Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ที่มาของกระดาษสา

 

ที่มาของกระดาษสา

                  ประวัติการดำเนินงานเริ่มจากครอบครัว  ของนายเจริญ   หล้าปินตา  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน เริ่มทำกระดาษสามานาน  20  กว่าปีแล้ว  โดยนายเจริญ  ได้สืบทอดการทำกระดาษสามาจากคุณทวด   ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลายเหมือนสมัยนี้  จะทำกันเฉพาะเมื่อต้องการเขียนยันต์  ทำไส้เทีนย  และทำตุงของเชียงใหม่เท่านั้น 
                   ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการพัฒนาการทำกระดาษสาจากที่เคยทำสีขาวก็คิดหาวิธีทำเป็นหลาย ๆ สีและมีลวดลาย  มากยิ่งขึ้น  ซึ่งปรากฎว่าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมากทำให้ท่านมีกำลังใจที่จะผลิตงานศิลปะกระดาษสามากยิ่งขึ้น   แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เช่น  สมุดโน๊ต อัลบั้ม  ถุงกระดาษ  กล่องใส่เครื่องสำอาง  ดอกไม้  ฯลฯ  และยังได้เผยแพร่  กระทำกระดาษสาไปยังหมู่บ้านอื่นสอนวิธีการทำกระดาษสาเพื่อเป็นการอนุรักษ์  ศิลปะของไทยอีกด้วย
                  ที่ยึดหลักการประกอบอาชีพในการทำกระดาษสา  สืบทอดจากบรรพบุรุษของบ้านต้นเปา  ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาดั่งเดิมของเชียงใหม่  โดยในอดีตการทำกระดาษสานั้นเพื่อนำไปใช้ในการผลิตร่มและพัด  โดยแหล่งผลิตร่มและพัดอยู่ที่บ้านบ่อสร้าง  อำเภอสันกำแพง  จังหวัดเชียงใหม่  นอกจากนี้ยังใช้ในการทำไส้เทียน   ทำตุง  และทำโคมลอย  ซึ่งกระดาษสายังไม่เป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากนัก  การทำกระดาษสาจึงอยู่เฉพาะครอบครัวของนายเจริญ  และนางทองคำ   เหล่าปิ่นตา  เท่านั้น จนกระทั่งต่อมากระดาษสาและฟลิตภัณฑ์  กระดาษสาได้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรม  กรทรวงอุตสาหกรรรม    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  อย่างจริงจังประมาณปี  พ.ศ.  2537 - 2538  มีการจัดงานแสดง และจำหน่ายกระดาษสาและผลิตภัณฑ์  การจัดการประกวดกระดาษสา  ตลอดทั้งการฝึกอาชีพการผลิตกระดาษสาและผลิตภัณฑ์  การบริการใหห้คำปรึกษาแนะนำพัฒนาเทคนิคการผลิต   เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตต่าง ๆ ทำให้คนเริ่มรู้จักและสนใจกระดาษสากันมาก  และรู้จักบ้านต้นเปาว่าเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาด้วยมือ  แบบดั่งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่  กระดาษสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาจากบ้านต้นเปาได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดหลายประเภท  และหลายครั้ง  ชื่อเสียงของกระดาษสาบ้านต้นเปาเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น  ประกอบกับตลาดกระดาษสาและผลิตภัณฑ์กระดาษสาในเมืองไทย  เริ่มขยายต่อเนื่อง  ทั้งในและต่างประเทศ    บางคนมารับงานไปทำที่บ้านเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว  นอกจากนั้ยังมีผู้ผ่านการฝึก  การทำกระดาษสา  และผลิตภัณฑ์กระดาษสา  จากบ้านอนุรักษ์กระดาษสา  ได้ไปประกอบอาชีพเป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือนของตนเอง  ถ้าหากไม่สามารถหาตลาดจำหน่ายได้เอง  ก็จะนำผลิตภัณฑ์มาฝากจำหน่าย  หรือขายให้ทางบ้านอนุรักษ์กระดาษสา

 

 

 

 

 

อุปกรณ์

      1.  เยื่อสาที่ต้มและฟอกแล้ว

      2.  โม่

      3.  กิโล

      4. น้ำเปล่าใส่ประมาณ  3/4  ของโม่

       5.  เศษกระดาษสา

       6.  สีย้อมผ้า

       7.  ตระกร้ายาง

       8.  อ่างสังกะสี

       9.  เฟรมขนาด กว้าง  20  นิ้วยาว  30  นิ้ว       

       10. ถังน้ำ

       11.  ขันน้ำ

       12. ตระแกรงรองเยื่อ

       13. สีผสมอาหาร

       14. คลอรีน

 

                

 

                            

 

                

    วิธีทำ

      1.  เปิดน้ำใส่โม่  3/4  ของโม่

        2. นำเยื่อสาชั่งกิโล  ประาณ  10  กิโลกรัม

        3. นำไปโม่ให้ละเอียด 

        4. นำเศษกระดาษสาไปโม่ แล้วนำไปชั่งกิโลประมาณ 4  กิโลกรัม   
     
         5.นำเศษกระดาษที่โม่แล้วไปโม่ผสมกับเยื่อสาให้ละเอียดเข้า กันอีก (ใช้เวลาโม่ 1ชั่วโมง )

        6.ใช้มือคนเก็บเอาเศษสกปรกออกพอเข้ากันแล้วเทออกจากโม่

        7. เทลงตระแกรงให้แห้งประมาณ  15  นาที

        8. ปั้นเป็นลูกกลม ๆ ให้หยาดน้ำลูกละประมาณ                                       

 

      2.  วิธีการทำกระดาษ

         1. เอาน้ำเปล่าใส่ถังที่เตรียมไว้ประมาณ  3/4  ของถัง

       2. เอาเยื่อสาที่ปั้นแล้วเอามาใส่ในถังน้ำเย็นแล้วใช้มือตีเยื่อให้ผสมกับน้ำจนแตกตัว

         3. เปิดน้ำเปล่าใส่อ่างสังกะสี  1/4  ของอ่าง  แล้วนำเฟรมที่เตรียมไว้ใส่อ่างน้ำให้น้ำอยู่ในเฟรมพอดีกับเฟรม

          4. เทเยื่อที่เราตีแล้วลงในเฟรมที่อยู่ในอ่างใช้มือทั้งสองข้างเข้าไปตีเยื่อสาให้กระจายทั่วเฟรม ( ถ้าใส่ดอก จะใส่ดอกตกแต่งเลย หรือถ้าหากจะใส่สีให้ใส่สีเลย) แล้วค่อย ๆ ยกทีละข้าง ยกขึ้นพักไว้ให้เสด็จน้ำประมาณ   20 - 30 นาที   

          5.  ดูให้หมาด  แล้วนำไปตากแดด  ถ้าแดดแรง ๆ ใช้เวลา  5  ชั่วโมงถ้าหากว่าอยากรู้ว่ากระดาษแห้งหรือยังให้ใช้มือสัมผัสดู   ถ้ากระดาษชื้นแล้วไม่ติดมือถึงจะดีและถือว่าแห้งแล้ว                                      

         6.  พอกระดาษสาแห้งแล้วค่อย ๆ แกะกระดาษออกจากเฟรม  แล้วเคาะเบา ๆ แล้วใช้มือค่อย ๆ แงะกระดาษออกจากเฟรม

 

 

   3. การทำกระดาษสาลายบาติก

     1. หลังจากที่ได้กระดาษสาเป็นแผ่นแล้วใช้คลอรีนละลายกับน้ำพอคลุกคลิก       

     2. ใช้พู่กันจิ้มคลอรีนแล้ววาดเส้นลงในกระดาษสาตามที่ต้องการ

     3. หลังจากนั้นใช้สีทาทับตามลายที่วาดไว้

     4. รอให้กระดาษแห้ง แล้วนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์