่า)  เกิดขึ้น  มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ  J.S. Bach   และ    G.H.   Handen

         3.Classical  Period ( ค.ศ. 1750-1820 )  ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่  มีความรุ่งเรืองมากขึ้น  มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ  HaydnGluck   และMozart

         4. Romantic Period  ( ค.ศ. 1820-1900 )  ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย

         5.Modern  Period  ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก  ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

         ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ  ศาสนา  โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก   นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก      บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น  ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์    ตามหลักวิชาการดนตรี  ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง  เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น  ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์   เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง  เมื่อประมาณ ค.ศ.  1000  สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ  ตัวโน้ต ( Note )  นั่นเอง  โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด  เร  มี นั้น  เป็นคำสวดในภาษาละติน   จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา  ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด

         วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม  ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป  เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน  หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน

 

 

 

สมัยศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน

          หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้า ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือแม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผล
ให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลง การสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น

 

          จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลอง สิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ ล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยัง มีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง

ลักษณะของบทเพลง

        ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่ม ใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ใน
การประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ ดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของ เสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียง ความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง

ประเภทของเพลงดนตรี
         เพลงประเภทต่างๆ  แบ่งตามลักษณะของวงดนตรีได้  6  ประเภท  ดังนี้     

         1. เพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า  ( Orchestra )   มีดังนี้

                  - ซิมโฟนี่ (Symphony) หมายถึงการบรรเลงเพลงโซนาตา ( Sonata) ทั้งวง  คำว่าSonata  หมายถึง  เพลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ  เช่นเพลงของไวโอลิน  เรียกว่า  Violin  Sonata  เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆก็เช่นเดียวกัน   การนำเอาเพลง

                  โซนาตาของเครื่องดนตรีหลายๆชนิดมาบรรเลงพร้อมกันเรียกว่า  ซิมโฟนี่

                  - คอนเซอร์โต  ( Concerto)  คือเพลงผสมระหว่างโซนาตากับซิมโฟนี่  แทนที่จะมีเพลงเดี่ยวแต่อย่างเดียว  หรือบรรเลงพร้อมๆกันไปในขณะเดียวกัน  เครื่องดนตรีที่แสดงการเดี่ยวนั้น   ส่วนมากใช้ไวโอลินหรือเปียโน

                  - เพลงเบ็ดเตล็ด  เป็นเพลงที่แต่งขึ้นบรรเลงเบ็ดเตล็ดไม่มีเนื้อร้อง

         2. เพลงที่บรรเลงโดยวงแชมเบอร์มิวสิค  ( Chamber  Music )  เป็นเพลงสั้นๆ  ต้องการแสดงลวดลายของการบรรเลงและการประสานเสียง  ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย  คือไวโอลิน วิโอลา และเชลโล

         3.  สำหรับเดี่ยว  เพลงประเภทนี้แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวเรียกว่า   เพลง โซนาตา

         4. โอราทอริโอ  ( Oratorio )  และแคนตาตา ( Cantata)  เป็นเพลงสำหรับศาสนาใช้ร้องในโบสถ์  จัดเป็นโอเปรา แบบหนึ่ง  แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา

         5. โอเปรา (Opera  )  หมายถึงเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครที่มีการร้องโต้ตอบกันตลอดเรื่อง   เพลงประเภทนี้ใช้ในวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ

         6. เพลงที่ขับร้องโดยทั่วไปได้แก่  เพลงที่ร้องเดี่ยว   ร้องหมู่  หรือร้องประสานเสียงในวงออร์เคสตรา    คามวงคอมโบ  ( Combo) หรือชาโดว์  (Shadow )  ซึ่งนิยมฟังกันทั้งจากแผ่นเสียงและจากวงดนตรีที่บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไป

 

 

เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด

เครื่องดนตรี

รายละเอียด

เปียโน [Piano]
เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในปลายคริสตศตวรรษที่18
เสียงของเปียโนเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย
ที่ถูกฆ้อนเล็กๆตีสายซึ่งขึงอยู่ข้างในเมื่อผู้เล่นกดคีย์และเมือผู้เล่น
ยกนิ้วขึ้นสักหลาดชิ้นเล็กๆจะกลับทาบลงบนสายทำให้หยุดความสั่นสะเทือน
เสียงก็จะหยุด เปียโนสามารถทำให้เสียงยาวได้โดยเหยียบ Pedal
เปียโนมีช่วงเสียงกว้างมากสามารถเล่นให้มีเสียงดัง-เบาได้
ตามความแรงของนิ้วที่กดลงบนคีย์ ชื่อเรียกเต็มคือ
เปียโนฟอร์เต้ (Piano-forte)เป็นภาษาอิตาเลี่ยน หมายความว่า
เล่นได้ทั้งเบาและดัง (piano แปลว่าเบา forte แปลว่าดัง)

ฮาร์พซิคอร์ด [Harpsichord]
เป็นต้นตระกูลของเปียโน
นิยมเล่นกันแพร่หลายในคริสตศตวรรษ ที่ 16, 17 และ18
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Claveein (ฝรั่งเศส) Clavicembalo (อิตาเลียน)
และ Virginal (อังกฤษ) มีคีย์คล้ายๆ เปียโนแต่โดยมากมักจะมี 2 ชั้น
เสียงเกิดขึ้นเพราะวัตถุคล้าย Prectrum ของกีต้าร์ เมื่อเวลาผู้เล่นกดคีย์
เสียงคล้ายเสียงของ สแปนิชกีต้าร์ สามารถเล่นได้รวดเร็วและชัดเจนแจ่มใส
แต่เสียงไม่ค่อยจะดังมากนัก

ซินธิไซเซอร์ [Synthesizer]
ซินธิไซเซอร์เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค
ที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งให้เสียงแตกต่างกันมากมายภายในเครื่องเดียว
สร้างความสะดวกให้ผู้เล่นสามารถค้นหาเสียงได้มากมาย

แอคคอร์เดี้ยน [Accordian]
ดัดแปลงมาจากออร์แกน ใช้หลักการสร้างลมเป่าในหลอด
ทำเสียงด้วยวิธีชักเข้าและชักออกของถุงลม แล้วกดบังคับเสียงจากลิ่มนิ้วเหมือนออร์แกน
หีบเพลงชักมีมากมายหลายแบบจนนับไม่ถ้วน

 

ประเภทประกอบจังหวะ  

เครื่องดนตรี

รายละเอียด

รำมะนา [Tambourine]
Tambourine มีรูปร่างคล้ายกลองแบนๆ
ขึงด้วยหนังหน้าเดียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ10นิ้ว
รอบๆ ขอบมีลูกกระพรวนติดอยู่เป็นระยะๆ
เพื่อทำให้เกิดเสียงกรุ๋งกริ๋งเวลาผู้เล่นเขย่า
เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่พวกเสปน ยิปซี ใช้ประกอบการเต้นรำมาช้านาน
เป็นเสียงที่ให้ความรู้สึกครึกครื้น สนุกสนาน

ฉาบ [Cymbals]
เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่มีลักษณะเหมือนฉาบของไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก เป็นจานทองเหลืองบางๆ 2 อัน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-24 นิ้ว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง15-16 นิ้ว เป็นขนาดที่ใช้ในวงดุริยางค์ ใช้ตีกระทบกัน เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่ให้เสียงอึกทึกที่สุด

กลองชุด [Drumkit]
ประกอบด้วยกลองหลายใบรวมอยู่ด้วยกัน เช่น Bass,Tenor,Snare,Cymbals ใช้ผู้เล่นคนเดียวสำหรับBass Drum และ Cymbals ผู้เล่นใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง มือทั้งสองถือไม้ตีกลองใบอื่น และฉาบด้วย

กลองทิมปานี [Timpani]
ทิมปานีเป็นกลองที่ปรับระดับเสียงได้
รูปร่างคล้ายกระทะ ตั้งอยู่บนฐาน ตัวกลองทำด้วยทองแดง
ใช้หนังลูกวัวขึง มีสกรูอยู่รอบๆ ขอบกลอง
เพื่อใช้บังคับหนังกลองให้ตึงมากน้อยให้เกิดระดับเสียงที่ต้องการ
นอกจากสกรูแล้วที่ฐานยังมีกระเดื่องไว้ให้ผู้เล่นเหยียบเปลี่ยนระดับเสียง
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ไม้ตีกลอง (Drum Sticks)
ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน (ล็ก กลาง ใหญ่) หัวไม้ตีกลอง
มักจะหุ้มด้วยสักหลาด ผ้า สำลี ไม้ก๊อก หรือ ฟองน้ำ
เสียงของทิมปานี จะทุ้มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลาง
ของหน้ากลอง ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางยาวมากเสียงก็จะทุ้มมาก
ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางสั้น เสียงจะมีความทุ้มน้อย
เสียงของกลองทิมปานี เทียบได้กับเสียงเบสเป็นเสียงที่แสดงอำนาจ
ตื้นเต้น เร้าใจ กลองทิมปานีใช้ในวงซิมโฟนีออร์เคสตร้ามานานแล้ว

ระนาดฝรั่ง [Glockenspiel]
มีรูปร่างคล้าย Xylophone แต่เล็กกว่า บรรจุไว้ในกระเป๋า
คล้ายกระเป๋าเดินทาง เวลาใช้จะตั้งบนโต๊ะผู้เล่นยืนเล่น
ลูกระนาดทำด้วยแผ่นเหล็กมีไม้ตี มีเสียงดังกังวาน คล้ายระฆังเล็ก
มีวิวัฒนาการมาจากระฆังในโบสถ์ หลายๆใบเรียงกัน

ระนาดฝรั่ง [Xylophone]
ลูกระนาดทำด้วยไม้ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกัน วางตามแนวนอน
มีขาตั้งติดมากับตัว ลูกระนาดวางราบบนรางที่มีหมุดตรึงไว้
ไม้ตีเป็นไม้นวมหรือไม้มีผ้าหุ้ม หรืออาจจะเป็นกระดาษพิเศษ
ใต้ลูกระนาดจะมีหลอดยาวต่อลงมาเพื่อให้เสียงดังกังวานไพเราะเพิ่มขึ้น
ระนาดฝรั่งต่างจากระนาดไทยคือ ระนาดไทยจะเรียงติดกันเป็นพืด
แต่ระนาดฝรั่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นเสียงปกติ
ชั้นบนจะเป็นเสียงห่างครึ่งเสียงเหมือนKeyboard ชึ่งจะทำให้มีช่วงเสียง
กว้างมากขึ้น Xylophone มีเสียงแกร่งสั้น ห้วน และชัดเจน
มีขนาดใหญ่กว่า Glockenspiel

 

 

 

ประเภททองเหลือง

รายละเอียด

เครื่องดนตรี

เฟร้นช์ฮอร์น [French Horn]
ทำเลียนแบบมาจากเขาสัตว์
ที่นักล่าสัตว์และคนเลี้ยงแกะใช้เป่ามาแต่โบราณ
ต่อมาทำด้วยทองเหลือง
ได้มีการปรับปรุงทำเสียงให้กว้าง
นอกจากจะใช้ริมฝีปากแล้วยังมีเครื่องบังคับเสียงเป็นพิเศษ
อยู่ที่ตัวฮอร์น
ผู้บรรเลงจะใช้นิ้วกดลงบนแป้นเล็กๆ
เสียงสดใสและแหลมเล็ก
จะเล่นให้อ่อนหวานก็ได้ ให้เสียงกังวานสง่าก็ได้
ให้ช้าและโศกเศร้าก็ได้
กล่าวกันว่าเสียงของฮอร์นนั้นดังกังวานสง่าผ่าเผย
ยากจะหาเครื่องดนตรีอื่นใดเทียบได้

ทรัมเปต [Trumpet]

เสียงของทรัมเป็ตสูงที่สุดในประเภทเดียวกัน
มีพลัง ดังชัดแจ๋ว
และออกจะหนักไปทางแปร๊ดๆ อยู่สักหน่อย
ถ้าเป่าให้ดังลั่นเต็มที่บางคนอาจรู้สึกแสบแก้วหู
แต่ก็สามารถเป่าเบา ทำเสียงพร่าๆ เหมือนกระซิบก็ทำได้
นับเป็นลักษณะพิเศษทีเดียว
ปัจจุบันทรัมเป็ตจัดเข้าอยู่ในวงออร์เคสตร้า
วงแจ๊ส และอื่นๆ

ทรอมโบน [Trombone]

ประกอบด้วยหลอดยาวๆ เป็นปากเป่าและปากบาน
มีหลอดซ้อนสำหรับชักเข้า-ออก ให้มีระยะยาวสั้น
เพื่อเปลี่ยนเสียงอย่างรวดเร็วฟังตื่นเต้นเร้าใจ
ใช้บรรเลงในวงออร์เคสตร้า แจ๊ส และวงเครื่องทองเหลือง
เสียงของทรอมโบนดังคล้ายๆ ฮอร์น แต่มีช่วงกังวาน
เนื่องจากเสียงไม่ค่อยจะสดใส จึงเหมาะที่จะทำเป็นเสียงแหบๆ
เหมือนคนเป็นหวัด หรือเสียงอ้อๆแอ้ๆได้ดีมาก
ทรอมโบนมีเสียงที่ทุ้มกว่าทรัมเป็ต
จึงมีคนกล่าวว่าเป็นเบสของทรัมเปต

ทูบา [Tuba]

เป็นเครื่องดนตรีทองเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
จึงให้เสียงต่ำสุดในจำพวกเครื่องทองเหลืองนี้
ส่วนมากใช้เป่าตอดเป็นจังหวะและทำเสียงประสาน
ไม่เคยปรากฏว่ามีใครอุตริเอาทูบามาเป่าเดี่ยว

 

ประเภทเครื่องลมไม้

 

เครื่องดนตรี

รายละเอียด

คลาริเนต [Clarinet]
เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่มีลิ้นเดี่ยว(Single Reed)
ประดิษฐ์ขึ้นในเยอรมันนี เมื่อต้นคริสตศตวรรษ ที่ 17
เสียงของคลาริเนตมีความกว้างมาก
หวานกังวานไม่แพ้เครื่องเป่าชนิดใดถือเป็นตัวเอกในบรรดาเครื่องลมไม้
เป็นเครื่องเป่าสำคัญขนิดหนึ่งในวงออร์เคสตร้า และวงโยธวาทิต

แซกโซโฟน [Saxophone]
เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่มีลิ้นเดี่ยว(Single Reed)
ปากทำด้วยไม้ แต่ตัวทำด้วยทองเหลือง
มีลักษณะผสมผสานระหว่างเครื่องเป่าลมไม้กับเครื่องทองเหลือง
ตามประวัติว่ามีนักเป่าคลาริเนตคนหนึ่งชื่อว่านายSaxเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น
จึงให้ชื่อว่า Saxophone ใช้ในวงOrchestraในบางโอกาส
ที่ใช้มากในวง Jazz , Big band และวงโยธวาทิต
จริงแล้ว Saxophone มีหลายชนิด คือ
Soprano, alto, tenor, Baritone และ Bass
ซึ่งเรียงลำดับจากเสียงสูงสุด จนถึงต่ำสุด

โอโบ [Oboe]
จัดอยู่ในจำพวกที่มีลิ้นคู่(Double Reed)
มีเสียงที่ไพเราะ สะกดใจคนได้มาก
ตามประวัติเกิดในฝรั่งเศสประมาณ ศตวรรษที่ 17
ปัจจุบันเป็นเครื่องเป่าชั้นนำในวงออร์เคสตร้า มีลักษณะคล้ายคลาริเนต
ยกเว้นตรงปากเป่าจะเป็นท่อยาว ตัวความยาวประมาณ 2 ฟุต
ประโยชน์อย่างหนึ่งของโอโบ
คือ ใช้เป็นเครื่องเทียบหรือแต่งเสียงในวงออร์เคสตร้า

บาซูน [Bassoon]
เป็นเครื่องลมไม้ที่จัดอยู่ในประเภทลิ้นคู่ (Double Reed)
และให้เสียงที่ต่ำที่สุด ไม่แจ่มใส ให้ความรู้สึกหม่นหมอง
เสียงแหบเหมือนผี มักไม่ค่อยมีใครนำมาบรรเลงเดี่ยว
ในประวัติมีเพียง โมสาร์ท เพียงคนเดียว
ที่กล้านำมาใช้ในเพลงคอนแชร์โต้
ส่วนใหญ่ใช้เป็นเสียงประสาน
หรือทำเสียงประหลาด ๆ น่ากลัว
บาสชูน มีท่อลมใหญ่ และมีความยาวถึง 109 นิ้ว
ผู้ประดิษฐ์จึงเอามาทบกันจนมีความยาวเหลือเพียง 50 นิ้ว
และเนื่องจากมีน้ำหนักมาก
จึงจำเป็นต้องใช้เชือกถักติดกับตัวปี่แล้วคล้องคอผู้เล่น

พิคโคโล [Piccolo]
เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่จัดอยู่ในจำพวกไม่มีลิ้น
ลักษณะเหมือนฟลุตแต่เล็กกว่า ความยาวประมาณ 12 นิ้ว
จึงทำให้เสียงที่ออกมาสูง แหลมคมกว่าฟลุต ให้ความรู้สึกร่าเริง พริ้วไหว
เสียงจะได้ยินชัดเจนแม้อยู่ในวงโยธวาทิต
ซึ่งกำลังบรรเลงด้วยเครื่องเป่าอื่นๆ มากมาย
วิธีการจับขลุ่ยปิคโคโล จับยึดด้วยมือทั้งสอง
ให้ตัวขลุ่ยปัดหางไปทางขวา เป่าลมไปที่รูอยู่เกือบริมซ้าย

รีคอร์ดเดอร์ [Recorder]
เป็นเครื่องลมไม้ชนิดที่ไม่มีลิ้น
มีหลายระดับเสียงมากมาย
ตั้งแต่ Sopranino, Soprano, Alto, Tenor และ Bass
ขนาดก็จะลดหลั่นกันลงมาจากเสียงต่ำสุด จะใหญ่สุด
เสียงสูงสุดก็จะเป็นตัวที่เล็กสุด
เวลาจะเป่าใช้ปากอมส่วนที่เป็นปากแล้วจึงเป่าออกไป
ต้องการเสียงใดก็ขยับนิ้วที่ปิดรูอยู่ข้างๆ

 

 

คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) ปราชญ์ทางดนตรีได้สันนิษฐานว่า โดยที่ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า "อองเกล (Angle)" ขึ้นต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า "คอร์" (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn) ปี่ชนิดนี้นอกจากมีชื่อประหลาดแล้ว ยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือ ส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลมโลหะงอโค้งติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต คอร์แองเกลส์เป็นปี่ตระกลูเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบ และเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อ พยุงน้ำหนักของปี่

http://www.lks.ac.th/band/gcore.jpg      http://www.lks.ac.th/band/core.jpg

คอนทราบาสซูนหรือดับเบิลบาสซูน (Contra Bassoon or Double Bassoon) คอนทราบาสซูน ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวอังกฤษสองคน ชื่อ สโตน และ มอร์ตัน(Stone & Morton) ต่อมา เฮคเคล (Heckel) ได้ปรับปรุงโดยติดกลไกของแป้นนิ้วต่าง ๆ ให้สมบูรณ์และนำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ คอนทราบาสซูนเป็นปี่ที่ใหญ่กว่าปี่บาสซูน ประมาณเท่าตัวคือมีความยาวของท่อลมทั้งหมดถึง 18 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 220 นิ้วพับเป็นสี่ท่อน แต่ละท่อนเชื่อมต่อด้วย Butt และข้อต่อรูปตัว U ที่ปลายท่อนสุดท้ายจะต่อกับลำโพงโลหะที่คว่ำลงในแนวดิ่ง แต่คอนทราบาสซูนอีกชนิดหนึ่งลำโพงหงายขึ้นในแนวดิ่ง ให้เสียงต่ำกว่าบาสซูน ลงไปอีก 1 ออคเทฟ เสียงจะนุ่มไม่แข็งกร้าวเหมือนบาสซูน แต่ถ้าบรรเลงเสียงต่ำอย่างช้า ๆ ในวงออร์เคสตรา ขณะที่เครื่องดนตรีอื่น ๆ เล่นอย่างเบา ๆ จะสร้างภาพพจน์คล้ายมีงูใหญ่เลื้อยออกมาจากที่มือ โอกาสที่ใช้ไม่สู้มากนัก

 

 

 

http://www.lks.ac.th/band/gdbassoon.jpg
http://www.lks.ac.th/band/dbassoon.jpg 

 

 

เบส คลาริเนต (Bass Clarinet) เป็นปี่คลาริเนตขนาดใหญ่มีช่วงเสียงต่ำกว่า คลาริเนตธรรมดา 1 ออคเทฟ ลำตัวยาวกว่าคลาริเนต ส่วนปากลำโพงทำด้วยโลหะและงอนขึ้นส่วนที่เป่างอโค้งทำมุมกับตัวปี่

การประดิษฐ์เบส คลาริเนตขึ้นมีความมุ่งหมายเพื่อให้มีเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลคลาริเนตครบ

http://www.lks.ac.th/band/gbcarinet.jpg
http://www.lks.ac.th/band/bcarinet.jpg 

เฟรนช์ฮอร์น (France horn) ปัจจุบันเรียกว่า "ฮอร์น" ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขา สัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุดคือ โชฟาร์ (Shofar) ของชาวฮิบรู ทำด้วยเขาแกะ เฟรนช์ฮอร์น เป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไปมา เพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนซ์ ฮอร์น สดใส สง่า จัดว่าเป็นพระเอก ในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง           นักแต่งเพลงหลายคนใช้เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติ เช่น ท้องทะเลครามอันกว้างใหญ่ไพศาล และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เนื่องจากท่อลมมีขนาดยาวมากการบังคับริมฝีปากในการเป่าจึงเป็นเรื่องยาก

http://www.lks.ac.th/band/gfren.jpg

http://www.lks.ac.th/band/fren.jpg

 

ทรอมโบน (Trombone) เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนา และพิธียุรยาตรร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วย ท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า - ออกได้ (telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบสองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอก เช่นเดียวกับทรัมเป็ต ส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนมีเสียงทุ้ม ห้าว ไม่สดใส เหมือนทรัมเป็ต ปัจจุบันนิยมใช้แพร่หลายในวงดนตรีชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกันทรัมเป็ตประกอบด้วย เทเนอร์ทรอมโบน (Tenor Trombone)และ เบสทรอมโบน (Bass Trombone)

 

 

 


http://www.lks.ac.th/band/gttbone.jpg 

 

 

 

เครื่องสาย 

 

 

ไวโอลิน [Violin]
เริ่มมีปรากฏใช้ในศตวรรษที่ 17 ไวโอลินมี 4 สายเสียงดังแหลมเล็กกังวาน เป็นเครื่องดนตรีเอกในวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าซึ่งจะใช้ไวโอลินมากที่สุดถึง 32 คันเป็นไวโอลินมือหนึ่ง(First Violin)16 คันเป็นไวโอลินมือสอง (Second Violin) อีก 16 คันไวโอลินมือหนึ่งสีทำนองส่วนไวโอลินมือสองคอยประสาน

วิโอลา [Viola]
ลักษณะเหมือนไวโอลินทุกประการ วิธีการเล่นก็เหมือนกันต้องสังเกตุจึงจะทราบว่ามีขนาดใหญ่กว่าเพียงเล็กน้อยในแง่น้ำเสียงหรือสีสันของเสียง(Tone Color) เกือบเหมือนกันวิโอล่าใช้เล่นเดี่ยวน้อยกว่าไวโอลิน

เชลโล [Cello]
มีลักษณะเหมือนไวโอลิน และวิโอล่า แต่ขนาดโตกว่าประมาณ 3 เท่า เวลาเล่นนักดนตรีต้องนั่งเก้าอี้
เอาเชลโลตั้งไว้หว่างขา เสียงจะต่ำและทุ้มมากโดยเฉพาะสายสาม สายสี่ เชลโลสามารถบรรเลงเพลงเศร้าได้ดีมาก

 

ดับเบิ้ลเบส [Double Bass]
เป็นเครื่องสายที่ใหญ่มาก ใช้เล่นแนวเบส มักไม่ใช้เล่นแนวทำนอง เวลาจะบรรเลงนักดนตรีต้องยืนเล่น
เสียงดังกระหึ่มน่าฟังสามารถทำเสียงต่ำได้ลุ่มลึกน่ากลัว บางทีใช้ดีดเป็นจังหวะดีมาก
นอกจากวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าแล้ว ในวงดนตรีแจ๊สก็นิยมเช่นกัน

ฮาร์พ [Harp]
เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาแต่โบราณ เป็นเครื่องสายที่มีขนาดใหญ่ผู้บรรเลงจะนั่งแล้วใช้นิ้วดีดหรือดึงสายมี 43-47 สายประกอบด้วยสายใหญ่เล็กยาวสั้นแตกต่างกันซึ่งทำด้วยไนล่อนหรือลวดโลหะ, ทองเหลือง ขึงกับหมุดเรียงลำดับเสียงสูง-ต่ำมีประมาณ 6-7 Octave มี Pedal 7 อันใช้เท้าเหยียบเพื่อให้เสียงเป็นไปตามบันไดเสียงต่างๆ

กีต้าร์[Guitar]
ตามประวัติมีกำเนิดจากสเปน แล้วแพร่ไปทั่วโลกปัจจุบันยังยอมรับว่ากีตาร์สเปนมีชื่อเสียงที่สุด
นิยมบรรเลงในวงดนตรีสมัยใหม่ กีตาร์มี 6 สายสายเอก (ที่มีเสียงสูงสุด) ทำด้วยเอ็น หรือไนล่อน
สายอื่นๆ จะทำด้วยไหมพิเศษหุ้มด้วยขดลวดเงินขนาดเล็กปลายสายจะตรึงด้วยหมุดมีปุ่มปรับสายให้ตึงหย่อนตามต้องการต่อมากีตาร์ได้ปรับปรุงเป็นกีตาร์ไฟฟ้า โดยต่อสายจากตัวกีตาร์ไปยังลำโพงและเครื่องขยายเสียง

http://www.lks.ac.th/band/lute20player1.jpg  http://www.lks.ac.th/band/lute1.jpg    http://www.lks.ac.th/band/lute20player2.jpg

 ลูท (Lute) เป็นพิณชนิดหนึ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเครื่องสายประเภทดีด ลูทมีรูปทรงเหมือนผลส้มผ่าซีก มีสะพานวางนิ้วที่มีช่องปรากฏอยู่ เช่นเดียวกับกีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน ฯลฯ ชาวอาหรับโบราณนิยมกันมาก แต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะได้วิวัฒนาการเป็นเครื่องดนตรีอื่น ๆ หลายชนิด

 

แมนโดลิน (Mandolin) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8สาย) หรือ 6 คู่ (12สาย) ตั้งเสียงเท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ในการตั้งเสียง และมีนม (Feat) รองรับสาย เวลาเล่นจะใช้นิ้วมือซ้ายจับตัวแมนโดลินและใช้มือขวาดีด ลักษณะการดีดคล้ายการดีดกีตาร์โดยใข้ปิ๊ค (Pick) เสียงที่เกิดจากแมนโดลินมีความไพเราะเป็นเสียงที่มีคุณภาพ เร้าอารมณ์ได้ดี โดยเฉพาะอารมณ์โศกเศร้าเกี่ยวกับความรัก แมนโดลินมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี เป็นเครื่องดนตรีที่ชาวอิตาเลียนนิยมกับแพร่หลาย ในปี ค.ศ. 1713 ได้มีผู้นำเอาแมนโดลินมาเล่นผสมในวงคอนเสริ์ทในประเทศอังกฤษ

 

 

http://www.lks.ac.th/band/Mandolin.jpg

 

 

แบนโจ (Banjo) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลลูท จุดเริ่มต้นที่มีผู้นำมาเล่นอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก (Western Africa) เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกนิโกร ต่อมาจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันกิโกร วิธีการเล่นคล้ายกับกีตาร์

http://www.lks.ac.th/band/Banjo.jpg

http://www.lks.ac.th/band/Banjo20player.jpg

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

http://www.dsc.ac.th/inweb/student_job/music/3-sakolmain.html

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

 

                     รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาดนตรี (ศ41102) จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันผู้จัดทำหวังว่าผู้ที่ได้ศึกษาอาจได้ความรู้ไม่มากก็น้อย ขอขอบคุณอาจารย์ นรินทร์  ทีหัวช้าง ที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ  ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขอน้อมรับและนำกลับไปแก้ไขในครั้งต่อไป

                                                                  ผู้จัดทำ

                                                                    นางสาวอังคนาง   เหง่าศรี  ม.4/1  เลขที่33

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

เรื่อง                                                                                          หน้า

 

     คำนำ                                                                                                   

      ประวัติของดนตรีสากล

      ประเภทของเครื่องดนตรีสากล

 

ประเภทคีย์บอร์ด

ประเภทประกอบจังหวะ  

ประเภททองเหลือง

ประเภทเครื่องลมไม้

ประเภทเครื่องสาย 

 

      เอกสารอ้างอิง