Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลกระทบของการสร้างสรรค์พัฒนาการของมนุษยชาติ

15

 

ผลกระทบของการสร้างสรรค์พัฒนาการของมนุษยชาติ

 

 

ด้านการเมืองการปกครอง 

 

1.ผลกระทบจากการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติทางด้านการเมืองการปกครอง

พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองของประเทศตะวันตกได้ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติหลายประการ สรุปได้ดังนี้ 

1.การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ 

2.การเกิดลัทธิชาตินิยม 

3.การเกิดลิทธิจักรวรรดินิยม 

4.การเกิดสงครามโลกครั้งที่1และระบอบการปกครองแบบสังคมนิย (คอมมิวนิสต์) 

2.การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ 

อุดมการณ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้แพร่หลายเข้าไปดินแดนต่างๆ ตั้งแต่ศริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ทั้งในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา และทวีปออสเตรเลีย ซึ้งมีชาวอังกฤษอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน โดยเกิดผลกระทบด้านการเมือง การปกครองดังนี้ 

2.1.ความคิดเรือ่กษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรม คือการใช้พระราชอำนาจสิทธิ์ขาดของกษัตริย์จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ทั้งนี้ รัฐจะต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้วย 

2.2.การปฏิวัติอเมริกัน ระหว่าง ค.ศ.1776-1783 ทำให้เกิดประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นอิสระจากอังกฤษเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ประเทศต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการมีร่วมของประชาชน 

2.3.การปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส  ค.ศ.1789 คือ ล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศส มีผลกระตุ้นให้ชนชาติอื่นๆ รวมตัวจัดตั้งเป็น รัฐชาติ (ประเทศ) และสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้น 

2.4.พัฒนาการการปกครองระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ ในคริสต์ศตวรรษที่18-19 ในสมัยาชวงศ์แฮโนเวอร์ ( Hanover) เป็นที่กษัตริย์อังกฤษอยู่ภายใต้กฏหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีสถาบันทางการเมืองอื่นๆ ทำหน้าที่สนับสนุนการปกครองได้แก่ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี  รัฐสภา และ พรรคการเมือง เป็นต้น

2.5.การปฏิรูปการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษในยุคสมัยต่อ  มา มีดังนี้ 

      (1) การเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของชนชั้นกลาง ทำให้เกิดกฎหมายปฏิรูปการเลือกตั้ง ในปี ค..1832 โดยยินยอมให้ชนชั้นกลางในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรได้ ทำให้พวกขุนนางและเจ้าที่ดินที่เคยผูกขาดเป็นผู้แทนราษฎรในรัฐสภาต้องลงจำนวนลง และตัวแทนจากชนชั้นกลางเขามามีบทบาทในรัฐสภามากขึ้น

      (2) การขยายสิทธิการเลือกตั้งให้ประชาชนและผู้ใช้แรงงานอย่างกว้างขวาง เริ่มตั้งแต่การตรา กฎหมาย ในปี ..1926 ให้สตรีที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น 

2.6.การเคลื่อนไหวปฏิรูปการเมืองในอังกฤษได้ส่งผลไปยังอาณานิคมในออสเตรเลีย กล่าวคือ การเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของชนชั้นกลางในอังกฤษที่เรียกว่ากลุ่มเรียกร้องกฎบัตร ( Chartist ) ได้แพร่หลายไปยังออสเตรเลีย ให้เกิดการลงคะแนนเสียงโดยวิธีลับขึ้นในออสเตรเลียและเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี ..1856 ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อยู่ปัจจุบัน 

3. การเกิดลัทธิชาตินิยม 

              ลัทธิชาตินิยม ( Nationalism ) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของกลุ่มคนที่ถือเอาเชื้อชาติของตนเป็นใหญ่ เป็นความรู้สึกหรือความคิดที่รักในชาติของตนอย่างมาก ลัทธิชาตินิยมที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การปกครองของยุโรป ดังนี้ 

              3.1 ลัทธิชาตินิยมนำไปสู่การรวมชาติ เกิดความต้องการรวมดินแดนที่มีประชากรเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมเดียวกันให้เป็นประเทศ ทำให้เกิดรัฐหรือประเทศใหม่  เช่น อิตาลี เยอรมนี เดนมาร์ก และเซอร์เบีย เป็นต้น 

              3.2 ลัทธิชาตินิยมนำไปสู่การขยายอำนาจและความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทำให้ชาติต่าง  ต้องการสร้างความเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ให้เกิดแก่ชาติของตน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง การทำสงครามขยายดินแดนและแย่งชิงแหล่งทรัพยากร เป็นต้น 

4. การเกิดลัทธิจักรวรรดินิยม 

              ลัทธิจักรวรรดนิยม ( Imperialism ) เกิดขึ้นในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นแนวความคิดของชาติมหาอำนาจในยุโรปที่จะขยายอำนาจและอิทธิพลของตนเข้าครอบครองดินแดนที่ล้าหลังและด้อยความเจริญในทวีปต่าง  เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น เป็นแหล่งวัตถุดิบ และตลาดระบายสินค้า เป็นต้น 

              ลัทธิจักรวรรดินิยม มีผลกระทบต่อการเมือง การปกครองของประเทศต่าง  ดังนี้ 

              4.1 ทำให้ชาติมหาอำนาจขัดแย้งในผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองของโลกเข้าสู่ภาวะตึงเครียด และนำไปสู่สงครามในที่สุด 

              4.2 ทำให้ชาติตะวันตกมีข้ออ้างอันชอบธรรมในการยึดครองดินแดนต่าง  เป็นอาณานิคมของตน เพราะถือเป็นภาระหน้าที่ของคนผิวขาวที่จะนำอารยธรรมความเจริญไปเผยแพร่ยังดินแดนที่ล้าหลังและห่างไกลความเจริญ    ส่งผลให้ประชากรในดินแดนอาณานิคมเกิดการซึมซับในวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต ความคิดและค่านิยมแบบตะวันตก 

 

 

 

5. การเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 และการปกครองระบอบสังคมนิยม (คอมมิวนิสต์)

              5.1 การเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 (.. 1914 – 1918) เป็นผลสืบเนื่องมาจากการแข่งขันกันขยายอำนาจ อิทธิพล และผลประโยชน์ในหมู่ชาติมหาอำนาจ จึงเกิดการแบ่งฝ่ายเป็น 2 ค่าย มีการสะสมอาวุธและแสนยานุภาพทางทหาร จนเกิดการสู้รบกลายเป็นสงครามโลก ครั้งที่ 1 ในที่สุด 

                            (1) ค่ายความตกลงไตรภาคี ( Triple Enterte ) มี อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย 

                            (2)  ค่ายสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ( Triple Alliance ) ประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี และอิตาลี 

              5.2 การเกิดระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม (คอมมิวนิสต์) ผลกระทบที่สำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ รัสเซียได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม (คอมมิวนิสต์) ซึ่งมีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเมืองของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างมาก 

              เพราะนับตั้งแต่สงครามโลก ครั้งที่ 2 (.. 1939 – 1945) สิ้นสุดลง ได้เกิดการแข่งขันและการเผชิญหน้าทางการเมืองระหว่างชาติมหาอำนาจ 2 ค่าย ได้แก่ สหรัฐอเมริกาชาติผู้นำในโลกเสรีประชาธิปไตยกับสหภาพโซเวียตชาติผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ ทำให้โลกก้าวเข้าสู่ภาวะความตึงเครียดทางการเมืองอีกครั้ง เรียกว่า ยุคสงครามเย็น” (.. 1945 – 1991)

 

ด้านเศรษฐกิจ

ผลกระทบจากการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

              การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของมนุษยชาติในอดีต ส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาเป็น ระบบเศรษฐกิจ แบบต่าง  เพื่อนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศตน ระบบเศรษฐกิจแบบต่าง  ที่เป็นผลกระทบจากพัฒนาการของมนุษยชาติในอดีต มีดังนี้

              1 ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หลักการสำคัญ คือ สนับสนุนบทบาทการดำเนินธุรกิจและการประกอบการของภาคเอกชน เน้นระบบการค้าเสรี ( Free Trade ) ให้มีการแข่งขันระหว่างพ่อค้าเอกชน โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซง

              2 ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ( Capitalism ) เป็นระบบเศรษฐกิจที่พัฒนามาจากระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดยอำนาจทางเศรษฐกิจจะรวมศูนย์อยู่ที่นายทุนที่มั่งคั่ง ทำให้เกิดการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพัฒนาไปสู่การลงทุนในต่างประเทศ ที่เรียกว่า บรรษัทข้ามชาติ

              3 ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการผลิตเองทั้งหมด หรือเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง รัฐจะเป็นผู้วางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยทั่วไปจะยกเลิกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน

              4 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยมโดยรัฐจะเข้ามาดำเนินการผลิตในกิจการที่สำคัญบางอย่าง เช่น การผลิตไฟฟ้า ประปา ทางหลวง รถไฟ และกิจการสาธารณูปโภคอื่น 

              ทั้งนี้ เอกชนยังคงมีเสรีภาพในการผลิต ทั้งการผลิตภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริหารรวมทั้งเป็นเจ้าของหรือถือครองในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง  ได้ เช่น ที่ดิน อาคารพาณิชย์      โรงแรม ตลาด ฯลฯ

 

ด้านสังคม

ผลกระทบจากการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติทางด้านสังคม

              การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมของมนุษย์ ดังนี้

              1 การเพิ่มของจำนวนประชากร ในปัจจุบัน โลกมีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยปีละ 4.5 ล้านคน ประชากรของโลกมีจำนวนรวมมากกว่า 6,100 ล้านคน ทั้งนี้เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ การอนามัย สาธารณสุข และภาวะโภชนาการ

              2 การขยายตัวและการเจริญเติบโตของชุมชนเมือง มีแนวโน้มว่าการเกิดของสังคมเมือง เป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นผลกระทบจากความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจการค้า อุตสาหกรรม การบริการ และการเพิ่มของจำนวนประชากร ทำให้มีผู้คนจากชนบทอพยพเข้ามาหางานทำในเมือง

              3 ความเหลื่อมล้ำในฐานะทางเศรษฐกิจและช่องว่างทางสังคม ผู้คนมีรายได้และมาตรฐานการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานจะมีรายได้ต่ำกว่าเจ้าของกิจการในภาค   อุตสาหกรรมและบริการ หรือผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง เช่น แพทย์ ผู้พิพากษา ฯลฯ

              4 สถานภาพทางสังคมของเด็กและสตรี สังคมให้ความสนใจและเอาใจใส่ต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนมากขึ้น เช่น ส่งเสริมด้านการศึกษา และออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิ์เด็ก เป็นต้น ส่วนฐานะของสตรีในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้รับสิทธิและความเสมอภาคเท่าเทียมกับชายในทุก  ด้าน ทั้งในด้านการเมือง การศึกษา และความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

ผลกระทบด้านศิลปวัฒนธรรม

ในยุคโลกไร้พรมแดน ส่งผลให้เกิดการรับวัฒนธรรมที่แฝงมากับข้อมูล ข่าวสาร รูปแบบต่างๆบนสังคมระบบเครือข่าย ซึ่งการรับรู้ข่าวสารที่ไม่เหมาะสมย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เรารู้ในสิ่งที่คิดว่าเป็นสิ่งลี้ลับมากยิ่งขึ้นซึ่งอาจจะเป็นทั้งผลดีและผลไม่ดีตอสภาพสังคมของมนุษย์ที่ยึดติดกับความเชื่อซึ่งจะอธิบายดังนี้

1. เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ดังเช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่งจดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ จริยธรรมการใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝังอย่างมาก
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมมีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์ กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนี้มนุษย์สัมพันธ์ของบุคคลจะลดน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก

 

3.  สิ่งแวดล้อมทางวิถีชีวิตของคน

เช่นจารีตประเพณี วัฒนธรรมของอีกสังคมหนึ่งจะถูกถ่ายทอดไปยังอีกสังคมหนึ่งอย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนทางสังคมจึงเกิดขึ้นอาจตั้งใจหรือไม่ตั้งใจทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปลูกฝังของคนในสังคมนั้น ๆ แน่นแฟ้น เพียงใด ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในสังคมจึงมีตามมาอย่างแน่นอน
4. ความขัดแย้งในเชิงศาสนา ปรัชญา และความเชื่อ

เช่น การ Cloning และ stem cell เป็นต้น ซึ่งยังมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันว่าการทำการทดลองนี้มีส่วนที่ผิดจริยะธรรมอย่างน้อยเพียงใด

 

 

 

 

 

ด้านวิทยาการและเทคโนโลยี

 

ผลกระทบจากการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี

              การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่าง  ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ทั้งผลดีและผลเสีย สรุปได้ดังนี้

              1 ด้านการเมืองและการทหาร การนำความรู้ทางเทคโนโลยีไปใช้ผลิตอาวุธที่ทันสมัยมีการทำลายล้างสูง ย่อมสร้างความหวาดระแวงให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้แต่ละฝ่ายต้องทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนากองทัพและอาวุธเพิ่มสูงขึ้น และเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพของโลก

              2 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ทำให้เกิดความก้าวหน้าในระบบการสื่อสารการเก็บข้อมูลข่าวสาร การส่งข่าวสารผ่านดาวเทียม และการใช้สัญญาณดาวเทียมถ่ายทอดรายการทางโทรทัศน์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

              3 ด้านสภาพแวดล้อม ความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการและเทคโนโลยีการผลิต ส่งผลให้มนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้มากขึ้นและสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดภาวะเรือนกระจก ( Greenhouse Effect ) ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นต้น 

              4 การใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในทางสันติได้ โดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลดีต่อการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศนั้น 

              แต่ผลกระทบในด้านลบ คือ การเกิดอุบัติเหตุรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์จำนวนมาก ดังเหตุการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เมืองเชอร์โนบิล ( Chernobyl ) ของอดีตสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน) เมื่อปี .. 1986

 

 

 

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถในการใช้งาน เพิ่มขึ้นขณะเดียวกันก็มีราคาถูกลง มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง จนกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในอดีต สหรัฐฯ เป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลผลิตทางด้านการเกษตรเป็นสินค้าหลัก ต่อมา เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตเป็นประเทศอุตสาหกรรม ปริมาณสัดส่วนของสินค้า ด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันโครงสร้างการผลิตของสหรัฐฯ เน้นไปที่ธุรกิจการให้บริการ และการใช้สารสนเทศกันมาก ทำให้สัดส่วนการผลิตสินค้า เกษตรลดลงไม่ถึง 5% ของสินค้าทั้งหมด ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมก็มีมูลค่าน้อยกว่า อุตสาหกรรมบริการ ซึ่งใช้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก หากมองภาพการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารทั่วไปของโลก ปัจจุบันมูลค่า ของสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งประเทศที่พัฒนา แล้ว 10 ประเทศมีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์มากถึงกว่า 90% ของปริมาณการใช้ คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ประเทศที่พัฒนาแล้ว 10 อันดับ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก และแอฟริกาใต้ ถ้าพิจารณาบริษัทผู้ผลิตสินค้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า ประเทศผู้ผลิต เพื่อส่งออกขายมีเพียงไม่กี่ประเทศ ประเทศเหล่านี้ส่วนมากมีเทคโนโลยีของตนเองมี การค้นคิด วิจัยและพัฒนาสินค้าให้ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา จากความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร ทำให้อุปกรณ์ต่าง มี ขนาดเล็กลง แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้น และมีราคาถูกลงจนผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อมา ใช้ได้ จนแทบกล่าวได้ว่าบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีส่วนในทุกบ้าน เพราะเครื่องใช้อำนวยความสะดวกต่าง ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารอยู่ด้วยเสมอ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารได้สร้างประโยชน์ อย่างใหญ่หลวงต่อวงการทางธุรกิจ ทำให้ทุกธุรกิจมีการลงทุน ขยายขอบเขตการให้บริการ โดยใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น กลไกเหล่านี้ทำให้โอกาสการขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ กว้างขวางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้สังคมโลกเป็นสังคม แบบไร้พรมแดน การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ตมีอัตราการขยายตัว สูงมาก จนกล่าวได้ว่าเป็นอัตราการขยายตัวแบบทวีคูณ จนเชื่อแน่ว่าภายในระยะเวลาอีก ไม่นาน ผู้คนบนโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้หมด

ผลกระทบในทางบวก

ผลกระทบในทางบวกหากย้อนยุคไปในอดีตตั้งแต่การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขึ้น เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง คอมพิวเตอร์ในยุคแรกเน้น การออกแบบเพื่อเป็นเครื่องจักรช่วยคำนวณเพื่อให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มี ความยุ่งยากซับซ้อนทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ของโลกส่วน ใหญ่สร้างในมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ การ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณทำให้เกิดการค้นคว้าทางวิชาการ เช่น การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การแก้สมการหลาย ชั้นที่มีตัวแปรจำนวนมาก การนำ คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณทางสถิติ ช่วยทำให้การสำรวจสำมะโนประชากรทำ ได้รวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณทำให้เกิด การพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวแปล ภาษาที่เน้นการคำนวณเป็นหลัก เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาเบสิก การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะงานคำนวณในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น การคำนวณมวล ของอากาศที่เคลื่อนไหวบนผิวโลก ทำให้เกิดการ พยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้ ในช่วงหลังจากปี .. 2500 การดำเนินงานในวงการธุรกิจต้องการใช้เครื่องจักร ช่วยมากขึ้น คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มาเน้นในเรื่องการประมวลผลข้อมูล (data processing) การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาทำให้เป็นสารสนเทศ มีการพัฒนาตัว แปลภาษาที่เหมาะสมกับงานประมวลผลข้อมูล ได้แก่ ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่เหมาะ กับการประยุกต์ใช้งานการประมวลผลข้อมูลและยังคงนิยมต่อมา

งานทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลข้อมูลที่มี จำนวนมาก เช่น ช่วยคำนวณสถิติข้อมูลของบริษัท ช่วยจัดการเรื่องข้อมูลบัญชี ข้อมูลสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบ การติดตามและการเรียกเก็บหนี้สินต่างๆ คอมพิวเตอร์ ยังมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในวงการธุรกิจ หลังจากที่บริษัทอินเทลได้สร้างไมโครโพรเซสเซอร์สำเร็จในปี .. 2518 การใช้งานคอมพิวเตอร์ก็เข้ามามีบทบาทในธุรกิจขนาดเล็ก และในที่สุดก็มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ยุคของการ ประมวลผล ก็ก้าวมาสู่ยุคงานสารสนเทศมีการมอง ระบบข้อมูลในรูปแบบการใช้งานที่กว้างขวางกว่าเดิม มีระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรงเรียกค้นข้อมูลที่ ตอบโต้ได้ทันที ผู้ใช้คอมพิวเตอร์พบว่าสารสนเทศที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อ คำนวณ แยกแยะ จัดการกับข้อมูลมีประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องการวางแผน การจัดการ การควบคุมงานในหน่วยงานของตน ทำให้ผู้บริหารได้ประโยชน์จากการใช้ข้อมูลในการ วางแผนแข่งขันกับหน่วยงานอื่นได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศจึงแพร่กระจายไปใน องค์การเพื่อให้องค์การมีระบบการจัดการที่ใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่

ต่อมาในระยะหลังปี .. 2530 พบว่าระบบสารสนเทศ มีประโยชน์มาก แต่มีจุดอ่อนบางประการ เช่น สารสนเทศ ทั้งหลายที่ได้มาจากข้อมูลนั้น ยังไม่สามารถช่วยผู้บริหารตัดสิน ใจได้โดยตรง จึงเกิดความต้องการให้ได้ระบบที่ช่วยเสริมการ ทำงานของผู้บริหาร ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร มีลักษณะการรวบความรอบรู้ เกิดการประมวลผลความรอบรู้ อย่างไรก็ดี แม้จะมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ช่วยงานต่าง ได้มากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องพัฒนาให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นอีก พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ช่วยให้การทำงานของมนุษย์ดีขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถนำความรู้และ ประสบการณ์ต่าง มารวมไว้เป็นหมวดหมู่ วิวัฒนาการ เหล่านี้ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างมากมาย ซึ่งมีผู้กล่าวว่า สังคมโลกกำลังอยู่ในยุคของการปฏิวัติ ครั้งที่ 3 ครั้งแรกเกิดเมื่อมนุษย์คิดค้นวิธีการทางการ เกษตรสามารถปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเปลี่ยนการเร่ร่อน ของมนุษย์ให้มาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำการเกษตร ต่อมาเกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมทำให้ เกิดระบบการผลิตและเกิดโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมากมาย มีการรวมกลุ่มเป็นสังคมเมือง และปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการสื่อสารที่ให้ข่าวสาร อย่างรวดเร็ว จนทำให้โลกมีลักษณะไร้พรมแดน ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมในทางบวกหรือทางที่ดีมีดังนี้

1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีเวลาว่างเพื่อใช้ ในทางที่เกิดประโยชน์มากขึ้น มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ให้ติดต่อกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่ รวดเร็วสามารถใช้โทรศัพท์ในขณะเดินทางไปมายังที่ต่าง มีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความ สะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ลิฟต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องช่วย ให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ มีรายการให้เลือกชมได้มากมาย มีการ แพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ข่าวสารต่าง จาก ทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็วเหมือนอยู่ในเหตุการณ์

2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น การผลิตสินค้าในปัจจุบันต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมีมาตรฐาน ซึ่ง ในปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง สินค้าที่ได้มีคุณภาพและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความ พยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์ให้เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น การผลิตรถยนต์

3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้น คว้าวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยต่าง มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณ ที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่น งานสำรวจทางด้านอวกาศ งานพัฒนาคิดค้ผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยา รักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันงาน ค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการคำนวณต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูป แบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหา ข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำ ไว้แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่าง ได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยต่าง มีความก้าวหน้า ยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างมาก

 

4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้กิจการด้านการ แพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้ว แต่ใช้คอมพิวเตอร์

ช่วยในการดำเนินการ ช่วยในการแปลผล มีเครื่อง ตรวจหัวใจที่ทันสมัย เครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่ สามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ของร่างกายได้อย่าง ละเอียด มเครื่องมือตรวจค้นหาโรคที่ทันสมัย หรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วย ในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยยิ่งขึ้น มีเครื่องคอยวัดและตรวจสอบสภาพการเปลี่ยน แปลงของร่างกายอย่างละเอียด ระบบการรักษาพยาบาลจากที่ห่างไกล เช่น คนไข้ อยู่ที่จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถส่ง คำถามปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะได้ มีการรวบรวมความรู้ของแพทย์ผู้ชำนาญ การจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ได้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา เครื่องมือช่วยคนพิการต่าง เช่น การสร้างแขนเทียม ขาเทียม การสร้างเครื่องกระตุ้น หัวใจ สร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่าง รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ด้วย

5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำ สามารถเก็บข้อมูลต่าง ได้มาก การแก้ปัญหาที่ ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว งานบางอย่างถ้า ให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลา ในการคิดคำนวณตลอดชีวิต แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงาน เสร็จภายในเวลาไม่กี่ วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์ มาจำลองเหตุการณ์ต่าง เพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหาเช่น การจำลอง สภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ จำลองการไหลของของเหลว การควบ คุมระบบการจราจร หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองในสภาพที่เหมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน การขับรถยนต์ สิ่งต่าง เหล่านี้ทำให้ เหมือนจริงได้ หากมีการผิดพลาดก็ไม่ทำให้เกิดอันตราย คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยในการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันมีการนำบทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI)และคอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา สมัยใหม่เชื่อมโยงติดต่อทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียก ค้นข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่าย สามารถเรียนรู้การใช้ คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้ ถือเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสติปัญญาอย่างแท้จริง

6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง เทคโนโลยีจำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้า ธุรกิจต่าง กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแส เงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรม จะผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ผู้บริโภคก็มีกำลังในการจับ จ่ายใช้สอยมาก ธุรกิจโดยรวมจำเป็นต้องอาศัยการแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการสื่อสารเกี่ยวข้องกัน เกิด ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ 

7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่นย่อโลกให้เล็กลง โลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ทำให้ลดปัญหาใน เรื่องความขัดแย้ง สังคมไร้พรมแดนทำให้มี ความเป็นอยู่แบบรวมกลุ่มประเทศมากขึ้น

8. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของกระจายระบบ ประชาธิปไตย แม้แต่การเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผล คะแนน ใช้สื่อโทรทัศน์วิทยุแจ้งผลการนับคะแนนที่ทำให้ทราบ ผลได้รวดเร็ว

ผลกระทบในทางลบ

ผลกระทบในทางลบ นับตั้งแต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีไปใน ด้านต่าง ซึ่งแน่นอนย่อมต้องมีทั้งคุณและโทษ ภาพยนตร์หลายเรื่องได้ สะท้อนความคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทางลบ ผลกระทบ ในทางลบเหล่านี้บางอย่างเป็นเพียงการคาดคะเนยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ อย่างไรก็ตามย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ผลกระทบในทางลบ มีดังนี้

 

1. ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการ โจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลข บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลาย อย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักเรียน การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาล เพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นใน ภาพยนตร์

 

2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มี ลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก

 

3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น มีการใช้งานหุ่นยนต์ มาใช้งานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ แรงงานอาจว่างงานมากขึ้น ซึ่งความคิด

เหล่านี้จะเกิดกับบุคคล บางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนา ให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น

 

4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้า และบริการ ต่าง หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่อง มาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือ ด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายย่อมทำ ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง

 

5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยี สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มี การทำลายสูงเกิดขึ้น

 

6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญดังเช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าว สารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ ผู้อื่นเสียหาย นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่ง จดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ ซึ่งจริยธรรมการ ใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังกันมาก

1. ทำให้เกิดอาชญากรรม
             เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักเรียน การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นในภาพยนตร์
         2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย 


                      การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก 
         3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล
                     ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น มีการใช้งานหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจว่างงานมากขึ้น ซึ่งความคิดเหล่านี้จะเกิดกับบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น

ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อเด็กไทย

เด็กและเยาวชนใช้เวลาเกือบครึ่งยามตื่นไปกับสื่อเทคโนโลยีชนิดต่างๆ และอาจได้รับผลกระทบในเวลาเดียวกัน