การป้องกัน
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากคุณอ้วนให้รีบลดน้ำหนัก
- ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกอาหารมี่มีเกลือต่ำ
- ให้ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
- งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- จัดการเรื่องความเครียด
- รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
- การจะใช้ยาคุมกำเนิดต้องปรึกษาแพทย์
หลักการดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงได้ ที่สำคัญคือต้องงดบุหรี่
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่รักษาไม่หายซึ่งวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น และเป็นการป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นอีกด้วย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้โอกาสจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มี
โรคความดันโลหิต
จัดทำโดย
นางสาวธนาภรณ์ ผดุงสันต์
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)
นักศึกษาฝึกประสบการณ์ที่ โรงพยาบาลแวงใหญ่ อ.แวงใหญ่ จ. ขอนแก่น
ระหว่างวันที่ 16 มี.ค 52 ถึง 22 พ.ค 52
ความดันโลหิตสูง คือ แรงดันที่หัวใจบีบตัวไล่เลือดออกมาสู่หลอดเลือดแดง แรงดันเลือดของแต่ละคนแตกต่างกันไปตาม อายุ เพศ เชื้อชาติ น้ำหนัก ความเป็นอยู่ความอ้วนผอม และอาหารที่กิน สุขนิสัย จิตใจและอารมณ์
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
1.แบบไม่ทราบสาเหตุเป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุดกลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย
2.เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ
- โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
- เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
- โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
- การใช้ยาสเตียรอยด์
อาการของโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่
1. ปวดศีรษะ มักปวดบริเวณท้ายทอย จะเป็นในตอนเช้า ซึ่งจะพบใน คนที่มีความดันโลหิตสูงค่อนข้างรุนแรง
อาการปวดศีรษะจะหายไปได้เอง แต่ใช้ เวลาหลายชั่วโมง อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
ในสั่น เหนื่อยง่าย ความรู้สึกทางเพศลดลง
2. เลือดกำเดาออก
3. ปัสสาวะเป็นเลือด
4. ตาพร่ามัว
การรักษา
- ใช้ยาลดความดันโลหิต
- การลดปริมาณเกลือที่รับประทาน
- รับประทานผักผลไม้ให้มากๆ
- การควบคุมน้ำหนัก
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ