การละเล่นภาคเหนือ
ปั่นหนังว้อง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
เริ่มจากการนำยางรัดของมาคนละเส้นประกบกันแล้วให้ฝ่ายหนึ่งใช้ส้นมือถูยางรัดของที่ประกบกันนั้นโดยแรงให้ยางรัดทั้งสองเส้นบิดตัวพันกันจนแน่น แล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งพยายามแกะให้คลายออกจากกัน ถ้าทำได้สำเร็จจะได้ยางรัดของไปเป็นของตน ถ้าทำไม่สำเร็จจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งทำแทน ผลัดกันเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีผู้ทำสำเร็จ เมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มต้นใหม่ไปเรื่อยๆ
เล่นโพงพาง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ผ้าปิดตา
วิธีการเล่น
ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆ
ยก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-หนังยาง
วิธีการเล่น
๑.แบ่งผู้เล่นออกเป็นทีม ทีมละ ๓ คนขึ้นไป
๒.นำหนังยางมาร้อยให้เป็นเส้นยาวพอสมควร
๓.ทำการเป่ายิงชุบ เพื่อหาว่าทีมไหนแพ้จะเป็นคนจับหนังยางยกเป็นทีมแรก
๔.ขั้นแรก ให้นำเข่าติดกับพื้นมือทั้งสองจับหนังยางพร้อมทั้งยกก้นและ ชูมือให้สุด เพื่อให้ทีมตรงข้ามโดดไม่ผ่าน (ในการเล่นแต่ละขั้นถ้ากระโดดผ่านจะได้เล่นต่อไป)
๕.ขั้นสอง ให้ยกเข่าข้างที่ถนัดแล้วพร้อมทั้งยกก้น และชูมือให้สุดเพื่อให้ทีมตรงข้ามโดดไม่ให้ผ่าน
๖.ขั้นสาม นำหนังยางมาพันเข่าหนึ่งรอบเพื่อให้ทีมตรงข้ามโดด โดยกำหนดว่าต้องโดดไม่โดนหนังยาง แล้วแต่กำหนดว่าจะให้โดดกี่ครั้ง
๗.ขั้นสี่ (ใต้ก้น) คือ นำหนังยางพันใต้ก้นให้ทีมตรงข้ามกระโดดผ่านโดยไม่จัง กำหนดว่าต้องโดดไม่โดนเส้นหนึ่งครั้ง
๘.ขั้นห้า (อีเอว) คือ นำหนังยางไว้ตรงเอวในการเล่นขั้นอีเอวจะมีการกระโดดท่าเพิ่ม คือ อีหญิง อีชาย โดยผู้เล่นจะเลือกท่าไหนก็ได้ จะกำหนดให้เล่นอีหญิง ๒๐ ครั้ง การเล่นอีหญิงคือ การกระโดดโดยการเอาขาข้างที่ถนัดเกี่ยวหนังยางไว้ใต้เข่าและเอาขาอีกข้างโดดข้ามหนังยางไป แล้วทำซ้ำจนครบ ๒๐ ครั้ง ส่วนอีชายคือ การกระโดดเอาขาข้างที่ถนัดเกี่ยวไปข้างหน้าให้ขากระแดะเป็นเลขสี่และเอาขาอีกข้างกระโดดข้ามตามไปจนครบ ๑๐ ครั้ง
๙.ขั้นหก (อีพุง) ทำเหมือนขั้นห้า (อีเอว) แต่กำหนดการเล่นอีหญิง ๑๐ ครั้ง อีชาย ๕ ครั้ง
๑๐.ขั้นเจ็ด (อียก) ทำเหมือนขั้นห้าและหก แต่กำหนดการเล่นอีชาย ๓ ครั้ง และอีหญิง ๕ ครั้ง
๑๑.ขั้นแปด (อีลักแล้) ทำเหมือนขั้นห้า หก และเจ็ด แต่กำหนดการเล่นอีหญิง ๒ ครั้ง อีชาย ๑ ครั้ง
๑๒.ขั้นเก้า (อีคอ) เล่นโดยกระโดดท่าอีหญิงครั้งเดียว
๑๓.ขั้นสิบ (อีหู) เหมือนขั้นเก้า
๑๔ .ขั้นสิบเอ็ด (อีหัว) กระโดดท่าหญิง ๑ ครั้ง มีตัวช่วยโดยใช้นิ้วก้อยเกี่ยวหนังยางลงมาพอสมควรแล้วกระโดดท่าอีหญิงข้าม
๑๕.ขั้นสิบสอง (อีธู) เป็นขั้นสุดท้ายในการเล่น มีการเล่น ๒ แบบ คือ ท่าตีลังกาเอาเท้าเกี่ยวหนังยางแล้วข้ามหนังยางไป และอีกท่าคือ ท่าคาราเต้ ใช้สันมือข้างที่ถนัดกดหนังยางลงมาพอสมควรแล้วข้ามด้วยท่าอีหญิง
การเล่นแต่ละขั้น เมื่อจบแล้วให้เปลี่ยนผู้เล่นคนอื่นมาเล่นต่อ ถ้าในการเล่นแต่ละขั้นถ้าผู้เล่นในทีมที่เล่นผ่านจะมีสิทธิ์ใช้แทนเพื่อนที่เล่นไม่ผ่านได้ แต่ถ้าหมดผู้เล่นในทีมแล้ว คือ เล่นไม่ผ่านหมดจะต้องไปจับแทนผู้เล่นอีกฝ่ายตรงข้าม
เตยหรือหลิ่น
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
จำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน
วิธีการเล่น
ขีดเส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ
เบี้ยขี่โก่ง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-เบี้ย (ก้อนหินที่มีลักษณะแบน)
วิธีการเล่น
๑.ขุดหลุมให้พอเหมาะกับเบี้ย ๑ หลุม และขีดเส้นใต้ห่างจากหลุมให้พอเหมาะ
๒.ถ้าผู้เล่นมีไม่ครบคู่ให้เล่นคี่ก็ได้
๓.จุดโยนเบี้ยต้องห่างจากหลุมไม่ต่ำกว่า ๕ เมตร
๔.ผู้เล่นต้องโยนหินให้ใกล้หลุมมากที่สุดหรือลงหลุมเลยก็ได้
๕.ผู้ที่โยนเบี้ยไกลที่สุดจะถูกคนที่ใกล้หลุมมากที่สุดเก็บเบี้ยขึ้นมาแล้วโยนจากหลุมให้ข้ามเขต ๕ เมตร แล้วโยนเบี้ยให้ถูกคนที่อยู่ไกลหลุม
๖.ถ้าถูกคนนั้นก็จะขี่หลังของคนที่ตีเบี้ยโดนนั้น แล้วโยนหินบนหลังนั้นให้เข้าหลุมก็ได้ หรือไม่เข้าก็ต้องตีโดนเบี้ยนั้นให้ได้
๗.ถ้าโยนไม่ถูก คนที่ได้ขี่หลังก็จะถูกคนที่ขี่หลังเก็บเบี้ยของตนแล้วมาตีให้ถูกเบี้ยของคนนั้นให้ได้ ถ้ายังไม่ถูกคนที่เหลือก็จะต้องตีให้ถูกหินของใครก็ได้แล้วคนที่ขี่หลังโยนหินต่อ แต่ถ้าไม่โดนสักคนก็เริ่มต้นใหม่
เล่นตากระโดด
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ก้อนหิน หรือกระเบื้อง
จำนวนผู้เล่น ๔ คนขึ้นไป
วิธีการเล่น
๑.ขีดช่องสำหรับกระโดดเป็น ๖ ช่อง ขนาดโตพอที่จะกระโดดเข้าไปยืนได้ แล้วแบ่งครึ่งช่องที่ ๓ ที่ ๕ สำหรับที่พัก และกลับหลังหัน จึงมีช่องทั้งหมด ๘ ช่อง แล้วเขียนหัวกระโหลกเล็ก ๆ ในช่องบนสุด
๒.ใช้อะไรเป็นเบี้ยก็ได้ แต่ควรเป็นของที่มีน้ำหนัก ถ้าใครโยนเข้าหัวกระโหลกที่เล็ก ๆ นั้น ก็จะได้เล่นก่อน
๓.โยนเบี้ยลงช่องที่ ๑ แล้วกระโดดขาเดียวข้ามช่องที่ ๑ เข้าไปยังช่องที่ ๒ แล้วกระโดด ๒ ขา เข้าไปในช่องที่ ๓ และ ๔ ให้เท้าข้างหนึ่งอยู่ช่องที่ ๓ อีกข้างหนึ่งอยู่ที่ช่องที่ ๔ จากนั้นกระโดดขาเดียว ต่อไปยังช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ ตามลำดับ กระโดดตัวกลับ หันหน้ากลับมาทางเดิม กระโดดขาเดียวมายังช่องที่ ๕ สองขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ ขาเดียวที่ช่องที่ ๒ และช่องที่ ๑ พร้อมกับก้มลงเก็บเบี้ยที่ช่องที่ ๑ จากนั้นก็กระโดดออกมา
๔.ถ้าเกิดเล่นช่องที่ ๑ แล้วก็เล่นช่องที่ ๒ โดยโยนเบี้ยให้อยู่ในช่องที่ ๒ แล้วกระโดดขาเดียวไปยังช่องที่ ๑ ข้ามช่องที่ ๒ ไปยืน ๒ ขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ กระโดดไปยืนขาเดียวที่ช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วหันตัวกลับทำอย่างเดียวกับตาแรก คือ ต้องกระโดดกลับมาเก็บเบี้ยแล้วจึงกระโดดออกไป ถ้าเกิดเล่นถึงช่องหัวกระโหลกบนสุด ให้กระโดดกลับตัวในช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วก้มลงใช้มือลอดระหว่างขา เก็บเบี้ยในช่องกระโหลก เมื่อเก็บได้จึงกระโดดออกมาอย่างเดิม หากว่าเล่นทุกช่องหมดแล้วจะได้บ้าน ๑ หลัง จึงขีดกากบาทไว้กลางช่องต่อไป ใครจะเหยียบบ้านนี้ไม่ได้
อีหึ่ม
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซ็นติเมตร
-ไม้ยาวประมาณ ๒๐ เซ็นติเมตร เรียกว่า ลูก อาจใช้ตะเกียบแทนก็ได้
จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ ๔ คนขึ้นไป ควรจะเป็นคู่กันด้วย
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละเท่ากัน เป่ายิงฉุบกันใครชนะเล่นก่อน ขุดหลุมน้อย ๆ เอาลูกพาดกลางหลุมไว้ใช้ไม้ยาว ๕๐ เซ็นติเมตร (ไม้วุด) งัดไม้ที่เป็นลูกหรือที่ยาว ๒๐ เซ็นติเมตรไปให้ไกลที่สุด แล้ววางไม้วุดปากหลุม ให้อีกฝ่ายที่ไม่ได้งัดโดยไม้ที่วุดไปให้มาถูกที่พาดไว้บนปากหลุม ถ้าวุดไม่ถูกก็ให้วุดไม้อีกครั้งจนกว่าจะถูก ถ้าถูกให้ผู้ที่เป็นฝ่ายโยนไม้มาปากหลุมแทน
ซิกโก๋งเก๋ง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร
-ปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน
วิธีการประดิษฐ์
๑.เอาไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร
๒.ใช้มีดตัดเจาะกิ่งไผ่ที่เป็นปมอยู่ข้อตาไผ่ออกให้หมด แต่ต้องเหลือไว้ตรงข้อแรกของไม้ไผ่ให้เป็นปมอยู่ เหลาข้ออื่นๆ ให้เรียบเพื่อสะดวกในการจับถือ
๓.หาปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน เจาะรู ๒ ด้าน เสร็จแล้วนำไปสวมเข้ากับไม้ ๒ ท่อนแรก โดยให้ไม้ที่สวมนั้นไปค้างติดอยู่กับข้อตาไผ่ที่เหลือไว้ แล้วใช้ผ้าพันตรงไม้ ๒ ท่อนประกบกันให้แน่น
วิธีการเล่น
ใช้มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง
หมากล้อกลิ้ง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-หมากล้อกลิ้ง
วิธีการประดิษฐ์
๑.นำไม้แผ่นมาถากหรือฉลุเป็นวงกลมขนาด ๑๐ - ๑๒ เซนติเมตร เพื่อทำเป็นล้อไม้
๒.เจาะรูตรงกลาง
๓.นำไม้ไผ่ขนาดพอมือจับ ยาวประมาณ ๑ - ๑.๒๐ เมตร มาผ่าส่วนปลายไม้ให้เป็นง่ามคล้ายหนังสะติ๊ก แล้วเจาะรูทำเป็นด้ามจับ
๔.นำล้อไม้มาประกอบติดกับด้ามจับสอดตะปูหรือเหลาไม้ทำแกนล้อ
วิธีการเล่น
นิยมเล่นคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม โดยนำหมากล้อกลิ้งมาวิ่งเล่นกันไปตามท้องถนนหรือลานบ้าน ลานวัดอาจมีการแข่งขันว่าใครจะวิ่งเร็วกว่ากัน
หมากข่าง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์
-ไม้ที่กลึงเกลาให้กลมแล้ว ขนาดกำมือ จำนวน ๒๐-๓๐ ลูก
-สะบ้า ๑๐ ลูก
-ลานดินกว้างขนาด ๕x๑๐ เมตร
วิธีการเล่น
การเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ข้าง แต่ละข้างไม่จำกัดว่าจะเป็นหญิงหรือชาย หรือทั้งหญิงและชายปนกัน ขอให้มีข้างละเท่ากันเท่านั้น แต่ละข้างจะมีอุปกรณ์ในการเล่น คือ หมากข่าง หรือลูกทอยข้างละ ๕-๑๐ ลูกเท่านั้น และมีลูกสะบ้า ๕ ลูก ตั้งเป็นรูปกากบาทให้ห่าง จากอีกข้างแล้วแต่จะตกลงกัน
เมื่อเริ่มเล่น จะมีการเสี่ยงว่าข้างไหนจะได้เป็นข้างที่จะโยนก่อน จากนั้นข้างที่ได้โยนก่อนจะไปยืนหลังเส้นที่ตั้งลูกสะบ้า แล้วโยนลูกให้กลิ้งไปโดยสะบ้าที่ตั้งเป็นรูปกากบาทของข้างตรงข้าม ถ้าฝ่ายใดสามารถโยนไปโดนลูกสะบ้าได้มากที่สุด ก็จะเป็นฝ่ายชนะการแข่งขัน