Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วรรณคดีที่ปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

วรรณคดีที่ปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีอยู่ดังนี้
๑.โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์
พระนิพนธ์ใน พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ใช้คำประพันธ์ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ
เพื่อบันทึกเรื่องราว
๒.โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย
ประพันธ์โดย เจ้าฟ้าอภัย
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ มีเพียง ๒๕ บท
เพื่อพรรณนาความรู้สึกที่ต้องจากนางที่รัก และบันทึกการเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปลพบุรี
๓.นันโทปนันทสูตรคำหลวง
ประพันธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่ายยาว
เพื่อสอนศาสนาพุทธ
๔.พระมาลัยคำหลวง
ประพันธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่าย มีโคลงสี่สุภาพในตอนท้าย
เพื่อสอนศาสนาพุทธและเมื่อพบพระศรีอาริยเมตไตรย
๕.กาพย์เห่เรือ  กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก  กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประพันธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกาพย์ห่อโคลง ยกเว้นกาพย์เห่เรือใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกาพย์
เห่เรือกาพย์เห่เรือ เพื่อใช้เห่เรือในการเสด็จประพาสพระพุทธบาท ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก เพื่อพรรณนาถึงนางในนิราศ
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เพื่อพรรณนาธรรมชาติในการเดินทางจากอยุธยา ไปยังพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี
 ๖.เพลงยาวเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ประพันธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลง
เพื่อแสดงความรัก แสดงโวหารต่างๆ
๗.บทละครเรื่องดาหลังและอิเหนา (อิเหนาใหญ่และอิเหนาเล็ก)
อิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล
อิเหนาเล็ก    เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนบทละคร
เพื่อใช้เล่นละคร
 ๘.ปุณโณวาทคำฉันท์
ประพันธ์โดย พระมหานาค วัดท่าทราย
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทคำฉันท์
เพื่อบันทึกการสมโภชพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี
๙.โคลงนิราศพระพุทธบาท
ประพันธ์โดย พระมหานาค วัดท่าทราย
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ
เพื่อบันทึกการเดินทาง
๑๐.กลบทศิริบุลกิตติ
ประพันธ์โดย หลวงศรีปรีชา (เซ่ง)
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนกลบท (๘๖ ชนิด)
เพื่อเล่านิทานชาดก และเพื่อเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จเป็นพะรอรหันต์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะของวรรณคดีไทยในสมัยพระนารายณ์มหาราช

สมัยอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปี พ.ศ. ๒๑๖๓ จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๒๓๑ รวมเวลา ๖๘ ปี ในสมัยนี้มีกวีหลายคน สร้างวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง ชนชั้นต่างๆตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไล่ลงมา ต่างก็มีความสนใจในงานวรรณกรรมทั้งสิ้น โดยเฉพาะในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงให้การอุดหนุนแก่กวีที่จะสร้างสรรค์วรรณกรรมที่มีคุณค่าให้ปรากฏ ดังนั้นรัชกาลนี้จึงได้รับยกย่องว่าเป็น ยุคทองแห่งวรรณกรรม บทกลอนได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองทางวรรณคดี เช่น มีการประพันธ์ร่ายสำหรับใช้เทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง คือ กาพย์มหาชาติ , โคลงที่สอนขนบธรรมเนียมที่ข้าราชการพึงปฏิบัติต่อเจ้านาย คือ โคลงพาลีสอนน้อง หรือโครงราชสวัสดิ์ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ดี , สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งโคลงสี่สุภาพ กล่าวถึงหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ต่ออาณาประชาราษฎร์ คือ โคลงทศรถสอนพระราม ที่สำคัญก็คือจินดามณี ซึ่งเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกของไทย พระโหราธิบดีเป็นผู้แต่ง และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังทรงโปรดให้รวบรวมเหตุการณ์บ้านเมืองขึ้นเป็นพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื้อหาสรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บรรยายการได้ช้างเผือกจากกาญจนบุรี การอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๕ และการสร้างพระราชวังที่ลพบุรี เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

วรรณคดีที่ปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง สมัยนี้เป็นยุคทองของวรรณกรรมและวรรณคดีไทยยุคที่ ๑ มีอยู่ ๑๗ เรื่อง คือ               
๑.กาพย์มหาชาติ (พัฒนาจากมหาชาติคำหลวง)               
ประพันธ์โดย พระเจ้าทรงธรรม               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่าย                 
เพื่อสวดให้ประชาชนฟัง               
๒.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ
ประพันธ์โดย พระโหราธิบดี               
ใช้คำประพันธ์ร้อยแก้ว               
เพื่อบันทึกเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  ตามพระราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช               
๓.จินดามณี เล่มที่ ๑ (แบบเรียนภาษาไทยฉบับแรก)
ประพันธ์โดย พระโหราธิบดี               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง ประเภทต่างๆ เช่น ฉันท์ ร่าย เป็นต้น               
เพื่อเป็นตำราเรียนฉันทลักษณ์               
๔.สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนต้นและตอนกลาง)
ประพันธ์โดยพระมหาราชครู  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส               
ใช้คำประพันธ์ร้อยกรอง  ประเภทคำฉันท์ (มีกาพย์ด้วย)               
เพื่อใช้เล่นหนังใหญ่               
๕.โคลงสุภาษิต ๓ เรื่อง คือ โคลงท้าวทศรถสอนพระราม  โคลงพาลีสอนน้องและโคลงราชสวัสดิ์ ๖๓ โคลง               
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภท โคลงสี่สุภาพ               
โคลงทศรถสอนพระราม เพื่อสั่งสอนกษัตริย์ผู้ปกครองประเทศ
โคลงพาลีสอนน้อง เพื่อสั่งสอนข้าราชการ
โคลงราชสวัสดิ์ เพื่อสั่งสอนข้าราชการในรายละเอียดกว่าเรื่องพาลีสอนน้อง               
๖.เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา               
พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลงยาว               
เพื่อทำนายอนาคตของกรุงศรีอยุธยา               
๗.โคลงกวีโบราณ จำนวน ๒๕ บท (ต้นฉบับสูญหาย)               
กวีต่างๆ ในสมัยสมเด็พระนารายณ์ เช่น พระเทวี  พระเจ้าลานช้าง พระเยาวราช               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง มีโคลงประเภทต่างๆ เช่น โคลงกระทู้ ชนิดต่างๆ               
เพื่อแสดงฝีปากการแต่งโคลงโบราณ               
๘.เสือโคคำฉันท์               
ประพันธ์โดย พระมหาราชครู               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์               
เพื่อทดลองใช้ฉันท์แต่งเรื่องนิทาน               
๙.โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช               
ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ              
เพื่อยอพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช               
๑๐.กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ               
ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกาพย์ห่อโคลง               
เพื่อบันทึกความเป็นอยู่ของชาวกรุงศรีอยุธยา  ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
๑๑.โคลงนิราศนครสวรรค์               
ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่ายสุภาพ ๑ บท และโคลงสี่สุภาพ ๖๙ บท               
เพื่อบันทึกการเดินทาง               
๑๒.โคลงอักษรสามหมู่               
ประพันธ์โดย พระศรีมโหสถ               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพที่เป็นกลโคลง มีชื่อว่า ตรีพิธประดับ (ตรีเพชรประดับ)               
เพื่อแสดงแบบการแต่งกลโคลง               
๑๓.คำฉันท์ดุษฏีสังเวยกล่อมช้าง               
ประพันธ์โดย ขุนเทพกระวี               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทคำฉันท์               
เพื่อกล่อมช้างเผือกที่ได้มาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช              
  ๑๔.โคลงกำสรวลศรีปราชญ์              
  แต่งโดย ศรีปราชญ์               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรอง ประเภทโคลงสี่สุภาพ               
เพื่อแสดงปฏิภาณของผู้แต่ง
๑๕.อนิรุทธ์คำฉันท์
ประพันธ์โดย ศรีปราชญ์
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์
เพื่อแต่งนิทานที่มีที่มาจากคัมภีร์วิษณุปุราณะ
๑๖.โคลงนิราศหริภุญชัย
ไม่ปรากฏหลักฐานผู้แต่ง               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ (เดิมเป็นโคลงลาวก่อน)                เพื่อบันทึกการเดินทาง
๑๗.โคลงดั้นทวาทศมาส               
ประพันธ์โดย พระเยาวราช และขุนนาง ๓ คน               
ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงดั้นวิวิธมาลี  มีร่ายสุภาพท้าย ๑ บท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะภาษาในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
   ภาษา คือ ทำนบด่านแรกในการเข้าถึงวรรณคดี (ล้อม เพ็งแก้ว,๒๕๔๙: ๕๕-๕๖) ภาษาที่นิยมใช้ในสมัยหนึ่ง ย่อมแตกต่างกันกับภาษาในอีกสมัยหนึ่ง และเมื่อวันเวลาผ่านเลยไป ความนิยมนั้นย่อมเหลือร่องรอยอยู่ในวรรณกรรม จึงมีคำกล่าวกันว่า วรรณกรรมเป็นบันทึกการใช้ภาษาในสมัยแห่งวรรณกรรมนั้น หรือวรรณกรรมเป็นประวัติศาสตร์ของภาษา
ภาษาในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑.)   ใช้ศัพท์ภาษาโบราณ
ซึ่งเราไม่ค่อยทราบความหมายที่แท้จริงของคำเหล่านั้น บางคำเก่าแก่จนยากจะเดาความหมายได้ จึงอาจใช้วิธีสันนิษฐานเอา เช่น
เสือโคคำฉันท์
บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์   ตระบัด หมายถึง ฉ้อโกง
คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
   กำรากร้ายแรง         กำราก หมายถึง ช้างตกน้ำมัน
๒.)   ใช้ศัพท์ภาษาท้องถิ่น
วรรณคดีของไทยบันทึกด้วยภาษาราชการ อันเป็นภาษากลางของชาติ แต่ในวรรณคดียังมีศัพท์ภาษาถิ่นต่างๆ ปะปนมากมาย (ประสิทธิ์ กาพย์กลอน, ๒๕๑๘: ๖๓,๖๔) เช่น
คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
   และอย่าถีบฉัดแทง   เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง เตะด้วยหลังเท้า
   และโคลงนิราศหริภุญชัยซึ่งมีภาษาถิ่นและภาษาพายัพโบราณมาก ดังนี้
   - ศัพท์บางคำเป็นภาษาถิ่นพายัพ หรือคำเรียกเฉพาะถิ่น เช่น ชื่อสถานที่ หรือคำที่เกี่ยวกับตำนานท้องถิ่น เช่น ในโคลงบทที่ ๑๒ ฉบับพิมพ์ มีคำว่าธรยูคิรีเกิดใกล้ ผาเถียรแต่ในฉบับสมุดไทย และฉบับเชียงใหม่ เป็น ทุงยู ศรีเกิด บ้าง ทุ่งยู ศรีเกิด บ้าง หมายถึง วัดทุ่งอยู่และวัดศรีเกิด ข้อความในโคลงมีดังนี้
      ทุ่งอยู่ศรีเกิดใกล้      ผาเถียร
   สามสี่อาวาสเจียน         จิ่มไหว้
   กุศลที่ทำเพียร         พบราช เดียวเอย
   มิใช่จงหวังได้         แต่พ้นรสดลฯ
และอีกตัวอย่างหนึ่ง
   สองตาบมักดาฝั่ง ด่นด้าน   เป็นภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง ข้างหรือริม
ศัพท์ภาษาถิ่นอื่นๆ เช่น เขรง, เขง  หมายถึง    เกรง คึด หมายถึง คิด  จิ่ม   หมายถึง ด้วย เป็นต้น
๓.) ใช้ศัพท์ภาษาเขมร
   ในวรรณคดีมีศัพท์ภาษาเขมรปนอยู่มาก เช่นเดียวกับภาษาบาลี สันสกฤต วรรณคดีบางเรื่อง เช่น คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของขุนเทพกวี ใช้ภาษาเขมรเป็นพื้น เช่น วิง หมายถึง ขยล หมายถึง ลม กันเจรียง หมายถึง เซงแซ่ ตรนล หมายถึง สนั่น ฯลฯ ในบางตอนจากคำฉันท์ จะสังเกตว่ามีภาษาเขมรเกือบทั้งหมด ตัวอย่างเช่น
      พระพนมดธมโดม   นุบพิตรศอบจี
   สดับศัพทปีกษี         บิบำเราอหลับไถง
   เผลียงอุรบำนักขยล      ตรนลศะพทรไน
   ภรูโดการไร         ไชยนุชถาเชวา...
โคลงนิราศหริภุญชัย
      ผกาเพลิงพุ่งแซง      โชตการ
   ละลิดเทศทั้งทวยหาร      ใหม่ห้อ
   คระครื้นแย่งบัวบาน      ใบนิโครธ พริ้งเอย
   มิใช่บุญน้องน้อ         มิได้ลดดู
   แต่อย่างไรก็ตาม วรรณคดีบางเรื่องก็ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่ายได้ด้วย เช่น ในกาพย์ห่อโคลงต่างๆ (ประสิทธิ์ กาพย์กลอน, ๒๕๑๘: ๑๐๖)
   ๔.) ใช้ศัพท์ที่มีความสูงส่งด้วยรูปและเสียงเป็นพิเศษ
   กาพย์กลอนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอารมณ์สะเทือนใจ จึงต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเรื่องราว กล่าวคือ ต้องเป็นภาษาที่เรียกร้องอารมณ์ผู้อ่านได้ดี เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมไปกับผู้แต่ง หรือเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงต่อพระมหากษัตริย์ ศัพท์ที่ใช้จึงได้รับการเลือกสรรมาเป็นอย่างดี เช่น
การเรียกแทนตัวเองว่า      อัญขยม, เรียม, ข้า, เผือ ฯลฯ
เรียกแทนพระเจ้าแผ่นดินว่า      ธรณินทร์, นรนารถ, ภูเบศ, ขัตติยะ, บดินทร์ ฯลฯ
เรียกแทนแผ่นดินว่า      ฉมา, ธราดล, ภพ, ปัถวี ฯลฯ
เรียกแทนเมืองว่า         พารา, บุริ, นคเรศ, ธานี ฯลฯ
เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าปราสาททอง
      “...เชอญเจ้ากูเสด็จ์ไปเนียร      ทุกขสาษนจงเสถียร
   ภพห้าพันปี
      วรสยมภูวญาฯโมลี      รับคำโกษี
บอดินทรเสด็จ์ลีลา
      เจียรจากไอยสวรรยลงมา      ครอบครองอยุทธยา
   บุรินทรอินทรพิศาล...
โคลงนิราศนครสวรรค์
    ศรีสิทธิจิตรสกนธ พิมลพิมต ปรนตปรนม บังคมอัญชลี ตรีนรเทพผู้ห้าว ท้าวผู้หาญ เรืองฤทธิชาญไชยเดช ธนวิเสศวิสาล ถ้วนสบถานดรศักดิ องบริรักษ์ช่วยชี้ ทิศที่ทางใด ผี้ง่ายไซ้จงได้เห็น ขอเปนที่กางที่กั้ง กลฉัตรตั้งร่มเกษี ศัลย์แสนทวีหมื่ไหม้ จากอยุธยาไท้ ที่ผึ้งภูลเกษมฯ
   ๕.) มีการเล่นคำ เล่นอักษร การซ้ำคำ และการใช้โวหารที่ไพเราะ (พิชิต อัถนิจ, ๒๕๓๘: ๒๔๕)
ราชาพิลาปคำฉันท์หรือนิราศสีดา
      รอนรอนสุริยคล้อย   สายัณห์
   เรื่อยเรื่อยเรื่องเพ็งจันทร      ส่องฟ้า
   รอนรอนจิตกระสัน         เสียวสวาท แม่เอย
   เรื่อยเรื่อยเรียมถอยถ้า      ที่นั้นห่อนเห็น
โคลงอักษรสามหมู่ บทโคลงที่ ๑๔
      เขาขันคูคู่คู้      เคียงสอง
   เยื้องย่างนางยูงทอง      ท่องท้อง
   ทิวทุ้งทุ่งทุงมอง         มัจฉพราศ
   เทาเท่าเท้ายางหย้อง      เลียบลิ้มริมธารฯ

เนื้อหาวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนิราศหรือการจากนาง
   นิราศเหล่านี้จะมีลักษณะคร่ำครวญถึงนาง และบรรยายการเดินทางไปพร้อม ๆ กันด้วย ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย ราชาพิลาปคำฉันท์หรือนิราศสีดา และ นิราศนครสวรรค์
ในที่นี้จะยกตัวอย่างของโคลงนิราศหริภุญชัย ที่ผู้แต่งมีความมุ่งหมายเพื่อบรรยายความรู้สึกที่ต้องจากหญิงรักไปนมัสการพระ ธาตุหริภุญชัย ที่เมืองหริภุญชัย(ลำพูน)ก่อนออกเดินทางไปนมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ขอพรพระ มังราชหรือพระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลาเทพารักษ์ นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอด จนถึงเมืองหริภุญชัยได้นมัสการพระธาตุ สมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับเชียงใหม่
       ดวงเดียวดูยิ่งฟ้า      อัปศร
   เป็นปิ่นกามาวจร         เจื่องเจ้า
   บุญบาแต่งปางก่อน      ทักทำ นายนี
   แสนชาติยังยั้งเฝ้า       จึ่งล้วนลุคะนึง

วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำสอน
ได้แก่โคลงภาษิต ๓ เรื่อง ได้แก่
๒.๑ ทศรถสอนพระราม มีเนื้อหาแสดงพระจริยวัตรของพระมหากษัตริย์ที่พึงปฏิบัติต่อพระโอรส
๒.๒ พาลีสอนน้อง มีเนื้อหาสั่งสอนข้าราชการ โดยเอาเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นมูลของเรื่อง
๒.๓ โคลงราชสวัสดิ์ มีเนื้อหาสอนธรรมเนียมปฏิบัติราชการแก่ผู้ที่จะเป็นข้าแผ่นดินละเอียดกว่าโคลงพาลีสอนน้อง
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเรื่องพาลีสอนน้อง
   หนึ่งของกองโกศไว้   ในคลัง
อย่าคิดปิดแสวงหวัง      อาจเอื้อม
เอาออกนอกคลังรัง      แรงโทษ
อย่าได้มีใจเงื้อม         เงื่อนร้ายสลายคุณ
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทาน
ได้แก่เรื่อง เสือโคคำฉันท์ เป็นเรื่องเล่าสู่กันมาเพื่อความสนุกสนาน
จะจับเรื่องโคเสือมาเพื่อกล่าว   ถึงเรื่องราวสัมพันธ์ก่อที่ต่อสาน
ลูกเสือลูกโคเป็นเพื่อนกัน         สื่อสัมพันธ์สนิทแน่นแม้นพี่น้อง
ต้นตอก่อเหตุที่แม่เสือ         ออกล่าหาเหยื่อเพื่อปากท้อง
เลยเวลาไม่กลับมาเหลียวมอง      ปล่อยลูกเสือโห่ร้องเพราะท้องหิว
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการยอพระเกียรติ
ได้แก่ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  และเรื่องเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งเป็นการยกย่องสรรเสริญให้สมกับเกียรติยศของท่าน
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจาก โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระมนเทียรถ้าเทิด      แถวถงัน
ขวาสุทธาสวรรย์พรรณ      เพริศแพร้ว
ซ้านจันทรพิลาศวรรณ      เว็จมาศ
บานแบ่งคนธรสเร้า      เฟื่องฟุ้งขจรถวาย
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ได้แก่ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ เป็นบันทึกเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  ตามพระราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์
คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง มีเนื้อหาเป็นการกล่อมช้างเผือกที่ได้มาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และกาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ กล่าวถึงชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีของราษฎรชาวกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจาก ราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ
   ศักราช ๒๕๘ มแมศก (พ.ศ.๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าไปเสวยราชสมบัดดิเมืองพิศณุโลก และตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัดดิพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชา ครั้งนั้นพระมหาราชท้าวลูกยกพลมาเอาเมืองสุโขทัย...
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาเป็นสื่อผ่านวรรณคดี
ได้แก่ จินดามณี มีลักษณะเป็นตำราเรียนฉันทลักษณ์ และเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย โคลงอักษรสามหมู่ เพื่อแสดงแบบการแต่งกลโคลง โคลงเบ็ดเตล็ดของศรีปราชญ์ เพื่อแสดงปฏิภาณของผู้แต่ง
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจากจินดามณี   
   หมู่ใดในคณะ เป็นคู่อย่าละ กาพย์โคลงพากย์หาร บทฉันทใดฉงน สืบถามอย่านาน จู่ลู่ใช่การ ลิกขิตเกี้ยวพันธ์
และตัวอย่างจากโคลงอักษรสามหมู่
   เสนาสูสู่สู้      ศรแผลง
ยิงค่ายทลายเมืองแยง      แย่งแย้ง
รุกร้นร่นรนแรง      ฤทธิ์รีบ
ลวงล่วงล้วงวังแว้ง      รวบเร้าเอามา

ปัญญา บริสุทธิ์. วิเคราะห์วรรณคดีไทยโดยประเภท. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๔.
เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทยสำหรับนักศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๗.  กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์, ๒๕๑๕.
ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๐.
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://my.dek-d.com/dek-d/story/viewlongc.php?id=234046&chapter=41. เข้าถึงได้เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ฮอร์โมน

       ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ( endocrine gland ) หรือเนื้อเยื่อ (endocrine tissue) แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย ( target organ ) ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีน อามีนและสเตียรอยด์
       ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ต่อมใต้สมอง( pituitary gland) อยู่ตรงส่วนล่างของสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
-      ต่อมใต้สมองส่วนหน้า( anterior lobe of pituitary gland )
-      ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( intermediated lobe of pituitary )
-      ต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง( posterior lobe of pituitary gland )
       ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )
เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ hypothalamus สร้างฮอร์โมนประเภทสารโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ ได้แก่
       1.     Growth hormone(GH) หรือ Somatotrophic hormone(STH) ฮอร์โมนนี้หลั่งตอนหลับมากกกว่าตอนตื่นและตอนหิวมากกว่าช่วงปกติ
เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย polypeptide ที่มีกรดอมิโน 191 ตัว มีธาตุกำมะถันอยู่ในรูป disulphid
กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยอาศัย thyroxin และ inrulin เป็นตัวคะตะลิสต์
มีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูกกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ความผิดปกติเมื่อร่างกายขาดหรือมีมากเกินไป
-      ถ้าร่างกายขาด GH ในเด็ก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (สติปัญญาปกติ) เรียก Dawrfism ในผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด(stess) สูงเรียกว่า Simmom’s disease
-      ถ้าร่างกายมี GH มากเกินไป ในวัยเด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism ในผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly
       2.     Gonadotrophin หรือ Gonadotrophic hormone ประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
2.1      Follicle stimulating hormone (FSH) ทำหน้าที่กระตุ้นฟอลลิเคิลให้สร้างไข่และไข่สุก มีการสร้างฮอร์โมน estrogen ออกมา และกระตุ้น seminiferrous tubule ให้สร้างอสุจิ
2.2      Luteinizing hormone (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกจากฟอลลิเคิล สำหรับในเพศชาย กระตุ้นให้ interstitial cells ในอัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจเรียกว่า Interstitial Cell Stimulating Hormone (ICSH)
       3.     Prolactin หรือ Lactogenic hormone (LTH) ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมในเพศหญิง นอกจากนี้ทำหน้าที่ร่วมกับ androgen ในเพศชายกระตุ้นต่อมลูกหมาก การบีบตัวของท่อนำอสุจิ การสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

       4.     Andrenocorticotrophin หรือ Adrenocorticotrophic hormone (ACTH)
มีหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตและการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้สร้างฮอร์โมนตามปกติและกระตุ้น การหลั่ง insulin การหลั่ง GH ควบคุมการทำงานของต่อมเหนือไตชั้นนอก ( adrenal cortex ) ทำให้สีของสัตว์เลือดเย็นเข้มขึ้น มีโครงสร้างเหมือน MSH
       5.     Thyroid Stimulation hormone (TSH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ thyroxine hormone
การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจากสมองส่วน hypothalamus มีฮอร์โมนที่กระตุ้นและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและมีชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน เช่น
-      ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง GH ( GH releasing hormone, GRH) กระการหลั่งฮอร์โมน growth
-      ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง GH (GH inhibiting hormone,GIH) ยับยั้งไม่ให้มีการหลั่งฮอร์โมน growth
-      ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง prolactic (Prolactin releasing hormone,PRH) กระตุ้นให้ Prolactin หลั่งออกมา
-      ฮอร์โมนควบคุมการหลั่ง thyroid (Thyroid releasing hormone,TRH) กระตุ้นการหลั่ง TSH
-      ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gn (Gonadotrophin releasing hormone,GnRH) กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH และ FSH
ฮอร์โมนเหล่านี้รวมเรียกว่า ฮอร์โมนประสาท เพราะสร้างมาจากเซลล์พิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาทภายใน hyprothalamus
       ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง (Intermediate lobe)
มีขนาดเล็กมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน Melanocyte Stimulating Hormone(MSH) ทำหน้าที่ปรับสีของสัตว์เลือดเย็นให้เข้มขึ้น(ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ Malatonin จากต่อม pineal ) ในสัตว์เลือดอุ่นมีหน้าที่ไม่แน่ชัด
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior lobe) เป็นกลุ่มเซลล์ของเนื้อเยื่อประสาทจาก hypothalamus ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนภายนอก แล้วลำเลียงมาไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่
1.      Oxytocin ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เต้านม กระเพาะปัสสาวะมีการหดตัว ฮอร์โมนนี้จะมีการหลั่งออกมาตอนคลอดลูกและในขณะร่วมเพศ แต่ถ้าหลั่งออกมามากก่อนคลอดจะทำให้แท้งลูกได้
2.      Vasopressin หรือ Antidiuretic hormone ( ADH ) ทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวช่วยให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับคืน ทำให้ลดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถ้าร่างกายขาดจะปัสสาวะมากทำให้เกิดโรคเบาจืด( diabetes inspidus)
       ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลเกอร์ฮานส์
Paul langerhan(1868) แห่งมหาวิทยาลัยไพรเบิร์กในเยอรมัน ได้ศึกษาตับอ่อนและพบกลุ่มเซลล์ตับอ่อนกระจายอยู่เป็นย่อมๆมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก แ ละเรียกกลุ่มเซลล์เหล่านี้ตามชื่อของผู้คนพบว่า islets of Langerhans ฮอร์โมนที่สำคัญมี 2 ชนิดคือ
1.      Insulin สร้างมาจากกลุ่ม ? – cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก หน้าที่ของ insulin คือรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ถ้ามีน้ำตาลในเลือดสูง insulin จะช่วยเร่งการนำกลูโคสเข้าเซลล์และเร่งการสร้าง glycogen เพื่อเก็บสะสมไว้ที่นับและกล้ามเนื้อ และเร่งการใช้กลูโคสของเซลล์ทั่วไป ทำให้น้ำตาลในเลือดน้อยลง
ในคนปกติจะมีน้ำตาลในเลือด 100 mg ต่อเลือด 100 Cm3 กรณีคนที่ขาด insulin ทำให้เป็นโรคเบาหวาน ( diabetes mellitus ) คือ มีน้ำตาลในเลือดสูงมากและหลอดไตดูดกลับไม่หมด จึงมีส่วนหนึ่งออกมากับปัสสาวะ เมื่อเป็นมากๆ ร่างกายจะผอม น้ำหนักตัวลดลงมากเนื่องจากมีการสลายไขมันและโปรตีน มาใช้แทนคาร์โบไฮเดรตซึ่งร่างกายใช้ไม่ได้ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง และมีน้ำตาลออกมาด้วย ปัสสาวะมีความเป็นกรดมาก เนื่องจากมีคีโตนบอดี (Ketone Body) ซึ่งเป็นผลจากการสลายไขมัน นอกจากนี้ถ้าหากเป็นแผลจะหายยากมากเพราะในเลือดมีน้ำตาลสูง จุลินทรีย์ต่างๆจึงใช้เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี เมื่อเป็นนานเข้าผู้ป่วยจะตาย เนื่องจากไตหมดประสิทธิภาพในการทำงาน
2.      Glucagon สร้างมาจาก ? – cell เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่และมีน้อยกว่า ? – cell glucagon มีหน้าที่เพิ่มน้ำตาลในเลือดโดยเร่งสลายไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ insulin ) และเร่งการสร้างกลูโคสจากโปรตีนด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจะเป็นสัญญาณให้ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ทำงานเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ
       ฮอร์โมนจากต่อหมวกไต
ต่อมหมวกไต(adrenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่เหนือไตทั้งสองข้าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ต่อมหมวกไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.      adrenal cortex หรือต่อมหมวกไตชั้นนอก ผลิตฮอร์โมนได้มากกว่า 50 ชนิด ภายใต้การควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นมีสมบัติเป็นสเตอรอยด์ (steroid) แบ่งฮอร์โมนเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ
1.1      Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยน glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ( ทำหน้าที่เหมือนกลูคากอนจากตับอ่อน)ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ฮอร์โมนกลุ่มนี้คือ cortisol และ cortisone ( ในภาวะตึงเครียดถ้ามีการหลั่ง cortisol มากทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้)
ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจำทำให้อ้วน อ่อนแอ ( ไขมัน พอกตามตัว ) หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกับคนเป็นโรคเบาหวาน เรียกว่า โรคคูชชิง( Cushing’s syndrome)
1.2      Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อตับ
ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ
1.3      Adrenal sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยกระตุ้นให้มีลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง (secondeary sexual characteristics) ในเด็กผู้หญิงพบว่า ถ้ามีฮอร์โมนเพศมากเกินไปจะมี่ขนาด clitoris โต และมีอวัยวะที่ labium คล้ายๆถุงอัณฑะถ้าเป็นผู้หญิงที่โตเป็นสาวแล้วจะมีผลทำให้เสียงต่ำและมีหนวดเกิดขึ้น ประจำเดือนหยุดเรียกลักษณะนี้ว่า Adrenogentital sysdrome
ถ้า adrenal cortex ถูกทำลายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เป็นโรค Addison’s disease ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
2.      Adrenal medulla เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ( ไม่มี parasympathetic ) ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด
2.1      Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone
กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง ( ความดันเลือดสูง ) เส้นเลือดขยายตัวเปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด ทำให้มีพลังงานมากในขณะหลั่งออกมา (adrenalin ใช้ในการห้ามเลือดได้เพราะทำให้เลือดเป็นลิ่ม ๆ)
2.2      Noradrenalin hormone หรือ Norepinephrine hormone
กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ( ความดันเลือดสูง ) ผลอื่นๆคล้าย adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
       ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์(Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ มี 2 lobe อยู่บริเวณลำคอ หน้าหลอดลมใต้กล่องเสียงเล็กน้อย ต่อมนี้สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
1.      Thyroxin เป็นสารอนุพันธ์ของกรดอมิโน ช่วยเร่งอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ช่วยให้เกิด metamorphosis เร็วขึ้น ฮอร์โมนนี้จำเป็นต่อการเจริญและการพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะสมอง
ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซิน ในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาไม่ดี อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายเตี้ยแคระ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Cretinism
ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉื่อยชา เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Myxedema
นอกจากนี้การขาดธาตุไอโอดีน ยังมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้ ส่งผลให้เป็น โรคคอพอก ( Simple goiter หรือ endemic goiter) เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอกซิน จะมีผลให้ Hypotalamus หลั่งสารเคมีมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH ส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ เมื่อต่อมถูกกระตุ้นจึงมีขนาดขยายโตขึ้น
การสร้างฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดโรค Grave’s disease ในเด็กจะมีอาการตัวสั่น ตกใจง่าย แต่คอไม่พอก ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดอาการคอพอกเป็นพิษ (toxin goiter หรือ exophthalmic goiter ) ต่อมมีขนาดใหญ่ มีฮอร์โมนมาก อัตราเมแทบอลิซึมจะสูง นานไปจะมีการสะสมสารเคมีบางชนิดในเบ้าตาทำให้ตาโปน
2.      Calcitonin เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ลดระดับของแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติ ให้เข้าสู่ระดับปกติ โดยดึงส่วนที่เกินนั้นไปไว้ที่กระดูก ดังนั้นระดับแคลเซียมในเลือดจึงเป็นตัวควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ฮอร์โมนนี้จะทำงานร่วมกับต่อมพาราไทรอยด์และวิตามิน
       ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว มีอยู่ด้วยกัน 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ parathormone
Parathormone เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและเนื้อเยื่อให้ปกติ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับวิตามิน ซี และ ดี ทำหน้าที่ควบคุมแคลเซียม กับ Calcitonin
ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่องของหน่วยไตลดน้อยลง แต่จะมีฟอสฟอรัสมากขึ้น มีผลทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็งเรียกการเกิด tetany แก้โดยลดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงๆ และเพิ่มแคลเซียมหรือฉีดวิตามิน D
แต่ในกรณีที่มีมากเกินไปจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงประสาทตอบสนองได้น้อย กล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดกระดูก
       ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์
ต่อมเพศ (gonad gland) หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ์คืออัณฑะ หรือ รังไข่
1.      อัณฑะ (testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ interstitial cell เป็นแหล่งที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายฮอร์โมนที่ถูกสร้างเป็นสารสเตียรอยด์ ที่เรียกว่า androgens ประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญคือ testosterone ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดบริเวณที่ริมฝีปาก กระดูกหัวไหล่กว้าง
2.      รังไข่( ovary ) เป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ต่อมเพศอยู่ในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง มีแหล่งสร้างฮอร์โมน 2 แหล่ง คือ follicle ในรังไข่ และ corpus luteum ฮอร์โมนที่สร้างได้มี 2 ชนิด คือ
1.1      Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก follicle ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง การมีประจำเดือน เตรียมการตั้งครรภ์ ห้ามการสร้างไข่ โดยห้าม FSH จากต่อมใต้สมองและกระตุ้นให้มีการหลั่ง LH แทน
1.2      Progesterone สร้างจาก corpus luteum มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนา ห้ามการมีประจำเดือน ห้ามการตกไข่ ให้ต่อมน้ำนมเจริญมากขึ้น ป้องกันการแท้งบุตร อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน FSH และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ระบบฮอร์โมนขณะมีการเปลี่ยนแปลงรอบเดือน ในขณะมีรอบเดือน (memstrucation) Estrogen และ LH ต่ำ progresterone ต่ำมาก ภายหลังการตกไข่ (ovulation ) progesterone จะสูงขึ้นและจะสูงสุดภายหลังตกไข่ผ่านไป 1 สัปดาห์ จากนั้นจะลดลงเรื่อยๆถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิ
       ฮอร์โมนจากต่อไพเนียล
ต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างสมองส่วน cerebrum พูซ้ายและพูขวา ต่อมไพเนียลจะสร้างฮอร์โมน melatonin
Melatonin เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในคนและสัตว์ชั้นสูงในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว โดยจะไปยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์
ถ้าต่อมนี้เกิดผิดปกติและผลิตฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้าลงกว่าปกติ
ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำบางชนิด เช่น ปลาปากกลมต่อมไพเนียลจะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แต่จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสง (photoreceptor)
การหลั่งฮอร์โมนของต่อมนี้ จะหลั่งได้ดีในกรณีอยู่ในที่มืดในสัตว์พวกที่อยู่ในที่มีแสงสว่างมากจะหลั่งน้อย พวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น ฮอร์โมนนี้จะไปช่วยในการปรับสีของผิวหนังให้จางลง (ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับ MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง)
       ฮอร์โมนจากต่อมไทมัสและเนื่อเยื่ออื่นในร่างกาย
ต่อมไทมัส(Thymus glad) มีลักษณะเป็น 2 พู อยู่ตรงทรวงอก รอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจเป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่สร้างลิมโฟไซต์(T-Lymphotyce) หรือ T-Cell
การที่เนื้อเยื่อน้ำเหลืองสร้างเซลล์ได้ต้องมีฮอร์โมนThymosinที่สร้างจากเนื้อเยื่อบางส่วนของต่อมไทมัส ต่อมนี้เจริญเต็มที่ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์แม่ และจะเสื่อมสภาพเรื่อยๆเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
นอกจากนี้ ฮอร์โมนบางชนิดยังสามารถสร้างจากเนื้อเยื่อในร่างกายได้เนื้อเยื่อสำคัญคือ เนื้อเยื่อชั้นในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อนี้เป็นสารประเภทโปรตีน มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ได้แก่
1.      Gastrinเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้น ทำหน้าที่กระตุ้นหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
2.      Sacretin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในบริเวณดูโอดินัม ของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในตับอ่อน และกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดี เมื่ออาหารผ่านจากกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก
       การควบคุมการทำงานของฮอร์โมนนี้
1.      ควบคุมโดยระบบประสาทโดยตรง เช่น การทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหลัง และอะครีนัลเมดัลลา
2.      ควบคุมระบบประสาทโดยอ้อม เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมอะดรีนัลอร์เทกซ์ รังไข่ อัณฑะ ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ถูกควบคุม โดยต่อมใต้สมองส่วนหน้า แต่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าถูกควบคุมโดยฮอร์โมนส่วนประสาทจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส
3.      ควบคุมโดยฮอร์โมน โดยต่อมไร้ท่อจะสร้างฮอร์โมนมาควบคุมซึ่งกันและกัน ซึ่งมีทั้งกระตุ้น และยับยั้ง เช่นต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้างฮอร์โมนมาควบคุม และกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มขึ้น เมื่อฮอร์โมนนี้มีมากเกินไปก็จะยับยั้งฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าอีกทีหนึ่ง การควบคุมแบบนี้เรียกว่า การควบคุมแบบย้อนกลับ (Negative feed back)
4.      การควบคุมโดยผลของฮอร์โมน เช่น การหลั่ง Paratormone ถูกควบคุมโดยระดับแคลเซียม ในพลาสมา ถ้าระดับแคลเซียมในพลาสมาต่ำจะมีผลไปกระตุ้นต่อต่อมพาราไทรอยด์ ให้หลั่งParatormone ออกมามาก แต่เมื่อระดับแคลเซียมสูง จะเป็นการยับยั้งฮอร์โมนนี้
       ฟีโรโมน (Pheromone)
Pheromone หมายถึง สารเคมีที่สัตว์ขับออกมานอกร่างกาย โดยต่อมมีท่อ (exocrine gland) ซึ่งไม่มีผลต่อตัวเอง แต่จะไปมีผล ต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็นชนิดหรือสปีชีส์เดียวกัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และสรีรวิทยาเฉพาะอย่างได้ฟีโรโมน จัดเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสารสัญญาณดังนี้
1.      สารดึงดูดเพศตรงข้าม (Sex Attractant)
2.      สารเตือนภัย (Alarm Pheromone)
3.      สารส่งเสริมการรวมกลุ่ม (Aggregation – Promoting Subtances)ยกว้นสารสารที่มีกลิ่นเหม็นๆของแมลงที่ผลิตออกมาเพื่อป้องกันศัตรู เรียกว่าAllomones
       ฮอร์โมนจากแมลง
ฮอร์โมนจากแมลงมี 3 กลุ่ม คือ
       1.     ฮอร์โมนจากสมอง (brain hormone หรือ BH) เป็นกลุ่มฮอร์โมนซึ่งสร้างจาก neurosecretory cell ในสมอง กระตุ้นต่อมไร้ท่อบริเวณทรวงอก ทำให้สร้างฮอร์โมน molting hormone (MH) ไปเก็บไว้ใน corpus cardiacum ต่อไป
       2.     ฮอร์โมนเกี่ยวกับการลอกคราบ (molting hormone หรือ MH) สร้างบริเวณทรวงอกมีผลทำให้แมลงลอกคาบ และ metamorphosis เป็นตัวโตเต็มวัย
       3.     ฮอร์โมนยูวีไนล์(Juvenile hormone หรือ JH) สร้าง จากต่อมทางสมองมาทางซ้ายเรียก corpus allatum ทำหน้าที่ห้ามระยะตัวหนอนและดักแด้ไม่ให้ไม่ให้เป็นตัวเต็มวัย แต่ถ้ามี JH ลดลง จะกระตุ้นให้ลอกคราบแล้วกลายเป็นตัวเต็มวัยได้
       ฮอร์โมนพืช (plant hormone)
ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วย
สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชนี้เรียกว่า ฮอร์โมนพืช มี 5 ประเภทคือ
       1.      ออกซิน(Auxin) หรือ กรดอินโดลแอซีติก(indoleacetic acid) เรียกย่อว่า IAA เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อนและรากอ่อนแล้วแพร่ไปยังเซลล์อื่น คุณสมบัติของออกซิน มีดังนี้
-      แพร่จากยอดลงสู่ต้น
-      หนีแสงไปยังด้านที่มืดกว่า
-      ช่วยให้เจริญเติบโต แต่ยับยั้งการแตกของตาด้านข้าง
-      กระตุ้นการออกดอก และการกระตุ้นให้ ovary >>> fruit ( ไม่มีเมล็ด ) โดยไม่ต้องผสมพันธุ์
-      กระตุ้นการแตกราของกิ่งในการเพราะชำ
-      ชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล
-      กระตุ้นให้ยอดเจริญเติบโตรวดเร็ว แต่ในรากยับยั้งให้ช้าลง
       2.     จิบเบอเรลลิน ( gibberellin) หรือ กรด gibberellic acid เรียกว่า GA เป็นฮอร์โมนพืชพวกหนึ่งในพืชชั้นสูง สร้างมาจากใบอ่อนและผลที่ยังไม่แก่ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติดังนี้
-      กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ระหว่างข้อปล้อง ทำให้ต้นไม้สูง
-      กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา เพิ่มการเกิดดอก
-      เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียในพืชตระกูลแตง
-      ช่วยยืดช่อของผล
       3.     เอทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งผลิตขึ้นมาขณะที่เซลล์กำลังมีเมแทบอลิซึม ตามปกติเอทิลีนทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจ และยังทำหน้าที่อื่นๆดังนี้
-      เร่งเมแทบอลิซึม ทำให้ผลไม้สุก
-      กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับประรด
-      กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ
-      เร่งการงอกของเมล็ด
-      เร่งการไหลของน้ำยางพารา
       4.     กรดแอบไซซิก(abscisic acid) เรียกย่อว่า ABA เป็นฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นในการร่วงของใบโดยตรง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่
-      กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่เต็มที่
-      ยับยั้งการเจริญของเซลล์บริเวณตา
-      กระตุ้นให้ปากใบปิดเมื่อขาดน้ำ
-      ยืดระยะพักตัวของต้นอ่อนในเมล็ด
       5.     ไซโทไคนิน (cytokinin) เป็นฮอร์โมนพืชที่พบในน้ำมะพร้าวและสารที่สกัดได้จากยีสต์มีสมบัติกระตุ้นการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ คุณสมบัติอื่นๆมีดังนี้
-      กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ใช้ผสมในอาหารเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้เกิดหน่อใหม่
-      กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
-      ชะลอการแก่ของผลไม้