Custom Search

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

                การที่แต่ละประเทศมีศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์ไม่เท่ากัน เป็นสาเหตุสำคัญเบื้องต้น ที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศแตกต่างกัน แม้ประเทศ นั้นๆจะอยู่ในภูมิภาคเดียวกันหรือมีสภาพแวดล้อมอื่นๆใกล้เคียงกันหลายอย่าง ก็ตาม ปัจจุบัน นี้ประเทศต่างๆจึงหันมาให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยเหลือกันมากขึ้นโดยการรวมกลุ่มกัน เพื่อผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและจัดตั้งเป็นสมาชิก สนธิสัญญา หรือองค์การระหว่างประเทศขึ้นมา

              องค์การระหว่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและมีความสัมพันธ์กับประเทศไทย ได้แก่

          1. สหภาพยุโรป

          2. องค์การการค้าโลก

          3. กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก

          4. สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป

          5. สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          6. เขตการค้าเสรีอาเซียน

          7. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

          8. ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ

 

 

 

 

สหภาพยุโรป (European Union EU)

                สหภาพยุโรป พัฒนามาจาก ประชาคมยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมองค์การทางเศรษฐกิจ 3 องค์การเข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปให้ดีขึ้น โดยอาศัย ความร่วมมือของประเทศสมาชิก

ประวัติก่อตั้ง

            พ.ศ. 2493 ประเทศฝรั่งเศสมีโครงการจะก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (The European Coal and Steel Community : ECSC) ขึ้น เพราะนอกจากจะเป็น การช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปแล้ว ยังเป็นการสร้างพื้นฐาน ในการที่จะก้าวไปสู่การเป็นสหพันธรัฐในอนาคตอีกด้วย ฝรั่งเศสจึงขอความร่วมมือ จากประเทศต่างๆในยุโรป โดยการแถลางการณ์ต่อบรรดาผู้แทนของหนังสือพิมพ์ทั่วโลก และเมื่อฝรั่งเศสแถลงการณ์ออกไปแล้ว ประเทศเยอรมนี เบลเยี่ยม อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ ได้ตกลงร่วมกันสมัครเข้าเป็นสมาชิก และได้จัดตั้งเป็นองค์การ ECSC อย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2494

            ต่อมาผู้นำทั้ง 6 ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์การป้องกันยุโรป (European Defence Council : EDC) ขึ้น อีกองค์การหนึ่ง เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้มีความร่วมมือกันทางการเมือง และเพื่อเป็นการสนับสนุนองค์การนาโตด้วย และในการจัดตั้งองค์การนี้ จะทำให้ยุโรปมีกองทัพที่สมบูรณ์ แต่ EDC ก็ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ เพราะรัฐสภาของฝรั่งเศสไม่ยอมให้สัตยาบัน แต่ด้วยความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องมี นโยบายต่างประเทศร่วมกันเพื่อจะให้กองทัพมีบูรณภาพ รัฐมนตรีการต่างประเทศ ของประเทศสมาชิกทั้ง 6 จึงมอบหมายหน้าที่ให้สภาของ ECSC เตรียมโครงการ จัดตั้งประชาคมการเมืองยุโรป (European Political Community : EPC) ขึ้น เพื่อเสนอต่อรัฐบาลของประเทศทั้ง 6 องค์การ EPC มีจุดประสงค์ ที่จะดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ แต่ก็ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง ดังนั้น EPC จึงต้องล้มเลิกโครงการไป ต่อมาประเทศทั้ง 6 ก็เปลี่ยนแนวทาง จากการรวมตัวทางการเมืองมาเป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจแทน และได้ร่วมมือกันต่อตั้ง กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป (The European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปหรือยูเรตอม (European Atomic Energy Community : EAEC หรือ Euratom) ขึ้นใน พ.ศ.2500 การก่อตั้งองค์การทั้ง 2 นี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญของยุโรปตะวันตก คือ ECSC , EEC , และ FAEC โดยเฉพาะองค์การ EEC และ EAEC นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ECSC มาก แต่มีอำนาจน้อยกว่า ECSC และต่อมาเพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคง ให้แก่ทวีปยุโรป จึงมีการรวมองค์การบริหารของ ECSC , EEC และ EAEC เข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า ประชาคมยุโรป (European Community : EC) ในพ.ศ. 2510 เพื่อผลประโยชน์ ทางด้านเศรษฐกิจ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 เปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพยุโรป (European Union : EU) ขึ้น เพราะนอกจากจะร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นองค์การความร่วมมือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกด้วย

            ในปัจจุบัน EU มีสมาชิก 15 ประเทศ โดยได้รับสมาชิกใหม่เข้ามาร่วมตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้

            สมาชิกเดิม : ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์

            พ.ศ. 2516 : เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

            พ.ศ. 2522 : กรีซ

            พ.ศ. 2529 : โปรตุเกส สเปน

            พ.ศ. 2538 : ออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดน

 

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

            1. เพื่อรวบรวมระบบเศรษฐกิจ ความร่วมมือในการพัฒนาสังคม และการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศสมาชิกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว

            2. เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตของประชากรชาวยุโรปให้ดีขึ้น

            3. เพื่อจัดตั้งสหภาพศุลกากรโดยการขจัดอุปสรรคต่างๆทางการค้าระหว่างประเทศ

 

 

วัตถุประสงค์ของการเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน

            1. ให้ประเทศสมาชิกทั้งหมดมีการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน (Single Currency)

            2. ให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินแห่งยุโรป (European Monetary Institute : EMI) ขึ้นภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2537 เพื่อเป็นการรองรับการจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ซึ่งมีหน้าที่ในการออกเงินตราสกุลเดียวกัน เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

            3. ให้ประเทศสมาชิกประสานงานนโยบายเศรษฐกิจในด้านต่างๆเพื่อลดความแตกต่าง ทางด้านค่าเงินของแต่ละประเทศ

 

ผลการปฏิบัติงาน

            ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งถึง พ.ศ.2525 ปรากฏว่าสหภาพยุโรป ได้มีการติดต่อค้าขาย ระหว่างกัน มีมูลค่าสูงถึง 25 เท่าของ พ.ศ.2501 และในการค้ากับต่างประเทศโดยเฉพาะ ในกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หากเปรียบเทียบการค้าใน พ.ศ. 2501 และ 2525 แล้ว ปรากฏว่าสหภาพยุโรปส่งสินค้าออกไปยังกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีมูลค่าสูงถึง 18 เท่า และสั่งสินค้าเข้าสูงขึ้นถึง 13 เท่าของ พ.ศ.2501 ทั้งนี้ก็เพราะสหภาพยุโรปได้เลิกการจำกัด ปริมาณสินค้าเข้าและยกเลิกระบบภาษีศุลกากรจาก ประเทศสมาชิกอย่างเด็ดขาดและ ลดหย่อนข้อจำกัดอื่นๆแก่ประเทศนอกกลุ่มสมาชิกลง

           กล่าว ได้ว่าสหภาพยุโรปได้พัฒนาไปจนเกือบถึงระดับการเป็นสหภาพเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ อัน เป็นขั้นสูงสุดของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปจึงได้ก้าวขึ้นมาเป็นองค์การความร่วมมือ ทางด้านการเมือง กล่าวคือ ใน พ.ศ. 2534 สภาสหภาพยุโรป (EU Parlimanent) ได้คัดเลือกเจ้าหน้าที่บริหารขึ้นมา 20 คน เพื่อจัดให้มีการประชุมระหว่างประเทศและ ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญามาสตริกต์ (Maastricht Treaty, 1992) ในการที่จะให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เงินหน่วยเดียวกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 หรืออย่างช้าไม่เกิน พ.ศ.2545 และกำหนดกรอบนโยบายป้องกันประเทศ และนโยบายต่างประเทศร่วมกัน แต่การดำเนินการดังกล่าว ยังต้องประชุมปรึกษาหารือกันต่อไป ทั้งนี้เพราะประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ต่างมีภาระเศรษฐกิจ สังคม และประชากรแตกต่างกัน

            สำหรับความคืบหน้าในด้านความร่วมมือกันทางการเงิน สหภาพยุโรปได้ตั้งธนาคาร กลางยุโรปขึ้นเมื่อ พ.ศ.2541 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2541 สมาชิกสหภาพยุโรป 11 ประเทศ (ยกเว้น สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก สวีเดน และกรีซ) ได้เริ่มร่วมกันใช้เงินสกุลเดียว

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มสหภาพยุโรป

            1. ด้านการเมือง ไทยกับประเทศต่างๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีความสัมพันธ์อันดี ตลอดมาโดยมีผู้นำของแต่ละฝ่ายได้เดินทางไป เยี่ยมเยือนเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีต่อกัน

            2. ด้านการค้าขาย ไทยได้มีการค้าขายกับประเทศสมาชิกของกลุ่มสหภาพยุโรป มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน โดยเฉพาะกับสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี และเดนมาร์ก กระทั่งถึงปัจจุบัน ไทยก็ยังมีสัมพันธไมตรีทางการค้ากับประเทศเหล่านี้อยู่ สินค้าสำคัญ ของไทยที่ส่งให้กับประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ได้แก่ มันสำปะหลัง สิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล และยานยนต์

            3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยมักจะได้รับความสนใจและความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกในกลุ่มสหภาพยุโรป อยู่เสมอ เช่น การส่งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ มาให้คำแนะนำหรือเป็นที่ปรึกษา โครงการต่างๆ และการให้ทุนแก่นักศึกษาไทยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศเหล่านั้น

 

 

 

 

 

องค์การการค้าโลก
(World Trade Organization : WTO)

 

                องค์การการค้าโลก เป็นองค์การระหว่างประเทศที่พัฒนามาจากข้องตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือแกตต์ (GATT : General Agreement of Tariffs and Trade) เป็นองค์การความร่วมมือทางการค้าเพื่อจำกัดระบบโควตา และภาษีอากรค้า ระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ยอมรับกันมากว่าข้อตกลงที่ได้กำหนดขึ้น โดยทบวงการชำนัญพิเศษทางด้านเศรษฐกิจของสหประชาชาติ และข้อตกลงนี้ ได้ขยายวงกว้างขึ้นจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป และใน พ.ศ. 2538 แกตต์ได้พัฒนามาเป็น องค์กรการค้าโลก ทำให้มีบทบาทและมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางขึ้นไปอีก

 ประวัติก่อตั้ง

            แกตต์หรือข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า เป็นสนธิสัญญาทางการค้า ระหว่างประเทศ เริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491 มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 23 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใน พ.ศ. 2542 มีประเทศที่เข้าร่วมเป็น สมาชิกของแกตต์ทั้งสิ้นจำนวน 128 ประเทศ

            องค์การการค้าโลกที่พัฒนามาจากแนวทางดำเนินการของแกตต์ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 ด้วยสมาชิกเริ่มแรก 81 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 144 ประเทศ ใช้สำนักงานใหญ่ของแกตต์เดิมที่เจนีวาเป็นสำนักงานใหญ่ขององค์การการค้าโลก

 

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

            1. เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ

            2. เพื่อกำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงแกตต์ และองค์การการค้าโลก

            3. เพื่อยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก

            4. เพื่อเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก

 

หน้าที่ขององค์การการค้าโลก

            1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจาในกรอบของ GATT / WTO รวม 28 ฉบับ โดยผ่านคณะมนตรีและคณะกรรมการต่างๆ รวมทั้งการดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี

            2. เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางด้านการค้าระหว่างประเทศสมาชิกในรูปของ มาตรการภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร

            3. เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และหากไม่ สามารถทำการตกลงกันได้ ก็จะจัดตั้งคณะผู้พิจารณาซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ข้อเสนอแนะ

            4. ติดตามสถานการณ์การค้าประหว่างประเทศ และจัดให้มีการทบทวน นโยบายการค้าของประเทศสามาชิกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการตรวจสอบให้เป็นไป ในแนวทางการค้าเสรีและตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

            5. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำเพื่อให้สามารถ ปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนทำการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการค้าที่สำคัญๆ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก

            6. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น

            องค์การ การค้าโลกมีขอบข่ายความรับผิดชอบกว้างขวางกว่าแกตต์ เพราะแกตต์ดูแล เฉพาะการค้าสินค้าเท่านั้น ส่วนองค์การการค้าโลกนอกจากดูแลการค้าสินค้าแล้ว ยังต้อง รับผิดชอบดูแลการค้าบริการสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและการลงทุนที่เกี่ยว ข้องกับการค้าด้วย

 ผลการปฏิบัติงาน

            จากการก่อตั้งแกตต์ขึ้นมา ใน พ.ศ. 2491 ทำให้มีผลในการควบคุมต่อระบบภาษีอากร และการค้าของโลกมากกว่าร้อยละ 80 ขอสินค้าออกทั้งหมด และประเทศสมาชิกได้มีโอกาส ทำการตกลงกันในโครงการใหญ่หลายเรื่องได้สำเร็จ เช่น การลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรภายใน ประเทศสมาชิก ยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับสินค้าเข้า และข้อจำกันในการปฏิบัติทางการค้า เป็นต้น ทำให้การหมุนเวียนขอสินค้าระหว่างประเทศคล่องตัวขึ้น และสินค้าส่งออกมีการกระจายตัว สูงขึ้น แกตต์ได้มีการเจรจามาแล้ว 8 รอบ โดยรอบที่ 8 เรียกว่า การเจรจารอบอุรุกวัย (Uruguay Round) ผลจากการเจรจาครั้งนี้ตกลงให้จัดตั้งองค์การการค้าโลกขึ้นเพื่อทำหน้าที่ บริหารข้อตกลงแกตต์ และทำให้เกิดความสำเร็จทางการค้าหลายประการ เช่น การลดภาษีศุลกากรสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและสิ่งทอ การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญา การคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ การลงทุนเกี่ยวกับการค้า เป็นต้น

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับองค์การการค้าโลก

            ทุกปีจะมีคำร้องจากประเทศสมาชิกเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้าต่างๆ แต่จากการเจรจากัน ปัญหาส่วนใหญ่สามารถตกลงกันได้ นับได้ว่าองค์การการค้าโลก เป็นองค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน องค์กรหนึ่งในปัจจุบัน

            ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของแกตต์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 นับเป็นประเทศที่ 88 และได้ผูกพันอัตรภาษีศุลกากรของสินค้าไว้ 93 รายการ เพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนกับสิทธิประโยชน์ที่ประเทศภาคีอื่นผูกพันไว้ด้วย หลังจากแกตต์ได้พัฒนามา เป็นองค์การการค้าโลกแล้ว ไทยได้เข้าเป็นลำดับสมาชิกที่ 59 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยมีฐานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งด้วยประเทศหนึ่ง ไทยได้รับประโยชน์ทั้งจากการลดภาษีศุลกากร การยกเลิก และปรับปรุงกฎระเบียบทางการค้าให้รัดกุมและเป็นธรรมมากขึ้น

 

 

 

ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเป็นภาคีสมาชิกขององค์การการค้าโลก คือ

            1. มีหลักประกันทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะข้อผูกพันที่มีต่อองค์การ การค้าโลกภาคีสมาชิกจะละเมิดไม่ได้ ถ้ามีการละเมิดเกิดขึ้น ประเทศนั้นจะต้องเจรจา และชดใช้ให้กับประเทศที่เสียหาย

            2. ได้รับประโยชน์ตามสิทธิและสิทธิพิเศษ ไทยได้รับสิทธิพิเศษรวมทั้งข้อปฏิบัติที่ องค์การการค้าโลกกำหนดให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งไทยอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย

            3. ขยายการค้า การลดหย่อนภาษีศุลกากรและมาตรการทางการค้าอื่นของประเทศ คู่ค้าสำคัญของไทย ทำให้ไทยส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้มากขึ้น

            4. ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการ ไทยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การการค้าโลก หลายประการ เช่น การฝึกอบรมทางการค้า การได้รับข้อมูล เอกสารและข้อสนเทศต่างๆ ทางการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

            5. มีเวทีสำหรับร้องเรียน ในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่าง ประเทศรวมถึงการร่วมกับประเทศภาคีอื่นๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน องค์การการค้าโลกเป็น องค์การกลางสำหรับการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้มีอำนาจต่อรองสูงขึ้น และผลักดันให้ การแก้ปัญหาบรรลุเป้าหมายตามต้องการ

 

 

 

 

 

 

กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
Organization of Petroleum Exporting Countries ( OPEC )

 

กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือ ทางด้านนโยบายน้ำมัน และช่วยเหลือด้านเทคนิคเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก

ประวัติการก่อตั้ง

โอเปคจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2503 โดยอิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย เอกวาดอร์ และกาบอง รวมเป็นสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาเอกวาดอร์ลาออกเมื่อ พ.ศ.2535 และกาบองลาออก พ.ศ.2538 ปัจจุบันจึงเหลือสมาชิกเพียง11ประเทศ

เดิมโอเปคมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต่อมาในพ.ศ.2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

ในระยะเริ่มต้นในการก่อตั้งกลุ่มโอเปคขึ้นมา การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิกต่างเป็น การลงทุนและดำเนินการโดยบริษัทต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวง ตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปคในช่วงนี้ จึงมีจุดมุ่งหมาย สำคัญ 3 ประการ ดังนี้

  • เพื่อเจรจากับบริษัทผู้ไดรับสัมปทานการตั้งกองทุนน้ำมันดิบให้เท่ากันทุกประเทศ
  • เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณเป็น รายได้ของประเทศ
  • เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป

กลุ่มโอเปคได้ดำเนินงานไปตามจุดประสงค์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และต่อมาเมื่อมีสมาชิก เพิ่มขึ้นอีก 8 ประเทศ ทำมให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นและขยายวัตถุประสงค์เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกมากขึ้นคือ

  • เพื่อปกป้องราคาน้ำมันตกต่ำและเจรจาขายน้ำมันดิบในเงื่อนไขที่ดี
  • เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทผู้ผลิตน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น
  • เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน

ผลการปฏิบัติงาน

ในปัจจุบันโอเปคเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลสูงมากทั้งระบบเศรษฐกิจ และ การเมืองระหว่างประเทศ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันแต่เหตุที่ ประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปคมีสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองไม่เท่ากันอีกด้วย การกำหนดราคาและโควตาการผลิตน้ำมันของ กลุ่มโอเปคในระยะหลังมานี้มักไม่มีเอกภาพ กล่าวคือ ประเทศคูเวต กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเป็นประเทสที่มีน้ำมันสำรองอยู่มาก และมีความมั่นคง ของเศรษฐกิจ สามารถปฏิบัติตามมติของโอเปคได้ แต่ประเทศอิหร่าน แม้มีปริมาณน้ำมันสำรอง อยู่มากแต่หลังสงครามกับอิรักแล้วต้องลักลอบผลิตน้ำมันออกจำหน่ายเกินโควตา ที่โอเปคให้ไว้ เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ประเทศอิรักมีแหล่งน้ำมันสำรองมากประเทศหนึ่ง แต่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับอิหร่านและพ่ายแพ้สงครามในการปิดล้อมคูเวต ซึ่งสหประชาชาติได้ออกมาตรการต่างๆมากำหนด ทำให้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันได้ อย่างจำกัดมาก ส่วนประเทศไนจีเรียมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อยเพราะเป็นประเทศยากจน และมีจำนวนประชากรมาก จึงต้องผลิตน้ำมันเกินโควตาและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า ที่โอเปคกำหนด

กิจกรรมสำคัยที่โอเปคดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ. 2516 เป็นต้นมาคือ การปรับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งได้กระทำหลายครั้งจนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ประเทศผู้ส่งน้ำมันดิบ เป็นสินค้าออกเหล่านี้มีบานะร่ำรวยขึ้น และได้นำเงินตราเหล่านี้ไปใช้เสริมสร้างความมั่นคง และพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

นอกจากนี้สมาชิกของกลุ่มโอเปคยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอาหรับที่มิได้เป็นสมาชิกของโอเปคและประเทศอื่นที่ประชากรบาง ส่วน นับถือศาสนาอิสลาม

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโอเปค ได้แก่ การติดต่อค้าขายน้ำมันและ ด้านแรงงานที่ไทยมักส่งไปประเทศเหล่านี้ ส่วนการติดต่อกันในด้านอื่นนับว่ามีน้อย

แม้กลุ่มประเทศโอเปคจะเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองกับประเทศ ต่างๆทั่วโลกทั้งด้าน เศรษฐกิจและการเมือง และประเทศไทยก็เคยได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการขึ้นราคา น้ำมันของกลุ่มโอเปค แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มโอเปคยังมีอยู่ สรุปได้ดังนี้

1.ทางด้านการค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปค โดยนำเข้าน้ำมันจากประเทศเหล่าน ี้โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออก ที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง

2.ทางด้านแรงงาน เป็น เรื่องที่สำคัญและน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง เพราะไทยได้จัดส่งแรงงาน เข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปคเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องติดตาม และให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปคที่คนไทยไปทำงานกันมากได้แก่ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ส่วนในประเทศอิรัก หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้ว จำนวนคนงานไทยลดลงและไม่มีแรงงานไทยอีก เมื่อเกิดสงครามและอดีตประธานาธิบดี ซัดดัมถูกโค่นอำนาจ

3.ด้านการเมือง มักเป็นความสำคัญทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ

4.อื่นๆ กลุ่มโอเปคได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยให้ความสะดวกแก่ประเทศเหล่าน ี้โดยการให้นักวิชาการมาดูงานในไทย โดยเฉพาะการเกษตร

 

 

 

 

 

สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป
The European Free Trade Association ( EFTA )

 

ประวัติการก่อตั้ง

สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ก่อตั้งเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เนื่องจากความไม่พอใจของ กลุ่มประเทศในองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป( Organization for European Economic Co-operation : OEEC ) ที่มีต่อองค์การตลาดร่วมยุโรป( EEC )จึงแยกตัวออกมาตั้งกลุ่มการค้าใหม่ในพ.ศ.2501 เรียกว่า กลุ่มนอกอีซีซี มีสมาชิก 7 ประเทศ คือ ออสเตรีย นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร(เรียกว่า กลุ่ม 7 นอก)ได้ตั้งชื่อกลุ่มว่าเอฟตาและมีการประชุมครั้งแรกที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2502 มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และเริ่มดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2503 ต่อมามีประเทศต่างๆเข้าร่วมเป็นสมาชิกและ ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกคือในพ.ศ.2504และ2513มีประเทศฟินแลนด์ และไอซ์แลนด ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกตามลำดับ ส่วนประเทศเดนมาร์ก สหราชอาณาจักรขอถอนตัวออกจาก เอฟตาในพ.ศ.2517และโปรตุเกสขอถอนตัวในพ.ศ.2529เพื่อไปร่วมเป็นสมาชิกของอีอี ซี

ในปัจจุบันเอฟตามีประเทศสมาชิกรวม 6 ประเทศ คือ ออสเตรีย นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด ์(รวมลิกเตนสไตล์) ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

  • เพื่อปฏิรูประบบการค้าของสินค้าอุตสาหกรรมภายในกลุ่มประเทศสมาชิก
  • เพื่อกำหนดนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกและประเทศนอกกลุ่มสมาชิก

ผลการปฏิบัติงาน

จากการประชุมครั้งแรกที่กรุงสตอกโฮล์ม ได้กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีศุลกากร ของรายการสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิก และยังได้กำหนดระบบการค้าเสรีเกี่ยวกับ ผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้กำหนดมาตรการป้องกันสินค้าจากประเทศ นอกกลุ่มสมาชิกที่จะน้ำเข้ามาขายในราคาถูกกว่าสินค้าของประเทศสมาชิกโดยการ จัดเก็บ ภาษีศุลกากรมากกว่าประเทศในกลุ่มสมาชิก

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป

ประเทศไทยทำการค้ากับเอฟตาเป็นอันดับสองรองจากอีซีซี โดยมีประเทสสวิตเซอร์แลนด์ เป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุด ส่วนประเทศสมาชิกอันดับรองลงมาที่ไทยติดต่อค้าขายด้วยได้แก่ สวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และออสเตรเลีย ตามลำดับ

สินค้าที่สำคัญที่ไทยส่งออกไปยังประเทศกลุ่มเอฟตาคือ อัญมณี สิ่งทอ น้ำตาลทรายดิบ สัตว์น้ำ ข้าว และเครื่องใช้สำหรับเดินทาง โดยเฉพาะประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มี ทรัพยากรน้อย ผลิตอาการได้ไม่เพียงพอแก่การบริโภคภายในประเทศ มีการนำเข้า อาหารและวัตถุดิบมาก นอกจากนี้สวิตเซอร์แลนด์ยังมีนโยบายการค้าเสรี และอัตราภาษีขาเข้าในเกณฑ์ต่ำ ทำให้ลู่ทางการขยายตลาดของไทยเกี่ยวกับ สินค้าประเภทอาหารมีมาก ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศต่างๆในกลุ่มเอฟตาได้แก่ เครื่องจักร วัตถุที่ใช้ผลิตกระดาษ เหล็ก สิ่งสกัดที่ใช้ในการฟอกหนังและย้อมสี เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และยานพาหนะทางบก

 

                                                            

 

 

 

 

 

 

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
( Association of Southeast Asian Nations : ASEAN )

 

ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมเอเซียนที่มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกับประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งนี้เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเป็น ประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ

ประวัติการก่อตั้ง

เนื่องจากประเทศไทยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5ประเทศ คือ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนิเซีย ต้องการจะสร้างสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคนี้ ซึ่งจะต้องใช้ ความพยายามร่วมกันขจัดปัญหาความแตกต่างทางการเมือง และการร่วมมือช่วยเหลือกัน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จึงได้คิดก่อตั้งสมาคมขึ้นโดยไม่มีประเทศ มหาอำนาจอยู่เบื้องหลังและใช้ชื่อสมาคมนี้ว่า สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) เมื่อพ.ศ.2510 ต่อมาได้รับประเทศอื่นๆเข้ามาเป็นสมาชิกตามลำดับดังนี้

เดือนมกราคม พ.ศ.2527 รับประเทศบรูไนเข้าเป็นสมาชิก

เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2528 รับเวียดนาม

พ.ศ.รับพม่า ลาว และเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542 รับกัมพูชาเป็นสมาชิกประเทศสุดท้าย เป็นอันว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีทั้งหมด 10 ประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนครบทุกประเทศแล้ว

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

1.เพื่อช่วยเหลือกันในการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้า ทางสังคม วัฒนธรรมของประเทศสมาชิก

2.เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3.เพื่อให้ความร่วมมือในการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า และการคมนาคมขนส่ง

4.เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการศึกษา อาชีพ วิทยาการ และการบริหาร

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

ประเทศภายในกลุ่มสมาชิกมีความร่วมมือกันทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่

  • เขตการค้าเสรีอาเซียน( ASEAN Free Trade Area : AFTA ) เป็นการร่วมมือกันทางด้านการค้าที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ.2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างปนะเทศ และการเพิ่อขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้านสินค้าของอาเซียนในตลาดโลกได้ โดยมีหลีกการที่สำคัญคือ การลดภาษีศุลกากรระหว่างกันเหลือร้อยละ0-5ภายใน10ปี(พ.ศ.2536-2546)
  • โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน( ASEAN Industrial Project :AIP ) เป็นโครงการขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในแต่ละประเทศ เพื่อผลิตสินค้าอุสาหกรรม ที่อยู่ในความต้องการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ตกลงให้อินโดนีเซียและมาลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย ฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และไทยผลิตเกลือโซดาแอซ ต่อมามีการเปลี่ยแปลงตามความตกลง คือ ฟิลิปปินส์ผลิตทองแดงแปรรูป สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ ไทยเปลี่ยนเป็นทำเหมืองแร่โพแทซที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยได้รับความเห็นชอบจากอาเซียนเมื่อพ.ศ.2534 ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิตปุ๋ยยูเรียต่อมา
  • โครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมของอาเวียนหรือไอโก( ASEAN Industrial Cooperation Scheme :AICO ) มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมภาคเอกชนของอาเซียนและ เพิ่ม ศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการ โดยโครงการแบ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม แล้วส่งออกไปขายในอาเซียน ซึ่งผู้ผลิตต้องเป็นเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศสินค้าในโครงการจะได้รับการลดภาษี ศุลกากรเหลือร้อยละ0-5ทันที
  • ความร่วมมือด้านการลงทุนด้วยการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน( ASEAN Investment Area : AIA ) ตกลงให้จัดตั้งให้เสร็จในปีพ.ศ.2553 เพื่อส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน เพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการลงทุน ส่งเสริมการไหลเวียนของเงินทุน
  • พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาท มีผลใช้บังคับในปีพ.ศ.2540
  • การเชื่อโยงความร่วมมือกับกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ เพื่อต้องการขยายการค้าระดับภูมิภาคและระดับโลกให้เพิ่มสูงขึ้น สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้น

ผลการปฏิบัติงาน

จากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้ปฏิบัติงานตามโครงการเพื่อสนอง วัตถุประสงค์โดยจัดให้มีโครงการดำเนินการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมเพื่อ จำหน่าย ซึ่งแบ่งการรับผิดชอบเป็นประเทศ

มีการจัดตั้งหน่วยงานสำรองข้าวยามฉุกเฉินในประเทศสมาชิกเพื่อเตรียมรับภัยพิบัติ นอกจานี้ยังมีโครงการร่วมมือทางด้านสังคม

อาเซียนยังได้จัดความร่วมมือในด้านวัฒนธรรมและสนเทศ เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าๆไว้หลายโครงการ

การ แสดงมีการแลกเปลี่ยนนักแสดง และการแสดงวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก ตามโครงการแลกเปลี่ยนศิลปิน จัดเป็นงานมหกรรมนาฎศิลป์อาเซียนและงานมหกรรมดนตรี อาเซียน ด้านการต่อต้านยาเสพติด โดยลงนามในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยหลักในการต่อต้าน การใช้ยาเสพติด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน นับว่าเป็นผลดีต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของ ประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถต่อรองทางด้านการค้ากับประเทศสมาชิก และไม่ใช่สมาชิก นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศสาชิกด้วยกันก็ได้ยึดหลักความถนัด ในการผลิต หรือการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมให้ประเทศสมาชิกทำการผลิตโดยไม่มี การผลิตการแข่งขัน กล่าวโดยสรุป ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์จากการเป็น สมาชิกกลุ่มอาเซียน ดังนี้

1. ด้านการค้า ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร หรือ ยกเว้นภาษีที่ประเทศไทยส่งไปขายยังประเทศสมาชิกสำหรับสินค้าบางประเภท เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยสมาชิกได้รับจากประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (AFTA – ASEAN Free Trade Area)

2. ด้านอุตสาหกรรม ประเทศไทยได้ร่วมกับอาเซียนในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้า สำหรับทดแทน สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาเซียนจึงได้เลือกอุตสาหกรรมหลักให้ประเทศสมาชิกเลือกทำการผลิต กล่าวคือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต โครงการนี้ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ ไทยเปลี่ยนเป็นผลิตแร่โพแทช สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ ฟิลิปปินส์เปลี่ยนเป็นผลิตทองแดงแปรรูป ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิตปุ๋ยยูเรียตามเดิม ซึ่งการร่วมมือนี้เป็นการร่วมมือระดับรัฐบาล ส่วนภาคเอกชนก็มีการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการแบ่งการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ตามความถนัดของแต่ละประเทศ และต่อมามีโครงการแบ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยผู้ผลิตจะต้องเป็นบริษัทเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ บริษัทของไทยได้ร่วมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์การเกษตร ฯลฯ ตามโครงการนี้

3. ด้านการคลังและการธนาคาร นโยบายด้านการคลังและการธนาคาร ประเทศสมาชิกได้ตกลงร่วมมือกันในด้านการจัดตั้งตลาดตั๋วเงินที่ธนาคารรองรับ จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน จัดตั้งกลไกยกเว้นการเก็บภาษีและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และร่วมมือกับประชาคมยุโรปในการจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการพัฒนาระหว่างอา เซียนกับอีอีซี

4. ด้านการเกษตร กลุ่มอาเซียนได้มรการร่วมมือกันทางด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ สมาชิก รวมทั้งประเทศไทย นโยบายด้านการเกษตรได้ดำเนินการไปหลายโครงการ ได้แก่ โครงการสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันยามขาดแคลนอาหารในเวลาฉุกเฉิน โครงการจัดตั้งศูนย์วางแผนพัฒนาการเกษตรของอาเซียน โครงการจัดการเกี่ยวกับอาหารภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน - ออสเตรีย โครงการเทคโนโลยีการประมงภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน - แคนาดา โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โครงการอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำลำธาร โครงการปลูกป่า และโครงการตลาดของทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นที่อยู่ในระหว่างการเจรจาตกลงอีกมาก

5. ด้านการขนส่งและคมนาคม เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อนโยบายทางเศษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งทางบก การเดินเรือและการท่าเรือ การบินพลเรือน การไปรษณีย์และโทรคมนาคม

6. ด้านการเมือง ความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนในการแก้ปัญหาอินโดจีน ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจและช่วยเหลืออินโดจีนมากขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพอีกด้วย

7. ด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันมากขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เขตการค้าเสรีอาเซียน
ASEAN  Free  Trade  Area  :  AFTA

 

                     เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือเรียกว่า อาฟตา เป็นข้อตกลงทางการค้าของอาเซียน (ASEAN) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีวัตถุดิบ มีผลผลิตทางการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์ และมีสินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับที่ผลิตได้ในส่วนต่างๆ ของโลก ทั้งยังเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพทางการซื้อสูง

ประวัติความเป็นมา
                    การประชุมผู้นำเอาเซียนอันประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และไทย ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ.2535 ได้ตกลงที่จะขายสินค้าระหว่างกันอย่างเสรี (ยกเว้นสินค้าเกษตร) เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน พ.ศ.2546 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป เรียกข้อตกลงทางการค้าของกลุ่มอาเซียนนี้ว่า เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา
                    สาเหตุสำคัญของการก่อตั้งอาฟตา คือ ประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลกต่างค้าขายและขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง ทำให้หลายประเทศต่างหวาดหวั่นว่า การลงทุนจากต่างประเทศจะหลั่งไหลไปยังยุโรปตะวันออกและสาธารณรัฐที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต ไม่มาลงทุนในประเทศของตน จะทำให้ประสบกับภาวะฝืดเคืองและเศรษฐกิจถดถอย จึงหาทางที่จะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด กลุ่มแรก คือ ประชาคมยุโรปได้ตกลงที่จะรวมตัวกันเป็นตลาดเดียวภายใน พ.ศ.2535 และใช้มาตรการทางการค้า เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกลุ่ม เช่น การกำหนดอัตราภาษีศุลกากรใหม่ การกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้า การจำกัดโควตาสินค้านำเข้า เป็นต้น มาตรการเหล่านี้ทำให้กลุ่มอาเซียนเห็นว่าจะเป็นสาเหตุทำให้สินค้าของตนขายได้น้อยลง จึงร่วมมือกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้นในรูปที่คล้ายคลึงกัน

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
                    1. เพื่อให้การขายสินค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรีมีอัตราภาษีต่ำและปราศจากข้อจำกัดทางการค้า
                    2. เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนในอาเซียน
                    3. เพื่อจะได้มีอำนาจต่อรอง และเป็นเวทีแสดงความคิดเห็น หากได้รับความกดดัน หรือถูกเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากประเทศอื่น

ผลการปฏิบัติงาน
                อาฟตาได้ดำเนินการลดภาษีสินค้าระหว่างประเทศที่มีแหล่งกำเนิดในอาเซียน ดังนี้
                    1. สินค้าลดปกติ กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน เหลือร้อยละ 0.5 ภายใน 10 ปี คือ ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ยกเว้นสมาชิกใหม่ของอาเซียน คือ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ให้เลื่อนเวลาสิ้นสุดการลดภาษีออกไป
                    2. สินค้าเร่งลดภาษี ประกอบด้วยสินค้า 15 สาขา ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หนัง เยื่อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิกและแก้ว เภสัชภัณฑ์ และแคโทดที่ทำจากทองแดง กำหนดให้ลดอัตราภาษีศุลกากรเหลือร้อยละ 0-5 ปี ภายใน 7 ปี คือสิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543
                    3. สินค้าที่เริ่มลดภาษีช้ากว่าสินค้าอื่น ได้แก่ สินค้าเกษตรไม่สำเร็จรูป เริ่มลดภาษีภายใน พ.ศ.2544-2546 และลดเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน พ.ศ. 2553 ยกเว้นสินค้าบางชนิด เช่น ข้าวและน้ำตาลไม่ต้องลดเหลือร้อยละ 0-5 แต่ให้ลดตามอัตราที่ตกลงกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขตการค้าเสรีอาเซียน
                    ไทยมีความสัมพันธ์กับอาฟตาโดยตรงในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกประเทศหนึ่งที่มี มูลค่าการค้าสูงและส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน เช่น พ.ศ.2540 ไทยมีมูลค่าการค้ากับอาเซียนรวม 626,251 ล้านบาท เป็นมูลค่าสินค้าออก 380,790 ล้านบาท มูลค่าสินค้าเข้า 245,425 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้าเป็นเงิน 135,365 ล้านบาท
                    ในช่วง 9 เดือนแรกของ พ.ศ.2541 มีมูลค่าการค้ารวม 510,057 ล้านบาท เป็นสินค้าออก 307,805 ล้านบาท สินค้าเข้า 202,251 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของ พ.ศ.2540 ซึ่งมีมูลค่าการค้า 437,592 ล้านบาทแล้ว มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 72,465 ล้านบาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 16.6 ล้านบาท จึงคาดว่าการส่งออกของไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ และไทยจะได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นด้วย สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนที่สำคัญ 5 อันดับแรก คือ
                    1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ
                    2. ข้าว
                    3. แผงวงจรไฟฟ้า
                    4. น้ำตาลทราย
                    5. น้ำมันสำเร็จรูป

 

                                                           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิก
(Asia – Pacific Economic Cooperation : APEC)

 

                เอเชีย แปซิฟิก ได้แก่ ประเทศต่างๆที่เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และประเทศที่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งในทวีปเอเซีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย เป็นภูมิภาคที่มีประเทศร่ำรวยและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน สิงคโปร์ และเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ปัจจุบันภูมิภาคนี้เริ่มมีฐานะทางการเมืองมั่นคงขึ้น การร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จึงเป็นการร่วมมือกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของโลก เอเปคจึงเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญ และเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก

 ประวัติการก่อตั้ง

        ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก หรือเรียกย่อๆว่า เอเปค กำเนิดมาจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ณ กรุง แคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ..2532 และในการประชุมเมื่อเดือน พ..2534 ได้รับประเทศจีน ฮ่องกงและไต้หวัน ได้เข้าเป็นสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศเม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี เปรู สหพันธรัฐรัสเซีย และเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกด้วย ปัจจุบันเอเปคมีสมาชิกรวม 21 ประเทศ

 

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

        1.เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก

        2.เพื่อส่งเสริมและรักษาผลประโยชน์ในเอเซีย แปซิฟิก

        3.เพื่อส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีแบบเสรีภายใต้ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก

        4.เพื่อลดการกีดกันทางการค้า และร่วมมือกันถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

หลักการของความร่วมมือ

        1.เป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก

        2.ยึดหลักฉันทามติในการดำเนินการใดๆโดยยอมรับความเสมอภาคของประเทศสมาชิก

        3.ยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ระบบสังคม และการเมืองการปกครองของประเทศสมาชิก

 

ผลการปฏิบัติงาน

        นับตั้งแต่ได้ก่อตั้งเอเปคมา ภาวะการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกงและสิงคโปร์ ได้ระดมการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนไต้หวันและฮ่องกงก็เพิ่มปริมาณการลงทุนในเวียดนาม ลาว กัมพูชา และประเทศที่เป็นหมู่เกาะในทะเลจีนใต้มากขึ้นด้วย

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเอเปค

        ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับเอเปคโดยตรงในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกประเทศหนึ่ง ซึ่งไทยมีมูลค่าการค้าสูงและส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายเสียดุลการค้า นอกจากนี้หลายประเทศที่เป็นสมาชิกของเอเปคยังเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทย ประเทศสมาชิกของเอเปคจึงมีความสำคัญยิ่งต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยซึงมีทั้งผลดีและผลเสีย ดังนี้

        ผลดี

        1.ไทยมีโอกาสแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

        2.ไทยมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การรับข้อมูลข่าวสาร และการวิจัยทางเศรษฐกิจจากประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้ว

        3.ไทยมีเวทีร้องเรียนหรือเสนอแนะข้อคิดเห็น หากได้รับความกดดันทางด้านการค้าจากประเทศสมาชิก

        ผลเสีย

        ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศหนึ่งในกลุ่มเอเปค แต่อาจมีภาวะเศรษฐกิจและการเมืองแตกต่างไปจากประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ หากประเทศสมาชิกเอเปคที่พัฒนาแล้ว ใช้มาตราการทางการค้าหรือการเปิดตลาดสินค้าบางชนิดกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ ซึ่งไทยอาจไม่พร้อมที่จะยอมรับหรือปฏิบัติตามมาตรการที่กดดันนั้น ทำให้เกิดผลเสียต่อสินค้า ระบบภาษี หรือภาวะเศรษฐกิจของไทยได้

 

 

ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
(North America Free Trade Agreement : NAFTA)

เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลงสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

 ประวัติการก่อตั้ง

        หลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียวแล้ว ผู้นำแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโกไดจัดประชุมกันเมื่อ พ..2535 ที่จะเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันให้เป็นตลาดเดียว และจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม พ.. 2537 เป็นต้นไป ต่อมาในเดือนธันวาคม พ..2537 ประเทศชิลี ได้รับเชิญให้เข้ามาเป็นสมาชิกนาฟตา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินการเข้าเป็นสมาชิก

 วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง

      1.เพื่อแสวงหาตลาดสินค้าส่งออกในภูมิภาคอื่น
      2.เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่จะผลิตสินค้าให้ได้ราคาถูกและมีคุณภาพ
      3.เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กให้ขยายตัวและมีประสิทธิภาพสูง

        ข้อตกลงส่วนใหญ่จะเป็นการยกเลิกหรือลดภาษีศุลกากรระหว่างกันของประเทศสมาชิก สินค้าประมาณครึ่งหนึ่งที่จะนำเข้าระหว่างประเทศภาคด้วยกัน จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรทันทีที่ข้อตกลงมีผลใช้บังคับ สินค้าที่เหลือจะลดภาษีลงในอัตราเท่ากันในแต่ละปีจนเหลือศูนย์ภายใน 5-10ปี ส่วนสินค้าที่ยังมีปัญหาในการทำความตกลงจะใช้เวลา 15 ปี

 ผลการปฏิบัติงาน

        ประเทศสมาชิกต่างได้รับผลประโยชน์จาการทำข้อตกลงทางการค้าเสรีอเมริกาเหนือ คือ เม็กซิโก ซึ่งก่อนหน้านี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเปโซตกต่ำมากก็เริ่มแข็งตัวขึ้น ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาก็กลับฟื้นตัวดีขึ้นโดยลำดับ ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกาปล่อยสินเชื่อระยะยาว ลดอัตราภาษีนำเข้า และอนุญาตให้รถบรรทุกของเม็กซิโกแล่นผ่านเข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้ โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าที่ชายแดน อันเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลา สหรัฐอเมริกา มีสินค้าส่งออกไปเม็กซิโกและแคนาดามากขึ้น ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้น และทำให้มีตำแหน่งงานเพิ่ม มีการจ้างงานมากขึ้น แคนาดา สามารถซื้อสินค้าของสหรัฐและเม็กซิโกถูกลง อันเนื่องมาจากการลดอัตราภาษีศุลกากร

 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ

        ไทยไม่ได้เป็นสมาชิกของนาฟตา แต่การดำเนินงานของนาฟตามีผลกระทบโดยตรงต่อการค้าของไทย กล่าวคือ การออกกฎเกณฑ์ต่างไของประเทศในกลุ่มอาฟตา ทำให้มีผลกระทบต่อสินค้าไทย เช่น ประเทศแคนาดาและเม็กซิโก ได้ออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้ารถยนต์ และผ้าผืนที่ทอมาจากโรงงาน และไม่ได้ตัดเย็บจะส่งเข้าไปยังแคนาดาและเม็กซิโก เป็นการจำกัดและกีดกันสินค้าที่สั่งเข้ามาจากประเทศไทย ประการหนึ่ง และทำให้ไทยขายสินค้าได้น้อยลง ประเทศเม็กซิโก ขึ้นอัตราภาษีสิ่งทอ เครื่องหนัง และรองเท้าที่สั่งเข้ามาจากประเทศนอกกลุ่มนาฟตา ทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้นไปด้วย จึงส่งออกได้น้อยลง

            นอกจากนี้เม็กซิโกซึ่งเป็นสมาชิกของนาฟตา มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของโลก มีแรงงานราคาถูก มีวัตถุดิบและผลิตสินค้าได้คล้ายคลึงกับประเทศไทย จึงคาดกันว่าหากเม็กซิโกได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าอื่นๆ จากสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศภาคีสมาชิก เม็กซิโกจะมีบทบาทในการส่งสินค้าเข้าสหรัฐอเมริกาแทนที่ประเทศไทย ประกอบกับเม็กซิโกอยู่ใกล้กับสหรัฐอเมริกา ทำให้การขนส่งสินค้าทำได้รวดเร็วกว่า และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้า สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารกระป๋องและชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ซึ่งไทยส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาปีละมากๆ

 

 

 

 

 

ภูมิภาค

ชื่อกลุ่มความร่วมมือ(..)

วัตถุประสงค์

ยุโรป

European Community(1958)มีสมาชิกประกอบด้วยเบลเยี่ยม เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี สเปน สวีเดน ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลด์ โปรตุเกส ออสเตรีย และฟินแลนด์

ยกเลิกภาษีและโควต้าภายในปีค..1968 ใช้ภาษีศุลกากรอัตราเดียวกันกับประเทศนอกกลุ่ม รวมนโยบายการเกษตร การพัฒนาภูมิภาค การวิจัยและการรวมเศรษฐกิจเข้าด้วยกันจนถึงระดับเหนือความเป็นชาติ และในปีค..1993ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญามาสทริทซ์เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสหภาพการเงิน(European Monetary union :EMU)

 

European Free Trade Agreement : EFTA(1960)มีสมาชิกประกอบด้วย ไอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์

ยกเลิกภาษีอุตสาหกรรมทั้งหมดภายในกลางปี ค..1967 การกำหนดแบบแผนการค้าสินค้าเกษตรเป็นพิเศษ ในช่วงปี ค..1972-1973 สมาชิกส่วนหนึ่งต้องการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับกลุ่มสหภาพยุโรป

ทวีปอเมริกา

Latin American Free Trade Association :LAFTA(1960)มีสมาชิกประกอบด้วย เม็กซิโกและปรเทศในอเมริกาใต้ทั้งหมด ยกเว้นกายอานา ซูรินาเม เฟรนช์เกียนา

ร่วมกันวางแผนด้านอุตสาหกรรมจัดทำรายการสินค้าเปิดเสรีในปี ค..1972 ต่อมาLAFTA ถูกแทนที่ด้วยสมาคมการรวมกลุ่มแห่งลาตินอเมริกา (LAIA)ในปีค..1980

 

 

 

 

 

Canada-US Free Trade Agreement(1989)

 

 


North American Free Trade Area :NAFTA (1994)

ยกเลิกภาษีและข้อจำกัดด้านปริมาณการค้าทั้งหมดภายในปีค..1999

 

 


ปรับปรุงข้อตกลงและขยายความร่วมมือเพิ่มเติมจาก Canada-US Free Agreement จัดทำรายการย่อยการเปิดเสรีทั้งที่เป็นอุปสรรคด้านภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากรภายใน10ปี และภายใน15ปี สำหรับสินค้ารายการอ่อนไหว โดย NAFTA ได้รับเม็กซิโกเป็นสมาชิกเพิ่ม

 

 แอฟริกา เอเชีย แปซิฟิก ตะวันออกกลาง

Southern African Customs Union :SACU(1969)มีสมาชิกประกอบด้วย บอตสวานา เลโซโท แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ และนามิเบีย

เป็นการรวมกลุ่มกันทางด้านตลาด สินค้าและปัจจัยการผลิต รวมถึงการใช้ภาษีศุลกากรอัตราเดียวกันกับประเทศนอกกลุ่ม

 

Southern African Davelopment Coordination Conference :SADCC(1980) มีสมาชิกประกอบด้วย แองโกลา บอตสวานา เลโซโท มาลาวีโมซัมบิก นามิฌบีย สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว

ลดการพึ่งพากันทางเศรษฐกิจในแอฟาริกาใต้ โดยสร้างความร่วมมือในโครางการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาภูมิภาคให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น

 

 

 

 

 



แอฟริกา เอเชีย แปซิฟิก

Preferential Trade Are For Eastern and Southern Africa (1984) มีสมาชิกประกอบด้วย แองโกลา บุรุนดี คอโมรอส จิบูตี เอธิโอเปีย เคนยา เลโซโท มาลาวี มอริเชียส โมซัมบิก รวันดา โซมาเลีย ซูดานสวาซิแลนด์ แทนซาเนีย ยูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว


Association of South East Asian Nations :ASEAN(1967)มีสมาชิกประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว

ยกเลิกภาษีศุลกากรกับสินค้าทุกชนิดภายในปี ต..2000 รวมถึงประสานนโยบายระหว่างกัน และมีความก้าวหน้าทางด้านภาษีเล็กน้อย

 

 



จัดตั้งเขตการค้าเสรีและร่วมมือกันในโครงการด้านอุตสาหกรรม และได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASEAN Free Trade Area:AFTA) ขึ้นภายใน 15 ปีโดยมีการลงนามในแผนเมื่อปี้ ค..1992 โดยคณะมนตรีอาเซียน

 

AustriaNew Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement:ANZCERTA (1983)

ยกเลิกภาษีศุลกากรภายในปี ค..1988 ปละข้อจำกัดด้านปริมาณทั้งหมดในปี ค..1995 ซึ่งข้อตกลงต่างๆก้าวหน้าเพียงเล็กน้อยในปี ค..1992

 

Gulf cooperation Council :GCC(1981) มีสมาชิกประกอบด้วย บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์

จัดตั้งสหภาพศุลกากรและความร่วมมือกันทางด้านการเมือง การประสานนโยบายระหว่างกันโดยไม่มีการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรเดียวกันกับประเทศนอกกลุ่ม

 

Asia Pacific Economic Cooperation Forum: APEC(1989)มีสมาชิกประกอบด้วย ประเทศอาเซียน(ASEAN) แคนาดา สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี เปรู เวียดนาม และรัสเซีย

เริ่มจากการหารือร่วมกันในประเด็นทางการค้าและนำไปสู่การลงนาม เพื่อการค้าเสรีในปี ค..1994 แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อผูกพันและประสบความล้มเหลวในการให้คำจำกัดความของการค้าเสรี