Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติพระอุบาลี

24

 

ประวัติพระอุบาลี

พระอุบาล

     เป็นบุตรของช่างกัลบก (ช่างตัดผม) ในพระนครกบิลพัสดุ์ เมื่อเจริญวัยได้รับตำแหน่งเป็น "ภูษามาลา" ประจำราชสำนักแห่งเจ้าศากยะ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ ๒ เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ นครกบิลพัสดุ์ ในขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่นครกบิลพัสดุ์นั้น ได้มีพระญาติหลายองค์ออกผนวชตามเสด็จ ครั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่สมควรแก่กาลแล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากนครกบิลพัสดุ์ไปแล้ว พวกศากยะทั้งหลายได้วิพากษ์วิจารณ์กันว่า พวกตนได้ให้โอรสของตนซึ่งเป็นเพื่อนเล่นของเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชตามเสด็จ แต่ศากยะกุมารอีกหลายตระกูล ไม่ออกผนวชตามเสด็จ พวกศากยะกุมารเหล่านี้เห็นจะไม่ใช่ญาติกับพระพุทธเจ้า เพราะไม่เห็นมีใครออกผนวชตามเสด็จพระบรมศาสดากันเลย พวกศากยะกุมารได้สดับคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้แล้ว ทรงรู้สึกระอายจึงปรึกษาชักชวนกันออกผนวชด้วยกัน เป็นราชกุมารแห่งศากยวงศ์ ๕ พระองค์ คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ พระอานท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ และราชกุมารแห่งโกลิยวงศ์ ๑ พระองค์ คือ พระเทวทัต รวมทั้งพระอุบาลี ซึ่งเป็นภูษามาลาด้วยเป็น ๗ พร้อมใจกันออกจากเมืองไปเฝ้าพระศาสดาที่อนุปิยอัมพวัน แขวงเมืองมัลละ ทูลขอบวช ก่อนบวชพวกศากยะเหล่านั้นทูลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นศากยะ มีมานะ (ความถือตัว) อุบาลีผู้นี้เป็นคนรับใช้ของข้าพเจ้าทั้งหลายมานานแล้ว ขอพระองค์จงให้อุบาลีบวชก่อนเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายจักได้กระทำการไหว้ กราบ ประนมมือ ลุกขึ้นต้อนรับ และกิจที่สมควรอื่นๆ แก่อุบาลีเมื่อเป็นเช่นั้นข้าพเจ้าทั้งหลายจักละมานะ (ความถือตัว) ว่าเป็นศากยะได้ พระศาสดาก็ทรงอนุมัติตาม คือให้อุบาลีบวชก่อน แล้วให้ศากยะเหล่านั้นบวชในภายหลัง
ในภิกษุที่บวชใหม่นั้น พระอุบาลีได้ฟังพระกรรมฐานที่พระบรมศาสดาตรัสสอน ตั้งใจเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์
ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนพระอุบาลีให้ศึกษาเล่าเรียนพระวินัยปิฎกด้วยพระองค์เองโดยตลอด จึงเป็นเหตุให้พระอุบาลีมีความเข้าใจและทรงจำพระวินัยปิฎกได้แม่นยำ และมีความเชี่ยวชาญมาก ทั้งเป็นผู้ที่สามารถพิจารณาหาเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องพระวินัยได้เป็นอย่างดี จนทำให้พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรงพระวินัย คือ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าฝ่ายทรงวินัย
พระอุบาลีมีบทบาทสำคัญมากในกิจการพระพุทธศาสนาทั้งในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และหลังจากที่พระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว คือ

1) เป็นผู้สอนพระวินัยแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยเหตุที่ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีความขำนาญในพระวินัย ภิกษุทั้งหลายจึงเรียนพระวินัยในสำนักของท่าน นอกจากนั้นภิกษุที่ทรงจำวินัยปิฎกในสมัยต่อๆ มาก็ล้วนแต่เป็นศิษย์ผู้เรียนวินัยตามสายพระอุบาลีทั้งสิ้น
2) ได้รับความไว้วางใจจากพระพุทธเจ้าเป็นพิเศษถ้ามีอธกรณ์ (คดี หรือ เรื่องราว) ที่เกี่ยวกับวินัยเกิดขึ้น พระพุทธองค์ก็ทรงมอบให้พระอุบาลีรับภาระดำเนินการวินิจฉัยให้เป็นไปโดยถูกต้อง
3) ผลงานที่สำคัญที่สุดซึ่งมีผลมาจนถึงปัจจุบัน คือ การทำสังคายนาครั้งที่ ๑ หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน พระมหากัสสปะชักชวนเหล่าพระสงฆ์กระทำการปฐมสังคายนา คือ ราบรวม เรียบเรียงพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนตลอด ๔๕ พรรษา สอบทานและจัดหมวดหมู่วางลงเป็นแบบแผน ซึ่งในการสังคายนาครั้งนั้น ประกอบด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม
พระอุบาลีเป็นพระเถระสำคัญรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนา เป็นมหาสาวก และเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้า หลังจากการสังคายนา