Custom Search

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การป้องกันคนในครอบครัว และโรงเรียน

การป้องกันคนในครอบครัว  และโรงเรียน

ควรปฏิบัติดังนี้

              1.  ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ  พิษภัย  และการระบาดของสารเสพติดแก่สมาชิกในครอบครัวและในโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

              2.  แนะนำ  ตักเตือน  ให้ความรู้แก่สมาชิกของตนให้เกิดความตระหนักถึงพิษภัยของสารเสพติด

              3.  สอดส่องดูแลสมาชิกของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

              4.  ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิกด้วยการสูบบุหรี่และสารเสพติดใดๆ

              5.  เป็นที่ปรึกษาที่ดีช่วยแก้ปัญหาแก่สมาชิก

              6.  ส่งเสริมให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

              7.  ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม

              8.  ป้องกันครอบครัว  ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือผู้ที่อยู่ร่วมกัน

การป้องกันชุมชน

              1.  ศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนที่อยู่อาศัย

              2.  สร้างค่านิยมใหม่ๆที่ดีให้กับสังคม

              3.  รับแต่ค่านิยมที่ดีๆและถูกต้อง

              4.  ตั้งกลุ่มหรือชมรมร่วมกันป้องกันและต่อต้านสารเสพติด

              5.  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยเหลือเพื่อนในชุมชนที่ทุกข์ยากละมีปัญหา

              6.  บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

มาตรการทางกฏหมายเกี่ยวกับสารเสพติด

              กำหนดให้ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวมีความคิดและต้องรับโทษ  มีรายละเอียดดังนี้

-  กำหนดให้ผู้ผลิต  ผู้นำเข้า  หรือผู้ขายสารระเหย  ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน  2  ปี  หรือปรับไม่เกิน 20,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

-  ห้ามให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกิน  17  ปี  ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน  1  ปี  หรือปรับไม่เกิน  10,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

-  ห้ามผู้ใดจงใจชักนำ  ยุยงส่งเสริม  หรือใช้อุบายหลอกลวงบุคคลอื่น  ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน  2 ปี  หรือปรับไม่เกิน  20,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

-  ห้ามไม่ให้ผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ  ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน  2  ปี  ปรับไม่เกิน  20,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

สถานที่ให้คำปรึกษาและแนะนำการบำบัดรักษาขั้นต้น

1.  สถานที่ให้คำปรึกษาแนะนำ

              สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

              -  สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

              -  สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย

              -  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามและป้องกันยาเสพติด

2.  สถานบำบัด

              -  โรงพยาบาลตำรวจ

              -  โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

              -  สถาบันธัญญารักษ์

              -  โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

              -  ศูนย์บริการสาธารณสุข

              -  โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง