Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ศิลปวัฒนธรรมแบบบารอก

ศิลปวัฒนธรรมแบบบารอก

 

ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบบารอก

     1. ศิลปะแบบบารอก (Baroque) พัฒนามาจากศิลปะแบบเรเนสซองส์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 มีลักษณะเฉพาะ คือ การแสดงออกถึงความมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม (Humanism) ผลงานที่ปรากฎมักแสดงออกถึงลักษณะแน่นอนตายตัวของศิลปิน

     2. ศิลปะแบบบารอกในความหมายทางวรรณกรรม หมายถึง การเขียนที่มุ่งพัฒนาสติปัญญา เน้นความรู้ และวิธีการสืบสวนตามหลักวิทยาศาสตร์ และสะท้อนถึงความปรารถนาที่จะมอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม แต่ให้ความสำคัญแก่อารมณ์และใช้พฤติกรรมของมนุายืเป็นโครงเรื่องสำคัญ

     3. ศิลปะแบบบารอค เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐต่างๆ ในยุโรปมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและมีความมั่งคั่งทางการเมือง เป้นผลให้พระราชวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้ามีความพร้อมที่จะอุปถัมภ์การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินแขนงต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

 

 

งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบารอก

     1. งานจิตรกรรม ส่วนใหญ่ยังคงรับรูปแบบและเทคนิคจากสมัยเรเนสซองส์ แต่ได้พัฒนาฝีมือและเทคนิคการผสมสีที่วิจิตงดงามยิ่งขึ้น นิยมใช้สีสดและฉูดฉาด ภาพวาดมักปรากฎตามวัด วัง และคฤหาสน์ของชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหราสุขสบายของเจ้านายและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา จิตรกรที่มีชื่อเสียง คือ เรมบรานด์ (Rembarndt) และรูเบนส์ (Rubens)

     2. งานสถาปัตยกรรม แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหรา และการประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวซายส์ (Versailles) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

     3. ศิลปะด้านดนตรี มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักดนตรีสำคัญ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่

     4. งานด้านวรรณกรรม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค (John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ (Moliere) เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

สาเหตุของการปฏิวัติ

สาเหตุที่ฝังรากลึก

สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

สภาพทางสังคม

สมัยนั้น สังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ

  1. ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
    • ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
    • ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
    • ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
  2. นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
    • นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
    • นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
  3. ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)

สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

ลัทธินิยม (ภาษาอังกฤษ: Cult) หมายถึงกลุ่มชนที่ปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตตามความเชื่อที่มีร่วมกัน เป็นความเชื่อที่นอกเหนือไปจากความเชื่อที่ยอมรับกันทั่วไป ความเชื่อของลัทธินิยมจะเป็นความเชื่อที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปโดยวัฒนธรรมหรือสังคมภายนอกไม่ว่าจะเป็นความเชื่อและการปฏิบัติที่เป็นทางบวกหรือทางลบ ลัทธินิยมที่สังคมโดยทั่วไปมักจะคิดว่าเป็นลัทธินิยมทางบวกคือลัทธินิยมที่เกี่ยวกับศิลปะ ดนตรึ งานวรรณกรรม และแฟชัน เช่นลัทธินิยมของผู้นิยมภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ เทร็ค [1] แต่ลัทธินิยมที่เกี่ยวกับศาสนา หรือการเมืองที่รุนแรง หรือวิธีรักษาร่างกายจิตใจ หรือธุรกิจบางอย่างมักจะถือเป็นลัทธินิยมทางลบ[2] ฉะนั้นผู้ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีความเชื่อและการดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากสังคมส่วนใหญ่จึงไม่นิยมเรียกตนเองว่า ลัทธินิยม

ลัทธินิยม มีมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นลัทธินิยมพระแม่มารี (Marian cult) ซี่งเป็นลัทธิความเชื่อในความสำคัญของพระแม่มารี ในยุคกลางเป็นต้น ในกรณีนี้เอกสารฉบับแรกที่สรรเสริญพระองค์มาจาก พระวรสารนักบุญเจมส์ที่เขียนราว ค.ศ. 150 ซึ่งกล่าวสรรเสริญความเป็นพรมจารีย์ของพระองค์ และถือว่าพระแม่มารีเป็นนักบุญคนแรกของคริสต์ศาสนาและเป็นพระมารดาของพระเยซูผู้ซึ่งถือกันว่าพระองค์มีความสำคัญในการเป็นคนกลางที่เข้าใจในความทุกข์ทรมานของมนุษย์และพระบุตรของพระองค์ผู้เป็นทั้งพระเจ้าและผู้ตัดสิน

ลัทธินิยมอารีอุส

จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี

การโต้แย้งกับพวกนิยมอารีอุสก่อให้เกิดการแตกแยกในพระศาสนจักร จักรพรรดิ คอนสแตนตินเรียกบรรดาพระสังฆราชมาร่วมสังคายนาที่เมืองนีเชอาเกี่ยวกับเรื่องหลักคำสอน บรรดาพระสังฆราชตัดสินว่าคำสอนของลัทธินิยมอารีอุสผิด และบอกว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็น "พระเจ้าแท้จากพระเจ้าแท้ มิได้ถูกสร้าง ทรงบังเกิดร่วมพระธรรมชาติ"

การโต้เถียงระหว่างพวกนิยมอารีอุสกับผู้คัดค้านได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และได้คุกคามพระศาสนจักรจนก่อให้เกิดความแตกแยกและเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองในจักรวรรดิ จักรพรรดิคอนสแตนตินเชื่อว่า การปกป้องเอกภาพของพระศาสนจักรเป็นหน้าที่ที่พระเจ้าทรงมอบให้ในฐานะเป็นจักรพรรดิ ด้วยการแนะนำของพระสังฆราชโฮซิอุส แห่งคอร์โดวา ที่ปรึกษาด้านเทววิทยา จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงเรียกประชุมสังคายนาที่เมืองนีเชอา อยู่ใกล้เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล เป็นเมืองที่จักรพรรดิไปพักผ่อนเป็นประจำ การประชุมครั้งนี้ถูกเรียกว่าเป็นสังคายนาสากล มีการชุมนุมกันของบรรดาพระสังฆราชจากพระศาสนจักรทั่วโลก

มีพระสังฆราชมากกว่า 300 องค์มาร่วมประชุมครั้งนี้ พระสังฆราชเกือบทั้งหมดจากภาคตะวันออกที่พูดภาษากรีกมาเข้าร่วม และอีกประมาณ 15 องค์จากภาคตะวันตกที่พูดภาษาลาติน เป็นกลุ่มที่ใหญ่มากสำหรับวัดแห่งเมืองนีเชอา จักรพรรดิจึงอนุญาตให้ใช้พระราชวังของพระองค์สำหรับจัดการประชุม

สังคายนาเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.325 โดยจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นประธานเปิดด้วยพระองค์เอง ในสุนทรพจน์เปิดการประชุม พระองค์ทรงเรียกร้องให้บรรดาพระสังฆราชแสวงหาสันติภาพและความสามัคคีปรองดองกันภายในพระศาสนจักร

การโต้เถียงได้ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จากที่พวกนิยมอารีอุสเสนอความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับพระคริสตเจ้า บรรดาพระสังฆราชส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของพวกนิยมอารีอุส ดังนั้นบรรดาพระสังฆราชพยายามหาข้อตกลงกันในคำแถลงที่ประกาศถึงความเชื่อแท้จริงของพระศาสนจักร ที่ประชุมสังคายนายืนยันว่า "พระเยซูคริสตเจ้าทรงมีพระธรรมชาติเดียวกับพระบิดา" ส่วนคำอธิบายอื่นๆ บอกว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า เหมือนพระบิดาเป็นพระเจ้า พระเยซูไม่ได้ทรงถูกสร้าง แต่ทรงบังเกิดจากพระบิดาก่อนการเริ่มต้นสิ่งสร้างทั้งหลาย

ทุกวันนี้ใน "บทข้าพเจ้าเชื่อ" ยังคงใช้ข้อความอธิบายถึงพระเยซูเจ้าที่ออกมาจากสังคายนาที่เมืองนีเชอา ว่า "ทรงเป็นพระเจ้าจากพระเจ้า ทรงเป็นองค์ความสว่างจากองค์ความสว่าง ทรงเป็นพระเจ้าแท้จากพระเจ้าแท้ มิได้ถูกสร้างแต่ทรงบังเกิดร่วมพระธรรมชาติเดียวกับพระบิดา"

บรรดาพระสังฆราชบรรลุถึงความเห็นร่วมกันของที่ประชุมส่วนใหญ่ สังคายนาถูกเรียกเพราะเห็นถึงอันตรายจากการแตกแยกอย่างรุนแรง และเพื่อยืนยันถึงความเป็นเอกภาพในพระศาสนจักร

ในเวลาต่อมาพวกนิยมอารีอุสไม่กล้าต่อต้านสังคายนาเมืองนีเชอาอย่างเปิดเผย และเป็นจริงเหมือนสิ่งที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้พูดว่า "อะไรก็ตามที่ถูกตัดสินโดยพระสังฆราช 300 องค์ ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นได้นอกจากเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า ด้วยว่าพระจิตเจ้าที่ประทับอยู่กับบุคคลเหล่านั้นทำให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์เอง"

 

 

ความเป็นมาของแนวคิดสัจจนิยม

              ศตวรรษที่ 19 ปรัชญาจิตนิยมครอบคลุมปรัชญาตะวันตกเกือบทั้งหมดพอเริ่มศตวรรษที่ 20 ได้มีปฏิกิริยาคัดค้านขึ้นในอังกฤษ โดยมี มัวร์ (G.E. Moore)ได้เขียนบทความขึ้นเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีสาระสำคัญในการชี้แจงข้อผิดพลาดของเบอร์คเลย์ที่เสนอความคิดว่าวัตถุในธรรมชาตินั้นไม่อาจจะมีอยู่โดยเป็นอิสระจากจิตได้ นั่นก็คือยอมให้ การมีอยู่ (being) มีความหมายเท่ากับ การถูกรับรู้ (being perceived) บทความของมัวร์ได้สั่นสะเทือนสถานะของนักจิตนิยมที่ยืนยันหลักการดังกล่าว นักคิดในอังกฤษและอเมริกาส่วนมากประทับใจต่อบทความนี้ จึงเกิดความคิดสัจจนิยมขึ้นมากมาย หลักการทั่วไปของสัจจนิยมก็คือ สิ่งทั้งหลายหรือโลกภายนอก มีความแท้จริงในตัวของมันเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตมนุษย์แต่อย่างใด ฉะนั้น ถ้าไม่มีมนุษย์คนใดเลยในโลกมาเป็นผู้รับรู้แล้ว สิ่งต่าง ก็ยังคงมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น แต่นักปรัชญาสัจจนิยมต่าง มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปในรายละเอียดของเรื่องสำคัญ 2 เรื่องคือ ประการที่หนึ่ง ที่ว่าโลกภายนอกหรือวัตถุมีความเป็นจริงในตัวเองนั้น มันจริงในลักษณะใด ประการที่สอง ถ้าเชื่อว่าการมีอยู่ของวัตถุต่าง ไม่ขึ้นกับการรู้ของจิตมนุษย์แล้ว ในการรู้จักวัตถุนั้นรู้อย่างไร คือ เรารู้จักมันโดยตรง หรือว่าต้องผ่านผัสสะหรือตัวกลางบางอย่าง คำตอบต่อประเด็นทั้ง 2 นี้ ทำให้สัจจนิยมมีความแตกต่างกันออกไป พิจารณาถึงข้อวิจารณ์ที่พวกเขามีต่อจิตนิยมของเบอร์คเลย์มีดังนี้ คือ

              1. มัวร์ให้ข้อวิจารณ์ว่า เบอร์คเลย์ก็ได้แยกการกระทำคือการมีผัสสะกับวัตถุของผัสสะออกจากกัน เช่น สับสนระหว่างผัสสะของของสีน้ำเงินกับวัตถุที่มีสีน้ำเงิน ทั้งยังบอกว่าเป็นสิ่งเดียวกันเสียอีก ผัสสะนั้นมันเหมือนกันในการกระทำที่เป็นการรู้จักมัน แต่ต่างกันไปในเรื่องของสิ่งที่เรารู้จักมัน เซ่น ผัสสะสีน้ำเงินของท้องฟ้ากับของทะเลที่เราได้รับทางประสาทตาอาจเหมือนกัน แต่วัตถุของผัสสะคือท้องฟ้ากับทะเลนั้น เป็นคนละอย่างกัน ดังนั้นในเมื่อวัตถุเป็นคนละสิ่งกันกับการรู้สึกมันเช่นนี้แล้วก็ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะบอกว่าวัตถุไม่มีตัวตนอยู่ถ้ามันไม่ถูกรับรู้ด้วยจิตของใคร

              2. นักสัจจนิยมใหม่ชื่อ เพอร์รี (R.B. perry) วิจารณ์จิตนิยมแบบอัตนัยว่าเป็นประเด็นที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง” (Egocentric predicament) การวิจารณ์นี้เป็นเสมือนอาวุธร้ายแรงที่ทำลายสถานะของจิตนิยม สาระสำคัญของการวิจารณ์ก็คือว่าเมื่อมนุษย์คนใดที่รับรู้โลก หรือ คิดเกี่ยวกับโลกนั้น เขาคิดเกี่ยวกับมันในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์กับตัวเขาเองเสมอ คือวัตถุนั้นจะมีใครรู้จักมันได้ มันก็ต้องเป็นวัตถุในความรู้ของคน เรียกว่า มีความสัมพันธ์ทางความรู้กับตัวผู้รู้ ส่วนวัตถุในสถานการณ์ที่ก่อนจะมีใครรู้จักมันนั้นเป็นอย่างไรไม่มีผู้ใดทราบ เพราะในทันทีที่คนเราเริ่มคิดถึงมันมันก็จะกลายเป็นวัตถุในความรู้ของเรา มีสัมพันธภาพทางความรู้กับเราทันที สำหรับตรงนี้ นักปรัชญาไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด สัจจนิยมหรือจิตนิยมต้องยอมรับว่าจริง แต่ข้อเท็จจริงที่ว่ามีความสัมพันธ์เช่นนี้ (ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้กับวัตถุที่ถูกรู้) ในการคิดทั้งหลายของเราเป็นข้อยุ่งยากอันหนึ่ง คือ จิตนิยมแบบอัตนัยไปถือว่า การมอยู่ (ของวัตถุ) ก็คือการถูกรับรู้ จริงอยู่ที่ว่าไม่มีนักปรัชญาคนใดจะสามารถถกเถียงถึงสิ่งใดก็ตามที่ไมใช่เป็นความคิด เพราะว่าในการถกเถียงนั้น เราต้องเปลี่ยนสิ่งน่าเป็นความคิดของเราก่อนจึงจะเริ่มให้เหตุผลได้ ดังนั้นก็หมายความว่าสิ่งใดที่เรากล่าวถึงก็คือ ความคิดอันหนึ่ง แต่นี้ไม่ใช่ หมายความว่า ความคิดเท่านั้นที่มีอยู่ ดังนั้นประเด็นที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง จึงเป็นลักษณะของความคิด ในการคิดเรายึดตัวเองเป็นที่ตั้งได้ แต่ไม่ใช่ลักษณะของสิ่งที่มีอยู่หรือวัตถุ ถ้าใครจะกล่าวหาเขาไม่ได้เคยพบเห็น . มันไม่ได้เป็นสิ่งในความคิดหรือในการรับรู้ของเขาเลย นั่นไม่ใช่หมายความว่า ก. ไม่ได้มีอยู่ในโลกนี้

 

ทฤษฎีสัจจนิยม

มีมาตรตัดสินความจริงว่า ความคิดกับข้อเท็จจริงภายนอกจะต้องตรงกัน ความคิดของเราจะต้องตรงกับสิ่งภายนอกที่มีอยู่จริง เมื่อนั้น เราก็จะถือว่า ความรู้นั้นเป็นจริง นี่คือ ความตรงกันระหว่างความคิดกับข้อเท็จจริงภายนอก ยกตัวอย่างเช่น เรามีความคิดว่า ก้อนหินนั้นมีลักษณะของสสารที่กินที่ เมื่อเราได้สัมผัสเอง เราก็รู้ได้ว่า ก้อนหินนั้นเป็นสสารที่กินที่ เพราะมันมีอยู่ตรงที่มือเราจับ มันคงอยู่ในเวลาตอนที่เราจับมัน นั่นเอง

              แนวคิดลัทธิสัจจนิยม  (Realism)

เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ ในการแสวงหาสัจจะแห่งทุกสิ่งในภาพรวมโดยมุ่งศึกษาทุกด้านเพื่อที่จะทำความเข้าใจทั้งหมดโดยมองไปที่ความสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ สัจจนิยมก็ถือว่าสิ่งต่าง มีอยู่และเป็นจริงโดยธรรมซาติ แม้จะเป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสก็จริง แต่การมีอยู่ของมันเป็นอิสระจากการรับรู้ของมนุษย์

แนวคิดของปรัชญาฝ่ายลัทธิสัจจนิยมถือเอาวัตถุ  (Matter)  เป็นความแท้จริงสุดท้าย (ultimate reality) สรรพสิ่งที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง และเป็นอิสระจากจิต (mind) แม้ว่าปรัชญาฝ่ายลัทธิสัจจนิยมนี้จะมีหลักเบื้องต้นเรื่องความจริงทางปรัชญาว่าวัตถุเป็นความจริงที่จริงที่สุด   แต่ก็ไม่เป็นด้วยในการเชื่อถือบางสิ่งบางอย่าง จึงทำให้เกิดการแบ่งแนวคิดออกเป็นลัทธิความเชื่อย่อย อีก

รูปแบบต่าง ของสัจจนิยม

              ลัทธิสัจจนิยมทั้งหลายนั้น พอจะแยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ แต่ละประเภทแบ่งย่อยออกไปดังนี้

(1) สัจจนิยมโดยตรง (Direct Realism)

                            . สัจจนิยมแบบผิวเผิน (Naive Realism)

                            . สัจจนิยมแบบสามัญสำนึก (Commonsense Realism)

                            . สัจจนิยมใหม่ (New Realism)

(2) สัจจนิยมแบบโดยอ้อม (indirect realism)

                            . สัจจนิยมแบบตัวแทน (Representative Realism)

                            . สัจจนิยมวิจารณ์ (Critical Realism)

              ปรัชญาสัจจนิยมนับว่าครองใจนักปรัชญาจำนวนมากในศตวรรษที่ 20 ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าสัจจนิยมประสบความสำเร็จในการเสนอทัศนะเกี่ยวกับโลกภายนอกที่ใกล้เคียงกับทัศนะของคนทั่ว ไป สอดคล้องกับสามัญสำนึกและวิทยาศาสตร์

1. สัจจนิยมแบบโดยตรง สัจจนิยมแบบนี้มีทัศนะทั่วไปว่า การรับรู้หรือการประจักษ์เป็นการรู้จักโดยตรง คือ เป็นการเผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมากับวัตถุภายนอก ซึ่งสัจจนิยมแบบนี้จะตรงกันข้ามกับสัจจนิยมแบบโดยอ้อมซึ่งยืนยันว่า การรับรู้ในวัตถุนั้นเป็นการที่เรารับรู้ในตัวแทนของวัตถุภายนอก ซึ่งตัวแทนนี้อยู่ในจิต ลัทธิสัจจนิยมที่จัดเป็นพวกโดยตรงที่จะนำมากล่าวในที่นี้มี 3 แบบ คือ

. สัจจนิยมแบบผิวเผิน

เป็นแบบที่ง่ายและเรียบที่จุดของสัจจนิยมแบบโดยตรง ซึ่งนักปรัชญามองดูว่าเป็นทัศนคติของคนทั่วไปที่ปราศจากความลึกซึ้งนั่นคือเมื่อเรามองดูรอบ ตัวเราภายในพื้นที่อันกว้างใหญ่ เราจะได้เห็นพบสีต่าง ๆเราเพื่อว่านั่นเป็นพื้นหน้าที่แท้จริงของวัตถุ เมื่อเราได้ยินสรรพสำเนียงทั้งหลาย เราก็เผื่อว่าเสียงเหล่านั้นมาจากวัตถุนั้น จริง เช่น เสียงเครื่องบินก็เป็นเสียงของเครื่องบินจริง เสียงรถยนต์ก็เป็นเสียงรถจริง ถ้าเราเอามือสัมผัสโต๊ะแล้วรู้สึกลื่นและแข็ง เราก็เพื่อว่านั่นคือคุณสมบัติของโต๊ะจริง ดังนั้น สัจจนิยมแบบผิวเผินถือว่าทุกประการของวัตถุ เช่น คุณสมบัติพวกสี รูปร่าง เสียง แข็ง ฯลฯ มีความแท้จริงคือ เป็นคุณสมบัติที่ฝังอยู่ภายในตัววัตถุในธรรมชาติทั้งหลาย รวมความแล้ว สัจจนิยมเช่นนี้ถือว่า ทุกสิ่งที่เราพบเห็นจับต้องได้ยินล้วนเป็นจริงทั้งสิ้นทีนี้ลองพิจารณาดูว่าทัศนะแบบนี้สมเหตุสมผลหรือไม่ เราจะพบว่ามีข้อบกพร่อง สมมุติว่า ถ้าอ๊อดมองเห็นโต๊ะตัวหนึ่งจากที่สูง เขาก็จะเห็นโต๊ะนี่เป็นรูปกลมแต่ถ้าแอ๊ดมองจากที่ไกลเขาก็จะเห็นโต๊ะนี้รูปเหมือนรูปไข่ แต่ทั้งความกลมและความรีไม่อาจที่จะเป็นคุณสมบัติภายในทั้ง 2 อย่างของโต๊ะนี้ได้เช่นเดียวกัน ถ้าหาก   อู๊ดซึ่งตาบอดสีมองไปที่หนังสือปกสีแดงเล่มหนึ่ง เขาเห็นมันเป็นสีดำ แต่สีดำไม่ใช่เป็นคุณสมบัติที่แท้จริงของหนังสือเล่มนี้ หรือ ถ้าอี๊ดดื่มเหล้าเมาและกลับบ้านในตอนดึก เขามองเห็นสายยางรถต้นไม้ในสนามเหมือนงูขดอยู่ แต่สายยางนั่นไม่ใช่งูจริง ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเรื่องของกรณีที่เกิดการเข้าใจผิด หรือรับรู้ผิดซึ่งเป็นไปได้ในความเป็นจริงและแสดงให้เห็นว่า ทัศนะของสัจจนิยมแบบผิวเผินนี้ยังมีข้อบกพร่อง

              . สัจจนิยมแบบสามัญสำนึก

              ทั้งสัจจนิยมแบบผิวเผิน และแบบสามัญสำนึกต่างก็ยอมรับว่า โลกภายนอกหรือวัตถุทั้งหลายนั้นมีอยู่จริงและเป็นเจ้าของคุณสมบัติต่าง และยืนยันว่าประสบการณ์ทางผัสสะคือ ขบวนการที่จิตกระทำโดยตรงกับวัตถุในธรรมชาติเซ่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้นไม้ ฯลฯ ไม่ใช่เป็นการที่คนเรารับรู้ในผัสสะ เช่น แข็ง เขียว หวานฯลฯ ข้อยืนยันดังกล่าวนี้ นักสัจจนิยมจำนวนมากเคยยอมรับมาก่อน แต่ปรากฏว่ามีข้อบกพร่องเช่นเดียวกับสัจจนิยมแบบผิวเผิน จึงทำให้สัจจนิยมแบบอื่น พัฒนาขึ้นมาหลักการสำคัญของสัจจนิยมสามัญสำนึกมีดังนี้

              1) ถือว่า การรับรู้เป็นขบวนการ 2 หน่วย (two-term process) คือ ในประสบการณ์ทางผัสสะนั้น จิตผู้รู้จะกระทบกระเทือนกับบางสิ่งที่ไม่ใช่ตัวมันเองเสมอ ดังนั้น วัตถุจึงไม่สู้เป็นความคิดของจิตอย่างแน่นอน ในการรู้จึงต้องมีวัตถุเป็นสิ่งถูกรู้ การรู้ที่ไม่มีสิ่งถูกรู้นั้นเป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกันในการตัดสินหรือการเข้าใจจะไม่มีสิ่งที่เราตัดสินหรือสิ่งที่เราเข้าใจไม่ได้

              2) การรับรู้วัตถุเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงเหมาะสมกับอวัยวะรับสัมผัสอันใดอันหนึ่ง ก็ก่อให้เกิดการตื่นตัวขึ้นในอวัยวะนั้น ๆและจะไปกระตุ้นระบบประสาทให้ส่งกระแสประสาทไปยังสมอง เมืองก็จะกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่เป็นการรู้ขึ้น การรู้ก็คือการ ชี้มุ่งไปยังบางสิ่ง บางสิ่ง นี้ก็คือวัตถุในธรรมชาติซึ่งเป็นตัวเร้ากระตุ้นผัสสะนั่นเอง ดังนั้น วัตถุในธรรมชาติจึงนับว่าเป็นทั้งสาเหตุให้มีการรู้เกิดขึ้นและเป็นวัตถุของการรู้ด้วย

              3) ดังนั้น วัตถุในขณะที่ยังไม่ได้ถูกใครรู้ กับวัตถุที่ถูกรับรู้แล้วจะไม่มีความแตกต่างกันเลย เพราะการรับรู้ของคนมิได้มีการเพิ่มเติมหรือลดทอนคุณสมบัติอะไรบางอย่างให้กับวัตถุเลย วัตถุมีธรรมชาติหรือลักษณะที่แท้จริงอย่างไร เมื่อมาปรากฏต่อจิตของคนก็คงเป็นอย่างนั้น

              4) ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องของสัจจนิยมแบบนี้ ประเภทแรก เป็นจุดบกพร่องเหมือนกับสัจจนิยมแบบผิวเผิน คือ เรื่องการรับรู้สิ่งที่ผิด ถ้าหากสัจจนิยมทั้ง 2 แบบนี้ยืนยันว่า ตัววัตถุจริง มีลักษณะตรงกับที่ปรากฏต่อเรา หรือ กล่าวให้ซัดเจนก็คือ เมื่อประสาทสัมผัสของเราได้กระทบกระทั่งกับวัตถุก็กล่าวว่า เราได้รู้จักวัตถุนั้นว่ามีลักษณะอย่างนั้น ๆและเชื่อด้วยว่า ความรู้ของเราตรงกับความจริงทุกอย่างถ้าเชื่อเช่นนี้ก็จะอธิบายกรณี เช่น การมองเห็นทางรถไฟว่ามาบรรจบกัน จุดที่ไกลออกไปสุดสายตาอย่างไร เราจะเชื่อหรือว่าเป็นจริงดังที่เราเห็น ประการที่สอง สัจจนิยมแบบสามัญสำนึกมองข้ามเงื่อนไขอื่น ที่จำเป็นในการรับรู้ คือไม่ได้วิเคราะห์ถึงเงื่อนไข  อื่น ที่จำเป็นในการรับรู้ คือไม่ได้วิเคราะห์ถึงเงื่อนไขเหล่านั้นเช่น ถ้าเราต้องการรู้อะไรเป็นสาเหตุของการรับรู้ และเรารับรู้อะไรแล้ว การอธิบายของสามัญสำนึกไม่พาดพิงถึงเงื่อนไขอื่น ทีเกี่ยวข้อง เซ่น ความสัมพันธ์ทางสรีรศาสตร์กับฟิสิกส์ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับเรตินา (เยื่อภายในลูกตาทำหน้าที่รับภาพ) กระแสประสาท การตื่นตัวที่สมองส่วนกลาง และผัสสะหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนฟันเฟืองของเครื่องจักรที่ต้องทำหน้าที่ก่อนที่จะมีการกระต้นต่ออวัยวะสัมผัสที่จะให้ผลลัพธ์ในการรับรู้ ประการที่สาม ข้อสรุปในการค้นคว้าทางจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนคัดค้านสามัญสำนึก นั่นคือการรับรู้ทางประสาทสัมผัสอย่างเดียวไม่อาจจะให้ความรู้สำเร็จรูปขึ้นมาได้ ประสบการณ์ทางผัสสะไม่ใช่เป็นการที่เรารับรู้วัตถุตัวจริงทันที หรือการรับรู้ของเราไม่ใช่สิงเดียวกับวัตถุเพราะเราต้องนำผัสสะที่ได้ไปตีความทางจิตก่อนแล้วจึงจะออกมาเป็นความรู้ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่าอวัยวะรับสัมผัสกระทบกับวัตถุ ทำให้เกิดกระแสประสาทไปยังสมองแล้วสมองก็สั่งให้รู้ในวัตถุนั้นทันที

. สัจจนิยมใหม่

1) วัตถุทั้งหลายที่มีอยู่โลกมีความแท้จริงในตัวเองและเป็นเจ้าของคุณสมบัติทกอย่างไม่น่าจะเป็นปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ดังนั้น คุณสมบัติทั้งหลายที่ปรากฏให้เรารู้จักพบเห็นจึงเป็นคุณสมบัติภายในของวัตถุอย่างแน่นอน เช่น โต๊ะ ที่คนหนึ่งเห็นเป็นรูปกลม ส่วนอีกคนเห็นเป็นรูปรีนั้น ทั้งความกลมและความรีเป็นคุณสมบัติภายในที่แท้จริงของโต๊ะตัวเดียวกันหรือภูเขาที่เห็นเป็นสีเขียวเมื่อมองใกล้ แต่เป็นสีน้ำเงินเมื่อมองไกลนั้น ทั้งความเขียวและน้ำเงินเป็นคุณสมบัติจริง ของภูเขา ดังนั้น ไม่มีคุณสมบัติเดเลยที่จะกล่าวได้ว่าเป็นของจิตและเป็นเรื่องส่วนตัว คือขึ้นอยู่กับการรอบรู้ของตัวผู้รู้แต่อย่างใด จะเห็นวา เราสามารถที่จะบันทึกภาพของวัตถุใด ไว้ก็ได้

2) บทบาทของระบบประสาท และขบวนการอันเป็นสาเหตุของการรับรู้เป็นเพียงการเลือก และเปิดเผยให้กับตัวผู้ รู้ในคุณสมบัติใดคุณสมบัติหนึ่งในแต่ละคุณสมบัติ เช่น คนหนึ่งเลือกรับรู้ความกลมของโต๊ะ อีกคนเลือกรับรู้ลักษณะรีเป็นรูปไข่ของโต๊ะ เป็นต้น ความเชื่อนี้เรียกว่าทฤษฎีของการเลือก

3) ในการรับรู้วัตถุทั้งหลายของคนเราจึงเป็นการรู้จักมันโดยตรง คือ ถ้าเรารับรู้บ้านหลังหนึ่ง ตัวบ้านหลังนั้นเองเป็นสิ่งที่เรารับรู้ ไม่ใช่ว่าเรารับรู้ในผัสสะทางตา หู หรือ อวัยวะรับสัมผัสใดแล้วมาสร้างเป็นความรู้หรือมโนภาพขึ้นในจิต แต่เป็นการที่เรารับรู้วัตถุในสภาวะที่เป็นความจริงในตัวของมันเองการรู้ไม่ต้องอาศัยข้อมูลทางผัสสะหรือการสร้างมโนภาพของวัตถุ แต่วัตถุภายนอกคือสิ่งที่เรารู้ หรือเป็นความรู้ของเรา สิ่งที่เรารู้จึงไม่ใช่ตัวแทนหรือภาพเหมือนของวัตถุที่จิตสร้างขึ้น

4) ข้อยุ่งยากของสัจจนิยมใหม่ ก็คือ ประการแรก ถ้ายอมรับว่าคุณสมบัติทุกอย่างของวัตถุที่เราได้รับรู้นั้นเป็นคุณสมบัติของวัตถุนั้นจริง แล้ว ในกรณีที่เกิดมีการเข้าใจผิดหรือมีการรับรู้ผิด จะอธิบายอย่างไร ประการที่สอง ถ้าเรากล่าวว่า โต๊ะตัวหนึ่งมีคุณสมบัติภายในที่ทั้งกลุ่มและรัฐหรือภูเขาลูกหนึ่งมีทั้งคุณสมบัติสีเขียวและสีน้ำเงินรวมอยู่ในตัว ก็ดูจะเป็นการขัดแย้งกันในตัวเอง หรือวัตถุจะต้องมีความซับซ้อนอย่างมากทีเดียวถ้ามันมีรูปร่างต่าง รวมอยู่ในตัว และประการที่สามระบบประสาทของคนเราจะเลือกรับรู้รูปร่างใดรูปร่างหนึ่ง หรือสีใดสีหนึ่งในจำนวนหลาย สีนั้นอย่างไร สัจจนิยมใหม่ไม่ได้ให้ความกระจ่างในจุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของคนตาบอดสี หรือ คนเราซึ่งจะรับรู้รูปร่างและสีแตกต่างไปจากการรับรู้ปกติ

2. สัจจนิยมแบบโดยอ้อม

หลักการทั่วไปของสัจจนิยมแบบโดยอ้อม เป็นการปฏิเสธทัศนะของสัจจนิยมโดยตรง สัจจนิยมโดยอ้อมนี้มีการแบ่งออกเป็นวัตถุภายนอกในฐานะที่เป็นตัวสาเหตุของการรับรู้และเป็นวัตถุของการรับรู้กับ ข้อมูลทางผัสสะซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางจิตขอขบวนการของสมอง โดยขึ้นอยู่กับการกระท่าของวัตถุภายนอกต่ออวัยวะรับสัมผัสต่าง

. สัจจนิยมแบบตัวแทน

1) ในการรับรู้วัตถุ เช่น การมองเห็นโต๊ะตัวหนึ่ง อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเมื่อลำแสงสะท้อนจากโต๊ะมากระทบนัยน์ตา เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีต่อเรตินา (เยื่อภายในลูกตาทำหน้าที่รับภาพเหมือนจอภาพยนตร์) และส่งแรงกระตุ้นไปตามประสาทตาเพื่อไปสู่สมอง เมืองก็จะกระทำการผลักดันให้จิตของผู้รับรู้ได้ตระหนักในผัสสะที่เป็นส่วนตัวขึ้น ซึ่งเป็นความคิดของจิต ความคิดเชิงเดี่ยวในปรัชญาของล็อคผัสสะนี้เป็นตัวแทนของคุณสมบัติต่าง ของโต๊ะ เช่น รูปร่างสี ดังนั้นประเด็นสำคัญคือการรับรู้ที่แท้จริง ก็คือ การตระหนักรู้โดยตรงในผัสสะ ซึ่งวัตถุเป็นตัวทำให้เกิดขึ้น การรู้จักสิ่งต่าง ต้องอยู่ภายในขอบขายของผัสสะทั้งสิ้น การรับรู้แบบนี้จึงจัดเป็นขบวนการ 3 หน่วย (three tem process) เพราะการรับรู้วัตถุเป็นการรับรู้ผ่านตัวแทนที่เป็นผัสสะหรือเป็นความคิดของจิต ตรงกันข้ามกับสัจจนิยมแบบโดยตรงที่การรับรู้วัตถุเป็นการรู้จักตัววัตถุจริง มิได้ผ่านตัวแทนอะไร

2) วัตถุทั้งหลายที่อยู่ภายนอกตัวคนนั้นมีความแท้จริง แต่เป็นความแท้จริงในลักษณะที่เป็นสิ่งที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น เพราะคุณสมบัติประเภทนี้เป็นคุณสมบัติที่ทุกสิ่งต้องมีเหมือนกันหมด วัตถุใดก็ตามจะต้องมีขนาดรูปร่าง น้ำหนักการเคลื่อน เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่มีความคงทนติดอยู่กับวัตถุตลอดไป ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมินั้นไม่ได้มอยู่ตัววัตถุ เพราะมันเป็นสิ่งที่จิตของคนเป็นผู้สร้างขึ้นมาในเวลาที่เรารับรู้วัตถุที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิ ดังนั้น สีและกลิ่นของดอกกุหลาบสีและรสของขนมทองหยิบ จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรับรู้ของคนต่อมัน ด้วยเหตุนี้เองคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่คงทน หากต้องผันแปรไปตามสถานการณ์ของตัวคนที่รับรู้ เช่น คนตาบอดสีจะมีการเห็นสีต่าง ผิดไปจากคนตาปกติ ดังนั้น ผัสสะทั้งหลายจะมีความเหมือนกันกับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ เช่น เรามองเห็นขนมเปี๊ยะว่า มีรูปร่างกลม ผัสสะของความกลมนี้จะตรงกันกับคุณสมบัติกลมที่มีอยู่ในตัวขนม แต่ผัสสะที่เป็นพวกสีเสียง กลิ่น รส อุณหภูมิ จะไม่เหมือนกับคุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุ เพราะในวัตถุจริง ๆไม่ได้มีคุณสมบัติพวกนี้อยู่เลย มันเป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น โดยมีคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุเป็นตัวผลักดันให้เกิดมีขึ้น

3) จุดบกพร่องของสัจจนิยมแบบตัวแทนก็คือ ถ้าถือว่าการรับรู้ขอเราเป็นการตระหนักรู้ในผัสสะที่เป็นส่วนตัวและเป็นความคิดของจิตแล้ว ก็เป็นการยากที่จะทำลายแวดวงของผัสสะออกไป และได้ประจักษ์โลกภายนอกจริง ๆ เราจะบอกได้อย่างไรว่าวัตถุเหล่านี้มีอยู่  ถ้าเราพยายามพิสูจน์ว่าโต๊ะตัวหนึ่งมีอยู่ด้วยการเอามือไปสัมผัสมัน ซึ่งก็เพียงแต่เราได้รับผัสสะของพื้นผิว หรือถ้าเรามองเห็นว่ามือของเราสัมผัสโต๊ะ ก็เพียงแต่เราได้รับผัสสะของการเห็นเท่านั้น เมื่อใดที่เราพยายามจะเพ่งดูออกไปภายนอกขอบข่ายของผัสสะ เราก็จะมีแต่ได้รับผัสสะมากขึ้น หลักการของสัจจนิยมแบบตัวแทนนี้ ก็เหมือนกับการถ่ายภาพนั่นเอง เราไม่ได้รู้จักตัวจริงของวัตถุแต่รู้จักภาพถ่าย ซึ่งเป็นตัวแทนของวัตถุ ต่างกันตรงที่ว่าเราได้รู้ว่าภาพถ่ายนั้นเหมือนกับตัวจริง เพราะเราสามารถที่จะสังเกตเห็นทั้งภาพถ่ายและตัวจริง แต่เราไม่อาจจะเปรียบเทียบวัตถุจริงกับผัสสะได้ว่ามันเหมือนกันหรือไม่ การตรวจดูวัตถุ ก็คือ การตรวจดูผัสสะที่เหมือนกันเฉพาะในส่วนที่เป็นคุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น

ทฤษฎีสัจจนิยมแบบตัวแทนก็คือ ปรัชญาของจอห์น ล็อค (John Locke) ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทแรกที่ว่าด้วยปัญหาเรื่องต้นกำเนิดของความรู้นั่นเอง ซึ่งในปัญหาดังกล่าวเราเรียกปรัชญาของเขาว่า ประจักษ์นิยม เพราะยืนยันว่าความรู้ของคนเราเริ่มมีขึ้นจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ต่อมาในปัญหาเรื่องสิ่งที่คนเรารู้คืออะไร เราเรียกปรัชญาของเขาว่า สัจจนิยมแบบตัวแทน เพราะยืนยันว่าการรู้จักวัตถุเป็นการรู้โดยผ่านความคิดที่เป็นผัสสะซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของคุณสมบัติแท้จริงที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น นี่เป็นแนวที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์ที่เสนอสมมติฐานว่า ในวัตถุหรือสสารประกอบด้วยอนุภาพเหล็ก ๆ ที่มีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา ไม่ได้มีคุณสมบัติพวกสี เสียง รส ฯลฯ แต่อย่างใด อย่างไรก็ดีมีผู้วิจารณ์ว่าหลักการของสัจจนิยมเช่นนี้ในที่สุดไม่อาจเลี่ยงพ้นจากการนำไปสู่จิตนิยมแบบอัตนัยของเบอร์คเลย์ได้

ข. สัจจนิยมเชิงวิจารณ์

เป็นทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับสัจจนิยมใหม่ที่เห็นว่า คนเรารับรู้ตัววัตถุจริง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเรา จึงเสนอ   แนวคิดว่า

1) ยอมรับว่าวัตถุภายนอกมีความแท้จริงโดยไม่ขึ้นกับการที่ต้องมีคนมารู้จักมัน แต่คนเราไม่อาจจะรู้จักตัวจริงของวัตถุได้ เพราะประสบการณ์ของคนเราไม่ได้เข้าถึงความเป็นจริงของวัตถุในสภาวะที่ไม่มีสิ่งใดปกคลุม แต่การรับรู้ในวัตถุนั้นต้องรู้โดยผ่านตัวกลางบางอย่าง ดังนั้น วัตถุในการรับรู้ของคนเราจึงไม่ใช่ตัววัตถุของจริง แต่เป็นวัตถุคามที่ปรากฏแก่จิตที่รู้จักมัน

2) ตัวกลางนี้เรียกว่า  ข้อมูล” (data) ซึ่งจะกล่าวว่าเป็นลักษณะจริงของวัตถุก็ไม่ได้ หรือจะถือว่าเป็นสภาวะของจิตของผู้รู้ไม่ได้ เพราะมันเป็นสภาวะรวมกันของทั้งสองอย่าง ข้อมูลนี้เป็นลักษณะที่ซับซ้อนที่จะเกิดมีขึ้นในขณะที่มีการรับรู้ ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของวัตถุและธรรมชาติของจิตผู้รู้ร่วมกันมันจึงไม่ใช่ตัววัตถุจริงและก็ไม่ใช่สภาวะของจิตอย่างเดียว ข้อมูลนี้เป็นสาระสำคัญเป็น ตัวนักขณะที่ชี้บอกถึงความเป็นอะไรของวัตถุในฐานะที่เป็นสิ่งถูกรู้

3) ดังนั้นในการรับรู้โลกภายนอกของคนเราจะมีปัจจัย 3 อย่างหนึ่ง คือ จิตที่เป็นผู้รู้ สอง คือ วัตถุใด ในสภาพดั้งเดิมของมัน และสาม คือ ข้อมูลซึ่งได้มาโดยทางอวัยวะรับสัมผัส ข้อมูลนี้เป็นสภาวะรวมกันของวัตถุและจิตผู้รู้ เพราะในขณะที่มีการรับรู้วัตถุภายนอกเกิดขึ้นนั้น เราไม่ได้รับรู้ตัวจริงของวัตถุ แต่จะต้องมีการเกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในของจิตเสมอ เด่นมีการตัดสินใจให้ชัดเจนว่ามันคืออะไรหรือมันเป็นลักษณะของสิ่งใด หรือเราทำการตอบสนองต่อมันไปในทันที การเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางจิตนี้จะเกิดขึ้นในระดับต่าง ตามแต่สถานการณ์ ตัวอย่างเช่น เรากล่าวว่า วิชัยอยู่นั่นไง เป็นการมองเห็นวิชัยและยังมีการชี้ชัดลงไปว่าเขาอยู่ที่นั่นหรือ  นั่นไง รถเมล์ของฉันมาแล้ว ก็เป็นการรับรู้รถเมล์และชี้ชัดลงไปว่ามันเป็นสายที่ตนจะขึ้น ขณะเดียวกันก็จะมีการเตรียมพร้อมที่จะขึ้นรถซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางจิตวิทยา

4) แม้ว่าสัจจนิยมวิจารณ์จะเป็นสัจจนิยมแบบสุดท้ายของการพัฒนาของลัทธิ แต่สัจจนิยมวิจารณ์ก็ยังมีข้อให้วิจารณ์ได้อยู่อีก นั่นคือ การอ้างถึงตัวกลางในการรับรู้ ซึ่งดูเหมือนลอยอยู่ระหว่างวัตถุกับผู้รู้ ซึ่งการอธิบายออกจะเป็นสิ่งลึกลับและลึกซึ้งเกินไป และการถือว่าเราไม่อาจจะเข้าถึงตัววัตถุที่แท้จริงได้ก็ยิ่งลึกลับมากขึ้นเพราะเป็นการถอยหลังกลับไปสู่ปรัชญาของนักปรัชญาซาวเยอรมันชื่อ คานท์ (Kant) ซึ่งเสนอว่า โลกภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่อาจปรากฏตัวจริงของมันต่อการรับรู้ของคนได้วัตถุต่าง มีอยู่ในฐานะเป็น สิ่งในตัวเอง ที่เราไม่อาจจะรู้จักธรรมชาติแท้จริงของมันได้ เพราะการรับรู้วัตถุต้องรู้ตามกลไกหรือโครงสร้างของสมอง ดังนั้น วัตถุจริงกับสิ่งที่เรารู้จะไม่เหมือนกัน

สรุปปรัชญาสัจจนิยม

สัจจนิยมทุกแบบมีความเชื่อร่วมกันว่า มีโลกภายนอกตัวมนุษย์ โลกดังกล่าว ประกอบด้วยวัตถุทั้งหลายซึ่งมีความแท้จริงตามสภาพของมันโดยไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าจะมีมนุษย์รับรู้มันหรือไม่ และมีอยู่ก่อนที่จะมีผู้ใดมารู้มัน ถึงแม้ว่าคนเราจะรู้จักมันโดยทางประสาทสัมผัส แต่จะกล่าวว่ามันจึงเป็นเพียงผัสสะหรือความคิดของจิตไม่ได้ ฉะนั้นในคำถามที่ว่าสิ่งที่เรารู้คืออะไรนั้น สัจจนิยมได้ให้คำตอบว่าคือวัตถุทั้งหลายที่มีตัวตนอยู่นั่นเอง แต่ความคิดของนัก        สัจจนิยมทั้งหลายจะต่างกันในเรื่องของการที่เรารู้จักวัตถุ นั้นรู้อย่างไร จึงทำให้เกิดมีสัจจนิยมแบบต่าง ๆ สัจจนิยมโดยตรง เป็นกลุ่มสัจจนิยมที่เห็นว่าคนเรารู้จักวัตถุต่าง โดยตรงในกลุ่มนี้มี

1. สัจจนิยมแบบผิวเผิน มีความเชื่อว่าทุกอย่างทีคนเราได้รู้จักพบเห็นหรือที่ประสาทสัมผัสให้ข้อมูลแก่เรานั้น ล้วนเป็นความจริงทั้งสิ้น วัตถุมีคุณสมบัติทุกอย่างอยู่ภายในตัวมันอย่างแท้จริง

2. สัจจนิยมเเบบสามัญสำนึก การรู้จักวัตถุทั้งหลาย ก็คือ การกระทบกระทั่งกันโดยตรงระหว่างมนุษย์ในฐานะที่เป็นอินทรีย์มีชีวิต กับวัตถุต่าง ที่มีอยู่ในธรรมซาติวัตถุเป็นทั้งสาเหตุให้เกิดการรู้และเป็นวัตถุของการรู้

3. สัจจนิยมใหม่ ในการรู้จักสิ่งต่าง สัจจนิยมใหม่มีความเชื่อที่ตรงกับสัจจนิยม 2 แบบแรก คือ เป็นการรู้จักวัตถุโดยตรงไม่ได้ผ่านหรืออาศัยข้อมูลที่เป็นผัสสะทางอวัยวะรับสัมผัสใด เช่น เมื่อตาเรามองเห็นต้นไม้ต้นหนึ่ง นั่นก็คือเราได้รับรู้ต้นไม้ต้นนั้น ไม่ใช่ผัสสะสีเขียว สูง สีน้ำตาลของลำต้น ฯลฯ ในการรับรู้วัตถุจึงไม่ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาทางจิตที่เป็นส่วนตัวของผู้รู้เข้าไปเลย นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการที่คนหลายคนอาจจะรับรู้คุณสมบัติของวัตถุต่างกันออกไปว่า เป็นการที่ระบบประสาทของแต่ละคนเลือกรับรู้ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แต่ทุก ลักษณะก็เป็นคุณสมบัติแท้จริงของวัตถุเดียวกัน

สัจจนิยมโดยอ้อม คือกลุ่มสัจจนิยมที่ถือว่า คนเรารู้จักวัตถุโดยผ่านตัวกลางบาง อย่าง

1. สัจจนิยมแบบตัวแทน การรู้จักวัตถุต้องรู้โดยผ่านผัสสะซึ่งเป็นตัวแทนของวัตถุจริง วัตถุจริงนั้นมีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น ไม่มีคุณสมบัติทุติยภูมิ ดังนั้นผัสสะของคนเราจะเหมือนกับคุณสมบัติปฐมภูมิของจริงในตัววัตถุ แต่จะไม่เหมือนกับคุณสมบัติทุติยภูมิ เพราะคุณสมบัตินี้ไม่มีอยู่ในตัววัตถุ เป็นเพียงอำนาจที่คุณสมบัติปฐมภูมิก่อให้เกิดขึ้นกับจิตผู้รับรู้

2. สัจจนิยมเชิงวิจารณ์ การรู้จักวัตถุไม่ใช่เป็นการรับรู้วัตถุตัวจริงเหมือนอย่างสัจจนิยมใหม่ แต่เป็นการที่คนเรารู้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า ข้อมูล ได้มาโดยทางอวัยวะรับสัมผัส ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในสภาวะร่วมกันของจิตผู้รู้กับวัตถุตัวจริง วัตถุ  ตัวจริงเป็นอย่างไรนั้นไม่อาจรู้ได้ เพราะเมื่อคนเรารับรู้สิ่งใด นั้น ต้องมีการเพิ่มเติมเนื้อหาทางจิตเข้าไปเสมอ เช่น ตัดสิน หรือ ตีความสิ่งนั้น ดังนั้นในการรู้จึงมีปัจจัย 3 อย่าง คือ จิตผู้รู้ วัตถุในสภาพดั้งเดิม และข้อมูลซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นวัตถุของการรับรู้ซึ่งได้ถูกเพิ่มเติมเนื้อหาทางจิตลงไปแล้ว

              ดังนั้นจะเห็นว่าลัทธิสัจจนิยม  (realism) เน้นในเรื่องวัตถุ หรือวัตถุนิยม (materialism)  ซึ่งเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก  (outer world)  Phoenix  ได้กล่าวไว้ว่า  “วัตถุนิยมเป็นลัทธิสัจจนิยมชนิดหนึ่ง  ซึ่งถือเอาวัตถุ  (material)   เป็นความจริงสุดท้าย  สิ่งที่ไม่มีอยู่ให้เห็น  สิ่งนั้นไม่ใช่วัตถุ  แต่ต่างกันที่ชนิดและสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นวัตถุเท่านั้น  ส่วนจิตก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เกิดจากวัตถุเท่านั้น

 

การนำไปใช้กับการศึกษา

              การนำไปใช้ในแง่ของการนำเนื้อหาวิชาไปสอนหรือแนะนำ

  • จุดมุ่งหมายของการให้การศึกษาแก่เด็กตามแนวปรัชญานี้  ก็มุ่งที่จะทำให้เด็กเป็นผู้มีปัญญาเป็นบุคคลที่สมบูรณ์และปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่อยู่แวดล้อมตัวเขาได้
  • การให้การศึกษาแก่เด็กจึงมุ่งเนื้อหาวิชาที่เด็กคุ้นเคยกับโลกรอบ ๆ ตัวของเด็กเอง
  • การเสนอทัศนะเกี่ยวกับโลกภายนอกใกล้เคียงกับทัศนะของคนทั่ว ๆ ไป สอดคล้องกับสามัญสำนึกและวิทยาศาสตร์
  • เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกขอบข่ายและลักษณะปัญหาสําคัญ ๆ ในปรัชญาสาขาต่าง ๆ ได้
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมองปัญหาปรัชญาอย่างกว้าง ๆ และเข้าใจในคําตอบต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ตอบปัญหาที่ตนศึกษา โดยมีเหตุผลรองรับ
  • เพื่อเป็นพื้นฐานที่จะเข้าใจวิชาอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
  • เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารู้ จักคิดอย่างมีเหตุผล และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • เพื่อช่วยในการขบคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจําวันด้วยวิธีการทางปรัชญา
  • เพื่อให้ผู้ เรียนคิดตรวจสอบความคิดเห็นความเชื่อของตนและผู้ อื่นได้

การนำไปใช้ในแง่ของการประยุกต์หลักของปรัชญาเข้ากับหลักการบริหารก็จะได้ในหลักของการหาค่าสมมติฐาน ความเป็นไปได้ วิเคราะห์วิจารณ์ถึงหลักเหตุผล เพราะหลักของแนวคิดแบบสัจจนิยมนี้หลักการคิดการหาคำตอบจะสอดคล้องกับแนวความคิดและหลักทางวิทยาศาสตร์ซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันนี้จะใช้หลักทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักในการตัดสินความน่าเชื่อถือเสมอ

ดังนั้น ในแนวคิดแบบสัจจนิยมได้ให้ข้อคิดไว้ดังนี้ว่า ถ้าวางแผนสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาแล้วควรจะต้องวางแนวทางในการปฏิบัติไว้หลาย ๆ ทางเพื่อให้กระบวนการในการหาคำตอบนั้นสามารถทำได้หลายวิธีและหลากหลายในเชิงบูรณาการ

 

              การวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสีย

ข้อดีโดยภาพรวม

การเรียนการศึกษาในแนวคิดปรัชญาในแบบต่าง ๆ นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเองในส่วนของข้อดีแต่ละแนวคิดของปรัชญาก็จะคล้าย ๆ กัน คือ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักคิดตาม รู้จักการตั้งสมมติฐานในการหาความจริงของสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่อันเป็นพื้นฐานในของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อันตั้งอยู่บนหลักของความเป็นไปได้และมีเหตุผลในตัวของมันเอง  นอกจากนั้นการเรียนปรัชญาจะสอนให้คนมีเหตุผลเสมอ ซึ่งการมีเหตุผลนี้จะติดตัวผู้เรียนไปจนเป็นลักษณะนิสัย อาจจะเป็นผลดีทางอ้อมก็ว่าได้ นี่คือ ผลดีของการเรียนปรัชญาซึ่งกล่าวเป็นภาพรวม เพราะไม่ว่าเรียนสาขาไหนก็มีผลดีเหมือนกัน

ข้อเสียหรือข้อบกพร่อง

การเห็นหรือการคาดคะเนด้วยสายตามในสิ่งที่มองเห็นแล้วตั้งข้อสมมติฐานเอาอาจทำให้ข้อมูลที่ได้ทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง  เช่น การมองตึกสูงถ้ามองอยู่ใกล้ ๆ อาจมองเห็นสูงต้องแหงนมองสูงเป็นร้อยเมตร ถ้ามองอยู่ไกล ๆ อาจมองเห็นตึกขนาดเล็กไม่กี่เซนติเมตร ซึ่งแนวคิดแบบสัจจนิยมผิวเผินจะมีข้อบกพร่องตรงนี้

สัจจนิยมสามัญสำนึกพูดถึงการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุกับการรับรู้ในสัมผัสของคน วัตถุไม่มีชีวิต ไม่มีความรู้สึก ต่างกับคนที่มีชีวิต มีความรู้สึก  เช่น ว่าคนนั่งโซฟาไม่ว่าจะนั่งกี่ครั้งก็รู้สึกถึงความนุ่ม สบาย แต่โซฟาไม่ว่าใครจะนั่งซักกี่คนก็ยังอยู่อย่างเดิมไม่มีความรู้สึกเพราะไม่มีชีวิต

ข้อบกพร่องของสัจจนิยมสามัญสำนึกคือ มักทำให้เราเชื่อในสิ่งที่เห็นว่าจะต้องเป็นจริง เช่นเห็นรางรถไฟรางคู่ในระยะไกล ๆ จะประจบเข้าหากันเราก็เชื่ออย่างที่เห็นนั้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด โดยมิได้ใช้เหตุผลหรือความน่าจะเป็นตามหลักวิทยาศาสตร์ การรับรู้ทางประสาทสัมผัสอย่างเดียวไม่อาจทำให้ความรู้เป็นรูปร่างขึ้นมาได้

สัจจนิยมแนวใหม่ไม่ได้ให้ความกระจ่างในเรื่องของคุณสมบัติของวัตถุไว้โดยละเอียดจะอธิบายไว้เพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว เช่น ภูเขาจะต้องมีสีเขียวสีน้ำตาลรวมอยู่ในตัว ถ้าเป็นคนบอดสีก็จะไม่สามารถมองเห็นคุณสมบัติที่แท้จริงของภูเขาได้ เพราะไม่ได้อธิบายรูปร่างลักษณะอย่างอื่นไว้อีก

สัจจนิยมตัวแทนก็เหมือนกับภาพถ่ายซึ่งเหมือนกับตัวจริง  เราเห็นได้ทั้งภาพถ่ายและตัวจริงแต่ไม่อาจเปรียบเทียบได้ว่าภาพที่เห็นกับตัวจริงนั้นแตกต่างกันหรือไม่ เช่นว่า เราเคยเห็นดารานักร้องแต่ในโทรทัศน์ ไม่เคยเห็นตัวจริงจึงไม่อาจเปรียบเทียบความแตกต่างได้

 

              ข้อเสนอแนะ

              ในการศึกษาแนวคิดสัจจนิยมนี้ต้องรู้จักวิเคราะห์เนื้อหาหลาย ๆ ด้านและตีความหมายหลาย ๆ ครั้งเพราะเนื้อหาของปรัชญาที่เขียนไว้แต่ละเล่มของอาจารย์แต่ละท่านจะเขียนด้วยสำนวนที่อ่านแล้วเข้าใจยากต้องอ่านหลาย ๆ เที่ยวแล้วค่อย ๆ วิเคราะห์หาเหตุผลตามจึงจะเข้าใจได้และที่สำคัญคือต้องอ่านเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวเนื่องกันจะอ่านเฉพาะหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งอาจจะทำให้จับต้นชนปลายไม่ถูก จะลำดับแนวความคิดไม่ได้ เพราะแต่ละแนวคิดของปรัชญาจะมีแนวคิดที่นำเสนอและมีแนวคิดที่โต้แย้งมาด้วยกันเสมอ

              ดังนั้น การศึกษาแนวคิดของปรัชญาแต่ละอย่างจะสอนให้เรารู้จักคิดตาม พร้อมทั้งตั้งคำถามและหาคำตอบในเวลาเดียวกัน  คำตอบอาจจะมีทั้งขัดแย้งและเห็นด้วย ซึ่งนั่นเป็นลักษณะเฉพาะของการศึกษาปรัชญา

              ศิลปะจินตนิยม หรือ ศิลปะโรแมนติกซิสม์ (อังกฤษ: Romanticism) เริ่มต้นขึ้นในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปตะวันตก เป็นการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดทางปรัชญา วรรณกรรม และศิลปกรรม อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป[1] กำเนิดของศิลปะจินตนิยมมีส่วนมาจากการต่อต้านแนวคิดทางสังคมและการเมืองแบบเก่าของยุคแสงสว่าง รวมถึงปฏิกิริยาต่อต้านการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมากแนวคิดของศิลปะในยุคนี้จะสะท้อนออกมาในงานศิลปะแบบภาพวาด ดนตรี และวรรณกรรม

 

ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงศิลปะสมัยใหม่

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปะวัติศาสตร์ศิลป์
ประวัติศาสตร์ศิลป์แยกได้เป็น 2 คำ คือ ประวัติศาสตร์ (History) และศิลป์ (Art)ประวัติศาสตร์ (History) หมายถึง วิชาว่าด้วยความเป็นมาของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน
   ศิลป์ (Art) มีความหมายกว้างขวางตามแนว และทัศนะของนักปรัชญาของแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่จะอย่างไรก็ตามเราพอจะสรุปความหมายของศิลปะในแนวกว้าง ๆ คือ ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ปัญญา ความคิดและความงาม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์
   ประวัติศาสตร์ศิลป์บอกให้เราทราบถึงการสร้างสรรค์ และวิวัฒนาการศิลปะของมนุษยชาติ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคปัจจุบัน เราได้ศึกษาแบบอย่างงานศิลปะ ความเคลื่อนไหว ความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ ความเปลี่ยนแปลงของศิลปกรรมของแต่ละยุค เป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนา นำไปสู่การยกระดับคุณภาพของงานศิลปะในยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ ช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของงานศิลปะ มีความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษย์ทั้งโลก

ศิลปะตะวันตก
   ศิลปะตะวันตก หมายถึง ศิลปกรรมของกลุ่มประเทศในยุโรป (ปัจจุบันรวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย) มีรากฐานมาจากศิลปะของอียิปต์ และกรีก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุคโบราณของโลก และพัฒนาขึ้นมาภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา เป็นต้นแบบของศิลปะสากลในปัจจุบัน
   ประวัติศาสตร์ของยุโรปแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic)
2. ยุคโบราณ (Ancient Age)
3. ยุคกลาง (Middle Age)
4. ยุคใหม่ (Modern Age)

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) ประมาณ 40,000 ปี – 4,000 ปี ก่อน ค.ศ.

ศิลปะอียิปต์ (Egyptian Art)

เรื่องราวอารยธรรมของอียิปต์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นยุคก่อน ประวัติศาสตร์ และก่อนราชวงศ์ (Pre-dynastic) ของอียิปต์ ชาวอียิปต์ได้สร้างศิลปวัฒนธรรมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาในด้านคุณธรรม และตอบสนองความเชื่อว่าวิญญาณของคนตายจะกลับคืนสู่ร่างกายใหม่ จึงเป็นมูลเหตุของการทำมัมมี่ (mummy) หีบบรรจุศพทำด้วยหิน สร้างอาคารรูปทรงพีระมิด (Pyramids) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่เมืองกีซา ในกรุงไคโร ภายในพีระมิดเป็นที่บรรจุพระศพกษัตริย์คูฟู (Khufu) ฐานพีระมิดยาวด้านละ 756 ฟุต สูง 481 ฟุต กินเนื้อที่ 32 ไร่ สร้างด้วยหินนักกว่าก้อนละ 2 ตัน จำนวน 2,500,000 ก้อนประมาณว่าใช้กำลังคม 1,000,000 คน ผลัดกันสร้างทั้งกลางวัน และกลางคืน ใช้เวลาราว 20 ปี จึงเสร็จ ภายในห้องพีระมิด นอกจากจะบรรจุพระศพของกษัตริย์แล้ว ยังเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติอันมีค่า ผนังภายในตกแต่งด้วยภาพเขียนสี บรรยายด้วยอักษรโบราณ ทำให้ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ชาวอียปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

2. ยุคโบราณ (Ancient Age) ประมาณ 1,400 ปี ก่อน ค.ศ. ค.ศ. 100

ศิลปะตะวันออกใกล้ (Ancient Near Eastem Aft)
อียิปต์พัฒนาอารยธรรมเจริญรุ่งเรื่องสุดขีดในลุ่มแม่น้ำไนล์ ส่วนทางฝั่งตะวันออกของทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนแถบแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรทีส ได้แก่ดินแดนบางส่วนของประเทศอิหร่าน ซีเรีย จอร์แดน และซาอุดีอาระเบียในปัจจุบัน เรียกว่าแคว้นเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) หมายถึงดินแดนในลุ่มแม่น้ำสองสาย ชนชาติดังกล่าวมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกัน ประเทศที่อยู่ในวัฒนธรรมนี้ได้แก่ สุเมเรียน บาบิโลเนียน อัสซิเรียน เปอร์เซีย
   ลักษณะศิลปกรรมของสุเมเรียนมีความแตกต่างจากศิลปกรรมอียิปต์ คือ อียิปต์ใช้หินเป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนสุเมเรียนใช้อิฐเผาก้อนใหญ่ ๆ มาเรียงกัน ดังนั้นสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงมีอิฐเป็นโครงสร้างหลัก สถาปัตยกรรมของสุเมเรียนที่รู้จักกันมากที่สุดคือวิหารใหญ่เรียกว่า ซิกูรัต (Zigurat) เป็นหอสูงแบบตึกระฟ้า มีทางเดินเป็นบันไดวน เป็นสถานที่สำหรับทำพิธีทางศาสนา

ศิลปะบาบิโลน อยู่ช่วง 700 ปี ก่อน ค.ศ.
มีสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือสวนลอยแห่งบาบิโลน โดยสร้างสวนให้สูงจากพื้นดิน ใช้อิฐซ้อนกันขึ้นไป วางผังลดหลั่นกันและมีความสลับซับซ้อน ตามซุ้มประตูต่าง ๆ ประดับด้วย ภาพสลักขนาดมหึมา ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกทับถมปรักหักพังไปหมดแล้ว เหลือเฉพาะฐานรากบางส่วนเท่านั้น

ศิลปะอัสซิเรียน อยู่ในช่วง 900 ปี ก่อน ค.ศ.
ศิลปกรรมงานแกะสลักที่มีชื่อเสียง เป็นรูปสิงโตกำลังกัดเด็กหนุ่มพบในพระราชวังเมืองนิมรุดในอัสซิเรีย งานชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติซกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ประติมากรรมลอยตัวชิ้นสำคัญที่ติดตั้งตามทางเข้าพระราชวังมีขนาดใหญ่โต เป็นรูปสิงโตมีปีก (Winged Lion) ส่วนงานสถาปัตยกรรมของอัสซิเรียน มีอาคารก่ออิฐเป็นโครงสร้างหลัก เป็นรูปโค้งรับน้ำหนักและใช้อิฐและหินก่อเป็นกำแพง ตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง และกระเบื้องเคลือบเป็นรูปสิงโต

ศิลปะเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อน ค.ศ.
อารยธรรมของเปอร์เซียมีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมที่มีการตกแต่งภายในอย่างสวยงาม มีงานประติมากรรมใช้ในการตกแต่งสถาปัตยกรรม ได้แก่ เสาหินวัวคู่ ประดับพระราชวังที่เมืองเปอร์เซโปลิส (Persepolis)

ศิลปะกรีก (Greek Art)

ชาวกรีกเป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์อินโด-ยูโรเปียนที่อพยพเคลื่อนย้ายลงสู่แหลมบอลข่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่ง 2,000 ปี ก่อน ค.ศ. จึงได้ตั้งหลักที่เป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 รัฐใหญ่ที่สำคัญคือเอเธนส์ และสปาตา ชาวกรีกมีการศึกษาศิลปวิทยาจนมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ปรัชญา และการปกครอง ศิลปกรรมกรีกมีความเจริญสูงสุด เป็นแบบฉบับในทางศิลปะของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน
       ศิลปกรรมของกรีกที่สำคัญได้แก่ งานสถาปัตยกรรม อาทิ วิหาร สนามกีฬา หอประชุม และสถานที่แสดงอุปรากร วิหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว มีความงดงามมากแม้จะสร้างมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ก็ไม่มีที่ติว่าควรจะ  แก้ไขข้อบกพร่องส่วนใดส่วนหนึ่งของวิหารพาร์เธนอน ภายในวิหารตกแต่งด้วยภาพแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม

งานสถาปัตยกรรมกรีกแบ่งตามลักษณะหัวเสา 3 แบบใหญ่ ๆ คือ 1. แบบดอริก (Doric) 2. แบบไอโอนิก (Ionic) 3. แบบคอรินเทียน (Corinthian)

งานทางด้านประติมากรรมของกรีก นิยมสร้างสรรค์แนวเหมือนจริง (Realistic) โดยเฉพาะสรีระของคนเรา ชาวกรีกถือว่ามีความงดงามยิ่ง ชาวกรีกจึงนิยมปั้นและแกะสลักรูปคนเปลือยกายไว้มากมาย งานประติมากรรมลอยตัวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เทพธิดาวีนัส (Venus) รูปเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) รูปนักกีฬาไมรอน (Myron) ประติมากรรมโลหะสัมฤทธิ์รูปเด็กหนุ่ม เป็นรูปเปลือยที่มีส่วนสัดของร่างกาย ตลอดจนการจัดวางท่วงท่าได้อย่างงดงาม

ศิลปะโรมัน (Roman Art)
   ศิลปะโรมันส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกรีก ซึ่งมีองค์ประกอบที่ประณีต งดงาม แต่ศิลปะของโรมันเน้นความใหญ่โตมโหฬาร มีความหรูหรา สง่างาม มั่นคงแข็งแรง สถาปัตยกรรมโรมันมีชื่อเสียงมาก โรมันเป็นชาติแรกที่คิดค้นสร้างคอนกรีตได้ สามารถใช้คอนกรีตหล่อขึ้นเป็นโครงสร้างรูปโดมช่วยทำให้การก่อสร้างอาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น สถาปัตยกรรมของโรมันที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารแพนเธออน (Pantheon) โคลอสเซียม (Colosseum) เป็นสนามกีฬารูปกลมรีขนาดใหญ่มหึมาสามารถจุคนดูได้ถึง 50,000 คน นอกจากงานสถาปัตยกรรมดังกล่าวแล้ว ชาวโรมันยังสร้างสะพานโค้งข้ามแม่น้ำและส่งน้ำข้ามหุบเขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ ประตูชัย (Arch of Triumph) สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญ และฉลองชัยของทหารโรมัน โดยสร้างเป็นประตูโค้งขนาดใหญ่สำหรับให้ทหารเดินทัพผ่านเมื่อออกสงครามหรือภายหลังได้รับชัยชนะ ประดับด้วยภาพประติมากรรมนูนสูงอย่างสง่างาม
   งานประติมากรรมของโรมันมีไม่มาก ส่วนใหญ่ขนย้ายมาจากกรีก มีการสร้างสรรค์ขึ้นเองบ้างแต่เป็นส่วนน้อยนอกนั้นทำเลียนแบบกรีกทั้งหมด ผลงานที่พบในกรุงโรมได้แก่ ภาพเลาคูนกับบุตรชายกำลังถูกงูกัด เป็นผลงานที่นำมาจากกรีก นอกนั้นได้แก่ภาพประติมากรรมของบุคคลสำคัญในยุคนั้น เช่น รูปจูเลียสซีซาร์ รูปจักรพรรดิออกัสตัส รูปจักรพรรดิคาราคัลลา   รูปจักรพรรดิเนโร เป็นต้น
   งานจิตรกรรมของโรมัน มีการค้นพบภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพดีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่แสดงถึงเรื่องราวในชีวิตประจำวันของชาวโรมันนอกนั้นเป็นภาพในเทพนิยาย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ลักษณะของภาพยังมีความงามที่สมบูรณ์ เป็นภาพเขียนสีและประดับด้วยหินสี (Mosaic) อย่างประณีต สวยงาม

ศิลปะไบแซนไทน์ (Byzantine Art) ประมาณ ค.ศ. 455
   ศิลปะไบแซนไทน์เป็นศิลปะที่มีลักษณะเชื่อมโยงความคิด และรูปแบบระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ศิลปะมีลักษณะใหญ่โต คงทนถาวร ประดับตกแต่งด้วยการใช้พื้นผิว (Texture) อย่างหลากหลาย  งานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของไบแซนไทน์ คือการทำหลังคาเป็นรูปกลม (Cupula) ต่างจากหลังคาของศิลปะโรมัน ที่ทำเป็นรูปโค้ง (Arch) หลังคากลมแบบไบแซนไทน์ ภายนอกเรียกว่าโดม (Dome) หลังคากลมช่วยให้สามารถสร้างอาคารได้ใหญ่โตมากขึ้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นแบบฉบับของศิลปะดังกล่าว ได้แก่ โบสถ์เซนต์โซเฟีย ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล โบสถ์เซนต์มาร์โค ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี

3. ยุคกลาง (Middle Age) ประมาณ ค.ศ. 300 – ค.ศ. 1300

ความเจริญทางด้านศิลปะในยุคกลาง เป็นการสร้างสรรค์โดยวัดและคริสต์ศาสนิกชน ซึ่งมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและศิลปวิทยา ศิลปะของคริสต์ศาสนาจึงเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับวัดคาทอลิก มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่สิ่งก่อสร้างจะมีขนาดเล็กลง นิยมสร้างด้วยหินและปูผิวด้วยอิฐ สร้างสุสานด้วยการเจาะหินหน้าผา  กลุ่มศิลปะที่อยู่ในยุคกลางได้แก่ ศิลปะโกติก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะบารอก และรอกโกโก

ศิลปะโกติก (Gothic Art)
   ศิลปะโกติกนิยมแสดงเรื่องราวทางศาสนาในแนวเหมือนจริง (Realistic Art) ไม่ใช้สัญลักษณ์เหมือนศิลปะยุคก่อน งานสถาปัตยกรรมมีโครงสร้างทรงสูง มียอดหอคอยรูปทรงแหลมอยู่ข้างบน ทำให้ตัวอาคารมีรูปร่างสูงระหงขึ้นสู่เพดาน ซุ้มประตู หน้าต่าง ช่องลม มีส่วนโค้งแปลกกว่าศิลปะแบบใด ๆ

ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance Art)
   สงครามครูเสดนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุโรปตะวันตกอย่างใหญ่หลวง ระบอบการปกครองแบบศักดินาหมดสิ้นไป แว่นแคว้นต่าง ๆ เริ่มมีความเป็นอิสระ ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม งานสถาปัตยกรรมที่      ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้นฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 – 1514) ราฟาเอล (Raphel ค.ศง 1483 – 1520) ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 – 1564) และโจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 – 1680)
   งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยฟื้นฟู มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing) การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม มีความเป็นมิติ มีความสัมพันธ์กับการมองเห็น ใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม ศิลปินที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างสรรค์งานไว้เป็นอมตะเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก  ได้แก่ เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)
   ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโลชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาฝนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
   ราฟาเอล (Raphael) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (Galatea)  ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดสกุลศิลปะ และศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่จนปัจจุบันนี้

ศิลปะบารอกและรอกโกโก (Baroque and Rococo Art)
คำว่า Baroque และ Rococo ในปัจจุบัน หมายถึง สิ่งที่มีการตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ วิจิตรพิสดารจนเกินงาม เป็นศิลปะตอนปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเชื่อมต่อกับศิลปะยุคใหม่ ศิลปะแบบบารอกและรอกโกโก เป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบของศิลปะที่เน้นรายละเอียดส่วนย่อยอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการใช้ส่วนโค้ง ส่วนเว้า งานจิตรกรรม และประติมากรรม ยังคงเน้นรูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ (Realistic) แต่ใช้สีรุนแรงขึ้น งานสถาปัตยกรรมประกอบด้วยเส้นโค้งมนตกแต่งโครงสร้างเดิม มีลวดลายอ่อนช้อย งดงาม อาคารที่ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะบารอก และรอกโกโก ได้แก่ โบสถ์เซนต์แอกเนส (Church of St. Agnese) โบสถ์เซนต์คาร์โล (Church of St. Carlo) ที่กรุงโรม พระราชวังแวร์ซาย (Versailes palace) ในประเทศฝรั่งเศส โบสถ์ทั่วไปในยุโรปตอนเหนือ เช่นในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเยอรมนี เป็นต้น

4. ยุคใหม่ (Modern Age) ค.ศ. 1800 - ปัจจุบัน

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) เริ่มขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในประเทศฝรั่งเศส สืบเนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะอย่างขนานใหญ่ ทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ โดยเฉพาะสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ศิลปินยุคใหม่ต่างพากันปลีกตัวออกจากการยึดหลักวิชาการ (Academic) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีรากฐานมาจากศิลปะกรีกและโรมัน มาใช้ความรู้สึกนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนอย่างอิสระ แยกศิลปะออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิง ศิลปะจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดรูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังจะได้กล่าวพอสังเขปดังนี้

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)
นีโอคลาสสิกเป็นรูปแบบศิลปะที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่กับสมัยเก่า ภาพเขียนจะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นความสง่างามของรูปร่างทรวดทรงของคนและส่วนประกอบของภาพ มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง มั่นคง ใช้สีกลมกลืน มีดุลยภาพของแสง และเงาที่งดงาม

ศิลปินที่สำคัญของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ได้แก่  ชาก ลุย ดาวิด (ค.ศ. 1748-1825) ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น การสาบานของโฮราตี (The Oath of Horatij) การตายของมาราต์ (The Death of Marat) การศึกระหว่างโรมันกับซาไบน์ (Battle of the Roman and Sabines) เป็นต้น

ศิลปะแบบโรแมนติก (Romanticism)
ศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและผู้สร้างสรรค์  ศิลปินที่สำคัญของศิลปะโรแมนติก ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa)  เดอลาครัว (Delacroix) ชอบเขียนภาพที่แสดงความตื่นเต้น เช่น ภาพการประหารที่  ทิชิโอ ความตายของชาดาร์นาปาล การฉุดคร่าของนางรีเบกกา เป็นต้น  ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชอบเขียนภาพแสดงการทรมาน การฆ่ากันในสงคราม คนบ้า ตลอดจนภาพเปลือย เช่น ภาพเปลือยของมายา (Maya the nude) เป็นต้น

ศิลปะแบบเรียลิสม์ (Realism)
ศิลปินกลุ่มเรียลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริง ๆ ของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้  ได้แก่  โดเมียร์ (Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน คูร์เบต์ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม  มาเนต์ (Manet) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคมเช่นการประกอบอาชีพ

ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)
กลุ่มศิลปินอิมเพรสชันนิสม์เริ่มเบื่อรูปแบบที่มีหลักความงามแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นสิ่งเชื่อมโยง เน้นด้วยแสง สี บรรยากาศ ศิลปินที่สำคัญของกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ ได้แก่    โคลด โมเนต์ (Claude Monet)    ซิสเลย์ (Sisley)  เดอกาส์ (Degas    ปิซาโร (Pissaro  มาเนต์ (Manet)  เรอนัว (Renoir)

ศิลปะแบบโพสต์ อิมเพรสชันมิสม์ (Post-Impressionism)
ศิลปะแบบโพสต์-อิมเพรสชันนิสม์จะไม่เลียนแบบจากสิ่งที่เป็นจริงโดยการสร้างรูปทรงใหม่ แต่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เช่น การระบายสีด้วยเทคนิคขีด ๆ จุด ๆ เน้นสี แสง เงาให้เกิดมิติ บรรยากาศ ความงามและความประทับใจ ศิลปินในกลุ่มนี้ ได้แก่   แวนโกะห์ (Van Gogh)  มาติส (Matisse)  บงนาร์ด (Bonnard   เซซาน (Cezanne)   โกแกง (Gauguin)   เซอราต์ (Seurat)

ศิลปะสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20
ลัทธิโฟวิสซึม เป็นศิลปะที่แสดงออกในเรื่องสีที่สดใสรุนแรงศิลปินที่สำคัญในลัทธินี้      ได้แก่ อองรี มาติส

ศิลปะนามธรรม เป็นศิลปะที่ไม่แสดงรูปทรงเหมือนจริง แต่แสดงเรื่องสีและพลังทางอารมณ์และความรู้สึก
ศิลปะคิวบิสม์ เป็นศิลปะกึ่งนามธรรม แสดงออกด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันของปริมาตร มีความงามตามหลักของสุนทรียศาสตร์อย่างแท้จริง ศิลปินผู้นำศิลปะคิวบิสม์ ได้แก่  ปิกาสโซ