Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คุณสมบัติของเทอร์มิสเตอร์และวาริสเตอร์

 

คุณสมบัติของเทอร์มิสเตอร์และวาริสเตอร์

 

 

เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) คือตัวต้านทานชนิดหนึ่งที่ค่าความต้านทานเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ ค่าความต้านทานจะเปลี่ยนไปมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิรอบๆ ค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์จะเปลี่ยนแปลงแบบไม่เป็นเชิงเส้น(Non-Linear)กับอุณหภูมิ เทอร์มิสเตอร์แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เทอร์มิสเตอร์ชนิดสัมประสิทธิ์อุณหภูมิเป็นลบ “NTC” และ เทอร์มิสเตอร์ชนิดสัมประสิทธิ์อุณหภูมิเป็นบวก “PCT”

              วาริสเตอร์ (Varistor) หรือนิยมเรียก  VDR  คือ ตัวต้านทานที่แปรค่าตามค่าแรงดัน วาริส-เตอร์ (Varistor) จัดเป็นตัวต้านทานที่ไม่เป็นเชิงเส้น การใช้งานจะใช้สำหรับป้องกันแรงดันเกิน ลักษณะการทำงานจะคล้ายกับ ซีเนอร์ไดโอดสองตัวต่อหลังชนกัน

 

 

 

 

 

1.โครงสร้างและสัญลักษณ์ของเทอร์มิสเตอร์

            เทอร์มิสเตอร์มาจากคำว่า Thermo + Resistor คำว่า Thermo นั้นหมายถึง ความร้อน ดังนั้น เทอร์มิสเตอร์จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวต้านทานความร้อน(Thermal Resistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่ทำมาจากโลหะออกไซด์ เช่น แมงกานีส, นิกเกิล, โคบอลด์, ทองแดงและยูเรเนียม เป็นต้น โดยสารเหล่านี้จะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ดังนั้น

ไทริสเตอร์จึงมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานตามอุณหภูมิโดยใช้ตัวย่อ “TH”

 

 

รูปที่ 1 แสดงสัญลักษณ์และรูปร่างของเทอร์มิสเตอร์

 

                เทอร์มิสเตอร์โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเม็ดลูกปัดขนาดเล็กๆ จนถึงขนาด 1 นิ้ว และอีกแบบจะเป็นแบบแท่งยาวประมาณ 1/4 2 นิ้ว ส่วนค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์นั้นจะมีค่าโดยประมาณอยู่ในช่วง

 

2. ชนิดของเทอร์มิสเตอร์

1.       NTC (Negative Temperature Coefficient) เป็นเทอร์มิสเตอร์แบบที่ค่าความต้านทานจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

2.       PTC (Positive Temperature Coefficient) เป็นเทอร์มิสเตอร์แบบที่ค่าความต้านทานจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

 

รูปที่ 2 แสดงกราฟคุณสมบัติของเทอร์มิสเตอร์ชนิด NTC และ PTC

 

 

3. วาริสเตอร์ (Varistor)

                วาริสเตอร์ (Varistor) หรือนิยมเรียกชื่อย่อ VDR (Voltage Dependence Resistor) คือ ตัวต้านทานที่แปรค่าตามค่าแรงดัน วาริสเตอร์จัดเป็นตัวต้านทานที่ไม่เป็นเชิงเส้นโรงสร้างภายในลิตมาจากสารกึ่งตัวนำ ซิลิกอนคาร์ไบด์ (Sic) , สังกะสีออกไซด์ (Zno2) หรือไททาเนียมออกไซด์ (Tio2) โดยบดสารเหล่านี้ให้เป็นเซรามิก

 

 

รูปที่ 3 แสดงสัญลักษณ์และรูปร่างของวาริสเตอร์

 

                ลักษณะเด่นของตัวต้านทานที่แปรค่าตามแรงดันนี้คือ คุณสมบัติระหว่างความต้านทานต่อแรงดันนั้นจะสมมาตรกันและไม่ขึ้นกับขั้วของแรงดันด้วย ดังรูปที่ 4 ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วหน้าสัมผัสเดี่ยวใดๆ ของสารที่ใช้ทำตัวต้านทานจะยอมให้กระแสไหลผ่านได้ทางเดียวก็ตาม แต่การกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบของหน้าสัมผัสจำนวนมากซึ่งต่ออนุกรมและขนานกันมีผลทำให้เกิดการเรียงกระแสในทิศทางตรงกันข้ามมีจำนวนเท่าๆ กัน ดังนั้นตัวต้านทานชนิดนี้จึงสามารถนำไปใช้งานที่เกี่ยวกับไฟกระแสสลับ ซึ่งไดโอดที่นิยมนำมาใช้ป้องกันไม่สามารถใช้งานได้ การทำงานของวาริสเตอร์นั้นสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายโดยพิจารณาว่าเป็นซีเนอร์ไดโอดสองตัวต่อหลังชนกัน เมื่อค่าแรงดันที่ป้อนให้วาริสเตอร์ต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้ กระแสจะไหลได้น้อยเนื่องจากค่าความต้านทานที่สูง เมื่อแรงดันเพิ่มขึ้นค่าความต้านทานจะลดลงและกระแสจะเพิ่มขึ้นเป็นลักษณะคลื่น เอกซ์โพเนนเชียล (Exponential) ดังรูปที่ 4

 

 

รูปที่ 4 กราฟความสัมพันธ์แรงดัน ความต้านทานและกระแสของวาริสเตอร์

               

   

ส่วนผสม

ช่วงแรงดัน

การนำไปใช้งาน

สังกะสีออกไซด์ (Zno)

0.025

50 – 500 V

การจัดสัญญาณรบกวนที่เป็นพัลส์กำลังงานสูง

ซิลิกอนคาร์ไบด์ (SiC)

0.3

5 – 25 KV

การใช้งานต่อเนื่อง เช่น ในวงจรรักษาระดับแรงดัน

ไททาเนียมออกไซด์ (TiO2)

0.25

27 – 70 V

ป้องกันอุปกรณ์ที่มีระดับแรงดันต่ำ

 

ตารางที่ 1 วาริสเตอร์ชนิดต่างๆ

 

 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าแรงดัน (V) และกระแส (I) ของวาริสเตอร์สามารถอธิบายได้ด้วยสมการ

 

                                                                       

 

                เมื่อ         V  คือ ค่าของแรงดันไฟฟ้า               มีหน่วยเป็นโวลต์ (V)

                                 I   คือ ค่ากระแสไฟฟ้า                      มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A)

                                 C และ  เป็นค่าคงที่ของสารที่ใช้ทำตัวต้านทาน

 

                ในทางปฏิบัติค่าของ C อยู่ในช่วง 14 จนถึง 3000 การเลือกใช้ชนิดของวาริสเตอร์ให้เหมาะสมกับงานนั้น ไม่จำเป็นที่เราต้องรู้คุณสมบัติของมันอย่างแท้จริงเพียงแต่รู้ข้อมูลบางอย่างเช่น

1.       ระดับแรงดันช่วงที่วาริสเตอร์เริ่มทำงาน ซึ่งความแหลมของช่วงแรงดันนี้เป็นคุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับสารที่ใช้ทำ ยกตัวอย่างเช่น วาริสเตอร์ที่ทำจากสังกะสีออกไซด์ จะมีช่วงแรงดันที่แหลมกว่าชนิดที่ทำจากซิลิกอนคาร์ไบด์ ส่วนวาริสเตอร์ที่ทำจากไททาเนียมออกไซด์จะมีช่วงแรงดันค่อนข้างต่ำ ประมาณ 2.7 โวลต์ แรงดันช่วงที่วาริสเตอร์เริ่มทำงานนี้จะถูกกำหนดมา สำหรับค่ากระแสที่เหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับค่าของวาริสเตอร์

2.     ค่าคงที่นี้มีค่าน้อยมากสำหรับวาริสเตอร์ที่ทำจากสังกะสีออกไซด์ ซึ่งหมายความว่า ถึงแม้ว่าจะเพิ่มค่าแรงดันเป็นจำนวนน้อยแต่จะก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของกระแสอย่างมากมาย

3.       การใช้งานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความสำคัญเมื่อใช้วาริสเตอร์ในวงจรรักษาระดับแรงดันหรือวงจรที่มีอัตราการส่งพัลส์อย่างเร็วมาก

 

การประยุกต์ใช้งาน

                วาริสเตอร์นั้นถูกนำไปใช้ในการกำจัดสัญญาณรบกวนที่เป็นพัลส์กำลังงานสูงโดยเฉพาะเช่น พัลส์รบกวนที่เกิดจากฟ้าผ่า หรืออื่นๆ ที่เกิดขึ้นในวงจรที่มีตัวเหนี่ยวนำถูกเปิดวงจร การตัดต่อนี้อาจจะเป็นผลจากสวิตช์ ฟิวส์หรือจากสารกึ่งตัวนำที่เป็นไทริสเตอร์ เราอาจจะคิดว่าไม่มีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากอุปกรณ์นี้จะเปิดวงจรเฉพาะจุดที่แรงดันของแหล่งจ่ายไฟฟ้าเท่ากับศูนย์ ดังนั้นจึงไม่น่าที่จะมีแรงดันเหนี่ยวนำเกิดขึ้น ในขณะเดียวกับที่กระแสลดลงต่ำกว่าค่ายึด ซึ่งเป็นค่ากระแสที่จำเป็นสำหรับรักษาให้ไทริสเตอร์ยังคงนำกระแสอยู่ ค่ากระแสยึดมีค่าไม่เท่ากับศูนย์ จึงทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำจำนวนเล็กน้อยขึ้นในหลายๆ กรณี พลังงานสนามแม่เหล็กซึ่งเท่ากับ 1/2 LI2 จะถูกกระจายผ่านไดโอดและส่วนของความต้านทานที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยตัวเองโดยที่ I เป็นค่ากระแสในขณะตัดวงจรและ L เป็นค่าความเหนี่ยวนำทั้งหมดของวงจรเนื่องจากค่าความเหนี่ยวนำด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการควบคุมทางด้านไฟกระแสสลับจึงทำให้ไม่สามารถใช้ไดโอดได้ ดังนั้นวาริสเตอร์จึงเป็นหนทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้

 

รูปที่ 6 เมื่อฟิวส์ตัดวงจรแรงดันของแหล่งจ่ายไฟจะสูงขึ้นทันทีทันใด ถ้าไม่มีการป้องกันไว้อุปกรณ์ต่างๆ อาจเสียหายได้

 

 

สิ่งที่ควรคำนึงในการเลือกใช้วาริสเตอร์สำหรับงานเฉพาะ   คือ

                1.       แรงดันที่เป็นยอด ซึ่งอุปกรณ์ที่ถูกป้องกันสามารถทนได้โดยไม่เกิดการเสียหายนั้นจะต้องเลือกวาริสเตอร์ที่มีค่าแรงดันเริ่มทำงานต่ำกว่าแรงดันที่เป็นยอดนี้

                2.       ค่าแรงดันสูงสุด (VP) ที่ตกคร่อมวาริสเตอร์ภายใต้เงื่อนไขปกติ (ในงานเกี่ยวกับไฟกระแสสลับค่า VP = 1.414 Vrms) เป็นสิ่งที่ต้องจำไว้ว่ากระแสที่ไหลผ่านวาริสเตอร์ที่ระดับแรงดันขนาดนี้จะต้องต่ำกว่า 1 มิลลิแอมป์

                3.       ค่ากระแสทรานซิสเตอร์สูงสุด

                4.       ค่ากำลังงานที่กระจายในตัววาริสเตอร์ ระหว่ามีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้นเมื่อตัววาริสเตอร์ต่อคร่อมตัวเหนี่ยวนำอยู่ค่ากำลังงานนี้จะต้องน้อยกว่า 1/2  LI2

                5.       การกระจายกำลังงานเฉลี่ยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าอัตราส่งพัลส์มีค่าสูงหรือถ้าแรงดันเริ่มทำงานไม่สูงเกินกว่าค่าแรงดันปฏิบัติงานในสภาวะปกติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไดแอก(Diac)

1.   โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก

                ไดแอก ( DIAC ) หรือไดโอด-แอก เป็นอุปกรณ์จุดชนวนไทรแอก ที่ถูกออกแบบให้สามารถนำกระแสได้ 2 ทางที่แรงดันค่าหนึ่ง ลักษณะโครงสร้างจะเป็นสาร P-N-P  3 ชั้น 2 รอยต่อเหมือนกับทรานซีสเตอร์ แสดงดังรูปที่ 1 แต่แตกต่างจากทรานซีสเตอร์ตรงที่ความเข้มของการโด๊ป ( Dope ) สาร  จึงทำให้รอยต่อทั้งสองของไดแอกเหมือนกัน จึงทำให้มีคุณสมบัติเป็นสวิตซ์ได้ 2 ทาง และค่าแรงดันเริ่มต้นที่จะทำให้ไดแอกนำกระแสได้นั้นจะอยู่ในช่วง 29-30 โวลต์

 

 

รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก

 

 

2. การทำงานของไดแอก

                การทำงานของไดแอกนั้นจะอาศัยช่วงแรงดันพังทลาย ( Break  Over Voltage ) เป็นส่วนของการทำงาน เมื่อป้อนแรงดันบวก ( + ) เข้าที่ขา A1 ละแรงดันลบ (-) เข้าที่ขา  A2 รอยต่อN และ P ตรงบริเวณ A1 จะอยู่ในลักษณะไบอัสกลับ จึงไม่มีกระแสไหลจาก A1  ไปยัง A2  ได้ เมื่อเพิ่มแรงดันไบอัสดังกล่าวสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงค่าแรงดันค่าหนึ่งจะทำให้กระแสสามารถไหลทะลุผ่านรอยต่อ N-P มาได้ ส่วนรอยต่อตรง A2  นั้นอยู่ในสภาวะไบอัสตรงอยู่แล้ว ดังนั้นกระแสที่ไหลผ่านไดแอกนี้จึงเสมือนกับเป็นกระแสที่เกิดจากการพังทลายของไดโอดและถ้าหากไม่มีการจำกัดกระแสแล้วแอกก็สามารถพังได้เช่นกัน ถ้าเราสลับขั้วศักย์แรงดัน A1 และ A2 การทำงานของไดแอกก็จะเป็นเช่นเดียวกับกรณีดังกล่าวที่ผ่านมา เขียนเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ของแรงดันตกคร่อมตัวไดแอก และกระแสที่ไหลผ่านไดแอกได้ ดังรูปที่ 2

 

 

รูปที่ 2 กราฟแสดงลักษณะสมบัติของไดแอก

               

                จากกราฟ เมื่อไดแอกนำกระแสแรงดันตกคร่อมตัวไดแอกจะลดค่าลงอีกเล็กน้อย โดยปกติจะลดลงจากค่าแรงดันพังประมาณ 5 โวลต์    จากลักษณะสมบัติของไดแอก จึงเห็นได้ว่าไดแอกเหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นตัวป้อนกระแสจุดชนวนให้กับอุปกรณ์ไทรแอก เพราะนำกระแสได้ 2 ด้าน

 

ตัวอย่าง ค่าแรงดันของไดแอกเบอร์ต่างๆ

                GT – 32 แถบสีแดง        VBO = 27-37 V

                GT – 35 แถบสีส้ม         VBO = 30-40 V

                GT – 40 แถบสีเหลือง   VBO = 38-48  V

                GT – 50 แถบสีเขียว       VBO = 56-70 V

 

3. การวัดและทดสอบไดแอกด้วยโอห์มมิเตอร์

            การวัดหาขาของไดแอก   พิจารณาได้จากโครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก   ดังรูปที่ 3

 

 

รูปที่ 3 แสดงค่าความต้านทานระหว่างขาของไดแอก

 

ตั้งโอห์มมิเตอร์ที่ย่านวัด R x 10

             กรณีที่ 1    เอาสายมิเตอร์ศักย์ไฟบวกจับที่ขา A1  สายมิเตอร์ศักย์ไฟลบจับที่ขา A2 เข็มจะชี้ที่ตำแหน่ง

             กรณีที่ 2    ทำการกลับขั้ว    ผลที่ได้จะเป็น  แสดงว่าไดแอกมีสภาพดี

 

 

 

ไทรแอก(Triac) 

 

1.  โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไทรแอก

                ไทรแอกเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีขั้วต่อ 3 ขั้ว มีชื่อเรียกว่า A2 (แอโนด 2) , A1 (แอโนด1) และ G (เกต) ไทรแอก (Triac) จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กับสวิตช์ไฟฟ้าสำหรับกระแสสลับ แต่มีข้อดีกว่าสวิตช์ธรรมดา คือการเปิด ปิดวงจรของไทรแอกเร็วกว่าสวิตช์ธรรมดาหลายเท่า จึงทำให้สามารถควบคุมกำลังงานได้ มีลักษณะโครงสร้างดังรูปที่  1

 

 

รูปที่ 1 แสดงโครงสร้าง สัญลักษณ์ และวงจรเปรียบเทียบระหว่างไทรแอกกับเอสซีอาร์

 

 

2. คุณสมบัติของไทรแอก

                คุณสมบัติของไทรแอกนั้นมีคุณสมบัติคล้ายกับเอสซีอาร์ตรงที่เมื่อนำกระแสแล้วก็จะนำกระแสตลอดไปเช่นกัน แต่ไทรแอกนั้นมีข้อแตกต่างตรงที่สามารถนำกระแสได้ 2 ทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นการไหลของกระแสจาก A1 มายัง A2 หรือกระแสไหลจากไหลจาก A2  มายัง A1 ดังนั้นจึงนิยมใช้ไทรแอกในงานควบคุมกำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้งานทั้งไซเกิลบวกและลบ (ไฟสลับ)

                จากคุณสมบัติที่กล่าวมาในเรื่องของการนำกระแสนั้น เราจึงสามารถแบ่งการทำงานของไทรแอก ออกเป็น 4 แบบหรือ 4 ควอทเดรนท์ ( Quadrant )  ดังรูปที่ 2

 

 

รูปที่ 2 แสดงการทำงานของไทรแอกทั้ง 4 ควอทเดรนท์

 

 

รูปที่ 3 กราฟแสดงลักษณะสมบัติของไทรแอก

               

                จากกราฟแสดงลักษณะสมบัติของไทรแอก  จะแสดงความสัมพันธ์ของกระแสที่ไหลระหว่าง A2- A1  และแรงดันที่ตกคร่อมทั้งบวกและลบ ในขณะให้แรงดันคร่อม  A2- A1 มีค่าเป็นบวกเทียบกับ A1  และถ้ายังไม่มีการจุดชนวน ( Trigger ) แล้ว จะมีค่าแรงดันระหว่าง A2- A1  ค่าๆหนึ่งที่ทำให้มันนำกระแสเองได้  แรงดันนี้คือแรงดันพัง เหมือนกับ SCR  แต่ถ้าให้แรงดัน A2- A1 นี้มีค่าน้อยกว่าแรงดันพังทลาย  แล้วการทำการจุดชนวน   ที่ขาเกต ( G ) ซึ่งกระแสเกตจะมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้  ไทรแอกจะนำกระแสทันที  กราฟความสัมพันธ์และข้อจำกัดต่างๆ จะเหมือนกับ  SCR ในทำนองเดียวกันถ้าให้แรงดันที่ A1 มีค่าเป็นบวกเมื่อเทียบกับ A2 ส่วนของกราฟคือแกน  X ทางด้านลบจะมีลักษณะคล้ายกันกับด้านบวก  ถ้าเพิ่มแรงดันมากขึ้นจนถึงค่าแรงดันพังทลายก็จะทำให้ไทรแอกนำกระแสเองได้ และถ้าหากว่าไม่มีการจำกัดกระแสในตัวไทรแอกแล้ว ไทรแอกจะเกิดการเสียหายได้

                ในขณะที่ไทรแอกนำกระแส ถ้าลดค่ากระแสแอโนดลงจนถึงค่ากระแสต่ำสุดที่ยังคงทำให้ไทรแอกนำกระแสได้  ค่ากระแสต่ำสุดนี้ เรียกว่า โฮลดิ้ง” ( IH :Holding Current ) ก็จะทำให้ไทรแอกหยุดนำกระแส

                        เนื่องจากไทรแอก สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ทั้งสองทาง จึงเหมาะกับการนำไปใช้กับไฟสลับมากกว่าเอสซีอาร์ และสำหรับกระแสไฟสลับ (เป็นคลื่นรูปไซน์ )จะมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งช่วงกระแสตัดกับเส้นศูนย์ของกราฟ ) ที่กระแสตกต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง ดังนั้นจึงทำให้ไทรแอกหยุดนำกระแสเองและจะรอการจุดชนวนใหม่อีกครั้ง และถ้าหากครึ่งลบของสัญญาณไฟสลับเข้ามาก็จะนำกระแสทางด้านลบอีกเช่นเคย  และจะหยุดนำกระแสเมื่อค่ากระแสลดลงต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง

 

3. วิธีการตรวจสอบและการหาขาของไทรแอกด้วยโอห์มมิเตอร์

ให้พิจารณาจากโครงสร้างพร้อมกับตารางค่าความต้านทานประกอบและปฏิบัติดังนี้

      1. ทำการสมมุติขาของไทรแอก  เป็นขา A, B และ C หรือขาที่ 1, 2 และ 3 ดังรูปที่  4

      2. นำสายวัดของโอห์มมิเตอร์ทำการวัดที่ขาของไทรแอกเป็นคู่ๆ ดังตารางที่ 1

 

 

 

รูปที่ 4 แสดงการสมมุติตำแหน่งขา

 

 

คู่ที่

 

ศักย์ไฟ

ความต้านทาน

บวก ( สายสีดำ )

ลบ ( สายสีแดง )

1

 

1

2

2

1

2

 

2

3

3

2

ค่าความต้านทานต่ำ

ค่าความต้านทานต่ำ

3

 

1

3

3

1

 

ตารางที่ 1 แสดงค่าความต้านทานต่างๆ ของไทรแอก

 

 

ผลจากตารางแสดงค่าความต้านทาน  พอสรุปได้ดังนี้

               1. การวัดไทรแอกทั้งหมด 6 ครั้ง  จำนวน 3 คู่   เราสามารถอ่านค่าความต้านทานได้ 2 ครั้งหรือที่เรียกว่า วัด 6 ครั้ง  เข็มขึ้น 2 ครั้ง

               2. ขั้วขาที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าความต้านทานทั้ง 2 ครั้ง   ดังกล่าวจะเป็นขาแอโนด 2 หรือ ขา A2

               3. คู่ขาที่ 2 ในการวัดนั้นจะมีค่าความต้านทานที่ใกล้เคียงกันหรือเท่าเทียมกัน   เราไม่สามารถบอกได้ว่า  ขาใดเป็นขา A1 หรือขา G ดังนั้นเราจึงต้องทำการตรวจสอบในลำดับขั้นต่อไป

               4. ให้สมมุติว่าขาใดขาหนึ่งเป็นขาเกต (G) แล้วทำการจุดชนวนโดยใช้ไฟจากขาแอโนด 2 (A2) เข็มมิเตอร์จะชี้ที่ค่าความต้านทานประมาณ 15 โอห์ม    ต่อจากนั้นให้สลับขาที่เหลือเป็นขาเกต  แล้วทำการจุดชนวนโดยใช้ไฟจากขาแอโนด 2   เข็มมิเตอร์จะชี้ที่ค่าความต้านทานประมาณ 20 โอห์ม   จากการวัดจะสังเกตได้ว่าเมื่อทำการจุดชนวนที่ขาเกตได้ค่าความต้านทานต่ำกว่าการจุดชนวนที่ขาแอโนด 1 (A1)