นาฏศิลป์ราชสำนักกัมพูชา
นาฏศิลป์กัมพูชา
นาฏศิลป์กัมพูชามีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร (ค.ศ. ๕๔๐-๘๐๐) แล้ว เช่น รูปปั้นดินเหนียวสมัยนครบุรี (Angkorborei) เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และจารึกที่กล่าวถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร ในจารึกสมัยพระนคร (ค.ศ. ๘๒๕-ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔) พบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง และหากดูภาพสลักจำนวนมากในปราสาทหินทั้งหลายแหล่ของขอม ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอาณาจักรขอมมีการร่ายรำ การแสดง เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับการบันเทิงในราชสำนักและประชาชน ในจารึกที่กล่าวถึงข้าพระที่ประจำศาสนสถานนั้นมักมี "คนรำ" ประจำอยู่ด้วย นาฏศิลป์กัมพูชาโบราณน่าจะได้รับอิทธิพลอินเดียเป็นพื้น
นาฏศิลป์กัมพูชาน่าจะสืบต่อและพัฒนามาจนรุ่งโรจน์ไม่แพ้ศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ในสมัยพระนคร และน่าจะมีอิทธิพลไม่น้อยต่ออยุธยาหลังจากที่มีการตีเมืองพระนครแตกและกวาดต้อนผู้คนมาสู่กรุงศรีอยุธยา จำนวนหนึ่งในผู้คนเหล่านั้นน่าจะมีนักรำอยู่ด้วย
หลักฐานทางภาษาอย่างหนึ่งก็คือไทยรับคำ "รำ" ในภาษาเขมรมาแทนที่คำ "ฟ้อน" ที่เดิมใช้ในภาษาไทย และไทยก็รับเอามาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่เดิมและพัฒนานาฏศิลป์สืบเนื่องต่อจากนั้นและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา และเมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไทยก็ส่งคืนศิลปวิทยาการด้านนี้กลับสู่ประเทศราชกัมพูชา และกัมพูชาก็รับเอามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
เอกสารทางฝั่งกัมพูชาไม่ใคร่กล่าวถึงอิทธิพลของนาฏศิลป์ไทยนัก ด้วยเหตุของลัทธิชาตินิยม และความเชื่ออันเป็นบรรทัดฐานว่าไทยนั้นมักรับเอาวิทยาการทุกๆ อย่างไปจากเขมร ดังนั้นนาฏศิลป์กัมพูชาก็เป็นต้นแบบของนาฏศิลป์ไทยด้วย และมักกล่าวกันว่านาฏศิลป์กัมพูชาสืบทอดมานับพันปีตั้งแต่สมัย "อังกอร์" อันเป็นอุดมคติแห่งชาติพันธุ์กัมพูชา ถึงแม้เอกสารของทางฝรั่งเศสจะมีบันทึกว่าในปี ๑๙๐๔ หลังจากพระบาทนโรดมทิวงคตนั้น ในราชสำนักกัมพูชามี "ศิลปการินี" จากสยามเหลืออยู่เกิน ๓๐๐ คนก็ตาม
เพลงบางเพลง เครื่องละครบางชิ้น และเครื่องดนตรีบางชนิดก็มีชื่อเป็นภาษาไทย เนื้อเพลงบางเพลงนั้นก็แต่งล้อเนื้อเพลงไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เค้ารอยอีกหลายๆ ประการที่บ่งบอกว่าได้รับอิทธิพลไทยก็มีอยู่มากพอที่จะกล่าวยืนยันได้ เอกสารที่กล่าวถึงอิทธิพลจากไทยมักเกี่ยวกับเพลงและดนตรี
ผู้อ่าน "โครงกระดูกในตู้" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ย่อมได้ทราบเรื่องหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดยกโรงละครทั้งโรงขึ้นเรือสำเภาหนีไปเมืองเขมร และเอกสารฝั่งไทยก่อนหน้านั้นก็มีกล่าวถึงไว้ว่าเขมรได้ครูละครไปจากไทย เช่น "นิราศนครวัด" ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิทธิพลของละครไทยส่งผลโดยตรงสู่การละครในราชสำนักกัมพูชา อันเรียกเป็นภาษาเขมรว่า "ระบำพระราชทรัพย์" ที่เรียกเช่นนี้เพราะการแสดงในราชสำนักเป็นราชูปโภคของพระมหากษัตริย์นั่นเอง ขณะที่ระบำพื้นเมือง รำวงรื่นเริงของเขมรมีลักษณะเฉพาะตัวและห่างไกลจากนาฏศิลป์ไทยมากกว่า
เขมรแบ่งนาฏศิลป์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ระบำพระราชทรัพย์ คือระบำในราชสำนัก ๒. ระบำประเพณีเขมร คือระบำพื้นบ้าน ๓. ระบำประชาปรีย์ คือรำวงในงานรื่นเริงทั่วไป นาฏศิลป์กัมพูชาก็เป็นเช่นดังศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ของกัมพูชา คือขาดช่วงและองค์ความรู้ถูกทำลายไปในช่วงเขมรแดง ดังนั้นจึงหาเอกสาร ผู้รู้ วิทยากรที่เหลืออยู่ได้ยากเต็มทน
ต่อมาระบำพระราชทรัพย์เปิดกว้างขึ้น เนื่องจากสถาบันกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป จึงกลายเป็นระบำชั้นสูงเทียบได้กับกรมศิลปากรของไทย แต่ยังเรียกระบำพระราชทรัพย์อยู่
ครูผู้รู้ฝ่ายไทยมักตั้งข้อสังเกตว่าการแสดงของเขมรนั้นมักรำไม่ครบท่า ไม่ครบเพลง ไม่ครบเครื่อง สัดส่วนมงกุฎไม่งาม เมื่อเทียบกับฝั่งไทย และโดยเฉพาะโขนนั้น ตัวยักษ์ชั้นสูงและลิงชั้นสูงไม่น่าเกรงขาม คงได้ครูยักษ์และลิงชั้นรองจากไทยไปฝึกสอน แต่กระนั้นนาฏศิลป์กัมพูชายังคงมีลักษณะเฉพาะของตัวเองและมีความน่าสนใจเป็นอันมาก ลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจประการหนึ่งนั้นก็คือสามารถรักษาลักษณะเก่าแก่บางประการของละครไทยเอาไว้ได้
เมื่อกัมพูชาเปิดประเทศใหม่ๆ ประมาณปี ค.ศ. ๑๙๙๒ นั้นผู้เขียนชมการแสดงของเขมรเจอแต่นางรำรุ่นป้าๆ แต่ตอนนั้นก็พอใจเพราะว่าเชื่อได้ว่าเป็นนางรำรุ่นเก่า หลงรอดจากสงครามมาได้ คนเก่าน่าจะรักษาของเดิมได้ดีกว่าเด็กใหม่ ครั้นหลังจากนั้นมาได้ไม่นานสักกี่ปี กัมพูชาก็ปั้นนางรำเด็กใหม่หน้าละอ่อนอ้อนแอ้นออกมาสำแดงฝีมือ สร้างความปีติยินดีแก่ผู้ชมว่า ครานี้นาฏศิลป์กัมพูชาไม่ถึงกาลอับเฉา ยังมีผู้สืบทอดการแสดงประจำชาติที่พวกเค้าภาคภูมิใจ
ชาวไทยโดยทั่วๆ ไปโดยมากที่ได้ชมนาฏศิลป์กัมพูชามักให้ความเห็นว่ารำแอ่นเกินไป แต่นี่เป็นลักษณะดั้งเดิมของนาฏศิลป์ไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่เขมรยังรักษาเอาไว้ ขณะที่ครูรำไทยเห็นว่าเขมรนั้นรำช้า หนัก ขณะที่ของไทยนั้นเร็วและเบากว่า ครูรำเขมรก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกัน ครูไทยบางท่านก็ว่าไทยนั้น "รำเก๋" ส่วนเขมรนั้น "รำงาม" การร่ายรำที่เชื่องช้าและมั่นคงของเขมรผนวกกับดนตรีประกอบนั้นเองสร้างมนต์ขลังให้คนดู บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถสื่อกันได้ระหว่างผู้แสดงและผู้ชม
ความงามทางสุนทรียะเหล่านี้ทำลายกำแพงขวางกั้นทางวัฒนธรรม คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมเมื่อได้ชมก็เห็นว่างามหลาย ลักษณะการแสดงออกของตัวละครเขมรนั้นบางทีก็ดูเป็นโบราณกว่าของไทย เนื่องจากสังคมเขมรทุกวันนี้ยังไม่มีความเจริญทางวัตถุมากเหมือนไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงรักษาอารมณ์คนโบราณได้ดีกว่า
ลักษณะของการร่ายรำที่เชื่องช้าทำให้นางรำเขมรรำได้พร้อมเพรียงกันราวกับมีลมหายใจอันเดียวกัน หากชมระบำหมู่จะพบว่าการตั้งมือตั้งไม้เท่ากันหมดแสดงให้เห็นการฝึกซ้อมด้วยกันเป็นอย่างดี ขณะที่ผู้เขียนไม่พบลักษณะเช่นนี้ในนาฏศิลป์ไทย
เครื่องละครเขมรเมื่อดูบนเวทีอาจดูอับแสงกว่าเครื่องละครไทย เนื่องจากใช้เพชรน้อยและเม็ดเล็กกว่า แต่เมื่อหยิบมาดูใกล้ๆ แล้วจะเห็นฝีมือเชิงช่างที่แสดงความสามารถในการปักเครื่องที่ยังรักษาไว้ได้ดี เราอาจเห็นเค้ารอยบางอย่างในละครเขมรที่เคยเป็นของไทย ขณะที่ไทยเราปัจจุบันไม่ได้รักษาลักษณะเช่นนี้แล้ว ในการสวมเครื่องละครบางชิ้น เช่น ดอกไม้ปลายมือ ปะวะหล่ำกำไลข้อมือข้อเท้าเต็มเครื่องเหมือนละครไทยโบราณ
สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของเจ้าสีหนุ พระนางทรงทำนุบำรุงการละครเขมรให้รุ่งเรือง พระนางจึงทรงเป็นพระมารดาแห่งนาฏศิลป์กัมพูชาก็ว่าได้
ระบำอัปสราเกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้นระบำอัปสราก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่าเป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัย
นครวัดเป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็นระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความเคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต
ผู้เขียนสันนิษฐานว่าดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วนใหญ่ในปราสาทนครวัดคือดอกฉัตรพระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูงของเขมรคงประดับศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสราที่พบในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง
นาฏศิลป์ของเขมรนั้นมีดีอยู่อย่าง คือคนที่มารำไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนต้องได้รับฝึกมาเป็นอย่างดีก่อนขึ้นเวที และมักเป็นนักเรียนนาฏศิลป์โดยตรง หามีซ้อมก่อนออกงานเดือนสองเดือนแล้วขึ้นเวทีไปควักกะปิให้คนดูรำคาญตารำคาญใจอย่างใดไม่
นักเรียนนาฏศิลป์ก็นุ่งผ้าแดงเช่นเดียวกับไทย ตัวพระนุ่งผ้าน้ำเงิน แต่บางภาพก็เห็นนุ่งแดงกันทั้งโรง แต่สวมเสื้อคอกลมรัดตัว แขนสั้น เสื้อรัดตัวนั้นทำให้สังเกตสังกาการดัดและจัดสรีระได้ง่าย ปัจจุบันมีสอนกันที่มหาวิทยาลัยภูมินท์วิจิตรศิลปะที่ข้างพระบรมมหาราชวังกรุงพนมเปญ และสากลวิทยาลัยวิจิตรศิลปะ
เขมรอ้างว่าท่าร่ายรำของเขมรมีถึง ๔,๕๐๐ ท่า เป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะมานั่งนับว่ามีเท่านั้นจริงหรือไม่ ท่ารำที่ดูโดดเด่นของเขมรคือท่าพักเท้าไว้บนน่องอีกข้างหนึ่ง โดยรับน้ำหนักตัวไว้บนขาข้างเดียว ซึ่งท่านี้เราก็พบในท่ารำเก่าๆ ของไทย แต่คงไม่ตั้งชันเท่ากับที่ปรากฏในภาพสลักฝาผนังบนปราสาทหินขอมดอก และอีกท่าคือนิยมตั้งส้นเท้าค้างกับพื้นเมื่อก้าวเท้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขมรอีกประการหนึ่ง
ตัวนางเขมรมักอวบ เหตุผลก็คือตัวนางที่ห่มสไบนั้นจำต้องเปิดหัวไหล่ หากตัวนางผอมโกร่งเวลาห่มสไบจะเห็นกระดูกไหปลาร้า ดูไม่งามตา หากสูงยาวเข่าดีควรต้องไปหัดพระ
ผู้เขียนเคยเห็นนางละครเขมรเก็บขนตาปลอมโดยม้วนไว้กับใบตองแห้ง ก็แปลกตาดี ขนตาที่ถักเองจะงอนไปตามม้วนใบตองแห้งนั้น ทั้งๆ ที่สมัยนี้ก็มีขนตาปลอมจากเมืองไทยวางขายในตลาดแล้ว
ละครโขนยังมีแสดงอยู่บ้าง แน่นอนไม่พ้นตอนสั้นๆ ของเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนหนังใหญ่นั้นที่มีชื่อเสียงคือคณะที่จังหวัดเสียมเรียบ นับว่ายังรักษาจังหวะท่าทางเป็นหนังใหญ่อยู่ ขณะที่คณะที่พนมเปญคนแสดงเป็น "นาฏการี" ซึ่งมีพื้นละครโขนและนาฏศิลป์ เล่นได้จับฉ่าย ท่าทางจึงเป็นท่าทางแบบนาฏศิลป์ไม่ใช่ลีลาหนังใหญ่แบบเสียมเรียบ ครูหนังใหญ่รุ่นเก่าของเสียมเรียบเรียกหนังใหญ่ว่า "นัง" ซึ่งก็มาจากคำไทย "หนัง" นั่นเอง แต่ส่วนคณะนาฏศิลป์ที่เสียมเรียบที่นิยมจัดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติดูนั้นฝีมือทรามกว่าคณะที่พนมเปญ ก็เหมือนระบำของไทยที่รำให้นักท่องเที่ยวดูนั้นแล กระไรจะสู้กรมศิลป์
ส่วนระบำพื้นบ้านนั้นมักเป็นระบำที่แสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน การทำมาหากิน หรือการเลี้ยงฉลองพิธีกรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ระบำจับปลา ระบำเก็บกระวาน ระบำสวิง ระบำตรุด ระบำนกยูง ระบำกะลา ระบำของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทั้งชาวจาม ชาวส่วย ชาวพนอง และรำวงในงานรื่นเริงนั้นก็เป็นประเพณีที่ดีงาม แต่ลีลาของมือนั้นแตกต่างจากไทย คือหมุนมือเข้าหาตัวขึ้นบนและผายออกนอกตัว ไม่มีการจีบนิ้ว
ผู้เขียนเคยไปเที่ยวจังหวัดกำปงจามและเห็นคนหนุ่มสาวที่นั่นเล่นเพลงปฏิพากย์กัน ร้องรำโต้ตอบกันเองเมื่อพากันมาเที่ยวบนเขา โดยไม่มีผู้ชม นับว่าการละเล่นพื้นบ้านชนิดนี้ของกัมพูชายังสดและมีชีวิตอยู่ แถมยังเล่นกันโดยคนหนุ่มสาว ขณะที่บ้านเราเพลงปฏิพากย์กลายเป็นการแสดงหรือการสาธิตไปหมดแล้ว ก็ยินดีแก่ใจเมื่อได้เห็นของจริง
กัมพูชานั้นจัดการแสดงละเม็งละครให้ได้ชมอยู่เนืองๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เจ้านาย และต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อัลลิยอง ฟรองเซส์" ศูนย์วัฒนธรรมฝรั่งเศสที่กรุงพนมเปญ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนศิลปะประจำชาติชนิดนี้ของกัมพูชาเป็นอย่างยิ่ง
การแสดงนาฏศิลป์กัมพูชาที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไปด้วยคือมหรสพอังกอร์ จัดแสดงรามเกียรติ์นานาชาติที่จัดแสดงที่นครวัดและนครธม ผู้ชมจะได้มีโอกาสเที่ยวนครวัด ปราสาทหินทั้งเมืองเสียมเรียบและชมนาฏศิลป์กัมพูชาที่แสดงโดยนักแสดงฝีมือระดับชาติด้วย เป็นงานที่ไม่ควรพลาด และมีผู้คนจากทั่วโลกรอชมงานนี้
ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งที่รอชมและหวังว่าจะได้มีโอกาสไปชมอีกสักครั้งสองครั้ง
นางละครไทยคนสุดท้าย
ในราชสำนักกัมพูชา
"แม่เมือน" ดาราภาพยนตร์เขมรที่ชาวเขมรทุกคนรู้จัก "ยายเป็นคนปากน้ำโพค่ะ" แม่เมือนกล่าวเป็นภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำกับผู้เขียนซึ่งพบแม่เมือนในปี ๑๙๙๔ ตอนนั้นเธออายุปาเข้าไป ๗๙ ปีแล้ว "ยายเป็นคนไทยค่ะ" เธอบอกกับผู้เขียนขณะที่ประวัติของเธอในหนังสือพิมพ์มีพ่อเป็นไทยมีแม่เป็นลาว เธอติดตามแม่ซึ่งเป็นนางรำมารำในราชสำนักตั้งแต่อายุ ๑๔ ในปี ๑๙๒๙ ตามคำชักชวนของเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ และอยู่ได้ปีเดียวแม่เธอก็ต้องกลับไปดูแลพ่อซึ่งป่วย แต่แล้วแม่ก็เสียชีวิตด้วยกาฬโรคและสิ้นไปก่อนพ่อ เมื่อแม่เสียก็อยู่รำต่อ
สมัยอยู่ในวังนั้นแม่เมือนเล่าว่ากลัวจะต้องถูกเรียกให้ "ถวายตัว" แทบแย่ และต่อมาผันตัวเองมาเป็นดาราภาพยนตร์ เธอผ่านช่วงเขมรแดงมาได้เนื่องจากเธอเป็นดารายอดนิยม พวกเขมรแดงไม่ฆ่าเธอเพราะชอบบทบาทการแสดงของเธอ พวกเขมรแดงชอบให้เธอแสดงนู่นแสดงนี่ให้ชม เธออยู่รอดมาได้จนได้รับรางวัลทางการแสดงเมื่อปี ๑๙๙๖ หลังจากนั้นไม่นานแม่เมือนก็เสียชีวิตลง
นาฏศิลป์กัมพูชา
Jay - 30 มีนาคม 2009
นาฏศิลป์กัมพูชามีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร (ค.ศ. ๕๔๐-๘๐๐) แล้ว เช่น รูปปั้นดินเหนียวสมัยนครบุรี (Angkorborei) เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และจารึกที่กล่าวถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร ในจารึกสมัยพระนคร (ค.ศ. ๘๒๕-ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔) พบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง และหากดูภาพสลักจำนวนมากในปราสาทหินทั้งหลายแหล่ของขอม ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอาณาจักรขอมมีการร่ายรำ การแสดง เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับการบันเทิงในราชสำนักและประชาชน ในจารึกที่กล่าวถึงข้าพระที่ประจำศาสนสถานนั้นมักมี "คนรำ" ประจำอยู่ด้วย นาฏศิลป์กัมพูชาโบราณน่าจะได้รับอิทธิพลอินเดียเป็นพื้น
นาฏศิลป์กัมพูชาน่าจะสืบต่อและพัฒนามาจนรุ่งโรจน์ไม่แพ้ศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ในสมัยพระนคร และน่าจะมีอิทธิพลไม่น้อยต่ออยุธยาหลังจากที่มีการตีเมืองพระนครแตกและกวาดต้อนผู้คนมาสู่กรุงศรีอยุธยา จำนวนหนึ่งในผู้คนเหล่านั้นน่าจะมีนักรำอยู่ด้วย
หลักฐานทางภาษาอย่างหนึ่งก็คือไทยรับคำ "รำ" ในภาษาเขมรมาแทนที่คำ "ฟ้อน" ที่เดิมใช้ในภาษาไทย และไทยก็รับเอามาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่เดิมและพัฒนานาฏศิลป์สืบเนื่องต่อจากนั้นและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา และเมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไทยก็ส่งคืนศิลปวิทยาการด้านนี้กลับสู่ประเทศราชกัมพูชา และกัมพูชาก็รับเอามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
เอกสารทางฝั่งกัมพูชาไม่ใคร่กล่าวถึงอิทธิพลของนาฏศิลป์ไทยนัก ด้วยเหตุของลัทธิชาตินิยม และความเชื่ออันเป็นบรรทัดฐานว่าไทยนั้นมักรับเอาวิทยาการทุกๆ อย่างไปจากเขมร ดังนั้นนาฏศิลป์กัมพูชาก็เป็นต้นแบบของนาฏศิลป์ไทยด้วย และมักกล่าวกันว่านาฏศิลป์กัมพูชาสืบทอดมานับพันปีตั้งแต่สมัย "อังกอร์" อันเป็นอุดมคติแห่งชาติพันธุ์กัมพูชา ถึงแม้เอกสารของทางฝรั่งเศสจะมีบันทึกว่าในปี ๑๙๐๔ หลังจากพระบาทนโรดมทิวงคตนั้น ในราชสำนักกัมพูชามี "ศิลปการินี" จากสยามเหลืออยู่เกิน ๓๐๐ คนก็ตาม
เพลงบางเพลง เครื่องละครบางชิ้น และเครื่องดนตรีบางชนิดก็มีชื่อเป็นภาษาไทย เนื้อเพลงบางเพลงนั้นก็แต่งล้อเนื้อเพลงไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เค้ารอยอีกหลายๆ ประการที่บ่งบอกว่าได้รับอิทธิพลไทยก็มีอยู่มากพอที่จะกล่าวยืนยันได้ เอกสารที่กล่าวถึงอิทธิพลจากไทยมักเกี่ยวกับเพลงและดนตรี
ผู้อ่าน "โครงกระดูกในตู้" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ย่อมได้ทราบเรื่องหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดยกโรงละครทั้งโรงขึ้นเรือสำเภาหนีไปเมืองเขมร และเอกสารฝั่งไทยก่อนหน้านั้นก็มีกล่าวถึงไว้ว่าเขมรได้ครูละครไปจากไทย เช่น "นิราศนครวัด" ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิทธิพลของละครไทยส่งผลโดยตรงสู่การละครในราชสำนักกัมพูชา อันเรียกเป็นภาษาเขมรว่า "ระบำพระราชทรัพย์" ที่เรียกเช่นนี้เพราะการแสดงในราชสำนักเป็นราชูปโภคของพระมหากษัตริย์นั่นเอง ขณะที่ระบำพื้นเมือง รำวงรื่นเริงของเขมรมีลักษณะเฉพาะตัวและห่างไกลจากนาฏศิลป์ไทยมากกว่า
เขมรแบ่งนาฏศิลป์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ระบำพระราชทรัพย์ คือระบำในราชสำนัก ๒. ระบำประเพณีเขมร คือระบำพื้นบ้าน ๓. ระบำประชาปรีย์ คือรำวงในงานรื่นเริงทั่วไป นาฏศิลป์กัมพูชาก็เป็นเช่นดังศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ของกัมพูชา คือขาดช่วงและองค์ความรู้ถูกทำลายไปในช่วงเขมรแดง ดังนั้นจึงหาเอกสาร ผู้รู้ วิทยากรที่เหลืออยู่ได้ยากเต็มทน
ต่อมาระบำพระราชทรัพย์เปิดกว้างขึ้น เนื่องจากสถาบันกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป จึงกลายเป็นระบำชั้นสูงเทียบได้กับกรมศิลปากรของไทย แต่ยังเรียกระบำพระราชทรัพย์อยู่
ครูผู้รู้ฝ่ายไทยมักตั้งข้อสังเกตว่าการแสดงของเขมรนั้นมักรำไม่ครบท่า ไม่ครบเพลง ไม่ครบเครื่อง สัดส่วนมงกุฎไม่งาม เมื่อเทียบกับฝั่งไทย และโดยเฉพาะโขนนั้น ตัวยักษ์ชั้นสูงและลิงชั้นสูงไม่น่าเกรงขาม คงได้ครูยักษ์และลิงชั้นรองจากไทยไปฝึกสอน แต่กระนั้นนาฏศิลป์กัมพูชายังคงมีลักษณะเฉพาะของตัวเองและมีความน่าสนใจเป็นอันมาก ลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจประการหนึ่งนั้นก็คือสามารถรักษาลักษณะเก่าแก่บางประการของละครไทยเอาไว้ได้
เมื่อกัมพูชาเปิดประเทศใหม่ๆ ประมาณปี ค.ศ. ๑๙๙๒ นั้นผู้เขียนชมการแสดงของเขมรเจอแต่นางรำรุ่นป้าๆ แต่ตอนนั้นก็พอใจเพราะว่าเชื่อได้ว่าเป็นนางรำรุ่นเก่า หลงรอดจากสงครามมาได้ คนเก่าน่าจะรักษาของเดิมได้ดีกว่าเด็กใหม่ ครั้นหลังจากนั้นมาได้ไม่นานสักกี่ปี กัมพูชาก็ปั้นนางรำเด็กใหม่หน้าละอ่อนอ้อนแอ้นออกมาสำแดงฝีมือ สร้างความปีติยินดีแก่ผู้ชมว่า ครานี้นาฏศิลป์กัมพูชาไม่ถึงกาลอับเฉา ยังมีผู้สืบทอดการแสดงประจำชาติที่พวกเค้าภาคภูมิใจ
ชาวไทยโดยทั่วๆ ไปโดยมากที่ได้ชมนาฏศิลป์กัมพูชามักให้ความเห็นว่ารำแอ่นเกินไป แต่นี่เป็นลักษณะดั้งเดิมของนาฏศิลป์ไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่เขมรยังรักษาเอาไว้ ขณะที่ครูรำไทยเห็นว่าเขมรนั้นรำช้า หนัก ขณะที่ของไทยนั้นเร็วและเบากว่า ครูรำเขมรก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกัน ครูไทยบางท่านก็ว่าไทยนั้น "รำเก๋" ส่วนเขมรนั้น "รำงาม" การร่ายรำที่เชื่องช้าและมั่นคงของเขมรผนวกกับดนตรีประกอบนั้นเองสร้างมนต์ขลังให้คนดู บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถสื่อกันได้ระหว่างผู้แสดงและผู้ชม
ความงามทางสุนทรียะเหล่านี้ทำลายกำแพงขวางกั้นทางวัฒนธรรม คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมเมื่อได้ชมก็เห็นว่างามหลาย ลักษณะการแสดงออกของตัวละครเขมรนั้นบางทีก็ดูเป็นโบราณกว่าของไทย เนื่องจากสังคมเขมรทุกวันนี้ยังไม่มีความเจริญทางวัตถุมากเหมือนไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงรักษาอารมณ์คนโบราณได้ดีกว่า
ลักษณะของการร่ายรำที่เชื่องช้าทำให้นางรำเขมรรำได้พร้อมเพรียงกันราวกับมีลมหายใจอันเดียวกัน หากชมระบำหมู่จะพบว่าการตั้งมือตั้งไม้เท่ากันหมดแสดงให้เห็นการฝึกซ้อมด้วยกันเป็นอย่างดี ขณะที่ผู้เขียนไม่พบลักษณะเช่นนี้ในนาฏศิลป์ไทย
เครื่องละครเขมรเมื่อดูบนเวทีอาจดูอับแสงกว่าเครื่องละครไทย เนื่องจากใช้เพชรน้อยและเม็ดเล็กกว่า แต่เมื่อหยิบมาดูใกล้ๆ แล้วจะเห็นฝีมือเชิงช่างที่แสดงความสามารถในการปักเครื่องที่ยังรักษาไว้ได้ดี เราอาจเห็นเค้ารอยบางอย่างในละครเขมรที่เคยเป็นของไทย ขณะที่ไทยเราปัจจุบันไม่ได้รักษาลักษณะเช่นนี้แล้ว ในการสวมเครื่องละครบางชิ้น เช่น ดอกไม้ปลายมือ ปะวะหล่ำกำไลข้อมือข้อเท้าเต็มเครื่องเหมือนละครไทยโบราณ
สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของเจ้าสีหนุ พระนางทรงทำนุบำรุงการละครเขมรให้รุ่งเรือง พระนางจึงทรงเป็นพระมารดาแห่งนาฏศิลป์กัมพูชาก็ว่าได้
ระบำอัปสราเกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้นระบำอัปสราก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่าเป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัย
นครวัดเป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็นระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความเคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต
ผู้เขียนสันนิษฐานว่าดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วนใหญ่ในปราสาทนครวัดคือดอกฉัตรพระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูงของเขมรคงประดับศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสราที่พบในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง
นาฏศิลป์ของเขมรนั้นมีดีอยู่อย่าง คือคนที่มารำไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนต้องได้รับฝึกมาเป็นอย่างดีก่อนขึ้นเวที และมักเป็นนักเรียนนาฏศิลป์โดยตรง หามีซ้อมก่อนออกงานเดือนสองเดือนแล้วขึ้นเวทีไปควักกะปิให้คนดูรำคาญตารำคาญใจอย่างใดไม่
นักเรียนนาฏศิลป์ก็นุ่งผ้าแดงเช่นเดียวกับไทย ตัวพระนุ่งผ้าน้ำเงิน แต่บางภาพก็เห็นนุ่งแดงกันทั้งโรง แต่สวมเสื้อคอกลมรัดตัว แขนสั้น เสื้อรัดตัวนั้นทำให้สังเกตสังกาการดัดและจัดสรีระได้ง่าย ปัจจุบันมีสอนกันที่มหาวิทยาลัยภูมินท์วิจิตรศิลปะที่ข้างพระบรมมหาราชวังกรุงพนมเปญ และสากลวิทยาลัยวิจิตรศิลปะ
เขมรอ้างว่าท่าร่ายรำของเขมรมีถึง ๔,๕๐๐ ท่า เป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะมานั่งนับว่ามีเท่านั้นจริงหรือไม่ ท่ารำที่ดูโดดเด่นของเขมรคือท่าพักเท้าไว้บนน่องอีกข้างหนึ่ง โดยรับน้ำหนักตัวไว้บนขาข้างเดียว ซึ่งท่านี้เราก็พบในท่ารำเก่าๆ ของไทย แต่คงไม่ตั้งชันเท่ากับที่ปรากฏในภาพสลักฝาผนังบนปราสาทหินขอมดอก และอีกท่าคือนิยมตั้งส้นเท้าค้างกับพื้นเมื่อก้าวเท้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขมรอีกประการหนึ่ง
ตัวนางเขมรมักอวบ เหตุผลก็คือตัวนางที่ห่มสไบนั้นจำต้องเปิดหัวไหล่ หากตัวนางผอมโกร่งเวลาห่มสไบจะเห็นกระดูกไหปลาร้า ดูไม่งามตา หากสูงยาวเข่าดีควรต้องไปหัดพระ
ผู้เขียนเคยเห็นนางละครเขมรเก็บขนตาปลอมโดยม้วนไว้กับใบตองแห้ง ก็แปลกตาดี ขนตาที่ถักเองจะงอนไปตามม้วนใบตองแห้งนั้น ทั้งๆ ที่สมัยนี้ก็มีขนตาปลอมจากเมืองไทยวางขายในตลาดแล้ว
ละครโขนยังมีแสดงอยู่บ้าง แน่นอนไม่พ้นตอนสั้นๆ ของเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนหนังใหญ่นั้นที่มีชื่อเสียงคือคณะที่จังหวัดเสียมเรียบ นับว่ายังรักษาจังหวะท่าทางเป็นหนังใหญ่อยู่ ขณะที่คณะที่พนมเปญคนแสดงเป็น "นาฏการี" ซึ่งมีพื้นละครโขนและนาฏศิลป์ เล่นได้จับฉ่าย ท่าทางจึงเป็นท่าทางแบบนาฏศิลป์ไม่ใช่ลีลาหนังใหญ่แบบเสียมเรียบ ครูหนังใหญ่รุ่นเก่าของเสียมเรียบเรียกหนังใหญ่ว่า "นัง" ซึ่งก็มาจากคำไทย "หนัง" นั่นเอง แต่ส่วนคณะนาฏศิลป์ที่เสียมเรียบที่นิยมจัดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติดูนั้นฝีมือทรามกว่าคณะที่พนมเปญ ก็เหมือนระบำของไทยที่รำให้นักท่องเที่ยวดูนั้นแล กระไรจะสู้กรมศิลป์
ส่วนระบำพื้นบ้านนั้นมักเป็นระบำที่แสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน การทำมาหากิน หรือการเลี้ยงฉลองพิธีกรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ระบำจับปลา ระบำเก็บกระวาน ระบำสวิง ระบำตรุด ระบำนกยูง ระบำกะลา ระบำของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทั้งชาวจาม ชาวส่วย ชาวพนอง และรำวงในงานรื่นเริงนั้นก็เป็นประเพณีที่ดีงาม แต่ลีลาของมือนั้นแตกต่างจากไทย คือหมุนมือเข้าหาตัวขึ้นบนและผายออกนอกตัว ไม่มีการจีบนิ้ว
ผู้เขียนเคยไปเที่ยวจังหวัดกำปงจามและเห็นคนหนุ่มสาวที่นั่นเล่นเพลงปฏิพากย์กัน ร้องรำโต้ตอบกันเองเมื่อพากันมาเที่ยวบนเขา โดยไม่มีผู้ชม นับว่าการละเล่นพื้นบ้านชนิดนี้ของกัมพูชายังสดและมีชีวิตอยู่ แถมยังเล่นกันโดยคนหนุ่มสาว ขณะที่บ้านเราเพลงปฏิพากย์กลายเป็นการแสดงหรือการสาธิตไปหมดแล้ว ก็ยินดีแก่ใจเมื่อได้เห็นของจริง
กัมพูชานั้นจัดการแสดงละเม็งละครให้ได้ชมอยู่เนืองๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เจ้านาย และต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อัลลิยอง ฟรองเซส์" ศูนย์วัฒนธรรมฝรั่งเศสที่กรุงพนมเปญ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนศิลปะประจำชาติชนิดนี้ของกัมพูชาเป็นอย่างยิ่ง
การแสดงนาฏศิลป์กัมพูชาที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไปด้วยคือมหรสพอังกอร์ จัดแสดงรามเกียรติ์นานาชาติที่จัดแสดงที่นครวัดและนครธม ผู้ชมจะได้มีโอกาสเที่ยวนครวัด ปราสาทหินทั้งเมืองเสียมเรียบและชมนาฏศิลป์กัมพูชาที่แสดงโดยนักแสดงฝีมือระดับชาติด้วย เป็นงานที่ไม่ควรพลาด และมีผู้คนจากทั่วโลกรอชมงานนี้
ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งที่รอชมและหวังว่าจะได้มีโอกาสไปชมอีกสักครั้งสองครั้ง
นางละครไทยคนสุดท้าย
ในราชสำนักกัมพูชา
"แม่เมือน" ดาราภาพยนตร์เขมรที่ชาวเขมรทุกคนรู้จัก "ยายเป็นคนปากน้ำโพค่ะ" แม่เมือนกล่าวเป็นภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำกับผู้เขียนซึ่งพบแม่เมือนในปี ๑๙๙๔ ตอนนั้นเธออายุปาเข้าไป ๗๙ ปีแล้ว "ยายเป็นคนไทยค่ะ" เธอบอกกับผู้เขียนขณะที่ประวัติของเธอในหนังสือพิมพ์มีพ่อเป็นไทยมีแม่เป็นลาว เธอติดตามแม่ซึ่งเป็นนางรำมารำในราชสำนักตั้งแต่อายุ ๑๔ ในปี ๑๙๒๙ ตามคำชักชวนของเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ และอยู่ได้ปีเดียวแม่เธอก็ต้องกลับไปดูแลพ่อซึ่งป่วย แต่แล้วแม่ก็เสียชีวิตด้วยกาฬโรคและสิ้นไปก่อนพ่อ เมื่อแม่เสียก็อยู่รำต่อ
สมัยอยู่ในวังนั้นแม่เมือนเล่าว่ากลัวจะต้องถูกเรียกให้ "ถวายตัว" แทบแย่ และต่อมาผันตัวเองมาเป็นดาราภาพยนตร์ เธอผ่านช่วงเขมรแดงมาได้เนื่องจากเธอเป็นดารายอดนิยม พวกเขมรแดงไม่ฆ่าเธอเพราะชอบบทบาทการแสดงของเธอ พวกเขมรแดงชอบให้เธอแสดงนู่นแสดงนี่ให้ชม เธออยู่รอดมาได้จนได้รับรางวัลทางการแสดงเมื่อปี ๑๙๙๖ หลังจากนั้นไม่นานแม่เมือนก็เสียชีวิตลง
อิทธิพลนาฏศิลป์เขมรที่มีต่อนาฏศิลป์ไทย
สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เตรียมเดินทางไปพูดคุย และสร้างความเข้าใจอันดี กับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ทั้งในเรื่องปราสาทพระวิหาร และพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล อ่านเพิ่มเติมที่มาแหล่งข่าวไทยรัฐออนไลน์ วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2552
ตอนนี้ข่าวที่มาแรงคงหนีไม่พ้นกระแสเรื่องปราสาทพระวิหาร ที่ไทยทำหนังสือคัดค้าน การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหาร ไปยังองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) อันที่จริงแล้วไทยกับกับกัมพูชาก็เป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน และมีความสัมพันธ์อันดีแก่กันโดยเฉพาะด้านนาฏศิลป์เคยมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอยู่หลายครั้งกล่าวกันว่านาฏศิลป์กัมพูชาสืบทอดมานับพันปีตั้งแต่สมัย "อังกอร์"
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3-4
นาฏศิลป์กัมพูชามีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร (ค.ศ. ๕๔๐-๘๐๐) เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และกล่าวจารึ ถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร พบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง นาฏศิลป์กัมพูชาสืบต่อมาจนรุ่งโรจน์ในสมัยพระนคร และมีอิทธิพลต่อกรุงอยุธยาหลังจากที่มีกวาดต้อนผู้คนเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาผู้คนเหล่านั้นน่าจะมีนักรำอยู่ด้วย เมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไทยได้ส่งคืนศิลปะวิทยาการด้านนี้กลับสู่ประเทศราชกัมพูชา และกัมพูชาก็รับเอามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันข้อมูลเพิ่มเติม
นาฏศิลป์ไทยมีการแสดงชายชุดที่ได้รับอิทธิพลมาจากเขมร เพราะประชาชนของไทยส่วนหนึ่งมีเชื้อสายชาวไทยเขมร เช่น จังหวัดศรีสะเกษ ที่คงความเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามเอาไว้ ตัวอย่างการแสดง
เรือมตร๊ด (รำตรุษหรือลังตร๊ด) เป็นของไทยเขมร นิยมเล่นตอนออกพรรษา งานกฐิน วันตรุษสงกรานต์ เพื่อบอกบุญ โดยตระเวนเล่นไปตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อบอกบุญขอบริจาคทรัพย์สมทบกองทุนผ้าป่า การแต่งกายสวมชุดพื้นเมืองเช่น ผ้าโสร่ง สวมเสื้อหลากสี
ที่มาภาพ www.mapculture.org
เรือมอายัย เป็นการร้องโต้ตอบกัน ทำนองเกี้ยวพาราสี ระหว่างหนุ่มสาวชาวเขมรถิ่นไทยในเทศกาล งานรื่นเริงสนุกสนาน การแต่งกาย ใช้ผ้าทอพื้นบ้าน นุ่งผ้าถุง สวมเสื้อแขนกระบอก มีผ้าสไบคล้องคอ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าไหมคาดที่เอว
ที่มาภาพ www1.tv5.co.th
กันตรึม กันตรึมเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของอีสานใต้ เป็นที่นิยม และมีบทบาทสำคัญตั้งแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน กันตรึมนี้ ได้รับการถ่ายทอดมาจากขอม
ที่มาภาพ www.gotoknow.org
เจรียง เป็นการละเล่นของคนไทยเขมร คล้ายกับลำตัดหรือหมอลำ เป็นการขับร้อง หรือแหล่กลอนสด เนียะจเรียง หมายถึง ผู้ขับร้อง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาเขมรอ่านเพิ่มเติม
ที่มาภาพ www1.tv5.co.th
ที่มาภาพ www.gotoknow.org
ในกรมศิลปากรเองก็มีระบำคล้ายคลึงกับระบำนางอัปสรของเขมร เราเรียกระบำนั้นว่า“ระบำศรีชัยสิงห์” เป็นระบำที่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก จากปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดัดแปลงจากท่ารำนางอัปสรบายน ฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประดิษฐ์ท่ารำโดย นางเฉลย ศุขวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร การแต่งกายเลียนแบบภาพจำหลักนางอัปสร ปราสาทเมืองสิงห์ บรรเลงโดยเพลงเขมรชมจันทร์และเพลงเขมรเร็ว
ประเด็นคำถาม
การประดิษฐ์ท่ารำที่ใช้ประกอบการแสดงในแต่ละชุด ควรมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1) ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานด้านท่ารำประกอบเพลงโดยยึดท่านาฏศิลป์ไทยพื้นฐานในการคิดค้น
2) ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าการแสดงที่นาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลจากนาฏศิลป์เขมรนอกเหนือจากที่ได้นำเสนอมาแล้ว
บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ด้านการอ่าน การเขียน การวิจารณ์วรรณคดีไทย
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมวิถีชีวิต
ระหว่างเสพศิลป์กับเสพสม..กัมพูชา..อีกสักนิด!!!!
ภาพนูนต่ำ ของ อัปสรา ที่สลัก ณโบราณสถานในกัมพูชา นครวัด.. อันเป็นศิลปะเขมร
ระหว่างเสพศิลป์กับเสพสม ที่เกยตื้นกันจนเกิด ประเด็นข้อถกเถียงกันไม่รู้จบ เมื่อปลายเดือนธันวาคม ปีที่แล้วจวบจนถึงกุมภาพันธ์ ปีนี้ มีความฮือฮาของกรณีความเหมาะสมของศิลปะต่อศิลปินลูกครึ่งเขมร-อเมริกัน ซึ่งทำภาพกราฟฟิกออกขายทางเว็บไซต์ อันเป็นภาพเปลือยอก เลียนแบบนางอัปสรา มีภาพบางภาพ เหมือนดาราสาวไทย และศิลปินได้กล่าวว่า ขอให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินงานของเขา ด้วยมิได้เจตนาเพื่อให้เป็นภาพลามก (Pornography) ข้อถกเถียงและประเด็นขัดแย้ง: นางอิง กันฑาภาวี (Ing Kantha Phavy) รัฐมนตรีกระทรวงกิจการสตรี เคยกล่าวว่า เว็ปไซด์ดังกล่าวกำลังสร้างผลกระทบต่อภาพพจน์ที่ดีงามของกัมพูชา ซึ่งเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา และมีอดีตที่รุ่งเรืองและสืบทอดความเชื่อ ความศรัทธาต่อศาสนาไปสู่ดินแดนแว่นแคว้นใกล้เคียง "ภาพเล่านั้นเป็นภาพหญิงสาว งดงามและแต่งกายแบบนางอัปสราที่เป็นภาพสลักหิน ตามโบราณสถานที่เป็นปราสาทอันสำคัญทางศาสนาและความเชื่อ ความไม่เหมาะสมทำให้คนกัมพูชาหลายๆคนรับไม่ได้" นางกันฑาภวี กล่าวกับหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ ศิลปะจาก Koke Lor ศิลปินชาวอเมริกันสัญชาติเขมร สื่อสมัยใหม่ จากการใช้ไอทีและ เว็ปไซด์ของศิลปินลูกครึ่งเขมรอเมริกันที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา นี้ ได้นำภาพวาด เป็นภาพกึ่งเปลือยอกของหญิงสาว ที่รู้จักกันในนาม "นางอัปสรา" ออกเผยแพร่ เพื่อเรียกความสนใจและให้คนเข้าชมจะได้ขายภาพเหล่านั้นได้ จะเข้าข่ายเว็ปไซด์ที่มีภาพลามกอนาจารหรือไม่ ยังเป็นข้อถกเถียง หากแต่ในเรื่องของความเหมาะสมแล้วภาพลามกหรือไม่ ก็ไม่ควรที่จะนำเอาแบ็คกราวด์เป็นภาพสลักหรือร่องรอย มีการรายงานว่า เว็ปไซด์นี้ เป็นของชาวเขมรที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเว็ปไซด์เกี่ยวกับการโฆษณาเผยแพร่ศิลปะเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ลายสักตามร่างกาย การนำภาพวาดที่ เป็นภาพกึ่งเปลือยโชว์หน้าอกของหญิงสาว ที่รู้จักกันในนาม "นางอัปสรา" แห่งยุคดิจิตอล ออกเผยแพร่ เพื่อเรียกความสนใจให้คนเข้าชมเท่านั้น (จะได้ขายดีและมีคนคลิกเข้ามา..ความเห็นของ ผู้เขียน)มิใช่เว็ปไซด์ที่ลามกอนาจารแต่อย่างใด
ขอให้ระวัง ระหว่างเสพศิลป์กับเสพสม ที่เกยตื้นกันจนเกิด ประเด็นข้อถกเถียงกันไม่รู้จบ.... กัมพูชา กับประเด็นข้อถกเถียง บนคติความเชื่อทางศาสนากับศิลปะ ก็เหมือนกับประเทศอื่นๆที่ยังคง เกิดความหงุดหงิดกัน ต่อไป เสพศิลป์แบบ..ท่องเที่ยวเชิงศิลปะ- วัฒนธรรม ไม่ต้องอิงเรื่องลามกอนาจาร
เรื่องโดยย่อ..เทวดาและอสูรปกติจะต่อสู้ไม่ลงรอยกัน เทวดาขอให้พระวิษณุช่วย พระองค์ก็ได้บอกให้ทำพิธี "กวนเกษียณสมุทร" หรือกวนทะเลน้ำนม เพื่อให้ได้น้ำทิพย์ เมื่อเทวดาดื่มน้ำทิพย์แล้วจะเป็นอมตะ ในการกวนทะเลน้ำนม ต้องใช้เขาพระสุเมรุเป็นไม้กวน และให้พญานาควาสุกรีเป็นเชือกพัน ดึงให้ตึงทั้งสองข้าง การกวนเกษียณสมุทรนั้นได้ บังเกิดสิ่งมหัศจรรย์ สิบ สิ่งและหนึ่งในสิบสิ่งนั้น คือนางอัปสรา ที่มีจำหลักไว้ ณ นครวัด และโบราณสถานของกัมพูชา หลายๆที่เกิดเป็นอัปสราพันธุ์ต่างๆ นางอัปสราก็คือบริวาร และผู้คอยรับใช้เทพเจ้าในปราสาทอันศักดิ์สิทธิ์ และนางก็กลายเป็นตัวละครเอกแห่งสำนักนาฎศิลป์เขมร และเป็นชื่อขององค์กรที่สำคัญเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถานของกัมพูชา กระทรวงอัปสรา ท่านสามารถติดดามที่มาของอัปสรา แบบฉบับเต็มได้ที่ลิ้งค์ต่อไปนี้ นครวัด..(๓)ตำนานกวนเกษียรสมุทรกำเนิดของอัปสราและราหูทำให้เกิดจันทรุปราคาได้อย่างไรหาความจริงได้!!!! อัปสราทวารบาล ประจำอโรคยศาลาที่ถือว่าเป็นอโรคยศาลาแห่งแรกๆของอาณาจักรขอมโบราณ ที่คณะเราไปสำรวจกันมา อัปสราเรียบร้อยด้วยภูษาเต็มยศที่บึงมาลา อัปสราอันเลื่องชื่อในความวิจิตรและเครื่องทรง ที่นครวัด
ต่อจิ๊กซอ..ราชมรรคา..สำรวจธรรมศาลาและอโรคยศาลาแบบนักข่าวอาสาช่างเที่ยว!!!! |
ระบำสุโขทัย
เป็นระบำโบราณคดี ที่ได้สร้างขึ้นตามความรู้สึกจากแนวสำเนียงของถ้อยคำไทยในศิลาจารึก ประกอบด้วย
ลีลาท่าเยื้องกรายอันนิ่มนวลอ่อนช้อยของรูปภาพปูนปั้นหล่อในสมัยสุโขทัย ได้แก่ พระพุทธรูปปางสำริต และรูปภาพปูนปั้นปางลีลา รูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์และท่าทีของพระพรหมและพระอินทร์ที่ตามเสด็จ การแสดงระบำสุโขทัย จะรำตามจังหวะดนตรีไม่มีเนื้อร้อง
นาฏศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑. จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้
หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป
๒. ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลัง
หงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า
๓. ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว
อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน
๔. ท่าพระนารายณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์
ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย
๕. ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฏศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น
๖. ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น
เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ
๗. ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด
มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง
กัมพูชา : ฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
02 กันยายน 2544 10:24:13
ถ้าเปรียบกับอายุคน ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชาก็นับว่าสมบูรณ์เต็มที่เพราะเป็นวัยที่พ้นจากวัยกลางคนผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก พรั่งพร้อมทั้งความรู้และประสบการณ์จนสามารถที่จะก้าวไปเผชิญหน้าภยันตรายด้วยความสุขุมเยือกเย็นและไม่หวาดหวั่น กล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ที่หนักแน่นมั่นคงบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีพรมแดนประชิดติดต่อกัน เนื่องจากในวันที่ 19 ธันวาคม ที่จะมาถึงเร็วๆ นี้ เป็นวันครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ฉะนั้น สถานทูตไทยในกรุงพนมเปญร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและ
ศิลปากรกัมพูชาจะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองโอกาสพิเศษดังกล่าวอย่างเรียบง่ายและสมเกียรติขึ้น ณ. ห้องรับรองของสถานทูตฯ ในตอนเย็นของวันที่ 19 ธันวาคม ศกนี้ เพื่อให้รัฐบาลและประชาชนกัมพูชาได้รับทราบถึงความผูกพันฉันท์มิตรของทั้งสองประเทศที่มีต่อกันมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ
ไทยและกัมพูชามีความผูกพันด้านประวัติศาสตร์ร่วมกันมาเป็นเวลายาวนาน อีกทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมก็มีความคล้ายคลึงกัน ฉะนั้น งานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของไทย-กัมพูชาครบรอบ 50 ปี ซึ่งสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญจัดขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2543 ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาเห็นพ้องที่จะจัดให้มีการแสดงทางวัฒนธรรมร่วมกันเพื่อให้บุคคลระดับสูงของรัฐบาลกัมพูชา คณะทูตานุทูตรวมทั้งแขกผู้มีเกียรติทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาได้รับชมกันอย่างเต็มที่ เริ่มต้นด้วยการแสดงนาฏศิลป์กัมพูชา 1-2 ชุด และต่อจากนั้น เป็นการแสดงของคณะนาฏศิลป์จากสถาบันราชภัฏสุรินทร์ ซึ่งสถานทูตฯ ได้เชิญไปแสดงในโอกาสพิเศษโดยจัดการแสดงไปร่วมด้วยถึง 8 ชุด อาทิ รำกฤษดาภินิหาร รำศรีวิชัย ฟ้อนเล็บ รำเพลิน มโนราห์เล่นน้ำ เป็นต้น
พิธีสำคัญในวันครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา คือ การแลกเปลี่ยนสารแสดงความยินดีระหว่าง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และ นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ในโอกาสที่มีงานเลี้ยงรับรองขึ้นที่กรุงเทพฯและกรุงพนมเปญในวันที่ 19 ธันวาคม ศกนี้ โดยจะมีการอ่านสารของแต่ละฝ่ายในงานดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ สถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ จะจัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สำหรับแจกในงานเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา โดยจะลงพิมพ์สารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและกัมพูชา ที่ได้แสดงความยินดีในโอกาสนี้ พร้อมทั้งเรียบเรียงประวัติความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา และพัฒนาการความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาโดยย่อไว้ด้วย
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าไทยและกัมพูชามีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นว่าควรจะสานต่อความสัมพันธ์ในด้านวัฒนธรรมให้เพิ่มมากขึ้น โดยกรมศิลปากรของไทยมีแผนจะดำเนินโครงการสัมมนาและปฏิบัติการด้านวัฒนธรรมระหว่างไทยและกัมพูชาในช่วงต้นปีหน้า โดยจะจัดคณะนาฏศิลป์ไทยไปแสดง
แก่ครู นักเรียนและนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ของกัมพูชา ซึ่งมีชุดการแสดง 3 ชุด ได้แก่ โขนเรื่องรามเกียรติ์ การขับร้องและแสดงดนตรีไทย และการฟ้อนรำของสี่ภาค โดยกรมศิลปากรของไทยขอให้ฝ่ายกัมพูชาร่วมจัดการแสดงนาฏศิลป์ให้ฝ่ายไทยได้รับชมด้วย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน หลังจากเสร็จสิ้นการแสดง ทั้งสองฝ่ายจะร่วมการสัมมนาเชิงวิชาการ เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนานาฏศิลป์ และการเรียนการสอนด้านนาฏศิลป์ในกัมพูชาและไทย ตลอดทั้งแนวทางการขยายความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างไทย-กัมพูชาต่อไป
นาฏศิลป์กัมพูชา
นาฏศิลป์กัมพูชามีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร (ค.ศ. ๕๔๐-๘๐๐) แล้ว เช่น รูปปั้นดินเหนียวสมัยนครบุรี (Angkorborei) เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และจารึกที่กล่าวถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร ในจารึกสมัยพระนคร (ค.ศ. ๘๒๕-ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔) พบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง และหากดูภาพสลักจำนวนมากในปราสาทหินทั้งหลายแหล่ของขอม ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอาณาจักรขอมมีการร่ายรำ การแสดง เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับการบันเทิงในราชสำนักและประชาชน ในจารึกที่กล่าวถึงข้าพระที่ประจำศาสนสถานนั้นมักมี "คนรำ" ประจำอยู่ด้วย นาฏศิลป์กัมพูชาโบราณน่าจะได้รับอิทธิพลอินเดียเป็นพื้น
นาฏศิลป์กัมพูชาน่าจะสืบต่อและพัฒนามาจนรุ่งโรจน์ไม่แพ้ศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ในสมัยพระนคร และน่าจะมีอิทธิพลไม่น้อยต่ออยุธยาหลังจากที่มีการตีเมืองพระนครแตกและกวาดต้อนผู้คนมาสู่กรุงศรีอยุธยา จำนวนหนึ่งในผู้คนเหล่านั้นน่าจะมีนักรำอยู่ด้วย
หลักฐานทางภาษาอย่างหนึ่งก็คือไทยรับคำ "รำ" ในภาษาเขมรมาแทนที่คำ "ฟ้อน" ที่เดิมใช้ในภาษาไทย และไทยก็รับเอามาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่เดิมและพัฒนานาฏศิลป์สืบเนื่องต่อจากนั้นและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา และเมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไทยก็ส่งคืนศิลปวิทยาการด้านนี้กลับสู่ประเทศราชกัมพูชา และกัมพูชาก็รับเอามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
เอกสารทางฝั่งกัมพูชาไม่ใคร่กล่าวถึงอิทธิพลของนาฏศิลป์ไทยนัก ด้วยเหตุของลัทธิชาตินิยม และความเชื่ออันเป็นบรรทัดฐานว่าไทยนั้นมักรับเอาวิทยาการทุกๆ อย่างไปจากเขมร ดังนั้นนาฏศิลป์กัมพูชาก็เป็นต้นแบบของนาฏศิลป์ไทยด้วย และมักกล่าวกันว่านาฏศิลป์กัมพูชาสืบทอดมานับพันปีตั้งแต่สมัย "อังกอร์" อันเป็นอุดมคติแห่งชาติพันธุ์กัมพูชา ถึงแม้เอกสารของทางฝรั่งเศสจะมีบันทึกว่าในปี ๑๙๐๔ หลังจากพระบาทนโรดมทิวงคตนั้น ในราชสำนักกัมพูชามี "ศิลปการินี" จากสยามเหลืออยู่เกิน ๓๐๐ คนก็ตาม
เพลงบางเพลง เครื่องละครบางชิ้น และเครื่องดนตรีบางชนิดก็มีชื่อเป็นภาษาไทย เนื้อเพลงบางเพลงนั้นก็แต่งล้อเนื้อเพลงไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เค้ารอยอีกหลายๆ ประการที่บ่งบอกว่าได้รับอิทธิพลไทยก็มีอยู่มากพอที่จะกล่าวยืนยันได้ เอกสารที่กล่าวถึงอิทธิพลจากไทยมักเกี่ยวกับเพลงและดนตรี
ผู้อ่าน "โครงกระดูกในตู้" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ย่อมได้ทราบเรื่องหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดยกโรงละครทั้งโรงขึ้นเรือสำเภาหนีไปเมืองเขมร และเอกสารฝั่งไทยก่อนหน้านั้นก็มีกล่าวถึงไว้ว่าเขมรได้ครูละครไปจากไทย เช่น "นิราศนครวัด" ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิทธิพลของละครไทยส่งผลโดยตรงสู่การละครในราชสำนักกัมพูชา อันเรียกเป็นภาษาเขมรว่า "ระบำพระราชทรัพย์" ที่เรียกเช่นนี้เพราะการแสดงในราชสำนักเป็นราชูปโภคของพระมหากษัตริย์นั่นเอง ขณะที่ระบำพื้นเมือง รำวงรื่นเริงของเขมรมีลักษณะเฉพาะตัวและห่างไกลจากนาฏศิลป์ไทยมากกว่า
เขมรแบ่งนาฏศิลป์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ระบำพระราชทรัพย์ คือระบำในราชสำนัก ๒. ระบำประเพณีเขมร คือระบำพื้นบ้าน ๓. ระบำประชาปรีย์ คือรำวงในงานรื่นเริงทั่วไป นาฏศิลป์กัมพูชาก็เป็นเช่นดังศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ของกัมพูชา คือขาดช่วงและองค์ความรู้ถูกทำลายไปในช่วงเขมรแดง ดังนั้นจึงหาเอกสาร ผู้รู้ วิทยากรที่เหลืออยู่ได้ยากเต็มทน
ต่อมาระบำพระราชทรัพย์เปิดกว้างขึ้น เนื่องจากสถาบันกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป จึงกลายเป็นระบำชั้นสูงเทียบได้กับกรมศิลปากรของไทย แต่ยังเรียกระบำพระราชทรัพย์อยู่
ครูผู้รู้ฝ่ายไทยมักตั้งข้อสังเกตว่าการแสดงของเขมรนั้นมักรำไม่ครบท่า ไม่ครบเพลง ไม่ครบเครื่อง +++ส่วนมงกุฎไม่งาม เมื่อเทียบกับฝั่งไทย และโดยเฉพาะโขนนั้น ตัวยักษ์ชั้นสูงและลิงชั้นสูงไม่น่าเกรงขาม คงได้ครูยักษ์และลิงชั้นรองจากไทยไปฝึกสอน แต่กระนั้นนาฏศิลป์กัมพูชายังคงมีลักษณะเฉพาะของตัวเองและมีความน่าสนใจเป็นอันมาก ลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจประการหนึ่งนั้นก็คือสามารถรักษาลักษณะเก่าแก่บางประการของละครไทยเอาไว้ได้
เมื่อกัมพูชาเปิดประเทศใหม่ๆ ประมาณปี ค.ศ. ๑๙๙๒ นั้นผู้เขียนชมการแสดงของเขมรเจอแต่นางรำรุ่นป้าๆ แต่ตอนนั้นก็พอใจเพราะว่าเชื่อได้ว่าเป็นนางรำรุ่นเก่า หลงรอดจากสงครามมาได้ คนเก่าน่าจะรักษาของเดิมได้ดีกว่าเด็กใหม่ ครั้นหลังจากนั้นมาได้ไม่นานสักกี่ปี กัมพูชาก็ปั้นนางรำเด็กใหม่หน้าละอ่อนอ้อนแอ้นออกมาสำแดงฝีมือ สร้างความปีติยินดีแก่ผู้ชมว่า ครานี้นาฏศิลป์กัมพูชาไม่ถึงกาลอับเฉา ยังมีผู้สืบทอดการแสดงประจำชาติที่พวกเค้าภาคภูมิใจ
ชาวไทยโดยทั่วๆ ไปโดยมากที่ได้ชมนาฏศิลป์กัมพูชามักให้ความเห็นว่ารำแอ่นเกินไป แต่นี่เป็นลักษณะดั้งเดิมของนาฏศิลป์ไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่เขมรยังรักษาเอาไว้ ขณะที่ครูรำไทยเห็นว่าเขมรนั้นรำช้า หนัก ขณะที่ของไทยนั้นเร็วและเบากว่า ครูรำเขมรก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกัน ครูไทยบางท่านก็ว่าไทยนั้น "รำเก๋" ส่วนเขมรนั้น "รำงาม" การร่ายรำที่เชื่องช้าและมั่นคงของเขมรผนวกกับดนตรีประกอบนั้นเองสร้างมนต์ขลังให้คนดู บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถสื่อกันได้ระหว่างผู้แสดงและผู้ชม
ความงามทางสุนทรียะเหล่านี้ทำลายกำแพงขวางกั้นทางวัฒนธรรม คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมเมื่อได้ชมก็เห็นว่างามหลาย ลักษณะการแสดงออกของตัวละครเขมรนั้นบางทีก็ดูเป็นโบราณกว่าของไทย เนื่องจากสังคมเขมรทุกวันนี้ยังไม่มีความเจริญทางวัตถุมากเหมือนไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงรักษาอารมณ์คนโบราณได้ดีกว่า
ลักษณะของการร่ายรำที่เชื่องช้าทำให้นางรำเขมรรำได้พร้อมเพรียงกันราวกับมีลมหายใจอันเดียวกัน หากชมระบำหมู่จะพบว่าการตั้งมือตั้งไม้เท่ากันหมดแสดงให้เห็นการฝึกซ้อมด้วยกันเป็นอย่างดี ขณะที่ผู้เขียนไม่พบลักษณะเช่นนี้ในนาฏศิลป์ไทย
เครื่องละครเขมรเมื่อดูบนเวทีอาจดูอับแสงกว่าเครื่องละครไทย เนื่องจากใช้เพชรน้อยและเม็ดเล็กกว่า แต่เมื่อหยิบมาดูใกล้ๆ แล้วจะเห็นฝีมือเชิงช่างที่แสดงความสามารถในการปักเครื่องที่ยังรักษาไว้ได้ดี เราอาจเห็นเค้ารอยบางอย่างในละครเขมรที่เคยเป็นของไทย ขณะที่ไทยเราปัจจุบันไม่ได้รักษาลักษณะเช่นนี้แล้ว ในการสวมเครื่องละครบางชิ้น เช่น ดอกไม้ปลายมือ ปะวะหล่ำกำไลข้อมือข้อเท้าเต็มเครื่องเหมือนละครไทยโบราณ
สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของเจ้าสีหนุ พระนางทรงทำนุบำรุงการละครเขมรให้รุ่งเรือง พระนางจึงทรงเป็นพระมารดาแห่งนาฏศิลป์กัมพูชาก็ว่าได้
ระบำอัปสราเกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้นระบำอัปสราก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่าเป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัย
นครวัดเป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็นระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความเคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต
ผู้เขียนสันนิษฐานว่าดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วนใหญ่ในปราสาทนครวัดคือดอกฉัตรพระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูงของเขมรคงประดับศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสราที่พบในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง
นาฏศิลป์ของเขมรนั้นมีดีอยู่อย่าง คือคนที่มารำไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนต้องได้รับฝึกมาเป็นอย่างดีก่อนขึ้นเวที และมักเป็นนักเรียนนาฏศิลป์โดยตรง หามีซ้อมก่อนออกงานเดือนสองเดือนแล้วขึ้นเวทีไปควักกะปิให้คนดูรำคาญตารำคาญใจอย่างใดไม่
นักเรียนนาฏศิลป์ก็นุ่งผ้าแดงเช่นเดียวกับไทย ตัวพระนุ่งผ้าน้ำเงิน แต่บางภาพก็เห็นนุ่งแดงกันทั้งโรง แต่สวมเสื้อคอกลมรัดตัว แขนสั้น เสื้อรัดตัวนั้นทำให้สังเกตสังกาการดัดและจัดสรีระได้ง่าย ปัจจุบันมีสอนกันที่มหาวิทยาลัยภูมินท์วิจิตรศิลปะที่ข้างพระบรมมหาราชวังกรุงพนมเปญ และสากลวิทยาลัยวิจิตรศิลปะ
เขมรอ้างว่าท่าร่ายรำของเขมรมีถึง ๔,๕๐๐ ท่า เป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะมานั่งนับว่ามีเท่านั้นจริงหรือไม่ ท่ารำที่ดูโดดเด่นของเขมรคือท่าพักเท้าไว้บนน่องอีกข้างหนึ่ง โดยรับน้ำหนักตัวไว้บนขาข้างเดียว ซึ่งท่านี้เราก็พบในท่ารำเก่าๆ ของไทย แต่คงไม่ตั้งชันเท่ากับที่ปรากฏในภาพสลักฝาผนังบนปราสาทหินขอมดอก และอีกท่าคือนิยมตั้งส้นเท้าค้างกับพื้นเมื่อก้าวเท้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขมรอีกประการหนึ่ง
ตัวนางเขมรมักอวบ เหตุผลก็คือตัวนางที่ห่มสไบนั้นจำต้องเปิดหัวไหล่ หากตัวนางผอมโกร่งเวลาห่มสไบจะเห็นกระดูกไหปลาร้า ดูไม่งามตา หากสูงยาวเข่าดีควรต้องไปหัดพระ
ผู้เขียนเคยเห็นนางละครเขมรเก็บขนตาปลอมโดยม้วนไว้กับใบตองแห้ง ก็แปลกตาดี ขนตาที่ถักเองจะงอนไปตามม้วนใบตองแห้งนั้น ทั้งๆ ที่สมัยนี้ก็มีขนตาปลอมจากเมืองไทยวางขายในตลาดแล้ว
ละครโขนยังมีแสดงอยู่บ้าง แน่นอนไม่พ้นตอนสั้นๆ ของเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนหนังใหญ่นั้นที่มีชื่อเสียงคือคณะที่จังหวัดเสียมเรียบ นับว่ายังรักษาจังหวะท่าทางเป็นหนังใหญ่อยู่ ขณะที่คณะที่พนมเปญคนแสดงเป็น "นาฏการี" ซึ่งมีพื้นละครโขนและนาฏศิลป์ เล่นได้จับฉ่าย ท่าทางจึงเป็นท่าทางแบบนาฏศิลป์ไม่ใช่ลีลาหนังใหญ่แบบเสียมเรียบ ครูหนังใหญ่รุ่นเก่าของเสียมเรียบเรียกหนังใหญ่ว่า "นัง" ซึ่งก็มาจากคำไทย "หนัง" นั่นเอง แต่ส่วนคณะนาฏศิลป์ที่เสียมเรียบที่นิยมจัดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติดูนั้นฝีมือทรามกว่าคณะที่พนมเปญ ก็เหมือนระบำของไทยที่รำให้นักท่องเที่ยวดูนั้นแล กระไรจะสู้กรมศิลป์
ส่วนระบำพื้นบ้านนั้นมักเป็นระบำที่แสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน การทำมาหากิน หรือการเลี้ยงฉลองพิธีกรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ระบำจับปลา ระบำเก็บกระวาน ระบำสวิง ระบำตรุด ระบำนกยูง ระบำกะลา ระบำของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทั้งชาวจาม ชาวส่วย ชาวพนอง และรำวงในงานรื่นเริงนั้นก็เป็นประเพณีที่ดีงาม แต่ลีลาของมือนั้นแตกต่างจากไทย คือหมุนมือเข้าหาตัวขึ้นบนและผายออกนอกตัว ไม่มีการจีบนิ้ว
ผู้เขียนเคยไปเที่ยวจังหวัดกำปงจามและเห็นคนหนุ่มสาวที่นั่นเล่นเพลงปฏิพากย์กัน ร้องรำโต้ตอบกันเองเมื่อพากันมาเที่ยวบนเขา โดยไม่มีผู้ชม นับว่าการละเล่นพื้นบ้านชนิดนี้ของกัมพูชายังสดและมีชีวิตอยู่ แถมยังเล่นกันโดยคนหนุ่มสาว ขณะที่บ้านเราเพลงปฏิพากย์กลายเป็นการแสดงหรือการสาธิตไปหมดแล้ว ก็ยินดีแก่ใจเมื่อได้เห็นของจริง
กัมพูชานั้นจัดการแสดงละเม็งละครให้ได้ชมอยู่เนืองๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เจ้านาย และต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "อัลลิยอง ฟรองเซส์" ศูนย์วัฒนธรรมฝรั่งเศสที่กรุงพนมเปญ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนศิลปะประจำชาติชนิดนี้ของกัมพูชาเป็นอย่างยิ่ง
การแสดงนาฏศิลป์กัมพูชาที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไปด้วยคือมหรสพอังกอร์ จัดแสดงรามเกียรติ์นานาชาติที่จัดแสดงที่นครวัดและนครธม ผู้ชมจะได้มีโอกาสเที่ยวนครวัด ปราสาทหินทั้งเมืองเสียมเรียบและชมนาฏศิลป์กัมพูชาที่แสดงโดยนักแสดงฝีมือระดับชาติด้วย เป็นงานที่ไม่ควรพลาด และมีผู้คนจากทั่วโลกรอชมงานนี้
ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งที่รอชมและหวังว่าจะได้มีโอกาสไปชมอีกสักครั้งสองครั้ง
นางละครไทยคนสุดท้าย
ในราชสำนักกัมพูชา
"แม่เมือน" ดาราภาพยนตร์เขมรที่ชาวเขมรทุกคนรู้จัก "ยายเป็นคนปากน้ำโพค่ะ" แม่เมือนกล่าวเป็นภาษาไทยชัดถ้อยชัดคำกับผู้เขียนซึ่งพบแม่เมือนในปี ๑๙๙๔ ตอนนั้นเธออายุปาเข้าไป ๗๙ ปีแล้ว "ยายเป็นคนไทยค่ะ" เธอบอกกับผู้เขียนขณะที่ประวัติของเธอในหนังสือพิมพ์มีพ่อเป็นไทยมีแม่เป็นลาว เธอติดตามแม่ซึ่งเป็นนางรำมารำในราชสำนักตั้งแต่อายุ ๑๔ ในปี ๑๙๒๙ ตามคำชักชวนของเจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ และอยู่ได้ปีเดียวแม่เธอก็ต้องกลับไปดูแลพ่อซึ่งป่วย แต่แล้วแม่ก็เสียชีวิตด้วยกาฬโรคและสิ้นไปก่อนพ่อ เมื่อแม่เสียก็อยู่รำต่อ
สมัยอยู่ในวังนั้นแม่เมือนเล่าว่ากลัวจะต้องถูกเรียกให้ "ถวายตัว" แทบแย่ และต่อมาผันตัวเองมาเป็นดาราภาพยนตร์ เธอผ่านช่วงเขมรแดงมาได้เนื่องจากเธอเป็นดารายอดนิยม พวกเขมรแดงไม่ฆ่าเธอเพราะชอบบทบาทการแสดงของเธอ พวกเขมรแดงชอบให้เธอแสดงนู่นแสดงนี่ให้ชม เธออยู่รอดมาได้จนได้รับรางวัลทางการแสดงเมื่อปี ๑๙๙๖ หลังจากนั้นไม่นานแม่เมือนก็เสียชีวิตลง
|
www.sema.go.th/node/3864 learners.in.th/blog/dramaone2?page=2 www.sahavicha.com/?name=knowledge&file...id=681
www.arts.chula.ac.th/01home/0106art_culture-khol.html
www.bloggang.com/viewblog.php?id=somdej...1
gotoknow.org/blog/sek1971/125811
www.v-cop.net/cambodian/missions.php?language=th
www.bloggang.com/viewblog.php?id=somdej...1...
|
สุขใจเมื่อได้ไปกัมพูชา
“นครวัด” เป็นสิ่งที่ผมใฝ่ฝันอยากจะได้ไปเห็นสักครั้งหนึ่งในชีวิต ความใฝ่ฝันครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อครั้งยังเรียนชั้นประถมศึกษา จำไม่ได้ว่าชั้นป.4 หรือป.5 ไม่ทราบเป็นเพราะอะไร แค่เห็นภาพนครวัด ทำให้รู้สึกว่าฉันจะต้องได้ไปอย่างแน่นอน
แล้วฝันก็เป็นจริง เมื่อรุ่นพี่ที่บุรีรัมย์ โทรมาบอกว่าจะจัดไปศึกษาดูงานที่กัมพูชา 2 คืน 3 วัน ชมปราสาทนครวัด ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายศรี ล่องเรือท่องทะเลสาบเขมร สุดท้ายชมการแสดงนาฏศิลป์เขมร ล้วนแล้วแต่น่าดูน่าชมทั้งนั้น
ความประทับใจในหลายๆสิ่งที่ได้ไปกัมพูชาถ้าเล่าทั้งหมดก็จะยาวเกินไปครับ ขออนุญาตแบ่งเป็นตอนๆนะครับ วันนี้ให้รู้จักกับข้อมูลของประเทศกัมพูชาก่อนนะครับ
ภูมิศาสตร์ กัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 181,035 ตารางกิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก 580 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ 450 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดกับประเทศลาวและประเทศไทย ทิศใต้ ติดกับทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตก ติดกับทะเลอ่าวไทยและประเทศไทย
กัมพูชา มีทะเลสาบน้ำจืดซึ่งเกิดจากแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียชื่อว่า “โตนเลสาบ” (Tonle Sap) มีแม่น้ำโขงไหลผ่านยาว 500 กิโลเมตร จากนั้นไหลเข้าสู่เวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ นับว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติ และเชื่อกันว่าปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่ายทวนน้ำจากโตนเลสาปขึ้นสู่ประเทศไทย-ลาว ก่อนไปผสมพันธุ์ที่จีนซึ่งเป็นต้นแม่น้ำโขง
โตนเลสาป อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาปครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด
ภูเขา ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น
ภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม
ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม (เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด) ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน (เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุดและเดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด)
ประชากร กัมพูชามีประชากรประมาณ 11 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศอายุต่ำกว่า 19 ปี เนื่องมาจากสงครามล้างเผ่าพันธุ์
ศาสนา ศาสนาพุทธนิกายหินยาน เป็นศาสนาประจำชาติ
ภาษา กล่าวกันว่าภาษาและสำเนียงเขมรนั้นเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมากจากอักษรพราหมณ์ ทางภาคใต้ของอินเดีย และมีอิทธิพลของภาษาบาลี และสันสกฤตที่มากับพุทธศาสนา เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาปกครองกัมพูชา จึงมีประชากรไม่น้อยพูดภาษาฝรั่งเศสได้ ปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 และมีชาวกัมพูชารุ่นใหม่ไม่น้อยที่สามารถพูดได้ทั้งภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ ไทย ฯลฯ ซึ่งมีโรงเรียนเปิดสอนหลายแห่งโดยเฉพาะในจังหวัดเสียมเรียบ และพนมเปญซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวหลักของกัมพูชา
บันทึกต่อไปจะเล่าถึงความประทับใจกับสิ่งต่างๆที่ได้สัมผัส ตลอดจนเรื่องราวน่าตื่นเต้น ที่ขาดไม่ได้เรื่องความอาถรรพ์ที่ประสบกับตัวเองครับ
นครแห่งคำสาป
บ่ายโมงกว่าๆ ก็ถึงจุดพักรถจุดแรก ที่บ้านการัน เข้าเขตจังหวัดเสียมเรียบแล้ว เมื่อลงรถได้ พวกเรารีบเดินไปหาห้องน้ำทันที แต่แล้วก็ต้องหยุด เมื่อลูกสาวเจ้าของร้านยืนรออยู่ พร้อมกับพูดภาษาไทยแปร่งๆ
“ห้าบัดค่า”
อย่าว่าแต่ห้าบาทเลย สิบบาทก็ให้ได้ ถ้าข้าศึกประชิดกำแพงเมืองจริงๆ ทุกคนล้วงกระเป๋าหยิบเหรียญห้าบาทไทยให้ เสร็จธุระ เราพากันมาดูสินค้าประเภทของขบเคี้ยว และเครื่องดื่มบรรจุขวดและกระป๋อง ที่ตั้งโชว์ไว้ ส่วนใหญ่นำเข้าจากเมืองไทยทั้งนั้น ราคาเริ่มต้นที่ ๒๐ บาท
ชายเจ้าของร้านขมีขมันลากสายยางมาฉีดน้ำ ที่รังผึ้งระบายความร้อนเครื่องยนต์ และล้างฝุ่นที่ล้อรถ คงเป็นบริการต่างตอบแทนให้กับคนขับรถทัวร์ ที่พาลูกค้ามาให้
เราได้ขนมติดมือไปแบ่งกันกินบนรถ คนละอย่างสองอย่าง แม่บ้านผมได้ฮานามิกระป๋องละ ๕๐ บาท ไปกินกับเขาเหมือนกัน
รถถอยออกมา เดินทางต่อ จอห์นนี่จับไมค์ขึ้นมา ชี้มือให้เราดู
“ทุกท่านเห็นทางแยกมั้ยครับ จากบ้านการัน จะไปอำเภอช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ของไทยได้ แล้วก็จากจุดนี้ เหลืออีก ๕๐ กิโลเมตร ก็จะถึงจังหวัดเสียมเรียบ”
เสาไฟฟ้าไร้สายวิ่งผ่านไปพร้อมกับท้องนาสองข้างทาง จนเกือบบ่ายสองโมง ก็หมดทางลูกรังเมื่อเข้าหมู่บ้านปาเจ เสียงไกด์พื้นเมืองก็ดังขึ้น
“ตอนนี้ เข้าเขตจังหวัดเสียมเรียบแล้วครับ ก่อนถึงตัวจังหวัด เราจะพาท่านไปชมบารายตะวันตก ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่ขุดขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ มีความยาวถึง ๘ กิโลเมตร กว้าง ๒.๕ กิโลเมตรลึก ๘๐ เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ ๖๕๐ เอเคอร์ ปัจจุบันใช้เป็นที่กักเก็บน้ำในระบบชลประทาน เพื่อใช้ในฤดูแล้ง”
รถเลี้ยวออกไปตามถนนดิน ที่ชำรุดทรุดโทรม กิ่งไม้ข้างทางเสียดสีกับตัวรถเสียงดังกราวจนบ่ายสองโมงครึ่ง ก็ถึงบาราย มีรถเก๋งและรถกระบะจอดอยู่หลายคัน มีร้านค้าขายของที่ระลึก ร้านอาหารเล็กๆ ขายไก่ย่าง ปลาจากบาราย ปิ้งไว้ขายให้นักท่องเที่ยว
ผมลงไปดู พื้นน้ำที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา นึกอัศจรรย์ใจกับความมานะพยายามของคนเขมรสมัยก่อน
เมื่อขึ้นรถ คุณจอห์นนี่ก็เล่าให้ฟังเพิ่มเติม
“ที่บารายแห่งนี้ จะมีปรากฏการณ์ประหลาด คือ เมื่อถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ จะมีลูกไฟพุ่งขึ้นมาเหมือนกับบั้งไฟพญานาคที่แม่น้ำโขง จังหวัดหนองคายของไทย พวกเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเกิดจากอะไร แต่เราก็เชื่อว่า มีพญานาคจริง”
บ่ายสามโมงครึ่ง เราไปถึงโรงแรมที่พัก Linratanak Angkor Hotel เป็นโรงแรมระดับ สามดาวครึ่ง ราคาคืนละ ๓๕ ดอลล่าร์ เจ้าของเป็นคนเขมร แต่จ้างคนไทยบริหารงาน
ทันทีที่เข้าห้องพักแบบเตียงคู่ กระทบแอร์เย็นฉ่ำ ผมทิ้งตัวลงนอนแผ่อย่างอ่อนล้ากับการเดินทาง มีเวลาหนึ่งชั่วโมงก่อนที่การท่องเที่ยวตามโปรแกรมจะเริ่มขึ้นในเวลา บ่ายสี่โมงครึ่ง
แต่ไม่ทันจะได้หลับตา จมูกผมก็ได้กลิ่นแปลกๆ สงสัยเจ้าที่เจ้าทางจะมาต้อนรับแล้ว ลองเดินเข้าห้องน้ำ กลิ่นยิ่งแรงขึ้น ถึงได้หายสงสัย อ๋อ! ต้นเหตุอยู่ที่ห้องน้ำนี่เอง ลองใช้งาน อาบน้ำชำระฝุ่น เรียกความสดชื่นกลับคืนมา พักเดียวกลิ่นไม่พึงประสงค์ก็หายไป เฮ้อ !โล่งอกไปที
เกือบหกโมง เราไปไหว้พระนางเจ และพระนางจอม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของเมืองเสียมเรียบ เพื่อเป็นศิริมงคล ดูที่ประทับของกษัตริย์สีหนุ ค้างคาวแม่ไก่ จากนั้นแวะชอบปิ้งที่ตลาดซาห์จ้ะ
รถวิ่งเข้าไปในตัวเมือง รถติดไฟแดง คุณจอห์นนี่ นึกสนุกขึ้นมาเลยทายปัญหากับเรา
“รถยนต์กลัวไฟอะไรครับ ระหว่าง ไฟแดง เหลือง และเขียว”
เสียงใครก็ไม่รู้ จากเบาะหน้าตอบมา
“ไฟแดง”
“ไฟเหลือง”
“ผิดครับ ที่ถูกคือ ไฟเขียว เห็นมั้ยครับ ไฟแดง ไฟเหลือง รถอยู่เฉยๆ พอไฟเขียว รถวิ่งอ้าวเลย”
เออ! จริงของเค้านะ รถกลัวไฟเขียวจนต้องวิ่งหนี
อ้าว! ท่านผู้อ่าน ไม่ขำเหรอครับ ช่วยขำมุขเขมรหน่อย ฮา..
ที่ตลาดซาห์จ้ะหรือตลาดเก่านี่เอง ธนบัตรใบละ ๒๐ บาท ที่เราเตรียมมา ถูกใช้ไปอย่างสะดวก ใช้ง่าย คนเขมรชอบ สินค้าทุกอย่างที่ตลาดนี้ เริ่มต้นจาก ๒๐ บาทแทบทุกอย่าง
แม้กระทั่งก๋วยเตี๋ยว ชามละ ๒๐ บาท คิดเป็นเงินเขมร ก็สองพันเรียล
ถึงตอนนี้ ผมรู้แล้ว ว่าเงินเดือนครูเขมรเดือนละเจ็ดหมื่นเรียล น้อยมาก ก๋วยเตี๋ยวชามละสองพันเรียล เจ็ดหมื่นก็ซื้อได้แค่ ๓๕ ชาม ถ้ากินมื้อละชาม สามมื้อ จะกินได้กี่วันครับ ช่วยผมคิดหน่อย โถ!น่าสงสารครูเขมร คงต้องหาปลา กบ เขียด กินเลี้ยงชีวิตและครอบครัว แล้วคุณภาพการศึกษาจะได้แค่ไหน ไม่อยากคิดครับ
ของส่วนใหญ่ในตลาดนี้ จะเป็นเสื้อผ้า ของที่ระลึก เครื่องประดับ ค่อนข้างแพง เพราะอิงราคากับเงินดอลลาร์ มีฝรั่งเดินชอบปิ้งเต็มไปหมด รองลงมาก็เกาหลีและพี่ไทยเรานี่แหละ ยิ่งพูดภาษาเขมรไม่ได้ ราคายิ่งแพงขึ้นไปอีกเท่าตัว ต้องรู้จักต่อครับ ครึ่งต่อครึ่งเลย
ถึงเวลาขึ้นรถ เห็นสาวๆ เอาเสื้อผ้า ผ้าพันคอสวยๆขึ้นมาอวดกันหลายคน
ผมเองก็เดินไปดูกับเค้าเหมือนกัน แต่ยังไม่ซื้อ เพราะเหลือเวลาอีกสองวัน แค่เล็งๆไว้ก่อนเท่านั้น
หนึ่งทุ่ม เราไปพร้อมกันที่ร้านอาหารแบบบุพเฟ่ต์ร้านหนึ่ง ชื่อ ร้านตนเล แม่โขง ซึ่งมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติเขมรหลายชุด
เมื่อไปถึง มีบัสทัวร์จอดเกือบเต็มลาน แสดงว่า ร้านนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
คุณจอห์นนี่ แนะนำให้พวกเราหยิบผ้าเช็ดปากจองที่ไว้ ก่อนจะไปตักอาหาร ถ้าไม่จอง พวกเกาหลีจะแย่งนั่งหมด ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น
เรานั่งกินอาหารอยู่ครู่หนึ่ง ทัวร์เกาหลีก็มาถึง แต่ละคนเดินกร่างเข้ามา ทั้งชายหญิง ส่งเสียงคุยกันโขมงโฉงเฉง โดยไม่เกรงใจใคร เด็กหนุ่มคนหนึ่งคงหิวจัด ปรี่เข้าไปคว้าขวดน้ำจากไกด์ชาวเขมรที่ยืนอยู่หน้าร้านไปดื่มหน้าตาเฉย ไม่ขอโทษด้วย เหมือนกับเป็นของตัวเองยังงั้นแหละ
แม้กระทั่งตักอาหารก็ตักซะล้นจาน กินอย่างมูมมาม เวลาชมการแสดงก็ยืนขึ้นบนเก้าอี้ถ่ายรูป โดยไม่สนใจว่าจะบังใคร ตอนกลับก็ยังมีการหยิบช้อน หยิบตะเกียบของร้านไปเป็นที่ระลึกซะอีก แน่ะ! ดูเค้าทำ ทีในหนังเกาหลี “แดจังกึม” และอีกหลายๆเรื่อง ที่คนไทยติดกันงอมแงม ไม่เห็นเผยแพร่กริยาแบบนี้ ให้ชาวโลกได้รู้เลย
อาหารในร้านนี้มีหลากหลายทั้งฝรั่ง จีน ไทย เกาหลีไว้บริการ เชื่อมั้ยครับ ขนมครกยังมีให้กินเลย รสชาดดีจนคนทำแคะไม่ทันเลยนะ จะบอกให้ อีกอย่างนึงเป็นอาหารเกาหลี ชื่อ กิมจิ เป็นผักกาดขาวดองแล้วเอามาผัดกับแป้งมัน รสชาดจืดๆ ผมว่าผักกาดเขียวดองแบบไทย จิ้มน้ำพริกอร่อยกว่าเยอะ
อาหารทุกอย่างยกเว้นเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และซอพต์ดริงก์ จะกินแค่ไหนก็ได้ ตักได้เติมได้ตลอดเวลา จนอิ่ม แม้อิ่มแล้ว นั่งชมนาฏศิลป์ เกิดหิวขึ้นมาอีก ก็กินได้อีก พุงกางแล้วค่อยกลับ
การแสดงก็คล้ายๆของไทย เช่น รามเกียรติ ตอน พระรามรบกับทศกัณฐ์ การแต่งกายสวยงามน้อยกว่า เครื่องประดับมีความประณีตน้อยกว่า ท่ารำก็อ่อนช้อยไม่เท่านาฏศิลป์ไทย หัวโขนแต่ละหัวเบ้อเร่อ ไม่สมตัวละคร ราวกับแปะยิ้มหัวโตในคณะล่อโก้ว
ชุดอื่นๆ ก็งั้นๆ เช่น ชุดสอยไข่มดแดง ระบำหาปลา ระบำนกยูง
ดนตรีก็มีระนาด ฆ้อง กลอง ฉิ่ง เหมือนกับดนตรีไทยเรา แต่เป็นทำนองเขมร
การแสดงจบ ท้องก็อิ่มแล้ว จะอยู่ทำไมอีก ราวๆ สองทุ่มครึ่งก็ชวนกันกลับที่พัก
ระหว่างทาง ไกด์หนุ่มชาวเขมรก็เล่าเรื่องให้ฟังฆ่าเวลา
“โรงแรมในเสียมเรียบบางแห่ง เคยเป็นที่เก็บศพผู้เสียชีวิตในสงครามเขมรแดง แขกที่มาพักในเวลากลางคืนจะได้ยินเสียงเคาะประตู แต่ออกมาดูก็ไม่เห็นใคร”
สาวๆในกลุ่มของเรา หลายคนกลัวจนขนลุก แต่ครูอุบล ชูอะไรอย่างหนึ่งขึ้นมาแล้วบอกไกด์หนุ่ม
“ฉันมีพระนะ”
จอห์นนี่หัวเราะ
“ผีที่นี่ อยู่ในวัด ไม่กลัวพระ”
ครูอุบลไม่ยอมแพ้
“งั้นสวดมนต์ไล่”
“ผีเขมรฟังภาษาบาลีไม่รู้เรื่อง”
ครูแป้ด นันทา คงรำคาญเลยให้คาถาไล่ผีบทใหม่ เวอร์ชั่นภาษาเขมร
“โตวนา โตวพอง โตวกระบอง ฟาดกระบาล”
ไกด์พื้นเมืองหัวเราะก๊าก แต่ลูกทัวร์นั่งเฉย หันไปมองกันล่อกแล่ก จอห์นนี่จึงแปลให้ฟัง
“โตว ก็แปลว่า ไป ,นา แปลว่า ไหน ,พอง แปลว่า ด้วย ทั้งหมดก็แปลเป็นไทยว่า ไปไหนไปด้วย แต่ต้องไปเอากระบองมาฟาดกระบาลผี”
เสียงหัวเราะดังครืนใหญ่ บรรยากาศที่น่ากลัวจึงค่อยๆหายไป
คุณเบิร์ดรับไมค์จากไกด์หนุ่ม แล้วนัดหมาย
“ตื่นตีห้าครึ่ง กินอาหารเช้าหกโมงครึ่ง ออกเที่ยวต่อเจ็ดโมงครึ่ง รายการพรุ่งนี้ เราจะไปชมปราสาทบันทายสรี จำง่ายๆว่า บั้นท้ายสตรี ปราสาทตาพรหม ปราสาทตาแก้ว ปราสาทบายน หรือนครธม และช่วงบ่ายเที่ยวปราสาทนครวัด ปิดท้ายด้วยปราสาทพนมบาเค็ง หลับฝันดี แล้วพรุ่งนี้เช้าพบกันครับ”
พอถึงโรงแรม เข้าห้องได้เดี๋ยวเดียว ไฟฟ้าเกิดดับพรึบขึ้นมา อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยถึงสองครั้ง สมาคมคนกลัวผีเลยหัวหดเป็นแถว สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอนกันแทบทุกคน
www.bot.or.th/Thai/.../cambodia/.../CambodiaMap.aspx
ประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแหลมอินโดจีน มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ความกว้างจากเหนือจดใต้ประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร และจากตะวันออกถึงตะวันตกประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร มีรูปร่างคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีศูนย์กลางของประเทศอยู่ใกล้กับจังหวัดกัมปงทม พื้นที่ทางตอนเหนือกว้างแล้วค่อย ๆ สอบลงมาทางตอนใต้ มีความสัมพันธ์ที่ได้สัดส่วนของพรมแดน โดยรอบทั้งสี่ด้าน
พรมแดน และเส้นเขตแดนของประเทศกัมพูชา ส่วนใหญ่กำหนดขึ้นโดยฝรั่งเศส มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศข้างเคียง อยู่สามประเทศคือ ไทย ลาว และเวียดนาม
ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศไทยในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี และติดต่อกับประเทศลาว ในแขวงอัตตะปือ และแขวงจำปาศักดิ์
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศเวียดนาม ในเขตจังหวัดเปลกู ดาร์ลัค และกวางดั๊ก
ทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้ ติดต่อกับประเทศเวียดนามเขตจังหวัดฟุคลอง บินห์ลอง เทนินห์ ฟุคทุย เคียนเทือง เคียนพง อันเกียง เคียนเกียง และอ่าวไทย
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศไทยในเขตจังหวัดตราด จันทบุรี และปราจีนบุรี
เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศมีความยาวประมาณ ๒,๖๐๐ กิโลเมตร ติดต่อกับประเทศไทยประมาณ ๙๓๐ กิโลเมตร ประเทศลาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร ประเทศเวียดนามประมาณ ๑,๐๓๐ กิโลเมตร และอ่าวไทย ประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีทั้งที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง และภูเขา พื้นที่ภูมิประเทศมีลักษณะคล้ายอ่างเก็บน้ำ กล่าวคือ พื้นที่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) และมีทะเลสาบขนาดใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนรอบ ๆ ประเทศมีเทือกเขาสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นแนวยาวสูงประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร อยู่ติดกับประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดจันทบุรีทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตลอดไปทางด้านทิศเหนือ ส่วนภูเขาที่เป็นหย่อม ๆ มีอยู่บริเวณเกาะกง กำปงโสม และกำปงสะบือ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ
บริเวณภาคกลางของประเทศ สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๓๐ เมตร เริ่มตั้งแต่พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดพระตะบอง ไปถึงกำปงธม ไปรเวียง สวายเวียง และตาแก้ว ทางตอนใต้จดเขตแดนเวียดนาม แบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่ลักษณะคือ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ทะเลสาบ บริเวณที่ลุ่มลำคลอง หนองบึง บริเวณที่ทำนา และบริเวณเนินเขาขนาดเล็ก
ที่ราบสูงภาคเหนือ เริ่มตั้งแต่จังหวัดกระแจะ สตึงเตรง และรัตนคีรี ต่อจากที่ราบลุ่มภาคกลาง พื้นที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลำดับ จนสูงกว่า ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็นสามตอนคือ
บริเวณที่ราบสูงตอนเหนือ ในเขตจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ กัมปงธม มีภูเขาผ่านกลางบริเวณเป็นภูเขาลูกโดด ๆ
บริเวณที่ราบสูงตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตจังหวัดสตึงเตรง กระแจะ แยกจากที่ราบสูงภาคเหนือด้วยแม่น้ำโขง พื้นที่เป็นเนินเขาดินอยู่ทั่วไป
บริเวณที่ราบสูงกัมปงจาม สูงประมาณ ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะล
บริเวณที่ราบสูงตามเขตชายแดน อยู่ทางทิศเหนือติดต่อกับที่ราบสูงของไทย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นเชิงชายเทือกเขาจากเวียดนาม แบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งมีสันปันน้ำแบ่งเขตแดนกับประเทศไทย
บริเวณเทือกเขาคอนทูม (Kontum) เป็นแนวเส้นเขตแดนลาวกับกัมพูชา มีเชิงชายเทือกเขาอยู่ในเขตกัมพูชา ทางใต้ลงมาเป็นที่ราบสูงบ่อแก้ว สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๕๐๐ เมตร
บริเวณที่ราบสูงโชลองเหนือ เป็นแนวเส้นกั้นเขตแดนเวียดนามกับกัมพูชา มีความสูงระหว่าง ๔๐๐ ถึง ๙๐๐ เมตร
บริเวณทิวเขากระวาน รวมเทือกเขากระวาน และเทือกเขาช้าง ทิวเขานี้เริ่มต้นจากเขตจังหวัดจันทบุรีของไทย เป็นพืดติดต่อกันไป จนถึงจังหวัดกัมปอตของกัมพูชา ทิวเขานี้แบ่งออกเป็นสามตอนคือ
เทือกเขากระวานตะวันตก เริ่มจากเขตอำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ไปถึงแม่น้ำโพธิสัตว์ มียอดเขาที่สำคัญอยู่หลายยอด ที่สูงเกนิ ๑,๐๐๐ เมตร ยอดสูงสุด ๑,๕๖๓ เมตร
เทือกเขากระวานกลาง มียอดเขาที่สูงเกิน ๑,๐๐๐ เมตร อยู่หลายยอดด้วยกัน ยอดสูงสุดสูง ๑,๗๔๙ เมตร
เทือกเขากระวานตะวันออก แบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ
- เทือกเขาโพธิสัตว์กับกัมปงสะบือ ยอดเขาสูงสุด ๑,๘๑๓ เมตร
- เทือกเขา Au Malou อยู่ระหว่างกัมปงสะบือ กับ Sre Umbell มีที่ราบสูงคีรีรม อยู่ข้างบน
- เทือกเขาช้าง แยกออกจากเทือกเขา Au Malou มียอดสูง ๑,๐๗๕ เมตร
บริเวณที่เป็นหย่อมเขา คือ บริเวณที่ล้อมรอบทิวเขากระวาน มีภูเขาสูงปานกลาง โดยทั่วไปสูงไม่เกิน ๘๐๐ เมตร แบ่งออกเป็น ๖ ตอนคือ
- บริเวณชายทะเล เป็นพื้นที่ราบลาดสูงขึ้นไป บรรจบกับทิวเขากระวาน และติดต่อกับที่ราบตอนกลางได้สามทาง
- บริเวณหย่อมเขาทางทิตะวันตกของจังหวัดพระตะบอง
- บริเวณหย่อมเขาระหว่างจังหวัดโพธิสัตว์กับกัมปงชนัว
- บริเวณหย่อมเขากัมปงสะบือ
- บริเวณหย่อมเขาระหว่างกัมปงสะบือกับกัมปอต
- บริเวณหย่อมเขาระหว่างกัมปอตกับตาแก้ว
แม่น้ำลำธารและทะเลสาบ
กัมพูชาเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยแม่น้ำลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง และมีทะเลสาบใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ บริเวณลุ่มน้ำสำคัญ ๆ มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือแม่น้ำโขง ทะเลสาปและแม่น้ำทะเลสาป ติดต่อกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) กับแม่น้ำทางฝั่งทะเล
แม่น้ำโขง มีต้นน้ำจากประเทศธิเบต ไหลผ่านประเทศจีน พม่า ไทย ลาว เข้าสู่เขตแดนกัมพูชาที่หมู่บ้านอินนัง ทางภาคเหนือของกัมพูชา แล้วไหลผ่านจังหวัดสตึงเตรง กระแจะ กัมปงจาม และพนมเปญ และไหลเข้าเขตแดนเวียดนามที่หมู่บ้านรินฮือ แม่น้ำโขงมีความยาวทั้งหมดประมาณ ๔,๕๐๐ กิโลเมตร ในส่วนที่ไหลผ่านกัมพูชายาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑ - ๒ กิโลเมตร ความลึกเป็นไปตามฤดูกาล ในฤดูน้ำบางตอนลึกถึง ๓๐ เมตร น้ำในแม่น้ำโขงจะไหลเชี่ยวในฤดูน้ำ ลักษณะแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านกัมพูชาแบ่งออกได้เป็นสามตอนคือ
ช่วงที่ไหลผ่านระหว่างหมู่บ้านวินนังมาจนถึงจังหวัดกระแจะ แม่น้ำโขงตอนนี้ไหลเชี่ยวเป็นตอน ๆ เช่น แซมบอดทางเหนือจังหวัดกระแจะประมาณ ๑๕ กิโลเมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยวมากเป็นระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร บางจุดกระแสน้ำไหลเชี่ยวมากประมาณ ๖๐ กิโลเมตร และยังมีเกาะแก่งอยู่ทั่วไปเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ ในช่วงนี้มีลำน้ำเสสาน และลำน้ำเสรปกไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงที่จังหวัดสตึงเตรงด้วย
ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดกระแจะถึงพนมเปญ มีความยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร มีเกาะแก่งและเนินทรายใต้น้ำอยู่เป็นบางแห่ง กระแสน้ำไม่เชี่ยว สามารถใช้เดินเรือได้ทุกฤดูกาล แม่น้ำโขงในช่วงต่อจากพนมเปญ ไหลแยกออกเป็นสี่สาย เรียกว่า จตุรมุข คือ
- สายที่ ๑ คือ แม่น้ำโขงเดิม
- สายที่ ๒ คือ แม่น้ำโขงที่ไหลไปลงทะเลทางด้านทะเลจีนตอนใต้
- สายที่ ๓ คือ แม่น้ำบาสสัค
- สายที่ ๔ คือ แม่น้ำที่ไหลจากทะเลสาป เรียกว่า แม่น้ำทะเลสาป
ช่วงที่ไหลผ่านพนมเปญถึงหมู่บ้านวินฮือ แม่น้ำโขงช่วงนี้มีความยาวกว้างกว่า ๒ กิโลเมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยว
แต่ยังสามารถใช้เดินเรือได้ทุกฤดูกาลจนถึงปากน้ำ ความแตกต่างของระดับน้ำในฤดูน้ำและฤดูแล้งประมาณ ๑๐ เมตร
แม่น้ำโขงนอกจากให้ประโยชน์แก่ประเทศกัมพูชาในด้านเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญแล้ว ยังอำนวยประโยชน์ในด้านการกสิกรรมและการประมงด้วย เนื่องจากในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำโขงได้ท่วมท้นไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เมื่อน้ำลดก็ได้ทิ้งปุ๋ยอันโอชะต่อพืชไว้ และในขณะเดียวกันก็มีปลาชุกชุมอยู่ตามบึงต่าง ๆ และในแม่น้ำโขงเอง
แม่น้ำทะเลสาป (Tonle sap) เป็นแม่น้ำที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาป มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร ในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำโขงจะไหลผ่านแม่น้ำสายนี้ลงสู่ทะเลสาป
แม่น้ำบาสสัค (Bassac) เป็นแม่น้ำสายเดียวกับแม่น้ำทะเลสาป ต่อจากแม่น้ำทะเลสาปที่หน้าพระราชวังกรุงพนมเปญ แล้วไหลไปยังประเทศเวียดนามที่บ้านบินห์ดี แล้วไหลผ่านเขตประเทศเวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ แม่น้ำสายนี้แคบกว่า แม่น้ำทะเลสาป มีความยาวประมาณ ๘๐ กิโลเมตร ใช้ในการเดินเรือได้ตลอดปี
ทะเลสาป นับว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนับว่าเป็นอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศ มีทิวเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลลงสู่ทะเลสาปโดยรอบ ในฤดูแล้ง ทะเลสาปจะมีความยาว ๑๕๐ กิโลเมตร ตอนกว้างที่สุด ๓๒ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ในฤดูน้ำหลากเต็มที่ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ทะเลสาปจะมีพื้นที่ใหญ่กว่า ในฤดูแล้งประมาณสามเท่าคือ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร บริเวณน้ำท่วมจึงอยู่ระหว่างถนนรอบทะเลสาป ในด้านความลึก ฤดูน้ำจะลึกประมาณ ๑๒ - ๑๔ เมตร ในฤดูแล้ง น้ำที่ตื้นสุดประมาณ ๐.๘๐ เมตร ถึง ๒.๐๐ เมตร ลักษณะพื้นที่ตามบริเวณชายฝั่งจะเป็นดินตะกอน บริเวณที่ดอนเป็นที่โล่งแจ้ง ตามขอบทะเลสาปเป็นป่าละเมาะและป่าน้ำท่วม พื้นที่ทางด้านตะวันตกของทะเลสาปแบ่งออกได้เป็นสามตอนคือ
ลานเลน เป็นตอนที่ตื้นเขินในฤดูแล้ง โคลนเลนนี้จะกั้นทะเลสาปให้เป็นตอน ๆ ในฤดูแล้ง
ทะเลสาปน้อย เป็นตอนที่อยู่ทางด้านเหนือของลานเลน มีความยาวประมาณ ๓๕ กิโลเมตร กว้าง ๒๕ กิโลเมตร ตามบริเวณชายฝั่งปกคลุมไปด้วยพงหญ้า
ทะเลสาปใหญ่ เป็นตอนที่อยู่ทางเหนือของทะเลสาปน้อย มีความยาวประมาณ ๗๕ กิโลเมตร และกว้าง ๓๒ กิโลเมตร
ทะเลสาปของประเทศกัมพูชามีประโยชน์ต่อการกสิกรรม การเดินเรือ และการประมงในประเทศเป็นอย่างมาก ในฤดูฝนสามารถใช้เดินเรือขนาดต่าง ๆ ได้ แต่ในฤดูแล้งจะใช้เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็กเท่านั้น ในฤดูน้ำหลาก พื้นที่ป่าจะถูกน้ำท่วม เมื่อน้ำลดก็จะทิ้งปุ๋ยอันเป็นประโยชน์ต่อพืช ทะเลสาปอุดมไปด้วยปลาน้ำจืดนานาชนิด จนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลำน้ำทางอ่าวไทย ลำน้ำหลายสายมีต้นกำเนิดมาจากทิวเขากระวาน แล้วไหลลงสู่ทะเล ส่วนมากเป็นลำน้ำเล็ก ๆ และสั้น มีความกว้างประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร
ฝั่งทะเลและเกาะ
ประเทศกัมพูชามีฝั่งทะเลยาวประมาณ ๔๔๐ กิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในหกของเส้นพรมแดนทั้งประเทศ เป็นฝั่งทะเลที่อยู่ในอ่าวไทยทั้งสิ้น เป็นพรมแดนซึ่งกั้นประเทศกัมพูชา ออกจากแหลมมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา
ฝั่งทะเลของประเทศกัมพูชามีลักษณะเว้าแหว่ง ประกอบด้วยสองแหลมใหญ่ ๆ คือ แหลมสามิต (Semit, Smach) และแหลมวีลเรนห์ (Veal Renh) โดยทั่วไปความลึกใกล้ฝั่งทะเลด้านนี้มีความลึกประมาณ ๕ - ๑๐ เมตร
ความแตกต่างของระดับน้ำทะเลขึ้นลงไม่เกิน ๒ เมตร ลักษณะของฝั่งทะเลจากเขตแดนไทยถึงปากน้ำ Koki เป็นที่ราบลุ่มมีหนองบึงมาก จากปากน้ำ Koki ถึงแหลม Sorivong มีหินระเกะระกะอยู่ทั่วไป บริเวณกัมปงโสมไปถึงพรมแดนเวียดนาม มีลักษณะเป็นหาดเลน โขดหิน และหาดทรายสลับกันไป พื้นทะะเลส่วนใหญ่ มีลักษณะราบ และแบน แต่ในที่บางแห่ง เช่น ที่แหลมโต๊ะ ซึ่งอยู่ที่ฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันออก มีเนินใต้น้ำสูงถึง ๕๐ เมตร และมีเกาะสลัด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะฟูก๊ก มีเนินเปลือกหอยปกคลุมอยู่ เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ
ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์) ท้องทะเลในอ่าวไทย จะมีลักษณะราบเรียบ แต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม - พฤศจิกายน) กระแสลมพัดมาปะทะฝั่งประเทศกัมพูชา ทำให้เกิดคลื่นจัด ทำให้การเดินเรือยาก และมีอันตราย
ฝั่งทะเลประเทศกัมพูชา มีอ่าวใหญ่น้อยอยู่เป็นจำนวนมาก อ่าวที่สำคัญอ่าวหนึ่งคือ อ่าวกัมปงโสม อยู่บริเวณจากแหลมสามิต (Semit) ไปทางทิศตะวันออก ชายหาดเป็นโคลนโดยทั่วไป ที่ปากอ่าวมีเกาะรง และเกาะรงสามแหลม เป็นที่กำบังเคลื่อนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อ่าวนี้มีบริเวณเหมาะแก่การตั้งท่าเรือ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเรียม ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีท่าเรือชื่อ สีหนุ ฝั่งทะเลจากท่าเรือสีหนุไปมีลักษณะโค้งเล็กน้อย ติดต่อกันไปจนถึง อ่าวเรียม ที่ปากอ่าวเรียมมีเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ ทำให้ท่าเรือเรียม อยู่ในที่กำบังลมอย่างดี จากท่าเรือเรียมมีถนนเลียบฝั่งทะเล ขึ้นไปทางเหนือ และไปบรรจบถนนมิตรภาพที่เขื่อนท่าเรือสีหนุ กับกรุงพนมเปญ นอกจากนี้ยังมีถนนแยกเลียบฝั่งทะเลไปทางทิศตะวันออก จนถึงเมืองกัปปอตด้วย
มีเกาะขนาดใหญ่ที่มีราษฎรอาศัยอยู่สองเกาะคือ เกาะกง และเกาะฟูก๊ก
ธ ทรงเป็นหลักชัยนิรันดร์การ: แนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในการจัดการศึกษา |
ตามแนวพระราชดำริของสำเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การก่อร่างสร้างวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ณ ตำบลช็อมโบร์ อำเภอปราสาทช็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ จนกระทั่งมาถึงวันสำคัญ คือ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ นี้ คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ทั้งฝ่ายราชอาณาจักรไทยและฝ่ายราชอาณาจักรกัมพูชาได้ยึดแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นธงชัยตลอดมา
แนวพระราชดำริที่พระราชทานในวันนั้นมีดังนี้
๑. การรับนักเรียนเข้าเรียนในระยะแรกไม่ควรเกิน ๑,๒๐๐ คน
๒. ทรงเน้นเรื่องสุขภาพอนามัยของนักเรียนเป็นพิเศษ สำหรับนักเรียนนั้นไม่ว่าจะเป็นนักเรียนชาติใด ถ้าโภชนาการดี จะทำให้สุขภาพอนามัยดี สติปัญญาและการเรียนของนักเรียนจะบังเกิดผลดีตามมาด้วย
๓. ทรงให้ความสำคัญของการอนุรักษ์โบราณสถานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
๓.๑ การอนุรักษ์โบราณสถาน โรงเรียนพระราชทานแห่งนี้อยู่ใกล้กับปราสาทช็อมโบร์ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของราชอาณาจักรกัมพูชา นักเรียนและชุมชนน่าจะได้รับการปลูกฝังให้รักและหวงแหนโบราณสถานนั้นและมีความรู้พอที่จะเป็นมัคคุเทศก์อธิบายให้นักท่องเที่ยวฟังได้
๓.๒ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ควรจะปลูกฝังให้นักเรียนและชุมชนมีจิตสำนึกในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้รู้จักรัก หวงแหนป่า ต้นไม้ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ อันจะนำไปสู่การรักและหวงแหนประเทศชาติได้ในที่สุด
๔. การเรียนรู้เรื่องสุขภาพอนามัยและโภชนาการ จะนำไปสู่ความรู้ในด้านสุขศึกษาและคหกรรมศาสตร์ โดยอาจจะนำความรู้ดังกล่าวไปประกอบอาหารหรือขนมสำหรับขายนักท่องเที่ยว รวมทั้งอาจจะพัฒนาไปถึงเรื่องการโรงแรมและการท่องเที่ยวได้
๕. การเรียนภาษาต่างประเทศ ในอนาคตนักท่องที่ยวจะหลั่งไหลมาท่องเที่ยวราชอาณาจักรกัมพูชามากขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และนักท่องเที่ยวที่พูดภาษาอังกฤษจากประเทศอื่นๆ ดังนั้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษน่าจะเป็นภาษาที่นำมาสอนในโรงเรียนนี้ได้
เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๔ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทอีกครั้งหนึ่งในวาระที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา และการลงนามความตกลงโครงการระหว่างกรมราชองครักษ์กับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและการกีฬา ว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งโรงเรียนปราสาทช็อมโบร์ (ปัจจุบันคือวิทยาลัยกับปงเฌอเตียล) จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา
ในวาระนั้น พระราชดำรัสสำคัญที่พระราชทานแก่คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ นำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติงานจัดการศึกษา ได้แก่
๑. ให้ยึดหลักสูตรของราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นหลักและเพิ่มเติมสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์
๒. ให้ใช้การสหกรณ์โรงเรียนเป็นเครื่องมือในการฝึกการบริหารและการจัดการ เป็นการฝึกการบันทึกค่าใช้จ่ายและการลงทุน
๓. ควรปรับปรุงเรื่องการประชาสัมพันธ์ การจัดการศึกษาตามโครงการฯ เพื่อให้ชาวไทย ชาวกัมพูชา และชาวต่างประเทศอื่นๆ ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเพื่อสร้างโรงเรียนให้แล้วเสร็จ
๔. ควรอนุรักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมของชาติกัมพูชา อาทิ ปราสาทช็อมโบร์ ควรนำความรู้เหล่านี้บรรจุไว้ในหลักสูตร นักเรียนอาจนำความรู้เรื่องโบราณสถานต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องปราสาทช็อมโบร์ ไปใช้เป็นวิชาชีพได้ เช่น เป็นมัคคุเทศก์นำชาวกัมพูชา ชาวไทย และชาวต่างประเทศเข้าชมปราสาท อันเป็นการเพิ่มพูนรายได้อีกทางหนึ่ง
คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายน้อมรับพระราชกระแสใส่เกล้าฯ ไว้เป็นแนวทางดำเนินการด้วยความซาบซึ้งในครูพระองค์นี้ การดำเนินงานทำไปได้ช้าบ้างเร็วบ้าง แต่มุ่งหวังว่าจะพยายามดำเนินการจัดการศึกษาตามแนวพระราชดำริให้ประสบความสำเร็จให้จงได้ เพื่อประโยชน์สุขของชาวกัมพูชาเอง
สิ่งที่ควรบันทึกไว้ ณ ที่นี้อีกเรื่องหนึ่งคือ การระดมเงินเพื่อสมทบทุนสร้างโรงเรียนพระราชทานแห่งนี้ นอกจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงบอกบุญไปยังพระสหายชาวไทยและชาวต่างประเทศให้มาช่วยกันบริจาคสมทบแล้ว เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรจัดแสดงโขนหน้าจอ เรื่องรามเกียรติ์ ตอนอินทรชิตถูกศรกินนม ณ สังคีตศาลา เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ในรอบที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโขนร่วมกับประชาชนที่ซื้อบัตรเข้าชมตามปกตินั้น กรมศิลปากรได้นำรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนโครงการโรงเรียนพระราชทานนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ยังทรงระนาดเอกประกอบการแสดงโขนของกรมศิลปากร ตอนยกรบ ณ โรงละครแห่งชาติ โดยใช้เวลาในการแสดงทั้งหมดประมาณ ๓ ชั่วโมงเศษ ในครั้งนั้นกรมศิลปากรซึ่งเป็นผู้จัดการแสดงและผู้บัญชาการทหารบกผู้จัดจำหน่วยบัตรได้ร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวายเงินสมทบโครงการนี้เช่นกัน
พระราชอัจฉริยะภาพแลพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรแห่งประเทศไทยที่ทรงบรรเลงระนาดเอกร่วมกับเจ้านายวังปลายเนิน ประกอบการแสดงโขนของกรมศิลปากรในวันนั้นเป็นการยืนยันความตั้งพระทัยของพระองค์ที่ทรงมุ่งมั่นในการพระราชทานความช่วยเหลือโครงการนี้ และยังเป็นการชี้ให้ประจักษ์ถึงหิตานุหิตประโยชน์ของศิลปวัฒนธรรมที่ไม่ได้เป็นเพียงแต่การที่ทรงบันดาลปิติหฤหรรษ์แก่ประชาชนคนดูเท่านั้น แต่การทรงระนาดเอกครั้งนั้นยังเป็นจุดเริ่มต้นของการรณรงค์หารายได้สมทบทุนสำหรับสร้างโรงเรียนพระราชทานแห่งนี้ด้วย
ด้วยพระราชปณิธานที่มั่นคงในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลแห่งนี้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่เบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ ทรงมีพระราชปรารภที่จะพระราชทานของขวัญชิ้นเอกคือการศึกษาแก่ประชาชนชาวกัมพูชา ผู้รับสนองพระราชดำริชุดแรก คือ พลเอกวาภิรมย์ มนัสรังษี แห่งกรมราชองครักษ์ และพลโทวิชิต ยาทิพย์ (ยศขณะนั้น) ทั้งสองท่านได้สนองพระราชบัญชาโดยการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ตลอดมา
การพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ นั้น ได้ประจักษ์ผ่านพระราชกรณียกิจใหญ่น้อยหลายประการทั้งในราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ดังนี้
ครั้งที่ ๑
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพื้นที่ที่จะพระราชทานโรงเรียน
ครั้งที่ ๒
เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชาทานฯ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เพื่อถวายรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานและขอพระราชทานวินิจฉยในการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ราชอาณาจักรกัมพูชา
ครั้งที่ ๓
เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานลงนามในพิธีสารฯ ว่าด้วยการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา ครั้งที่ ๑ คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท
ครั้งที่ ๔
เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระราชทาน หรือวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล อำเภอปราสาทช็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม
ครั้งที่ ๕
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้บริหารและครูโรงเรียนพระราชทานจำนวน ๔๖ คน เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อรับพระราชทานวุฒิบัตรการฝึกอบรมในโครงการเตรียมความพร้อมบุคลากรของโรงเรียนพระราชทาน ตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา (ระยะที่ ๑) รุ่นที่ ๑ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคลากรรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของโรงเรียนเข้ามารับการฝึกอบรมระหว่างวันที่ ๘-๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔
ครั้งที่ ๖
เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมและติดตามการก่อสร้างอาคารเรียนในวันนั้นได้พระราชทานสนามกีฬา เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฯลฯ แก่ผู้แทนราชอาณาจักรกัมพูชา
ครั้งที่ ๗
เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโขนหน้าจอ ตอนอินทรชิตถูกศรกินนมซึ่งกรมศิลปากรจัดถวายฯ และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินสมทบโครงการโรงเรียนพระราชทาน ณ สังคีตศาลา กรมศิลปากร
ครั้งที่ ๘
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้บริหารและครูจากราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งผ่านการอบรมในโครงการเตรียมความพร้อมบุคลากรของโรงเรียนพระราชทาน (หลักสูตรขั้นพื้นฐานและหลักสูตรขั้นสูงรุ่นที่ ๒) เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เพื่อรับพระราชทานวุฒิบัตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา
ครั้งที่ ๙
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๕ เสด็จพระราชดำเนินทรงติดตามความก้วหน้าในการดำเนินงานโรงเรียนพระราชทาน
ครั้งที่ ๑๐
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณร่วมบรรเลงระนาดเอกประกอบการแสดงโขนของกรมศิลปากร ตอนยกรบ ณ โรงละครแห่งชาติ งานนี้กองทัพบกได้จัดจำหน่ายบัตรเพื่อนำรายได้ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบโครงการโรงเรียนพระราชทาน
ครั้งที่ ๑๑
เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๕ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานลงนามสนพิธีสารแก้ไขความตกลงโคงการระหว่างการทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬา แห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับกรมราชองครักษ์แห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งโรงเรียนปราสาทช็อมโบร์ คณะกรรมการโครงการพระราชทานฯ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท
ครั้งที่ ๑๒
เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้บริหารและครูจากราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งผ่านการอบรม ตามหลักสูตรโครงการเตรียมความพร้อมบุคลากรขั้นพื้นฐานและขั้นสูง จำนวน ๖๐ คน เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท เพื่อรับพระราชทานวุฒิบัตร ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา
ครั้งที่ ๑๓
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๘ คณะกรรมการฝ่ายไทยได้นำนักเรียนทุนพระราชทานทั้ง ๑๒ คน เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วังสระปทุม เพื่อรับพระราชทานพระราโชวาทก่อนที่จะแยกย้ายไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดศรีสะเกษในวันนั้น ฯพณฯ นายปก ทอน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬาและคณะได้ร่วมเข้าเฝ้าฯ ด้วย
ครั้งที่ ๑๔
เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๘ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีสารแก้ไขความตกลงโครงการและพิธีสาร ค.ศ.๒๐๐๒ ระหว่างกรมราชองครักษ์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนและกีฬาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งและพัฒนาวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา คณะกรรมการโครงการโรงเรียนพระราชทานฯ ทั้งฝ่ายไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท
ครั้งที่ ๑๕
เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลตามโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาด้านการศึกษา
พระราชทานความช่วยเหลือตามโครงการนี้กล่าวได้ว่า เป็นการพระราชทานการศึกษาทั้งระบบ ทุกคนอาจจะเข้าใจว่าเริ่มต้นจากการก่อสร้างอาคารเรียน พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ พระราชทานคณะกรรมการฝ่ายไทยให้มาร่วมจัดการศึกษาเท่านั้น อันที่จริงแล้วยังได้พระราชทานแนวพระราชดำริอย่างครูใหญ่ของโครงการที่ทรงคอยอุ้มชูดูแลให้อยู่ในทิศทางที่พึงจะเป็น และยังทรงเป็นแม่กองในการรณรงค์หารายได้สมทบทุนสำหรับสร้างโรงเรียนแห่งนี้ด้วยพระองค์เอง
รูปแบบการแสดงละครผู้ชาย
โดย ประเมษฐ์ บุณยะชัย
ละครผู้ชาย เป็นละครของเจ้านายหรือขุนนาง ตลอดจนผู้มีบรรดาศักดิ์ต่างๆ ซึ่งต้องการที่จะนำเรื่อง ละครใน โดยเฉพาะเรื่อง อิเหนา มาจัดแสดงตามจารีตประเพณีที่เป็นข้อยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ละครในที่ใช้ผู้หญิงแสดงจะมีได้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น แม้แต่พระบรมวงศ์ ในระดับเจ้าฟ้า มหาอุปราช ก็มิสามารถมีขึ้นได้ ดังจะเห็นหลักฐานในพงศาวดารในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ให้หัดเด็กหญิงไว้แสดงละคร ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ทรงกริ้วและมีพระราชดำรัสห้ามเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร จึงต้องทรงเลิก ด้วยเหตุนี้ เจ้านายจึงทรงเลี่ยงจารีตประเพณี โดยการหัดผู้ชายให้เล่นละครใน เรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีตัวเอกเป็นเพียงเจ้าชาย เพื่อให้เหมาะสมกับพระฐานะซึ่งเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ตัวเอกเป็นกษัตริย์
ประวัติของละครผู้ชาย เรื่อง อิเหนา นั้น มีหลักฐานว่า เกิดจากเจ้านาย ๓ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งต่อมาได้เฉลิงฉวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ ๒ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ต้นราชสกุลเทพหัสดินทร์ และเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ต้นราชสกุลมนตรีกุล ทั้งสองพระองค์เป็นพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๑
ตัวละครที่เป็นตัวละครชั้นครู ในสำนักนี้มีชื่อกล่าวไว้ในหนังสือตำนานละครอิเหนาพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า
"นายทองอยู่" เป็นตัวอิเหนาละครเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ต่อมาได้เป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้นำแบบอย่างวิธีรำของเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีไปหัดละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ ครั้งถึงรัชกาลที่ ๓ ได้เป็นครูละครในที่ฝึกหัดกันขึ้นแทบทุกโรง นายทองอยู่ชำนาญทั้งแต่งกลอนและขับเสภาได้ดี จึงนับได้ว่านายทองอยู่เป็นครูเสภาด้วยอีกอย่างหนึ่ง
"นายรุ่ง" เป็นตัวนางเอกละครเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ต่อมาได้เป็นครูนางอย่างเดียวกับนายทองอยู่ เป็นครูยืนเครื่อง เป็นครูคู่กันมาแต่ในรัชกาลที่ ๒ จนรัชกาลที่ ๓ (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ.๓๓๗:๒๕๔๖)
นายทองอยู่ และนายรุ่ง ทั้งสองท่านนี้ ในหนังสือตำนานละครอิเหนาได้กล่าวว่า ท่านได้เป็นครูละครหลวง ในรัชกาลที่ ๒
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือเป็นยุคทองแห่งนาฏศิลป์ไทยด้วยเหตุที่พระองค์ท่านโปรดปรานการกวี และนาฏกรรมทุกแขนง ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงมีละครผู้ชายในสังกัด ต่อมาเมื่อเสวยราชสมบัติ จังได้ตั้งคณะละครหลวง เพื่อประกอบพระอิสริยยศเป็นมหรสพสำหรับแผ่นดิน เป็นที่ยกย่องไปทั่วนานาประเทศราชทั้งปวง คณะละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ ได้ครูท่านสำคัญในคณะของเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ซึ่งต่อมาตกทอดมรดกมาถึงเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระอนุชา ครูทองอยู่ ครูรุ่งนี้ได้เข้ามาเป็นครูละครหลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา เพื่อให้เหมาะสมกับวิธีการแสดง จึงพระราชนิพนธ์บทให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ครูทองอยู่ ครูรุ่ง ร่วมกันคิดกระบวนท่ารำให้เหมาะสมกับบทพระราชนิพนธ์ เมื่อติดขัดหรือควรปรับปรุงอย่างไร ก็นำขึ้นกราบบังคมทูล ทรงร่วมกันแก้ไขจนเป็นที่ยุติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้หัดละครหลวงใช้แสดงเป็นแบบแผนสืบมา
ถึงแม้ว่าละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ จะมีชื่อเสียงมาก แต่ตามวังเจ้านาย บ้านข้าราชการผู้ใหญ่ก็น่าเชื่อว่าละครผู้ชายยังคงมีอยู่ ดังที่ปรากฎหลักฐานในรัชกาลต่อมา
บรรดาตัวละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ ที่เชื่อว่าเป็นศิลย์ของเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ครูทองอยู่ ครูรุ่ง ที่มีชื่อเสียงและได้เป็นครูละครหลวงใรรชกาลที่ ๔ ต่อมาคือ เจ้าจอมมารดาแย้ม(อิเหนา) คุณเอี่ยม (บุษบา) คุณมาลัย เป็นตัวย่าหรันและพระสังข์ ต่อมาได้เป็นท้าววรจันทร์ในรัชกาลที่ ๔ และเลื่อนเป็นท้าววรคณานันท์ในรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้อำนวยการละครหลวงในรัชกาลที่ ๔-๕ ครูขำ(เงาะ) คุณภู่(หนุมาน) คุณองุ่น(สีดา) และผู้อื่นอีกหลายท่าน สามารถหารายละเอียดได้จากหนังสือตำนานละครอิเหนา
เจ้าจอมมารดาแย้ม(อิเหนา) หรือคุณโตแย้ม นี้นับได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญยิ่ง ด้วยเหตุที่ท่านได้เป็นครูของศิลย์ที่มีชื่อเสียงยิ่ง คือ ท้าววรจันทร์ฯ หรือเจ้าจอมมารดาวาด(อิเหนา) ในรัชากลที่ ๔ เจ้าจอมมารดาเขียน(อิเหนา) ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูให้กับคณะละครวังสวนกุหลาบและมีศิลย์ที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ที่วางรากฐานการเรียนการสอน ตลอดจนรูปแบบการแสดง ตามแนวละครหลวงให้กับกรมศิลปากรต่อมาถึงปัจจุบัน คือ คุณครูลมุล ยมะคุปต์ คุณครูน้อม ประจายกฤต คุณครูเฉลย ศุขวณิช และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ดังนั้นจังเป็นหลักฐานได้ว่ารุปแบบละครหลวงที่ใช้ผู้หญิงแสดงของกรมศิลปากร ในปัจจุบันเป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจากละครหลวงในรัชกาลที่ ๒ อย่างชัดเจน และเชื่อได้ว่า "ละครผู้ชาย" ซึ่งมีตัวละครที่เป็นครู คือ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์สนตรี ครูทองอยู่ ครูรุ่งซึ่งเป็นครูละครหลวงรัชกาลที่ ๒ ได้ถ่ายทอดกระบวนท่า วิธีแสดงให้ปรากฎอยู่ในละครหลวงสืบมาแต่ครั้งนั้นเช่นกัน
ส่วนของละครผู้ชาย ในรัชกาลที่ ๓ ไม่มีละครหลวง ตัวละครครั้งรัชกาลที่ ๓ ที่เป็นครู ต่อมาจึงใช้ผู้ชายเป็นพื้น มีชื่อเสียงปรากฎหลายท่าน เช่น นายเกษ(พระราม) นายขุนทอง(อิเหนา) นายทองอยู่(พระลักษมณ์) นายน้อย(สังคามาระตา) นายทับ(ส่าสำ) นายบัว(อิเหนา) นายนิ้ม(อิเหนา) นายแสง(พระ) นายพ่วง(เงาะ) นายแจ้ง(มโหธร) นายเมือง(บุษบา) นางเพ็ง(วิยะดา) นายมั่ง(บุษบา) นายผึ้ง(วิยะดา) นายเกลื่อน(นาง) นายอ่ำ(นาง) นายฟ้อน(นาง) ตัวละครผู้ชายเหล่านี้ ได้เป็นครูละครในคณะต่างงๆ ที่อยู่ในสังกัดเจ้านายและขุนนาง บางท่านได้ไปเป็นครูถึงราชสำนักกัมพูชา นับได้ว่ากระบวนท่ารำ ตลอดจนรูปแบบการแสดงละครผู้ชายได้แพร่หลายออกไปทั้งบ้านทั้งเมือง และเมื่อเริ่มฟื้นฟูจัดตั้งละครหลวงขึ้นใหม่ ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นการฟื้นฟูประเพณีให้มีละครหลวง เป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ก็ได้ครูผู้ชาย ให้เข้าไปถ่ายทอดท่ารำให้แก่คณะละครหลวง ดังปรากฎหลักฐานในประวัติคุณท้าววรจันทรบรมธรรมิกภักดี(เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔) ซึ่งพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพฤฒิยลาภฯ นิพนธ์ขึ้นเพื่อสนองพระคุณคุณย่า สรุปเนื้อความว่า
เมื่อเจ้าจอมมารดาวาด ได้ถวายตัวเป็นละครหลวง ในรัชกาลที่ ๔ แล้ว ท่านเป็นศิลย์ของเจ้าจอมมารดาแย้ม ในรัชกาลที่ ๒ ครั้งหนึ่ง คุณครูเจ้าจอมมารดาแย้มป่วย เจ้าจอมมารดาวาดผู้เป็นศิษย์ได้ออกไปเยี่ยม พอดีกับครูบัว(อิเหนา) ตัวละครผู้ชายได้มาเยี่ยมเช่นกัน เจ้าจอมมารดาแย้มจึงขอให้ครูบัวช่วยต่อท่ารำให้ (ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นกระบวนท่าสำคัญชุดใดชุดหนึ่ง เช่น เชิดฉิ่งตัดดอกไม้ฉายกริช หรือรำกริชบวงสรวงฯ) หลังจากนั้นเมื่อเจ้าจอมมารดาวาดกลับเข้าวัง ได้เล่นละครถวายจนเป็นที่โปรดปราณ ก็มีเสียงค่อนแคะว่า "เพราะไปให้ผู้ชายสอนมา" จึงมีการสอบสวน เจ้าจอมมารดาแย้ม จึงได้รับโทษในฐานนะรู้เห็นเป็นใจ ซึ่งเป็นการผิดจารีต ด้วยเหตุที่นางในที่ถวายตัวไม่สามารถจะคบหากับชายใดได้ ยิ่งเป็นการสอนรำที่จะต้องถูกเนื้อต้องตัว ยิ่งผิดมหันต์ เจ้าจอมมารดาแย้ม ต้องรับโทษขังสนม ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงคราวที่เจ้าจอมมารดาวาด จะต้องออกแสดงละครถวายตัวหน้าพระที่นั่ง ผู้แสดงท่านอื่นๆล่วนมีครูคอยกำกับดูแล แต่ครูของท่านครูต้องถูกขังสนม ขณะที่ร่ายรำถวายตัวอยู่นั้น ท่านก็หวนคิด ไม่สามารถกลั้นความรู้สึกไว้ได้ จึงร้องไห้ออกมาเสียกลางโรง ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ จึงได้สอบถามกันวุ่นไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงทราบเรื่องโดยตลอด จึงพระราชทานอภัยโทษให้เจ้าจอมมารดาแย้มและแต่นั้นมาครูบัวก็ได้เข้าไปเป็นครูละครหลวง
จากเรื่องราวนี้ น่าจะเป็นข้อยืนยันได้ว่า ละครผู้ชาย มีส่วนเข้าไปปะปนกับรูปแบบละครหลวง ในรัชกาลที่ ๔ จากนั้นครูละครหลวงรัชกาลที่ ๔ ได้มาเป็นครูละครหลวง รัชกาลที่ ๕ ในตอนต้นรัชกาล และได้มาเป็นครูคณะละครวังสวนกุหลาบ ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา และเป็นต้นแบบให้กับกรมศิลปากรในปัจจุบัน
ประการหนึ่ง นอกจากครูละครหลวง ในรัชกาลที่ ๔ ได้เข้ามาเป็นครูละครวังสวนกุหลาบแล้ว ยังมีครูละครวังหน้า (เชื่อว่าน่าจะเป็นละครเจ้าคุณมารดาเอม) คือ หม่อมครูอึ่ง หสิตเสน และหม่อมครูนุ่ม นวรัตน์ ณ อยุธยา ซึ่งได้เข้าไปเป็นครูผู้วางรากฐานให้กับคณะละครวังสวนกุหลาบ ละครเจ้าคุณจอมมารดาเอมนี้ นิยมแสดงตามรูปแบบละครหลวง เป็นต้น(สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ.๒๕๔๖:๓๗๘)
ที่กล่าวถึงประวัติความเป็นมา และความเกี่ยวข้องระหว่างละครผู้ชายกับละครหลวง ซึ่งมีความปะปนในส่วนของตัวครูผู้ถ่ายทอด ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อได้ว่า กระบวนท่ารำ วิธีการแสดงของละครผู้ชายได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของละครหลวง อันเป็นต้นแบบของละครในเรื่องอิเหนา ถึงแม้ว่าในปัจจุบันละครในเรื่องอิเหนา มักนิยมตามรูปแบบละครหลวง โดยนิยมใช้ผู้หญิงแสดงตามประเพณีของละครหลวง แต่กระบวนท่ารำ และวิธีแสดงไม่สามารถแยกออกมาได้ว่า ส่วนใดเป็นละครหลวง ส่วนใดเป็นละครผู้ชาย
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการรื้อฟื้นละครผู้ชาย ที่แสดงเรื่องอิเหนาขึ้น จึงได้กำหนดรูปแบบการแสดงไว้ดังนี้
บทที่ใช้แสดง
ได้ดำเนินตามบทพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ เป็นสำคัญ และเนื่องจากไม่ปรากฎหลักฐานของบทที่ใช้แสดงจริงในครั้งนั้น จึงจำเป็นต้องปรับบท ในลักษณะวิธีตัดต่อให้เหมาะสมกับเวลา โดยยังคงจารีตประเพณีการแสดงละครหลวงไว้ค่อนข้างครบถ้วนในตอนต้น เช่น การตั้งตัวละครด้วยเพลงรื้อร่าย การอ่านสารด้วยเพลงเอกบท การดำเนินเรื่องด้วยร่ายตามแบบแผนละครในแบบเก่า เพราะในหนังสือตำนานละครอิเหนา ว่า
"กระบวนร้องช้าในร้องแต่บางบท ซึ่งจะเห็นเป็นบทสำคัญ กล่าวกันว่าแต่เดิมเป็นแต่ร้องเข้ากับปี่หรือเข้ากับโทน ดังบอกไว้ข้างหน้าบท หาได้รับปี่พาทย์ทั้งวงไม่ ถึงละครหลวงเมื่อรัชกาลที่ ๒ ก็ว่ไม่โปรดให้ร้องรับปี่พาทย์ทั้งวง เห็นจะเป็นด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าหาให้ละครรำเยิ่นเย้อไปการที่ละครร้องรับปี่พาทย์ทั้งวงว่ามักเกิดขึ้นใหม่ในสมัยเมื่อเล่นปี่พาทย์กันมามีชุกชุมขึ้นต่อในรัชกาลที่ ๔ และ ๕"(สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ.๒๕๔๖:๒๔๙)
ในส่วนตอนกลางและท้าย(ตอนเข้าหาลานางจินตะหรา) เนื่องจากรูปแบบละครหลวง ได้มีการปรับปรุงกระบวนรำและการบรรจุเพลงซึ่งเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้แสดงและผู้ชม จนเป็นเอกลักษณ์ไปเสียแล้ว เช่น บทตัดพ้อของนางจินตะหรา ซึ่งขึ้นต้นว่า "โอ้ว่าอนิจจาความรัก เพิ่งประจักษ์ดังสายน้ำไหล" นิยมขับร้องด้วบเพลงแขกหวน ซึ่งเป็นการสืบทอดมาแต่คณะละครวังสวนกุหลาบ อันเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นหลังรัชกาลที่ ๕ คือ การร้องรับปี่พาทย์ทั้งวง นอกจากนี้ยังได้บรรจุเพลงชนิดที่ใช้ปี่พาทย์รับทั้งวงอีกหลายเพลง ทั้งนี้จุดประสงค์เพื่อให้เห็นพัฒนาการของการแสดงละครผู้ชาย อันเป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นแบบแผนให้กับละครหลวง
วงปี่พาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดง
วงปี่พาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานถึงวงปี่พาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงไว้ในหนังสือตำนานเรื่องละครอิเหนา สรุปได้ว่า ปี่พาทย์ประกอบการแสดงโขนละครแต่เดิมมา ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ซึ่งเป็นการเลียนแบบจากปี่พาทย์ของละครชาตรี ซึ่งเป็นละครดั้งเดิมมีเครื่องดนตรี ๕ สิ่ง ที่ผันแปรมาจากเบญจดุริยางค์ของเดิม
๑. สุสิรํ ปี่ คงอยู่ตามตำรา
๒. อาตตํ เปลี่ยนจาก ทับ(กลองชนิดหนึ่ง) เป็นระนาด
๓. วิตตํ ใช้ตะโพน คือ โทน ๒ หน้า
๔. อาตตวิตตํ กลอง คงอยู่ตามตำรา
๕. ฆนํ เปลี่ยน ฆ้องคู่ เป็นฆ้องวง
ปี่พาทย์เครื่องห้าที่ปรับปรุงจากปี่พาทย์ของละครชาตรีใช้สำหรับประกอบการแสดงโขนอยู่ก่อนละครนำมาใช้เมื่อภายหลัง ตามหลักฐานที่ว่าละคร(ใน) เกิดจากการที่ต้องการแสดงเป็นเรื่องเลียนแบบโขน ด้วยเหตุนที่เดิมนางในแสดงเฉพาะการร่ายรำประกอบการขับร้อง เป็นลักษณะการบำเรอพระเป็นเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ ต่อมาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงแสดงเป็นเรื่องเลียนแบบโขน โดยนำเรื่องที่โขนแสดง(รามเกียรติ์) มาแสดง คือ ชุดรามสูรเมขลา
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของวงปี่พาทย์ไว้ว่า
"ปี่พาทย์นั้นใช้เฉพาะเครื่องห้าสิ่งมาแต่ครั้งกรุงเก่าจนตลอดรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์นี้ เพิ่งมาจับเพิ่มเติมเครื่องปี่พาทย์ขึ้นเป็นเครื่องใหญ่ต่อเมื่อในรัชกาลที่ ๓ เข้าใจว่า เพราะเกิดเล่นเสภารับปี่พาทย์เป็นเหตุขึ้นก่อน"(สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ.๒๕๔๖:๒๔๘)
รูปแบบการแต่งกาย
จากการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ พบว่าการแต่งกายโขน ละคร มีข้อกำหนดไว้ใน "กฎหมายตราสามดวง" ประกาศไว้เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีขาล ฉศก ๑๑๕๖(พ.ศ.๒๓๓๗) ว่า
"เจ้าต่างกรมเลข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้รั้งเมือง ผู้รั้งกรมการช่างโขนช่างละครทุกวันนี้ แต่งยืนเครื่อง แต่งนาง ย่อมทำมงกุฏ ชฎา ชายไหว ชายแครง กรรเจียกจร ดอกไม้ทัด นุ่งโจงไว้หางหงส์ ต้องอย่างเครื่องต้นอยู่ไม่ควรหนักหนากำหนดให้แต่งยืนเครื่อง นุ่งผ้าตีปีก ผ้าจีบโจงอย่างโขนก็ตาม แต่งตัวนาง แต่รัดเกล้าอย่าให้มีกรรเจียกจร ดอกไม้ทัด"(กฎหมายตราสามดวง,๒๕๐๘เล่ม๓:๒๘๒-๒๘๓)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลักฐานมากมายที่เกี่ยวข้องกับงานพัสตราภรณ์ ศิราภรณ์ ถนิมพิมพาภรณ์ เครื่องแต่งกายโขนละคร เช่น ข้อกำหนดเรื่องเครื่องแต่งกายโขน ละคร ที่มีการห้ามใส่รัดเกล้ายอด การใช้ถนิมพิมพาภรณ์(เครื่องประดับ) ที่ทำด้วยทองลงยา ประกฎบนภาพถ่ายโบราณที่เกี่ยวกับโขน ละคร จึงเชื่อกันว่าเป็นภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเกิดมีภาพถ่ายเป็นครั้งแรกของไทย สิ่งที่เป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานว่าเป็นภาพละคร ในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ คือ ตัวละครตัวนางในภาพถ่าย เป็นการสวมใส่รัดเกล้าเปลวทั้งสิ้นในส่วนพัสตราภรณ์ที่เป็นเสื้อผ้านั้น ปรากฎว่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนิยมใช้ผ้าที่มีลวดลายในตัว เช่น ผ้าตาด ผ้าอัตลัด ผ้ายกทอง ในการประดิษฐ์เป็นห้อยหน้า(ชายไหว) เชิงผ้าห้อยข้าว(ชายแครง) วิธีปักพบว่าเป็นการปักด้วยเลื่อม แผ่นแล่งที่พับเป็นนมสาว ไหมทองปักเป็นลวดลายเล็กๆ เป็นรูปต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ บางครั้งปักเป็นรูปกระถางต้นไม้มีดอก และลายเครือเถาตามส่วนต่างๆ ของเครื่องแต่งกาย
เปิดม่านนางอัปสรา
ฉากหลังของตัวปราสาทอันเก่าแก่ ถูกโอบล้อมไปด้วยแสงสี ที่ชุบชีวิตของผู้คนในอดีต ให้กลับมาบอกเล่าเรื่องราวเมื่อครั้งก่อน
ให้ปรากฏแก่สายตานับร้อยคู่ ที่จดจ่ออยู่กับ การแสดงชุด 'The Legend of Angkor Wat, When History Comes to Life' ที่ บริษัท บายอน ซีเอ็มออร์กาไนเซอร์ จำกัด จัดแสดงขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ถึงตำนานแห่งมหานครอันศักดิ์สิทธิ์ หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
โดยมีการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับตำนานประวัติศาสตร์ ความเชื่อและความศรัทธาแห่งนครวัด ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างอาณาจักรเขมรอันยิ่งใหญ่ จนถึงช่วงสร้างนครวัด ฟื้นตำนานกำเนิดอัปสรา นางสวรรค์แห่งการกวนเกษียรสมุทรของวิษณุเทพ กับเหล่าเทพและอสูร ด้วยเทคโนโลยีแสงสีเสียง และนักแสดงจากกรมศิลป ของกระทรวงอัปสรา ประเทศกัมพูชาที่มาร่วมแสดงกว่า 100 คน
"ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิตของผมเลยก็ได้ครับ" คำบอกเล่าจากใบหน้าเปื้อนยิ้มของ เปรียง เชียง (Prdeung Chhieng) ผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป์แห่งเสียมเรียบที่เข้ามานั่งแท่นผู้กำกับใหญ่ในปีนี้
หลังม่าน...
"เราใช้นักแสดงชาวกัมพูชาทั้งหมดจากสถาบันด้านการแสดงที่มีชื่อเสียงของเสียมเรียบ" เปรียงอธิบาย
นักแสดงกว่า 150 ชีวิต ร่วมกับดาราระดับแม่เหล็กของกัมพูชาอย่าง เทพริน ดาโล, โลก รายบันยุทธ และโลกกลม สุธี เพื่อถ่ายทอดมหากาพย์จากอารยธรรมโบราณ แต่ก่อนจะกลายเป็นตำนานอันยิ่งใหญ่ออกสู่สายตานักท่องเที่ยว หมายถึงการทำงานอย่างต่อเนื่องของคนเบื้องหลัง สิ่งแรกที่เปรียงคิดถึงหลังรู้ว่าจะทำงานนี้ก็คือ ข้อมูล และจินตนาการ
"แทบในทันที ผมคิดถึงสิ่งที่ผมได้สั่งสมมา ทั้งความรู้จากชั้นเรียน ทั้งประสบการณ์ในการแสดงรวมถึงการที่ได้ซึมซับศิลปวัฒนธรรม และประเพณีความเชื่อจากประเทศต่างๆ ในระแวกอุษาคเนย์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันมานานแล้ว"
จากความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏอยู่ เปรียง ใช้เวลากว่า 1 ปีเพื่อทำให้ 'ภาพ' ที่อยู่ในหัวของเขากลายเป็น 'วัตถุดิบ' ที่นำมาใช้บนเวทีได้
"ก่อนจะมาเริ่มต้นกำกับ ผมได้ไปสำรวจการแสดงรูปแบบนี้จากที่ต่างๆ รวมทั้งอ่านประวัติศาสตร์สมัยโบราณ หลักฐานจากภาพแกะสลัก หลายๆ อย่าง นอกเหนือจากเอกสาร ในการทำงานเรามีนักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ชาวเขมรหลายคนมาช่วย ใช้เวลาเตรียมข้อมูลประมาณ 1 ปี เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความสำคัญที่เราจะต้องถ่ายทอดออกมาให้ถูกต้อง และครอบคลุมทุกมิติ แม้เอกสารประวัติศาสตร์เขมรขาดหายเยอะ แต่เรามีสิ่งที่สามารถค้นข้อมูลได้จากตัวปราสาทต่างๆ จากจารึก หรือสลัก ที่บอกให้เรารู้ แม้จะไม่ได้รับข้อมูลเต็ม 100 แต่เราก็สามารถจิตนาการให้ใกล้เคียงได้
มันก็เลยกลายเป็นความยากไปด้วย (ยิ้ม) เราต้องดูว่าภาพแกะสลักที่อยู่รอบๆ ตัวปราสาทมีลักษณะอย่างไร และเมื่อเวลาเราสั่งให้คนแสดง ต้องมาจิตนการว่าจะมีอากัปกิริยายังไง เพื่อให้ใกล้เคียงกันที่สุด ตอนที่เราเดินดูขบวนทัพ แล้วมีธง เราก็ไม่รู้ว่าธงสีอะไร สีที่เรานำมาใช้จึงเป็นการตกแต่งขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสม"
ในส่วนนี้ยังหมายถึงความระมัดระวังที่ต้องมีตลอดการทำงาน เปรียงให้เหตุผลว่า เพราะประวัติศาสตร์หากถ่ายทอดผิดก็จะทำให้คนรุ่นต่อไปเข้าใจคลาดเคลื่อน ดังนั้นต้องพยายามถ่ายทอดให้ตรงตามข้อมูล
"มันจึงค่อนข้างลำบากตรงศิลปิน เพราะเราไม่รู้ว่าสมัยนั้นคนจะมีสภาพยังไง เราทำได้คือแสดงหรือจิตนาการตามข้อมูลที่ได้รับมาเท่านั้น" เขายอมรับ
หน้าม่าน...
หลังดวงตะวันลับขอบฟ้า นครวัดก็กลายเป็นเงาร่างในความมืด ก่อนสุกสกาวด้วยแสงสีจากการแสดงบนเวทีด้านทิศตะวันตก เรียงร้อยเรื่องราวของนักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาเพื่อค้นหาอารยธรรมที่สาปสูญ จนพลัดหลงเข้าไปในห้วงมิติเวลาเพื่อพบกับนางอัปสราถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของอดีตกาลให้รับรู้
ตลอดระยะเวลาราว 1 ชั่วโมงถูกถ่ายทอดด้วยเทคนิคอันหลากหลาย การผสมผสานการร่ายรำแบบโบราณกับสื่อการแสดงสมัยใหม่ เป็นความตั้งใจแรกๆ ของ เปรียงที่ต้องการจะ 'โชว์ของดี' ของเขมรให้แขกผู้มาเยือนได้รู้จัก
"มันเป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะโบราณ ประเพณี หนังใหญ่ และการเต้นร่วมสมัย ในความคิดผมอยากให้ภาพที่ออกมามีลัษณะเหมือนภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ขณะที่มีรสชาติหลากหลายอย่างสำรับกับข้าว"
เขาเล่าต่อไปว่า ความเชื่อมโยงระหว่างยุคสมัยยังถูกถ่ายทอดผ่านตัวละครที่ใช้ดำเนินเรื่อง อย่างตอนโชว์จะเห็นว่านักสำรวจเป็นตัวแทนของปัจจุบันไปแสดงร่วมกับนางอัปสราที่เป็นตัวแทนของอดีต
"ตรงนี้มันจึงมีความเชื่อมโยงระหว่างปัจจุบันกับอดีต เป็นส่วนผสมเหมือนกับศิลปวัฒนธรรมที่มีการถ่ายเทระหว่างกัน มีหลายๆ วัฒนธรรมมารวมกัน อย่างเช่นปราสาทนครวัด เขมรได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ขณะที่ชีวิตความเป็นอยู่ได้รับมาจากจีน บางคนอาจจะมองว่าการที่เราเอาเรื่องราวของการแสดงแขนงต่างๆ มาทำแบบนี้มันจะทำให้ศิลปะเดิมถูกบิดเบือนไปหรือเปล่า ผมบอกได้เลยว่า มันเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก เพราะแต่ไหนแต่ไรมาหน้าที่ของศิลปะก็มีอยู่แต่เดิมแล้วไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความรู้ การอบรมเกี่ยวกับศีลธรรม การถ่ายทอดออกไปสู่วงกว้าง และเพื่อความบันเทิง นี่ต่างหากที่จะอยู่คู่กับศิลปะเสมอ ดังนั้นสิ่งที่เราทำมันไม่ใช่แค่เรื่องบันเทิงอย่างเดียว ไม่ใช่แค่ความสนุก แต่มันทำให้เราได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้วย"
แม้นักท่องเที่ยวจะได้รับรู้ และทำความเข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของอารยธรรมขอมอย่างถูกต้องก็ตาม แต่คนใน อย่าง ชาวกัมพูชาเอง โฑอกาสในการเสพศิลปะแบบนี้มักถูกตั้งคำถามขึ้นมาเคียงคู่กันเสมอว่ามีมากแค่ไหน เปรียงเปิดเผยว่า ทีมงานจะมีการคัดชุดการแสดง บางชุดที่เป็นไฮไลท์เพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ของกัมพูชา ให้ชาวกัมพูชาทั่วไปได้มีโอกาสชมอย่างทั่วถึง
การเผยแพร่ที่มาพร้อมการอนุรักษ์ การผสมผสานดังกล่าวจะ 'ส่งผล' ต่อนาฏศิลป์สำคัญของเขมรขนาดไหน เรื่องนี้ ตัวเปรียงเองในกรอบของคนทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมมากว่า 10 ปี ยอมรับว่ามันอาจมีการกระทบบ้าง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาสถานการณ์บ้านเมืองที่เพิ่งมาสงบลงเมื่อไม่นานนี้
"เราก็ต้องพยายามหาสิ่งที่มันขาดหายไปเพื่อให้มันครบ ธรรมดาหน้าที่ของนักแสดงทำยังไงเพื่อให้มีสันติภาพเกิดขึ้นมา และทุกอย่างก็จะเจริญก้าวหน้าขึ้น แต่มันก็อยู่บนฐานของศิลปะสมัยโบราณ แล้วเอาส่วนตรงนั้นมา แก้ไขให้มีความเจริญตามยุคสมัย"
กับตัวนักแสดงเอง เขาบอกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่เวลาทำงานกับคนเยอะๆ ต้องมีปัญหาในการร่วมงานกันบ้าง แต่ ณ ที่สุดแล้ว ทุกอย่างก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
"เรายังมีจุดอ่อนอยู่เกี่ยวกับตัวนักแสดง บางคนยังไม่ค่อยมีประสบการณ์บนเวทีใหญ่ๆ อีกทั้งบุคลากรด้านการแสดงของเขมรเอง แม้คนรุ่นใหม่จะให้ความสนใจเยอะ แต่ระดับที่จะมาออกงานได้ยังมีน้อยอยู่ ตอนนี้ยังถือว่าขาดแคลนอยู่มาก แม้รัฐบาลจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่มาโดยตลอด แต่เราก็ยังพบว่าศิลปินยังมีความเป็นอยู่ที่ลำบากอยู่"
นอกจากนั้นยังรวมถึงความสามารถที่ยังมีขีดจำกัด แต่เปรียงก็ยังไม่ละทิ้งความหวังถึงวันข้างหน้าที่จะมีการสืบสาน และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น