การเชิดสิงโตตรุษจีน
จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี
ชาวจีนมีความเชื่อกันว่า ผู้ใดได้ชม จะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคล จึงได้มีการสืบทอดการแสดงมากว่าพันปี ในสมัยก่อน
การเชิดสิงโตที่นิยมแสดง มี 2 ประเภท ได้แก่
การเชิดสิงโตแบบโบราณ คือ การแสดงกายกรรมต่อตัว และ การเชิดสิงโตแบบปีนกระบอกไม้ไผ่ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกหนึ่งประเภท ได้แก่ การเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบเอเชีย อาทิ จีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทย โดยปัจจุบันการเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยนี้ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่ง และได้รับการจัดไว้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อีกด้วย และในเทศกาลตรุษจีนรับปีหมูทองนี้
เกร็ดความรู้เรื่องการเชิดสิงโต
การเชิดสิงโตเป็นประเพณีของชาวจีน โดยเชื่อว่าเป็นการตัดสิ่งอัปมงคลและนำความเป็นสิริมงคลมาสู่พื้นที่ สิงโตที่เชิดนั้น แต่โบราณมีการเชิดกันตามความเชื่อ และมีลักษณะต่างกันไปตามพื้นที่ของแต่ละที่ แต่ความเป็นมาที่คล้ายกันคือเป็นรูปทรงสิงโตที่เลียนแบบจากสิงโตทางเหนือซึ่งได้รับอิทธิพลจากต่างถิ่นของประเทศจีน
สิงโตในท้องถิ่นของจีน
แต่เดิมจะมีรูปทรงและสีสันไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่ที่ถือเป็นแพร่หลายที่สุดคือสิงโตแถบมณฑลกวางตุ้ง ที่ส่วนใหญ่สังกัดสำนักกังฟูและต่อมาก็ได้รับการเผยแพร่สู่นอกประเทศโดยสำนักกังฟูต่าง ๆแต่เดิมสิงโตแต่ละท้องถิ่นจะเชิดกันโดยอาศัยความสูงเป็นข้อบ่งชี้ความสามารถของทีมสิงโต และแสดงเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของเจ้าภาพที่จัดขึ้น ต่อมาได้มีกลุ่มประเทศที่อยู่ภาคพื้นเอเชีย ได้ก่อตั้งสหพันธ์สิงโตนานาชาติขึ้น และกำหนดวิธีการแข่งขันสิงโตเป็นลักษณะสากลนิยม ด้วยการแสดงความสามารถของเทคนิกการเชิดสิงโตบนเสาต่างระดับสิงโตได้รับการพัฒนาโดยชาวจีนโพ้นทะเลในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากได้วิวัฒนาการเป็นกีฬา โดยมีการแข่งขันระดับนานาชาติตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 2 ณ เมืองมาเก๊า เป็นครั้งแรกปัจจุบันกีฬาสิงโตได้บรรจุเป็น Event หนึ่งของกีฬาวูซู ที่แข่งขันในกีฬาแห่งชาติ
ประวัติความเป็นมาของสิงโต
สิงโตได้เข้ามาในรัชสมัยของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งชาวจีนใน สมัยนั้นได้เข้ามาค้าขายในแผ่นดินสยามและเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาชาวจีนเหล่านั้นได้ทำสิงโตมาเชิดแสดงต่อหน้าพระที่นั่งให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงทอดพระเนตร เพราะความเชื่อของชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดได้ชมการเชิดสิงโตจะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง เป็น สิริมงคล นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการแสดงสิงโตก็ได้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันประมาณ 400 กว่าปีแล้ว
ส่วนการแสดงสิงโตในเมืองไทยที่นิยมแสดงมีอยู่ 2 ชนิด
คือ ชนิดแบบโบราณ คือ การแสดงแบบกายกรรมต่อตัว และ ปีนกระบอกไม้ไผ่ ที่เรามักเห็นกันทั่วไป ซึ่งการแสดงเชิดสิงโตในประเทศจีน คณะสิงโต จะสังกัดค่ายมวย เพราะผู้แสดงต้องฝึกวิชากังฟู เนื่องจากผู้เชิดจะต้องแสดงลีลาประกอบการเคลื่อนไหวท่วงท่าของวิชามวยจีน ช่วงล่างต้องมีความแข็งแกร่ง ส่วนในเมืองไทยสิงโตไม่ได้สังกัดสำนักมวยเหมือนอย่างประเทศจีน แต่จะขึ้นอยู่กับศาลเจ้าบ้าง วัดบ้าง การฝึกสอนก็อาศัยจากรุ่นพี่สอนรุ่นน้องในปัจจุบันการเชิดสิงโตได้มีการพัฒนาขึ้นอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ การเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย ซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างมากในแถบเอเซีย อาทิ ประเทศจีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทยด้วย ในปัจจุบัน การแสดงเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยถูกปรับให้เป็นกีฬาแล้ว และถูกบรรจุในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์และกีฬาแห่งชาติ หลังจากเป็นกีฬาสาธิตอยู่หลายปี
เชิดสิงโต เป็นการละเล่นของชาวจีนเหนือ และจีนใต้ ทางเหนือนิยมเล่นกันในช่วงตรุษจีน ส่วนทางจีนใต้นิยมการเชิดสิงโตมากกว่า นอกจากจะเล่นกันในช่วงมีงานแห่เจ้าแล้ว แม้แต่พิธีเซ่นสังเวยเพื่อขอฝนหลังงานเทศกาลงานชุนนุมใหญ่ ก็จะต้องมีรายการเชิดสิงโตด้วย
การเชิดสิงโตของชาวจีนใต้ครึกครื้นและโลดโผนกว่าทางเหนือมากนัก เมื่อใกล้ถึงวันตรุษจีน ก็จะมีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งจัดให้มีการเชิดสิงโต ซึ่งเรียกว่า “ ซิ่งฮุ่ย” โดยไปขอเงินบริจาคจากพวกคหบดี และก็จะมีอีกกลุ่มหนึ่งจัดเครื่องดนตรี และเตรียมทำตัวสิงโตสำหรับวันงานเมื่อเตรียมงานแล้วผู้จัดงานก็จะประกาศเส้นทางที่ขบวนสิงโตจะผ่านให้ชาวบ้านทราบ
พอวันงานมาถึงหัวหน้าทีมจะนำเอาสิงโตไปแสดงความเคารพต่อคหบดี และมือกลองก็เริ่มตีกลอง จากนั้นก็เริ่มแสดงการเชิดสิงโต เมื่อมีบ้านใดนำเอาซองรางวัลไปแขวนไว้บนยอดไม้ ยิ่งสูงเท่าใด ผู้แสดงก็ต้องต่อตัวกันขึ้นไปเพื่อเอาซองรางวัลนั้น การเชิดสิงโตแบบนี้เรียกว่า “ ซิ่งจือไชชิง”
สิงโตที่เชิดนี้มักทำด้วนแกนไม้ไผ่ปะด้วยกระดาษสี แล้วใช้ผ้าปักไหมทำเป็นตัวสิงโต มีการเชิดอีกแบบหนึ่งที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่า เรียกว่าชุดสิงโตกินประทัด เนื่องจากการเชิดชุดนี้ สิงโตต้องกินประทัดตลอดเวลา ดังนั้นหัวสิงโตจึงต้องทำด้วยวัสดุแบบใหม่ คือใช้ดินเหนียวพอกลงบนแกนไม้ไผ่ แล้วติดด้วยกระดาษเสา ส่วนตัวมังกร ก็ทำด้วยผ้าลายราคาถูก ๆ ผู้เชิด สิงโตไม่ใส่เสื้อ ใส่แต่กางเกง ใส่รองเท้าฟางและพันน่องด้วยผ้า 5 สี เมื่อผ่านบ้านใครเจ้าของบ้าน ก็จะโยนประทัดใส่ สิงโตต้องอ้าปากรับ และผู้เชิดก็จะไม่ถอยหนียอมรับความร้อนจากประทัดนั้น เมื่อทนไม่ไหวก็อาจจะมีผู้เชิดอื่น มาเปลี่ยน บางครั้งเมื่อหัวสิงโตถูกประทัดมาก เกิดความร้อนจนต้องเอาน้ำไปพรมแล้วก็เชิดต่ออีก ชาวจีนเชื่อว่า ยิ่งให้สิงโตกินประทัดดังเท่าใดและมากเท่าใด การค้าที่บ้านก็ยิ่งจะรุ่งเรืองเท่านั้น
ที่มณฑลกวางตุ้ง ชาวจีนนิยมเชิดสิงโตกันทุกอำเภอ โดยมักฝึกฝนการเชิด มีสำนักฝึกอาวุธ โดยมีอาจารย์ผู้สอนมวยเป็นผู้ฝึกให้ในยามว่าง สิงโตกวางตุ้งจะเป็นยุ่ยซือ เซ่าซือ เล่าซือ ซึ่งแปลว่า สิงโตสิริมงคล สิงโตหนุ่ม สิงโตแก่ ยุ่ยซือมีอีกชื่อหนึ่งว่า สิ่งซือ แปลว่าสิงโตที่ตื่นแล้ว ก็คือ สิงโต ที่สามารถให้สิริมงคลนั้นเอง สิงโตที่มีอายุมากและผ่านประสบการณ์มากคือ สิงโตเล่าซือ จะเห็นได้จากท่าทาง หน้าสีเขียวเขี้ยวยาว หนวดเป็นสีเทา เมื่อสิงโตสิริมงคลและสิงโตหนุ่ม เดินผ่านสิงโตแก่ต้องแสดงความเคารพ โดยหลีกทางให้ แต่หากสิงโตแก่ 2 ตัว มาประจันหน้ากันก็จะต้องมีการต่อสู้กันขึ้นจนต้อง มีผู้กล้าหาญผู้หนึ่งมาเจรจาให้สงบลงได้การเชิดสิงโตของกวางตุ้งจะมีท่าทางต่าง ๆ มาก ผู้เชิดต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ เช่นสิงโตทำท่าก้มมอง รีรอ เดินวนรอบ ท่าดุดัน ท่างอตัว คุกเข่า ท่านอน บางครั้งก็มีการเชิดชุดสิงโตออกจากถ้ำด้วย
ชาวจีนแคะก็มีการเชิดสิงโตเช่นกัน สิงโตของกลุ่มภาษาจีนนี้จะมีสิงโต สิงโตหัวมังกร สิงโตของชาวจีนแคะแบ่งเป็นสิงโตหน้าเขียวและหน้าแดง สิงโตหน้าเขียวเป็นสิงโตที่มีความสามารถ เทียบได้กับสิงโตแก่ของชาวกวางตุ้ง สิงโตชาวจีนแคะนิยมทำตาให้เคลื่อนไหวไปมาได้ มีคิ้วมีขนตาสวยงามทั้งหน้าสิงโตและหางสิงโตก็จะตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม และใส่ลูกกระพรวนที่หางอีกด้วย ส่วนสิงโตของชาวจีนแต้จิ๋ว มักประดับหัวมังกรด้วยผ้า 5 สี และประดับหน้ามังกรด้วยสีสันสวยงาม
มีคนเชิดหัวสิงโต 1 คน หางสิงโต 1 คน นอกจากนั้นก็จะมีคนแต่งตัวเป็นตุ๊กตา หัวโต หน้าสีแดง ใส่เสื้อขลิบชายด้วยสีสวยงาม ตัวสั้น มือขวาถือลำไม้ไผ่ มือซ้ายถือพัดใบตาลมักแสดงในช่วงตรุษจีนและงานฉลองต่าง ๆ เช่นกัน
ประวัติการแห่มังกร
เมื่อพูดถึงจังหวัดนครสวรรค์หลายคนจะนึกถึง บึงบอระเพ็ด บ้างก็นึกถึงเมืองที่แม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน ไหลมารวมกันเป็น แม่น้ำเจ้าพระยา หรือไม่ก็การแห่มังกรในเทศการตรุษจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแห่มังกรนี้ในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะกลายเป็นจุดเด่น หรือสัญลักษณ์ของนครสวรรค์ไปเสียแล้ว เนื่องจากความโด่งดังด้วย รูปแบบการแสดงที่ยิ่งใหญ่สวยงาม ความเป็นจริงแล้วการแห่มังกรนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพนครสวรรค์ ซึ่งเป็นงานประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในย่านตำบลปากน้ำโพ ของอ.เมืองนครสวรรค์ที่ถูกอนุรักษ์สืบทอดมาเป็นเวลากว่า 60 ปี ตั่งแต่สมัยบรรพบุรุษจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อเป็นการแสดงเคารพสักการะและความกตัญญูต่อเจ้าพ่อเทพารักษ์และเจ้าแม่ทับทิมสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวปากน้ำโพและเป็นการเฉลิมฉลอง เพื่อความเป็นสิริมงคลโดยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจว่าเมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดทั่วไป ต.ปากน้ำโพ ชาวบ้านในชุมชนปากน้ำโพได้รับความเดือดร้อนจากโรคนี้อย่างยิ่งทำให้มีคนป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมากสุดที่แพทย์จะทำการรักษาเยียวยาได้ เพราะวิทยาการทางการแพทย์ในสมัยนั้นยังไม่เจริญก้าวหน้าชาวบ้านปากน้ำโพจึงหันมาพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นคือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นศาลเจ้าเล็กๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามหมู่บ้านตลาดปากน้ำโพ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านและผู้ที่สัญจร ทางน้ำผ่านไปมาโดยขอให้เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ช่วยคุ้มครองปัดเป่าให้พ้นภัยพิบัติจากโรคร้ายได้มีการทำพิธีเชิญเจ้าเข้าประทับทรงมีการทำพิธีรักษาโรค โดยการเขียนกระดาษยันต์(ฮู้)แล้วนำไปเผาไฟใส่น้ำดื่มกินปรากฏว่าโรคห่าที่ระบาดอยู่นั้นได้หายไปอย่างน่าอัศจรรย์จนเป็นที่เรื่องลือถึงความ ศักดิ์สิทธ์ของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ไปทั่วทั้งใกล้และไกล ชาวบ้านที่ได้ยินกิติศัพท์ต่างก็พากันมากราบไว้บูชาอย่างมากมายและเป็นการแสดงถึงความ กตัญญูกตเวทีต่อเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชาวบ้านปากน้ำโพจึงได้พร้อมใจกันจัดให้มีการเฉลิมฉลองขึ้นโดยได้อัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ข้ามฝั่งมาประทับที่ ปะรำพิธีชั่วคราวและแห่แหนไปรอบตลาดปากน้ำโพเพื่อให้ประชาชนที่เคารพนับถือได้กราบไว้บูชากันอย่างทั่วถึงและได้มีการแห่แหนเช่นนี้ใน ปีต่อๆมาจนกลายเป็นประเพณีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโดยจะจัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2506กรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่ ได้มีการเสนอการเชิดมังกรซึ่งชาวจีนทั่วไปถือว่ามังกรเป็นสิ่งสิริมงคลนำโชคลาภและความผาสูขทั้งปวงมาสู่บ้านเมืองทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ชั้นสูง ขององค์จักรพรรดิ์จีนในอดีตเพิ่มขึ้นจากขบวนแห่ต่างๆ อีก 1ขบวนในปัจจุบันงานประเพณีเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพเป็นประเพณีที่สำคัญและมี ชื่อเสียงของจังหวัดโดยในงานประเพณีฯ นี้จะมีขบวนแห่แหนต่างๆ เช่น การเชิดสิงโต การแห่มังกรเฮ็งกอพะบู๊ เจ้าแม่กวนอิม เหล่านางฟ้า ล่อโก๊ว ไทเก๊ก และการแสดงอื่นๆแห่ไปตามถนนสายหลักในเขตเทศบาลเมืองฯ และรอบตลาดปากน้ำโพการแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก แพร่หลายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดนครสวรรค์มาก คือ การแห่และเชิดมังกรทองซึ้งมีความยิ่งใหญ่มโหฬาร สวยงามวิจิตรตระการตาเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เนื่องจากในการเชิดมังกรทองของชาวปากน้ำโพต้องใช้คนที่มีความชำนาญและต้องฝึกซ้อมมาดี ถึง150-170 คน ตัวมังกรยาว 57-60 เมตรและสวยงามด้วยลวดลายสีสรรตลอดจนตกแต่ประดับประดาด้วยไฟหลากสีตลอดลำตัวลักษณะ การเชิดมังกรก็สนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจ การแสดงมีทั้งการพันเสา การพ่นไฟพ่นน้ำ และบางปีก็ลงไปเล่นในแม่น้ำในลักษณะของการโผล่จากบาดาล อีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการแสดงเป็นการแสดงในสนามกีฬาประจำจังหวัดประกอบแสงสี และเสียง และมีการแสดงอื่นๆ ประกอบรายการด้วยทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมการแห่มังกร นี้เป็นจำนวนมากและผู้ที่ได้ชมการแห่มังกรและการแสดงอื่นๆของงานฯ ส่วนใหญ่ต่างก็ประทับใจและยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่และสวยงามมาก
มังกร
ชาวจีนมีตำนานกล่าวว่า มังกรเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าอึ่งตี่หรือหวงตี้ โดยทรงมีพระราชประสงค์ในการสร้างมังกรเพื่อให้เป็นเครื่องหมายประจำชาติ ด้วยการนำเอาสัญลักษณ์ของกลุ่มชนเผ่าต่างๆ ที่ได้อาศัยอยู่ภายในประเทศจีน ขณะนั้นมาผสมผสานกัน บางตำนานก็กล่าวว่า มังกรเป็นสัตว์อมตะ และยังมี อิทธิฤทธิ์มาก เนื่องจากมังกรมีลูกแก้ววิเศษอยู่ในปาก ทำให้สามารถเหาะเหิร เดินอากาศได้ หรือจะเดินดิน ดำน้ำก็ได้ สามารถล่องหนหายตัว แปลงกายให้ ้ เล็กใหญ่ สั้นยาวก็ได้ ชาวจีนจึงยกย่องให้มังกรเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ทั้งยังเป็น พาหนะของเจ้าแม่กวนอิม ธรรมชาติของมังกรเป็นสัตว์ดุร้าย แต่ก็สามารถจะ บันดาลประโยชน์สุขให้บังเกิดแก่มวลมนุษย์ได้เช่นกัน เพราะมังกรสามารถ ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บันดาลให้เกิดฝน ลม ไฟ ช่วยกำจัดสิ่งชั่วร้าย ทั้งยัง เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดินอีกด้วย ดังตำนานของชาวจีนที่เล่าต่อกันมา
ว่า เมืองจีนในช่วงฤดูหนาวบังเกิดความแห้งแล้ง มีสาเหตุมาจากเป็นช่วงเวลา ที่มังกรหลับ แต่พอมังกรตื่นขึ้นมาจะนำพาเอาน้ำมาด้วยอย่างมากมาย จนเกิน ความสามารถที่แผ่นดินรับเอาไว้ได้ จึงก่อให้เกิดอุทกภัย สร้างความเดือดร้อน ไปทั่วทั้งแผ่นดิน ซึ่งจากความเดือดร้อนที่บังเกิดขึ้นต่อประชาชนหมู่มากนี้เอง ทำให้เจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ต้องลงโทษให้มังกรต้องเข้าไปจำศีลภาวนา ชดใช้ กรรม อยู่ภายในถ้ำถึง 3,000 ปี จนมังกรบังเกิดบารมีจนกลายเป็นสัตว์ชั้นเทพ สามารถเหาะขึ้นไปยังสรวงสวรรค์ได้ ทั้งยังต้องทำหน้าที่เฝ้าดูแลลูกแก้ววิเศษ ของเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ ต่อมามังกรมีอาการปวด และคันที่เอวตลอดเวลา รักษาด้วยวิธีการใดก็ไม่หาย จึงจำเป็นต้องแปลงกาย เป็นมนุษย์ เพื่อหาหมอที่ เก่งกาจวิชาการแพทย์มาช่วยรักษา มังกรเข้ารับการรักษากับแพทย์หลายคนก็ ไม่หาย จนได้ไปพบกับหมอท่านหนึ่งที่สามารถล่วงรู้ได้ว่า แท้จริงผู้ที่มาขอรับ
การรักษานั้นมิใช่มนุษย์ธรรมดา จึงสั่งให้มังกรคืนร่างเดิมเป็นมังกร เพื่อหมอ ได้ตรวจอาการป่วยที่แท้จริง ซึ่งหลังจากการตรวจ หมอได้พบตะขาบตัวหนึ่ง ซ่อนอยู่ที่ใต้เกล็ดมังกร จึงจับตะขาบออกมา แล้วใส่ยาตรงที่ถูกตะขาบกัดให้ ทำให้มังกรหายป่วย มังกรจึงอนุญาตให้มนุษย์สามารถทำหุ่นมังกรออกแห่ได้ ปีละครั้ง ในยามใดที่หุ่นมังกรปรากฏ ฝนก็จะตกลงมา ทั้งขจัดสิ่งที่ชั่วร้ายให้ หมดสิ้นไป ส่งผลให้เกิดประเพณีแห่มังกรนับแต่นั้นเป็นต้นมา
้
ประวัติมังกรไทย
ประเทศไทยมีการแสดงมังกรมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีในงานฉลองกรุงธนบุรี พ.ศ. 2322 ซึ่งในการแสดงครั้งนั้น ใช้ผู้แสดงทั้งหมด 13 คน และใช้ฆ้องเป็นเครื่องประกอบการแสดงมังกรเพียงอย่างเดียว ต่อมาปี พ.ศ.2506 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จังหวัดนครสวรรค์ได้ริเริ่มนำเอาการแสดงแห่มังกรขึ้นมาใหม่ ซึ่งแสดงโดยคณะมังกรทองลูกเจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นคณะมังกรคณะแรกของประเทศไทย การแสดงมังกรของจังหวัดนครสวรรค์ใช้ผู้เชิด และผู้ที่คอยสลับผลัดเปลี่ยนเข้ามาตลอดจนมโหรี จำนวนมากกว่าร้อยคน
ปี พ.ศ. 2547 ห้างสรรพสินค้า The Mall ได้ริเริ่มจัดให้มีการแข่งขันกีฬาเชิดมังกรชิงแชมป์ประเทศไทย ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งมังกรที่ได้เข้าร่วมทำการแข่งขันในครั้งนี้ นั้นมีความแตกต่างจากมังกรที่จังหวัดนครสวรรค์ริเริ่มจัดให้มีการแสดงขึ้นมาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ ใช้กติกาการแข่งขันกีฬามังกรนานาชาติของสหพันธ์มังกร & สิงโตนานาชาติ ที่มีข้อบังคับให้มีผู้เชิดมังกรได้เพียง 9 คน หรือที่เรียกว่า มังกร 9 ตอน หรือมังกร 9 ไม้ ซึ่งลักษณะการเชิดมังกรแบบนี้ ปัจจุบันได้รับการยอมรับบรรจุเข้าทำการแข่งขันในระดับนานาชาติมานานแล้ว ขณะที่คนไทยยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับการแข่งขันกีฬามังกรแบบนี้เท่าใดนัก ทั้งทุกปีสหพันธ์มังกร& สิงโตนานาชาติ ยังจัดให้มีการแข่งขันมังกรชิงแชมป์โลก โดยสหพันธ์มังกร & สิงโตนานาชาติได้ เป็นผู้ควบคุม ดำเนินการ และรับรองผลการแข่งขัน การแข่งขันกีฬามังกรในระดับนานาชาติ มิใช่ว่า จะได้รับความสนใจส่งทีมเข้าร่วมทำการแข่งขันจากประเทศในแถบเอเชียเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศทั้งจากทวีปยุโรป และอเมริกาให้ความสนใจเข้าร่วมทำการแข่งขันด้วย อาทิ ประเทศฝรั่งเศส ก็เข้าร่วมทำการแข่งขันเป็นประจำทุกปี ดังนั้นการแข่งขันกีฬามังกรจึงเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างประเทศมากกว่าคนไทย ขณะที่คนไทยมักมุ่งไปในลักษณะการแห่มังกร การแสดง แสง สี เสียง ของมังกรเป็นส่วนใหญ่ มากกว่าจะเน้นเพื่อเข้าประกวดหรือทำการแข่งขัน อย่างไรก็ตามหลังจากได้มีการแข่งขันกีฬามังกรชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1 ผ่านไปแล้วนั้นได้ก่อให้เกิดกระแสความสนใจ จากผู้ที่ต้องการศึกษาและฝึกฝน ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวโน้มที่ดีต่อการพัฒนากีฬามังกรของประเทศไทย เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะ ความสามารถสูงในเชิงการเชิดมังกร ก่อนนำไปแข่งขันในระดับนานาชาติ หรือระดับโลกต่อไป
งิ้ว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ งิ้ว (แก้ความกำกวม)
นักแสดงงิ้ว
งิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲/戲曲, พินอิน: xìqǔ, อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด
ประวัติ
เริ่มต้นสมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 1179-1276) ทางภาคใต้ของจีนมีคณะงิ้วที่มีชื่อได้เปิดการแสดงที่มีบทพูดเป็นโคลงกลอนสลับการร้อง ใช้วงเครื่องดีดสีตีเป่าประกอบการแสดง
ทางภาคเหนือนั้น ราวช่วงต้นศตวรรษที่ 13 พวกชนเผ่ามองโกลสร้างรูปแบบของงิ้วขึ้นมาเรียกว่า "ซาจู" โดยมักแบ่งการแสดงออกเป็น 4 องค์ โดยตัวละครเอกเท่านั้น ที่จะมีบทร้องเป็นทำนองเดียวตลอดเรื่อง ส่วนตัวประกอบอื่นอาศัยการพูดประกอบขณะที่อุปรากรฝ่ายเหนือเป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางชั้นสูง ทางใต้นั้นผู้คนนิยมดูงิ้วที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าพื้นบ้าน
ในศตวรรษที่ 16 บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ ผู้คนเริ่มมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้วงการวรรณกรรมเฟื่องฟูไปด้วย ซึ่งส่งผลทำให้บทร้องอุปราการสละสลวยยิ่งขึ้น โดยนายเหว่ย เหลียงฟุ (1522-1573) นำนิยายพื้นบ้านดังๆเรียกว่า "คุนฉู" มาเขียนเป็นบทร้อง มีสไตล์การร้องที่อ่อนหวาน ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นส่วนใหญ่คือกลองและขลุ่ยไม้
ในศตวรรษที่ 18 เกิดอุปรากรแบบใหม่ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบของงิ้วปัจจุบัน อุปรากรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายนับตั้งแต่เปิดการแสดงในงานฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของเฉียนหลงฮ่องเต้ (1736-1796) ในจำนวนคณะงิ้วที่เข้ามาแสดงเหล่านี้รวมถึงคณะของนายเว่ย จางเฉิน จากเสฉวน ซึ่งนำเทคนิคการแสดงงิ้งแบบใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ในเมืองหลวงกระทั่งปลายราชวงศ์ชิง งิ้วจึงมีลักษณะต่างๆกันออกไปหลายร้อยแบบ ทั้งในด้านการร้อง การจัดฉากเพลง แต่ส่วนใหญ่นำเนื้อเรื่องมาจากคุนฉู หรือนิยายที่เป็นที่นิยมนั่นเอง
สมัยของพระนางซูสีไทเฮา การแสดงงิ้วในเมืองจีนถือว่าได้รับความนิยมสูงสุด จนกระทั่งสิ้นสมัยของพระนาง คณะงิ้วที่เคยได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากราชสำนักและขุนนางต่างๆ ก็ต้องหันมาพึ่งตัวเองและแพร่ขยายออกไปสู่ผู้คนทั่วไปมากขึ้น
[แก้] ลักษณะ
ความโดดเด่นของการแสดงงิ้วนั้น นอกจากลีลาการร่ายรำและการเคลื่อนไหวของผู้แสดงแล้ว เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายตลอดจนการแต่งหน้าก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างเช่นสีสันของการแต่งหน้าที่แตกต่างกันไป ก็จะบ่งบอกถึงบุคลิกและอุปนิสัยของตัวละครได้
อย่างเช่นแต่งหน้าสีแดง จะมีความหมายไปในทางที่ดี เป็นสัญลักษณ์ของผู้ซื่อสัตย์และกล้าหาญ การแต่งหน้าสีดำมีความหมายเป็นกลาง เป็นสัญลักษณ์ของผู้ห้าวหาญ ไม่เห็นแก่ตัวและเฉลียวฉลาด หากว่าแต่งหน้าเป็นสีน้ำเงินหรือเขียว ก็จะมีความหมายเป็นกลางเช่นเดียวกันและยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวีรบุรุษชาวบ้านอีกด้วย ส่วนการแต่งหน้าที่สีขาวและสีเหลือง มักจะมีความหมายไปทางลบ เป็นสัญลักษณ์ของผู้เหี้ยมโหดและคดโกง
[แก้] ประเภทของงิ้ว
งิ้วที่ยอมรับกันว่าเป็นงิ้วที่สมบูรณ์แบบชนิดแรกคือ ละครใต้ (หนันซี่) ของสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ แถบเมืองเวินโจว จนกระทั่งสมัยราชวงศ์ชิง จึงเกิด ‘งิ้วปักกิ่ง’ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิลปะประจำชาติ และมีความโดดเด่นมาก เพราะเป็นการแสดงที่เอาความเด่นของงิ้วทุกชนิดมารวมเข้าด้วยกัน มีการแสดงที่โลดโผนกว่างิ้วแต้จิ๋ว มีการร้องโอเปร่า ร้องลากเสียงเพื่อแสดงพลังเสียง และมีการใช้เสียงบีบเพื่อแสดงศิลปะการใช้เสียงที่หลากหลายด้วย
[แก้] งิ้วในประเทศไทย
การแสดงงิ้วตามเอกสารเก่าที่สุดที่มีการพูดถึงการแสดงงิ้ว คือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเป็นราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 2230 และมีบันทึกอีกช่วงหนึ่งเมื่อครั้งสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี ครั้งมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตล่องน้ำมายังพระนคร007 นอกจากขบวนแห่จะมี โขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์แล้ว ยังมีคณะงิ้วอีก 2 ลำเรือแสดงล่องลงมาด้วยกันอีกด้วย
การแสดงงิ้วในเมืองไทยได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมัยนั้นมีทั้งคณะของทั้งไทยและจีน และยังมีการเปิดโรงเรียนสอนงิ้วและมีโรงงิ้วแสดงเป็นประจำมากมายบนถนนเยาวราช