Custom Search

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สารเสพติด

หน่วยการเรียนรู้ที่  14  ใช้ให้ถูกวิธีให้ห่างไกล

ปัญหาและผลกระทบจากการใช้ยาและสารเสพติด

ปัญหาและผลกระทบจากการใช้ยา

              ตามพระราชบัญญัติยา  พ.ศ.  2522 ยา  หมายถึง  สารที่ใช้ในการบำบัดรักษาและบำรุงร่างกายยามีประโยชน์เมื่อเกิดจ็บป่วยและใช้อย่างถูกวิธี  แต่ก็มีอันตรายหรือเกิดโทษได้เช่นกัน  ถ้าใช้ไม่ถูกต้องหรือยาหมดอายุ  ไม่มีคุณภาพ  ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากยามีดังนี้

  1. กินหรือใช้ยาเกินขนาด
  2. การแพ้ยาบางชนิด
  3. การดื้อยา
  4. การติดยา
  5. การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  6. ป ฏิกิริยาต่อต้านกันของยา

ปัญหาและผลกระทบจากการติดสารเสพติด

1.  ปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพ

              -  ทำลายสุขภาพกายและสุขภาพจิต  ทำให้ร่างกายทรุดโทรม  ระบบทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติ  น้ำหนักตัวลด  ร่างการซูบผอม

              -  เป็นบุคคลที่หย่อนสมรรถภาพในการทำงานและจิตใจอ่อนไหว

              -  ประสบอุบัติเหตุได้ง่าย  เพราะร่างกายอ่อนแอ  ควบคุมตนเองไม่ได้เต็มที่

              -  บุคลิกภาพไม่ดี  ขาดสนใจตนเอง  มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป  ชอบทำร้ายตนเองและผู้อื่น

              -  ภูมิต้านทานโรคลดน้อยลง  เกิดโรคแทรกซ้อน ได้ง่าย

2.  ปัญหาและผลกระทบต่อครอบครัว

              -  ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว

              -  ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน

              -  ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น  ไม่มีความสุข

              -  เป็นภาระของครอบครัว

              -  ทำลายชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูล

3.  ปัญหาและผลกระทบต่อสังคม

              -  เป็นที่รังเกียจของสังคม

              -  ขาดความไว้วางใจจากคนรอบข้าง

              -  ขาดความยกย่องนับถือจากคนอื่น

              เกิดอาชญากรรมและอุบัติเหตุมากขึ้น

4.  ปัญหาและผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

              -  ลดประสิทธิภาพในการทำงานและผลผลิต

              -  สูญเสียแรงงานที่เข้มแข็ง

              -  สูญเสียทรัพย์สินในการฟื้นฟูและรักษา

5.  ปัญหาและผลกระทบต่อประเทศชาติ

              สูญเสียงบประมาณในการป้องกันและปราบปราม

              -  สูญเสียบุคลากรในการป้องกันและปราบปราม

              -  เสียเวลาในการป้องกันและรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนบ้านใกล้เคียง

              -  บั่นทอนความมั่นคงของประเทศชาติ

กลวิธีป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิด

การใช้ยาให้ปลอดภัย

              เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา  จะต้องระมัดระวังดังนี้

1.  การใช้ยาที่ปลอดภัยและเหมาะสม

              1.1  อ่านฉลากยาหรือคำแนะนำในการใช้ยาก่อนทุกครั้งที่จะใช้  เพื่อใช้ยาได้ถูกวิธี

              1.2  ใช้ยาให้ถูกกับโรค

              1.3  ใช้ยาให้ถูกจังหวะ

              1.4  ใช้ยาให้ถูกกับคน

              1.5  ใช้ยาให้ถูกขนาด

              1.6  ใช้ยาให้ถูกทาง

              1.7  ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์

2.  การเก็บยาอย่างถูกวิธี

              เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาจะต้องมีระบบในการจัดเก็บยา  เพื่อสะดวกในการนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ผิดพลาด  คือ

              2.1  ตู้ยาหรือที่เก็บยาต้องแบ่งให้ชัดจน

              2.2  จัดวางยาให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

              2.3  ไม่เก็บยาในที่ที่มีความร้อนสูง

              2.4  ยาทุกชนิดต้องมีฉลากบอกชื่อ  สรรพคุณ  วิธีใช้  และวันหมดอายุไว้อย่างชัดเจน

              2.5  ยาหมดอายุต้องเก็บทิ้งทันที

              2.6  ปิดฝาขวดยา  ตลับยา  ให้แน่นทุกครั้งหลังใช้แล้ว

              2.7ไม่เก็บยารักษาโรคสัตว์  ยาฆ่าแมลง  หรือสารพิษไว้ในตู้ยาเด็ดขาด

              2.8  เก็บยาไว้ในที่สูงให้พ้นจากมือเด็ก

 

สถานการณ์เสี่ยงที่นำไปสู่การติดสารเสพติด

1.  ตัวผู้ติดสารเสพติดเอง

              1.1  อยากทดลอง

              1.2  อยากทำอย่างเพื่อน

              1.3  ต้องการให้เพื่อนยอมรับ

              1.4  ต้องการความสุข  ความเพลิดเพลิน

              1.5  มีปัญหาไม่สบายใจต้องการหนีปัญหา

2.  ครอบครัว

              2.1  ครอบครัวแตกแยก  หย่าร้าง  อาศัยอยู่กับผู้อื่น

              2.2  การอบรมเลี้ยงดูด้วยการปล่อยปละละเลย  หรือเข้มงวดเกินไป

              2.3  ครอบครัวขาดความอบอุ่น

              2.4  ครอบครัวไม่มีเวลาเอาใจใส่

              2.5  ครอบครัวยากจน

              2.6  ผู้ปกครองใช้สารเสพติด

3.  เพื่อน

              3.1  เพื่อนชักชวน

              3.2  เพื่อนบังคับ

              3.3  คบเพื่อนที่ติดสารเสพติด

4.  โรงเรียน

              4.1  เบื่อการเรียนการสอนที่ไม่น่าสนใจ

              4.2  ครุเคร่งครัดระเบียบวินัย  และเข้มงวดในการสอน

              4.3  กลุ่มเพื่อนใช้สารเสพติด

              4.4  มีการใช้สารเสพติดทั้งในที่ลับตาและที่เปิดเผย

5.  แหล่งที่อยู่อาศัย

              5.1  เป็นชุมชนแออัด

              5.2  เป็นแหล่งการขาย

สถานการณ์เสี่ยงต่อการติดสารเสพติดในชุมชน

ผู้เสพติด

  1. การไม่มีความรู้
  2. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  3. ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสารเสพติด
  4. การมีปัญหาหรือความวิตกกังวล
  5. การมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง
  6. มีสถานภาพยากจน
  7. การอยู่ใกล้ชิดกับสารเสพติดหรือผู้ติดสารเสพติด
  8. ถูกล่อลวง  ชักชวน  หรือหลอกให้ทดลองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  9. มีจิตใจอ่อนแอ  มีความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ

ผู้ค้าหรือผู้ขาย

  1. ผู้ขายบางคนติดสารเสพติดมาก่อน
  2. ขาดจิตสำนึกที่ดี  เห็นแก่ตัว  ไม่เห็นแก่คนอื่น
  3. เป็นผู้ที่ขาดคุณธรรม  ไม่เกรงกลัวต่อบาป
  4. ขาดความรักตัวเอง  และไม่รักประเทศชาติ
  5. ถูกชักชวนและถูกบังคับจากผู้มีอิทธิฟล
  6. หวังมีเงินมาก  ต้องการร่ำรวย

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดมีดังนี้

การป้องกันตนเอง

ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ศึกษาเกี่ยวกับพิษภัยอันตรายของสารเสพติดและหลีกเลี่ยงให้ห่างไกล
  2. มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะไม่ทดลองเสพสารเสพติด
  3. ไม่เชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อหรือคำชักชวนใดๆเกี่ยวกับสารเสพติด
  4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการออกกำลังกาย
  5. คบคนดีเป็นเพื่อน  ชักชวนเพื่อนร่วมกิจกรรมเพื่อชุมชน

 

การป้องกันคนในครอบครัว  และโรงเรียน

ควรปฏิบัติดังนี้

              1.  ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ  พิษภัย  และการระบาดของสารเสพติดแก่สมาชิกในครอบครัวและในโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

              2.  แนะนำ  ตักเตือน  ให้ความรู้แก่สมาชิกของตนให้เกิดความตระหนักถึงพิษภัยของสารเสพติด

              3.  สอดส่องดูแลสมาชิกของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

              4.  ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิกด้วยการสูบบุหรี่และสารเสพติดใดๆ

              5.  เป็นที่ปรึกษาที่ดีช่วยแก้ปัญหาแก่สมาชิก

              6.  ส่งเสริมให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

              7.  ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม

              8.  ป้องกันครอบครัว  ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือผู้ที่อยู่ร่วมกัน

การป้องกันชุมชน

              1.  ศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนที่อยู่อาศัย

              2.  สร้างค่านิยมใหม่ๆที่ดีให้กับสังคม

              3.  รับแต่ค่านิยมที่ดีๆและถูกต้อง

              4.  ตั้งกลุ่มหรือชมรมร่วมกันป้องกันและต่อต้านสารเสพติด

              5.  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยเหลือเพื่อนในชุมชนที่ทุกข์ยากละมีปัญหา

              6.  บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

มาตรการทางกฏหมายเกี่ยวกับสารเสพติด

              กำหนดให้ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวมีความคิดและต้องรับโทษ  มีรายละเอียดดังนี้

-  กำหนดให้ผู้ผลิต  ผู้นำเข้า  หรือผู้ขายสารระเหย  ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน  2  ปี  หรือปรับไม่เกิน 20,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

-  ห้ามให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกิน  17  ปี  ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน  1  ปี  หรือปรับไม่เกิน  10,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

-  ห้ามผู้ใดจงใจชักนำ  ยุยงส่งเสริม  หรือใช้อุบายหลอกลวงบุคคลอื่น  ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน  2 ปี  หรือปรับไม่เกิน  20,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

-  ห้ามไม่ให้ผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ  ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน  2  ปี  ปรับไม่เกิน  20,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สถานที่ให้คำปรึกษาและแนะนำการบำบัดรักษาขั้นต้น

1.  สถานที่ให้คำปรึกษาแนะนำ

              สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

              -  สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

              -  สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย

              -  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามและป้องกันยาเสพติด

2.  สถานบำบัด

              -  โรงพยาบาลตำรวจ

              -  โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

              -  สถาบันธัญญารักษ์

              -  โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

              -  ศูนย์บริการสาธารณสุข

              -  โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง