Custom Search

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การจักสาน

บทที่ 2 เอกสารหรือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาเกี่ยวกับการจักสาร ผู้ศึกษาได้มีแนวทางโดยกำหนดไว้ดังนี้

2.1 ความหมายของการจักสาน

2.2 เกี่ยวกับการจักสาน

2.2.1 การเตรียมการจักสาน

2.2.2 การคัดเลือกไม้ไผ่

2.2.3 การเตรียมเส้นตอก

2.2.4 ประโยชน์ของการจักสาน

2.3 การจัดจำหน่าย

2.3.1 การกำหนดราคา

2.3.2 สถานที่จัดจำหน่าย

2.3.3วิธีการจำหน่าย

2.4 การจัดการบัญชี

 

2.1 ความหมายของการจักสาน

การจักสาน เป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่ง และนับเป็นงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ได้ด้วย การจักสานเป็นการนำวัสดุขนาดเล็กและยาว มาขัด หรือสาน กันจนเป็นชิ้นงาน เช่น เสื่อ หรือภาชนะอื่นๆ เช่น ตะกร้า เข่ง หรือของใช้อื่นๆ เช่น ลูกตะกร้อ เป็นต้น

การสานนั้น มีลักษณะคล้ายกับการทอผ้านั่นคือ ใช้วัสดุขนาดเล็กและยาว ที่เรียกว่า ตอก มาขัดประสานกัน แต่ตอกในการจักสานนั้นมีขนาดใหญ่กว่าเส้นด้ายมาก ลวดลายของงานจึงมีขนาดใหญ่ และมีความแตกต่างไปจากงานทอ สำหรับการสานเสื่อนั้น ยังมีการใช้เครื่องทอเสื่อคล้ายหูกทอผ้า แต่มีขนาดเล็กกว่า

 

2.2 เกี่ยวกับการจักสาน

2.2.1 เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์

วัสดุที่ใช้ในงานจักสาน มักเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ หวาย ปอ กระจูด เป็นต้น ในภายหลังมีการใช้ผักตบชวา และวัสดุเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้มีความทนทานมากขึ้น แต่มีสีสันและคุณลักษณะภายนอกคล้ายวัสดุธรรมชาติ

2.2.2 การคัดเลือกไม้ไผ่

ไม้ไผ่มีหลายชนิด  เช่นไม้ไผ่บ้าน  ไม้ไผ่ตง  ไม้ไผ่ป่า  ไม่ไผ่สีสุก  ซึ่งแต่ละชนิดให้ประโยชน์  แตกต่างกันไป เช่น ไม้ไผ่ที่นำมาทำกระติบข้าวคือ  ไม้ไผ่บ้าน  ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้านสำราญ  ไม้ไผ่บ้านที่จะนำมาทำกระติบข้าวต้องมีการคัดเลือกให้มีขนาด  มีอายุ  พอเหมาะ  จึงจะทำให้กระติบข้าวมีความคงทน  สวยงาม  ในการคัดเลือกไม้ไผ่จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ

              1.  อายุ  อายุของไม้ไผ่  จะต้องมีอายุอย่างน้อย  ปี  จึงจะได้ขนาด  และความยาวของป้องที่เหมาะสม  ถ้าไม้ไผ่มีอายุน้อยกว่า  ปีจะได้ไม้ไผ่ที่อ่อนเมื่อนำมาทำกระติบข้าวจะมีผลเสียคือ  มอด  ปลวกกิน  แต่ถ้าแก่เกินไปสีของกระติบจะไม่สวย

              2.  ความยาวของปล้อง  ความยาวของปล้อง ที่เหมาะสม  จะมีความยาวประมาณ  30  เซนติเมตร  ขึ้นไป  ความยาวของปล้องจะเป็นตัวกำหนดขนาด ขนาดของไม้ไผ่  การคัดเลือกขนาดปล้องของไม้ไผ่  ถ้าคัดเลือกปล้องที่มีขนาดใหญ่ก็จะได้จำนวน  หรือปริมาณ

ตอกมาก  ถ้าขนาดเล็กปริมาณเส้นตอกจะน้อย  โดยเฉลี่ยจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  15  เซนติเมตร

2.2.3การเตรียมเส้นตอก

 

การเตรียมเส้นตอกสำหรับสานนั้น  ตองทำให้ได้ขนาดพอเหมาะกับความยาวของเส้นตอก  และให้เส้นตอกมีขนาดพอเหมาะกับขนาดของกระติบข้าวที่จะทำ  คือถ้ากระติบขนาดเล็กเส้นตอกก็จะเล็ก  ถ้ากระติบขนาดใหญ่เส้นตอกก็จะใหญ่ด้วย  ในการเตรียมเส้นตอกมีวิธีการเตรียม  ดังนี้

  1. การลนไม่  เป็นการนำไม้ไผ่มาลนไฟ  เพื่อให้เนื้อไม้ไผ่มีความเหนียวเวลานำไปจักเป็นเส้นตอกจะได้ไม่เสียมาก
  2. การแขบตอก  เป็นการผ่าแบ่งไม้ไผ่แต่ละปล้องให้เป็นซี่ๆ  ซี่ละประมาณ  1  - 1.5 เซนติเมตร  แล้วผ่าเอาเนื้อไม้ที่อยู่

ด้านในออก  ให้ไม้แต่ละซี่มีขนาดเส้นตอกที่พอเหมาะขูดผิวหน้าให้เรียบ

              3.    การจักตอก  เป็นการนำไม้ไผ่ที่แขบแล้วมาจัก (ผ่า) ซอยออกเป็นเส้นตอก  เมื่อจักจนครบหนึ่งปล้องแล้ว  ก็จะนำเส้นตอกที่ได้ไปผึ่งแดดให้แห้ง  เพราะถ้าไม่ผึ่งแดดให้แห้ง  เส้นตอกมีความชื้นอยู่จะทำให้เกิดรา  เส้นตอกจะไม่สวย

  1. การขูดตอก  เส้นตอกที่จักและผึ่งแดดแล้วนั้น  เส้นตอดยังไม่เรียบ  ไม่สวย  จะต้องนำมาแช่น้ำประมาณ  ชั่วโมง

ก่อนแล้ว  จึงนำมาขูดให้เรียบ  แต่เดิมจะใช้มีขูด  แต่ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงพัฒนาเครื่องมือขึ้นมาใหม่  โดยใช้ใบกบไฟฟ้าเก่า

มาประกอบเป็นเครื่องขูดตกขึ้น   ให้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น  ประหยัดเวลาได้มาก

2.2.4 ประโยชน์ของการจักสาน

1

2

3

ไม้ไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่มี่อยู่ในท้องถิ่น สามารถนำมาจักสานให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์
และลวดลายที่หลากหลาย ก็จะยิ่งทำให้เพิ่มมูลค่า
ให้กับผลิตภัณฑ์ได้มากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้

                 ได้ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่โดยไม่ต้องซื้อหาจากแหล่งอื่น เป็นการประหยัดรายจ่ายของครอบครัว ส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้แก่คนในชุมชน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สิบทอดภูมิปัญญาแก่อนุชนรุ่นหลัง

ขั้นที่ การสานลายสอง

              การก่อกระติบเป็นขั้นตอนแรกของการขึ้นโครงกระติบ  การต่อโดยการสานลายสอง  ส่วนนี้จะอยู่ตรงส่วนกลางของโครงกระติบ  เมื่อก่อหรือสาน  และนำจำนวนเส้นตอกครบแล้ว  ถ้าจะสานเชื่อมรอยต่อให้เป็นวงกลมเพื่อที่จะขึ้นโครงสานเป็นกระติบข้าวต่อไป

 

ขั้นที่ การขึ้นโครง

              การขึ้นโครงเป็นการนำลายสองที่สานไว้ในขั้นตอนที่ มานับจำนวนเส้นตอกโดยการนับจะนับทีละ  เส้น  เป็น 1 ครั้ง  นับให้ได้ประมาณ  32  ครั้ง  จะได้กระติบที่มีขนาดกลาง  ถ้านับได้  34  ครั้งขึ้นไป  ขนาดของกระติบก็จะใหญ่  ในการนับจะต้องนับทั้งสองข้างให้ตรงกัน  แล้วน้ำมาจับเข้าเป็นวงกลม  สานรอยต่อให้เข้ากันมัดเส้นตอกข้างใดข้างหนึ่งไว้ก่อน  และเริ่มสานลายสองขั้นไป  นับจำนวนแถวให้พอเหมาะกับขนาดความสูงของกระติบ   สานลายฟันปลาและม้วนปากม้วนเก็บเส้นตอก)   จากนั้น  แก้มัดเส้นตอดข้างที่เหลือสานลายคุบ (ลายสามนับจำนวนแถวให้พอเหมาะกับความสูงของกระติบสานลายฟันปลา  แล้วม้วยปาก(ม้วนเก็บเส้นตอกเป็นอันเสร็จ  ฝา   จึงจะได้กระติบ  ลูก

 

ขั้นที่ การพับ

              การพับกระติบ  ลูก  จะประกอบด้วยตัวโครงในขั้นตอนที่ จำนวน  ฝา  นำแต่ละฝามาพับครึ่งให้ลายสองเป็นจุดกึ่งกลาง  เมื่อพับเข้ามาแล้วจะได้ตัวกระติบกับฝากระติบ  ในการพับให้ดึงด้านที่เป็นลายคุบ  หรือลายสาม เข้าไปด้านใน

ให้ลายสองอยู่ด้านนอกด้านที่ม้วนปากจะมาอยู่ด้านเดียวกันให้พับส่วนปลายประมาณ  เซนติเมตรเข้าด้านใน  เพื่อเตรียมไว้สำหรับเป็นตัวยึด  และเย็บติดกับฝาตุต่อไป

 

ขั้นที่ การเตรียมเส้นตอกสานฝาอัดตุ

              การเตรียมเส้นตอกสานฝาอัดตุนั้น  ในการคัดเลือกไม้  จะคัดส่วนโคนต้นของไม้ไผ่มาผ่านขั้นตอนการลนไฟ  การแขบ  การจัก  และการขูด  เหมือนกับการเตรียมเส้นตอกสำหรับสานโครงกระติบ  จะแตกต่างกันที่ขนาดของเส้นตอกซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าเส้นตอกที่ทำโครง  คือถ้าเป็นกระติบที่มีขนาดเล็กส้นตอกจะกว้างประมาณ  1.5 – 2 เซนติเมตร   ถ้ามีขนาดใหญ่เส้นตอกจะกว้างประมาณ  2.5  -  3.5  เซนติเมตร   แล้วแต่ขนาดของกระติบ

 

ขั้นที่ 7 การสานลาย  ตาเหลวหอก

              เป็นการนำเส้นตอกที่เตรียมไว้มาสานเป็นฝาตุ  โดยในการสานฝาตุนั้น  จะสานลายตาเหลวหอก  ด้านหนึ่ง  และอีกด้านหนึ่งจะสานลายขัดเป็น ชั้น  ทำให้ฝาตุมีความหนา  จะช่วยป้องกันไม่ให้ไอร้อนของข้าวระเหยออกมาได้ง่ายทำให้ข้าวคงความร้อนอยู่ได้นาน

 

ขั้นที่  การเตรียมหวายเย็บ

              วัสดุที่นำมาเย็บประกอบตัวกระติบให้เข้ากับฝา  และฐานรอง  (ตีนกระติบคือหวาย  หรือค่า (พืชชนิดหนึ่งที่มีลำต้นคล้ายหวายชาวบ้านปลูกไว้ตามบ้านเพื่อใช้ประโยชน์    นำหวายหรือค่า  มาจักเป็นเส้นๆ ให้ได้ขนาดที่เหมาะสม  กับขนาดของกระติบ  ถ้ากระติบมีขนาดเล็ก  หวายหรือค่าที่ใช้ก็จะมีเส้นขนาดเล็ก   เมื่อจักแล้วก็จะนำมาขูดให้เส้นหวายเรียบ  สาวยงาม  เตรียมไว้สำหรับการเย็บ

 

ขั้นที่ การทำฐานรอง  (ตีนกระติบ)

              ฐานรองหรือตีนกระติบ  จะทำจากไม้เนื้ออ่อน  เช่น  ไม้ฉามฉา(จามจุรีไม้ข่อย  ไม้ยอป่า  ไม้มูก  ซึ่งเป็นไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น  สาเหตุที่ใช้ไม้เนื้ออ่อนเพราะจะต้องทำเป็นวงกลม  ไม้เนื้ออ่อนจะดัดง่าย  เวลาเย็บประกอบเข้ากับตัวกระติบก็จะเจาะรูสำหรับเย็บง่าย  ในการทำฐานรอง(ตีนกระติบจะนำไม้เนื้ออ่อนมาตัดเป็นท่อนยาวตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของกระติบ  แล้วผ่าเป็นซีกไสด้วยกบไสไม้ให้เรียบ  เมื่อได้ที่แล้วก็นำมาดัดโค้งเป็นวงกลมให้ได้ขนาดพอเหมาะกับตัวกระติบ

 

ขั้นที่  10  รูปสำเร็จ  (กระติบข้าว)

              นำโครงกระติบ  ฝา  มาประกอบกับฝาตุที่ตัดเป็นวงกลมแล้วเย็บด้วยหวาย  ทั้งตัวกระติบ  และฝากระติบ  จากนั้นนำฐานรอง(ตีนกระติบมาเย็บประกอบเข้ากับตัวกระติบด้วยหวาย   ใช้เส้นหวายเย็บ  และถักเป็นหูสองข้าง  เจาะรูที่ฐานรองสองข้างให้ตรงกันและตรงกับหูสองข้าง  สำหรับร้อยเชือกห้อยกระติบ  ก็จะได้กระติบข้าวที่สมบูรณ์และสวยงาม

              ปัจจุบับชาวบ้านนอกจากจะใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นกระติบข้าวแล้วยังพัฒนาการทำเป็นของใช้และของชำร่วยได้อีกหลายอย่าง  เช่นทำเป็นกล่องใส่กระดาษทิชชู  ทำเป็นลวดลาย  และทำเป็นตัวหนังสือข้างกระติบเพื่อเป็นของฝากก็ได้

การจักสานไม้ไผ่ลายขิด

ลายขิดขอก่าย

รูปภาพ ลายขิดขอก่าย

Lai Khit Kho Kai (a Khit pattern based on intertwining hooks.)

ต้องคิดไม้ไผ่ไร่ชนิดกำลังดี ขนาดอายุ ๒ - ๓ ปี จะอยู่ในระยะที่พอเหมาะ ไม่อ่อนไปหรือแก่ไป เพราะไผ่ขนาดนี้ จะมียางมีเยื่อ และเนื้อเหนียวคงทน ไผ่ไร่นี้ เป็นไผ่ป่าถ้ายิ่งป่าลึก ไผ่จะยิ่งมีลำปล้องยาว เพราะไผ่จะแย่งกันรับแสงแดด เหมาะแก่การนำมาใช้งาน

หลังจากเลือกไม้ไผ่ได้แล้ว นำมาผ่าเป็นซีก แล้วตากแดดให้แห้งจริงๆ ถ้าแห้งไม่สนิท ไผ่จะขึ้นราและมอดก็ชอบมาเจาะไช

เมื่อตากไผ่ซีกแห้งดีแล้ว ก็จักเป็นตอกเส้นเล็กๆ ตอกนี้จะมีหลายขนาด ครั้งแรกจะรูดด้วยมีด เป็นตอกชนิดหยาบ แต่เส้นเล็กมากๆ ไม่สามารถใช้มีดรูดได้ ต้องใช้เรียด ซึ่งเป็นเครื่องมือรูด เช่นเดียวกับย่านลิเพาเช่นกัน ตอกละเอียดนี้จะนำมาย้อมด้วยสีที่ย้อมนี้ จะใช้สีดำ ซึ่งเป็นสีดั้งเดิม สีอื่นนั้นมาใช้กันภายหลัง

หลังจากเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว ขั้นต่อไป คือการขึ้นดครงหรือสานโครง ซึ่งจะใช้ตอกชนิดหยาบสาน ต่อจากนั้นจึงเอาตอกละเอียด ซึ่งมีทั้งตอกย้อมสี รวมอยู่ด้วยมาสาน และยกเส้นตอกด้วยเหล็กแหลมเล็กๆ ให้เป็นลายขิดตามที่ต้องการ ลายขิดที่ทำเสมอ มีหลายลายเช่น ลายดีกระจาย ลายยกดอก ลายขิดขอก่าย เป็นต้น

นายจริยะ ซ้ายสุพรรณ

นายจริยะ ซ้ายสุพรรณ เป็นผู้หนึ่ง ที่สืบสานงานด้านจักสานลายขิด งานประณีตศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานไว้ ด้วยความภาคภูมิ เพราะเป็นชาวอีสาน ที่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งมาตั้งรกรากถิ่นฐาน ที่จังหวัดสกลนครนานมาแล้ว

ลายดีคว่ำ

รูปภาพ ลายดีคว่ำ

Lai Di Khwam (a twill pattern in a vaiation of the herring bone design)

นายจริยะ กำพร้ามารดาตั้งแต่ยังเล็กๆ หลังจากที่มารดาถึงแก่กรรม บิดาไปบวชเป็นพระ นายจริยะ จึงอยู่ในความดุแลของย่า ครั้นย่าเสียชีวิตลง อาที่กรุงเทพฯ ได้รับตัวไปอยู่ด้วย บิดาซึ่งบวชอยู่เป็นธุระ ในการศึกษาจนกระทั่งจบชั้นมัธยมต้น

วันหนึ่งนับเป็นโชคดี อย่างที่หาเปรียบมิได้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดเล็กๆ วัดหนึ่งในอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร วัดนี้ชื่อ วัดบ้านหลุบเลา หลวงพ่อของนายจริยะ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ถือเป็นโอกาสฝากฝังบุตรของท่าน กับเจ้าหน้าที่แห่งกองราชเลขานุการ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ได้กรุณาช่วยเหลือติดต่อ ให้นายจริยะ ซ้ายสุพรรณ เข้ามาเรียนอยู่ในศูนย์ฝึกศิลปาชีพจนสำเร็จ

เมื่อเริ่มต้น นายจริยะ มีโอกาสได้เรียนงาน จากครูจักรพันธ์ ไชยขันธ์ ชาวกาฬสินธุ์ ผู้ชำนาญการสานลายขิด ที่อาจเป็นคนสุดท้ายที่เหลือยู่ในปัจจุบัน ครูจักรพันธ์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากบิดา อีกทอดหนึ่ง ได้อุทิศเวลา และความรู้ทั้งมวล ถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์ด้วยความตั้งใจเต็มที่ จนบรรดาลูกศิษย์ได้รับความรู้เป็นอย่างดี และต่างก็ฝึกปรือฝีมือ จนชำนาญไปแล้วหลายต่อหลายคน ซึ่งเขาเหล่านั้นรวมทั้ง นายจริยะด้วย ต่างก็จะเป็นผู้สอนคนรู่นหลัง ได้สืบสานงานจักสานลายขิด ต่อไปเช่นกัน

 

งานจักสานไม้ไผ่ลายขิด

ศิลปหัตถกรรมประเภทงานจักสานลายขิด คือ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง ลำดับแห่งความเจริญทางวัฒนธรรม ของชาวอีสานได้เป็นอย่างดี เช่นกันกับงานจักสานย่านลิเพา ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวภาคใต้ งานจักสานที่เรียกว่า ลายขิด¹ นี้ ก็คือ ลักษณะของลวดลายชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นลายที่มีลักษณะแข็งๆ แบบเรขาคณิต การผูกลาย และการประสานกันของลายจะเป็นเส้นตรง แม้ลายนี้จะประกอบกันด้วย องค์ประกอบของเส้นตรง แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกที่แข็งกระด้างแต่อย่างใด เพราะในแต่ละลายนั้นจะมีเส้น มีส่วนละเอียดที่ลดหลั่นกันไป มีการประสานกันด้วยช่องไฟ และจังหวะที่พอเหมาะพอดี ซึ่งทำให้ลายนั้นงดงาม แม้จะไม่ให้ความรู้สึกที่อ่อนช้อยเหมือนลวดลาย ที่สร้างขึ้นด้วยเส้นโค้งก็ตาม

งานจักสานลายขิด เป็นงานที่พัฒนาขึ้นมาจากลายแม่บท ซึ่งเป็นลายพื้นฐานของงานจักสานทั่วไป ลายแม่บทนี้ จะเป็นลายที่มีลักษณะประจำตัวเด่นชัด มีกฎเกณฑ์การสานแน่นอน เช่น ลายขัด - ยกหนึ่ง ข่มหนึ่ง ลายสอง - ยกสองข่มสอง เป็นต้น ลายที่พัฒนาขึ้นนี้ก็จะมีพื้นฐานจากลายแม่ แต่มีลายละเอียดเพิ่มเติม และลักษณะลายแม่ยังปรากฏเด่นอยู่ ตัวอย่าง ลายเหล่านี้คื ลายลบน้ำ ลายดีหล่ม ลายดีกระจาย เป็นต้น

นอกจากจะเป็นงานที่พัฒนาจากลายแม่แล้ว บรรพบุรุษชาวอีสาน ยังได้ประดิษฐ์ลวดลาย สายจากความคิด ที่ได้จากประสบการณ์ มาสร้างจินตนาการเป็นรูปลายต่างๆ โดยอาศัยพื้นฐานเดิมที่ดียิ่ง มาเป็นหลักในการสาน กล่าวคือ ยังคงรักษากฎเกณฑ์เดิมไว้บ้าง แต่ก็ไม่เสมอไปนัก จากนั้นจะใช้ตอกสีชนิดละเอียด มาสลับสอดสะกิดยกให้เป็นดอก เป็นลวดบายทับลงบนโครง ที่สานไว้อีกทีหนึ่ง ให้เป็นลายขิด ลวดลายเหล่านั้น ก็ล้วนมาจากสิ่งที่พบเห็นใกล้ๆ ตัว อาจจะเป็นรูปสัตว์ พืชพรรณไม้ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ ช่างก็จะเกิดความบันดาลใจ นำสิ่งเหล่านี้มานิรมิตประดิษฐ์ เป็นลวดลายได้นานาชนิด เช่น ขิดรังผึ้ง ขิดดอกพิกุล ขิดใบฝ้าย ขิดขอก่าย ขิดขอโง ขิดขอเครือ เป็นต้น

งานจักสานลายขิดนี้ เป็นงานที่ทำสืบต่อกันมา จากความทรงจำของพ่อ แล้วพ่อก็ถ่ายทอดให้ลูก การสอนสืบต่อกันนี้เป็นการบอกเล่า และการฝึกทำ ไม่มีการบันทึกลวดลาย ไว้เป็นหลักฐานทางเอกสาร เช่นเดียวกับงานศิลปะพื้นบ้านอื่นๆ ที่บางชนิดก็เสื่อมสูญไปแล้ว พร้อมกับกาลเวลา และอายุขัยของคนรุ่นก่อน นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง ที่มรดกทางวัฒนธรรม อันบ่งบอกถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านภาคอีสาน ประเภทนี้จะสูญสิ้นตามไปอีกประเภทหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ เมื่อความทราบถึง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นประธานมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดแผนกจักสานลายขิด ขึ้นอีกแผนกหนึ่งที่โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา รวมทั้งในบริเวณสถานที่ประทับแห่งอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

งานจักสานลายขิด ที่โรงฝึกศิลปาชีพนี้ ครูจะสอนนักเรียน ตั้งแต่การเลือกวัสดุ การจักตอก ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ชนิดหยาบ ไปจนถึงขั้นละเอียด จากนั้นจะสอนให้เด็กขึ้นโครง หุ้มโครงการขึ้นลาย และเก็บขอบ ให้เรียนจนครบถ้วนกระบวนการทำ รวมทั้งเทคนิคต่างๆ ซึ่งจะทำให้เด็กนำไปฝึก ในเรื่องการนำลายจากผ้าขิด มาเป็นลายในงานจักสานได้เป็นอย่างดี