Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ระบบนิเวศป่าชายเล1

ระบบนิเวศป่าชายเลน


1.ระบบนิเวศป่าชายเลน โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลน
มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้1.โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลน โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลนมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
     1.1 ผู้ผลิต (producer) คือ พวกที่สร้างอินทรีย์สาร
โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้แก่ แพลงตอนพืช สาหร่าย และพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆในป่าชายเลน

http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/mangrove/factor/ecology/image001.jpg

 

1.2 ผู้บริโภค (consumers) สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
         1) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินอินทรีย์สาร ได้แก่  สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพวกหอยฝาเดียว รวมไป ถึงพวกปลาบางชนิด

         2) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินพืชโดยตรง  พวกนี้จะกินทั้งพืชโดยตรง เช่นแพลงตอน  สัตว์ปู ไส้เดือนทะเล  และปลาบางชนิด เป็นต้น

         3) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินสัตว์ ซึ่งรวมถึงพวกกินสัตว์ระดับแรก
หรือระดับต่ำได้แก่ พวกกุ้ง ปู ปลา ขนาดเล็ก และพวกนกกินปลาบางชนิด ส่วนพวกกินสัตว์ระดับสูงสุดหรือยอด ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่

นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์นั่นเอง

         4) กลุ่มบริโภคกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ปลาบางชนิด แต่ส่วนใหญ่สัตว์กลุ่มนี้มักจะกินพืชมากกว่ากินสัตว์

 

http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/mangrove/factor/ecology/image002.jpg

1.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposers) ได้แก่ แบคทีเรีย รา และพวกคัสเตเชีย

 

 

 

 

2.ความสัมพันธ์ในแง่อาหารและการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลนในป่าชายเลน  

http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/mangrove/factor/ecology/image003.jpg

                 โซ่อาหารแบ่งออกได้เป็น2 แบบใหญ่ๆคือแบบแรกเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากพืชสีเขียวไปสู่สัตว์ชนิดอื่นในระดับอาหารต่างๆที่สูงกว่า ซึ่งเรียกว่า grazing food chainและแบบที่สองเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากอินทรีย์สารไปสู่สัตว์ชนิดอื่นๆในระดับอาหาารที่สูงกว่า เรียกว่า detrital food chain ความสัมพันธ์ในแง่อาหารหรือการหมุนเวียนของธาตุอาหารและการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม พอจะอธิบายเข้าใจได้ง่ายๆคือเริ่มแรกเมื่อพันธุ์พืชชนิดต่างๆที่อยู่ในป่าชายเลนได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง ทำให้เกิดอินทรีย์วัตถุและการเจริญเติบโตขึ้นโดยเรียกพวกนี้ว่า ผู้ผลิต ส่วนของต้นไม้โดยเฉพาะใบไม้ กิ่งไม้ และเศษไม้ นอกเหนือจากส่วนที่เป็นลำต้น ซึ่งมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและดิน และในที่สุดก็กลายเป็นแร่ธาตุอาหาของพวกจุลชีวัน หรือเรียกว่า ผู้บริโภค พวกผู้บริโภคจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและก็จะกลายเป็นอาหารของพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ หรือบางส่วนก็ตายและผุ
สลายตัวเป็นธาตุอาหรสะสมอยู่ในป่านั่นเอง และในขั้นสุดท้ายพวกกุ้ง ปู และปลาขนาดใหญ่ก็จะเป็นอาหารโปรตีนของพวกสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า และของพวกมนุษย์ ซึ่งถือเป็นอันดับสุดท้ายของลูกโซ่อาหาร หรือเป็นอันดับสูงสุดของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศนั่นเอง

3.ความสมดุลในระบบนิเวศสรรพสิ่งที่มีชีวิตต่างๆที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/mangrove/factor/ecology/image004.jpg 


        ล้วนแล้วแต่ถูกกำหนดให้ทุกอย่างสมดุลกัน ระบบนิเวศในป่าชายเลนก็เช่นเดียวกัน หากปราศจากการรบกวนของมนุษย์และภัยธรรมชาติ ที่มาคุกคามแล้ว สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็สามารถปรับให้เกิดความสมดุลของระบบได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันสภาพป่าชายเลนทั่วโลกได้ถูกรบกวนจากมนุษย์ทำให้สภาพป่าได้สูญเสียความสมดุล และเสื่อมโทรมลงไป การบุกรุกทำลายป่าเป็นประเด็นหลักในการรบกวนและทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรง นอกจากนี้การทำการเกษตร การทำเหมืองแร่ การขยายตัวของชุมชนการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนับเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในระบบนิเวศทั้งสิ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จะต้องมีการวางนโยบายที่ถูกต้องในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ให้มีอยู่อย่างสมบูรณ์ตลอดไป