Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงงานทดลองปุ๋ยหมักรักษ์ดิน

โครงงานทดลอง

  • เรื่อง ปุ๋ยหมักรักษ์ดิน
  • บทคัดย่อ

                            โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ปุ๋ยหมักรักษ์ดิน ”  จัดทำขึ้นเพื่อลดปัญหาใบไม้ร่วงหล่นเต็มบริเวณโรงเรียนและบริเวณบ้าน  คณะผู้จัดทำจึงได้คิดหาวิธีลดปัญหาเหล่านี้ประกอบกับการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชีววิถี ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตรในสมัยปัจจุบัน

                            วิธีหนึ่งที่ทางคณะผู้จัดทำคิดว่าอาจช่วยลดปัญหาลงได้บ้าง คือ การนำใบไม้เหล่านี้มาทำปุ๋ยชีวภาพด้วยชีววิถี  โดยนำใบไม้  หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ   กากน้ำตาล และน้ำสะอาด ผสมรวมกันในถังพลาสติกมีฝาปิดสนิท ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อให้ใบไม้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยชีวภาพที่มีประโยชน์ต่อต้นพืช  ทำให้ต้นพืชเจริญเติบโต แข็งแรง  นอกจากนั้นก็ยังช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน เพิ่มธาตุอาหารให้ดิน กำจัดสารพิษและเชื้อโรคในดิน  ช่วยลดการซื้อปุ๋ยเคมีให้สิ้นเปลืองเงินทอง  และไม่เป็นอันตรายต่อชีวิดอีกด้วย

  • กิตติกรรมประกาศ

                            โครงงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์และคำแนะนำที่ดีจากอาจารย์ทิพวรรณ  แซ่ตั้ง  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน  ขอขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่ที่คอยให้กำลังใจพวกเราคณะผู้จักทำมาโดยตลอด รวมถึงขอบใจเพื่อนสมาชิกในกลุ่มมากๆที่คอยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขอบคุณมากๆค่ะ

คณะผู้จัดทำ

16  กรกฎาคม 2551

  • บทที่ 1
    บทนำ
  • ความสำคัญและที่มาของโครงงาน
  • จุดประสงค์ของโครงงาน
  • ขอบเขตของโครงงาน
  • ระยะเวลาการทำโครงงาน
  • สถานที่ทำโครงงาน
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ความสำคัญและที่มาของโครงงาน

                            เนื่องจากที่โรงเรียนบ้านตาขุนวิทยาและที่บ้านของนักเรียนพบปัญหาใบไม้ร่วงหล่นเต็มพื้นที่โรงเรียนและที่บ้าน   ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงเล็งเห็นถึงปัญหานี้ว่าทำความสะอาดยากมากถ้าใบไม้เหล่านั้นเกิดการทับถมซ้อนกันมากยิ่งขึ้น  และคิดว่าใบไม้เหล่านี้อาจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จึงลองนำใบไม้มาทำปุ๋ยชีวภาพ

                            การทำปุ๋ยชีวภาพสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางชีววิถี  โดยนำใบไม้แห้ง 2  ส่วน กากน้ำตาล 1ส่วน หัวเชื้อกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพหรือ EM  1 ส่วน และน้ำสะอาด 20 ส่วน ผสมรวมกันในถังพลาสติกและปิดฝาให้สนิท  ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน  เราก็จะได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณค่าของธาตุอาหารให้แก่ต้นพืช   การนำปุ๋ยชีวภาพที่ได้ไปใช้นั้นให้ผู้ใช้ผสมกันน้ำสะอาดและฉีดพ่นหรือรดบริเวณโคนรากของต้นพืช  จากนั้นรากก็ จะดูดซับปุ๋ยขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืช ทำให้เจริญเติบโต  ทั้งยังเพิ่มธาตุอาหารในดิน ปรับสภาพดินที่มีความเป็นกรด-ด่างให้มีสภาพเป็นกลาง    ที่สำคัญยังประหยัดค่า

   ใช้จ่าย ไม่ต้องไปซื้อปุ๋ยเคมีในท้องตลาดและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย

  • จุดประสงค์ของโครงงาน
  • ลดปัญหาใบไม้ร่วงหล่นเต็มบริเวณโรงเรียนและบริเวณบ้าน
  • เพื่อลดการซื้อและใช้ปุ๋ยเคมี
  • เพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชน
  • ขอบเขตของโครงงาน
  • โรงเรียนบ้านตาขุนวิทยา
  • บ้านของนักเรียนในกลุ่ม
  • ระยะเวลาและสถานที่ทำโครงงาน 
  • ระยะเวลาการทำโครงงาน              15  วัน
  • สถานที่ทำโครงงาน                บ้านของนักเรียนในกลุ่ม 
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                            ได้ปุ๋ยชีวภาพประเภทน้ำหมักชีวภาพที่มีประสิทธิภาพและสามารถบำรุงต้นพืชได้ดี พืชเจริญ เติบโต  แข็งแรง

  • บทที่ 2
    เอกสารที่เกี่ยวข้อง

อีเอ็ม  (EM)  คืออะไร....?

                            EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

              มี 3 กลุ่ม คือ  1.  กลุ่มสร้างสรรค์เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพมีประมาณ 10 %

              2. กลุ่มทำลายเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10 %

                                       3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 %

              จุลินทรีย์มี 2 ประเภท คือ ประเภทต้องการอากาศ และ ประเภทไม่ต้องการอากาศ จุลินทรีย์ทั้ง  2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้

ลักษณะทั่วไปของ EM

                            EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ  เรียกว่ากลุ่มธรรมะ  ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็น สิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้

  • ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
  • ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
  • เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและ ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
  • เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
  • EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
  • เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

การดูแลเก็บรักษา

  • หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝา ให้สนิท
  • อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และ อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
  • ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปปะปน
  • การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ

  • หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชชพืชที่ไม่ต้องการได้
  • กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
  • เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

ปุ๋ยชีวภาพ

                            น้ำหมักชีวภาพเมื่อนำไปใช้ในด้านกสิกรรมจะช่วยปรับสภาพความเป็น กรด - ด่างให้เป็นกลางในดินและน้ำช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ  ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสมช่วยย่อยสะลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นอาหารของพืช พืชจะดูดซึมไปใช้ได้เลยและช่วยให้ผลผลิตคงทน  มีคุณภาพสูง สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 

                            เมื่อนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ทางการประมงจะช่วยปรับสภาพน้ำให้เป็นกลาง ควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กุ้ง กบได้ และช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

                            ถ้านำไปใช้ในด้านปศุสัตว์จะทำให้มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น สุขภาพของสัตว์จะแข็งแรงและปลอดโรค คอกสัตว์จะไม่มีกลิ่นเหม็น ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ ทำให้อัตราการตายต่ำลง และผลผลิตสูงขึ้น

ปุ๋ยชีวภาพ (ต่อ)

                            เมื่อนำน้ำหมักชีวิภาพไปประยุกต์ใช้ในด้านรักษาสิ่งแวดล้อมจะช่วยกำจัดกลิ่นและย่อยสลายตะกอนในส้วมทำให้ส้วมไม่เต็ม  ทำความสะอาดพื้นห้องการเกษตร  ประมง  ปศุสัตว์  โรงงานอุตสาหกรรม  ชุมชนและสถานประกอบการทั่วๆ ไป   ปรับสภาพอากาศภายในห้องนอน  ห้องรับแขก  ห้องครัว  ให้สดชื่นกำจัดกลิ่นอับชื้นต่างๆ ได้   นอกจากนี้ยังให้ฉีดพ่นกองขยะเพื่อลดกลิ่นและปริมาณของกองขยะให้เล็กลงรวมทั้งจำนวนแมลงวันด้วย

                            ส่วนทางด้านการแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพพลานามัย การเจ็บไข้ได้ป่วยและการตายก่อนวัยอันสมควร ก่อนอายุขัย น้ำหมักชีวภาพจะช่วยผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างซึ่งจะทำให้อาหารนั้นเป็นยารักษาโรคไปพร้อมๆ กันซึ่งจะลดการเจ็บไข้ได้ป่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคป้องกันการตายก่อนอายุขัยได้

                            เกี่ยวกับปัญหาความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรนั้น น้ำหมักชีวภาพจะเข้ามาแทนที่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงและเชื้อโรคต่างๆ จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 4 -16 เท่าและผลผลิตจะสูงขึ้น 3 - 5 เท่าภายใน 3 -5 ปี  จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมากและรายจ่ายน้อยลงมากในที่สุดปัญหาความยากจนและหนี้สินก็จะหมดไปภายในเวลาไม่เกิน 6 ปี

                            ทางด้านการทะเลาะวิวาทบาดหมางกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นจะหมดไปเองเพราะไม่มีกลิ่นและมลภาวะไปรบกวนซึ่งกันและกันอีกทั้งฐานะก็ใกล้เคียงกันคืออยู่ดีกินดี มั่งมี ศรีสุข เนื่องจากหมดหนี้สิน

การประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพ

                            ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง   และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ  International Nature Farming Reserch Center Movement  (INFRC)  JAPAN,   EM  Research  Orgnization (EMRO) JAPAN,  International  Federation  of  Agriculture  Movement  (IFOAM) GERMANY เป็นต้น     และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรัฐอเมริกา    ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ให้คำรับรอง เมื่อ  คศ. 1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์  (Microbial Innoculant)   ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100 %    สำหรับในประเทศไทยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข  ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์  EM ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์จึงสามารถนำ   EM    ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ อาทิ  ใช้กับพืชทุกชนิด ใช้กับการปศุสัตว์ ใช้กับการประมง  ใช้กับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

วัตถุประสงค์หลักของการใช้ปุ๋ยชีวภาพ

  • ลดต้นทุนการผลิต
  • ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม
  • ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี
  • สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี
  • ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภค พัฒนาคุณภาพชีวิต
  • เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้

ประโยชน์ของน้ำสกัดชีวภาพ

  • ใช้เป็นปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหาร เร่งการเจริญเติบโตของพืช
  • ใช้เป็นหัวเชื้อผลิตปุ๋ยชีวภาพ
  • ใช้ผลิตฮอร์โมนพืช
  • ผสมกับน้ำ หรืออาหารให้สัตว์กิน
  • ผสมน้ำหยอดจมูกเป็ด ไก่  แทนวัคซีน
  • ใช้กำจัดสารพิษที่ตกค้างในดิน กำจัดเชื้อโรคต่างๆ
  • ช่วยลดการระบาดของหนอน แมลงศัตรูพืช
  • ช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี

การนำไปใช้และวิธีการเก็บรักษา

การนำไปใช้

                            น้ำสกัดชีวภาพ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำ 10 ลิตร ผสมละลายให้เข้ากัน ใช้ฉีด รด ราด พืชผัก ผลไม้ ไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ นาข้าว เป็นประจำ จะช่วยเร่งการเจริญเติบโต ลดโรคระบาด และแมลงศัตรูพืช

วิธีการเก็บรักษา

                            หลังจากกรองใส่ขวดแล้วสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานประมาณ 3 เดือน (น้ำสกัดชีวภาพที่ดีจะมีสีคล้ำ กลิ่นหอม ถ้ามีกลิ่นเหม็น แก้ไขโดยการเติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง)

  • บทที่ 3
    วิธีการดำเนินการทดลอง

วิธีการทดลอง

1. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

              1.1 ใบไม้  2  ส่วน

              1.2  ถังพลาสติก 1  ถัง

              1.3  กากน้ำตาล  1  ส่วน

              1.4  หัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM 1 ส่วน

              1.5  น้ำสะอาด   20  ส่วน

              1.6  ถุงมือยางสำหรับผสมส่วนต่างๆให้เข้ากัน

2. วิธีการทดลอง

              2.1 นำใบไม้แห้งที่เตรียมไว้ใส่ลงในถังพลาสติก

              2.2 ใส่กากน้ำตาล 1 ส่วนลงไป

              2.3  ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM 1 ส่วน ลงไป

              2.4  เติมน้ำสะอาด 20 ส่วนลงในถัง แล้วผสมส่วนต่างๆให้เข้ากัน2.5  ปิดฝาให้สนิทแล้วทิ้งไว้ประมาณ  7 วัน

  • บทที่ 4
    ผลการทดลอง

                            จากการทดลองทำปุ๋ยชีวภาพจากใบไม้ด้วยชีววิถี    ทำให้ได้ปุ๋ยชีวภาพประเภทน้ำหมักชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ สามารถบำรุงต้นพืชได้ดี  พืชเจริญเติบโต  แข็งแรง  ช่วยประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ยเคมี

  • บทที่ 5
    สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง

                            จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยหมัก รักษ์ดิน    ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางชีววิถีในการทำปุ๋ยหมักชีภาพ ที่สามารถรักษาและปรับสภาพของดิน  เพิ่มแร่ธาตุอาหารในดิน ช่วยให้ต้นพืชเจริญเติบโต แข็งแรง

                            ข้อเสนอแนะ คือ ในการทดลองทำปุ๋ยหมักชีวภาพนอกจาก จะใช้ใบไม้ในการทดลองของโครงงานชิ้นนี้แล้ว ก็ยังมีวัสดุอื่นๆ อาทิเช่น  เศษอาหาร ผักผลไม้ หรือแม้แต่เนื้อสัตว์ เป็นต้นก็ยังสามารถนำมาทำปุ๋ยชีวภาพประเภทน้ำหมักนี้ได้เช่นกัน

  • เอกสารอ้างอิง
  • www.chivavithee.com
  • www.clinictech.most.go.th
  • ประวัติผู้ศึกษา

                            นางสาวเพียงใจ  ปาละคเชนทร์ เกิดวันที่  9  เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ  2533  วุฒิการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 6  ณ  โรงเรียนบ้านปากทำเรียง มัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนบ้านตาขุนวิทยา  ปัจจุบันกำลังศึกษา ณ โรงเรียนบ้านตาขุนวิทยา  ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6  ช่วงชั้นที่ 4  ห้อง 1  สาขา วิทย์-คณิตฯ

                            นางสาวอาชิตะ  ชัยธรรม  เกิดวันที่ 13  เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2533  วุฒิการศึกษา  ประถมศึกษาตอนปลาย  ถึง มัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนอุปถัมภ์วิทยาพนม   ปัจจุบันกำลังศึกษา ณ  โรงเรียนบ้านตาขุนวิทยา  ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6  ช่วงชั้นที่ 4  ห้อง 1  สาขาวิทย์-คณิตฯ