Custom Search

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของการสัมภาษณ์

ความหมายของการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ หมายถึงการสนทนากันอย่างมีเป้าหมาย ระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้สื่อข่าวต้องพึงระมัดระวังเรื่องความเป็นกลางเป็นพิเศษ เช่น ข้อผิดพลาดอันเกิดจากการถูกชักจูงโดยแหล่งข่าว

 

วัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์

1. เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบข่าว หรือเป็นส่วนหนึ่งของข่าว ในฐานะที่เป็นข้อความสัมภาษณ์ที่ได้จากแหล่งข่าว ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้

- ทำให้ข่าวมีคุณค่าและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

- เพื่อปรุงแต่งให้ข่าวนั้นสมบูรณ์ สนองความสนใจของผู้อ่านได้ฉับพลัน

- เป็นการเพิ่มสาระสำคัญส่วนที่เหตุการณ์ตอบตัวของมันเองไม่ได้

- เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นโดยตรง

- ให้รสชาติทางความรู้สึกต่าง ๆ

- ให้ข้อคิดอันจะนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์

2. เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ไปเขียนเป็นบทความสัมภาษณ์โดยตรง

3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกระทำ การสัมภาษณ์ในลักษณะนี้มุ่งตรวจสอบผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมว่าได้ทำตามหน้าที่แล้วหรือไม่และอย่างไร การติดตามสอบถามความคืบหน้าของการดำเนินการเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นการกระตุ้นให้การดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของสื่อมวลชน

 

องค์ประกอบของการสัมภาษณ์

โดยทั่วไป การสัมภาษณ์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. ผู้สัมภาษณ์

2. ผู้ให้สัมภาษณ์

3. เรื่องที่จะสัมภาษณ์

4. เป้าหมายการสัมภาษณ์

5. วิธีการสัมภาษณ์

 

ลักษณะการสัมภาษณ์

1. การสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล สามารถแบ่งออกเป็นอีก 2 ลักษณะ คือ

- การสัมภาษณ์ที่มิได้มีการนัดหมายล่วงหน้า การสัมภาษณ์ลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นที่ไหนหรือเมื่อใดก็ได้ อาจเป็นสถานที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่ก็ได้

- การสัมภาษณ์ที่มีการนัดหมายไว้ล่วงหน้า

2. การสัมภาษณ์ในการเปิดประชุมแถลงข่าว

 

ช่องทางในการสัมภาษณ์

1. สัมภาษณ์ตัวบุคคล

2. สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

3. สัมภาษณ์ทางจดหมาย

4. สัมภาษณ์ทางโทรสาร

5. สัมภาษณ์ทาง Internet

 

ประเภทของการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์โดยทั่ว ๆ ไป แบ่งได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ  

1. การสัมภาษณ์เพื่อข้อเท็จจริง (Factual Interview)

การสัมภาษณ์ประเภทนี้ อาจได้มาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ดังนี้

- จากประจักษ์พยาน (Eyewitness) หรือผู้มีส่วนรู้เห็นในเรื่องนั้น ๆ

- บุคคลที่ยอมรับกันว่าเป็นผู้รู้เรื่องนั้นจริง ๆ หรือมีความเชี่ยวชาญ

- ประกาศและคำแถลงหรือการเปิดประชุมข่าว (Press Conference) ที่นักข่าวมีโอกาสซักถามและได้ทราบรายละเอียดตามที่หน่วยงานราชการหรือองค์กรต่าง ๆ แถลงมาให้ทราบ

- การตามข่าวของผู้สื่อข่าวเอง ที่พยายามสอบถามจากผู้รู้ หลักฐานต่าง ๆ  

2. การสัมภาษณ์เพื่อความคิดเห็น (Opinion Interview)

การสัมภาษณ์ประเภทนี้ อาจได้มาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ดังนี้

- บุคคลสำคัญที่ประชาชนอยากจะทราบความเห็น แม้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นข่าวก็ตาม

- บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่กำลังเป็นข่าว

- บุคคลทั่ว ๆ ไป เป็นการสัมภาษณ์เพื่อขอความเห็นจากบุคคลต่าง ๆ หลายคนในเรื่องเดียวกัน  

3. สัมภาษณ์เพื่อบุคลิกภาพ (Personality Interview)

การสัมภาษณ์ในลักษณะนี้อาจสัมภาษณ์ได้ใน 2 ลักษณะ คือ

- สัมภาษณ์ในภาพรวมเกี่ยวกับชีวิตของผู้ให้สัมภาษณ์

- สัมภาษณ์โดยดึงเพียงบางประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจ

การสัมภาษณ์ประเภทนี้ อาจได้มาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ดังนี้

- บุคคลเด่นหรือมีความสำคัญในสังคม

- บุคคลทั่วไปซึ่งมีลักษณะเด่นบางอย่าง เช่น บุคคลผู้มีประสบการณ์น่าสนใจ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต บุคคลที่ประสบความสำเร็จจากเกียรติยศรางวัล รวมถึงบุคคลที่มีลักษณะบุคลิกพิเศษ

- บุคคลทั่วไปซึ่งไม่มีลักษณะเด่นอะไรเลย แต่นักข่าวมองเห็นแง่มุมบางอย่างที่มีคุณค่าแก่การนำเสนอ

 

คุณสมบัติของผู้สื่อข่าวในการสัมภาษณ์

1. มีการเตรียมตัวพร้อมล่วงหน้าสำหรับการสัมภาษณ์

2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัดในการสัมภาษณ์

3. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะสัมภาษณ์เป็นอย่างดี

4. มีความเชื่อมั่นในตัวเอง

5. มีความเป็นคนช่างสังเกต

6. มีมนุษยสัมพันธ์และบุคลิกที่น่าเชื่อถือ

7. มีความรอบรู้และมีไหวพริบในการตอบโต้

8. มีลักษณะของการเป็นผู้ฟังที่ดี

9. มีความสามารถในการจดบันทึกได้อย่างรวดเร็วและฉับพลัน

 

ขั้นตอนการสัมภาษณ์

สำหรับขั้นตอนการสัมภาษณ์ จะแยกกล่าวถึงตามลักษณะของการสัมภาษณ์ ได้แก่

- การสัมภาษณ์รายบุคคล

- การสัมภาษณ์ในการเปิดประชุมแถลงข่าว

 

 

 

การสัมภาษณ์รายบุคคล

 

1. การเตรียมการสัมภาษณ์

1.      การสัมภาษณ์ที่ไม่สามารถกำหนดล่วงหน้า ผู้สัมภาษณ์ควรสะสมความรู้ ประสบการณ์ ในข่าวสารข้อมูล เรื่องที่น่าสนใจในกระแสเหตุการณ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ให้อยู่ในภาวะที่พร้อมจะนำออกมาใช้ได้ทุกเวลา เพราะการทำข่าวอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ

2.      การสัมภาษณ์ที่สามารถกำหนดล่วงหน้าได้

- การกำหนดเป้าหมายของการสัมภาษณ์ให้ชัดเจน

- การแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ

- การวางตัว การใช้ถ้อยทีวาจา

- ตรวจสอบเครื่องมืออุปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายรูป เทปบันทึกเสียง ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่

- นัดหมายสถานที่ กำหนดเวลาในการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ สำหรับบุคคลสำคัญ การนัดหมายอาจเป็นไปได้ยาก บุคคลที่จะให้ช่วยเหลือและสามารถนำผู้สื่อข่าวเข้าพบบุคคลสำคัญได้ ได้แก่เลขานุการส่วนตัว หรือเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ดังนั้นผู้สื่อข่าวควรสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลเหล่านี้

- ผู้ให้สัมภาษณ์บางคนอาจไม่สามารถให้สัมภาษณ์เสร็จสิ้นในคราวเดียวได้ ต้องมีการนัดหมายหลายครั้ง กรณีนี้ผู้สื่อข่าวควรมีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการสัมภาษณ์แต่ละครั้งด้วย โดยจุดมุ่งหมายย่อยเหล่านี้ต้องนำไปสู่การตอบคำถามของวัตถุประสงค์สำคัญ ของการสัมภาษณ์ที่ถูกกำหนดตั้งแต่ต้นด้วย

- แจ้งผู้ให้สัมภาษณ์รู้ถึงเป้าหมายหรือแนวคำถามของการสัมภาษณ์ล่วงหน้า  เพื่อผู้ให้สัมภาษณ์จะได้มีการเตรียมตัว

- ศึกษาถึงความขัดแย้งของแหล่งข่าวกับหน่วยงานของเราว่ามีมากน้อยเพียงใด  หากมีจะแก้ไขอย่างไร

- เตรียมคำถามที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ เขียนเป็นข้อ ๆ  โดยเรียงลำดับจากข้อที่สำคัญและต้องการรู้มากที่สุดก่อน แล้วค่อยเรียงตามความสำคัญมากน้อยตามมา ควรเตรียมคำถามเผื่อไว้ให้มาก คำถามที่ดีและตรงเป้าหมายจะช่วยให้ผู้สื่อข่าวสามารถดึงคำตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์ได้มาก

- ลักษณะของคำถามที่ดี ได้แก่

     สั้น รัดกุม เหมาะสม ชัดเจน

   มีใจความและแนวทางไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ

   พยายามเลี่ยงการใช้คำถามปลายปิด  แต่ควรเป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกถามตอบคำถามได้ยาว ๆ

   พยายามหลีกเลี่ยงการตั้งคำถามที่มีลักษณะเป็นการสมมติ แต่คำถามนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นการเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงหรือหาคำตอบให้กับผู้อ่านให้ได้มากที่สุด

   พยายามเลี่ยงคำถามที่มีลักษณะตอบโต้

- การที่จะตั้งคำถามที่ดีได้หรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ

   การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์อย่างเพียงพอ เช่น อาชีพ ระดับความรู้ ความสนใจพิเศษ งานอดิเรก ครอบครัว กิจกรรมพิเศษต่าง ๆ

   การศึกษาเรื่องที่จะสัมภาษณ์อย่างเพียงพอ

 

2. การดำเนินการสัมภาษณ์

- แนะนำตัวเอง นักข่าวใหม่แสดงบัตรประจำตัวด้วย

- ควรเริ่มต้นการสัมภาษณ์ด้วยคำถามง่าย ๆ และเป็นกันเอง เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่เป็นกันเองและมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ซึ่งช่วยลดความประหม่าลงไปได้มาก

- ควรสร้างความคุ้นเคยกับผู้ให้สัมภาษณ์ สร้างบรรยากาศที่ดีตั้งแต่ต้นจนจบ

- แสดงความมั่นใจ ไม่ขัดเขิน เพราะอาจทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่เชื่อถือ

- อย่าอวดดี มีหรือแสดงท่าทีว่าเป็นผู้รู้มากเกินไป

- ขออนุญาตก่อนอัดเทป เพราะแหล่งข่าวบางคนไม่ชอบ

- ย้ำถึงเป้าหมายการสัมภาษณ์ให้ชัดเจนเมื่อเริ่มต้น

- ระมัดระวังในการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ หรือฐานันดร

- ทุกครั้งที่มีการนัดหมาย ผู้สื่อข่าวไม่ควรผิดนัด

- ตรงต่อเวลา ไม่ควรไปถึงที่นัดหมายก่อนเวลามากเกินไป หรือไปสายกว่าที่นัดไว้ เวลาที่เหมาะสมคือควรไปถึงก่อนกำหนดประมาณ 15 นาที

- หากผู้ให้สัมภาษณ์ยังไม่พร้อมให้สัมภาษณ์ในเวลาที่นัดหมายไว้  ถือเป็นหน้าที่ของผู้สื่อข่าวที่จะต้องอดทนรอ

- ควรแยกช่างภาพกับผู้สัมภาษณ์

- สำหรับการสัมภาษณ์เพื่อข้อเท็จจริง ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานนัก หลังจากได้ข้อมูลตามต้องการแล้วก็กล่าวลาได้ทันที บรรยากาศการสัมภาษณ์อาจเร่งร้อน รวดเร็ว กะทันหัน เกิดขึ้น ณ สถานที่ใดก็ได้ เช่น ในลิฟท์ หน้าห้องประชุม บันไดหน้าทำเนียบ ฯลฯ

- สำหรับการสัมภาษณ์เพื่อบุคลิกภาพหรืออื่น ๆ จำเป็นต้องใช้เวลานานพอสมควร  จึงควรอยู่ในสถานที่ที่ผู้ให้สัมภาษณ์มีความสบายตัว สบายใจ จึงควรเป็นสถานที่มีบรรยากาศดี ไม่มีสิ่งรบกวนมาก

- เป็นนักฟังที่ดี

- ควรจดข้อความคม ๆ หรือประเด็นสำคัญ ๆ ที่แหล่งข่าวพูด

- ควรถามคำถามที่เกี่ยวพันกัน เพื่อให้เขาตอบได้อย่างราบรื่น

- ในระหว่างการสัมภาษณ์ ควรสบตาผู้ให้สัมภาษณ์บ้างเพื่อแสดงความจริงใจ ไม่ควรก้มหน้าก้มตาจด

- ไม่ควรป้อนคำถามหลาย ๆ คำถามในเวลาเดียว

- ควรมีความกล้าพอในการถามคำถามที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้คิด ได้แสดงความคิดเห็น ได้โต้แย้ง

- อย่าให้คำสัญญาใด ๆ กับแหล่งข่าวถ้านักข่าวไม่แน่ใจ เช่นบทสัมภาษณ์นี้จะได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ เพราะผู้พิจารณาคือบรรณาธิการ มิใช่ตัวของผู้สื่อข่าว

- หากแหล่งข่าวพูดไม่ชัดเจน หรือใช้ถ้อยคำไม่ตรงประเด็น หรือพูดติด ควรเสริมคำพูดแหล่งข่าว แต่อย่าเสริมจนทำให้แหล่งข่าวเสียความสำคัญ

- จุดใดที่แหล่งข่าวพูดถูก พูดได้ดี ถูกจุด ควรมีการชมเชยหรือสนับสนุน

- ถ้าเห็นว่าการสนทนาเป็นทางการมากไป ควรคลี่คลายการพูดเป็นเชิงสนุกสนานเพื่อผ่อนคลายบ้าง

- เมื่อแหล่งข่าวพูดนอกประเด็นไปมากหรือเยิ่นเย้อเกินไป ควรปิดกั้นด้วยคำถามใหม่หรือขัดจังหวะเสียบ้าง

- หากไม่เข้าใจประเด็นรีบถาม

- ไม่ควรคาดหวังให้ผู้ตอบ ตอบตามกระแสที่มีคนเคยตอบไว้ หรือตอบให้ตรงกับที่เราต้องการ

- อย่าเร่งเวลาในการสัมภาษณ์ เพราะถ้านักข่าวรีบรวบรัดให้จบ อาจทำให้นักข่าวลืมหรือพลาดที่จะถามในประเด็นดี ๆ ไป

- ในกรณีที่การพูดนั้นทำให้สะเทือนใจหรือกระทบถึงตัวแหล่งข่าว ควรพยายามพูดปกป้อง

- สังเกตกริยาท่าทาง สีหน้า แววตาของผู้ให้สัมภาษณ์ ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในขณะที่มีการสัมภาษณ์ และนำบรรยากาศเหล่านี้มาเขียนในบทสัมภาษณ์ด้วย

- หากแหล่งข่าววิจารณ์องค์กรที่ผู้สื่อข่าวสังกัดอยู่ ผู้สื่อข่าวควรจะเลี่ยงการถกเถียงตรง ๆ ในเรื่องนี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ควรแสดงว่าเห็นชอบด้วยกับคำวิจารณ์นั้น เพราะจะทำให้องค์กรที่ตนสังกัดได้รับความเสียหาย ผู้สื่อข่าวควรจะวางตัวเป็นกลาง

- จบด้วยคำถามรวบยอดเสมอ และควรบอกผู้ให้สัมภาษณ์ทราบด้วยว่าเป็นคำถามสุดท้าย

 

3. สรุปการสัมภาษณ์

- ควรทบทวนข้อความสำคัญ เช่น สถิติ ปี พ.. อายุ ตัวสะกด ศัพท์เทคนิค

- ขออนุญาตโทรศัพท์กลับมาเช็คข้อมูล หากมีข้อสงสัย

- สำหรับการสัมภาษณ์เพื่อข้อเท็จจริงควรมีการตรวจเช็คซ้ำหลายครั้ง ซึ่งอาจจะตรวจจากหลักฐานหรือผู้ให้สัมภาษณ์แหล่งอื่น ๆ

- ควรสร้างเยื่อใยความสัมพันธ์ที่ดีไว้สำหรับการติดต่อกับแหล่งข่าวในคราวต่อ ๆ ไป

- หลังเสร็จจากการสัมภาษณ์ควรรีบเขียนบทสัมภาษณ์ทันที

 

ปัญหาทั่ว ๆ ไปของการสัมภาษณ์

- หากแหล่งข่าวไม่ให้สัมภาษณ์ในกรณีที่มีปัญหาซึ่งทำให้แหล่งข่าวได้รับความเสียหายเกิดขึ้น ผู้สื่อข่าวควรอธิบายให้กับแหล่งข่าวเข้าใจว่า การไม่ชี้แจงจะเป็นผลเสียต่อแหล่งข่าวเองมากกว่า  เพราะการชี้แจงเป็นหนทางเดียวในการป้องกันชื่อเสียงจากการถูกมองอย่างดูหมิ่นหรือเข้าใจผิดจากสังคมได้ และนักข่าวอาจลงข่าวในสื่อว่าแหล่งข่าวปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ซึ่งก็ถือว่าเป็นการให้สัมภาษณ์ลักษณะหนึ่ง จะเป็นผลเสียต่อแหล่งข่าวมากกว่า การอธิบายดังกล่าวนี้ไม่ควรเป็นไปในลักษณะของการข่มขู่ แต่เป็นการชี้แจงทำความเข้าใจ

- การไม่ให้สัมภาษณ์บางครั้งอาจเกิดจากการที่แหล่งข่าวเกรงว่า  การให้สัมภาษณ์อาจนำอันตรายมาสู่ตนเองได้ กรณีนี้ผู้สื่อข่าวควรชี้แจงให้แหล่งข่าวมั่นใจว่าเรื่องนี้เป็นความลับ ผู้สื่อข่าวจะไม่เปิดเผยที่มาของแหล่งข่าวแม้จะถูกกดดันหรือบีบบังคับจากผู้ใด และขอให้แหล่งข่าวคำนึงว่าสังคมต้องการความจริง ความถูกต้อง การไม่เปิดเผยอาจทำให้ประชาชนสับสนได้

- บางครั้งผู้ให้สัมภาษณ์อาจให้ข้อมูลบางอย่างกับผู้สื่อข่าว  เพื่อเป็นพื้นความรู้ประกอบการวินิจฉัยข้อเท็จจริง แต่ขอร้องมิให้เปิดเผยต่อสาธารณะ โดยอ้างว่าข้อความนั้นอาจเป็นความลับสุดยอด หรือเป็นข้อความที่เกรงว่า  หากเผยแพร่ออกไปแล้วจะเป็นผลเสียต่อแหล่งข่าวเอง เรียกข้อมูลในลักษณะนี้ว่า “Off - the - Record” เมื่อผู้สื่อข่าวได้รับการร้องขอในลักษณะนี้อาจทำได้ 3 ทาง คือ

. รับฟังแหล่งข่าว และยอมรับเงื่อนไข หากเห็นว่าอาจเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง

. รับฟังแหล่งข่าว แต่ปฏิเสธเงื่อนไข เมื่อเห็นว่าไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตรงข้าม อาจเป็นประโยชน์ ผู้สื่อข่าวควรอธิบายให้แหล่งข่าวเข้าใจถึงประโยชน์ต่อส่วนรวม และชี้แจงว่าสามารถหาข้อมูลเดียวกันได้จากแหล่งข่าวอื่น การรายงานข่าวทำโดยหลีกเลี่ยงระบุชื่อแหล่งข่าว

. ไม่รับฟังข้อมูลนั้น ๆ จากแหล่งข่าว หากเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และแหล่งข่าวยืนยันหนักแน่นว่าไม่ให้นำเสนอเป็นข่าว เพราะหากรับฟังและนำเสนอ แม้จะหาข้อมูลจากแหล่งข่าวอื่นหรือนำเสนอโดยปกปิดชื่อของแหล่งข่าวก็ตาม ก็นับว่านักข่าวไม่รักษาคำพูดทั้งสิ้น บางครั้งการเล่าเรื่องโดยไม่ให้นำเสนอเป็นข่าวก็เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของแหล่งข่าวที่จะไม่ให้เรื่องดังกล่าวเป็นข่าว นักข่าวไม่ควรตกลงง่าย ๆ แต่ควรไปหาแหล่งข่าวอื่นที่สามารถให้ข้อมูลเดียวกัน และสามารถเปิดเผยแหล่งข่าวได้

- สำหรับแหล่งข่าวประจำ บางครั้งอาจให้สัมภาษณ์ในลักษณะว่า วันนี้ไม่มีอะไรใหม่หรือ วันนี้ไม่มีข่าวโดยปกติเขาหมายถึงว่าไม่อาจนึกถึงอะไรพอที่จะเป็นข่าวได้ในขณะนั้น นักข่าวควรเริ่มด้วยคำถามที่เกี่ยวกับสิ่งทั่ว ๆ ไปรอบ ๆ ตัวของแหล่งข่าวก่อน เพราะอาจมีเรื่องบางเรื่องที่แหล่งข่าวรู้แต่คิดไม่ถึงว่าจะสามารถเป็นข่าวได้ก็ได้

- เมื่อแหล่งข่าวให้สัมภาษณ์ไปแล้ว และมาปฏิเสธในภายหลังจากที่ได้นำเสนอบทสัมภาษณ์นั้นออกไปแล้ว ในกรณีนี้ นักข่าวควรมีการตรวจสอบว่าการนำเสนอมีความผิดพลาดหรือไม่ หากมีความผิดพลาดควรรีบแก้ไข แต่หากนักข่าวมั่นใจว่าทุกอย่างเป็นไปโดยถูกต้อง ควรชี้แจงให้แหล่งข่าวเข้าใจว่าไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ก็เปิดโอกาสให้แหล่งข่าวสามารถชี้แจงในสื่อได้

 

ความผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นจากการสัมภาษณ์

- ไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัดในสิ่งที่ต้องการสัมภาษณ์

- ขาดการเตรียมตัวอย่างเพียงพอ

- ขาดการศึกษาในเรื่องราวที่จะสัมภาษณ์

- ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

- ขาดความรู้เกี่ยวกับแหล่งข่าวที่จะให้สัมภาษณ์

- เข้าไม่ถึงแหล่งข่าวที่ถูกต้อง

- ขาดความกระตือรือร้น

- ความไม่กระจ่างในการตั้งคำถาม

- ขาดความมั่นใจในตนเองและเรื่องที่สัมภาษณ์

- มีความเชื่อมั่นมากจนเกินไป

- ขาดการสังเกตติดตามการสนทนาระหว่างการสัมภาษณ์

- มุ่งที่จะถามตามคำถามที่เตรียมไว้มากเกินไป

- ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้พูดอธิบายให้ครบใจความ

- ผู้สื่อข่าวจงใจสร้างความกระอักกระอ่วนให้แก่ผู้ถูกสัมภาษณ์

- ถามยั่วยุให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เกิดอารมณ์

- ทำให้ดูเหมือนว่าคำถามนั้นผู้สัมภาษณ์ไม่เห็นพ้องกับความคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์

- นักข่าวสรุปความก่อนจะเริ่มสัมภาษณ์

- ผู้สัมภาษณ์ถามเจาะหาความจริงซ้ำแล้วซ้ำอีก ในขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์หลบเลี่ยงที่จะบอกความจริงแก่ประชาชน บางครั้งทำให้กลายเป็นการเอาชนะคะคานกันมากกว่าเป็นการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้คำตอบ

- ผู้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นเสริมด้วยในการตั้งคำถามหรือปะปนไปกับคำถาม

- ผู้สื่อข่าวมักถูกวิจารณ์ว่าชอบตั้งคำถามสัมภาษณ์เพื่อให้คนทะเลาะกันมากกว่าค้นหาความจริง เพราะมักเอาความคิดเห็นที่ไม่อาจแสวงหาข้อเท็จจริงได้ของคนหนึ่งไปถามอีกคนหนึ่งให้เป็นข่าวสำหรับวันนั้น

 

 

การสัมภาษณ์ในการเปิดการประชุมแถลงข่าว (Press Conference)

 

ความหมาย

การประชุมแถลงข่าวเป็นวิธีการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่งขององค์กรหรือหน่วยงาน ที่มุ่งหวังอาศัยสื่อมวลชนเป็นตัวกลางในการกระจายข่าวสาร โดยตัวแทนของหน่วยงานนั้นเปิดโอกาสให้แก่สื่อมวลชนหลาย ๆ สื่อในเวลาเดียวกันทำข่าวและซักถามอย่างเป็นทางการ โดยผู้ที่เป็นแหล่งข่าวจะเป็นผู้กำหนดและดำเนินการประชุม ทั้งนี้การประชุมจะเริ่มจากการให้ข้อมูล แถลงข้อเท็จจริง  รวมถึงให้รายละเอียดต่าง ๆ แก่ผู้สื่อข่าว พร้อมทั้งมีเอกสารแจกหรือที่เรียกว่า ข่าวแจกประกอบการประชุม จากนั้นจึงจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวได้ซักถามปัญหาหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวข้อ หรือเรื่องราวที่แถลงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

การประชุมแถลงข่าวถือเป็นการสัมภาษณ์หมู่ (Gang Interview) จะเกิดขึ้นเนื่องจากองค์กรหรือหน่วยงานเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ในลักษณะการแก้ภาพพจน์ให้สาธารณชนได้รับรู้หรืออาจจะเป็นการเผยแพร่ผลงานในลักษณะประชาสัมพันธ์องค์กร ทั้งนี้เพราะการประชุมแถลงข่าวสามารถประหยัดเวลาในการเผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งสามารถกระจายการรับรู้ของสาธารณชนได้อย่างรวดเร็ว

การสัมภาษณ์ในการประชุมแถลงข่าวนี้ ผู้สื่อข่าวต้องมีการตระเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ต้องมีการเตรียมคำถาม และรู้จักวิธีการขุดคุ้ยข้อมูลที่มีคุณค่าของข่าวมานำเสนอต่อผู้อ่าน ทั้งนี้เพราะหลายครั้งที่ผู้แถลงข่าว โดยเฉพาะนักการเมืองมักจะมีการปกปิดข้อมูลหรือหลีกเลี่ยงการตอบคำถาม

 

ขั้นตอนการสัมภาษณ์

เนื่องจากในแต่ละครั้งที่จัดประชุมแถลงข่าวนั้น ผู้จัดการประชุมแถลงข่าวมักจะมีการเตรียมข้อมูลในการแถลงล่วงหน้า จึงเปรียบเสมือนเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ ซึ่งอาจจะซ่อนเร้นข้อมูลที่สำคัญอันจะมีผลกระทบในทางลบต่อองค์กรหรือหน่วยงานของตน และข้อมูลเหล่านั้นก็เป็นข้อมูลที่มีคุณค่าทางข่าวสูง ดังนั้นเพื่อมิให้ผู้สื่อข่าวตกอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้จัดประชุมแถลงข่าวมากเกินไป ผู้สื่อข่าวควรจะต้องเตรียมตัวในการรวบรวมข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ

การสัมภาษณ์ในการประชุมแถลงข่าว มีขั้นตอนและวิธีการโดยทั่วไปดังนี้

 

1. การเตรียมการสัมภาษณ์

- ตามปกติ การเปิดประชุมแถลงข่าวจะแจ้งให้ผู้สื่อข่าวทราบก่อนล่วงหน้า ดังนั้นก่อนเข้าฟังการประชุม ผู้สื่อข่าวควรมีการค้นคว้าถึงภูมิหลัง หรือความเป็นมาของเรื่องราวที่จะแถลงว่ามีประเด็นใดบ้างที่สามารถซักถามนำเอามาเสนอต่อผู้อ่าน รวมทั้งศึกษาผู้แถลงข่าวว่ามีความสำคัญอย่างไร

- ผู้สื่อข่าวควรปรึกษาหารือกับบรรณาธิการเกี่ยวกับการเตรียมคำถามที่จะเป็นประเด็นพิเศษสำหรับสื่อของตน ทั้งนี้เนื่องจากสื่อมวลชนทุกแขนงที่เข้าร่วมฟังการแถลงข่าวก็ต้องการข้อมูลที่มีคุณค่าสูงมานำเสนอต่อผู้อ่านทั้งสิ้น ดังนั้นอาจจะมีคำถามที่สำคัญซึ่งเก็บไว้สัมภาษณ์เป็นการส่วนตัวภายหลัง  

2. การดำเนินการสัมภาษณ์

- โดยมารยาท นักข่าวใหม่ควรนั่งหลังนักข่าวอาวุโส

- นักข่าวต้องไปถึงที่เปิดแถลงข่าวก่อนเวลา และก่อนเริ่มเปิดแถลงข่าวต้องยืนแสดงความเคารพต่อผู้แถลง เวลาปิดแถลงข่าวก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน

- ก่อนเริ่มคำถามที่เตรียมมา นักข่าวต้องมีมารยาทและแสดงความสนใจต่อคำแถลงที่ผู้แถลงจะแถลงข้อมูลที่จะเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนแบบสั้น ๆ ก่อน จากนั้นจึงเริ่มถามคำถามที่เตรียมมาได้

- ในการประชุมแถลงข่าว แม้ว่าผู้สื่อข่าวอาจจะต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากถูกควบคุมจากผู้จัดการแถลงข่าวก็ตาม แต่ก็สามารถพลิกสถานการณ์ได้ โดยการร่วมใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการตั้งคำถาม อย่าแย่งกันถามคนละปัญหา ควรให้โอกาสคนที่ถามก่อนแล้วค่อยเสริมคำถามในปัญหาเดียวกัน ด้วยการซักและไล่เลียงจนครบถ้วนในปัญหานั้น เสร็จแล้วจึงเริ่มปัญหาใหม่ต่อไป

- ไม่ควรถามปัญหาซ้ำ เพราะจะทำให้เสียเวลาทั้งผู้ตอบและเสียเวลาเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ

- ไม่ตั้งคำถามยืดยาว สลับซับซ้อน เพราะผู้ตอบอาจสับสนและเป็นการเสียเวลาผู้อื่น

- การเปิดประชุมแถลงข่าว ผู้แถลงย่อมพร้อมที่จะตอบคำถามนักข่าวอยู่แล้ว ดังนั้น นักข่าวจึงควรมีความกล้าพอที่จะตั้งคำถามที่สร้างความกระอักกระอ่วนใจให้กับผู้แถลงบ้าง บางครั้งอาจทำให้ได้ข้อมูลที่มีคุณค่า แต่คำถามดังกล่าวก็ไม่ควรหยาบคาย ก้าวร้าว หรือไม่สุภาพจนเกินไป

- ในกรณีที่ผู้ตอบปัญหาเลี่ยงในการตอบ ต้องช่วยกันพยายามตะล่อมให้ผู้ตอบเข้าในประเด็นปัญหานั้นให้ได้

- อย่าเสียมารยาทด้วยการขัดจังหวะในการซักถามปัญหาของนักข่าวคนอื่น ต้องรอจนกว่าผู้ตอบปัญหาจะชี้แจงให้จบเสียก่อน จึงค่อยยกมือถามต่อไป

- หากผู้แถลงข่าวขอร้องให้ผู้สื่อข่าวมิให้นำข้อมูลบางอย่างออกนำเสนอ (Off-the-Record) ผู้สื่อข่าวไม่ควรรับปากเพราะไม่สามารถทราบได้ว่าผู้สื่อข่าวอื่น ๆ ที่ร่วมฟังอยู่นั้นจะยอมหรือไม่ เพราะฉะนั้นผู้สื่อข่าวควรรายงานให้บรรณาธิการทราบและเป็นผู้ตัดสินว่าจะทำอย่างไร

- ในกรณีที่มีผู้ต้องการถามปัญหายกมือหลายๆ คน ไม่ควรแย่งลุกขึ้นถาม ควรให้เกียรติผู้ตอบชี้ตัวบุคคลถามเป็นรายตัว ตามแต่จะเลือกผู้ใด

- นักข่าวต้องไม่ลืมว่าการไปร่วมทำข่าวในการเปิดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนนี้  ไม่ใช่การสัมภาษณ์เดี่ยวที่นักข่าวมุ่งจะสัมภาษณ์เฉพาะเรื่องที่ตนต้องการจะถามแต่ฝ่ายเดียว โดยลืมว่านักข่าวคนอื่นก็ต้องการได้ข่าวเหมือนเรา นักข่าวจึงควรมีมารยาทและรู้จักกาลเทศะตามโอกาส ซึ่งถ้าต้องการถามปัญหาเฉพาะ นักข่าวควรหาวิธีที่จะนำแหล่งข่าวที่เป็นตัวแทนองค์กรฝ่ายต่าง ๆ ออกไปในสถานที่และเวลาที่เหมาะสม

 

3. การสรุปการสัมภาษณ์

- ผู้สื่อข่าวควรพยายามหาโอกาสถามคำถามส่วนตัวกับแหล่งข่าวภายหลังการประชุมแถลงข่าวแล้ว เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อมูลที่ได้มาจากการถามตอบจากที่ประชุม

- เนื่องจากการเปิดประชุมแถลงข่าวเป็นการสัมภาษณ์หมู่ที่มีสื่อมวลชนมาจากแขนงต่าง ๆ ดังนั้นประเด็นข่าวที่ได้รับจึงเหมือนกันในทุกสื่อ ผู้สื่อข่าวจึงควรมีวิจารณญานในการเลือกประเด็นหรือแง่มุมเด่นที่มีความแตกต่างจากสื่ออื่น ๆ ในการนำเสนอ

- ผู้สื่อข่าวควรตระหนักถึงความจริงที่ว่าการประชุมแถลงข่าวนั้น แท้จริงแล้วเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกวางแผนมาแล้วล่วงหน้า ซึ่งอาจจะออกมาในรูปของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ผู้สื่อข่าวจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกหัวข้อหรือประเด็นที่สำคัญ และที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมาเสนอต่อสาธารณชน

 

สรุป

การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งสำหรับผู้สื่อข่าว หากไม่สามารถสัมภาษณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์รายบุคคลหรือการสัมภาษณ์ในการเปิดประชุมแถลงข่าว บุคคลนั้นจะเป็นผู้สื่อข่าวที่ดีไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี ไม่มีตำราเล่มใดที่จะสามารถฝึกให้ผู้สื่อข่าวเป็นนักสัมภาษณ์ที่ดีได้ภายในเวลาข้ามคืนด้วยการอ่านหรือท่องจำ การเป็นนักสัมภาษณ์ที่ดีขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการฝึกฝน นักสัมภาษณ์ที่ดีย่อมรู้จักพลิกแพลงการสัมภาษณ์ได้อย่างเหมาะสมกับเวลาและสถานที่ของแต่ละสถานการณ์

 

 

 

แสดงจุดยืนที่ชัดเจนเมื่อเข้ารับการสัมภาษณ์

                   โดยปกติแล้วในการสัมภาษณ์บุคคลเข้าทำงาน ถ้าผู้สัมภาษณ์มีการเตรียมตัวดีหรือมีประสบการณ์มามากพอสมควร ลักษณะการตั้งคำถามของเขาจะตั้งเป็นชุด ๆ ไปเลยทีเดียว และส่วนใหญ่จะตั้งคำถามตามแบบพิมพ์ของใบสมัคร โดยมีการตั้งคำถามเริ่มต้นจากนั้นก็จะตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบคำตอบจากคำตอบที่คุณตอบไป ซึ่งเป็นการถามแบบขยายขอบเขตของเรื่องนั้นไปเรื่อย ๆ โดยที่ผู้ถูกสัมภาษณ์อาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งคำถามเหล่านี้หากผู้รับการสัมภาษณ์เตรียมตัวไว้ไม่ดี หรือมิได้ให้ข้อความตามความเป็นจริงหรือเป็นคนที่ขาดจุดยืน มักจุตกม้าตายโดยไม่รู้ตัว
                   ลักษณะของข้อผิดพลาดก็คือ ผู้รับการสัมภาษณ์ให้คำตอบในเรื่องเดียวกัน 2 ครั้ง ไม่เหมือนกัน อันอาจจะเกิดจากการจำเรื่องที่เคยพูดไว้แล้วไม่ได้ เพราะไม่ได้พูดความจริง หรอืพูดเกินเลยความจริง ประเภทขี้โม้หรือมีลักษณะที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง พอถูกสัมภาษณ์คัดค้านหรือแสดงความขัดแย้ง ผู้รับสัมภาษณ์ก็คล้อยตามทันที ทั้ง ๆ ที่ผู้สัมภาษณ์เองก็มิได้ตั้งในคัดค้านอะไร แน่วแน่แค่ไหน หรือรู้อะไรจริงบ้าง พอผู้รับการสัมภาษณ์เริ่มไขว้เขว นั่นคือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าผู้รับการสัมภาษณ์ขาดความมั่นใจในตัวเอง
                   จุดอ่อนต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้รับการสัมภาษณ์สามารถจะแก้ไขได้โดยการเตรียมตัวตั้งคำถามตนเอง ตอบตนเอง โดยคำตอบนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ซึ่งคุณไม่ต้องไปกังวลว่า คำตอบของคุณ 2 ครั้งไม่เหมือนกัน ถ้าคุณตอบคำถามตามความเป็นจริง ไม่ว่าผู้สัมภาษณ์จะมารบกวนคุณอย่างไร หรือกี่คนที่สัมภาษณ์คุณก็จะได้คำตอบแบบเดียวกัน
                   ลองตั้งคำถามในการสัมภาษณ์คัดเลือกบุคคลเข้าทำงานโดยจะแยกคำถามเป็นชุด ไปตามลำดับในใบสมัครโดยทั่วไปให้คุณทดสอบตอบตัวเองหรือจะให้เพื่อนช่วยถามและคุณตอบ แล้วให้เพื่อวิจารณ์ว่าฟังคำตอบคุณแล้วเขารู้สึกอย่างไร เข้าท่าแค่ไหน หรือฟังแล้วเหมือนเล่านิทานจับต้นชนปลายไม่ถูดแม้ได้พูดความจริงแล้วก็ตาม
                   คำถามที่จะนำมาเสนอนี้เป้นคำถามที่อยู่ทั่วไป ซึ่งพอจะแย่งออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1. ชีวประวัติเบื้องต้น
2. การศึกษา
3. ประสบการณ์ในการทำงาน
4. ความสามารถส่วนตัว
5. เรื่องทั่วไป

1. ชีวประวัติเบื้องต้น

- กรุณาเล่าชีวิตในวัยเด็กให้ผมฟัง
- คุณเกิดที่ไหน หรือคุณเติบโตที่ไหน
- กรุณาเล่าเรื่องครอบครัวของคุณให้ฟัง
- กรุณาเล่าเรื่องเกี่ยวกับบิดามารดาของคุณ
- คุณมีพี่น้องทั้งหมดกี่คน ตอนนี้ประกอบอาชีพอะไรบ้าง
- ทำไมคุณจึงมิได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ของคุณ
- คุณมีความภูมิใจในคุณพ่อคุณแม่ของคุณอย่างไรบ้าง
- ชีวิตของคุณในวัยเด็ก ใครเป็นผู้มีอิทธิพลต่อคุณมากที่สุด และมีอิทธิพลในทางไหนมากที่สุด
- คุณมีความรู้สึกอย่างไรในการที่คุณพ่อ คุณแม่ของคุณต้องแยกกันอยู่

2. การศึกษา

- คุณเรียนชั้นมัธยมฯ ที่ไหน
- ผลการเรียนเป็นอย่างไรบ้าง
- คุณเรียนรู้อะไรจากการศึกษาในระดับมัธยม
- ใครมีอิทธิพลต่อคุณมากที่สุดในช่วงเรียนชั้นมัธยมฯ และในด้านใด
- คุณเรียนที่มหาวิทยาลัยอะไร
- ทำไมคุณจึงเลือกเรียนสาขาวิชานี้
- ผลการเรียนของคุณเป็นอย่างไร
- คุณชอบวิชาไหนมากที่สุด เพราะอะไร
- คุณสามารถทำคะแนนได้ดีในวิชาใด เพราะอะไร
- คุณคิดว่าคุณจะใช้วิชาความรู้ที่คุณเรียนมานี้ให้เป็นประโยชน์กับงานที่คุณสมัครนี้อย่างไร
- เวลาว่างจากการเรียนทำอะไรบ้าง
- ในระหว่างการเรียนคุณใช้จ่ายเงินอย่างไร
- คุณชอบกีฬาหรือไม่ คุณเล่นกีฬาอะไร
- คุณเป็นสมาชิกชมรมอะไรต่าง ๆ บ้างหรือไม่ เพราะอะไร
- ในระหว่างการศึกษานี้คุณมีเพื่อนสนิทกี่คน เพื่อน ๆ ที่สนิทกันนี้ได้งานทำแล้วหรือยัง ที่ไหน
- ระหว่างที่คุณอยู่ในกลุ่มเพื่อน ใครเป็นผู้นำหรือชักจูงให้เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ

3. ประสบการณ์ในการทำงาน

- ขอให้เล่าถึงประวัติการทำงานของคุณโดยย่อตั้งแต่เริ่มทำงานครั้งแรก
- คุณเปลี่ยนบริษัทกี่ครั้ง แต่ละครั้งมีสาเหตุอะไร
- ขอให้เล่าหน้าที่งานที่ผ่านมาว่าทำอะไร
- สิ่งจูงในให้คุณเข้าทำงานในแต่ละบริษัท มีอะไรบ้าง
- คุณคิดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับชีวิตในการทำงานของคุณ
- อะไรเป็นสิ่งชักนำให้คุณมาดำรงตำแหน่งนี้
- ถ้าเราพูดคุยกับหัวหน้าเก่าของคุณที่บริษัท คุณคิดว่าเขาจะพูดอย่างไรเกี่ยวกับตัวคุณและผลงานของคุณ
- ในชีวิตการทำงานที่ผ่านมา คุณคิดว่าคุณประสบความสำเร็จอะไรบ้าง
- ในการทำงานของคุณ คุณเคยพลาดอะไรบ้าง
- บรรดาตำแหน่งงานที่คุณเคยทำมา ตำแหน่งไหนที่คุณชอบมากที่สุด ตำแหน่งไหนที่คุณชอบน้อยที่สุด เพราะอะไร
- คุณคิดว่าคุณมีจุดอ่อนหรือไม่ และควรปรับปรุงอย่างไร
- คุณคิดว่าคุณมีจุดเด่นหรือความสามารถพิเศษอะไร และจะเป็นประโยชน์ต่องานที่สมัครนี้อย่างไร
- คุณมีแผนการในชีวิตการทำงานของคุณอย่างไร
- ถ้าคุณเป็นบริษัท คุณจะจ้างตัวคุณสำหรับตำแหน่งนี้ไหม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

 

เตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งาน
ข้อความ : เตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งาน

โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์

>

การหางานหรือเปลี่ยน งานในภาวะปัจจุบัน เป็นเรื่อง ไม่ง่ายนัก แม้ว่าจะมีประกาศ โฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ต่างๆ รับสมัครงาน แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วงานที่เราคิด ว่า เหมาะกับเรา อาจจะไม่เหมาะในสายตาของผู้รับหรือ ในทางกลับกันพบได้บ่อยๆ ว่างานที่เราไม่ตั้งใจจะทำ เรียกว่าสมัครไปงั้นๆ กลับได้ขึ้นมา ความไม่ลงตัวเหล่านี้ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ผมเคยได้ฟังหญิงสาวท่านหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะกับงานประเภทที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศ เธอไปสัมภาษณ์งาน ที่บริษัทข้ามชาติของไทยแห่งหนึ่งซึ่งว่ากันว่ามีการลงทุน ในจีนเป็นมูลค่ามหาศาลและตำแหน่งงานนั้นต้องการคนที่มีความรู้ทางด้านการบริหาร และเชี่ยวชาญภาษา อังกฤษกับภาษาจีน

สิ่งที่เธอพบจากคนสัมภาษณ์ก็คือ การเริ่มต้นสัมภาษณ์ว่า ตามใบสมัคร คุณเองมีความรู้เรื่องภาษาจีนดี ส่วนภาษาอังกฤษนั้น คุณเรียนจบโท ภาษาก็คง จะดีอยู่แล้ว ผมคิดว่าจะไม่ถามคุณทั้งสองเรื่อง เอาเป็น ว่าเราคุยกันด้วยภาษาไทย และไม่เกี่ยวกับเรื่องที่คุณเรียนมาก็แล้วกัน แถมท้ายตอนจบการสัมภาษณ์จากคนสัมภาษณ์ด้วยประโยคว่า คุณมีความสามารถเกินกว่าตำแหน่งงานของเรา คุณลองไปหางานที่อื่นที่เหมาะกับตัวคุณดีกว่า

เจอแบบผิดคาดอย่างนี้ทำเอาคุณสุภาพสตรีท่านนี้ซึมไปเลย

ความไม่ลงตัวเช่นนี้ ไม่ได้เป็นเหตุผลที่เราจะไม่ คาดหวังกับการสมัครงาน แต่ยิ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า การสมัครงานแต่ละครั้ง เป็นเรื่องที่จะต้องมีการ เตรียมตัวให้ดีที่สุด เพื่อว่าส่วนที่ผิดความคาดหมาย จะได้น้อยที่สุด แต่คงต้องยอมรับว่าคนสัมภาษณ์บางครั้งก็อาจจะไม่ได้ฉลาด หรือเก่งกว่าคนถูกสัมภาษณ์

ในเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเตรียมตัวในการไปรับการสัมภาษณ์เข้าทำงาน ไม่คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ กับบรรดามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายในช่วงคิดใหม่ทำใหม่ของเศรษฐกิจยุคขาลง จึงเก็บมาฝากท่านผู้อ่าน แน่นอนว่าคนที่ภาษาอังกฤษดี และเล่นอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว น่าจะไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เขาเสนอว่าหลักการทั่วไปในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ที่ดี คือ การสร้างความประทับ ใจที่ดีกับผู้สัมภาษณ์ ซึ่งสิ่งดีจะเกิดขึ้นได้ หากเขารู้สึกว่าคุณมีการทำการบ้าน หรือเตรียมตัวมาอย่างดี เพราะนั่นเป็นการบ่งว่าคุณมีความกระตือรือร้น และสนใจที่จะทำงานในองค์กรนั้น รวมทั้งสามารถ ตอบได้ว่าคุณสามารถให้อะไรกับองค์กรแห่งนั้น ไม่ใช่เกิดจากการร่อนใบสมัครไปทั่ว

การเตรียมตัวทำการบ้านที่ดี คือ การรู้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเกี่ยวกับองค์กรนั้น โดยเริ่มตั้งแต่สถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ หรือสาขาสำคัญๆ ผลิตภัณฑ์และบริการ ลูกค้าหรือกลุ่มเป้า หมายของบริษัทคู่แข่งที่มีศักยภาพ ปรัชญาการทำงานการบริหาร รวมไปถึงประวัติความเป็นมา ข้อมูลทางด้านการเงินและความมั่นคงของบริษัท และสุดท้ายคือ ข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับบริษัทในปัจจุบัน

ส่วนหลักในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ คือ

เตรียมตัวและคำตอบสำหรับคำถามที่พบ ได้บ่อย คุณอาจลองลำดับคำถามและคำตอบที่คุณ คาดว่าจะถูกถาม เช่น คำถามประเภท

"ลองบอกเกี่ยวกับตัวคุณ" คำตอบมักจะออกมาในรูปของการลำดับและไล่เรียงเกี่ยวกับการ ศึกษา ประสบการณ์และความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา และลงท้ายด้วยคุณสมบัติอะไรที่ทำให้คิดว่าคุณ เหมาะกับงานนั้น และสิ่งที่คุณจะให้กับองค์กร

"ทำไมจึงสนใจงานที่นี่" นี่เป็นคำถามหัวใจ ที่จะบ่งถึงความเหมาะสมของคุณกับงาน คุณควรตอบคำถามอย่างสั้น กระชับ ชัดเจน ซึ่งจะบ่งถึงความกระตือรือร้นที่คุณมีต่องานชิ้นนั้น แสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าคุณมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรและงานนั้นอย่างไร ชี้ให้เห็นว่าคุณจะสามารถให้อะไรกับองค์กร คำตอบที่เน้นถึงผลประโยชน์ในรูปของเงินแม้ว่าจะแสดงถึงความจริงใจ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็อาจทำให้ผู้สัมภาษณ์ไม่มั่นใจเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในการทำงาน

"ทำไมจึงลาออกจากงานเก่า" จุดประสงค์ ของผู้สัมภาษณ์คือ อยากรู้ว่าคุณมีปัญหาอะไรจึงไม่สามารถทำงานที่เดิม ถ้าหากไม่มีปัญหาอะไร ควรให้คำตอบที่เป็นเหตุผลง่ายๆ เช่น ย้ายที่อยู่ เป็นงานชั่วคราว บริษัทหยุดดำเนินการ หรือไม่เห็นความก้าวหน้าในการทำงาน
หากคุณมีปัญหากับที่ทำงานเดิม ควรหลีกเลี่ยงการอธิบายในเชิงกล่าวโทษหรือให้ร้ายที่ทำงาน เก่า เพราะผู้สัมภาษณ์จะรู้สึกว่า เขาอยู่ในคิวต่อไป ที่จะถูกคุณให้ร้ายหลังลาออกจากงาน และควรแสดงให้เห็นว่าคุณได้เรียนรู้อะไรบ้างจากความขัด แย้งหรือปัญหาในที่ทำงานเก่า

"อะไรที่เป็นส่วนดี หรือความสามารถที่มีอยู่" คุณควรแสดงให้เห็นว่าความสามารถที่คุณมีอยู่ สามารถก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรกับองค์กร

"อะไรคือจุดอ่อนหรือข้อด้อยในตนเอง" พยายามให้ผู้สัมภาษณ์เห็นด้านบวกของจุดอ่อนนั้น เช่นคุณอาจตอบไปว่า คุณเป็นคนขี้กังวลและเพราะ ความกังวลทำให้คุณต้องทำงานจนเลิกดึกในบางครั้ง

"คุณถนัดที่จะทำงานคนเดียวหรือร่วมกับคนอื่น" คำตอบควรเป็นทั้งสองกรณีขึ้นกับสภาพการณ์ คุณควรยกตัวอย่างให้เห็นว่าคุณทำอย่างไรในแต่ละสถานการณ์

"อะไรคือเป้าหมายในอนาคตหรือเป้าหมาย ในการทำงาน" ผู้สัมภาษณ์ต้องการทราบว่า เป้าหมายของคุณกับองค์กรสามารถไปด้วย กันได้หรือไม่ แสดงให้เห็นว่าคุณมีความ มุ่งมั่นและใฝ่รู้ในการทำงานและพัฒนา ศักยภาพที่มีอยู่

หลังจากกำหนดคำตอบของ คำถามที่คุณอาจได้รับในการสัมภาษณ์ แล้ว สิ่งที่คุณต้องเตรียมต่อไปคือ การฝึกซ้อมการสัมภาษณ์จริงกับเพื่อน ควร ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาทีในการบอกเล่าเรื่องราวที่สำคัญเกี่ยวกับตัวคุณ การอัดเทป หรือสังเกตพฤติกรรมทางกายในการสัมภาษณ์จะช่วยให้เห็นข้อบกพร่อง

เตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่จำเป็นให้ครบถ้วนและเป็นระเบียบ เตรียมสำเนา ผลงาน ในอดีต (หากมี) รวมทั้งรายชื่อของบุคคลในการอ้างอิงถึง

แต่งกายให้เหมาะสมและดูเป็นมืออาชีพ ในบาง ครั้งคนถูกตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอก

คุณควรจะระลึกถึงสิ่งต่อไปนี้ในวันสัมภาษณ์

- ก่อนการสัมภาษณ์ : ตรงต่อเวลา หรือมาก่อนเวลา สิ่งนี้แสดงถึงความตั้งใจและเป็นมืออาชีพ - แสดงถึงการมองโลกในด้านบวก ไม่กล่าวโทษที่ทำงานเก่า

- พยายามผ่อนคลายคิดเสมอว่า การสัมภาษณ์ไม่ใช่การสอบสวน

- ระหว่างการสัมภาษณ์ : แสดงให้เห็นว่าคุณมั่นใจในตนเอง สบตากับผู้สัมภาษณ์เป็นระยะ
- พูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจนไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

- อย่าเอาแต่พูดอย่างเดียว การฟังจะทำให้คุณสังเกตและรู้ว่าผู้สัมภาษณ์ต้องการอะไร

- ในบางครั้งผู้สัมภาษณ์อาจเปิดโอกาสให้คุณเป็น ฝ่ายถาม ควรเลือกถามคำถามที่แสดงให้เห็นว่าคุณสนใจองค์กรนั้นในแง่ของการทำงาน เช่น คำถามประเภทเกี่ยวกับลักษณะงานขององค์กร หรือระบบการบริหาร อย่าถาม คำถามที่แสดงให้เห็นว่า คุณคิดถึงตัวเองเป็นหลัก เช่น การ ถามเรื่องวันลา หรือสิทธิประโยชน์พิเศษ หากจะถามคำถาม ให้มั่นใจว่าผู้สัมภาษณ์เข้าใจจุดประสงค์ที่แท้จริงของคุณ

หวังว่าเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้คงจะมีประโยชน์กับคุณผู้อ่านที่กำลังอยู่ในช่วงของการหางานบ้าง ไม่มากก็น้อย...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แหลงคำใต้ (อนุรักษ์ภาษาใต้ ภาษาท้องถิ่นปักษ์ใต้)

คำ

สำเนียงใต้

ประเภท

ที่มา

ความหมาย

กล้วยพังลา

กล่วยพังลา

นาม.

 

กล้วยตานี

กัด

กัด

กริยา

 

อวน

ไฟแขบ

ไฟแขบ

นาม.

 

ไฟฉาย

ขนมค่อม

หนุ้มขอม

นาม.

 

ขนมสอดไส้

ขอย

ข้อย

กริยา

เพี้ยนมาจาก "สอย"

สอย

ขี้พร้า

คี๊ผร่า

นาม.

 

ฟักเขียว

แข็ง

แข้ง

วิเศษณ์

มาจาก "ขยันขันแข็ง"

ขยัน , มาก

แขบ

แข้บ

วิเศษณ์

 

รีบ

คง

คง

นาม.

มาจาก "จารุก็อง"(มาลายู)

ข้าวโพด

ครด

คร็อด

กริยา

 

แทะ , กัดกิน

เคย

เคย

นาม.

มาจาก "เยื่อเคย"(ราชาศัพท์)

กะปิ

แคว็ก

แคว่ก

กริยา

เพี้ยนมาจาก "ควัก"(ไทยเดิม)

ควัก

จะโกย

จะโกย

นาม.

 

ปาท่องโก๋

จัง,จังหู

จัง

วิเศษณ์

 

มาก , มากมาย

จ้านจม

จ่านจม

วิเศษณ์

 

มาก , มากมาย

จี

จี

กริยา

 

หมกไฟ

จู้จี้

จู่จี่

นาม.

คล้ายคำ "กุดจี่"

1. แมงกุดจี่

 

 

วิเศษณ์

มืดเหมือนสีของแมงกุดจี่

2. ขยายคำว่า "มืด" เช่น หมืดจู่จี่

จวน

จวน

กริยา

จากคำ "จวนตัว" (เห็นแล้ว)

พบ เจอ

จ้อน

จ่อน

นาม.

 

กระแต

ฉ็อง

ฉ้อง

กริยา

 

1. เป็นสัด (ใช้กับสัตว์)

 

 

วิเศษณ์

 

2. กลิ่นเหม็นเข้าจมูก , ฉุน

ฉาน

ฉ้าน

สรรพนาม.

เพี้ยนมาจาก "ฉัน"

ใช้เรียกตนเอง

ฉิด , หิด

ชิด , ฮิด

วิเศษณ์

ภาษาไทยเดิม

เล็กนิดเดียว เช่น "ตัวถาวชิด"

ฉูฉี

ฉู้ฉี้

กริยา

 

เป่ายิงฉุบ

เฉียง

เชี่ยง

กริยา

 

ฟันด้วยของมีคม เช่น ขวาน

ชะ

ช่ะ

นาม.

 

ข้อง , ตะกร้า

ชั้น

ฉั่น

นาม.

เรียกตามลักษณะปิ่นโต

ปิ่นโต

ชันชี

ชันชี

กริยา

จากภาษามลายู

สาบาน

ชุ่น

ชุ๋น , ฉุน

กริยา

 

อาการไม่อยู่นิ่ง , ซน

เชือน

เชือน

วิเศษณ์

 

ฟั่นเฟือน , เลอะเลือน

ด้น

ด่อน

วิเศษณ์

 

ดุ

ดม

ดม

กริยา

 

พูดเดาเอา

ดักอีเดียม

ดั่กอีเดียม

กริยา

 

จั๊กกะจี้

ดานเฉียง

ดานเชี่ยง

นาม.

 

เขียง

ดีปลี

ดีปลี

นาม.

 

พริกชี้ฟ้า , พริกขี้หนู

ต่อเช้า

ตอเฉ่า

สรรพนาม.

 

พรุ่งนี้

ตอแต

ต่อแต

นาม.

 

กะถิน

ต่อโพระ

ต่อโผระ

สรรพนาม.

 

พรุ่งนี้

ตังหน

ดังห้น

นาม.

 

วุ้นเส้น

ตู้ตี้

ตู่ตี่

กริยา

 

เอามือจี้ที่รักแร้

เติ้น

เติ่น

สรรพนาม.

 

คุณ , ท่าน (ใช้เรียกผู้ที่อาวุโสกว่า)

แตวา

แตวา

สรรพนาม.

 

เมื่อวาน

โตง

โตง

กริยา

 

กระโดดคว้าของ(ผลไม้)ที่อยู่สูง

ถ้า , ท่า

ถ๊า

กริยา

มาจากคำ "คอยท่า"

รอ , คอย

ถ่านเกียง

ถ้านเกียง

นาม.

 

ถ่านแก๊ส

เถ้าทั่ม

เถ้าทั่ม

วิเศษณ์

มาจาก "เฒ่า" (ผู้ใหญ่)

ใหญ่โต

ท่าว

ถาว

กริยา

 

เลิก , หยุด เช่น ถาวข๊าว คือ อิ่ม หยุดกิน

ท็อก

ถ็อก

กริยา

เพี้ยนมาจาก "กระตุก"

ดึงอย่างเร็ว , กระตุก

ทั้งเพ

ทังเพ

สรรพนาม.

 

ทั้งหมด

ท้ายด้น

ถ่ายด่อน

นาม.

 

ท้ายทอย

ทำแดง

ถ่ำแดง

กริยา

มาจาก "ทำเป็นลูกเล็กเด็กแดง"

สำออย , อ้อนพ่อแม่

เทือก

เถือก

นาม.

 

นาที่ไถคราดจนเป็นโคลนตม

นูยาง

หนู่ยาง

นาม.

 

หนังสติ๊ก

นกฉ้อหลอ

หน็อกฉ่อหล้อ

นาม.

 

นกกรงหัวจุก

น้ำชุบ

หน่ามฉุบ

นาม.

 

น้ำพริก

น้ำเต้า

หน่ามต่าว

นาม.

เรียกตามลักษณะของน้ำเต้า

ฟักทอง

เนียง

เนียง

นาม.

 

1. โอ่งใส่น้ำ , 2. พืชผักชนิดหนึ่ง กินผล

เนือย

เนือย

กริยา

เรียกตามท่าทางขณะหิว

หิว

บด

บ็อด

กริยา

จากภาษามลายู

สาบาน

บิ้ง

บิ่ง

ลักษณะนาม

 

แปลงนาที่ถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ เรียก 1 บิ้ง

บองหลา

บองหล้า

นาม.

 

งูจงอาง

 

ภาษาอิสาน

« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2007, 10:21:31 am »

 


ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย  เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์  มีชายแดนติด กับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลย ที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ตราบจนปัจจุบัน   เช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนม 
     ถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค   ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี
     ถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้  เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น   ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกัน  แต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกัน
      ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่  โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น   เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง  เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ  แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่  ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง   หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว  แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย   ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล   เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา   แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี  ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้ว ก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว    จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน   ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน   ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้

ภาษาถิ่นอีสาน   แปลเป็นภาษากลาง   ภาษาถิ่นอีสาน   แปลเป็นภาษากลาง
ก.   -   -   -
กะซาง   ช่างเถอะ                   กะด้อ กะเดี้ย   อะไรกันนักหนา
กินเข่าสวย   รับประทานอาหารกลางวัน   เกิบ   รองเท้าแตะ
กินดอง   เลี้ยงฉลองสมรส   กะเลิงเบิ๊บ                   ยายเฉิ่ม,คนสติไม่ดี
กะจังว่า   ก็นั่นน่ะสิ                   กองอ้วกย้วก   ลักษณะคนล้มทรุดตัวลงกองกับพื้น
เกี้ยงตั๊บ   หมดเกลี้ยง                   กินข่าวสวย              รับประทานอาหารกลางวัน
ข.   -   -   -
ขี้ตั๋ว   โกหก,พูดไม่จริง   ขี้ตะแร้   รักแร้
ขี้หินแฮ   หินลูกรัง                   ข่อยกับเจ้า   ฉันกับเธอ
ขี้โก๊ะ   จิ้งเหลน, จิ๊กโก๋   ขี้เกี้ยม   จิ้งจก
ขนคิงลุก   ขนลุก   ข่อยกั๊บเจ้า   ฉันกับเธอ
ขะหยอน   มิน่าล่ะ   ขี้เมี่ยง   สนิม
ค.   -   -   

เคียด   โกรธ,งอน                                                   คนมะลำมะลอย   คนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
คักอีหลี   สะใจจริงๆ                                                   คนบ่เคียม   คนซุ่มซ่าม
คอง(ภาษาอีสานตอนบน )  รอคอย                                   เคียม   สุภาพเรียบร้อย
เคียด   โกรธ                                                   คึดฮอด   คิดถึง
เคิกกัน   คลาดกัน (อีสานตอนบน)                   คำคิง   สัมผัส,แตะตามเนื้อดูว่าตัวร้อนหรือไม่
คนมะลำมะลอย   คนไม่น่าเชื่อถือ เอาแน่อะไรไม่ได้   คือเก่า   เหมือนเดิม
คะมะ   หยุดชะงักด้วยเหตุบังเอิญ       

   ง.   -   -   -
งานดอง   งานแต่งงาน                    งานเฮือนดี   งานศพ
ไงกุ้ม   ฝุ่นตลบ                    งอนตอ   ท้ายทอย (อีสานบน)
งามโพดงามเหลือ งามแท้งามว่า   สวยจริงสวยจัง สุดจะพรรณา   ง้วกเบิ่ง   เหลียวมอง
จ.   -   -   -
เจ้า, ข่อย   คุณ, ฉัน                    จี่   ปิ้ง,ย่าง
จักแหล่ว   ไม่รู้สิ                   จอบเบิ่ง   แอบดู
จอก   แก้ว                   จั๊กกะเดียม   จั๊กกะจี้
จาฮีต   เป็นคำยืนยันถึงความจริง,แน่นอน   ใจฮ้าย   โกรธ,โมโห
จังได๋   แบบไหน,ยังไง   จาวขาย   ประกาศขาย
แจบใจ   มั่นใจ,สนิทใจ   ใจออก   ถอดใจ,ท้อถอย
จือ   จำ,เข็ด                   โจงโปง   โล่ง,ว่างเปล่า
จาวขาย   ประกาศขาย   จอกน้ำ   แก้วน้ำ
ซ.   -   -   

ซอกหา   ค้นหา,ตามหา   โซนแซว   เอะอะ,เสียงดัง
ซ่า   ช้า                    ซั่นแหล่ว   ก็ว่างั้นแหล่ะ
ซะซาย   กระจัดกระจาย   ซุมเข่าแลง   สังค์สรรค์มื้อเย็น
ซัง   เกลียด   ซุ   ก้นทะลุ
เซือ   เชื่อ       
ซอมใจ   ตรอมใจ   เซาจุ๊ดปุ๊ด   หยุดทันที,หายทันควัน
ซอยแน   ช่วยด้วย   แซวซะ   เสียงดัง,อึกกะทึก คึกโครม
ซุมแซว   รื่นเริง,สังสรรค์   .   .
ด.   -   -   -
ดังไฟ   ก่อไฟ   โดน   นาน
ต.   -   -   -
ตะพึดตะพือ   ไม่บันยะบันยัง           ตั้มอิด   แรกเริ่ม.เริ่มต้น,ครั้งแรก,ทีแรก
ตาฮัก ตาแพง      น่ารัก น่าเอ็นดู           แตกวึ่นๆ   แตกตื่น
ตังนัง   เก้าอี้,ม้านั่ง                           ตะเว็น   ดวงอาทิตย์
ตื่น   ตกใจ!                          ต้อดเข่ามา   ขยับ,กระแซะๆๆๆ เข้ามาซิ
ตำหูก   ทอผ้า                          ติงคิง                   ขยับ, แตะต้องเนื้อตัว
เต้า   ประชุม (อีสานตอนบน)          ตุ้มไว้                    รวบรวม


ว.   .   .   .
เหว้าพื้น   กล่าวถึง,พูดถึง
(เป็นการกล่าวนำของชาวอีสานตอนล่าง)   เหว้าดุ   พูดมาก
เว้ามวนซวนหัว   พูดตลกขบขันน่าหัวเราะ   .   .
ส.   -   -   

สะหวอย   อ่อนเพลีย, หมดแรง   สะออน   ปลื้ม, น่าชมเชย
สะเดิด   สะดุ้ง                    เสี่ยว   เพื่อน, มิตร
สีแหล่   สีน้ำเงินอมม่วง   สีบัว   สีชมภู (ภาษาอีสานตอนบน)
โสเหล่   วิพากษ์ วิจารณ์   ส่ง   กางเกง
ส่วง   สีข้าง                   สำมะปิ   จิปาถะ
ส้นน่อง   ส้นเท้า                   สาด   เสื่อ
โสเหล่   วิพาก วิจารณ์   ส่ง   กางเกง
เสื่อหมากกะแล่ง   เสื้อคอกระเช้า   เส้า   หยุด, เลิก, ระงับ
สำมะปิ   จิปาถะ                   สุกยู้   ผลักดัน
สำมะแจะ   สาระแน   .   .
ห.   -   -   -
หนหวย   หงุดหงิด,รำคาญ   หุ่ง   สว่าง
ห่อย   ห้อย,แขวน   ห่าว   อาการสดชื่น,ตื่นตัว
หมากอึ   ฟักทอง   .   .
ห้าง   พัง,หย่าร้าง   หน่าลา   อาการเสียหน้า
ห้อน   ร้อน   .   .
อ.   -   -   -
อีหล่า   คำเรียกเด็กผู้หญิง   ออนซอน   น่าเอ็นดู
อีเกิ้ง   ดวงจันทร์   อัง   คับแคบ
            

 

ภาษาเหนือ

คำเมือง   ความหมาย (คำแปลเป็นภาษากลาง)
ไปแอ่ว   ไปเที่ยว
เฮา   เรา, พวกเรา
ม่วนใจ๋   สุขใจ
ฮู้จัก   รู้จัก
เปิ้น   สรรพนามใช้แทนตัวเอง หรือบุคคลที่ 3
อ้าย   พี่ชาย
ป้อจาย   ผู้ชาย
ลงต๊อง   ท้องเสีย
อู   พูด
กึ้ด   คิด
ผักกาดจอ   ผักกาดที่มีดอกของทางเหนือ
ยะจะได   ทำยังไง
จริงๆ แล้วคำเมืองที่ยกตัวอย่างจะเป็นสำเนียงเชียงใหม่ ซึ่งค่อนข้างเข้าใจง่ายกว่าคำเมืองสำเนียงแพร่ พะเยาและน่าน ที่จะพูดเร็วแต่คำศัพท์ก็จะคล้ายๆ กัน
     จำนวนนับ
• 1 = นึ่ง
• 2 = สอง
• 3 = สาม
• 4 = สี่
• 5 = ห้า
• 6 = ฮก
• 7 = เจ๋ด
• 8 = แปด
• 9 = เก้า
• 10 = ซิบ
• 11 = ซิบเอ๋ด
• 20 = ซาว
• 21 = ซาวเอ๋ด

พืช ผัก ผลไม้
มะละกอ = ม่ะก้วยเต้ศ
กล้วยน้ำว้า = ก้วยอ่อง
มะตูม = ม่ะปีน
ส้มเขียวหวาน = ส้มเกลี้ยง
แตงล้าน = ม่ะแต๋งซั้ง ( ร้านที่ทำให้เครือแตงพันขึ้นไป ทางเหนือเรียกว่า ซั้ง )
น้อยหน่า = ม่ะหน้อแหน้
บวบงู = ม่ะนอย
มะเขือเปราะ = ม่ะเขือผ่อย
มะเขือยาว = ม่ะเขือขะม้า - - ออกเสียง ม่ะเขือขะม่า
มะระขี้นก = ม่ะห่อย
แตงกวา = หมะแต๋ง
กล้วย = เชียงใหม่ เรียก ก้วยใต้ ลำปาง เรียก ก้วยลิอ่อง หรือ ก้วย โก๊ย
กล้วยน้ำว้า = ก้วยใต้
พุทรา = หมะตัน
ละมุด = หมะมุด
กระท้อน = หมะตื๋น หมะต้อง
มะปราง = หมะผาง
ฝรั่ง = บ่ะก้วย ,ก้วยก๋า ,ก้วยเปา
ขนุน = หมะหนุน,บ่ะหนุน
มะพร้าว = หมะป๊าว
ส้มโอ = หมะโอ
ฟักทอง = หมะฟักแก้ว
ฟักเขียว = หมะฟักหม่น
มะแว้ง = หมะแขว้งขม
มะเขือพวง = หมะแขว้ง
ลูกยอ = หมะต๋าเสือ
มะเขือเทศ = บ่ะเขือส้ม
กระท้อน = บะตึ๋น
ตะไคร้ = ชักไคร
คึ่นช่าย = ผักกะพึน,กำพึน (กะปึน)
ผักตำลึง = ผักแคบ
ชะพลู = ผักแค ใบปูนา ปูลิง
สัตว์
จิ้งหรีด = จิ้กุ่ง,จิ้หีด
ค้างคก = ค้างคา
ลูกอ๊อด = อีฮวก
ปลาไหล = ปลาเอี่ยน ปลาเหยี่ยน
จิ้งเหลน = จั๊ก-กะ-เหล้อ
กิ้งก่า = จั๊ก-ก่า
เครื่องใช้
กรรไกร = มีดยับ
กระดุม = บะต่อม
เข็มขัด = สายแอว
ช้อน = จ๊อน
ตะหลิว = ป้าก
ถุงเท้า = ถุงตีน
ผ้าเช็ดตัว = ผ้าตุ้ม
ผ้าห่ม = ผ้าต๊วบ
ยาสูบ = ซีโย
รองเท้า = เกือก /เกิบ
รองเท้าฟองน้ำ = เกิบแตะ
คำกริยา
โกรธ = โขด
กลับ = ปิ๊ก (เช่น "เฮาปิ๊กบ้านละหนา")
กางร่ม = กางจ้อง
โกหก = วอก
กิน = กิ๋น
ก่าย = พาด พิง
ขโมย = ขี้ลัก
ขี่หลังคน(เกาะ) = เก๊าะ
ขี้เหนียว = ขี้จิ๊
คิด = กึ๊ด
เครียด = เกี้ยด
จริง = แต๊(เช่น "แต๊ก๊ะ" = "จริงหรอ")
เจ็บ = เจ๊บ
ใช้ = ใจ๊
ดู = ผ่อ
เด็ก = ละอ่อน
ตกคันได = ตกบันได
เที่ยว = แอ่ว
ทำ = ยะ(เช่น "ยะหยัง" = "ทำอะไร")
นั่งพับเพียบ = นั่งป้อหละแหม้
นั่งขัดสมาธิ = นั่งขดขวาย
นั่งยอง ๆ = นั่งข่องเหยาะ,หย่องเหยาะ
นั่งไขว่ห้างเอาเท้าข้างหนึ่งพาดบนเข่า = นั่งปกขาก่ายง้อน
นั่งวางเฉย นั่งหัวโด่ = นั่งคกงก(ก๊กงก)
นั่งลงไปเต็มที่ตามสบาย(โดยไม่กลัวเปื้อน) = นั่งเป้อหละเหม้อ, นั่งเหม้อ พูด = อู้
รัก = ฮัก
อร่อย = ลำ
อร่อยมาก = จ๊าดลำ
อย่าพูดมาก = จ๊ะไปปากนัก
อย่าพูดเสียงดัง = จ๊ะไปอู้ดัง

คำวิเศษณ์ และอื่นๆ
ก็ = ก่
โง่ = ง่าว
เช่น = เจ้น
ถึง = เถิง
ไม่ = หมะ(เช่น หมะใจ๊ = ไม่ใช้)
นะ = เน้อ(เช่น เน้อครับ = นะครับ)
เป็น = เป๋น
ร่ม หมายถึง ร่มเงา = ฮ่ม

คำนาม สรรพนาม
ฉัน = เปิ้น (สุภาพ) , ฮา(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
เธอ = ตั๋ว(สุภาพ) , คิง(ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)
ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา = อุ้ย (เช่น แม่อุ้ย ป้ออุ้ย)
ผู้ชาย = ป้อจาย
ผู้หญิง = แม่ญิง
พี่สาว = ปี่
ยี่สิบบาท = ซาวบาท
ยี่สิบเอ็ด = ซาวเอ็ด
เรือน = เฮือน
โรงเรียน = โฮงเฮียน
อิฐ = บ่าดินกี่
สี
ดำคึลึ = คนอ้วนล่ำผิวดำ
ดำผืด = ฝูงนกฝูงกาขนดำอยู่เป็นฝูง
ดำคุมมุม = ดำสลัวอยู่ในความมืด
ดำขิกติ้ก = ดำซุปเปอร์
ดำคิมมิม = คนผอมกระหร่อง ผิวดำ
ดำเหมือนเเหล็กหมก = ดำเหมือนเหล็กไหม้ไฟ
ดำเหมือนหมิ่นหม้อ = ดำเหมือนเขม่าติดหม้อดินที่ไหม้ไฟ
ดำผึด = ดำทั่วทั้งแถบ
ดำผึดำผึด = ดำมากๆทั่วๆไป
แดงฮ่าม = แดงอร่าม

แสง-เสียง
มืดแถ้ก = มืดสนิท
มืดสะลุ้ม = มืดสลัวๆ
มืดซุ้มซิ้ม = มืดนิดๆ
มืดวุ่ยวาย = มืดลางๆ ยังพอจำหน้ากันได้
แจ้งฮุมหุฮุมหู่ = สว่างลางๆเลือนๆ
แจ้งฮ่าม = สว่างจ้าสว่างเรืองรอง
แจ้งลึ้ง = สว่างโร่เห็นได้ชัด
แจ้งดีขวายงาม = สว่างปลอดโปร่งโล่งใจไม่มีอุปสรรค
หันวุยวาย = เห็นเลือนๆลางๆ
ดั้กปิ้ง = เงียบกริบ
ดั้กปิ้งเย็นวอย = เงียบเชียบ
ดั้กแส้ป = ไม่ได้ข่าวคราว
ดั้กก๊กงก = นั่งนิ่ง
ดังทึดทึด = เสียงดังก้องไปทั่ว

กลิ่น รส
เหม็นโอ๊ง, เหม็นโอ่ = เหม็นเน่า
จ๋างแจ้ดแผ้ด = จืดชืด
ขมแก๊ก = ขมมาก
ส้มโจ๊ะโล๊ะ = รสเปรี้ยวมาก
ฝาดหยั่งก้นตุ๊ = รสฝาดมาก

 

 

 

 

สุราษฎร์ธานี - นักวิจัย ม.ราชภัฏสุราษฎร์ฯ หวั่นภาษาใต้สูญพันธุ์ เพราะคนใต้รุ่นใหม่ไม่ยอมพูด ถือเป็นเรื่องที่เชยเลยอายที่จะพูด โดยเฉพาะเด็กเล็กพ่อแม่ฝึกให้พูดกลาง เพราะกลัวลูกโตขึ้นมาจะพูดกลางไม่ชัด หรือจำพวกแหลงทองแดง ชี้เมื่อลักษณะวัฒนธรรมเมืองกระจายสู่ชนบท ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือกลืนกินวัฒนธรรมชนบทเป็นธรรมดา ด้านกระทรวงวัฒนธรรม ต้องออกโรงรณรงค์ให้คนใต้หันมาพูดภาษาถิ่นมากขึ้น

ศาสตราจารย์ ชวน เพชรแก้ว เมธีวิจัยอาวุโสสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศาสตราจารย์ด้านภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เผยว่า ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมได้ออกมาแสดงความเป็นห่วง ว่า ภาษาใต้และการแสดงพื้นบ้านที่ใช้ภาษาใต้ในการขับร้อง เช่น หนังตะลุง มโนราห์ เพลงบอก และเพลงกล่อมเด็ก อาจสูญหาย เนื่องจากคนใต้รุ่นใหม่ไม่ยอม พูดภาษาใต้

ส่วนพ่อแม่ก็สอนให้ลูกพูดภาษากลางตั้งแต่ยังเล็ก เพราะกลัวว่าลูกจะพูดกลางไม่ชัด (แหลงทองแดง) ทำให้กระทรวงวัฒนธรรม ต้องออกโรง รณรงค์ให้คนใต้หันมาพูดภาษาถิ่นมากขึ้น ก่อนที่ภาษาใต้ และการแสดงพื้นบ้านเหล่านี้จะสูญพันธุ์

สำหรับในเรื่องนี้นั้นมีความเป็นไปได้สูงที่ภาษาใต้จะสูญพันธุ์ แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อลักษณะวัฒนธรรมเมืองกระจายสู่ชนบท ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือกลืนกินวัฒนธรรมชนบทเป็นธรรมดา

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ภาษาถิ่นภาคใต้สูญพันธุ์ มีด้วยกัน 3 ปัจจัย คือ 1.โรงเรียน 2.ครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่พ่อแม่รับราชการจะนิยมให้ลูกพูดภาษากลาง 3.หลักสูตรการศึกษา ที่เคยพูดกันว่าจะสร้างหลักสูตรท้องถิ่นร้อยละ 30 นั้น ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ เมื่อผสมโรงเข้ากับลักษณะสังคมจึงกลายเป็นตัวเร่งให้ภาษาใต้สูญพันธุ์เร็วขึ้น

ขณะนี้คนใต้ส่วนใหญ่มักคิดว่าการพูดใต้เป็นเรื่องที่เชย ก็เลยอายที่จะพูด และพยายามที่จะสื่อสารด้วยภาษากลาง สำหรับทางแก้ในเรื่องนี้นั้นมีด้วยกัน 2 อย่าง คือ 1.คนใต้ต้องตระหนักว่าเราเป็นคนใต้ ต้องภูมิใจในภาษาถิ่น เอกลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ ของเรา 2.ระบบการศึกษา ต้องชี้ให้เด็กเห็นความสำคัญของภาษาถิ่น หรืออาจมีลู่ทางอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ทำพจนานุกรมภาษาถิ่น

ศาสตราจารย์ ชวน กล่าวอีกว่า เมื่อ 15 ปีก่อน นักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่งทำวิจัยเรื่องภาษาถิ่นใต้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่จะสูญหายเขาเอาคำภาษาใต้เก่าๆ ไปถามคนที่อายุ 60 ปี ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ยังรู้จักคำเหล่านี้ แต่เมื่อไปถามคนอายุ 40 พบว่า ไม่รู้จักคำพวกนี้แล้ว ผมเองก็เคยถามคนรุ่นใหม่ว่ารู้ความหมายของภาษาใต้เหล่านี้หรือไม่ เช่น คำว่าจับนา” (เอาใจใส่) เสดสา” (สมเพชเวทนา) หรือ เปรว” (ที่เผาศพ) แต่เด็กบอกว่าไม่เคยได้ยินคำนี้เลย แม้แต่หนังตะลุง มโนราห์ก็ยังเพี้ยนไปด้วย ปกติตัวตลกหนังตะลุงจะต้องพูดใต้ แต่หนังตะลุงบางคณะให้ตัวตลกพูดภาษากลาง

นอกจากนี้ ภาษาถิ่นจะมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมสาขาอื่น และวิถีชีวิตอย่างแยกกันไม่ออก เหตุผลหนึ่งที่ภาษาใต้สูญหาย ก็เพราะข้าวของเครื่องใช้ของเราสูญหายไป เช่น หมุกซึ่งเป็นภาชนะที่ทำจากหญ้าตีนกา สำหรับใส่ของเล็กๆ น้อยๆ หรือ เหวียนหม้อซึ่งเป็นภาชนะจักสานสำหรับใช้รองหม้อ เมื่อของเหล่านี้หายไป คำสรรพนามก็จะหายไปด้วย คนรุ่นใหม่จึงไม่รู้จัก ไม่ใช่แต่คำสรรพนามที่หายไป

ศาสตราจารย์ชวน บอกว่า แม้แต่คำวิเศษณ์บางคำก็หายไปด้วย ตัวอย่างเช่น คนใต้แท้ๆ ต้องใช้คำขยายต่อท้ายสีแดง ว่า แดงฉูดแต่เดี๋ยวนี้คนใต้ใช้คำว่า แดงแจ๊ดซึ่งเป็นคำภาษากลาง ใช้คำว่าเหลืองอ๋อยแทน เหลืองฉึ่มหรือ เขียวอี๋แทน เขียวหึมทำให้คำวิเศษณ์เหล่านี้สูญหายไป

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2550 19:31 น.

 

 

 

 

 

 

http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C&meta=&aq=4&oq=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1

 

http://narinsite.com/knowledges/mc_334/mc334_05.html

 

http://www.ef.co.th/master/hsy/howto/interview.asp

 

 

 

 

 

บุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

http://www.st.ac.th/bhatips/thaiword02.htm

 

http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/human/hm18/l4_6.html

 

 

http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/human/hm18/l2_5.html

 

 

ตุ๊ก