Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชนิดของโรคหัวใจ

ชนิดของโรคหัวใจ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardial Disease) พบในผู้ป่วยผู้ใหญ่มากกว่าพบในเด็ก เกิดจากมีพยาธิเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เกิดได้จากสาเหตุต่างๆ และบางรายไม่ทราบสาเหตุ และอาจจะเกิดเป็นผลจากโรคของโครงสร้างส่วนอื่นๆ ของหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดแดงโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือเกิดจาก การแพร่กระจายของโรคบางโรคไปทั่วร่างกาย (Systemic disease) ความสำคัญของโรคนี้อยู่ที่พยากรณ์โรค ค่อนข้างจะเลวหลังจากมีอาการและส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตเป็นส่วนมากหลังการรักษาภายใน 2 ปี ในต่างประเทศมีการพยากรณ์โรคดีกว่า เนื่องจากมีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ (Cardiac Transplantation) ซึ่งทำการรักษาได้ในบางแห่งเท่านั้น

องค์การอนามัยโลก ( WHO ) และสหพันธ์สมาคมแพทย์โรคหัวใจนานาชาติ ได้จัดแบ่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ทราบสาเหตุ ( Specitic heart musle disease )
2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Cardiomyopathy )

โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ทราบสาเหตุ ในเด็กที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจเกิดจากการอักเสบ ( ติดเชื้อ ) เฉียบพลัน ( Acute myocarditis )

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( acute myocarditis ) มักเกิดในเด็กเล็กๆ ร่วมกับการติดเชื้อในระบบอื่นๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ ไข้หวัด เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุของการเกิดอักเสบโดยเฉียบพลันมากกว่าสาเหตุอื่น แต่เชื้อบัคเตเรียบางชนิด เช่น โรคคอตีบ ( Diptheria ) , ไข้รากสาด ( Typhoid ) ทำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจได้ ปัจจุบันพบร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์และมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย

 


ใช้ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ

ใช้ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ( Inotropic drug ) ร่วมกับการให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดปริมาณน้ำที่คั่งในปอด ทำให้หัวใจมีแรงบีบมากขึ้น ร่วมกับการให้ยาขยายหลอดเลือด ( vasodilator ) ซึ่งจะทำให้มีผลต่อการไหลเวียนของเลือดที่เปลี่ยนแปลงตามความต้านทานในหลอดเลือดและการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาขยายหลอดเลือดมีทั้ง ขยายหลอดเลือดดำและขยายหลอดเลือดแดง ซึ่งจะต้องเลือกใช้โดยพิจารณาถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงทางระบบไหลเวียนโลหิตที่เกิดจากสภาวะหัวใจวายให้เหมาะสม สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืน

การใช้ยาอิมมูโนโคลบูลิน

การใช้ยาอิมมูโนโคลบูลิน ( intravenous immune globulin ) ในการรักษาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ จากการศึกษาพบว่าพยาธิกำเนิดของโรคนี้ เกิดจากการมีปฏิกิริยาของระบบอิมมูชั่นและจากการ ใช้ยาตัวนี้ ใน โรคคาวาซากิ ( Kawasaki disease ) มีผลการรักษาดี สามารถเพิ่มการทำงานของหัวใจดีขึ้น และอุบัติการเกิดโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดโคโรนารีโป่งพอง (Coronary aneurysm) ลดลง ทำให้มีการใช้ยานี้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน และขณะนี้ กำลังอยู่ในระยะรวบรวมผลการรักษา จากหลายสถาบันโดยใช้ ยาขนาด 2 gm ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในเด็ก ในระยะเวลามากกว่า 4-6 ชั่วโมงทางหลอดเลือดดำ ข้อระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวาย ต้องให้ช้า ๆ และให้ยาขับปัสสาวะร่วมด้วย ผลการรักษาพบว่า อาการภาวะหัวใจวายดีขึ้นและการตรวจทาง คลื่นสะท้อนหัวใจ( Echocardiogram ) วัดการทำงานของหัวใจจะดีขึ้นแต่ยาตัวนี้มีราคาแพง

การใช้ยาต่อต้านระบบอินมูน

การใช้ยาต่อต้านระบบอินมูน ( Immunosuppressive ) เช่น cyclosporin, azathioprine ร่วมกับ prednizolone และ aspirin ในผู้ป่วยที่เป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเรื้อรัง ( chronic myocarditis ) หรือกลุ่มที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทราบสาเหตุ dilated cardiomyopathy จากระยะเวลา 3-6 เดือน มีรายงานพบว่า อาการทางคลีนิคและผลการตรวจทางชิ้นเนื้อ ( immunohislogy ) ดีขึ้นมากกว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์ และใช้เป็นยารักษาในผู้ป่วยที่รอการทำเปลี่ยนถ่ายหัวใจ ( heart transplantation ) ร่วมกับการใช้ยารักษาภาวะหัวใจวาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ทราบสาเหตุ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ทราบสาเหตุ (Cardiomyopathy) หมายถึง โรคหัวใจที่มีพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อ หรือมีการเสื่อมสมรรถภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อ อันเป็นปัญหาให้ผู้ป่วยมารับการตรวจวินิจฉัย และได้ตรวจหาสาเหตุแล้วมิได้เป็นผลมาจากมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ และมิได้เกิดเป็นผลจากโรคประเภท Systemic disease เช่นโรคไตวาย, โรคโลหิตจางจากทัลลาสซิเมีย (Thallassemia) , โรค Systemic lupus Erythrematosas เป็นต้น ถ้าเป็นสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ให้เรียกสาเหตุนำหน้าเพื่อบ่งชี้ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจจากโรคไต (Uremic cardiomyopathy) หรือโรคจากความผิดปกติของคาร์โบไฮเดรทเบ็ตตาโบล์ซิบซิบ (glycogen storage disease) ก็เรียก โรคหัวใจปอมเป ้ (Pompe disease) ถ้ายังไม่พบสาเหตุให้เรียก Idiopathic cardiomyopathy ก็เรียก โรคหัวใจปอมเป้ (Pompe disease) ถ้ายังไม่พบสาเหตุให้เรียก Idiopathic cardiomyopathy อาการที่ผู้ป่วยแสดงในโรคกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทราบสาเหตุ มักจะเป็นอาการหัวใจวาย หอบเหนื่อยเวลาออกแรง หรือหอบในท่านอน บางครั้งมีอาการบวม อาการอาจเริ่มเป็นช้าๆ หรืออาจเกิดในกระทันหัน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทราบสาเหตุแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยอาศัย อาการและอาการแสดงร่วมกับพยาธิวิทยาแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะมีอาการและอาการแสดงคล้ายคลึงกัน และในบางครั้งอาจจะไม่สามารถจัดแยกเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้โดยเฉพาะ และสามารถเปลี่ยนลักษณะมาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งได้
1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ
2.โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาโดยไม่ทราบสาเหตุ
3.โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดจากเยื่อบุชั้นในของหัวใจหนามากกว่าปกติ

1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ ( dilated cardiomyopathy ) เป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุดแม้จะทราบสาเหตุ แต่เชื่อว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากหลายอย่างอันเป็นผลให้มีการทำลายของกล้ามเนื้อหัวใจ มีผู้สงสัยว่าสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส โดยเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจมาก่อน และเกิดมีปฏิกิริยาทางอิมมูโนโลยี่เป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงแสดงอาการของภาวะหัวใจวายทางพยาธิวิทยา พบว่าหัวใจขยายใหญ่ในทั้งด้านซ้ายและขวากล้ามเนื้อหัวใจอ่อนปวกเปียก และเปิดห้องหัวใจขยายออกนานๆ จนเกิดภาวะหัวใจวาย เพราะความสามารถในการบีบตัวลดลง

การรักษา

หลักสำคัญคือการรักษาภาวะหัวใจวาย โดยใช้ยาขับปัสสาวะ ยาเพิ่มการกระตุ้นการบีบหัวใจ ( ดิจิตาลีส ) และปัจจุบันยาขยายหลอดเลือดในกลุ่มของ ACE inhibitor จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นและทำให้ชีวิตยืดยาวขึ้นได้ส่วนการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นวิธีเดียวที่ได้ผลดีโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคลุกลามไปมากแม้จะใช้ยารักษาหัวใจวายอย่างเต็มที่

การรักษา

การใช้ยารักษาอาการหัวใจวายเช่นเดียวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (Dilated Cardiomyopathy) แต่ต้องระมัดระวังการใช้ยาปัสสาวะ อาจจะทำให้เลือดออกจากหัวใจได้น้อย เพราะปริมาณน้ำถูกขับออกจากผลของยา การผ่าตัด ลอกเอาเยื่อบุของหัวใจที่หนา (Endocardectomy) มักจะได้ผลดี ร่วมกับซ้อมแซมลิ้นหัวใจซีกซ้ายรั่ว แต่ในผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีพังผืดหนาเยื่อบุหัวใจชิ้นในสุดมักจะเป็นทั่วๆไปทุกห้องหัวใจ จึงไม่สามารถผ่าตัดเลาะออกได้ ผู้ป่วยมักจะถึงแก่กรรมด้วยอาการหัวใจวายก่อนอายุ 2-3 ปี การรักษาโดยการเปลี่ยนหัวใจ (Heart transplantation) จึงจะช่วยให้ชีวิตรอดได้ การพยากรณ์โรคในกลุ่มนี้ในเด็กเล็กจึงเลวร้ายกว่าในเด็กโต

การรักษา
เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ขนาดของหัวใจโตขึ้นและมีภาวะน้ำคั่งในปอด การรักษาภาวะหัวใจวายประกอบด้วย
 

 

 

 

 

 

รายงาน

 

วิชา วิทยาศาสตร์ ว 32101

เรื่อง ชนิดของโรคหัวใจ

 

เสนอโดย

 

อาจารย์  อังสุนา   ทองยศ

 

จัดทำโดย

เด็กหญิงจินตนา    รัตนพลที  เลขที่ 18

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3

 

โรงเรียนพล   อำเภอพล   จังหวัดขอนแก่น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 3

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                     คำนำ

                     รายงานเล่มนี้จัดข้นเพื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับโรคของหัวใจของคนเรา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                          

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                            สารบัญ                              หน้า

ชนิดของโรคหัวใจ                                                                                                      1

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ                                                              1

การใช้ยากระตุ้นบีบของหัวใจ                                                         2

การใช้ยาอิมมูโนโคลบูลิน                                                               2

การใช้ยาต่อต้านระบบอินมูน                                                                                       2-3                                                                                      

โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ทราบสาเหตุ                                                                           4                                           

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ผิดปกติ                                  4-5

การรักษา                                                                                            5         

 

 

 

              

 

 

15991