Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นทวีปที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และมีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 4 ด้านเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ด้านตะวันออกติดกับตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลแคริบเบียน และทางตะวันตกติดกับตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือกินพื้นที่ 24,230,000 ตารางกิโลเมตร ปี พ.ศ. 2544 มีประชากรทั้งหมดประมาณ 454,225,000 คน

ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า "โลกใหม่" "ซีกโลกตะวันตก" หรือ "ทวีปอเมริกา" อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง

ประวัติทวีปอเมริกา

ทวีปอเมริกาเหนือ ถูกค้นพบโดย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาเลียน ได้เดินทางมาพบ เมื่อ พ.ศ. 2035 แต่เข้าใจว่าดินแดนที่พบเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย ต่อมา ใน พ.ศ. 2042 อเมริโก เวสปุชชี ชาวอิตาเลียน ได้เดินทางสำรวจดินแดนที่โคลัมบัสเคยสำรวจมาแล้ว จึงทราบว่าดินแดนนี้เป็นทวีปใหม่ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเอเชียตามที่โคลัมบัสเข้าใจ จึงมีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ อเมริโก เวสปุชชี ให้ทวีปใหม่นี้ว่า "อเมริกา"

 

ดินแดนและภูมิภาคย่อย

แผ่นดินผืนใหญ่ของทวีปประกอบไปด้วย 3 ประเทศใหญ่คือ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และ เม็กซิโก พื้นที่ทางใต้ของทวีปซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่าซึ่งอาจเรียกเป็นภูมิภาคย่อยว่าอเมริกากลาง ในภูมิภาคอเมริกากลางนี้ประกอบได้ด้วย ประเทศ เบลิซ คอสตาริกา เอล ซาลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิคารากัว และปานามา นอกจากพื้นที่บนผืนทวีปแล้วยังมีหมู่เกาะจำนวนมากซึ่งอยู่ใกล้ๆกับแผ่นดินใหญ่ของทวีปดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแผ่นดินใหญ่มักจะถูกเรียกรวมๆกันว่า แคริบเบียน ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศอิสระคือ แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส บาร์เบโดส คิวบา โดมินิกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เกรนาดา เฮติ จาเมกา เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ตรินิแดดและโตเบโก และดินแดนภายใต้ความคุ้มครองได้แก่ แองกวิลลา (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) อารูบา (ดินแดนของเนเธอร์แลนด์) หมู่เกาะเคย์แมน (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) กวาเดอลูป (ดินแดนของฝรั่งเศส) มาร์ตินีก (ดินแดนของฝรั่งเศส) มอนต์เซอร์รัต (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) เกาะนาวาสซา (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา) เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส (ดินแดนของเนเธอร์แลนด์) เปอร์โตริโก (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา) หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) หมู่เกาะเวอร์จิน (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา)

หมู่เกาะซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือด้วยได้แก่ เบอร์มิวดา (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) กรีนแลนด์ (ดินแดนของเดนมาร์ก) แซงปีแยร์และมีเกอลง (ดินแดนของฝรั่งเศส)ตารางรายชื่อประเทศและดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือ

รายชื่อดินแดน

พื้นที่
(km²)

ประชากร*
(คน)

ความหนาแน่นของประชากร
(per km²)

เมืองหลวง

แคริบเบียน:

แองกวิลลา (สหราชอาณาจักร)

102

13,254

129.9

เดอะวัลเลย์

แอนติกาและบาร์บูดา

443

68,722

155.1

เซนต์จอห์น

อารูบา (เนเธอร์แลนด์)

193

71,566

370.8

Oranjestad

บาฮามาส

13,940

301,790

21.6

แนสซอ

บาร์เบโดส

431

279,254

647.9

บริดจ์ทาวน์

หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (สหราชอาณาจักร)

153

22,643

148.0

โรดทาวน์

หมู่เกาะเคย์แมน (สหราชอาณาจักร)

262

44,270

169.0

จอร์จทาวน์

คิวบา

110,860

11,346,670

102.4

ฮาวานา

โดมินิกา

754

69,029

91.6

Roseau

สาธารณรัฐโดมินิกัน

48,730

8,950,034

183.7

ซันโตโดมิงโก

เกรนาดา

344

89,502

260.2

เซนต์จอร์จ

กวาเดอลูป (ฝรั่งเศส)

1,780

448,713

252.1

บาส-แตร์

เฮติ

27,750

8,121,622

292.7

ปอร์โตแปรงซ์

จาเมกา

10,991

2,731,832

248.6

คิงส์ตัน

มาร์ตินีก (ฝรั่งเศส)

1,100

432,900

393.5

Fort-de-France

มอนต์เซอร์รัต (สหราชอาณาจักร)

102

9,341

91.6

Plymouth; Brades

เกาะนาวาสซา (สหรัฐอเมริกา)

5

เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส (เนเธอร์แลนด์)

960

219,958

229.1

Willemstad

เปอร์โตริโก (สหรัฐอเมริกา)

9,104

3,916,632

430.2

ซานฮวน

เซนต์คิตส์และเนวิส

261

38,958

149.3

บาสแตร์

เซนต์ลูเซีย

616

166,312

270.0

Castries

เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์

389

117,534

302.1

คิงส์ทาวน์

ตรินิแดดและโตเบโก

5,128

1,088,644

212.3

พอร์ต-ออฟ-สเปน

หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส (สหราชอาณาจักร)

430

20,556

47.8

คอกเบิร์นทาวน์

หมู่เกาะเวอร์จิน (สหรัฐอเมริกา)

352

108,708

308.8

Charlotte Amalie

อเมริกากลาง:

เบลิซ

22,966

279,457

12.2

เบลโมแพน

คอสตาริกา

51,100

4,016,173

78.6

ซันโฮเซ

เอล ซาลวาดอร์

21,040

6,704,932

318.7

ซันซัลวาดอร์

กัวเตมาลา

108,890

14,655,189

134.6

กัวเตมาลาซิตี

ฮอนดูรัส

112,090

6,975,204

62.2

เตกูซิกัลปา

เม็กซิโก

1,972,550

106,202,903

53.8

เม็กซิโกซิตี

นิคารากัว

129,494

5,465,100

42.2

มานากัว

ปานามา

78,200

3,039,150

38.9

ปานามาซิตี

ภูมิภาคอเมริกาเหนือ:

เบอร์มิวดา (สหราชอาณาจักร)

53

65,365

1,233.3

Hamilton

แคนาดา

9,984,670

32,805,041

3.3

ออตตาวา

กรีนแลนด์ (เดนมาร์ก)

2,166,086

56,375

0.026

นุก

แซงปีแยร์และมีเกอลง (ฝรั่งเศส)

242

7,012

29.0

แซงปีแยร์

สหรัฐอเมริกา

9,629,091

295,734,134

30.7

วอชิงตัน ดี.ซี.

รวม

24,506,524

514,684,479

21.0

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

 

ทวีปอเมริกาเหนือ

  ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นดินแดนที่มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวผิวขาวที่มีการศึกษาดี ทำให้ทวีปอเมริกาเหนือได้รับการพัฒนา เจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว

  คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาเลียน เดินทางมาพบหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ในปี พ.ศ. 2035 และเข้าใจว่าดินแดนที่ค้นพบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ ทวีปเอเชีย

  ในปี พ.ศ 2042 อเมริโก เวสปุชขี ชาวอิตาเลียน ได้เดินทางสำรวจดินแดนที่ โคลัมบัสเคยสำรวจมาแล้ว และทราบว่าดินแดนที่พบนั้นเป็นทวีปใหม่ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชียตามที่โคลัมบัสเข้าใจ ดินแดนนี้ จึงได้ชื่อว่า อเมริกา (America) เพื่อเป็นเกียรติแก่ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci)
 

ที่ตั้งและอาณาเขต

ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูดที่ 7 - 83 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 55 องศาตะวันตก - 172 องศาตะวันออก

ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส ทะเลแลบราดอร์ เกาะขนาดใหญ่ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ เกาะแบฟฟิน เกาะวิกตอเรีย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญด้านนี้ ได้แก่ เกาะนิวฟันด์แลนด์ เกาะเบอร์มิวดา หมูเกาะบาฮามาส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนเหนือมีช่องแคบเบริง กั้นระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ น่านน้ำสำคัญได้แก่ อ่าวแคลิฟอร์เนีย อ่าวอะแลสกา เกาะใหญ่ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลิวเชียน หมู่เกาะควีนชาร์ล็อต
ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ น่านน้ำสำคัญคือมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโกในมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญคือ หมู่เกาะอินดิสตะวันตก หมู่เกาะคิวบา ฮิสแปนิโอลา จาเมกา เปอร์โตริโก

ทวีปอเมริกาเหนือ มีขนาดใหญ่เป็นที่ 3 รองจากทวีปเอเชีย และแอฟริกา รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม มีฐานทางด้านเหนือ ความกว้างของทวีปตั้งแต่ช่องแคบเบริง ถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ ส่วนที่แคบที่สุด คือคอคอดปานามา

 

ลักษณะภูมิประเทศ

 

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ

 
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ สามารถแบ่งได้เป็น 4 เขต คือ

1. เขตเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนกันหลายแนว ซึ่งเกิดจากการโก่งตัวของหินเปลือกโลกที่มีอายุน้อยเป็นแนวต่อเนื่อง ตั้งแต่บริเวณช่องแคบเบริงลงมาจนถึง ประเทศปานามา และมีแนวต่อเนื่องไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้ เทือกเขาสำคัญในเขตนี้ ได้แก่ เทือกเขาอะแลสกา มียอดเขาแมกคินเลย์ สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ เทือกเขารอกกี เทือกเขาแคสเกด เทือกเขาเซียราเนวาดา เทือกเขาเซียรามาเดร เทือกเขาชายฝั่ง
2. เขตที่ราบภาคกลาง เป็นเขตที่ราบใหญ่มี 6 เขต ดังนี้

2.1 ที่ราบลุ่มแมกเคนซี เป็นที่ราบแคบๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำ เขตหินเก่า อากาศหนาวเย็น มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
2.2 ที่ราบแพรรีในแคนาดา บริเวณมณฑลมานิโตบา ซาสเคตเชวันและ แอลเบอร์ตา เป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของโลก
2.3 ที่ราบลุ่มทะเลสาบทั้ง 5 และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ทะเลสาบทั้ง 5 ได้แก่ ทะเลสาบสุพีเรีย ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลสาบมิชิแกน ฮูรอน อีรี ออนตาริโอ เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก มีการขนส่งทางน้ำที่สำคัญที่สุดในโลก มีประชากรหนาแน่น
2.4ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี และมิสซูรี เป็นที่ราบดินตะกอน มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แม่น้ำมิสซิสซิปปี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของอเมริกาเหนือ มีสาขาสำคัญหลายสาย ได้แก่มิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอส์
2.5ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ บริเวณทางด้านตะวันออก ของเทือกเขาแอปปาเลเชียน ลงไปทางใต้จนถึงชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน
2.6ที่ราบบนที่สูงได้แก่บริเวณด้านตะวันออกของเทือกเขารอกกี เป็นเขต เงาฝน ไม่เหมาะที่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทที่ใช้น้ำมาก แต่เหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกข้าวสาลี

3.เขตหินเก่าแคนาดา ได้แก่บริเวณรอบอ่าวฮัดสันลงมาจนถึงทะเลสาบทั้ง 5 ประกอบด้วยหินเปลือกโลกเก่าแก่ มีอากาศหนาวเย็น ประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
4. เขตภูเขาด้านตะวันออก เป็นภูเขาหินเก่า คือเทือกเขาแอปปาเลเชียน มียอดเขาสูงสุด ชื่อ มิตเชล


 

ลักษณะภูมิอากาศ


ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปอเมริกาเหนือ มีลักษณะอากาศที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยด้านที่ตั้ง อยู่ในเขตอากาศร้อนใกล้ศูนย์ศูตร จนถึงบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ ทำให้มีลักษณะอากาศแทบทุกประเภท
2. ปัจจัยด้านลักษณะภูมิประเทศ มีแนวเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก ทอดตัวแนวเหนือใต้ เป็นกำแพงกั้นทางลมและความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ดินแดนด้านหลังของเทือกเขารอกกี (ด้านตะวันออกของเทือกเขา) มีอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง เป็นทะเลทรายและทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
3. ปัจจัยด้านลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านทวีปอเมริกาเหนือแตกต่างกันตามช่วงละติจูดคือ ตั้งแต่ละติจูดที่ 40 องศาเหนือขึ้นไปทางทิศเหนือ จะได้รับลมประจำตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดมาจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ฝนตกชุกบริเวณ ชายฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดา รัฐอะแลสกา ของสหรัฐอเมริกา สำหรับบริเวณ ใต้เส้นละติจูดที่ 40 องศาเหนือ จะได้รับลมตะวันออกเฉียงเหนือจากมหาสมุทรแอตแลนติก
4. ปัจจัยด้านกระแสน้ำ มีอิทธิพลต่อทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่

4.1 กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ไหลเลียบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา จากทิศใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
4.2 กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของเกาะกรีนแลนด์ มาพบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม บริเวณนอกฝั่งตะวันออกของเกาะนิวฟันด์แลนด์
4.3 กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาลงมาจนถึงชายฝั่งมหาสมุทรแคลิฟอร์เนีย
4.4 กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของรัฐอะแลสกา ขึ้นไปทางเหนือ จนถึงช่องแคบแบริง

5. ระยะห่างจากทะเล ตอนเหนือของทวีปมีพื้นที่กว้างขวางมาก ตอนในของทวีปได้รับอิทธิพลจากทะเลเพียงเล็กน้อย ทำให้ตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและแคนาดามีอากาศแห้งแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้า และทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
6. พายุเฮอริเคน เป็นพายุเมืองร้อน เกิดในทะเลแคริบเบียน เคลื่อนที่เข้าสู่เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา พายุทอร์นาโด เกิดในบริเวณที่ราบภาคกลางของสหรัฐอเมริกา มีกำลังแรงมาก มีลักษณะเป็นกรวยเมฆสีดำคล้ายงวง สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน



ลักษณะอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตอากาศที่แตกต่างกันดังนี้

1. เขตอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งตะวันออกของดินแดนทางตอนใต้ของอเมริกาเหนือ เม็กซิโก ปานามา มีฝนตกชุก อุณหภูมิสูง พืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบป่าเมืองร้อน
2. ทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical Grassland Climate) ได้แก่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเม็กซิโก หมู่เกาะอินดิสตะวันตก อุณหภูมิในฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก มีฝนตกปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า เรียกว่าสะวันน่า (Savanna)
3. เขตอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และภาคเหนือของเม็กซิโก มีอุณหภูมิสูงมากในฤดูร้อน มีปริมาณฝนน้อย พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่พืชจำพวกตะบองเพชร และประเภทไม้มีหนาม
4. เขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) ปรากฏทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา บางส่วนของแคนาดา เม็กซิโก ซึ่งอยู่บริเวณชายขอบทะเลทราย มีลักษณะอากาศกึ่งแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น เรียกว่า สเต็ปป์ (Steppe)
5.เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ในฤดูร้อน อากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าไม้พุ่มเตี้ย เรียกว่า ป่าแคระ (Chaparral)
6.เขตอากาศแบบชื้น กึ่งร้อน (Humid Subtropical Climate) ปรากฏบริเวณภาคกลาง ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีลักษณะอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าสน
7.เขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate) ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งหันหน้าเข้ารับลมประจำตะวันตก ที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ช่วงฤดูร้อน มีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวมีอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง ที่เด่นชัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่น
8. เขตอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Humid Continental Climate) ปรากฏบริเวณทะเลสาบทั้ง 5 ตอนใต้ของแคนาดา ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำในฤดูหนาว ส่วนฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลางถึงสูงมากเป็นช่วงที่ มีฝนตกชุก พืชพรรณธรรมชาติมีทั้งป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าไม้ไม่ผลัดใบ ชนิดมีใบแหลม
9.เขตอากาศแบบไทกา (Taiga Climate) ได้แก่บริเวณรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา ภาคเหนือของประเทศแคนาดา มีลักษณะอากาศที่หนาวจัดเป็นระยะเวลายาวนาน มีหิมะตก ส่วนฤดูร้อนมีระยะสั้นอากาศค่อนข้างเย็น พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าสน และป่าไม้เนื้ออ่อน
10. เขตอากาศแบบทุนดรา (Tundra Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกของรัฐอะแลสกาและแคนาดา รวมทั้งชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ ฤดูหนาวมีอากาศเย็นจัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นตะไคร่น้ำและมอส
11. ลักษณะอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง (Ice-Cap Climate) คือดินแดนของเกาะ กรีนแลนด์ตอนกลาง มีอากาศหนาวจัด และมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติไม่สามารถเจริญเติบโตได้เลย
12. ลักษณะอากาศแบบที่สูง (Highland Climate) อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีป ในเขตภูเขาสูงนี้ อุณหภูมิ ความชื้น พืชพรรณธรรมชาติ เปลี่ยนไปตามความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงมากอากาศจะยิ่งเย็นจัด จนกระทั่งถึงมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ตลอดเวลา

ลักษณะทางเศรษฐกิจ และอาชีพของประชากร



ลักษณะทางเศรษฐกิจ และอาชีพของประชากร ของทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือ เป็นทวีปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด ที่เด่นมาก ได้แก่

1. ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งป่าไม้ที่สำคัญ อยู่ในเขตประเทศแคนาดา และสหรัฐอเมริกา บางส่วนของเม็กซิโก บริเวณแนวเทือกเขารอกกี
2.ทรัพยากรแร่ธาตุ และพลังงาน พบถ่านหินมากในเขตเทือกเขาแอปปาเลเชียน แร่เหล็ก มีแหล่งผลิตบริเวณทะเลสาบทั้ง 5 โดยเฉพาะทะเลสาบสุพีเรีย ทองแดงมีมากในปานามา น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีแหล่งผลิตที่เทกซัส หลุยเซียนา แคลิฟอร์เนีย และอะแลสกา พลังงานน้ำที่นำมาใช้ในการหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า มีมากทางด้านตะวันตกของประเทศแคนาดา



เศรษฐกิจของทวีปอเมริกาเหนือ


1.การเพาะปลูก เป็นดินแดนผลิตอาหารที่สำคัญของโลก เป็นผู้นำในการผลิตข้าวโพดข้าวสาลี
2.การเลี้ยงสัตว์ มีการทำฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ ชาวอเมริกันนิยมรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นมเนย มากกว่าอาหารโปรตีนชนิดอื่น วัวเนื้อ เลี้ยงบริเวณ เกรตเพลน (Great Plain) แหล่งเลี้ยงวัวนม ได้แก่บริเวณรอบทะเลสาบ ทั้ง 5
3.การประมง มีการจับปลาในเขตน้ำตื้นชายฝั่ง แหล่งปลาชุกชุมอยู่ใกล้เกาะนิวฟันด์แลนด์ เรียกว่า แกรนด์แบงก์
4.การอุตสาหกรรม อเมริกาเหนือเป็นทวีปที่ได้ชื่อว่าล้ำหน้าในเรื่องการอุตสาหกรรมของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีโรงงานผลิตสินค้าชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ อุตสาหกรรมสำคัญได้แก่การผลิตเหล็ก และเหล็กกล้า เครื่องจักรกล อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่ง

    • เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา คือ ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เข้ามาภายในจนถึงทะเลสาบใหญ่ทางตะวันตก และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
    • ย่านอุตสาหกรรมของแคนาดาอยู่บริเวณทางตอนใต้ของประเทศ ทำกระดาษและเยื่อไม้


5.การพาณิชยกรรม เป็นตลาดการค้าสำคัญของโลก มีประชากรจำนวนมาก เศรษฐกิจดี ผู้นำในทวีปอเมริกาเหนือทั้ง 3 ชาติ คือสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก รวมกลุ่มกัน จัดตั้งเป็น เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ นาฟตา (NAFTA) เพื่อต่อรองและถ่วงดุลอำนาจกับประชาคมยุโรป



 

ลักษณะทางสังคม


ลักษณะทาง สังคม วัฒนธรรมทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือ แบ่งสภาพทางวัฒนธรรมออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้

1. แองโกลอเมริกา ได้แก่ดินแดนทางตอนเหนือของแม่น้ำริโอแกรนด์ ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา ประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ รักอิสรภาพ นิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย
2. ละตินอเมริกา ได้แก่ดินแดนทางตอนใต้ของแม่น้ำริโอแกรนด์ ประชากรส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรม จากประเทศโปรตุเกสและสเปน นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิก
3. กลุ่มชาวพื้นเมืองและพวกเลือดผสม ได้แก่ ลูกผสมระหว่าง ยุโรป และอินเดียนแดง เรียกว่า เมสติโซ (Mestizo) เป็นกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในเขตละตินอเมริกา ลูกผสมระหว่าง ยุโรปและนิโกร เรียกว่า มูแลตโต (Mulatto)
4. กลุ่มประชากรเชื้อสายเอเชีย มีผิวสีน้ำตาลเหลือง อพยพมาจากเอเชียตะวันออก ได้แก่ชาวเอสกิโม ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา และในรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา
5. กลุ่มประชากรเชื้อสายนิโกร จากทวีปแอฟริกา เป็นกลุ่มที่ชาวผิวขาวนำมาเป็นทาสในรุ่นแรก ๆ



ภาษา
ภาษาที่ใช้ในทวีปอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นตระกูล อินโด - ยูโรเปียน มีหลายกลุ่ม คือ


ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาประจำชาติ และภาษาราชการประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา
ภาษาสเปน เป็นภาษาราชการของประเทศเม็กซิโก และประเทศต่างๆ ในอเมริกากลาง
ภาษาฝรั่งเศส ใช้กันมากในมณฑลควีเบกประเทศแคนาดา และในเกาะ เฮติ
ภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาเอสกิโม ภาษาเผ่าต่างๆของชนกลุ่มน้อยของทวีปอเมริกาเหนือ ภาษาของชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น ฟิลลิปปินส์ เป็นต้น



ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือนับถือศาสนาคริสต์ นิกายที่สำคัญ ได้แก่

  • นิกายโปรเตสแตนต์ เป็นศาสนาที่ประชากรส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดานับถือ
  • นิกายโรมันคาธอลิก เป็นศาสนาที่ประชากรในมณฑลควีเบก ของ แคนาดา และประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปนนับถือ



ประชากร
เปรียบเทียบลักษณะทางสังคม ของประชากรในทวีปอเมริกาเหนือ คือ
ลักษณะทางสังคมของกลุ่มแองโกล - อเมริกา

 

  • เป็นสังคมของประเทศที่มั่งคั่ง มีมาตรฐานการครองชีพสูง
  • เป็นสังคมประชาธิปไตย ประชากรมีอิสรภาพ เสรีภาพ ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนสูง
  • เป็นสังคมเมืองมากกว่าสังคมชนบท
  • เป็นสังคมอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม
  • ประชากรได้รับความสะดวกสบาย


ลักษณะทางสังคมของกลุ่ม ละตินอเมริกา

 

  • เป็นสังคมของประเทศยากจน ประชากรมีรายได้ต่ำ
  • เป็นสังคมกึ่งประชาธิปไตย กึ่งเผด็จการ มีการปฏิวัติรัฐประหารบ่อย บางประเทศ เช่น คิวบาเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
  • เป็นสังคมชนบทมากกว่าสังคมเมือง
  • ส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม
  • เป็นสังคมที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์



ลักษณะการกระจายตัวของประชากร
1. บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นได้แก่ ภาคตะวันออกของทวีป ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีอากาศอบอุ่นสบาย ได้รับอิทธิพลจากทะเล มีปริมาณฝนเพียงพอ เหมาะแก่การเพาะปลูก อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ เหล็ก ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้า การคมนาคมขนส่งสะดวก
2. บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง ได้แก่บริเวณภาคตะวันตก ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมและการประกอบอาชีพทุกชนิด บริเวณทะเลทราย ที่มีลักษณะอากาศรุนแรง เขตอากาศหนาวเย็นใน รัฐอะแลสกา และตอนเหนือของแคนาดา
 

ความสัมพันธ์ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับประเทศไทย



ความสัมพันธ์ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับประเทศไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย และทวีปอเมริกาเหนือด้านต่างๆ ดังนี้

1. ความสัมพันธ์ด้านการค้า
2. ความสัมพันธ์ด้านการฑูต
3. ความสัมพันธ์ด้านการศึกษา และการกีฬา
4. ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม



ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยทางด้านต่างๆดังนี้

 

  • มีความสัมพันธ์ทางการค้าและการฑูตตั้งแต่สมัย รัชกาล ที่ 3 ทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้า และแก้ไขสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนฑูตซึ่งกันและกัน
  • มีมิชชันนารีอเมริกัน นำวิทยาการใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย เช่นการศึกษาศาสนา และการแพทย์ เป็นต้น
  • มีชาวอเมริกันเข้ามารับราชการในประเทศไทยหลายคนช่วยพัฒนาระบบราชการไทยให้ก้าวหน้า
  • พระราชวงศ์ไทยหลายพระองค์เคยเสด็จไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา เช่น พระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จไปศึกษาวิชาแพทย์ และพยาบาล เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสูติที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ประเทศไทยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือทั้งในภาครัฐบาล และภาค เอกชนในด้านเศรษฐกิจ วิชาการ การเมือง การทหาร การกีฬา
  • สหรัฐอเมริกาและไทยได้ร่วมกันปรับปรุงการคมนาคมและการสื่อสารให้ขยายไปตามภูมิภาคต่างๆ ส่งเสริมด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การบินพาณิชย์ ช่วยเหลือในการฝึกอบรมด้านวิชาชีพมากขึ้น
  • ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือ จากองค์กรต่างๆของเอกชน ในรูปของ มูลนิธิ และสถาบันต่างๆ เช่น มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ มูลนิธิฟอร์ด มูลนิธิ เอเชีย โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน AFS เป็นต้น
  • มีนักศึกษา และประชากรไทย เดินทางไปศึกษาต่อ และตั้งถิ่นฐานในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนมาก และมีนักท่องเที่ยว และชาวอเมริกันเดินทางมาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเช่นเดียวกัน


ในปัจจุบัน ปัญหาที่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย คือข้อกีดกันทางการค้า

ประเทศแคนาดา

 

  • มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยทางด้านเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ มีการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า และวัตถุดิบ โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สินค้าที่ไทยส่งไปจำหน่ายในแคนาดา ได้แก่ แป้งมันสัมปะหลัง นุ่น อัญมณี ผ้าไหม เครื่องถม ดีบุก สินค้าแคนาดาที่ส่งมาจำหน่ายในประเทศไทย คือ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ แร่อะลูมิเนียม เครื่องจักรกล และเครื่องเคมีภัณฑ์
  • ประเทศไทย และแคนาดา เป็นสมาชิกองค์การแผนการโคลัมโบ (Columbo Plan) มีการให้ความร่วมมือ และช่วยเหลือประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ และวิชาการ



ประเทศเม็กซิโก มีความสัมพันธ์ในด้านการฑูต และการค้า การกีฬา และการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อในภาคเอกชน  

 

1.จำนวนประชากรข้อมูลจำนวนประชากรในปี พ.ศ.2546 ของทวีปอเมริกาเหนือ 501,777,288 คน เปรียบเทียบกับพื้นที่ 24,680,331 ตารางกิโลเมตรทำให้มีความหนาแน่นประชากร 20 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร

 

 

 

 

 

 

 

 2. การกระจายตัวของประชากรประชากรในทวีปอเมริกาเหนือมีการกรจายตัว การตั้งถิ่นฐานไม่สม่ำเสมอ       และมักจะกระจุกตัวหนาแน่นบริเวณตอนกลางและทางด้านตะวันออก

 บริเวณที่มีการกระจายตัวของประชากรหนาแน่น มี 3 เขตใหญ่ ดังนี้

1. เขตที่ราบและชายฝั่งตะวันออก  เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดของทวีป เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ติดชายฝั่งทะเลของมหาสมุทรแอตแลนติก จึงเหมาะต่อการประกอบอาชีพ การคมนาคมขนส่ง และการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน  มีมหานครขนาดใหญ่ คือ นิวยอร์ค  วอชิงตัน ดี.ซี.(เมืองหลวงของ สหรัฐฯ) ออตตาวา(เมืองหลวงของแคนาดา)      นอกจากนั้นยังมีเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่ง อีกหลายเมือง เช่น  ฟิลาเดลเฟีย บอสตัน โตรอนโต ชิคาโก ดัลลัส ฮุสตัน ไมอามี ดีทรายต์ เป็นต้น

ั้2. เขตชายฝั่งตะวันตก  เขตนี้ประชากรจะหนาแน่นกระจุกตัวอยู่เฉพาะเมืองใหญ่ คือ ลอสแองเจลิส ซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางชายฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะเมืองซานฟรานซิสโก เป็นเมืองศูนย์กลางการบิน

3. เขตอเมริกากลางและกลุ่มเกาะแคริบเบียน เขตนี้ประชากรหนาแน่นและกระจุกตัวอยู่ตามเมืองขนาดใหญ่ที่เ็ป็็นศูนย์กลางอุตสหากรรม การค้า การคมนาคมและเมืองหลวง เช่น เมือง เม็กซิโกซิตี ฮาวานา ซานโตโดมิงโก เป็นต้น

        ตารางเปรียบเทียบจำนวนประชากรของประเทศต่าง ๆ ในโลกตามลำดับ

ลำดับที่

ประเทศ

จำนวน

ประชากร

การกระจายประชากร

(people/ km²)

World

6,661,208,350

43

1

 China

1,315,844,000

136

2

 India

1,110,000,000

328

3

 United States

300,000,000

30

4

 Indonesia

222,781,000

126

5

 Brazil

186,405,000

21

6

 Pakistan

164,000,000

202

7

 Bangladesh

145,000,000

1,002

8

 Russia

142,800,000

8

9

 Nigeria

131,530,000

139

10

 Japan

127,000,000

337

11

 Mexico

107,000,000

54

3. ลักษณะเชื้อชาติประชากร

        1. ชนพื้นเมืองดังเดิม

            ทวีิปอเมริกาเหนือเป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชาวอินเดียแดง ต่อมาในภายหลังจากที่ชาวผิวขาวอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำให้ชาวอินเดียแดง มีจำนวนลดน้อยลง ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ ได้จัดสรรค์พื้นที่สำหรับชาวอินเดียแดงโดยเฉพาะให้อยู่อาศัย สถาพชีวิตความเป็นอยู่โดยทั่วไปมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก

   

ชาวแอสกิโม ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทวีปรวมทั้งรัฐอะลาสกา ดำรงชีพโดยการประกอบอาชีพการประมงเป็นอาชีพหลัก

        2. ชนผิวขาวจากยุโรป

             ชาวยุโรปที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มยุโรปตะวันตก ซึ่งหมายถึง ชาวอังกฤษ ฝรั่งเศส ซึ่งเข้าไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา เป็นส่วนใหญ่(กลุ่มนี้เรียกว่า แองโกลอเมริกัน) กลุ่มที่สอง คือกลุ่มยุโรปใต้ หมายถึง ชาวสเปน และโปรตุเกส เข้าไปตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่ในเม็กซิโก อเมริกากลางและหมู่เกาะในทะเลคาริบเบียน

        3. ชนผิวดำ

            ชนเชื้อชาตินิโกร ที่ถูกนำเข้ามาเป็นทาสในสมัยหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทำงานในไร่ฝ้าย ต่อมาได้รับอิสระ จึงได้อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือจำนวนมาก

        4. ชาวเอเชีย

            คือกลุ่มที่เข้าไปอาศัยในทวีปอเมริกาในปัจจุบันด้วยเหตุผลต่าง ๆ มากมาย เช่นการศึกษา การทำงาน อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่

 ลักษณะภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจของ

ทวีปอเมริกาเหนือ

  

1.  บริเวณเทือกเขาสูง

ในทวีปอเมริกาเหนือมีอยู่ 2 เขตใหญ่ คือ

     1.1             เขตเทือกเขาใหญ่ตะวันตก                                                                                     เป็นระบบเทือกเขาที่วางตัวขนานชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในแนวเหนือ-ใต้ตั้งแต่เหนือสุดของทวีปไปจนตลอดใต้สุด   และต่อเนื่องลงไปถึงเทือกเขาแอนดิส    ในทวีปอเมริกาใต้ เทือกเขาเขตประกอบด้วยเทือกเขารอกกี  เทือกเขาบรูกซ์ เทือกเขาแมคเคนซ ีเทือกเขาแอลาสกา เทือกเขาโคสก์  เทือกเขา แคสเกต      และเทือกเขาเซียรามาเดร 

 

                 ในระหว่างเทือกเขาต่อเนื่องกันนี้จะปรากฏที่ราบสูงที่สำคัญ   ได้แก่ที่ราบสูงอะแลสกา ที่ราบสูง บริติชโคลัมเบีย   ที่ราบสูงเกรตเบซิน ที่ราบสูงโคโลราโดและที่ราบสูงเม็กซิโกทางด้านใต้      

 

  สำหรับยอดเขาที่สูงที่สุดในบริเวณเขตเทือกเขาใหญ่ภาคตะวันตกนี้ได้แก่ ยอดเขาแมกคินเลย์  ซึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขาอะแลสกา

 

ระบบเทือกเขาสูงเขตนี้มีความสำคัญต่อทวีปอเมริกาเหนือ ในการเป็นแนวปะทะเมฆฝนตามธรรมชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ แหล่งแร่ธาตุฯลฯ 

 

ระบบเทือกเขาเขตนี้ยังมีการเคลื่อนไหวทำให้เกิดภูเขาไฟและแผ่นดินไหว   และยังพบร่องรอยปรากฏการณ์ของภูเขาไฟอย่างรุนแรง

 

     1.2    เขตเทือกเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงใต้       เป็นเทือกเขาหินเก่า การเป็นภูเขาที่ผ่านการสึกกร่อนมานานทำให้มีลักษณะเป็นภูเขาเตี้ย     เทือกเขาเขตนี้ ได้แก่ เทือกเขาแอปปาเลเชียน

 

2.  บริเวณที่ราบใหญ่

              ได้แก่ที่ราบที่อยู่บริเวณเชิงขอบเขาของบริเวณเทือกเขาสูง   เมื่อมองภาพโดยรวมจะเห็นว่าเป็นลักษณะที่ราบที่กว้างใหญ่จากเหนือสุด คือจากชายฝั่งทะเลอาร์กติกทางเหนือจนถึงชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกตอนใต้ ซึ่งแบ่งที่ราบใหญ่นี้ออกเป็น 2 เขต ได้แก่

    2.1              ที่ราบระดับสูง

              ได้แก่บริเวณเชิงขอบเขาของเทือกเขารอกกี      มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางเฉลี่ย 200 – 500 เมตร  จากแผนที่จะเห็นได้ว่า ที่ราบผืนนี้วางตัวยาวขนานไปกับแนวของเทือกเขารอกกี ดังนั้นจึงทำหน้าที่ระบายน้ำจากเทือกเขาสูงสู่ที่ราบ และลงสู่ทะเลต่อไป อาจจะเรียกที่ราบผืนนี้ว่า ที่ราบภายใน(Interior Plains) ตามที่ตั้งที่อยู่ตอนใน

     2.2              ที่ราบระดับต่ำ

ที่ราบต่ำตอนบน

เป็นที่ราบที่ลดระดับต่ำจากที่ราบภายใน มีระดับความสูงเฉลี่ยนตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางจนถึง 200 เมตร       ทางตอนบนสุดจะมีทะเลสาบปรากฏอยู่จำนวนมาก   ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็งซึ่งเคยปกคลุมบริเวณนี้มาก่อน เช่นทะเลสาบทั้ง 5หรือเรียกว่า Great Lakes(ได้แก่ ทะเลาสาบสุพีเรีย มิชิแกน ฮูรอน อีรีและออนตาริโอ)    ทะเลสาบเกรตแบร์ เกรตเลฟ เรนเดียร์ มานิโตบา วินิเปก ฯลฯ     

ที่ราบระดับต่ำตอนล่าง

ทางตอนล่างลงมาจะมีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ    ่ในเขตประเทศสหรัฐอเมริกา    เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านจำนวนมาก    ที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมิสซิสซิปปีและสาขาต่าง ๆ ,แม่น้ำแมคเคนซี เป็นต้น

 

บริเวณนี้มีความสำคัญต่อทวีปอเมริกาเพราะเป็นที่ราบขนาดใหญ่จึงมีประชากรอาศัยอยู่จำนวนหนาแน่น     เป็นพื้นที่เกษตรกรรม          แหล่งอุตสาหกรรม เมืองการค้า

เมืองสำคัญทางตอนเหนือได้แก่   เมืองชิคาโก    ดีทรอยต์    ดัลลัส  เป็นต้น

 

3.  บริเวณชายฝั่งทะเล

ทวีปอเมริกามีชายฝั่งทะเลทุกด้าน   ที่มีลักษณะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตัวการที่มากระทำและหินฐานรองรับ

โดยชายฝั่งในละติจูดสูง ๆ   เช่น    ชายฝั่งอ่าวอะแลสกา เป็นชายฝั่งทะเลที่มีลักษณะเว้าแหว่ง เรียกว่า ฟยอร์ด(Fjord) เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง

ขณะที่ชายฝั่งด้านใต้บริเวณอ่าวเม็กซิโกเป็นที่ราบชายฝั่ง  ที่เกิดจากอิทธิพลของแม่น้ำต่าง ๆ ที่พัดพาเอาตะกอนมาทับถม   เป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์

ชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือส่วนใหญ่ จะเป็นที่ตั้งของเมืองท่าเมืองอุตสาหกรรมและเมืองการค้า เช่น ด้านตะวันออกที่ตั้งเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. นิวยอร์ก บอสตัน       ด้านใต้มีเมืองนิวออลีนส์       ด้านตะวันตกมีเมืองลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก แวนคูเวอร์ เป็นต้น

4.  อ่าว ทะเล มหาสมุทร เกาะ และหมู่เกาะหรือกลุ่มเกาะ

อ่าว ทวีปอเมริกาเหนือจะมีอ่าวที่มีขนาดใหญ่เป็นส่วนมาก ได้แก่ อ่าวเม็กซิโก(ตอนใต้) อ่าวฮัดสัน(ตอนเหนือ)    อ่าวอะแลสกา(ตะวันตกเฉียงเหนือ) และอ่าวแคลิฟอร์เนีย(ตะวันตก)

              ทะเล มีทะเลแคริเบียน(ตอนใต้) ทะเลโบฟอร์ต(ตอนเหนือ)และทะเลเบริง(ตะวันออกเฉียงเหนือ)

              มหาสมุทร  มีมหาสมุทรแปซิฟิก(ด้านตะวันตก) มหาสมุทรแอตแลนติก(ด้านตะวันออก) และมหาสมุทรอาร์กติก(ด้านเหนือ)

              เกาะ เกาะขนาดใหญ่มีเกาะกรีนแลนด์(ตะวันตกเฉียงเหนือ)เป็นของประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดเวลา และในบริเวณใกล้เคียงจะมีเกาะอื่น ๆ ได้แก่ เกาะแบฟฟิน วิกตอเรีย เซาท์แธมป์ตัน และนิวฟันด์แลนด์ของแคนาดา

              กลุ่มเกาะ ที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริเบียนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก ได้แก่ ประเทศจาไมกา คิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน ฯลฯ

 

 

 

1) เพราะเหตุใดจึงเรียกทวีปอเมริกาเหนือว่าโลกใหม่

 

ก)  เป็นทวีปที่เพิ่งค้นพบใหม่

ข)  มีอารยธรรมสมัยใหม่เกิดขึ้นในทวีปนี้

ค)  เป็นดินแดนที่เพิ่งก่อกำเนิด

ง)  เรื่องราวของทวีปนี้ยังไม่แจ้งชัด

 

 

2) ผู้ที่ค้นพบโลกใหม่จนนำไปสู่การสำรวจดินแดนในโลกอย่างจริงจังคือใคร?

 

ก) วาสโกดากามา

ข) อเมริโก เวสปุชซี

ค) โคลัมบัส

ง) มาร์โคโบโล

3) ข้อใดคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือขอแยกตัวเป็นอิสระ?

 

ก) ต้องการมีผู้นำของตนเอง

ข) ต้องการปกครองตนเอง

ค) เมืองแม่อ่อนแอ

ง) ถูกลิดลอนสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา

4) ทวีปอเมริกาเหนือมีรูปร่างตรงกับข้อใด?

 

ก) รองเท้าบู๊ต

ข) รังผึ้ง

ค) สามเหลี่ยม

ง) สิงห์ผงาด

5) ประเทศและเมืองหลวงคู่ใดไม่สัมพันธ์กัน??

 

ก) แคนาดา-ออตตาวา

ข) เม็กซิโก-เม็กซิโกซิตี้

ค) สหรัฐอเมริกา-นิวยอร์ก

ง) คิวบา-ฮาวานา

6)ทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดสอดคล้องกับข้อใด?

 

ก) เล็กกว่าทวีปเอเซียแต่ใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลีย

ข) ใหญ่กว่าทวีปอเมริกาใต้และเท่ากับทวีปเอเซีย

ค) ใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาแต่เล็กกว่าทวีปเอเซีย

ง) เล็กกว่าทวีปยุโรปและเท่ากับทวีปแอฟริกา

 

 

7) ลักษณะภูมิประเทศทางภาคตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือเป็นแบบใด

 

ก)  ที่ราบลุ่ม

ข)  เทือกเขาสูง

ค) ทะเลทราย

ง) ที่ราบสูงเป็นลูกฟูก

8)  ปัจจัยในข้อใดที่ทำให้ทวีปอเมริกาเหนือมีลักษณะภูมิอากาศหลากหลาย ?

 

ก)   อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ

ข)   มีลมประจำพัดผ่าน

ค)  พื้นที่กว้างใหญ่มาก

ง)  อิทธิพลจากทะเล

9)  ประเทศใดในทวีปอเมริกาเหนือที่มีภูมิอากาศหลายลักษณะ?

 

ก)   เม็กซิโก

ข)   คิวบา

ค)  แคนาดา

ง)  สหรัฐอเมริกา

 

10) ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศแคนาดาพยายามใช้พลังงานจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ?

 

ก)  มีแหล่งพลังงานน้ำมาก

ข)  ประหยัดต้นทุนในการผลิต

ค)  ขาดแคลนน้ำมัน

ง)  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

เฉลย

1

2

3

4

5

6

7 

8

9

10 ก