Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

หลอดไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แสงสว่างมีความสำคัญต่อการดำรงค์ชีวิตมนุษย์ แบ่งได้ 3 ชนิด

1.หลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา

2.หลอดเรื่องแสง

3.หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์


1. หลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา(Incandescent Lamp)
หลอดไฟฟ้าแบบธรรมดาหรือหลอดอินแคนเดสเซนต์ เป็นหลอดชนิดที่ใช้ใส้หลอดเป็นตัวเเปล่งแสง
ไส้หลอดทำมาจากทังสเตนซึ่งมีจุดหลอมเหลวสูง เมื่ิิอได้รับความร้อนไส้หลอดจะร้อนแดงสว่างขึ้นมา
แต่มีข้อเสียคือ ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าตลอดเวลา จึงเป็นผลทำให้สิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้า ต้องจ่ายค้่าไฟฟ้ามากขึ้น
นอกจากนั้นไส้หลอดที่ทำมาจากทังสเตนเป็นโลหะจะทำปฏิกริยากับออกซิเจน ทำให้เกิดออกไซด์ ของโลหะ
ทีเรียกว่าสนิม ทำให้หลอดขาดเร็ว ดังนั้นหลอดธรรมมดาจึงทำให้หลอดเป็นสูญกาศ
และบรรจุก๊าซเฉื่อย(แก๊ซไนโตเจน และแก๊ซอาร์กอน) เพื่อป้องกันสนิมที่ไส้หลอดและยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น

 

คลิกขยายใหญ

 

แสดงวงจรการทำงานของหลอดแบบธรรมดา

 

วงจรแสดงการทำงานของหลอดแบบธรรมดา (คลิกขยายใหญ่

2.หลอดเรื่องแสง
   หลอดเรืองแสงหรือที่รู้จักกันในชื่อ หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluuorescent Lamp) มีองคค์ประกอบที่สำคุญคือ
2.1ตัวหลอด
2.2 สตาร์ทเตอร์
2.3 บัลลาสต์
2.1ตัวหลอด

2.1 ตัวหลอด

           มีลักษณะคล้ายกับหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา คือเป็นหลอดสูญญากาศ แต่งมีหลักการทำงาน
แตกต่างกันออกไป สีและแสงสว่างที่เห็นเกิดจากก๊าซที่เกิดจากก๊าซ ที่บรรจุเข้าไปข้างในหลอดไม่ได้เกิด
จากไส้หลอดเหมือนกับหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา ดังตาราง

ก็าซที่บรรจุในหลอด

สีของแสง

คาร์บอนไดออกไซด์

ขาว

ซีนอน

ฟ้า

นีออน

ส้ม

ฮีเลียม

ชมพู

คริปทอน

ม่วงอ่อน

อาร์กอน

ม่วงแก่

ไนโตรเจน

ม่วงแก่

ไล้หลอดเรืองแสง ทำหน้าที่เพียงกระตุ้นให้อิเล็คตรอนของก๊าซเฉื่อยเคลื่อนที่ชนสารที่เคลือบหลอด
ทำให้เกิดแสงสว่าง เมื่อเป่ลงแสงแล้วไส้หลอดต้องการกระแสไฟฟ้า เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ดังนั้นหลอดเรืองแสงจึงประหยัดไฟฟ้ามากกว่าแบบหลอดธรรมดา

2.2 สตาร์ทเตอร์

สตาร์ทเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในการจุดไส้หลอดให้ร้อน เพื่อให้อิเล็กตรอนวิ่งชน
ก๊าซ เฉื่อย หลังจากทำหน้าที่จุดไส้หลอดแล้วสตาร์ทเตอร์ก็จะตัดการทำงาน
เราสามารถถอดสตาร์ทเตอรณ์ออกได้ หลักการทำงสนของสาตรร์ทเตอร์
อาศัยหลักการขยายต้วของโลหะคู่เหมือนกับสวิตช์อัตโนมัติ

2.3 บัลลาสต์

บัลลสต์ หรือเรียกว่า Coke Coil ประกอบด้วยลวดทองแดงพนรอบแกนเหล็ก
แผ่นบางๆ วางเรียงซ้อนกันหลายแผ่น จะทำให้ให้เกิดการเหนี่ยวนำเมื่อมี
กระแสไหลผ่านหน้าที่ของบัลลาสต์ เพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้าขณะจุดไส้หลอด
และลดแรงเคลื่อนไฟฟ้าใหฟ้มีขนาดพอดีกับใส่หลอด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่
ไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินไป และทำให้กระแสไำฟฟ้าไหลคงที่
ดังนั้นในการเลือกซื้อบบัลลาสต์ต้องให้มีขนาดพอเหมาะมกับหลอดเรื่องแสง
เพื่อให้หลอดเรืองแสงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เช่นเมื่อเรา
ใช้หลอด 40 วัตต์เราก็ต้องเลือกซื้อบัลลาสต์40 วัตต์ด้วย

วงจรหลักการทำงานของหลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซ็นต์

การต่อวงจรและการทำงานของหลอเดฟลูออเรสเซ็นต์(คลิกขยายใหญ่)

 


ชนิดของหลอฟลูออเรสเซ็นต์

ภาพหลอดฟลูออเรสเซ็็นต์แบบต่างๆ

 

1. Perheat Lamp (PL) เป็นหลอดฟูลออเรสเซ็นต์ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันโดยมีอุปกรณ์ร่วมอยู่ด้วย
ในวงจรคือบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์เป็นตัวช่วยให้ใส่หลลอดร้อนขึ้นเพื่อให้
้อิเล็คตรอนวิ่งไปมาระหว่างช่วงอิเล็กโทรดหัวท้ายทำให้สารที่เลือบหลอดไว้
้เกิดการเรืองแสงหลอดแบบนี้อายุการใช้งาน นานกว่าหลอดแบบธรรมดา

หลอดPL

 

2.Trigger Staring Lamp (TSL) เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์กลม (Circline Lamp)หลอดที่ไม่มีสตาร์ทเตอร์
ทำหน้าที่จุดไส้หลอดให้ร้อนแต่อาศัยบัลลาสต์ในการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อเกิดแสงสว่าง
เป็นหลอดที่ใช้กำลังไฟฟ้าเพียง15-20วัตต์เท่านั้น
3.Rapid Staring Lamp (RSL) เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ ทีี่ีมีลักษณะคล้ายกับหลลอดTSL แต่มีคุณภาพ
ดีกว่า ไม่มีสตาร์ทเตอร์จุดไส้หลอดให้ร้อนแต่อาศัยบัลลาสต์ในการเหนี่ยวนำ ให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น
และเพิ่มอุปกรณ์พิเศษ คือ Heating Coil อยู่ในตัวเพื่อเพิ่มกระแสไฟฟ้าในการเริ่มทำงานครั้งแรก
4. Instant Staring Lamp(ISL)เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่ไม่มีสตาร์ตเตอร์ในการจุดใ้ส้่หลอดให้ร้อน
อีกชนิดหนึ่ง แต่มีบัลลาสต์ที่มีขดลวดสองชุดเหนี่ยวนำทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นเมื่อไส้หลอดร้อน
อิเล็คตรอน ก็จะวิ่งไปขั้วอีกข้างหนึ่งโดยอาศัยก๊าซเฉื่อยเป็นตัวนำจากนนั้นหลอดจะติดสว่างโดย
สารเรืองแสงที่ฉาบอยู่บนผิวหลอด
5.Simling Lamp(SL) เป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่รวมเอาข้อดีของหลอดISLและหลอดPL มารวมกัน
เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย ในการใช้งานเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยการทำหลอดแก้วให้ยาวบางขนาดเล็ก
มีลักษณะเป็นรูปตัว U โดยจะบรรจุอยู่ในหลอดแก้วอีกชั้นหนึ่งภายในประกอบด้วยบัลลาสต์และสตาร์ตเตอร์
หลอดแบบนี้จะให้แสงสว่างสูงกว่าหลอดใส้ที่มีขนาดวััตต์เท่ากัน เหมาะกับงานประดับตกแต่งหรือโชว์สินค้า
6.Compact Fluorescent Lamp (CFL) เปป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่มีรูปทรงแบบตัวใช้บัลลาสต์
ในการจุดไส้หลอดให้ร้อน แต่ไม่มีสตาร์ตเตอร์ นิยมนำมาใช้ประดับตู้โชว์สิน้ค้าโคมไฟฝังเพดาน
โคมไฟกิ่งในซอย

ก.หลอดCFL

ข.หลอดSL

 

แสดงวงจรหลอดเรืองแสงแบบประหยัดพลังงาน(คลิกขยายใหญ่)

 

พัดลม(Electric Fan)
พัดลมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เรานำมาใช้เมื่อรู้สึกร้อน พัดลมมีหลายแบบขนาด และมี รูปร่างแตกต่างกัน
แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต แต่ระบบการทำงานและส่วนประกอบของพัดลมเกลือบทุกชนิดคล้ายคลึงกัน

พัดลมตั้งพื้น

พัดลมตั้งโตะ๊

พัดลมติดพนัง

พัดลมเพดาน

พัดลมดูดอากาศ

ส่วนประกอบที่สำคัญของพัดลมมีดังนี้
1. มอเตอร์
2.ใบพัด
3.อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว
4.ออสซิลเลติ้ง แมคคานิซึม (Oscillating Mechanism)

ข้อบกพร่องของพัดลม
ส่วนประกอบของพัดลมที่เป็นส่วนประกอบที่ชำรุดมากที่สุดมีอยู่ 4 ประการคือ
1.พัดลมไม่ทำงาน
2.อุปกรณ์ควบคุมความเร็วไม่ทำงาน
3.พัดลมทำงานแต่มีเสียงดัง
4.ออสซิลเลติ้ง แมคคานิซึม (Osecillating Mechanism)ไม่ทำงาน

การแ้ก้ไข
1.พัดลมไม่ทำงาน การทำงานที่พัดลมไม่ทำงานอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้้
1.1เกิดจากใบพัดไม่หมุน ให้ตรวจแกนใบพัดที่สวมอยู่มีการขับสกรูแน่นมากไปหรือไม่หากขันสกรู
แน่นมากไปให้คลายสกรูออก แล้วทดลองหมุนใบพัดใหม่ ถ้าใบพัดหมุนได้คล่องแคล่วแสดงว่ามีสาเหตุ
มาจากากรขันสกรูแน่นมากไป
1.2ตลับลูกปืน ให้ตรวจรอยร้าว หรือรอยแตกของตลับลูกปืน ถ้าพบให้เปลี่ยนใหม่ก่อนทำการประกอบ
ควรทำความสะอาดและหยดนํ้ามัน เพื่อให้ตลับลูกปืนทำงานได้คล่องแคล่วดีขึ้น
1.3ปลั๊กเสียบหรือสายไฟขาด
1.4 ตรวจสอบการลัดวงจรภายในพัดลม โดยใช้โอห์มมิเตอร์ วัดที่ขาปลั๊กทั้งสองข้าง ถ้าเข็มของ
เครื่องไม่ขึ้นเลยหรือขึ้นไม่ถึง 0 แสดงว่าเกิดการลัดวงจร ถ้าเข็มของโอห์มมิเตอร์บอกค่าจำนวนโอห์มได้
แสดงว่าไม่เกิดการลัดวงจร
2.อุปกรณ์ควบคุมความเร็วไม่ทำงาน อุปกรณ์ที่ติดตั้้งไว้ใต้ฐานของเครื่องและสามารถถอดออกได้ง่าย
การตรวจสอบให้ดูที่จุดสัมผัสในสวิตช์และตรวจสอบการลัดวงจร โดยใช้โอห์มมิเตอร์ถ้าพบอุปกรณ์ชำรุด
หรือลัดวงจรให้เปลี่ยนใหม่ทันที
3.พัดลมทำงานแต่เสียงดัง เสียงที่เกิดจากพัดลมขณะที่พัดลมทำงาน อาจมีสาเหตุหลายประการ
เช่นใบพัดไม่สมดุล แก้ไขโดยการดัดใบพัดให้โค้งงอ โครงที่คลุมใบพัดเกิดการบุบ ขาด หรือยึดไม่แน่น
ก็ทำการแก้ไขให้เรียบร้อย หรรรืออาจเกิดจากตลับลูกปืนภายในพัดลมหลวมแก้ไขโดย
การเปลี่ยนตลับลูกปืนใหม่ และหยดนํ้ามันให้เรียบร้อย
4.ออสซิลเลติ้งแมคคานิซึม (Oscillating Mechanism) ไม่ทำงาน
ออสเลติ้งแมคคานิซึม (Oscillating Mechanism)เป็นกลไกลที่ทำให้พัดลมเกิดการส่ายไปส่ายมาได้
ชุดออสซิลเลติ้ง แมคคานิซึม ประกอบด้วย ตัวหนอนที่ติดอยู่ด้านหลังของมอเตอร์ ตัวหนอนติดกับ
เฟืองเกียร์ และติดกับเพลาข้อเหวี่ยงซึ่งมีโลหะแผ่นแบนและกลมคล้ายจานติดอยู่ทางด้านล่างสุด
แผ่นดังกล่าวติดอยู่กับปลายข้อเหวี่ยง ด้วยการหมุนของแผ่นโลหะคล้ายจานดังกล่าว ทำให้พัดลม
ส่ายไปมาได้การแก้ไขทำได้โดยการแยกส่วนประกอบออกทีละชิ้น เพื่อทำความสะอาด
และหยด นํ้ามันเฉพาะส่วนที่เคลื่อนที่ทาด้วยจาระบีก่อนประกอบเข้าที่เดิม

พัดลมไฟฟ้ามาตรฐาน
พัดลมไฟฟ้าซึ่งมีอยู่มากมายในท้องตลาด อาจจะทำความลำบากให้กับผู้ซื้อ เพราะไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อยี่ห้อไหนดี
สิ่งที่จะช่วยท่านได้ คือการสังเกตเครื่องหมายมาตรฐานที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ เพราะเป็นพัดลมไฟฟ้าที่ผ่าน
การรับรอง คุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งมีข้อดีหลายประการ คือ
1.มีระบบการป้องกันไฟฟ้าช็อกที่ไว้ใจ
2.มีการป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับส่วนที่มีกระแสไฟฟ้าอย่างไว้ใจได้
3.พัดลมไม่ไหม้เสียหายจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เพราะจะไม่สูงเกินค่าที่กำหนดไว้
4.กระแสไฟฟ้ารั่วได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิแอมแปร์ ทำให้ไม่มีอันตรายแก่ผู้ใช้

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อ
1.ลองเครื่อง เพื่อดูว่าใช้งานได้ดีหรือไม
2.ดูกลไกการส่าย, หมุน, ปรับส่ายเร็วที่สุด , ต่ำที่สุด
3.สวิตช์ปิดและเปิด เปลี่ยนอัตราความเร็วใช้งานได้ดี
4. ควรเลือกที่มีเครื่องหมายเฉพาะด้านความปลอดภัย
5..ควรเลือกขนาดและชนิดที่เหมาะกับการใช้งาน และมีราคาที่พอเหมาะกับวัสดุที่ใช้ในการผลิตด้วย

ตู้เย็น(Domestic Mechanism)

ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับครอบครัวในปัจจุบันเพราะใช้ในการ
เก็บรักษาอาหาร ผักผลไมh ให้คงคุณค่าอาหารไว้ได้นานโดยอาศัยความเย็น
จากสารทำความเย็นภายในตัวตู้เย็นส่วนประกอบ ของตู้เย็นมีดังน

ส่วนประกอบของตู้เย็น
1.ตู้เย็น
2.แผงความเย็น
3.แผงความร้อน
4.คอมเพรสเซอร์
5.ฉนวนกันความร้อน
6.อุปกรณ์อื่นๆ เช่นหลอดไฟ หลอดฆ่าเชื้อโรค เทอร์โมสตัท พัดลมกระจายความเย็นเป็นต้น

1.ตัวตู้เย็น ทำด้วยเหล็กและฉีดโฟมให้อยู่ระหว่างกลาง เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อนจากภายนอก
เข้าสู่ตัีวตู้เย็นด้านใน มีการพ่นสีทั้งภายในและภายนอกตู้เย็น เพื่อให้เกิดความสวยงามสีที่ใช้พ่น
ในตัวตู้เย็นนิยมใช้สีเคลือบแข็ง ซึ่งทนต่อกรดและเบส ทำความสะอาดง่าย ส่วนภายนอกตัวตู้เย็น
จะพ่นสีธรรมดาพวกแลกเกอร์(Lacquer) หรือสีธรรมดาพวกอีนาเมล(Ennamel) ขนาดของตัวนำ
ตู้เย็นจะวัดขนาดเป็นลูกบาศก์เดซิเมตร (ลบ.ดม.)หรือที่เรียกว่าคิว เช่นตู้เย็น
ขนาด113ลูกบาศก์เดซิเมตรเท่ากับ 4คิว หรือตู้ขนาด142ลูกบาศก์เเดซิเมตรเท่ากับขนาด5คิวเป็นต้น
2.แผงความเย็น(Evaporrator) ทำหน้าที่กระจายความเย็นให้กับตู้เย็นแผงความเย็นนี้จะอยู่ในตู้เย็น
3.แผงความร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นที่อยู่ภายในท่อ
เพื่อให้เกิดการกลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่งแผงความร้อนจะอยู่ด้านหลังตู้เย็น
4.คอมเพรสเซอร์(Compressor) ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็น(Refrigerant)ให้หมุนเวียน
อยภายู่ในตู้เย็น เมื่อควา่มเย็นถึงระดับที่ตั้งไว้ คอมเพรสเซอร์จะหยุดการทำงานชั่วคราว และเมื่อ
อุณหภูมิภายในตู้เย็นสูงขึ้น คอมเพรสเซอร์จะเริ่มทำงานอีกครั้ง ทำให้ประหยัดไฟฟ้าและค่าใช้จ่าย
สารทำความเย็นที่นำมาใช้ต้องไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้อักษรย่อตัว R
แทนสารทำความเย็น และตัวเลขแทนชนิดของสารทำความเย็น

ชนิด

ชื่อสาร

R-11

ไตรคลอโรโมฟลูออโรมีเทน(Trichloromono Fluoro Methane) สูตรโมเลกุลCCI3 F

R-12

ไดคลอโรไดฟลูออโรมีเทน(Dichloro Difluoro Methane) สูตรโมเลกุลCCI2F2

R-22

โมโนคลอโรไดฟลูออมีเทน(Monochloro Difluoro Methane) สูตรโมเลกุล CHCIF2

R-500

อะซีโอโทรปิกมิกซ์เจอร์(Azeotropic Mixture) เป็นการนำสารทำความเย็น R-12
ผสมกับ R-152a

R-717

แอมโมเนีย (Ammonia) สูตรโมเลกุล NH3

5.ฉนวนกันความร้อน เป็นโฟมหรือยางนุ่มๆ อยู่ระหว่างประตูกับตัวตู้เย็นหรือแทรกอยู่ระหว่างแผ่นเหล็ก
ที่นำมาทำตัวตู้เย็น ทำหน้าที่ป้องกันความเย็นในตู้เย็นไม่ให้รั่วไหลออกสู่ภายนอก
6.อุปกรณ์อื่นๆเช่น
6.1หลอดฆ่าเชื้อโรคจะอยู่ภายในตู้เย็นอาจจะใช้หลอดอุลต้าไวโอเลต(Ultraviolet Lamp ) หรือหลอด
เจอร์มิชิดอล (Germicidal Lamp) ทำหน้าที่ ทำลายเชื้อโรคและไข่พยาธิที่อาจติดมากับอาหาร
6.2เทอร์โมสตัท เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ในคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ปิดและเปิดวงจรไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์
ให้ทำงานหรือหยุดการทำงาน ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้
6.3 หลอดไฟฟ้าทำหน้าที่ให้แสงสว่างเมื่อเวลาเราปิดเปิดตู้เย็น
6.4 พัดลมกระจายความเย็น ทำหน้าที่กระจายความเย็นจากแผงความเย็นให้ทั่วถึงกันทุกบริเวณในตู้เย็น

การดูแลรักษาตูู้ตู้เย็น
1.ประตูตู้เย็นต้องปิดสนิท อย่าเปิดตู้เย็นบ่อยๆโดยไม่จำเป็น
2.ทำให้อาหารเย็นก่อนที่จะเก็บเข้าตู้เย็น
3.ใช้อุณหภูมิให้ถูกต้องกับการเก็บสิ่งของ
4.การละลายนํ้าแข็งออกจากช่องฟริชเซอร์ ต้องไม่ใช้เครื่องมือใดๆงัดนํ้าแข็ง
5.ไม่ควรปิดเปิดตู้เย็นไว้เวลานานๆ

การแก้ไขข้อขัดข้องที่อาจจะเิกิดขึ้นในระบบทำความเย็นของตู้เย็น

สาเหตุข้อขัดข้องและการแก้ไข

1.เครื่องหยุดเดินหรือไม่ทำงาน
อาจมีสาเหตุมาจาก
1.1ฟิสว์ขาดหรือต่อไม่แน่น แก้ไขโดยการเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ หรือกดฟิวส์ให้แน่น
1.2 สายไฟฟ้าชำรุดหรือขาด แก้ไขโดยเปลี่ยนสายไฟ้าหรือหัวเสียบสายใหม่
1.3 สายไฟคอมเพรสเซอร์เทอร์โมสตัทขาดหรือหลุดหลวม แก้ไขโดยซ่อมหรือเปลี่ยนสายไฟใหม่
1.4ตัวเก็บประจุชำรุดแก้ไขโดยเปลี่ยนตัวเก็บประจุใหม่

2.มีเสียงดังรบกวนเวลาใช้งาน
อาจมีสาเหตุมาจาก
2.1สลักยึดที่ตั้งคอมเพรสเซอร์หลวมแก้ไขโดยการขันสกรูให้แน่น
2.2 ตู้เย็นตั้งไม่ตรง แก้ไขโดยจัดตั้งให้ตรง

3.ช่องเก็บอาหารมีอุณหภูมิสูงมากเกินไป
อาจมีสาเหตุมาจาก
3.1ประตู้ปิดไม่แน่น แก้ไขโดยปรับที่ตั้งตู้เย็น แก้ไขผนังตู้
3.2 มอเตอร์พัดลมหยุดทำงาน การแก้ไขทำการซ่อมหรือเปลี่ยนแปลงใหม่
3.3 อากาศไหลผ่านช่องเก็บอาหารไม่สะดวกการแก้ไขตรวจสิ่งกรีดขวางของอากาศจากช่องนํ้าแข็ง
ลงมายังช่ิองเก็บอาหาร
3.4 เทอร์โมสตัทไม่ทำงาน การแก้ไขให้ปรับปุ่มขยายเวลาในการทำงานให้ยาวขึ้นหรือเปลี่ยนใหม่
3.5 หลอดไฟฟ้าในตู้เย็นเปิดตลอดเวลา การแก้ไขให้ตรวจดูที่สวิตช์
3.6 นํ้าแข็งหนาแน่นทำให้การถ่ายเทความร้อนในระบบช้าลง

4. เครื่องเดินไม่ค่อยเย็น
อาจมีสาเหตุมาจาก
4.1 ตั้งเทอรณ์โมสตัทไว้ไม่ดี การแก้ไขตรวตั้งระดับความเย็นใหม่
4.2 คอมเพรสเซอร์ไม่ดี การแก้ไข การแก้ไขตรวจตั้งระดับความร้อนขึ้นมาใหม่
4.3 มีความชื้นอยู่ในสารความเย็น การแก้ไขใส่ที่ดูดความชื้นลงไปในสารความเย็น
4.4 มีการอุดตันในวงจรสารทำความเย็น การแก้ไขตรวจการไหบของสารทำความเย็น