Custom Search

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบบารอก

ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบบารอก
     1. ศิลปะแบบบารอก (Baroque) พัฒนามาจากศิลปะแบบเรเนสซองส์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 มีลักษณะเฉพาะ คือ การแสดงออกถึงความมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม (Humanism) ผลงานที่ปรากฎมักแสดงออกถึงลักษณะแน่นอนตายตัวของศิลปิน
     2. ศิลปะแบบบารอกในความหมายทางวรรณกรรม หมายถึง การเขียนที่มุ่งพัฒนาสติปัญญา เน้นความรู้ และวิธีการสืบสวนตามหลักวิทยาศาสตร์ และสะท้อนถึงความปรารถนาที่จะมอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม แต่ให้ความสำคัญแก่อารมณ์และใช้พฤติกรรมของมนุายืเป็นโครงเรื่องสำคัญ
     3. ศิลปะแบบบารอค เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐต่างๆ ในยุโรปมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและมีความมั่งคั่งทางการเมือง เป้นผลให้พระราชวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้ามีความพร้อมที่จะอุปถัมภ์การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินแขนงต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบารอก
     1. งานจิตรกรรม ส่วนใหญ่ยังคงรับรูปแบบและเทคนิคจากสมัยเรเนสซองส์ แต่ได้พัฒนาฝีมือและเทคนิคการผสมสีที่วิจิตงดงามยิ่งขึ้น นิยมใช้สีสดและฉูดฉาด ภาพวาดมักปรากฎตามวัด วัง และคฤหาสน์ของชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหราสุขสบายของเจ้านายและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา จิตรกรที่มีชื่อเสียง คือ เรมบรานด์ (Rembarndt) และรูเบนส์ (Rubens)
     2. งานสถาปัตยกรรม แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหรา และการประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวซายส์ (Versailles) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
     3. ศิลปะด้านดนตรี มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักดนตรีสำคัญ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่
     4. งานด้านวรรณกรรม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค (John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ (Moliere) เป็นต้น