Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาวันเข้าพรรษา

ประวัติความเป็นมาวันเข้าพรรษา



การเข้าพรรษา เป็นวินัยอย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติขึ้น คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ในทางพระพุทธศาสนา จะต้องอธิษฐานอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง หรืออาวาสใดอาวาสหนึ่ง ในช่วงฤดูฝนตลอดระยะเวลา ๓ เดือน จะเดินทางจาริกสัญจรรอนแรมไปค้างคืนที่ไหนไม่ได้ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นตามที่พระวินัยบัญญัติไว้

วันเข้าพรรษาในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ ๒ ประการ คือ

๑.ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี

๒.ปัจฉิมพรรษา หรือวันเข้าพรรษาหลัง เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี สาเหตุที่มีการจำพรรษาหลัง คือพระภิกษุมีเหตุที่จำเป็นต้องเดินทางไกลไปทำธุระที่อื่นกลับมาไม่ทัน

 

ประวัติความเป็นมาการจำพรรษา



ในสมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ที่พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งพระนครราชคฤห์ ได้ทรงมีจิตศรัทธาสร้างวัดแรกในพระพุทธศาสนาถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า สมัยนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา บรรดาเหล่าพุทธสาวกได้เที่ยวจาริกสัญจรเผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไปในฤดูทั้งสาม ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน อย่างไม่ย่อท้อไม่เหน็ดเหนื่อย เที่ยวโปรยปรายสายธรรมอันชุ่มเย็นเข้าสู่จิตใจของปวงประชา

ปกติแล้วในช่วงฤดูฝนชาวอินเดียสมัยก่อนนั้น พวกพ่อค้าวาณิชย์หรือนักบวชนอกศาสนา จะพากันหยุดสัญจรเป็นการชั่วคราว เพราะถนนหนทางที่ใช้ในการสัญจรมีโคลนตม มีหลุมมีบ่อทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง อีกอย่างชาวบ้านชาวเมืองก็พากันตกกล้า ทำนาปลูกข้าวกัน

ครั้งนั้นเมื่อชาวบ้านชาวเมือง เห็นภิกษุพุทธสาวกเดินจาริกสัญจรอยู่ในช่วงฤดูฝน จึงพากันติเตียนโพนทะนาว่าการหลายอย่าง เป็นต้นว่า

[font=Angsana New][size=5][color=red]

__________________




ชีวิตคือการเล่นละคร ใครตีบทแตกคนนั้นประสบความสำเร็จ

ใครเล่นผิดบทคนนั้นก็ประสบความล้มเหลว

ดังนั้นเราควรแสดงให้ถูกบท ถูกที่และถูกเวลา

เราทุกคนมียุคทองของตนและเกิดขึ้นครั้งเดียวในชีวิต

หากยุคทองมาถึงจงรักษาไว้ให้ดีที่สุด

เมื่อหลุดมือไปไขว่คว้ายังไงได้แต่ความว่างเปล่า

ว.วชิรเมธี

ธรรมะที่สั้นที่สุดของพระพุทธเจ้าคือคำว่า"ตื่น"

รับสมัคร คนอ่านพระไตรปิฎกเสียง และขอเชิญฝึกซ้อมอ่านเพื่อเตรียมพร้อม

ฯ ๗๑ 

 

 

แต่เดิมในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวก อยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทาง เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะศากยบุตรไม่ยอมหยุดสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่พวกพ่อค้าและนักบวชในศาสนาอื่นๆ ต่างพากันหยุดสัญจรในช่วงฤดูฝนนี้ การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตา

เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องจึงได้วางระเบียบ ให้พระภิกษุสงฆ์เข้าอยู่ประจำที่ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนแห่งฤดูฝน ภิกษุสงฆ์ที่อธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว จะไปค้างแรมที่อื่นนอกเหนือจากอาวาส หรือที่อยู่ของตนไม่ได้แม้แต่คืนเดียว หากไปแล้วไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือก่อนรุ่งสว่าง ถือว่าพระภิกษุรูปนั้นขาดพรรษา แต่หากมีกรณีจำเป็น 4 ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในคระยะเวลา 7 วัน คือ

1. ไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย

2. ไประงับไม่ให้ภิกษุสึก

3. ไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์

4.ทายกนิมนต์ไปฉลองศรับธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา

ความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษาเป็นที่พระภิกษุอธิษฐานว่าจะประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือนภายในฤดูฝน โดยไม่เดินไม่ข้าวแรมที่อื่นวันเข้าพรรษาได้มีกำหนด ไว้ 2 ระยะดังนี้

๑. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ ราวเดือนตุลาคม

๒. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม

ความหมายของวันเข้าพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา"

ในการอธิษฐานเข้าพรรษา ณ วัดหรือที่ใดที่หนึ่ง หากมีเหตุจำเป็น ๕ ประการต่อไปนี้ ภิกษุไม่ต้องอาบัติ แม้จะไปอยู่ที่อื่น ได้แก่

๑. ถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น วิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม
๒. ชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป อนุญาตให้ไปกับเขาได้ หรือชาวบ้านแตกเป็น 2 ฝ่าย ให้ไปกับฝ่ายที่มีศรัทธาเลื่อมใส
๓. ขาดแคลนอาหาร หรือยารักษาโรค
๔. มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้หนีไปเสียให้พ้นได้
๕. ภิกษุสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามทำให้ภิกษุสงฆ์ในวัดแตกกัน ให้ไปเพื่อหาทางระงับได้

ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ

๑. เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา หากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ อาจไปเหยียบต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย
๒. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน พระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน
๓. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
๔. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
๕. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตรหล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา