1
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
หลอดไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แสงสว่างมีความสำคัญต่อการดำรงค์ชีวิตมนุษย์ แบ่งได้ 3 ชนิด
1.หลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา | 2.หลอดเรื่องแสง | 3.หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ |
1. หลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา(Incandescent Lamp)
หลอดไฟฟ้าแบบธรรมดาหรือหลอดอินแคนเดสเซนต์ เป็นหลอดชนิดที่ใช้ใส้หลอดเป็นตัวเเปล่งแสง
ไส้หลอดทำมาจากทังสเตนซึ่งมีจุดหลอมเหลวสูง เมื่อได้รับความร้อนไส้หลอดจะร้อนแดงสว่างขึ้นมา
แต่มีข้อเสียคือ ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าตลอดเวลา จึงเป็นผลทำให้สิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้า ต้องจ่ายค่าไฟฟ้ามากขึ้น
นอกจากนั้นไส้หลอดที่ทำมาจากทังสเตนเป็นโลหะจะทำปฏิกริยากับออกซิเจน ทำให้เกิดออกไซด์ ของโลหะ
ทีเรียกว่าสนิม ทำให้หลอดขาดเร็ว ดังนั้นหลอดธรรมมดาจึงทำให้หลอดเป็นสูญกาศ
และบรรจุก๊าซเฉื่อย(แก๊ซไนโตเจน และแก๊ซอาร์กอน) เพื่อป้องกันสนิมที่ไส้หลอดและยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
แสดงวงจรการทำงานของหลอดแบบธรรมดา
วงจรแสดงการทำงานของหลอดแบบธรรมดา
2.หลอดเรื่องแสง
หลอดเรืองแสงหรือที่รู้จักกันในชื่อ หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluuorescent Lamp) มีองคค์ประกอบที่สำคุญคือ
2.1ตัวหลอด
2.2 สตาร์ทเตอร์
2.3 บัลลาสต์
2.1ตัวหลอด
2.1 ตัวหลอด
มีลักษณะคล้ายกับหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา คือเป็นหลอดสูญญากาศ แต่งมีหลักการทำงาน
แตกต่างกันออกไป สีและแสงสว่างที่เห็นเกิดจากก๊าซที่เกิดจากก๊าซ ที่บรรจุเข้าไปข้างในหลอดไม่ได้เกิด
จากไส้หลอดเหมือนกับหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา ดังตาราง
|
ไล้หลอดเรืองแสง ทำหน้าที่เพียงกระตุ้นให้อิเล็คตรอนของก๊าซเฉื่อยเคลื่อนที่ชนสารที่เคลือบหลอด
ทำให้เกิดแสงสว่าง เมื่อเป่ลงแสงแล้วไส้หลอดต้องการกระแสไฟฟ้า เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ดังนั้นหลอดเรืองแสงจึงประหยัดไฟฟ้ามากกว่าแบบหลอดธรรมดา
2.2 สตาร์ทเตอร์
สตาร์ทเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในการจุดไส้หลอดให้ร้อน เพื่อให้อิเล็กตรอนวิ่งชน |
2.3 บัลลาสต์
บัลลสต์ หรือเรียกว่า Coke Coil ประกอบด้วยลวดทองแดงพนรอบแกนเหล็ก |
วงจรหลักการทำงานของหลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซ็นต์
การต่อวงจรและการทำงานของหลอเดฟลูออเรสเซ็นต์
ชนิดของหลอฟลูออเรสเซ็นต์
ภาพหลอดฟลูออเรสเซ็นต์แบบต่างๆ |
|
2.Trigger Staring Lamp (TSL) เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์กลม (Circline Lamp)หลอดที่ไม่มีสตาร์ทเตอร์
ทำหน้าที่จุดไส้หลอดให้ร้อนแต่อาศัยบัลลาสต์ในการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อเกิดแสงสว่าง
เป็นหลอดที่ใช้กำลังไฟฟ้าเพียง15-20วัตต์เท่านั้น
3.Rapid Staring Lamp (RSL) เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ ทีี่ีมีลักษณะคล้ายกับหลลอดTSL แต่มีคุณภาพ
ดีกว่า ไม่มีสตาร์ทเตอร์จุดไส้หลอดให้ร้อนแต่อาศัยบัลลาสต์ในการเหนี่ยวนำ ให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น
และเพิ่มอุปกรณ์พิเศษ คือ Heating Coil อยู่ในตัวเพื่อเพิ่มกระแสไฟฟ้าในการเริ่มทำงานครั้งแรก
4. Instant Staring Lamp(ISL)เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่ไม่มีสตาร์ตเตอร์ในการจุดใ้ส้่หลอดให้ร้อน
อีกชนิดหนึ่ง แต่มีบัลลาสต์ที่มีขดลวดสองชุดเหนี่ยวนำทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นเมื่อไส้หลอดร้อน
อิเล็คตรอน ก็จะวิ่งไปขั้วอีกข้างหนึ่งโดยอาศัยก๊าซเฉื่อยเป็นตัวนำจากนนั้นหลอดจะติดสว่างโดย
สารเรืองแสงที่ฉาบอยู่บนผิวหลอด
5.Simling Lamp(SL) เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่รวมเอาข้อดีของหลอดISLและหลอดPL มารวมกัน
เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย ในการใช้งานเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยการทำหลอดแก้วให้ยาวบางขนาดเล็ก
มีลักษณะเป็นรูปตัว U โดยจะบรรจุอยู่ในหลอดแก้วอีกชั้นหนึ่งภายในประกอบด้วยบัลลาสต์และสตาร์ตเตอร์
หลอดแบบนี้จะให้แสงสว่างสูงกว่าหลอดใส้ที่มีขนาดวััตต์เท่ากัน เหมาะกับงานประดับตกแต่งหรือโชว์สินค้า
6.Compact Fluorescent Lamp (CFL) เปป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่มีรูปทรงแบบตัวใช้บัลลาสต์
ในการจุดไส้หลอดให้ร้อน แต่ไม่มีสตาร์ตเตอร์ นิยมนำมาใช้ประดับตู้โชว์สิน้ค้าโคมไฟฝังเพดาน
โคมไฟกิ่งในซอย
แสดงวงจรหลอดเรืองแสงแบบประหยัดพลังงาน
พัดลม(Electric Fan)
พัดลมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรานำมาใช้เมื่อรู้สึกร้อน พัดลมมีหลายแบบขนาด และมี รูปร่างแตกต่างกัน
แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต แต่ระบบการทำงานและส่วนประกอบของพัดลมเกือบทุกชนิดคล้ายคลึงกัน
พัดลมตั้งพื้น | พัดลมตั้งโตะ | พัดลมติดพนัง | พัดลมเพดาน | พัดลมดูดอากาศ |
ส่วนประกอบที่สำคัญของพัดลมมีดังนี้
1. มอเตอร์
2.ใบพัด
3.อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว
4.ออสซิลเลติ้ง แมคคานิซึม (Oscillating Mechanism)
ข้อบกพร่องของพัดลม
ส่วนประกอบของพัดลมที่เป็นส่วนประกอบที่ชำรุดมากที่สุดมีอยู่ 4 ประการคือ
1.พัดลมไม่ทำงาน
2.อุปกรณ์ควบคุมความเร็วไม่ทำงาน
3.พัดลมทำงานแต่มีเสียงดัง
4.ออสซิลเลติ้ง แมคคานิซึม (Osecillating Mechanism)ไม่ทำงาน
การแก้ไข
1.พัดลมไม่ทำงาน การทำงานที่พัดลมไม่ทำงานอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1.1เกิดจากใบพัดไม่หมุน ให้ตรวจแกนใบพัดที่สวมอยู่มีการขับสกรูแน่นมากไปหรือไม่หากขันสกรู
แน่นมากไปให้คลายสกรูออก แล้วทดลองหมุนใบพัดใหม่ ถ้าใบพัดหมุนได้คล่องแคล่วแสดงว่ามีสาเหตุ
มาจากากรขันสกรูแน่นมากไป
1.2ตลับลูกปืน ให้ตรวจรอยร้าว หรือรอยแตกของตลับลูกปืน ถ้าพบให้เปลี่ยนใหม่ก่อนทำการประกอบ
ควรทำความสะอาดและหยดนํ้ามัน เพื่อให้ตลับลูกปืนทำงานได้คล่องแคล่วดีขึ้น
1.3ปลั๊กเสียบหรือสายไฟขาด
1.4 ตรวจสอบการลัดวงจรภายในพัดลม โดยใช้โอห์มมิเตอร์ วัดที่ขาปลั๊กทั้งสองข้าง ถ้าเข็มของ
เครื่องไม่ขึ้นเลยหรือขึ้นไม่ถึง 0 แสดงว่าเกิดการลัดวงจร ถ้าเข็มของโอห์มมิเตอร์บอกค่าจำนวนโอห์มได้
แสดงว่าไม่เกิดการลัดวงจร
2.อุปกรณ์ควบคุมความเร็วไม่ทำงาน อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ใต้ฐานของเครื่องและสามารถถอดออกได้ง่าย
การตรวจสอบให้ดูที่จุดสัมผัสในสวิตช์และตรวจสอบการลัดวงจร โดยใช้โอห์มมิเตอร์ถ้าพบอุปกรณ์ชำรุด
หรือลัดวงจรให้เปลี่ยนใหม่ทันที
3.พัดลมทำงานแต่เสียงดัง เสียงที่เกิดจากพัดลมขณะที่พัดลมทำงาน อาจมีสาเหตุหลายประการ
เช่นใบพัดไม่สมดุล แก้ไขโดยการดัดใบพัดให้โค้งงอ โครงที่คลุมใบพัดเกิดการบุบ ขาด หรือยึดไม่แน่น
ก็ทำการแก้ไขให้เรียบร้อย หรรรืออาจเกิดจากตลับลูกปืนภายในพัดลมหลวมแก้ไขโดย
การเปลี่ยนตลับลูกปืนใหม่ และหยดนํ้ามันให้เรียบร้อย
4.ออสซิลเลติ้งแมคคานิซึม (Oscillating Mechanism) ไม่ทำงาน
ออสเลติ้งแมคคานิซึม (Oscillating Mechanism)เป็นกลไกลที่ทำให้พัดลมเกิดการส่ายไปส่ายมาได้
ชุดออสซิลเลติ้ง แมคคานิซึม ประกอบด้วย ตัวหนอนที่ติดอยู่ด้านหลังของมอเตอร์ ตัวหนอนติดกับ
เฟืองเกียร์ และติดกับเพลาข้อเหวี่ยงซึ่งมีโลหะแผ่นแบนและกลมคล้ายจานติดอยู่ทางด้านล่างสุด
แผ่นดังกล่าวติดอยู่กับปลายข้อเหวี่ยง ด้วยการหมุนของแผ่นโลหะคล้ายจานดังกล่าว ทำให้พัดลม
ส่ายไปมาได้การแก้ไขทำได้โดยการแยกส่วนประกอบออกทีละชิ้น เพื่อทำความสะอาด
และหยด นํ้ามันเฉพาะส่วนที่เคลื่อนที่ทาด้วยจาระบีก่อนประกอบเข้าที่เดิม
พัดลมไฟฟ้ามาตรฐาน
พัดลมไฟฟ้าซึ่งมีอยู่มากมายในท้องตลาด อาจจะทำความลำบากให้กับผู้ซื้อ เพราะไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อยี่ห้อไหนดี
สิ่งที่จะช่วยท่านได้ คือการสังเกตเครื่องหมายมาตรฐานที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ เพราะเป็นพัดลมไฟฟ้าที่ผ่าน
การรับรอง คุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งมีข้อดีหลายประการ คือ
1.มีระบบการป้องกันไฟฟ้าช็อกที่ไว้ใจ
2.มีการป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับส่วนที่มีกระแสไฟฟ้าอย่างไว้ใจได้
3.พัดลมไม่ไหม้เสียหายจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เพราะจะไม่สูงเกินค่าที่กำหนดไว้
4.กระแสไฟฟ้ารั่วได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิแอมแปร์ ทำให้ไม่มีอันตรายแก่ผู้ใช้
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อ
1.ลองเครื่อง เพื่อดูว่าใช้งานได้ดีหรือไม
2.ดูกลไกการส่าย, หมุน, ปรับส่ายเร็วที่สุด , ต่ำที่สุด
3.สวิตช์ปิดและเปิด เปลี่ยนอัตราความเร็วใช้งานได้ดี
4. ควรเลือกที่มีเครื่องหมายเฉพาะด้านความปลอดภัย
5..ควรเลือกขนาดและชนิดที่เหมาะกับการใช้งาน และมีราคาที่พอเหมาะกับวัสดุที่ใช้ในการผลิตด้วย
|
ส่วนประกอบของตู้เย็น
1.ตู้เย็น
2.แผงความเย็น
3.แผงความร้อน
4.คอมเพรสเซอร์
5.ฉนวนกันความร้อน
6.อุปกรณ์อื่นๆ เช่นหลอดไฟ หลอดฆ่าเชื้อโรค เทอร์โมสตัท พัดลมกระจายความเย็นเป็นต้น
1.ตัวตู้เย็น ทำด้วยเหล็กและฉีดโฟมให้อยู่ระหว่างกลาง เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อนจากภายนอก
เข้าสู่ตัวตู้เย็นด้านใน มีการพ่นสีทั้งภายในและภายนอกตู้เย็น เพื่อให้เกิดความสวยงามสีที่ใช้พ่น
ในตัวตู้เย็นนิยมใช้สีเคลือบแข็ง ซึ่งทนต่อกรดและเบส ทำความสะอาดง่าย ส่วนภายนอกตัวตู้เย็น
จะพ่นสีธรรมดาพวกแลกเกอร์(Lacquer) หรือสีธรรมดาพวกอีนาเมล(Ennamel) ขนาดของตัวนำ
ตู้เย็นจะวัดขนาดเป็นลูกบาศก์เดซิเมตร (ลบ.ดม.)หรือที่เรียกว่าคิว เช่นตู้เย็น
ขนาด113ลูกบาศก์เดซิเมตรเท่ากับ 4คิว หรือตู้ขนาด142ลูกบาศก์เเดซิเมตรเท่ากับขนาด5คิวเป็นต้น
2.แผงความเย็น(Evaporrator) ทำหน้าที่กระจายความเย็นให้กับตู้เย็นแผงความเย็นนี้จะอยู่ในตู้เย็น
3.แผงความร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นที่อยู่ภายในท่อ
เพื่อให้เกิดการกลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่งแผงความร้อนจะอยู่ด้านหลังตู้เย็น
4.คอมเพรสเซอร์(Compressor) ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็น(Refrigerant)ให้หมุนเวียน
อยภายู่ในตู้เย็น เมื่อความเย็นถึงระดับที่ตั้งไว้ คอมเพรสเซอร์จะหยุดการทำงานชั่วคราว และเมื่อ
อุณหภูมิภายในตู้เย็นสูงขึ้น คอมเพรสเซอร์จะเริ่มทำงานอีกครั้ง ทำให้ประหยัดไฟฟ้าและค่าใช้จ่าย
สารทำความเย็นที่นำมาใช้ต้องไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้อักษรย่อตัว R
แทนสารทำความเย็น และตัวเลขแทนชนิดของสารทำความเย็น
|
5.ฉนวนกันความร้อน เป็นโฟมหรือยางนุ่มๆ อยู่ระหว่างประตูกับตัวตู้เย็นหรือแทรกอยู่ระหว่างแผ่นเหล็ก
ที่นำมาทำตัวตู้เย็น ทำหน้าที่ป้องกันความเย็นในตู้เย็นไม่ให้รั่วไหลออกสู่ภายนอก
6.อุปกรณ์อื่นๆเช่น
6.1หลอดฆ่าเชื้อโรคจะอยู่ภายในตู้เย็นอาจจะใช้หลอดอุลต้าไวโอเลต(Ultraviolet Lamp ) หรือหลอด
เจอร์มิชิดอล (Germicidal Lamp) ทำหน้าที่ ทำลายเชื้อโรคและไข่พยาธิที่อาจติดมากับอาหาร
6.2เทอร์โมสตัท เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ในคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ปิดและเปิดวงจรไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์
ให้ทำงานหรือหยุดการทำงาน ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้
6.3 หลอดไฟฟ้าทำหน้าที่ให้แสงสว่างเมื่อเวลาเราปิดเปิดตู้เย็น
6.4 พัดลมกระจายความเย็น ทำหน้าที่กระจายความเย็นจากแผงความเย็นให้ทั่วถึงกันทุกบริเวณในตู้เย็น
การดูแลรักษาตัวตู้เย็น
1.ประตูตู้เย็นต้องปิดสนิท อย่าเปิดตู้เย็นบ่อยๆโดยไม่จำเป็น
2.ทำให้อาหารเย็นก่อนที่จะเก็บเข้าตู้เย็น
3.ใช้อุณหภูมิให้ถูกต้องกับการเก็บสิ่งของ
4.การละลายนํ้าแข็งออกจากช่องฟริชเซอร์ ต้องไม่ใช้เครื่องมือใดๆงัดนํ้าแข็ง
5.ไม่ควรปิดเปิดตู้เย็นไว้เวลานานๆ
การแก้ไขข้อขัดข้องที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบทำความเย็นของตู้เย็น
สาเหตุข้อขัดข้องและการแก้ไข
1.เครื่องหยุดเดินหรือไม่ทำงาน
อาจมีสาเหตุมาจาก
1.1ฟิสว์ขาดหรือต่อไม่แน่น แก้ไขโดยการเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ หรือกดฟิวส์ให้แน่น
1.2 สายไฟฟ้าชำรุดหรือขาด แก้ไขโดยเปลี่ยนสายไฟ้าหรือหัวเสียบสายใหม่
1.3 สายไฟคอมเพรสเซอร์เทอร์โมสตัทขาดหรือหลุดหลวม แก้ไขโดยซ่อมหรือเปลี่ยนสายไฟใหม่
1.4ตัวเก็บประจุชำรุดแก้ไขโดยเปลี่ยนตัวเก็บประจุใหม่
2.มีเสียงดังรบกวนเวลาใช้งาน
อาจมีสาเหตุมาจาก
2.1สลักยึดที่ตั้งคอมเพรสเซอร์หลวมแก้ไขโดยการขันสกรูให้แน่น
2.2 ตู้เย็นตั้งไม่ตรง แก้ไขโดยจัดตั้งให้ตรง
3.ช่องเก็บอาหารมีอุณหภูมิสูงมากเกินไป
อาจมีสาเหตุมาจาก
3.1ประตู้ปิดไม่แน่น แก้ไขโดยปรับที่ตั้งตู้เย็น แก้ไขผนังตู้
3.2 มอเตอร์พัดลมหยุดทำงาน การแก้ไขทำการซ่อมหรือเปลี่ยนแปลงใหม่
3.3 อากาศไหลผ่านช่องเก็บอาหารไม่สะดวกการแก้ไขตรวจสิ่งกรีดขวางของอากาศจากช่องนํ้าแข็ง
ลงมายังช่องเก็บอาหาร
3.4 เทอร์โมสตัทไม่ทำงาน การแก้ไขให้ปรับปุ่มขยายเวลาในการทำงานให้ยาวขึ้นหรือเปลี่ยนใหม่
3.5 หลอดไฟฟ้าในตู้เย็นเปิดตลอดเวลา การแก้ไขให้ตรวจดูที่สวิตช์
3.6 นํ้าแข็งหนาแน่นทำให้การถ่ายเทความร้อนในระบบช้าลง
4. เครื่องเดินไม่ค่อยเย็น
อาจมีสาเหตุมาจาก
4.1 ตั้งเทอรณ์โมสตัทไว้ไม่ดี การแก้ไขตรวตั้งระดับความเย็นใหม่
4.2 คอมเพรสเซอร์ไม่ดี การแก้ไข การแก้ไขตรวจตั้งระดับความร้อนขึ้นมาใหม่
4.3 มีความชื้นอยู่ในสารความเย็น การแก้ไขใส่ที่ดูดความชื้นลงไปในสารความเย็น
4.4 มีการอุดตันในวงจรสารทำความเย็น การแก้ไขตรวจการไหบของสารทำความเย็น