Custom Search

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วิธีการควบคุมวัชพืชในนาข้าว

1

 

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

       เมื่อนำเชื้อราไตรโดเดอร์มาผสมกับข้าวที่หุงแล้วจะสามารถนำไปรักษาโรคและกำจัดศัตรูพืชได้

 

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

              1. สถานที่  

                       

              1  พื้นที่เกษตรหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม บ้านบะแค  บ้านของสมาชิกกลุ่มทั้ง  4   คน

2.พืชที่ใช้ในการทดลอง คือ พริก มะละกอ

 

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

              ตัวแปรต้น         ข้าวและเชื้อราไดโคเดอร์มา  

              ตัวแปรตาม       การควบคุมโรค

              ตัวแปรควบคุม   การหยดเชื้อราไตรโคเดอร์มา

             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เชื้อราไดโคเดอร์มา

ไตรโคเดอร์มาเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในจำพวกของเชื้อราชั้นสูง เส้นใยมีผนังกั้นแบ่ง มีประโยชน์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราได้อย่างกว้างขวาง ทั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เป็นเชื้อราชั้นสูงและชั้นต่ำ

              ในประเทศไทยได้มีการศึกษาค้นคว้าประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเพื่อควบคุมโรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน  โรคกล้าไหม้ โรครากเน่า โรคโคนเน่า บนพืชหลายชนิด เช่น มะเขือเทศ ถั่วเหลืองฝักสด พริก ฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ส้ม ทุเรียน พบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคต่างดังกล่าวได้ดี

                สำหรับรูปแบบหรือวิธีการของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมเชื้อราโรคพืช คือ 1. แข่งขันกับเชื้อราโรคพืชในด้านแหล่งของที่อยู่อาศัย อาหาร อากาศ และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต 2. เส้นใยของไตรโคเดอร์มาจะพันรัดและแทงเข้าไปในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช 3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพสูงมากชนิดหนึ่ง

                  ก่อนที่จะนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปใช้ จำเป็นที่จะต้องนำมาผสมกับรำข้าว (รำใหม่ละเอียด) และปุ๋ยอินทรีย์เสียก่อน ตามอัตราส่วนโดยน้ำหนัก  ดังนี้ หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม : รำข้าว 5 กิโลกรัม : ปุ๋ยอินทรีย์25กิโลกรัม

                   ปัจจุบันมีชนิดที่จำหน่ายเป็นชุดให้ใช้อัตราตามคำแนะนำของผู้จำหน่ายได้ โดยผสมหัวเชื้อไตรโคเดอร์มา คลุกเคล้าให้เข้ากับรำข้าวให้ดีเสียก่อน แล้วจึงนำไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปุ๋ยอินทรีย์ ก็จะได้ส่วนผสมที่พร้อมจะนำไปใช้โดยแนะให้ 1. ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก 2. ใช้โรยรอบโคนต้น 3. ใช้ทั้งรองก้นหลุมและโรยรอบโคนต้น
                  ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้
            1. pH ของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไตรโคเดอร์มา อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 คือเป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งเป็นช่วง pH ที่พืชปลูกส่วนใหญ่ เจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการวัด pH ของดิน และปรับให้เหมาะสมก่อน
             2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชั้นสูง จึงถูกทำลายได้ด้วยสารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดเชื้อราชั้นสูงโดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ได้แก่ เบนโนมิล (benomyl) และคาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีชนิดดูดซึม หากจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ควรจะทิ้งช่วงประมาณ2สัปดาห์เป็น  อย่างต่ำ
             3. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง คือต้นฝน และปลายฝน ห่างกัน 6 เดือน เพราะถ้าอาหาร สภาพแวดล้อม และปัจจัย อื่น ๆ ในดินไม่เหมาะสม เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะหยุดการเจริญเติบโต
             ไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในดิน เช่น เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า) เชื้อราไฟทอฟธอรา (โรคโคนเน่า) เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว) เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่าเหี่ยว)เชื้อราไรซ็อค  โทเนีย(โรคเน่าระดับดินกล้ายุบกล้าเน่า)
              วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดไปใช้ให้คลุกเมล็ดพืชผสมปุ๋ยอินทรีย์แล้วหว่านหรือรองก้นหลุม ผสมกับวัสดุปลูกผสมน้ำฉีด

              เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่กำลังเจริญเติบโตอยู่บนวุ้น    สำหรับเลี้ยงเชื้อ หรือบนอาหารจำพวกเมล็ดพืช โดยอยู่ในรูปสปอร์สีเขียวปกคลุมวัสดุอาหารอย่างทั่วถึง ไม่มีการปนเปื้อนที่ทำให้เห็นสปอร์เป็นสีอื่นมีเมือกเยิ้ม หรือมีกลิ่นเหม็น ในการผลิตเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาชนิดสดเพื่อใช้ควบคุมโรคพืชนั้น  จะมีหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีประสิทธิภาพสูง เลี้ยงบนปลายข้าว หรือข้าวสุก โดยมีอุปกรณ์ คือ 1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 2. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า   3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12นิ้ว   4.ปลายข้าว   5.ยางวง
               ด้วยวิธีการ เตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ ดังนี้... 1. หุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ใช้ข้าว 3 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน 2. ตักข้าวสุกที่ยังร้อนอยู่ใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่เตรียมไว้จำนวน 2 ทัพพี (พูน) หรือประมาณ 250 กรัมต่อถุง 3. กดข้าวให้แบน รีดเอาอากาศออกให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าวเพื่อลดการเกิดหยดน้ำทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็น 4. ใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาลงในถุงเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1-1.5 กรัม ต่อถุง 5. รัดยางปากถุงให้แน่น แล้วเขย่าหรือบีบข้าวเบา ๆ เพื่อให้เชื้อกระจายทั่วถุง 6. รวบถุงให้บริเวณปากถุงพอง แล้วใช้เข็มเย็บผ้าแทงรอบ ๆ ปากถุง 10-15 แผล 7. กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายไม่ซ้อนทับกัน ดึงบริเวณกลางถุงขึ้นเพื่อไม่ให้พลาสติกแนบกับข้าวและเพื่อให้อากาศเข้าไปในถุงเพียงพอ 8. บ่มเชื้อเป็นเวลา 2 วัน โดยวางถุงเชื้อในห้องที่ปลอดจากมด ไร และสัตว์อื่น ๆ อากาศไม่ร้อน และไม่   ถูกแสงแดด แต่ได้รับแสงวันละ 6-10 ชั่วโมง/วัน หากแสงไม่พอ ใช้แสงจากหลอดนีออนช่วยได้ 9. เมื่อครบ 2 วัน บีบขยำก้อนข้าวที่มีเส้นใยของเชื้อเจริญอยู่ให้แตกแล้ววางถุงไว้ที่เดิมดึงถุงให้อากาศเข้าอีก  ครั้ง บ่มไว้อีก 4-5 วัน 10. เชื้อสดที่ผลิตได้ควรนำไปใช้ทันที เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 1 เดือน

 

 

 

 

การควบคุมวัชพืชในนาข้าวแบบผสมผสาน

วัชพืชถือได้ว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าวโดยวิธีใด ทั้งนี้ เนื่องจากความชื้นในดินทำให้เกิดมีวัชพืชขึ้นมากชนิดกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งวัชพืชใบแคบสกุบหญ้าต่าง ๆ จะสร้างปัญหาให้มากที่สุด ส่วนวัชพืชใบกว้างและวัชพืชน้ำนั้นจะทำความเสียหายให้น้อยกว่า การควบคุมวัชพืชควรจะเริ่มตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ส่วนวิธีการควบคุมนั้นก็สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวิธีการเหล่านั้นและความพร้อมของเกษตรกรเอง ดังนั้น ในการจะเลือกใช้วิธีใด เกษตรกรควรต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น สภาพพื้นที่ที่ปลูกข้าง ชนิดของวัชพืช ผลดี-ผลเสียของแต่ละวิธี วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ระยะเวลาที่ใช้ รวมทั้งความคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วย

 

วิธีการควบคุมวัชพืชในนาข้าว

1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ และใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากการเจือปนของเมล็ดวัชพืช ซึ่งเกษตรกรสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

1.1 การฝัดหรือโบก เพื่อให้สิ่งเจือปนที่เบากว่าเมล็ดข้าวแยกตัวออก

1.2 การคัดแยกสิ่งเจือปนด้วยมือ

1.3 การทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนนำไปปลูก




1.4 การแยกเมล็ดโดยการลอยตัวโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาแช่น้ำ คนให้ทั่วแล้วทิ้งไว้สักพัก เมล็ดที่เสียจะลอยอยู่ข้างบนให้ตักออกแล้วนำเมล็ดที่จมน้ำมาตากให้แห้งก่อนนำไปปลูกหรือเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อไป
2. การเตรียมดิน


2.1 การไถ เป็นการพลิกหน้าดินส่วนล่างขึ้นมาอยู่ข้างบน การไถครั้งแรกจึงเป็นการกลบทำลายวัชพืชที่อยู่ด้านบน ส่วนวัชพืชที่อยู่ด้านล่างก็จะถูกพลิกขึ้นมาข้างบน ดังนี้นจึงควรไถประมาณ 2-3 ครั้ง โดยทิ้งช่วงการไถแต่ละครั้งประมาณ 7-10 วัน เพื่อจะได้ทำลายวัชพืชทั้งที่อยู่บนดินและเหง้าที่อยู่ใต้ดิน

2.2 การคราด เป็นวิธีการกำจัดวัชพืชที่ใช้ลำต้นหรือเหง้าในการขยายพันธุ์ และยังสามารถกำจัดต้นอ่อนของวัชพืชหลังจากการไถได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังจะทำให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การชอนไชของรากข้าวนาหว่าน ทำให้ต้นข้าวงอกงามแข็งแรง

2.3 การทำเทือก เป็นวิธีการทำให้ดินที่ผ่านการไถดะหรือไถพรวนแล้วให้อยู่ในสภาพที่เละง่ายต่อการปักดำ หรือการทำนาหว่ายน้ำตม ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น

3. เลือกวิธีการปลูกและอัตราการปลูก



3.1 วิธีการปลูก การปลูกข้าวแบบนาดำจะช่วยลดปริมาณวัชพืชได้มากกว่าวิธีอื่น เพราะในการปักดำข้าวจะใช้กล้าต้นข้าวที่มีการเจริญเติบโตแล้ว ในขณะที่วัชพืชกำลังจะเริ่มเจริญเติบโตดังนั้น จึงเป็นการลดการระบาดของวัชพืชลงได้
3.2 อัตราการปลูก ความหนาแน่นของต้นข้าวก็มี ส่วนช่วยในการควบคุมวัชพืชได้เหมือนกัน ถ้าต้นข้าวมีความหนาแน่นน้อย ช่องว่างระหว่างต้นข้าวก็จะมีมาก ทำให้เกิดวัชพืชได้มาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าความหนาแน่นของต้นข้าวมาก ช่องว่างระหว่างต้นมีน้อย วัชพืชก็เกิดขึ้นได้น้อย



4. การควบคุมโดยใช้ระดับน้ำ ในการทำนาดำหรือนาหว่านน้ำตม น้ำจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูง ดังนั้น การที่เกษตรกรปล่อยน้ำให้ขังอยู่ในแปลงนาก็จะเป็นการช่วยลดปัญหาวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใบแคบสกุลหญ้าจะมีความอ่อนแอต่อสภาพน้ำขัง
5. การใช้แรงงานในการกำจัดวัชพืช โดยการใช้มีด จอบ เสียม หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่ต้องใช้แรงงานคน แต่เนื่องจากปัจจุบันนี้แรงงานหายากและมีราคาแพง อีกทั้งต้องใช้เวลามาก จึงไม่นิยมปฏิบัติกัน



6. การใส่ปุ๋ย ควรทำการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยครั้งแรกจะใส่ขณะเตรียมดิน และจะใส่อีกครั้ง หลังจากนำน้ำเข้าแปลง เพื่อให้น้ำยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชเป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชมาแย่งธาตุอาหารของต้นข้าว
7. การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ฯลฯ สลับกับการปลูกข้าว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพของดินและระบบนิเวศวิทยาของพืช และวัชพืชซึ่งมีความต้องการสภาพของดินแตกต่างกัน จึงมีผลทำให้วัชพืชลดลงได้



8. การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มจะใช้กันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ทดแทนการใช้แรงงานคนที่หายากและมีราคาแพง แต่เนื่องจากสารเคมีกำจัดวัชพืชจัดได้ว่าเป็นสารพิษ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรมีความรอบคอบในการใช้ เลือกใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืช ใช้ตามอัตราและเวลาที่กำหนด อีกทั้งต้องพิจารณาราคาของสารเคมีที่จะใช้ด้วยว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุน นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงพิษตกค้างที่อาจจะสะสมในพืชหรือในดิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม หากเป็นไปได้ควร หลีกเลี่ยงหรือใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุดก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง

9. การควบคุมโดยชีววิธี เช่น การเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด และปลูกแหนแดง จะมีส่วนช่วยป้องกันและกำจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดี และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดินอีกด้วย

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะที่สำคัญของข้าวแบ่งออกได้เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต และลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ ดังนี้

ลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต

ลักษณะที่มีความสัมพันธุ์กับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ

  • ราก รากเป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน
  • ลำต้น มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนใบของต้นข้าว ปกติมีประมาณ 20-25 ปล้อง
  • ใบ ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบรวงข้าว

ลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์

ต้นข้าวขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์ ได้แก่ รวง ดอกข้าวและเมล็ดข้าว

  • รวง รวงข้าว (panicle) หมายถึง ช่อดอกของข้าว (inflorescence) ซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง
  • ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย (palea) ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้
  • เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ ต้นข้าวที่กำลังออกรวง

ต้นข้าวที่กำลังออกรวง
 

ประเภทของข้าว

แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้า แลข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุกอย่างแต่ต่างกันตรงที่เนื้อแข็งในเมล็ด

  • เมล็ดข้าวเจ้าประกอบด้วยแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 15-30
  • เมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยแป้งอมิโลเพคติน (Amylopectin) เป็นส่วนใหญ่และมีแป้งอมิโลส (Amylose) ประมาณร้อยละ 5-7

การค้าข้าว

โลกมีความต้องการข้าวความต้องการบริโภคของโลกประมาณ 417.7 ล้านตัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก ด้วยสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 36 รองลงมาคือ เวียดนาม ร้อยละ 20 อินเดีย ร้อยละ 18 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ14 ปากีสถาน ร้อยละ 12 ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทที่ 3

อุปกรณ์และวิธีการศึกษา

สถานที่ทำการทดลอง

              

                พื้นที่แปลงเกษตร  หนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์มบ้านบะแค  ตำบลแวงใหญ่   อำเภอแวงใหญ่      จังหวัดขอนแก่น 

 

อุปกรณ์ในการขยายเชื้อสดเพื่อทดลอง

                 1. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

                 2. ปลายข้าวหรือข้าสาร  

                 3.  น้ำ

                 4.  ยางวง

                 5.  เข็มหรือ เข็มหมุด

                 6.  ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด  8  × 12   นิ้ว

                 7.  หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา

                 8.  เครื่องชั่ง (หากไม่มี  ใช้ช้อนทัพพีก็ได้ )

 

วิธีการดำเนินการ

           ในการทดลอง  ขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาด้วยข้าว  แล้วนำไปใช้ทดลองปลูกกับพืชสวนครัว ได้ดำเนินการดังนี้

 

             1. ศึกษาการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อและการใส่หัวเชื้อ

                       1.1  หุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าโดยใช้ข้าว  3  ส่วน  ต่อน้ำ  2  ส่วน  ถ้าข้าวนิ่มเกินไป ให้ใช้ข้าว 2  ส่วน ต่อน้ำ  1  ส่วน  ใช้ทัพพีซุยข้าวในหม้อสุกแล้วให้ทั่ว

                       1.2    ตักข้าวขณะร้อน  2  ทัพพี (พูน)  ใส่ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด  812  นิ้ว หรือประมาณ    250  กรัมต่อถุง

               1.3  กดข้าวและรีดอากาศออกจากถุงพับปลายถุงลงด้านล่าง ปล่อยให้ข้าวอุ่น (เกือบเย็น) จึงเหยาะหัวเชื้อ 1-2  ครั้ง  ลงบนข้าวในถุง ควรใส่เชี้อในบริเวณที่ลมสงบเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของ

จุลินทรีย์ในอากาศ

                        1.4  รัดยางที่ปลายปากถุงหรือใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บที่ปลายปากถุง ซึ่งพับทบ 2-3  ชั้นแล้วเขย่าหรือบีบข้าวเบา ๆ  เพื่อให้ผงหัวเชื้อกระจายทั่วทั้งถุง ใช้เข็มหมุดหรือเข็ม  แทงบริเวณใกล้ปากถุง  ประมาณ   15-20   ครั้งต่อถุง

 

2. การบ่มเชื้อราไตรโคเดอร์มา

                         2.1  กดข้าวในถุงให้แผ่นกระจาย  ไม่วางซัอนถุงทับกัน  ดึงบริเวณกลางถุงขึ้นให้มีอากาศเข้าไปในถุงข้างอย่างเพียงพอ  วางถุงเชื้อในที่อากาศถ่ายเทปลอดจากมด ไรและสัตว์อื่น ๆ  และได้รับแสงสว่าง 6-10  ชั่งโมงต่อวัน

                              2.2 หลังจากบ่มเชื่อครบ 2 วัน  เชื้อราไตรโดเดอร์มาจะเจริญทั่วถุงทำให้ข้าวจับตัวเป็นก้อน

                           2.3 เมื่อครบ 2 วัน บีบขยำก้อนข้าวที่มีเส้นใยของเชื้อเจริญอยู่ให้แตก  แล้ววางถุงที่เดิม ดึงถุงให้ถุงมีอากาศเข้าอีกครั้งแล้วบ่มในสภาพเดิม ต่ออีก 4-5  วัน  อย่าลืมดึงถุงให้โปร่ง  เชื้อสดที่ผลิตได้ ควรนำไปใช้ทันที หรือเก็บในตู้เย็น  ช่องธรรมดา  ได้ไม่เกิน  1  เดือน  ก่อนนำมาใช้

             

            

3.  เตรียมต้นกล้าพืชและพื้นที่ปลูก

              พืชที่จะนำมาปลูกทดลองมี  พริก มะละกอ  ข้าวโพด

                   3.1 เตรียมหลุมปลูกที่นำเชื้อราไตรโคเดอร์มารองก้นหลุม   หลุมละประมาณ  1  ช้อนแกง 

                  3.2  เตรียมหลุมปลูกต้นกล้าที่ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาไว้ใกล้เคียงกัน

                   3.3  สังเกตการเจริญเติบโต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  4

ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา

             จากการศึกษาโครงงาน   เรื่อง   เชื้อราไตรโคเดอร์มา  ซึ่งทำการทดลองปลูกพืชเพื่อใช้แทนปุ๋ยเคมีและยากำจัดเชื้อโรคของพืช  ได้สังเกตการเจริญเติบโตดังนี้

 

 

ระยะเวลา

พริก  (ซม.)

มะละกอ  (ซม.)

ใช้

ไม่ใช้

ใช้

ไม่ใช้

สัปดาห์ที่ 1

      

 

 

 

สัปดาห์ที่2

 

 

 

 

สัปดาห์ที่3

 

 

 

 

สัปดาห์ที่ 4

 

 

 

 

สัปดาห์ที่ 5

 

 

 

 

 

        

                          จากการทดลองปลูกพืชโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา  แทนการใช้ปุ๋ย  และยากำจัดศัตรูพืช  โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่การผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาแล้วนำมาปลูกพืช  สังเกตการเจริญเติบโตของพริก  มะละกอ   ว่ามีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตอย่างไร

                            จากการทดลองครั้งนี้ได้ค้นพบว่า การสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับพืช จาการสังเกตและศึกษาต้นพริก มะละกอ    กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในแปลงผักที่อยู่ใกล้กันเห็นได้ชัดในการเจิญเติบโตของพืชทั้ง 2 ชนิด  ว่า  ต้นพริก ,มะละกอ  ในหลุมปลูกควบคุมที่ไม่ใส่ข้าวผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะเจริญเติบโตช้า  ต้นไม่ค่อยสมบูรณ์   ในขณะที่ต้นพริก ,ต้นมะละกอ  ในหลุมปลูกทดลองจะเจริญเติบโตเร็ว ลำต้นอวบแข็ง ใบจะมีสีเขียวเข้มเป็นมัน

                            การปลูกพืชโดยใช้ข้าวผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา  เป็นการเร่งการเจริญเติบโตสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช ไม่ให้เกิดโรคเน่าระดับดิน  โคนเน่า  รากเน่า  ใบเหี่ยวหยิกงอ   ทำให้ได้ผลผลิตเร็วและมากขึ้น  พริกมีลูกดก  มะละกอมีลูกดกใหญ่สมบูรณ์ 

 

 

 

 

 

 

        บทที่ 5

                                                                                                                                 สรุปประโยชน์ข้อเสนอแนะ

 

                      สรุปในการจัดทำโครงงาน วิทยาศาสตร์  (เคมี)รื่อง  เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อใช้ในการเพาะปลูใช้แทน ปุ๋ยแคมี  และยากำจัดศัตรูพืช ของคณะผู้จัดทำในครั้งนี้นั้นจะประสบความสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่ได้ คำปรึกษา และสถานที่ดี  ๆ จาก หนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม  พร้อมทั้งบุคลากรทางการเกษตรร่วมกับชาวบ้านบ้านบะแคที่ให้ความรู้ความเข้าใจด้านกิจกรรมการเกษตรเป็นอย่างดียิ่ง

 

                   ดังนั้น ในการทำโครงงาน เชื้อราไตรโคเดอร์มา คณะผู้จัดทำ ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการเกษตรของครอบครัว และเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจนำไปปรับปรุงใช้ในชีวิตประจำวันได้

         ประโยชน์

                  1. ทำให้พืชที่ปลูกโตเร็ว  ผลดก ใบเขียว 

                  2. ทำสภาพพื้นดินไม่เสื่อมโทรมง่าย  และมีสุขภาพที่ดี ปลอดภัยจากสารพิษ

                  3. ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้านอาหารให้กับผู้บริโภคได้รับประทานอาหารอย่างมีคุณค่าทางโภชนาการ

               ข้อเสนอแนะ

               1. ควรศึกษาให้เข้าใจอย่างแท้จริงทุกๆขั้นตอนของการทำโครงงาน

               2.ควรได้รับคำแนะนำจากผู้รู้อย่างแท้จริง

               3.ควรดำเนินงานตามขั้นตอนของโครงงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง  เชื้อราไตรโคเดอร์มารักษาโรคพืชด้วยข้าวชนิดสด  

( ประเภททดลอง )

 

จัดทำโดย

          นายชโนวัรจ์  ทรัพย์สะอาด       ชั้นม. 4/3      เลขที่  4   

                             นายพงศ์พันธุ์     ใบศรี               ชั้นม. 4/3     เลขที่  10

                             นางสาวนุชรี   กาคำ               ชั้นม. 4/3    เลขที่   23

                          นางสาวภิราภรณ์   พูลศรี       ชั้นม. 4/3    เลขที่  28                   

 

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์วันทนา   ทานุมา

 

 

โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์   (เคมี)

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4

ระดับช่วงชั้นที่   4

 

 

โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม

  อำเภอแวงใหญ่  จังหวัดขอนแก่น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต  3

 

บทคัดย่อ

 

                           รงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง      เชื้อราไตรโคเดอร์มารักษาโรคพืชด้วยข้าวชนิดสด        เป็นโครงงาน เพื่อศึกษาหา ตัวเชี้อราบริสุทธ์ ปราศจากจุลินทรีย์ปนเปื้อน ที่ใช้สำหรับผลิตขยายเชื้อสด บนวัสดุอาหารต่าง ๆเพื่อนำไปเป็ปุ๋ย และควบคุมโรคพืชต่าง ๆเช่นพริก มะเขือ มะละกอ  พืชผักสวนครัวต่าง ๆ 

                      การศึกษาได้ไปเก็บข้อมูลที่ สวนเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพรราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฟาร์มไร่นาสวนผสม และ หนี่งฟาร์มหนึ่งตำบล  ของนางประพาต    แก้วจันทร์    ตั้งอยู่ที่บ้านบะแค  ตำบลแวงใหญ่  อำเภอวงใหญ่ ผู้จัดทำได้ไปใช้เนื้อที่ปลูกผักเพื่อทำการทดลองด้วย    ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูล วิธีการขยายหรือเลี้ยงเชี้อราไตรโคเดอร์มาโดยเลี้ยงบปลายข้าวหรือข้าวสารที่หุงสุกแล้วจะเป็นเชื้อราที่มีประสิทธิภาพสูง

                     ผลจากการทดลองใช้  ปรากฎว่า  พืชที่เราใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการเพาะปลูกที่นิยมใช้มากคือ การนำเอาเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่บ่มไว้กับข้าวลงรองในหลุมปลูกก่อนนำต้นกล้าลงปลูกได้รับความนิยมในการใช้มาก    เช่นการปลูกพริก มะเขือ มะละกอ    จะได้ผลดี  พืชจะไม่เป็นโรค รากเน่า โคนเน่า  ไม่มีใบหยิกใบงอ  ต้นพืชเจิญเติบโตได้เร็ว   มีลูกดก ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ว่าป้องกันการเกิดโรคและไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พืชก็ไม่เป็นโรคได้  จึงเหมาะกับการนำไปเผยแพร่ เพื่อให้เกษตรกรตลอดจนผู้ที่สนใจสามารถผลิตและนำไปใช้ในการควบคุมโรคพืชได้ด้วยตัวเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิติกรรมประกาศ

 

                      โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง  การใช้ข้าวขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา    คณะผู้จัดทำได้      แรงบันดาลใจและแรงสนับสนุนจาก  นาย ขันติภาณ   ศรีใส  ที่สำคัญยิ่งคือได้รับความอนุเคราะห์ด้านข้อมูลและสถานที่ในการทดลองใช้ จาก นางประพาต  แก้วจันทร์  เจ้าของฟาร์มหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์มและรวมทั้งผู้ปกครองของสมาชิก ที่ได้คำแนะนำสนับสนุนทุกอย่าง

                     

                        คณะผู้จัดทำ  ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กล่าวไว้ ณ  ที่นี้ด้วย

 

                                                                                                                 คณะผู้จัดทำ

                                                                                                             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/3

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

                  

                      โครงงานฉบับนี้ป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา  เคมี  ผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นเพื่อ  ใช้ในการทดลองการเพาะปลูกพืชโดยไม่ใช้ยากำจัดแมลง ปุ๋ยเคมี  เพราะจะทำให้สารพิษสะสมในร่างกายมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ยังเป็นตัวทำลายสภาพดินให้เสื่อมโทรมลงอีกด้วย  ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งได้รับแรงบรรดาลใจจาก  นายขันติภาณ  ศรีใส  ที่ให้คำปรึกษา แนะแนวทางในการทำ  โครงงาน เชื้อไตรโคเดอร์มา   ผู้จัดทำขอขอบคุณ คุณแม่ประพาต  แก้วจันทร์  ที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่เพาะปลูกในการทำการทดลองและชาวบ้านบ้านบะแค       ขอขอบคุณอาจารย์วันทนา   ทานุมา  ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานในครั้งนี้

                         หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  โครงงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้ศึกษา  หากคณะผู้จัดทำได้ทำผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องประการใด  คณะผู้จัดทำต้องขอ อภัยมา   ณ   ที่นี้ด้วย 

 

 

 

                                                                                                           คณะผู้จัดทำ