Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พิธีกรรม ความเชื่อ และหลักธรรมต่างๆ

 

เรื่อง พิธีกรรม ความเชื่อ และหลักธรรมต่างๆ

 

ที่มาและความสำคัญ

              ประเทศไทยเราส่วนมากมีความสนใจในการทำการเกษตรกันมาก การทำการเกษตรทำให้มีรายได้เข้าประเทศและสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้

              ในปัจจุบัน การใช้ปุ๋ยมีประโยชน์ต่อการทำการเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ นอกจากจะได้ผลผลิตมากมายอย่างมหาศาลแล้ว การใช้ปุ๋ยยังช่วยให้ผลผลิตมีน้ำหนักมากขึ้น ทำให้นำไปจำหน่ายได้กำไรเพิ่มมากขึ้น แต่ในการใช้ปุ๋ยเคมีในส่วนใหญ่จะเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ ปุ๋ยเคมีจะมีสารเมลามีนเป็นส่วนประกอบจำนวนมาก ซึ่งมีผลทำให้สะสมในเซลล์พืช ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งสารนั้นจะเป็นผลเสียต่อร่างกายของเรานั่นเอง

              ทางเราจึงได้ทำการทดลอง ผลิตปุ๋ยชีวภาพขึ้นมา เพราะสามารถผลิตเองได้ง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำเศษวัสดุจากธรรมชาติที่เหลือใช้มาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ เช่น มะละกอสุก เปลือกผลไม้ ผักเน่า และอีกหลายๆชนิด แต่ที่เรานำมาหมักในวันนี้ คือ เปลือก

กล้วยสุก ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักได้มากเช่นกัน เรานำกล้วยสุกมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อ หาว่ามีไนโตรเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งวิธีการทำเราจะศึกษาได้จากรายงานเล่มนี้

             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้า ๑

ความรู้เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย

 

ผู้แต่ง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ทรงนิพนธ์ร่วมกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ (พระองค์เจ้ากปิษฐาขัตติยกุมาร)

 

ลักษณะการแต่ง
แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน ๔๓๙ บท
โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่าย ที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น
ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาฬ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

 

จุดมุ่งหมายการแต่ง
เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในสงครามยุทธหัตถี

 

ที่มาในการนิพนธ์
นิพนธ์ขึ้นเพื่องานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนฯในรัชกาลที่ 3

 

เนื้อเรื่องย่อ


     เริ่มต้นชมบุญบารมีและพระบรมดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุรงทรงทราบว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชย์สมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จเอกาทศรถพระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กันยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยีบดินแดนไทยเป็นการเตือนสงครามไว้ก่อนถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันทีขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดารีนั้นพระจ้าหงสาวดีจังตรัสให้พระมาหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราช เจ้านครเชียงใหม่แต่พระมหาอุปราชกราบฑูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่เชี่ยวชาญกล้าหาญในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และ หวาดกลัวพระราชอาญาของพระบอดายิ่งนัก จึ้งเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกมาตีไทย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรีมทัพจะไป ตีกัมพูชา เป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่าพอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลบ 5 เสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และคร่าครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตําบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค ไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่ายเมื่อทรงทราบว่าพม่าส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีประเทศไทยจึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้าศึกแล้วล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาทแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงนําทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชากรำยุทธหัตถีจนมีชัยชนะ พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง สมเด็จพระเอกาทศรถกระทำยุทะหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโร เมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกีตรติพระมหาอุปราชา เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอับดับจบนื้อเรื่อง

หน้า๒

    ต่อจากนั้นป้นคำกล่าวท้ายรื่อง มีโคลงสดุดียอพระเกียรติ กล่าวถึงทศพิธีราชธรรม ราชสดุดี จักรพรรดิวัตร แล้วบอกนามผู้แต่งและความมุ่งหมาย

 

ลักษณะการแต่งลิลิต
ลิลิต คือ คำประพันธ์ชั้นสูง ที่ต้องใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหารทั้งของไทย และที่ได้จากต่างประเทศ การแต่งลิลิตจะประกอบด้วยร่าย และโคลง มี ๒ ประเภท
๑.ลิลิตสุภาพ แต่งด้วยร่ายสุภาพ และโคลงสุภาพ
๒.ลิลิตโบราณ แต่งด้วยร่ายดั้น และโครงดั้น

    รสของวรรณคดี
รสของวรรณดีมีทั้งสิ้น ๔ ประเภท ดังนี้
๑.เสาวรจนี คือ อธิบาย,บรรยายบทความ
๒.นารีปราโมทย์ คือ บทรัก
๓.พิโรธวาทัง คือ บทโกรธ
๔.สัลปังคพิไสย คือ ความโศกเศร้า,คร่ำครวญ

 

หน้า๓

โขลนทวาร

 

ประตูป่า(โขลนทวาร)

ความหมาย

[โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทําตามตําราพราหมณ์ คือทําเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน).

   ตัวอย่างประโยค

  เหล่าทหารพากันลอดโขลนทวารก่อนออกรบครั้งสำคัญ

  หมายเหตุ

ประตูป่าที่ทำตามตำราพราหมณ์เป็นประตูซุ้มประดับด้วยใบไม้และต้นไม้สำหรับให้กองทัพลอดเพื่อเป็นมงคล

พิธีกรรม

1 พิธีกรรมโขลนทวาร ประตูป่า ทำตามตำราพราหมณ์เป็นซุ้ม สะด้วยกิ่งไม้สำหรับกองทัพเดินลอดมีหราหมร์นั่งบนร้านสูงที่ประตูข้างละคน

คอยพรมน้ำเทพมนตร์เป็นการบำรุงขวัญทหารเพื่อความสวัสดีมีชัย

2. พิธีตัดไม้ข่มนาม เป็นพิธีเอาขวัญทหารก่อนออกรบโดยการปั้นดินเป็นรูปข้าศึกเเล้วเขียนชื่อ

ลงยันต์กำกับห่อด้วยกาบกล้วย นำไปปลุกเสกเเล้วผูกติดกับต้นไม้ที่มีชื่อร่วมตัวอักษรกับข้าศึก เเล้วเอาต้นไม้นี้ไปปักในหลุมที่โณงพิธีเพื่อฟันเอาชัย

3. พิธีละว้าเซ่นไก่ เป็นพิธีบวงสรวงเทวดาเเละเจ้าป่า

 

ความเชื่อ

หน้า๔

1. จตุรงคโชค ได้เเก่ โชคดี วัน เดือน ปี ที่ดี กำลังทหารเข้มเเข็ง เเละอาหารบริบูรณ์

2. ชัยภูมิสีหนาม คือ บริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ 3 ต้นขึ้นอยู่บนจอมปลวก หรือภูเขา

 

ตัดไม้ข่มนาม : กุศโลบายในการรบ

 

   การตัดไม้ข่มนามที่เป็นพิธีหลวงจะเรียกว่าพระราชพิธีตัดไม้ข่มนามมีการตั้งปะรำเอิกเกริก สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ต้นกล้วยตานียอดม้วน (ใบยอดยังอ่อนอยู่)กับไม้ต้องนามข้าศึก ตามตำราโบราณไม้ที่ต้องนามข้าศึกจะดูแค่ชื่ออักษรตัวหน้าหรือไม้ที่กำหนดไว้ตรงกับวันเกิด เช่น สะเดาตรงกับคนเกิดวันพุธและศุกร์ ต้องสร้างรูปปั้นที่ทำจากดินใต้สะพาน ดินท่าน้ำ ดินป่าช้า อย่าละ ๓ แห่งพร้อมทั้งเขียนนามข้าศึก ลงยันต์กำกับ ปลุกเสกต่ออีก ๓ คืน รูปปั้นนี้จะถูกตัดด้วยมีดพร้อมกับต้นกล้วยและไม้ต้องนามในวันพิธี
(จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑)

 

 

การนับเวลาตามแบบโบราณ(ทุ่ม โมง ยาม)

การแบ่งเวลาในสมัยโบราณนั้นแบ่งเวลากลางคืนออกเป็น  ๔ ยาม  กลางวัน  ๔ ยาม     

การนับโมงยามแบบโบราณ  มีดังนี้

      ปฐมยาม    จากยามค่ำคืนไปถึง  ๓ ทุ่ม   (๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น.)

       ทุติยาม     จาก ๓ ทุ่ม ไปจนถึง  ๖ ทุ่ม   (๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น.)

       ตติยาม     จาก ๖ ทุ่ม ไปจนถึง  ๙ ทุ่ม   (๒๔.๐๐-๐๓.๐๐ น.)

            ปัจฉิมยาม  จาก ๙ ทุ่ม ไปจนถึงย่ำรุ่ง      (๐๓.๐๐-๐๗.๐๐ น.)   

 

 

 

หน้า๕

การเคลื่อนทัพตามเกล็ดนาค

              เป็นการเคลื่อนทัพตามตำราพิชัยสงคราม ซึ่งบอกไว้ว่า วันใดหัวนาคจะหันไปทางทิศใดในการยกกองทัพนั้นจะต้องเดินทัพไปทางทิศเหนือเดียวกับทิศทางที่หัวนาคเดินทางที่หัวนาคเดินไปจะเป็นสิริมงคลแก่กองทัพ

 

ทศพิธราชธรรม ๑๐

ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมสำหรับพระราชา ในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร ดังพระราชกรณียกิจที่ปรากฎ ๑๐ ประการ ดังนี้

 

๑. ทานัง หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์

๒. ศีลัง หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ

๓. ปริจาคัง หรือการบริจาค อันได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์

๔. อาชชะวัง หรือความซื่อตรง อันได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร

๕. มัททะวัง หรือทรงเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

 

๖. ตะปัง หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน

๗. อักโกธะ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้

๘. อะวีหิสัญจะ คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร

หน้า๖

๙. ขันติญจะ คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย

๑๐. อะวิโรธะนัง คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย

 

สังคหวัตถุ ๔ ประการ
สังคหวัตถุ คือ หลักในการสงเคราะห์กันและกัน ประกอบด้วย

๑. ทาน คือ การแบ่งปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้
๒. ปิยวาจา คือ การใช้เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา คือ ประพฤติตนแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
๔. สมานัตตตา คือ ความเป็นคนวางตนเสมอ ไม่ถือตัว
๑. ทาน เป็นการแบ่งปันสิ่งของ ๆ ตน แก่คนที่ควรให้ มีอยู่ ๕ ประการ เรียกว่า สัปปุริสทาน คือ ๑. ให้ด้วยศรัทธา ๒. ให้ด้วยความเคารพต่อผู้รับและสิ่งของที่ตนให้ ๓. ให้ตามโอกาสและเวลาที่ควรให้ ๔. ให้ด้วยใจอนุเคราะห์ ๕. ให้โดยไม่กระทบกระเทือนผู้อื่น
๒. ปิยวาจา การพูดจาปราศรัยถ้อยคำสำนวนที่สุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ ปราศจากคำพูดที่หยาบคาย โกหก พูดส่อเสียด และพูดเพ้อเจ้อ
๓. อัตถจริยา หมั่นประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยฉลาดในการทำประโยชน์ เช่น การช่วยเหลือด้วยกำลังกาย และใช้คำพูดที่ที่มีประโยชน์แก่ผู้ฟังตามสถานะและโอกาส
๔. สมานัตตตา ความวางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน วางตนให้เสมอต้นเสมอปลาย แก่บุคคลและโอกาส ประโยชน์ ของ สังคหวัตถุ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นและสร้างความสามัคคีหมู่คณะไว้ได้

หน้า๗

จักรวรรดิวัตร ๑๒

จักรวรรดิวัตร ๑๒ คือ ธรรม อันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิ และพระราชาเอกในโลก ทั้งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองประชาชน ทรงถือ และอาศัยธรรมข้อนี้เป็นธงชัย สำหรับ การดำเนินกุศโลบายและวิเทโศบาย ดังพระราชกรณียกิจที่ปรากฎ ๑๒ ประการคือ

 

๑. ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนัก และคนภายนอก ให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย

๒. ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น

๓. ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์

๔. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคฤหบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง

๕. ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท

๖. ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล

๗. ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์

๘. ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต

๙. ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริต กุศลและอกุศลต่อสังคม

๑๐. ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์ เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ้งชัด

๑๑. ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ

๑๒. ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

เรื่อง                                                                                                                                   หน้า

 

คำนำ

ความรู้เรื่อง ลิลิตเลงพ่าย                                                                                                           ๑

๑)ประตูป่า(โขลนทวาร)                                                                                                                 

๒)การตัดไม้ข่มนาม

๓)การนับเวลาตามแบบโบราณ(ทุ่ม โมง ยาม)                                                                         ๔

๔)การเคลื่อนทัพตามเกล็ดนาค                                                                                                 ๕

๕)ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ                                                                                                ๕

๖)สังคหวัตถุ ๔ ประการ                                                                                                            ๖

๗)จักรพรรดิวัตร ๑๒ ประการ                                                                                                  ๗

    อ้างอิง