Custom Search

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความสำคัญของการ..แห่มังกร

ความสำคัญของการ..แห่มังกร

 



         การแห่มังกรหรือการเชิดสิงโตเป็นประเพณีืที่สืบทอดกันมาอย่างช้านาน เริ่มจากที่จังหวัดนครสวรรค์มีโรคติดต่อร้ายแรงจึงมีการบูชาต่อเทพเจ้าที่ศาล และโรคร้ายแรงนั้นหายไปจึงเป็นที่มาของการแห่มังกรพร้อมทั้งเจ้าพ่อเจ้าแม่ จากศาลต่างๆรอบๆเมืองนครสวรรค์ และจะมีการแห่ช่วงตรุษจีนซึ่งถือเป็นปีใหม่ของจีนการแห่มังกรตามความเชื่อนี้จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งค่ะ

การแห่มังกร

 


       
      การเชิดมังกร
          

มังกรแม้เป็นสัตว์ในเทพนิยาย แต่ชาวจีนให้ความสำคัญต่อมังกรมาก เพราะมังกรเป็นเทพ ผู้กำหนดให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลสามารถ ให้ความอุดมสมบูรณ์ต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทั้งยัง เป็นสัตว์สิริมงคลที่ชาวจีนนับถือมานาน การเชิดมังกรจะเริ่มเมื่อใดนั้นยากที่จะกำหนดให้แน่ชัดลงไป แต่เนื่องจากมังกรเป็นเทพแห่งลมและฝน สามารถเปลี่ยนลมให้กลายเป็นฝน และกลับก้อนเมฆให้ฝนตก พิธีขอฝน จึงขาดการเซ่นไหว้มังกรไปไม่ได้ จากพิธีกรรมทางศาสนาในการเซ่นไหว้นี้เอง ก็ได้กลายมาเป็นการละเล่นพื้นบ้านในเวลาต่อมา หมิงตงจิงเปิ่งหวาลู่ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้กล่าวไว้ว่าการละเล่นของชาวจีนในวันเทศกาลหยวนเชียว ว่า


          

มีประตูซ้ายขวา 2 ข้าง จะใช้หญ้าผูกมัดให้ดูเป็นรูปมังกรที่หญ้าจะติดดวงไฟไว้เป็นหมื่น ดวงแล้วคลุมด้วยผ้าสีเขียวข้างบนอีกครั้ง ดูไกล ๆ เหมือนตัวมังกรคดเคี้ยวไปมา คล้ายมังกรกำลังเหิน ฟ้าสวยงามยิ่งนำจากข้อความนี้จะเห็นว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น การแสดงโคมไฟมังกรก็เป็นที่นิยม กันแล้วในปัจจุบัน นี้การเชิดมังกรเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ทั้งจีนทางเหนือและทางใต้การแสดงดูจะ ครึกครื้นมากกว่าการเชิดสิงโตเสียอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชิดมังกรในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นงานเชิด ที่ยิ่งใหญ่ หรือแม้ในงานแห่เจ้า ก็จะเว้นการเชิดมังกรเงินและมังกรทองเสียไม่ได้เช่นกัน การเชิดมังกรจะเชิดในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ ถ้าเชิดเวลากลาวงวันก็ไม่ต้องมีโคมไฟ หรือดวงไฟ ถ้าเชิดกลางคืนดวงไฟต่าง ๆ จะทำให้มังกรดูสวยงามมากขึ้น ทั้งยังสามารถให้ความสว่าง ในเส้นทางที่ขบวนมังกรผ่านอีกด้วย ตัวมังกรจะทำด้วยโครงไม้ไผ่แล้วคลุมด้วยผ้าแพรปักลวดลาย สวยงาม โดยเย็บเป็นเกล็ดด้วยผ้าหลากสีก็ได้หรือจะนำเอาหญ้าและแผ่นกระดาษทำเป็นตัวมังกร แล้วตกแต่งด้วยสีสันก็ได้ เมื่อมีคนเชิดตัวมังกรก็ต้องมีอีกคนหนึ่งเชิดลูกแก้ว ทั้งนี้เพราะลูกแก้ว เป็นของวิเศษที่มังกรชอบมากที่สุด บางครั้งก็จะมีคนใส่หน้ากากเป็นพระหัวโตทำหน้าที่ล่อมังกร ให้เดินไปมาในท่าทางต่าง

              การเชิดมังกรของชาวจีนเหนือที่มีชื่อเสียงคือการเชิดมังกรของอำเภออันฉื่อ มณฑลเหอเป่ย มังกรที่เชิดนี้คือมังกรไฟ ใช้ผ้าขาวมีวาดเป็นเกล็ดด้วยลวดลายสีต่าง ๆ ประกอบเป็นตัวมังกรมีความยาว ถึง 9 จิ้นกว่าๆ (1 จิ้น =10ฟุตจีน = 10 นิ้ว) และแบ่งตัวมังกรออกเป็น 9 ช่วง ตามังกรจะใช้ถ่านทำให้ มีแสงไฟสว่างดูมีชีวิตชีวายิ่งนักเวลาเชิดก็ต้องอาศัยคนเชิด 9 คน โดยเชิดข้างละคนทำท่ามังกรพลิกตัว คดเคี้ยวไป ข้างหน้ามังกรจะมีคนเชิดดวงไฟล่อมังกรด้วย และข้างหลังมังกรจะมีผู้ติดตามคอยจุด ประทัดให้ดังตลอด

การเชิดสิงโต


                 เชิดสิงโตเป็นการละเล่นของชาวจีนเหนือ และจีนใต้ ทางเหนือนิยมเล่นกันในช่วงตรุษจีน ส่วนทางจีนใต้นิยมการเชิดสิงโตมากกว่า นอกจากจะเล่นกันในช่วงมีงานแห่เจ้าแล้ว แม้แต่พิธีเซ่นสังเวยเพื่อขอฝนหลังงานเทศกาลงานชุนนุมใหญ่ ก็จะต้องมีรายการเชิดสิงโตด้วย การเชิดสิงโตของชาวจีนใต้ครึกครื้นและโลดโผนกว่าทางเหนือมากนัก เมื่อใกล้ถึงวันตรุษจีน ก็จะมีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งจัดให้มีการเชิดสิงโต ซึ่งเรียกว่า ซิ่งฮุ่ยโดยไปขอเงินบริจาค จากพวกคหบดี และก็จะมีอีกกลุ่มหนึ่งจัดเครื่องดนตรี และเตรียมทำตัวสิงโตสำหรับวันงาน เมื่อเตรียมงานแล้วผู้จัดงานก็จะประกาศเส้นทางที่ขบวนสิงโตจะผ่านให้ชาวบ้านทราบ พอวันงานมาถึงหัวหน้าทีมจะนำเอาสิงโตไปแสดงความเคารพต่อคหบดี และมือกลองก็เริ่มตีกลอง จากนั้นก็เริ่มแสดงการเชิดสิงโต เมื่อมีบ้านใดนำเอาซองรางวัลไปแขวนไว้บนยอดไม้ ยิ่งสูงเท่าใด ผู้แสดงก็ต้องต่อตัวกันขึ้นไปเพื่อเอาซองรางวัลนั้น
                                                                     
                 การเชิดสิงโตแบบนี้เรียกว่า ซิ่งจือไชชิงสิงโตที่เชิดนี้มักทำด้วนแกนไม้ไผ่ปะด้วยกระดาษสี แล้วใช้ผ้าปักไหมทำเป็นตัวสิงโต มีการเชิดอีกแบบหนึ่งที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่า เรียกว่าชุดสิงโตกินประทัด เนื่องจากการเชิดชุดนี้ สิงโตต้องกินประทัดตลอดเวลา ดังนั้นหัวสิงโตจึงต้องทำด้วยวัสดุแบบใหม่ คือใช้ดินเหนียว พอกลงบนแกนไม้ไผ่ แล้วติดด้วยกระดาษเสา ส่วนตัวมังกร ก็ทำด้วยผ้าลายราคาถูก ๆ ผู้เชิด สิงโตไม่ใส่เสื้อ ใส่แต่กางเกง ใส่รองเท้าฟางและพันน่องด้วยผ้า 5 สี เมื่อผ่านบ้านใครเจ้าของบ้าน ก็จะโยนประทัดใส่ สิงโตต้องอ้าปากรับ และผู้เชิดก็จะไม่ถอยหนียอมรับความร้อนจากประทัดนั้น เมื่อทนไม่ไหวก็อาจจะมีผู้เชิดอื่น มาเปลี่ยน บางครั้งเมื่อหัวสิงโตถูกประทัดมาก เกิดความร้อน จนต้องเอาน้ำไปพรมแล้วก็เชิดต่ออีก ชาวจีนเชื่อว่า ยิ่งให้สิงโตกินประทัดดังเท่าใดและมากเท่าใด การค้าที่บ้านก็ยิ่งจะรุ่งเรืองเท่านั้น
                 ที่มณฑลกวางตุ้ง ชาวจีนนิยมเชิดสิงโตกันทุกอำเภอ โดยมักฝึกฝนการเชิด มีสำนักฝึกอาวุธ โดยมีอาจารย์ผู้สอนมวยเป็นผู้ฝึกให้ในยามว่าง สิงโตกวางตุ้งจะเป็นยุ่ยซือ เซ่าซือ เล่าซือ ซึ่งแปลว่า สิงโตสิริมงคล สิงโตหนุ่ม สิงโตแก่ ยุ่ยซือมีอีกชื่อหนึ่งว่า สิ่งซือ แปลว่าสิงโตที่ตื่นแล้ว ก็คือ สิงโต ที่สามารถให้สิริมงคลนั้นเอง สิงโตที่มีอายุมากและผ่านประสบการณ์มากคือ สิงโตเล่าซือ จะเห็นได้จาก ท่าทาง หน้าสีเขียวเขี้ยวยาว หนวดเป็นสีเทา เมื่อสิงโตสิริมงคลและสิงโตหนุ่ม เดินผ่านสิงโตแก่ต้อง แสดงความเคารพ โดยหลีกทางให้ แต่หากสิงโตแก่ 2 ตัว มาประจันหน้ากันก็จะต้องมีการต่อสู้กันขึ้น จนต้อง มีผู้กล้าหาญผู้หนึ่งมาเจรจาให้สงบลงได้การเชิดสิงโตของกวางตุ้งจะมีท่าทางต่าง ๆ มาก ผู้เชิดต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ เช่นสิงโตทำท่าก้มมอง รีรอ เดินวนรอบ ท่าดุดัน ท่างอตัว คุกเข่า ท่านอน บางครั้งก็มีการเชิดชุดสิงโตออกจากถ้ำด้วย
       
                 ชาวจีนแคะก็มีการเชิดสิงโตเช่นกัน สิงโตของกลุ่มภาษาจีนนี้จะมีสิงโต สิงโตหัวมังกร สิงโตของชาวจีนแคะแบ่งเป็นสิงโตหน้าเขียวและหน้าแดง สิงโตหน้าเขียวเป็นสิงโตที่มีความสามารถ เทียบได้กับสิงโตแก่ของชาวกวางตุ้ง สิงโตชาวจีนแคะนิยมทำตาให้เคลื่อนไหวไปมาได้ มีคิ้วมีขนตา สวยงามทั้งหน้าสิงโตและหางสิงโตก็จะตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม และใส่ลูกกระพรวนที่หางอีกด้วย ส่วนสิงโตของชาวจีนแต้จิ๋ว มักประดับหัวมังกรด้วยผ้า 5 สี และประดับหน้ามังกรด้วยสีสันสวยงาม มีคนเชิดหัวสิงโต 1 คน หางสิงโต 1 คน นอกจากนั้นก็จะมีคนแต่งตัวเป็นตุ๊กตา หัวโต หน้าสีแดง ใส่เสื้อขลิบชายด้วยสีสวยงาม ตัวสั้น มือขวาถือลำไม้ไผ่ มือซ้ายถือพัดใบตาลมักแสดงในช่วงตรุษจีน และงานฉลองต่าง ๆ เช่นกัน

ความเชื่อกับ..การแห่มังกร



 


         มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจว่าเมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดทั่วไป ต.ปากน้ำโพ ชาวบ้านในชุมชนปากน้ำโพได้รับความเดือดร้อนจากโรคนี้อย่างยิ่งทำให้มีคนป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมากสุดที่แพทย์จะทำการรักษาเยียวยาได้ เพราะวิทยาการทางการแพทย์ในสมัยนั้นยังไม่เจริญก้าวหน้าชาวบ้านปากน้ำโพจึงหันมาพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นคือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นศาลเจ้าเล็กๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามหมู่บ้านตลาดปากน้ำโพ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านและผู้ที่สัญจร ทางน้ำผ่านไปมาโดยขอให้เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ช่วยคุ้มครองปัดเป่าให้พ้นภัยพิบัติจากโรคร้ายได้มีการทำพิธีเชิญเจ้าเข้าประทับทรงมีการทำพิธีรักษาโรค โดยการเขียนกระดาษยันต์(ฮู้)แล้วนำไปเผาไฟใส่น้ำดื่มกินปรากฏว่าโรคห่าที่ระบาดอยู่นั้นได้หายไปอย่างน่าอัศจรรย์จนเป็นที่เรื่องลือถึงความ ศักดิ์สิทธ์ของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ไปทั่วทั้งใกล้และไกล ชาวบ้านที่ได้ยินกิติศัพท์ต่างก็พากันมากราบไว้บูชาอย่างมากมายและเป็นการแสดงถึงความ กตัญญูกตเวทีต่อเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชาวบ้านปากน้ำโพจึงได้พร้อมใจกันจัดให้มีการเฉลิมฉลองขึ้นโดยได้อัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ข้ามฝั่งมาประทับที่ ปะรำพิธีชั่วคราวและแห่แหนไปรอบตลาดปากน้ำโพเพื่อให้ประชาชนที่เคารพนับถือได้กราบไว้บูชากันอย่างทั่วถึงและได้มีการแห่แหนเช่นนี้ใน ปีต่อๆมาจนกลายเป็นประเพณีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโดยจะจัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน

ต้นกำเนิดการแห่มังกร

          แรกเริ่มเดิมที การเชิดมังกรและเชิดสิงโตเป็นกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อความสนุกสนานในหมู่ประชาชน เมื่อผ่านเวลามากว่า 2000 ปี การละเล่น 2 ประเภทนี้จึงมีรูปแบบและท่วงทำนองหลากหลายยิ่งขึ้นตามความเคยชินของชาวจีนท้องถิ่นต่างๆ มังกรที่เชิดทำด้วยผ้าฝ้าย กระดาษ ไม้ไผ่ มีรูปร่างต่างกันร่วมร้อยชนิด บางตัวประดับด้วยโคมไฟบริเวณลำตัวมังกร สำหรับขบวนแห่ในเวลากลางคืน สวยงามน่าดู ในสายตาของชาวจีน มังกรเป็นสัตว์สิริมงคล เมื่อถึงเทศกาลสำคัญตามจันทรคติของจีน ท้องถิ่นต่างๆล้วนนิยมจัดแห่มังกรเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริก ในสมัยโบราณ เขตแคว้นบางแห่งของจีนเกิดภัยแล้ง ชาวไร่ชาวนาก็จะแห่มังกรด้วยความศรัทธาสูงต่อสวรรค์ เป็นวิธีการขอฝนที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ส่วนการเชิดสิงโต ชาวบ้านทางเหนือกับชาวบ้านทางใต้มีประเพณีปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน การเชิดสิงโตของภาคเหนือมีกิริยาที่ยืดหยุ่นคล่องแคล่ว เน้นการกระโดด ม้วนตัวกลิ้งเป็นหลัก ส่วนการเชิดสิงโตของภาคใต้มีท่าทางที่สง่าผ่าเผย ประกอบกับเสียงกลองที่ดังก้องปลุกเร้าใจผู้ชม ต่อไป ดิฉันจะแนะนำความเป็นมาของการแห่มังกรและเชิดสิงโตค่ะ ประเพณีการแห่มังกรเริ่มมีขึ้นในราชวงศ์ฮั่น แรกเริ่มเดิมที่เป็นพิธีการบูชาบรรพบุรุษและภาวนาให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ต่อมาค่อยๆพัฒนาเป็นกิจกรรมบันเทิงที่นิยมชมชอบของชาวจีนทั่วประเทศ